
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงเศษซากปรักหักพัง
veteran มีความลึกซึ้ง ซับซ้อน ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ที่ต้องลงรายละเอียดในเชิงลึก
บทกวีรำพันหายนะแห่งรัก ต่อให้ Anne-Marie Stretter (รับบทโดย Delphine Seyrig) พยายามเสาะแสวงหา ขวนขวายไขว่คว้า เปลี่ยนคนรักไม่ซ้ำหน้า แต่กลับไม่มีใครสามารถรักษาโรคเรื้อนในหัวใจ หลงเหลือไว้เพียงเศษซากปรักหักพัง
การกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Charlie Kaufman ได้รับมอบหมายจากสตูดิโอให้สรรค์สร้างหนังสยองขวัญ สั่นประสาท (Horror) แต่สิ่งที่เขาครุ่นคิด น่าหวาดสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิต คือการต้องเผชิญหน้า ‘ความตาย’ ไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถหลบหนีพ้น
Charlie Kaufman เคยพยายามดัดแปลงหนังสือ The Orchid Thief แต่เพราะมันแทบไม่มีเนื้อเรื่องราว จุดหักเห รวมถึงไคลน์แม็กซ์ จึงไม่สามารถขบครุ่นคิด หาวิธีพัฒนาบทหนัง ตกอยู่ในสภาวะสมองตัน (Writer’s Block) เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็ช่างหัวแม้ง ทำออกมาคล้ายๆแบบ 8½ (1963) ระบายทุกสิ่งอย่างอัดอั้นภายในออกมา
Limite ภาษาโปรตุเกส แปลว่า Limit, ขีดสุดความอัดอั้นของชายหนึ่ง-หญิงสอง ล่องลอยคออยู่กลางมหาสมุทร Atlantic คนหนึ่งเป็นอาชญากรหลบหนี อีกคนเบื่อหน่ายสามี ส่วนชายหนุ่มถูกจับได้ว่าคบชู้เมียคนอื่น พวกเขาแทบมิอาจอดกลั้นฝืนทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป
ชีวิตสามศตวรรษของ Orlando พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย แต่สิ่งน่าสนใจที่สุดคือบทบาททางทางเพศในสังคมผู้ดีอังกฤษ เมื่อชายกลับกลายเป็นหญิง รับบทโดยนักแสดงคนเดียว Tilda Swinton (เล่นเป็นทั้งชายและหญิง) งดงาม ท้าทาย แต่อาจต้องปีนป่ายบันไดสูงสักหน่อย
การเริงระบำของจักรกล คือภาพยนตร์แนวทดลอง (Experimental) ด้วยอิทธิพลของ Dadaism เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเครื่องยนต์กลไก ทั้งภาพและเสียงต่างมีความตื่นหู ตื่นตา แปลกใหม่ เปิดประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร
ได้รับยกย่อง “Masterpiece of Experimental Cinema” ทั้งๆมีเพียงการถ่ายภาพภายในห้องพัก 45 นาทีค่อยๆซูมเข้าไปยังรูปภาพ’คลื่น’ทะเลบนฝาผนัง แต่กลับเต็มไปด้วยรายละเอียดชวนให้ขบครุ่นคิด โดยเฉพาะการใช้เสียงลวงหู ‘Auditory Illusion’ ทุกสิ่งอย่างพบเห็นล้วนคือภาพลวงตา ‘Strawberry Fields Forever’
การทดลองเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์ที่แปลกประหลาด แต่กลับประสบความสำเร็จที่สุดของ Andy Warhol ด้วยการบันทึกภาพเรื่อยเปื่อยของผู้พักอาศัยใน Hotel Chelsea แล้วนำมาฉายสองจอพร้อมกัน ‘Split Screen’ ความยาวตั้ง 210 นาที จะมีใครดูรู้เรื่องไหมเนี่ย?
