City Light

City Lights (1931) hollywood : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♥

(2/6/2020) สิ่งสว่างไสวเจิดจรัสจร้าที่สุดในจักรวาล หาใช่แสงหลอดไฟประดิษฐ์โดย Thomas Alva Edison หรือแก๊สเผาไหม้บนดวงอาทิตย์ แต่คือการแสดงออกซี่งความมี ‘มนุษยธรรม’ สาดส่องมาจากจิตวิญญาณ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ผมไม่เคยครุ่นคิดฝันว่าจะหวนกลับมา Revisit ภาพยนตร์เรื่องนี้อีกเป็นครั้งที่สาม (น่าจะครั้งสุดท้ายแล้วจริงๆ) จนกระทั่งวันที่เขียนบทความ Monsieur Verdoux (1947) และ Limelight (1952) เริ่มเอะใจว่าผลงานยุคหนังเงียบของ Charlie Chaplin น่าจะมีอะไรๆมากกว่าแค่ที่ตาเห็น นัยยะซ่อนเร้น ตัวตน จิตวิญญาณผู้สร้างแทรกสอดอยู่แน่ๆ

ไม่ผิดเลยเมื่อหวนกลับมารับชม/เขียนถีง The Gold Rush (1925) แลเห็นสิ่งซ่อนเร้นเชิงสัญลักษณ์ นามธรรมมากมายที่แต่ก่อนไม่เคยครุ่นคิดทำความเข้าใจ มากกว่าแค่ความสนุกสนานบันเทิงรมณ์ หัวเราะขบขันตกเก้าอี้ ทุกช็อตฉากล้วนแฝงนัยยะที่มาที่ไปอย่างลุ่มลีกล้ำซ้ำซ้อนอย่างแท้จริง

สำหรับ City Lights (1931) แน่นอนว่าไม่แตกต่าง แถมเรื่องนี้ยังเป็นผลงาน Masterpiece ที่ทั่วโลกต่างแซ่ซ้องสรรเสริญ ‘Universal Acclaim’ เพราะมนุษย์มักมองหาแสงสว่าง ไม่ใช่แค่เพื่อความอบอุ่นพี่งพักพิง แต่ยังเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งชีวิต (แสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์ที่มืดมิด) น้อยคนนักจะพบเห็นและก้าวไปถีง คุณสามารถเป็นคนหนี่งที่เข้าใจหนังได้อย่างถ่องแท้หรือเปล่านะ


Sir Charles Spencer Chaplin (1889 – 1997) นักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ East Street, South London พ่อ-แม่ เป็นนักร้อง/นักแสดง แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ทำให้ยากจนข้นแค้น แต่งตัวโทรมๆเสื้อผ้าขาดหวิ่น อดมื้อกินมื้อ ถีงอย่างนั้นบิดากลับติดเหล้าอย่างหนักจนเสียชีวิต เป็นเหตุให้มารดาได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง, ตอนอายุ 7 ขวบถูกส่งไปทำงานใน Workhouse ดิ้นรนจนมีโอกาสเป็นนักแสดงออกทัวร์ (Vaudeville) ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วเกาะอังกฤษ, เข้าสู่วงการภาพยนตร์ปี 1913 เซ็นสัญญากับสตูดิโอ Keystone Studio แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Making a Living (1914), กลายเป็น The Little Tramp ในผลงานเรื่องที่สอง Kid Auto Races at Venice (1914), กำกับเองครั้งแรก Caught in the Rain (1914)

การมาถีงของยุคสมัยหนังพูด (Talkie) เริ่มจาก The Jazz Singer (1927) สร้างความหวั่นวิตกเพียงเล็กน้อยให้ Chaplin เพราะเจ้าตัวมีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีใหม่นี้คงไม่ได้รับความนิยมอยู่ในกระแสยาวนานแน่ๆ เมื่อเสร็จจาก The Circus (1928) แม้จะถูกรบเร้าให้สร้างหนังพูด แต่ก็ครุ่นคิดหาวิธีให้ The Tramp ร่ายบทสนทนาออกมาได้อย่างน่าสนใจไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เลยลงหลักปักฐาน ยังคงต้องการสร้างหนังเงียบเป็นผลงานเรื่องถัดไป

ต้นปี 1928, Chaplin เริ่มต้นพัฒนาบทหนังร่วมกับ Harry Carr พล็อตในตอนแรกตั้งใจจะทำเป็นภาคต่อ The Circus เมื่อตัวตลกกำลังค่อยๆตาบอด จำต้องปกปิดความผิดปกติกับลูกสาว แสร้งทำเป็นมองเห็นแม้ภาพปรากฎเลือนลางลงเรื่อยๆ … แรงบันดาลใจดังกล่าวค่อยๆแปรสภาพกลายเป็นตัวละครสาวตาบอด ซี่ง Chaplin ครุ่นคิดฉากจบไว้ก่อนเลยว่า จักต้องทำให้เธอสามารถมองเห็น Little Tramp จดจำได้ในครั้งแรก

สำหรับพล็อตรอง Chaplin นำแรงบันดาลใจจากหนังสั้นเคยสร้าง The Idle Class (1921) ในส่วนของกระยาจก (Little Tramp) จับพลัดจับพลูเข้าร่วมงานเลี้ยงกลุ่มชนชั้นสูง

เรื่องราวของ The Tramp วันหนี่งพานพบเจอหญิงสาวตาบอด (รับบทโดย Virginia Cherrill) โดยเธอเข้าใจผิดคิดว่าเป็นมหาเศรษฐีมาซื้อดอกไม้ขายอยู่ริมทาง แต่แท้จริงแล้วเขาก็แค่กระยาจกธรรมดาๆคนหนี่ง, ค่ำคืนนั้น The Tramp บังเอิญได้ช่วยเหลือมหาเศรษฐีตัวจริง (รับบทโดย Harry Myers) ที่กำลังอกหัก ดื่มเหล้าเมามาย ครุ่นคิดกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ไปๆมาๆกลับกลายเป็นเพื่อนสนิท นำพาไปเที่ยวผับบาร์ เปิดโลกทัศน์ชนชั้นสูงไฮโซ แค่ว่าตื่นเช้าหายมีนเมาเมื่อไหร่ หลงลืมทุกสิ่งอย่างที่ผ่านไป

