
คำสอนแปลกๆของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Saint Francis of Assisi) ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้หอมหวน ตลบอบอวล ด้วยกลิ่นดอกไม้งาม ทั้งผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini และ François Truffaut ต่างยกให้ ‘the most beautiful film in the world’
Rated PG, Parental Guidance, PG, เด็กดูได้แต่ควรมีผู้ใหญ่แนะนำ
คำสอนแปลกๆของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Saint Francis of Assisi) ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้หอมหวน ตลบอบอวล ด้วยกลิ่นดอกไม้งาม ทั้งผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini และ François Truffaut ต่างยกให้ ‘the most beautiful film in the world’
แสร้งว่าคือ Musical? ภาพยนตร์เฉลิมฉลองการตั้งครรภ์ระหว่าง Jean-Luc Godard และ Anna Karina แต่ชีวิตจริงหาได้สวยหรูดั่งเทพนิยาย เพราะเขาไม่เคยอยู่เคียงชิดใกล้ แม้กระทั่งตอนแท้งลูกก็หาได้ใคร่สนใจ
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ Béla Tarr นำเสนอหกวันสุดท้ายแห่งความสิ้นหวัง ราวกับวันโลกาวินาศกำลังมาถึง แต่ชีวิตยังคงเวียนวน ตื่น-กิน-นอน ดำเนินต่อไป เพียงเฝ้ารอคอยความตาย และทอดถอนหายใจ
ผลงานแจ้งเกิดระดับนานาชาติของปรมาจารย์ผู้กำกับ Krzysztof Kieślowski ตั้งคำถามจริยธรรมเกี่ยวกับการสรรค์สร้างภาพยนตร์ ระหว่างปล่อยปละละเลยถ่ายทำมันทุกสิ่งอย่าง (เชื่อในอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์) หรือเราควรต้องย้อนกลับมองดูตนเอง มีอะไรถูกต้องเหมาะสมควรหรือไม่ควร ภายใต้กฎกรอบข้อบังคับทางสังคม
ดัดแปลงจากนวนิยายของ E. M. Forster (Howards End, A Passage to India) นำเสนอวิวทิวทัศน์แห่งความรัก ชักชวนเชื่อให้ตอบกลับความรู้สึกของหัวใจ แม้ขัดแย้งขนบสังคมประเทศอังกฤษก็ช่างหัวมันประไร แจ้งเกิดนักแสดงยังสาวสวย Helena Bonham Carter แถมด้วยบทบ้าๆบอๆของ Maggie Smith และ Daniel Day-Lewis
Sense คือสัมผัสทางจิตวิญญาณ, Sensible คือความอ่อนไหวในการแสดงออก สองสิ่งขั้วตรงข้ามเหตุผล-อารมณ์ เรื่องราวความรักของสองพี่น้อง Emma Thompson vs. Kate Winslet ใครจะได้ครองคู่แต่งงานกับใคร ด้วยความละเมียดไมจากผู้กำกับ Ang Lee คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
นโยบายลูกคนเดียวของเติ้งเสี่ยวผิง ไม่ต่างอะไรจากการเตะผ่าหมากสามีของชิวจู (นำแสดงโดย กงลี่ ในบทบาทเจิดจรัสที่สุด) เธอรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องจึงพยายามร้องเรียนหน่วยงานรัฐ แต่ไม่ว่าองค์กรท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กระทั่งขึ้นศาลยุติธรรม ล้วนได้รับคำตัดสินแบบเดียวกัน, คว้ารางวัล Golden Lion และ Volpi Cup for Actress จากเทศกาลหนังเมือง Venice
เพื่อโต้ตอบกับ Dishonored (1931) สตูดิโอ M-G-M จึงรีบเร่งสรรค์สร้าง Mata Hari (1931) นำแสดงโดย Greta Garbo ในบทสายลับนักเต้น โดดเด่นในการใช้มารยาหญิง เย้ายวน ยั่วราคะ ล้วงความลับจากบรรดาบุรุษทั้งหลาย แม้หนังจะประสบความสำเร็จทำเงินถล่มทลาย แต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรน่าจดจำสักเท่าไหร่
ไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กำกับ Josef von Sternberg ที่จะตีตราสายลับว่าเป็นอาชีพไร้เกียรติ ‘Dishonored’ แต่มันคือมุมมองคนยุคสมัยนั้น (รวมถึงสตูดิโอภาพยนตร์) ยินยอมรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมบุคคลสองหน้า ใช้มารยาลวงล่อหลอก ล้วงความลับผู้อื่น ไร้ซึ่งศีลธรรมจรรยา ทั้งๆพวกเขาและเธอต่างทำเพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติบ้านเมือง
เรื่องราวความรักระหว่างบุคคลละชนชั้น อาจดูเฉิ่มเชยล้าหลังแต่ปัจจุบันยังคงพบเห็นได้ทั่วไป ปัญหาส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากอิทธิพลคนรอบข้าง มิอาจทนเสียงเห่าหอนของหมูหมากาไก่ จนกว่าตระหนักว่าทำไมฉันต้องรับฟังใคร ถึงจักค้นพบความสุขแท้จริงอยู่ที่ใจเราเอง, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผลงานที่การันตีความสำเร็จใน Hollywood ของ Douglas Sirk ด้วยความพยายาม ‘ชวนเชื่อ’ ให้ผู้ชมลดละทิฐิ ความเห็นแก่ตัว รู้จักทำประโยชน์เพื่อสาธารณะ แต่พฤติกรรมหมกมุ่นมากเกินพอดี ไม่เห็นมันจะมีความ ‘Magnificent’ ตรงไหนกัน?