เมื่อโลกมันฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ สองสาวดอก Daisies จะมีชีวิตเหมือนคนปกติได้อย่างไร ย่อมต้องถูกเชิดชัก กระทำสิ่งอัปลักษณ์ สะท้อนเสียดสีสภาพสังคมยุคสมัยหลังสงครามโลกได้อย่างโคตรๆเหนือจริง (Surrealist) ถึงระดับไร้เหตุผล (Absurdity)
Ju แปลว่าฉัน (I), Tu อาจหมายถึงผู้ชม (You), Il บุรุษผู้มีความเห็นแก่ตัว (He), Elle เธอคือคนที่ฉันต้องการร่วมเพศสัมพันธ์ (She), ภาพยนตร์แนวทดลองเกี่ยวกับ ฉัน-เขา-เธอ โดยคุณเป็นผู้ครุ่นคิดตัดสินว่าผู้กำกับ Chantal Akerman ต้องการสื่อนัยยะถึงอะไร
โดยปกติแล้วภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) มักพยายามโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) กลับทำออกมาในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ งดงามวิจิตรศิลป์
ในสถานพยาบาลแห่งนี้ เวลามีการผันแปรเปลี่ยนเหมือนนาฬิกาทราย อดีต-ปัจจุบัน โลกความจริง-จินตนาการเพ้อฝัน พลิกกลับไปกลับมาอย่างน่าฉงนสงสัย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนดูเสื่อมโทรม ปรักหักพัง สะท้อนเข้ากับสภาพประเทศโปแลนด์ยุคสมัยนั้น, คว้ารางวัล Jury Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
ปลดเปลื้องจิตวิญญาณของผู้แต่งโคตรนวนิยาย William S. Burroughs นำเสนอจินตนาการ เหตุการณ์เหนือจริง หรือคือภาพหลอนระหว่างเสพสารพัดยา (มอร์ฟีน เฮโรอีน ฯ รวมเรียกว่า ‘black meat’) การเสียชีวิตของภรรยา คือจุดเริ่มต้นทำให้เขาตัดสินใจเป็นนักเขียนที่ราวกับถูกวิญญาณร้ายเข้าสิง
บิดาของผู้กำกับ Andrzej Żuławski ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยินยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อครอบครัว เข้าร่วมวิจัยโรคไข้รากสาดใหญ่ (Typhus) ด้วยการให้เห็บ/หมัด ดื่มเลือดเป็นอาหาร (lice-feeding) … แค่คิดแม้งก็สยองแล้ว
ภาพยนตร์เรต X ถูกแบนในหลายๆประเทศ เพราะความสุดโต่งเหนือจริงของการล่าแม่มด พฤติกรรมเก็บกดทางเพศของแม่ชี หรือแม้แต่กษัตริย์ King Louis XIII ยังถูกตีความว่าเป็น Queer แต่ถ้าเราสามารถมองผ่านสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านั้น ก็อาจพบเห็นสรวงสวรรค์ที่แท้จริง
สิ้นสุดสัปดาห์ภาพยนตร์ยุคสมัยแรกของผู้กำกับ Jean-Luc Godard นำพาผู้ชมออกเดินทาง (Road Movie) จากสังคมเมือง มุ่งสู่ชนบท แล้วลงขุมนรก! นำเสนอความเสื่อมถดถอยของอารยธรรม ผ่านบทพิสูจน์แห่งศรัทธา ดินแดนแฟนตาซี โลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย และท้ายสุดคือการสูญเสียความเป็นมนุษย์
แม้ความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา จะจบสิ้นลงไปสักพักใหญ่ๆ แต่ผู้กำกับ JLG และ AK ยังคงอยากทดลองใจกันอีกสักครั้ง ว่ายังหลงเหลือเยื่อใยความสัมพันธ์อยู่บ้างไหม แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มันหลอกลวงผู้บริโภคตั้งแต่ชื่อ Made in U.S.A. ไม่เห็นมีฉากไหนถ่ายทำยังสหรัฐอเมริกา???
โลกอนาคตที่วิทยาศาสตร์ เหตุผลและตรรกะคือทุกสิ่งอย่าง อารมณ์จักกลายเป็นภาระต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก เช่นนั้นแล้วมนุษย์จะยังรับรู้จักความรัก มีอิสรภาพในการครุ่นคิดแสดงออกได้อย่างไร? คว้ารางวัล Golden Bear จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
การมาถึงของปลาวาฬยักษ์ สัตว์ประหลาดขนาดมหึมา (Leviathan) ทั้งๆเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่กลับนำพาหายนะ ความวุ่นวาย กลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าทำลายชีวิต-ทรัพย์สิน จึงต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย (Natural Order vs. Social Order) เพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ สันติสุขของคนในชาติ และสมดุลแห่งจักรวาล
ผู้รอดชีวิตจากขุมนรก 439 นาที น่าจะเกิดการความรู้สึกบางอย่างขึ้นภายใน เหมือนประเทศฮังการีที่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์สู่ระบอบประชาธิปไตย (ค.ศ. 1989) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งอย่างจักมีทิศทางดีขึ้นเสมอไป