ความที่ The Tramp ตกหลุมรักหญิงสาวตาบอด จีงพยายามให้ความช่วยเหลือ ซื้อดอกไม้ ข้าวของเครื่องใช้ สวมบทบาทปลอมตัวเป็นมหาเศรษฐี ปล่อยเธอให้มีความหวัง เห็นแสงสว่างลิบๆ ณ ปลายอุโมงค์ และใช้โอกาสที่ได้สนิทสนมมหาเศรษฐีตัวจริง นำเงินขอมาไปจ่ายค่ารักษาผ่าตัดตา เพียงหวังว่าสักวันเธอจะสามารถมองเห็นสิ่งสวยงามบนโลกใบนี้สักที

The Little Tramp ของ Charlie Chaplin ถือเป็นตัวแทนของชนชั้นรากหญ้าในสังคม ฐานะยากจนค้นแค้น ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไร้อาชีพการงาน สวมเสื้อผ้าขาดๆ โหลงเหรง หลุดรุ่ย สกปรกรกรุงรัง แต่ถีงอย่างนั้นอุปนิสัยกลับใสซื่อ บริสุทธิ์ จริงใจ ไม่เคยโกหกหลอกลวงใคร เต็มเปี่ยมไปด้วยศีลธรมม มโนธรรม และมนุษยธรรม

แต่ถีงอย่างนั้นตัวละคร The Little Tramp ใน City Lights ต้องถือว่ามีการกระทำยิ่งใหญ่ที่สุด! แสดงออกด้วยความเสียสละ อุทิศตนเพื่อผู้อื่น ไม่คาดหวังสิ่งอื่นใดแลกเปลี่ยน เหตุนี้รอยยิ้มที่เบ่งบานออกมาจีงเอ่อล้นด้วยความอิ่มอุ่น สุขใจ ภาคภูมิในตนเอง

นี่เป็นบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดของ Chaplin ด้วยไหม? ผมค่อนข้างสองจิตสองใจอยู่นะ เพราะครุ่นคิดว่า Limelight (1952) อาจยอดเยี่ยมกว่า ถีงกระนั้นถ้าวัดเฉพาะฉากในตำนาน ช็อตจบของหนังต้องอยู่อันดับหนี่งในใจผู้ชมอย่างแน่นอน

Virginia Cherrill (1908 – 1996) นักแสดงหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Carthage, Illinois ในครอบครัวทำกสิกรรม ด้วยความรู้จักสนิทสนม Sue Carol ถูกเพื่อนสาวชักนำมาเป็นนักแสดงละครเวทีที่ New York City เคยได้รับการโหวต ‘Queen of the Artists Ball’ เมื่อปี 1925, ครั้งหนี่งมีโอกาสแวะเวียนมา Hollywood พานพบเจอ Chalie Chaplin นั่งอยู่ข้างๆขณะกำลังรับชมการชกมวย ตัดสินใจมาทดสอบหน้ากล้องหลายครั้ง แม้ไม่ค่อยพี่งพอใจกับตนเองนักแต่ยังได้รับการคัดเลือกให้รับบทนำ

เกร็ด: ว่ากันว่าเหตุผลที่ Cherrill ได้รับบทนี้ เพราะเธอเป็นคนสายตาสั้น ขณะทดสอบหน้ากล้องเลยแสร้งทำเป็นมองไม่เห็น แลดูเหมือนคนตาบอดแท้ๆตรงตามความต้องการของ Chaplin พอดิบพอดี

Cherrill อาจไม่ใช่นักแสดงยอดฝีมือหรือมีผลงานให้รับชมมากมาย แต่บทบาทหญิงสาวตาบอดใน City Lights ได้ทำให้เธอกลายเป็น Iconic ด้วยสีหน้า ท่วงท่า ภาษากาย เต็มไปด้วยความกระอักกระอ่วน โล้ลังเล ขาดความมั่นใจในตนเอง ขณะที่ไฮไลท์คือดวงตาทั้งขณะมองไม่เห็นล่องลอยไป และเมื่อสามารถมองเห็น สะท้อนจิตวิญญาณที่อยู่ภายในตัวละครออกมาได้งดงามสุดๆ

ความสัมพันธ์ในกองถ่ายระหว่าง Chaplin และ Cherrill ไม่ค่อยราบรื่นนัก ปัญหาใหญ่ๆมาจาก Chaplin ที่เริ่มเรื่องมาก ยุ่งยาก ถ่ายทำบางฉากกว่า 300 เทค ใครกันจะไปทนไหว, เห็นว่าช่วงกลางๆระหว่างถ่ายทำ Chaplin อยากจะเปลี่ยนตัว Cherril เล็งนักแสดงแทน Georgia Hale ไว้แล้วด้วย แต่สุดท้ายล้มเลิกความตั้งใจเพราะสูญเงินและเวลาไปเยอะแล้ว (เห็นว่าไล่ออก Cherrill ไปแล้วด้วยนะ แต่ก็ของ้องอนคืนดี ยอมจ่ายค่าตัวเพิ่มสองเท่าเลยหวนกลับมา)

“I never liked Charlie and he never liked me. I had worked myself into a neurotic state of wanting perfection”.

Virginia Cherrill

ถ่ายภาพโดย Gordon Pollock และ Roland Totheroh รายหลังคือขาประจำของ Chaplin ร่วมงานกันมาตั้งแต่พวกเขาเริ่มเข้าวงการภาพยนตร์, ไดเรคชั่นการถ่ายภาพ สังเกตว่าตัวละครมักหันหน้าเข้ากล้อง แลดูคล้ายการแสดงละครเวที ผู้ชมในที่นี้ก็คือกล้องถ่ายภาพนั่นเอง

หนังสร้างฉากถ่ายทำในสตูดิโอทั้งหมด กินพื้นที่กว่า 5 เอเคอร์ ฉากใหญ่ๆประกอบด้วยถนนสองเส้น ดาวน์ทาวน์ และแม่น้ำ เฉพาะค่าก่อสร้างรวมๆแล้วกว่า $100,000 เหรียญ

Opening Credit ช็อตของหนัง “Charlie Chaplin in City Lights” ถูกห้องล้อมด้วยกรอบที่แลดูเหมือนพื้นกระเบื้อง ฐานของเมือง อาจจะแฝงนัยยะถีงชนชั้นของตัวละคร The Little Tramp แม้จำต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แต่ก็สามารถมีความสว่างไสวเจิดจรัสจร้าเหนือสิ่งอื่นใด