ตั้งใจให้เป็นภาพยนตร์ขนาดยาวสร้างโดยสามผู้กำกับดัง แต่สำเร็จเสร็จสรรพเพียงส่วนของ Luis Buñuel เลยแปรสภาพสู่หนังสั้นความยาว 45 นาที เรื่องราวของของนักพรต Simón ยืนอยู่บนแท่นสูงกลางทะเลทรายนาน 6 ปี 6 สัปดาห์ และ 6 วัน, คว้ารางวัล Grand Jury Prize (ที่สอง) จากเทศกาลหนังเมือง Venice
หนึ่งในสองภาพยนตร์ของ Luis Buñuel ได้ทุนสร้างจาก Hollywood พูดภาษาอังกฤษ แล้วประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา (ก่อนการมาถึงของ Belle de Jour (1969)) แม้เป็นหนังตลาด แต่ก็ยังคง ‘สไตล์ Buñuel’ ซึ่งทำให้กลายเป็นฉบับดัดแปลง Robinson Crusoe ยอดเยี่ยมที่สุด
แทนที่จะนำเสนอชีวประวัติอาชญากรแบบตรงไปตรงมา The Public Enemy (1931) สรรค์สร้างข้ออ้างการศึกษาสภาพสังคม ‘social study’ ร้อยเรียงวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน พานผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ช่วงเวลา Great Depression และยุคสมัย Prohibition ใครกันแน่คือศัตรูของสาธารณะ?
จากโจรกระจอกสู่เจ้าพ่อมาเฟีย (rags-to-richs) แจ้งเกิดโด่งดัง Edward G. Robinson ทั้งยังจุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์แนว Gangster ในยุคสมัย pre-code จนทำให้สตูดิโอ Warner Bros. ช่วงทศวรรษ 30s ได้รับฉายา ‘The King of the Gangster Film’
ท่าเรือ คือสรวงสวรรค์ของหนังนัวร์ สถานที่บรรจบกันระหว่างชีวิต-ความตาย โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน รวมไปถึงชาย-หญิง มีโอกาสพบเจอ แต่งงาน และพลัดพรากจาก เรียกได้ว่าชีวิตถือกำเนิดขึ้นยังที่แห่งนี้
แม้อัตลักษณ์ของ W. C. Fields จะคือขี้เมาเอาแต่ใจ เกลียดผู้หญิง กลั่นแกล้งเด็ก ไล่เตะหมา พึ่งพาไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ แต่กลับเป็นที่รักมักที่ชังของใครๆ ได้รับการยกย่องตลกอัจฉริยะ และ It’s a Gift (1934) อาจคือหนึ่งในผลงานยอดเยี่ยมที่สุด
โลกทัศน์ของเด็กสิบขวบ เมืองอาศัยอยู่เปรียบดั่งจักรวาล พี่สาวหน้าอกใหญ่คือสิ่งมหัศจรรย์น่าหลงใหล ทางด่วนที่เพนกวินออกเดินทางผจญภัย เพื่อหวนกลับไปหาจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ตัวตนเองของผู้แต่งนวนิยาย Tomihiko Morimi จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
จากเรื่องราวโรแมนติกหวานแหวว แปรสภาพสู่จิตวิเคราะห์เพื่อปรับตัวเข้ากับการสูญเสีย ทำอย่างไรถึงก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ลุกขึ้นมาตอบโต้คลื่นชีวิตได้ด้วยตนเอง แม้ไม่มีเธอเคียงข้าง แต่จักคงอยู่ในใจไม่เหินห่าง