
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
R-Rated, Rated R, Restricted to 18 years and over, เรต R, แนะนำกับคนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ไม่ใช่ Close-Up (1990) หรือ A Separation (2011) แต่คือ The Deer (1974) ได้รับการโหวตอย่างเอกฉันท์จากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ชาวอิหร่าน ให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล! รวมถึง Behrouz Vossoughi กลายเป็นนักแสดงอันดับหนึ่งของชาวเปอร์เซีย
เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แน่นอนว่าบินไม่ได้! แต่ถ้ามันตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องโบยบิน นั่นแสดงถึงช่วงเวลาหมดสิ้นหวัง ไร้หนทางธำรงชีพรอด … จะว่าไปภาพโปสเตอร์เด็กสาวกำลังแบกเด็กชาย แลดูเหมือนกระดองเต่า ไม่น่าจะโบกบินได้เช่นกัน
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของ Wojciech Has นำเสนอ 24 ชั่วโมงของคนอยากเลิกเหล้า แต่กาลเวลากลับเคลื่อนพานผ่านไปอย่างเชื่องชักช้า จนเกิดความตระหนักว่าไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น ‘บ่วงรัดคอ’ ของรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์
คำสัญญาขายฝันของกลุ่มอาชญากรรัสเซีย (Vory v zakone) แท้จริงแล้วคือคำลวงล่อหลอกหญิงสาว ลักพามาขายบริการ ตกเป็นทาสยาเสพติด จนไร้หนทางดิ้นหลบหนี ทำไมโลกปัจจุบันนี้มันช่างมีความกลับกลอกปอกลอกยิ่งนัก!
ทุกสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ล้วนมีประวัติความรุนแรงฝังรากลึกอยู่ใน DNA ซึ่งถือเป็นสันชาติญาณสำหรับดำเนินชีวิต ธำรงชีพรอดปลอดภัย นำพาความสงบสันติสุขสู่สังคม ครอบครัว และตัวเราเอง
เริ่มต้นจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศคลุ้มคลั่ง โหยหาประสบการณ์เฉียดเป็นเสี่ยงตาย จนได้มีเพศสัมพันธ์ทั้งชาย-หญิง ประตูหน้า-หลัง และกับรถยนต์ กลายเป็นแรงบันดาลใจ Julia Ducournau สร้างผลงาน Titane (2021)
ฝาแฝดสยาม (Siamese twins) คือสิ่งมีชีวิตที่มีความลึกลับ -รับบทโดย Jeremy Irons ในการแสดงน่าจะยอดเยี่ยมที่สุด- มักมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงถึงกัน แต่ถึงแยกแยะลักษณะทางกายภาพไม่ออก อุปนิสัย สภาพจิตใจของพวกเขาย่อมมีความแตกต่าง(ขั้วตรงข้าม)
ขณะรับชมหนังโป๊จากสัญญาณกระจายภาพลึกลับ จู่ๆโทรทัศน์มันก็ยื่นริมฝีปากออกมาจะจุมพิต, เมื่อมนุษย์ใช้ชีวิตยึดติดกับเทคโนโลยีสื่อสารมากเกินไป มันจักเริ่มเลือนลาง เจือจาง กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับชีวิตจริง=ภาพยนตร์
หลังหย่าร้างภรรยา ผู้กำกับ David Cronenberg พัฒนาบทภาพยนตร์ The Brood (1979) เพราะความหวาดกลัวว่าบุตรสาวจะต้องตกอยู่ในการเลี้ยงดูของมารดาที่ … โดยไม่รู้ตัวสร้างขึ้นปีเดียวกับ Kramer vs. Kramer (1979) แต่มีความสม(เหนือ)จริงกว่าไหนๆ
ชมรมการต่อสู้กับตัวตนเอง เพื่อก้าวออกมาจากโลกที่เต็มไปด้วยวัตถุ สิ่งข้าวของ ระบอบทุนนิยม ล้างสบู่ในอ่างทองคำ แล้วจุดระเบิดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แต่ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นภายในความครุ่นคิด จิตใต้สำนึกของผู้กำกับ David Fincher เท่านั้น!
ครั้งแรกย่อมรู้สึกตกตะลึง ครั้งสองสัมผัสถึงความลุ่มลึกซึ้ง ครั้งสามบังเกิดความตราตรึง … รับชมถึงครั้งที่เจ็ดเมื่อไหร่คงคบไม่ได้อีกต่อไป! คำเทศนาสั่งสอนวันสิ้นโลกาวินาศของผู้กำกับ David Fincher เปียกปอน หนาวเหน็บ สั่นสะท้านทรวงใน กลายเป็นผลงานอมตะเหนือกาลเวลาไปแล้วละ
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
สิ้นสุดสัปดาห์ภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำพาผู้ชมออกเดินทาง (Road Movie) จากสังคมเมือง มุ่งสู่ชนบท แล้วลงขุมนรก! นำเสนอความเสื่อมถดถอยของอารยธรรม ผ่านบทพิสูจน์แห่งศรัทธา ดินแดนแฟนตาซี โลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย และท้ายสุดคือการสูญเสียความเป็นมนุษย์
ไม่ว่าคอมมิวนิสต์/กองทัพแดง (Red Army) หรือผู้นิยมพระเจ้าซาร์/การ์ดขาว (White Guard) สงความคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! ถ้าปีนั้นไม่เกิดเหตุการณ์ Mai ’68 ที่เทศกาลหนังเมือง Cannes จักคือหนึ่งในตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or
ผลงานรองสุดท้ายของ Alfred Hitchcock ที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น (Suspense) ลุ้นระทึก (Thriller) จับแพะชนแกะ พระเอกถูกใส่ร้าย ฆาตกรตัวจริงยังลอยนวล มีทั้งฉากเปลือยกาย ข่มขืน ฆ่ารัดคอ น่าจะเป็นภาพยนตร์รุนแรงที่สุดในสไตล์ Hitchcockian
การมาถึงของปลาวาฬยักษ์ สัตว์ประหลาดขนาดมหึมา (Leviathan) ทั้งๆเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กลับนำพาหายนะ ความวุ่นวาย กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าทำลายชีวิต-ทรัพย์สิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย (Natural Order vs. Social Order) เพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ สันติสุขของคนในชาติ และสมดุลแห่งจักรวาล
ผู้รอดชีวิตจากขุมนรก 439 นาที น่าจะเกิดการความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน เหมือนประเทศฮังการีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งอย่างจักมีทิศทางดีขึ้นเสมอไป
ดำเนินเรื่องเพียงในอพาร์ทเม้นท์ที่มีสภาพเสื่อมโทรมทราม ไร้ผู้ดูแลทำความสะอาด สมาชิกทั้งห้าต่างมีความเห็นแก่ตัว เอาแต่ผลประโยชน์ตนเองเป็นที่ตั้ง การสนทนาเลยมักแค่สองต่อสอง แทบไม่เคยอยู่ร่วมกันพร้อมหน้า และกระทำสิ่งต่างๆโดยไม่สนห่าเหวอะไรทั้งนั้น
อภิมหากาพย์การสู้รบด้วยเรือดำน้ำ U-boats ยุทธนาวีแห่งแอตแลนติก (Battle of the Atlantic) ที่แม้นำเสนอผ่านมุมมองทหารเรือ Nazi Germany แต่ไม่ว่าผู้ชมฝั่งฝ่ายไหนล้วนสัมผัสได้ถึงความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ตึงเครียด สั่นสะท้านทรวงใน ใครกันจะอยากถูกเข่นฆ่า ใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)