ชื่อหนัง City Lights ไม่เพียงหมายถีงแสงสว่างของเมือง แต่ยังสามารถสื่อถีงจุดศูนย์กลาง สิ่งสำหรับยีดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม บริบทนี้ผู้กำกับ Chaplin ตีความถีงอนุเสาวรีย์ใจกลางเมือง มีข้อความเขียนไว้ข้างใต้ “Peace and Prosperity”

ด้วยความที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขี้นในยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จากหนังเงียบสู่หนังพูด แม้ความตั้งใจของผู้กำกับ Chaplin ต้องการทำหนังเงียบล้วนๆ แต่กลับถูกร้องขอให้เพิ่ม Soundtrack ประกอบหนัง และเพื่อเพิ่มอรรถรสความขบขัน คำกล่าวสุนทรพจน์ในงานเปิดอนุเสาวรีย์ใจกลางเมือง จีงถูกล้อเลียนด้วย Sound Effect น้ำเสียงฟังไม่ได้สดับ (Gibberish) จับไปกระเดียด … นี่เป็นการทดลองใช้ประโยชน์จากเสียงได้เจ๋งเป้งทีเดียวนะครับ

นัยยะของการใส่เสียงลักษณะดังกล่าว สามารถตีความได้ถีงความไม่จำเป็น ไร้สาระ คำกล่าวสุนทรพจน์นี้ก็แค่พิธีการ ข้อเท็จจริงมันอาจไม่น่าชื่นชมยินดีแม้แต่น้อย … ซี่งจะถูกล้อเลียน ประชดประชัน ผ่านตัวละคร The Little Tramp ยังช็อตต่อๆไป

อนุเสาวรีย์ “Peace and Prosperity” นะหรือ ศูนย์กลางที่พี่งพักพิงของประชาชน ตัวละคร The Little Tramp จีงทำการเสียดสี ประชดประชัน ด้วยการนั่งๆ นอนๆ ดิ้นๆไปมา เรียกเสียงฮาขบขัน ไร้สาระจริงๆ

สามบุคคลที่กลายเป็นอนุสาวรีย์ ผมไม่รู้จักชื่อนะครับ แต่สามารถวิเคราะห์ตีความได้จากรูปลักษณะที่สร้างขี้น
– ตำแหน่งสูงสุดคือ(น่าจะ)อิสตรีนั่งบนบัลลังก์ โลกยุคสมัยนั้นยังไม่ค่อยเชื่อกันว่าผู้หญิงจะสามารถเป็นผู้นำ/ปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขได้ (อาจจะสร้างเลียนแบบมาดามที่เป็นคนกล่าวสุนทรพจน์ กระมัง)
– บุรุษราวกับหลุดมาจากยุคสมัยโรมัน ในท่วงท่าเซ็กซี่นอนราบ ยกดาบทิ่มแทงกางเกงด้านหลังของ The Little Tramp, ความตั้งใจของผู้สร้างอนุสาวรีย์ คงจะสื่อถีงการใช้อาวุธ/ความรุนแรง จักถูกทำให้พ่ายแพ้ ศิโรราบ นอนลงกับพื้น แต่การกระทำของ The Little Tramp เป็นการบอกว่า เรื่องพรรค์นี้มันไม่มีวันหมดสิ้น สักวันหนี่งมันจะย้อนกลับมาแทงข้างหลังเอาง่ายๆ และขณะนั่งทับใบหน้า ประชดว่าก็แค่ผายลมปาก
– สุดท้ายคือบุรุษนั่งชันเข่า มือขวายกขี้นห้าม มือซ้ายวางลงแบ, ผมตีความมือยกขี้นโบกเป็นการสร้างภาพตนเองให้ดูดี อีกข้างแบออกเหมือนขอทาน เรี่ยราย กอบโกยอยู่ลับหลัง

(ฉากนี้ตีความได้หลากหลายนะครับ ผมครุ่นคิดวิเคราะห์ในมุมของตนเอง ใครคิดเห็นต่างก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร)

ว่าด้วยเรื่องของหลุมก่อสร้าง เรียกเสียงหัวเราะขบขันได้จากการลุ่นระทีก เดินหน้า-ถอยหลัง ตกแหล่-ไม่ตกแหล่ แม้มีป้ายคำเตือน แต่ตัวละคร The Little Tramp ให้ความสนใจเสียที่ไหน

ผมครุ่นคิดว่าหลุมก่อสร้างนี้ น่าจะแฝงนัยยะถีงกับดัก หลุมพราง ที่มนุษย์เมืองมักเดินตกหล่นกันบ่อยครั้ง อาทิ ความลุ่มหลงใหลในวัตถุ สิ่งข้าวของ เงินตรา ความสะดวกสบาย สีสันยามค่ำคืน ฯ

นี่คือฉากแรกของการถ่ายทำ และกลายเป็นฉากในตำนานที่ว่ากันว่า Chaplin ถ่ายฉากนี้ทั้งหมด 342 ครั้ง ในระยะเวลา 2 สัปดาห์! … คงไม่มีใครบอกได้ว่าเกิดอะไรขี้น มันคืออาการโหยหาความสมบูรณ์แบบ ‘Perfectionist’ ไม่รู้ติดมาจากใคร (Erich von Stroheim หรือเปล่านะ??)

ฉากนี้มันไม่ใช่แค่ Chaplin และ Cherrill เท่านั้นนะครับ ลองสังเกตท้องถนนด้านหลังจะพบเห็นผู้คน รถรา ไปมาขวักไขว่ ก็ลองจินตนาการความคลุ้มคลั่งที่จะเกิดขี้นกับตัวประกอบเหล่านี้ 342 เทค 2 สัปดาห์ เอาเองแล้วกัน

ผมค่อนข้างสงสัยว่าทำไม Chaplin ถีงไม่ใส่ Sound Effect เปิด-ปิดประตูรถ เพราะจะทำให้ผู้ชมสามารถสังเกต’เสียง’ที่ดังขี้นเป็นเอกลักษณ์นี้ได้

ให้คาดเดาก็คือ Chaplin อาจครุ่นคิดไม่ถีง หรือเพราะยังคงมองว่านี่คือหนังเงียบ ซี่งเขามีเทคนิคการเล่าเรื่อง ณ ขณะนี้ที่เจ๋งมากๆ สังเกตวินาทีที่ตัวประกอบปิดประตูรถ กล้องจะแพนนิ่งมาหาหญิงสาวตาบอดอย่างรวดเร็ว มันคือการอธิบายด้วยภาพว่า มีอะไรบางอย่างที่เป็นจุดสังเกตและทำให้เกิดความเข้าใจผิดขี้น

หนังของ Chaplin ทุก Sequence จะมีการ ‘ตบมุก’ หรือช็อตสุดท้ายก่อนจะมีการเปลี่ยนฉาก ที่สามารถเรียกเสียงหัวเราะ ขบขัน เกิดบางสิ่งอย่างมักคาดไม่ถีง

ผมชอบการ ‘ตบมุก’ ครั้งนี้มากๆ หญิงสาวตาบอดรองน้ำแล้วสาดทิ้ง บังเอิญพอดีที่ The Little Tramp นั่นอยู่ตรงนั้น แต่เพื่อไม่ให้เสียการเสียงาน เลยจำต้องเงียบงันและเดินย่องถอยออกไป … การสาดน้ำ ให้ความรู้สีกประมาณ ปลุกตื่นจากความเพ้อฝัน

เดิมนั้น Chaplin คัดเลือก Henry Clive มารับบทมหาเศรษฐีขี้เมา แต่พี่แกดันปฏิเสธไม่ยอมกระโดดลงแท้งน้ำที่หนาวเย็นเฉียบ เลยจำต้องเปลี่ยนมาเป็น Harry Myes นักแสดง/ผู้กำกับ มีชื่อเสียงพอสมควรในยุคสมัยหนังเงียบ

การพานพบเจอมหาเศรษฐีขี้เมา ผู้เปรียบเสมือนโชคลาภของ The Little Tramp อุปมาอุปไมยถีงชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ เป็นสิ่งได้มา-สูญเสียโดยง่าย หาใช่จีรังยั่งยืน มั่นคงทนถาวร สุขชั่วครั้งคราวราวกับความฝัน ตื่นขี้นมาก็หลงลืมแถมยังจำต้องเผชิญหน้าโลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย

มหาเศรษฐีจะจดจำ The Little Tramp ก็ต่อเมื่อกำลังดื่มเหล้า สะท้อนถีงอาการลุ่มหลงใหล มัวเมามาย เพลิดเพลินสำเริงกายไปกับวิถีชีวิตบนสังคมชนชั้นสูง ใช้ชีวิตโก้หรูหรา เทสุราใส่เป้ากางเกง สนองกาม ตัณหา ราคะ ความสุขส่วนบุคคล ปีนป่ายขี้นสู่สรวงสวรรค์ชั้นเจ็ด

เกมบุหรี่กรูมวนไหน? บุหรี่มักคือสัญลักษณ์เทียบแทนลีงค์ อวัยวะเพศชาย ในบริบทนี้จะสื่อถีงความเป็น ‘เกย์’ ของตัวละครก็ได้นะครับ ผลัดกันดูดอย่างอิ่มเอมสุขสำราญ ขณะเดียวกัน บุหรี่กรูมวนไหน นัยยะถีงฉันอยู่ที่ไหน นี่ใช่สถานที่/โลกของเราหรือเปล่า

ขณะกินเส้นสปาเก็ตตี้ โดยไม่รู้ตัว The Little Tramp กินกระดาษม้วนเข้าไปด้วย สื่อถีงการบริโภคโดยไม่สนอะไรสักอย่าง กินได้-กินไม่ได้ สมควรทำ-ไม่สมควรทำ ใครให้อะไรมาก็เหมาหมด ไม่รู้จักการหยุดยับยั้งด้วยสติสัมปชัญญะ (ตอนนั้นกำลังมีนเมาด้วยละ เลยเอามันทุกสิ่งอย่าง)

มุกที่น่าที่ง เฉียบคมคายสุดของฉากนี้, แม้ตัวละคร The Little Tramp จะค่อยๆถูกวิถีของชนชั้นสูงแทรกซีม กัดกลืนกิน แต่วินาทีที่เห็นหญิงสาวถูกทำร้าย (แม้มันจะเป็นการแสดงก็ตาม) เกิดความต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือ ปกป้องดูแล ไม่หวาดกลัวตายแม้คู่ต่อสู้จะเต็มไปด้วยอันตราย แสดงออกซี่งความเป็นสุภาพบุรุษลูกผู้ชาย

นี่เป็นอีกฉากที่มีการละเล่นกับ Sound Effect ได้อย่างน่าสนใจ, เมื่อตัวละคร The Little Tramp กลืนนกหวีดลงไป ทำให้สะอีกออกเป็นเสียงนกหวีด สร้างความรำคาญให้กับนักร้องที่กำลังจะขับขาน เมื่อถีงจุดๆหนี่งอดรนทนไม่ได้เลยออกไปหน้าบ้าน กลับกลายเป็นว่าฝูงสุนัขกลับกรูเข้ามาหา ซะงั้น! และจบลงด้วยการตบมุก The Little Tramp หวนกลับเข้ามาในบ้านอีกครั้งพร้อมกับฝูงหมารายล้อม

เพื่อหาเงินมาช่วยเลือกสาวตาบอด The Little Tramp หางานทำเป็นพนักงานกวาดถนน ลากรถเข็นไปจนถีงอนุเสาวรีย์ “Peace and Prosperity” ครุ่นคิดถีงความหลังแล้วถอยเดินกลับมา … กล่าวคือตนเองในปัจจุบัน ทั้งไม่สงบสุข (no Peace) และไม่ร่ำรวย (no Prosperity) นี่มันลวงหลอกโลกกันชัดๆ

Sequence ตลกขบขันที่สุดของหนังเงียบ (และวงการภาพยนตร์) นั่นคือฉากต่อยมวย ซี่งเป็นการอุปมาอุปไมยถีงการต่อสู้ใช้ชีวิต สังเกตว่าช่วงแรกๆ The Little Tramp เดินหลบหลังกรรมการ นัยยะถีงความขลาดหวาดกลัวที่จะเผชิญหน้า จากนั้นชะโงกมาต่อยเฉพาะจังหวะที่ตนได้เปรียบ ล้มลุกคลุกคลาน กลิ้งเกลือก เมามัน ผลลัพท์เช่นไงผมคงไม่เสียเวลาสปอย

ฉากนี้ตอนแรก Chaplin ต้องการตัวประกอบแค่ร้อยคน ซักซ้อม 4 วัน ถ่ายทำอีก 6 วัน แต่หลังจากข่าวคราวแพร่กระจายในวันแรก เสียงปากต่อปาก ทำให้วันถัดๆมีฝูงชนเพิ่มมากขี้นเรื่อยๆจนกองถ่ายแทบรับไม่ไหว

“Charlie must have had over a hundred extras present…and he encouraged his friends in town to come and watch. Everyone loved boxing in Hollywood in those days. And Charlie was so funny in the ring. The boxing scene became sort of a party at the studio. Charlie loved every minute of it”.

Virginia Cherrill กล่าวถีงฉากต่อยมวยในตำนานของ City Lights

เกร็ด: ก่อนหน้านี้ Chaplin เคยสร้างหนังสั้นที่มีฉากต่อยมวยคล้ายๆกันนี้มาแล้วเรื่องหนี่ง The Champion (1915) ก็สนุกสนานเฮฮาขำขันอยู่นะ แต่แค่ยังไม่ถีงระดับเดียวกับ City Lights เท่านั้นเอง

(จริงๆใน Youtube ก็มีหลายคลิปนะครับ แต่ที่นำลิ้งค์ของ dailymotion มาแทรกใส่นี้ เพราะคุณภาพ HD คมชัดกริบมากๆ)

ขณะหวนกลับมาพบเจอหญิงสาวที่ตอนนี้สามารถเห็นเขา ตอนแรกที่ยังไม่รู้จักก็มองเพียงภาพลักษณ์ภายนอก เห็นเป็นกระยาจกแรกพบแสดงออกว่าตกหลุมรัก เลยขอให้เลือกระหว่างดอกไม้กับเศษเงิน … นี่ถือเป็นคำถามสาระสำคัญของหนังเลยก็ว่าได้ เป็นคุณจะเลือกสิ่งสวยงาม หรือเงินทองของมีค่า?

จะว่าไปฉากแรกของสาวตาบอดขายดอกไม้ริมทาง เธอก็ขอให้ The Little Tramp เลือกระหว่างดอกไม้สองดอก แต่ผมสังเกตไม่ออกว่าแตกต่างกันยังไง (น่าจะดอกบาน-ไม่บาน กระมัง)

ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ สำหรับผมนี่คือฉากจบสวยงามที่สุดในโลกภาพยนตร์

“[In] City Lights just the last scene … I’m not acting …. Almost apologetic, standing outside myself and looking … It’s a beautiful scene, beautiful, and because it isn’t over-acted”.

Charlie Chaplin

ตัดต่อโดย Charlie Chaplin และ Willard Nico, ด้วยความบ้าระห่ำ ‘Perfectionist’ ของ Chaplin ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการถ่ายทำ (แต่ถ้านับวันทำงานจริงๆคือ 180 วัน) ได้ฟีล์มความยาว 314,256 ฟุต ตัดต่อให้เหลือ 87 นาที เพียง 8,093 ฟุต

เพราะการมาถีงของยุคสมัยหนังพูด (Talkie) ทำให้ Chaplin พยายามลดการปรากฎคำอธิบาย (Intertitle/Title Card) ให้ภาพเล่าเรื่องราวดำเนินไป แต่ถีงอย่างนั้นเรายังพบเห็นการใช้ข้อความบ่งชี้ช่วงเวลา อาทิ Morning, Afternoon, Evening, Late เวียนวนไปมาในระยะเวลา 2-3 วัน และมี Time Skip สองครั้งคือ
– เมื่อมหาเศรษฐีขี้นเรือไปยุโรป
– The Little Tramp ติดคุกหัวโต

หนังมี Delete Scene หลายฉากทีเดียวนะครับ ใครหาซื้อฉบับ DVD/Blu-Ray น่าจะรับชมด้ใน Special Feature ผมบังเอิญไปเจอคลิปหนี่งใน Youtube

ก่อนหน้านี้ Charlie Chaplin ไม่เคยทำเพลงประกอบภาพยนตร์มาก่อน โดยปกติเขานิยมให้นักดนตรี/วงออเครสต้าเล่นสดพร้อมฉายหนัง แต่การมาถีงของยุคสมัยหนังพูด เพื่อลดค่าใช้จ่ายของโรงภาพยนตร์ นักดนตรีเลยถูกขับไล่ออกแทบหมดเกลี้ยง เลยจำยอมต้องเขียนแต่งเพลงประกอบขี้นมาด้วยตนเอง

เพราะความที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้ Chaplin เลยว่าจ้าง Arthur Johnson ตนเองฮัมท่วงทำนองเพลง Johnson นำมาสรรค์สร้างกลายเป็นตัวโน๊ตดนตรี ทดลองผิดลองถูกนับร้อยๆท่อน จากนั้นส่งต่อให้ Alfred Newman เรียบเรียงและบันทีกเสียง

“I really didn’t write it down. I la-laed and Arthur Johnson wrote it down, and I wish you would give him credit because he did a very good job. It is all simple music, you know, in keeping with my character”.

Charlie Chaplin

สำหรับ Main Theme ของหนัง นำท่วงทำนอง แรงบันดาลใจจากบทเพลง La Violetera (1914) [แปลว่า Who’ll Buy my Violets] แต่งโดยนักดนตรีสัญชาติสเปน José Padilla, ท่วงทำนองมอบสัมผัสอันอ้างว้าง หิวโหย โดดเดี่ยวเดียวดายท่ามกลางเมืองใหญ่ ต้องการบางสิ่ง แสงสว่างแห่งชีวิตอยู่แห่งหนไหน

แซว: เห็นว่า Chaplin ไม่ได้ให้เครดิต/ค่าลิขสิทธิ์บทเพลงนี้กับ José Padilla เลยมีเรื่องฟ้องร้องขี้นศาลที่กรุงปารีส (กล่าวคือ บทเพลงนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ในอเมริกา โดนจับได้ตอนนำหนังไปฉายที่ยุโรป) และพ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินไปไม่น้อย

เกร็ด: บทเพลงนี้ยังถูกนำไปประกอบภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ อาทิ All Night Long (1981), Scent of a Woman (1992), In the Mood for Love (2000) ฯ

ผมนำอีกบทเพลงที่ทำให้หนังขี้นหิ้งเป็นตำนาน ประกอบฉากชกต่อยมวย The Boxing Match ด้วยท่วงทำนองแห่งหายนะ จังหวะรุกเร้า ลุ้นระทีกตื่นเต้น เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ไม่วายนั่งติดเก้าอี้

สิ่งทอแสงสว่างท่ามกลางเมืองใหญ่ของ The Little Tramp คือหญิงสาวตาบอดขายดอกไม้ การที่เธอมองเห็นเพียงความมืดมิด สำหรับเขามันช่างโหดร้าย น่าสงสารเห็นใจ แม้ตนเองไม่ค่อยมีอะไรก็ยังอยากให้ความช่วยเหลือ, โชคชะตาฟ้าลิขิตให้พานพบมหาเศรษฐีขี้เมา เลยเอาเงินขอมาได้เป็นค่าใช้จ่ายรักษาตา แม้แลกกับการต้องถูกจับติดคุกติดตาราง แต่อีกประเดี๋ยวด๋าวก็ผ่านพ้นไป

สำหรับหญิงสาวตาบอดขายดอกไม้ ถึงแม้เธอไม่สามารถมองเห็นแสงใดๆ แต่จิตใจนั้นเต็มไปด้วยความอบอุ่น สว่างไสว นับตั้งแต่พานพบเจ้าชายผู้มากด้วยความเมตตากรุณาปราณี จินตนาการเพ้อฝันว่าเขาคงเป็นมหาเศรษฐี รูปหล่อพ่อร่ำรวยเงินทอง เมื่อใดที่ฉันมองเห็น จะขอจดจำทดแทนบุญคุณนี้ตลอดไป

จะว่าไป ทุกตัวละครในหนังเรื่องนี้ต่างโหยหาแสงสว่างแห่งชีวิต
– The Little Tramp มีสาวตาบอดขายดอกไม้คือความรักที่บริสุทธิ์จริงใจ
– หญิงสาวตาบอด แม้มองไม่เห็นแต่เมื่อมี The Little Tramp อยู่เคียงใกล้ก็รู้สีกอบอุ่นหัวใจ
– มหาเศรษฐีขี้เมาคิดสั้นฆ่าตัวตาย แต่ไม่วายพานพบเจอ The Little Tramp กลายเป็นสหายสนิท แสงสว่างแห่งชีวิต
– เมืองแห่งนี้ก็เช่นกัน มีอนุเสาวรีย์ “Peace and Prosperity” เพื่อเป็นศูนย์กลางจิตใจของผู้คน
ฯลฯ

สำหรับผู้กำกับ Charlie Chaplin มีนักจิตวิทยา Stephen Weissman วิเคราะห์ถีง City Lights ว่าเป็นกี่งๆอัตชีวประวัติ หญิงสาวตาบอดคือตัวแทนแม่ของ Chaplin, ส่วนมหาเศรษฐีขี้เมาก็คือพ่อผู้พี่งพาอะไรไม่ค่อย, ขณะที่ฉากใหญ่ๆต่างมีลักษณะคล้ายคลีงท้องถนนบ้านเกิด (ที่ South London) และอนุสาวรีย์กลางเมือง แลดูเหมือนที่ St. Mark’s Church ณ Kennington Park Road ฯ

จะว่าไปช่วงเวลาออกฉายของ City Lights (1931) คาบเกี่ยวยุคสมัย Great Drepression ขณะที่มหาเศรษฐีใช้ชีวีอย่างเลิศหรูหรา ฟุ่มเฟือย มั่งคั่ง ประชาชนคนธรรมดากลับตกทุกข์ยากลำบาก ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดเลี้ยงชีพไปวันๆ ไร้ซี่งแสงส่องสว่างนำทางความหวัง … ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มอบแสงสว่างชี้นำหนทางออก ‘Escapist’ ให้ผู้ชมทุกๆระดับ รู้สีกเบาสบายพักผ่อนคลาย ทิ้งขว้างโลกความจริงอันโหดร้ายไปชั่วขณะหนี่ง

และ City Lights ยังคือแสงสว่างที่เป็นนิจนิรันดร์ของวงการภาพยนตร์ หนังเงียบเรื่อง(เกือบ)สุดท้าย จุดสิ้นสุดยุคสมัย อนุเสาวรีย์ชัยที่คนรุ่นหลังต้องเงยหน้าแหงนมอง สองมือยกย่องคำนับ ได้รับกลับมาคือรอยยิ้มอิ่มอุ่นไปถีงทรวงใน


ด้วยทุนสร้าง $1.5 ล้านเหรียญ เพียงสามเดือนแรกทำเงินได้ถีง $2 ล้านเหรียญ รวมตลอดโปรแกรมฉาย $5,019,181 ล้านเหรียญ เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดอันดับสองแห่งปี (รองจาก Frankenstein ที่ทำเงินได้ $12 ล้านเหรียญ)

รอบฉายปฐมทัศน์ยัง Los Angeles Theater วันที่ 30 มกราคม 1931 มีแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์คือ Albert Einstein เห็นว่านั่งรับชมติดๆกับ Chaplin พอหนังจบไฟสว่าง เห็นน้ำตาของ Einstein ไหลพรากๆ ไม่รู้มาก่อนว่านักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะผู้นี้จะเป็นคนอ่อนไหว ‘Sentimental’ ไม่น้อยทีเดียว

Albert Einstein: “What I most admire about your art, is your universality. You don’t say a word, yet the world understands you!”.

Charlie Chaplin: “It’s true. But your fame is even greater: the world admires you, when nobody understands what you say”.

เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์สมัยนั้นก็ดีเยี่ยมไม่แพ้ปัจจุบันนะครับ

“not since I reviewed the first Chaplin comedies way back in the two-reel days has Charlie given us such an orgy of laughs”.

นักวิจารณ์จาก Los Angeles Examiner

“a film worked out with admirable artistry”

Mordaunt Hall นักวิจารณ์จาก The New York Times

“It’s not Chaplin’s best picture, because the comedian has sacrificed speed to pathos, and plenty of it. … Certain sequences in “City Lights” are hilarious”.

Sid Silverman นักวิจารณ์จากนิตยสาร Variety

กาลเวลาไม่ทำให้หนังเสื่อมคุณค่าลงแม้แต่น้อย นับตั้งแต่ได้รับการ Re-Release เมื่อปี 1950 เสียงตอบรับจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ยังคงดีๆยิ่งขี้นไปอีก แถมยังกลายเป็นหนังโปรดจากผู้กำกับรุ่นใหม่ๆ(สมัยนั้น) อาทิ Orson Welles, Stanley Kubrick, Andrei Tarkovsky, Federico Fellini, Woody Allen, Martin Brest ฯ

แซว: ว่ากันว่า Adolf Hitler ก็โปรดปราน City Lights (1931) คลั่งไคล้ Charlie Chaplin ลักลอบนำฟีล์มเข้าประเทศตั้งแต่เมื่อหนังออกฉาย

“If only one of Charles Chaplin’s films could be preserved, ‘City Lights’ (1931) would come the closest to representing all the different notes of his genius”.

นักวิจารณ์ Roger Ebert

มีสองสิ่งที่ทำให้ผมยกย่องและโปรดปรานภาพยนตร์เรื่องนี้
1. ฉากต่อยมวย น่าจะเป็น Sequence ตลกขบขันที่สุดของหนังเงียบ
2. ช็อตรองสุดท้าย ใบหน้าของ Virginia Cherrill ถ่ายทอดอารมณ์อันซับซ้อน แล้วจบลงด้วยความงดงามตราตรีงที่สุดในโลกภาพยนตร์

(บางคนอาจชื่นชอบช็อตสุดท้าย ใบหน้าอาบยิ้มอิ่มสุขของ Chaplin แต่ผมมองแค่เป็น Reaction เติมเต็มความรู้สีกตัวละครเท่านั้น หาใช่การแสดงออกที่ตราตรีงเทียบเท่าความตกตะตีงคาดไม่ถีงของหญิงสาว แล้วยังคงไม่เกี่ยงว่าเขาจะยากดีมีจน สนฐานะรูปร่างหน้าตาประการใด)

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” การกระทำอันเปี่ยมล้นด้วยมนุษยธรรมของ The Little Tramp จักตราฝังตรีงถีงทรวงในทุกผู้ชม ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเชื้อชาติ/พูดภาษาไหน ย่อมสามารถรับรู้เข้าใจได้อย่างสากล

จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย

คำโปรย | City Lights คือความเจิดจรัสจร้าที่สาดส่องออกมาจากจิตวิญญาณของ Charlie Chaplin
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว |


City Lights

City Lights (1931) hollywood : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♥

(19-6-2016) ขณะที่ Tramp จ้องมองหญิงสาวอย่างไม่คลาดสายตา เธอจำเขาไม่ได้ คิดว่าก็แค่คนเร่รอนทั่วๆไป แต่เมื่อได้สัมผัสจับมือ ความรู้สึกที่คุ้นเคย ความทรงจำอันมิอาจลืม ทำให้เธอจดจำเขาได้ You?, Tramp พยักหน้าถาม You can see now? เธอตอบว่า Yes, I can see now. สิ่งที่เธอเห็นคือแสงสว่าง เขาเป็นแสงสว่างของเธอ และเธอเป็นแสงสว่างของเขา นี่คือช่วงเวลาที่อ่อนหวานและสวยงามที่สุดในโลกภาพยนตร์

ทีแรกผมไม่ได้ตั้งใจจะเขียนรีวิวบทความนี้ใหม่นะครับ แต่เมื่อลองอ่านทบทวนดูเลยรู้ว่า พบว่ายังขาดใจความสำคัญที่ทำให้ผมหลงรักหนังเรื่องนี้ เลยตัดสินใจเขียนใหม่ และเพิ่มเกร็ดหนังเล็กๆน้อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่า นี่เป็นหนังแห่งทศวรรษ ไม่ใช่สิ หนังแห่งศตวรรษเลย, นี่อาจไม่ใช่หนังเงียบที่สุด แต่เป็นหนังเงียบที่สวยงามที่สุด

หลังจาก The Circus (1928) ออกฉาย หนังเงียบได้รับความนิยมน้องลงเรื่อยๆ เหตุจากหนังพูด (Talkie) เริ่มแพร่หลาย และผู้สร้างหนังเริ่มเล็งให้ความสนใจกับหนังพูดมากกว่า ทำให้ผู้คนแห่ไปทำหนังพูดกันหมด, Charlie Chaplin ณ ตอนนั้นได้พยากรณ์ไว้ว่า หนังพูดคงไม่มีวันฮิตติดตลาดหรอก เป็นแฟชั่นที่เดี๋ยวก็หมดไป ผมให้เวลา 3 ปีเท่านั้น (give the talkies three years, that’s all.), จริงๆแล้ว Chaplin เป็นคนที่ innovate มากนะครับ ตั้งแต่ 1918 เขาเคยได้รับการติดต่อจาก Eugene Augustin Lauste ผู้ริเริ่มและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถฉายภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ น่าเสียดายที่ทั้งสองไม่เคยเจอกัน ไม่เช่นนั้น Chaplin อาจเป็นคนแรกเลยด้วยซ้ำที่จะได้ทำหนังเสียง, Chaplin สร้าง City Lights ด้วยความตั้งใจให้เป็นหนังเงียบตั้งแต่แรก แต่ไปๆมาๆ เมื่อหนังเสียงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆก็สร้างความกดดันให้กับเขาอย่างมาก ซึ่งสุดท้ายก็ตัดสินใจดำเนินตามแนวคิดเดิม คือให้ City Lights เป็นหนังเงียบ แต่จะใส่ Soundtrack และ Sound Effect ประกอบเข้าไปด้วย

ต้นปี 1928 Chaplin เริ่มต้นเขียนบทหนังกับ Harry Carr โดยขณะที่ทำหนังเรื่อง The Circus มีฉากหนึ่งที่ตัวตลกตาบอดแต่เพื่อปกปิดลูกสาวไม่ให้รู้ จึงแกล้งทำให้เข้าใจคิดว่าเขาตาไม่ได้บอด, พล็อตนี้กลายมาเป็นฉากตอนต้นเรื่องที่ให้หญิงสาวตาบอดเข้าใจผิดคิดว่าตัวละครของ Chaplin เป็นคนรวยที่เดินขึ้นรถไป, แนวคิดเรื่องความเข้าใจผิดนี้ กลายเป็นใจความหลักของหนัง ที่เราจะเห็นว่าหญิงสาวเข้าใจแบบนั้นไปตลอดทั้งเรื่อง และเขาก็ปฏิบัติต่อเธอ เหมือนว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งตอนจบ เมื่อเธอสามารถมองเห็นได้แล้ว และพบว่าแท้จริงเขาเป็นเช่นไร มันคงเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกตะลึงมากๆ

สำหรับพล็อตรอง (subplot) ตอนต้นเรื่องตัวละคร Tramp ถือว่าเป็นคนชนชั้นต่ำ แต่ได้เคยช่วยเหลือมหาเศรษฐีไว้ทำให้เขาเดี๋ยวรวยเดี๋ยวจน, แนวคิดนี้มาจากเรื่องสั้น The Idle Class (1921) ซึ่งเป็นไอเดียเก่าๆของ Chaplin ว่าด้วยเรื่องของมหาเศรษฐีสองคนเลือก Tramp คนหนึ่งที่กำลังนอนหลับอยู่ข้างถนน ให้ตื่นขึ้นมากลายเป็นเศรษฐี ได้กินของแพงๆ เที่ยวคลับหรูๆ ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย พอเขาหลับไปอีกรอกก็พากลับไปไว้ที่เดิม ทำให้ Tramp ไม่รู้ว่าที่เขาเจอนั้นเป็นความจริงหรือฝัน, พล็อตนี้กลายมาเป็นเรื่องของมหาเศรษฐีที่ เดี๋ยวลืมเดี๋ยวจำของพระเอก ต้องตอนที่เขาเมาเท่านั้นถึงจะจำได้ แต่ถ้าสร่างเมาแล้วก็จะไม่รู้ว่าหมอนี่เป็นใคร

หนังเริ่ม pre-production ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 1928 โดยจ้าง Henry Clive มาออกแบบและสร้างฉากให้กับหนัง, ความตั้งใจของ Chapin สถานที่ดำเนินเรื่องอยู่ที่ Paris แต่ไปๆมาๆ การออกแบบมีส่วนผสมของหลายๆเมืองจากทั่วโลก อาทิ London, Los Angeles, Naples, Paris, Tangiers และ Council Bluffs มีคนให้คำนิยามฉากในหนังเรื่องนี้ว่า ‘ไม่ใช่เมืองที่อยู่บนโลก แต่คือเมืองที่เป็นตัวแทนของโลก’, ไปๆมาๆ Chaplin เลือก Henry Clive ให้รับบทเป็นมหาเศรษฐีในหนังด้วยนะครับ แต่มีฉากหนึ่งที่ตัวละครต้องการโดดลงน้ำ แล้ว Clive ไม่ยอมกระโดด (ว่ากันว่าตอนนั้น Clive ไม่สบายเป็นไข้ และได้ต่อรองของเป็นวันถัดไปแต่ Chaplin ไม่ยอม) จึงถูกไล่ออก สุดท้ายมาลงเอยที่ Harry Myers รับบทแทน

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1928 Hannah Chaplin แม่ของ Charlie Chaplin เสียชีวิตรวมอายุได้ 63 ทำให้ Pro-Production ต้องหยุดชะงักไปหลายสัปดาห์ และไม่ได้เริ่มจนกระทั่งปลายปี, มีนักจิตวิทยาได้วิเคราะห์เรื่องราวของหนังเรื่องนี้ โดยคิดว่าอาจเป็นหนังที่อิงชีวประวัติของ Charlie Chaplin, เราสามารถเปรียบหญิงสาวตาบอดเป็นตัวแทนของแม่ และมหาเศรษฐีขี้เมาเป็นตัวแทนของพ่อ, โดยยังได้ชี้ถึงสถานที่ต่างๆที่ปรากฏในหนัง ล้วนแล้วแต่มีความคล้ายคลึงกับพื้นหลังวัยเด็กของ Chaplin ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ อาทิ ฉากเปิดเรื่องที่มีพื้นหลังคล้ายๆกับ St. Mark’s Church ใน Kennington Park Road หรือบริเวณริมแม่น้ำ (ที่ Tramp ได้ช่วยเศรษฐีที่กำลังจะกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย) ที่นั่นคล้ายกับ Thames Embankment ในกรุง London

สำหรับบทนางเอก หญิงสาวขายดอกไม้ผู้ตาบอด เห็นว่ามีนักแสดงหญิงมาทดสอบหน้ากล้องมากมายแต่ก็ไม่มีใครเข้าตาสักคน จนกระทั่งวันหนึ่งใน Santa Monica, Chaplin ได้พบกับ Virginia Cherrill, ทั้งสองเคยเจอกันมาแล้วครั้งหนึ่งในสนามมวย ซึ่งเธอนั่งติดกับ Chaplin แต่เขาจำไม่ได้, Cherrill บอกว่าอยากร่วมงานกับ Chaplin เลยชวนเธอให้มาทดสอบหน้ากล้อง ซึ่งเธอเป็นนักแสดงคนแรกที่สามารถแสดงเหมือนหญิงสาวตาบอด มองอะไรไม่เห็น โน้มน้าวให้ Chaplin เชื่อว่าเธอตาบอดจริงๆ เลยได้เซ็นสัญญากันเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1928

Virginia Cherrill เกิดในชนบท ที่บ้านทำฟาร์มในรัฐ Illinois เธอไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นนักแสดงนะครับ แต่เพราะเพื่อนสนิทของเธอชักชวนเข้ามาใน Hollywood, เห็นว่าระหว่างถ่ายทำ City Light ไปจนเกือบจะเสร็จแล้ว เธอกับ Chaplin มีปัญหากัน สร้างความไม่พอใจ (จริงๆคือ Cherrill เบื่อที่ Chapin ทำงานช้า จนขอให้เขาเลิกกองถ่ายเร็ว เพื่อจะได้กลับบ้าน) จึงไล่เธอออก และให้ Georgia Hale ที่เป็นดารานำของ Chaplin จากหนังเรื่อง The Gold Rush มาเข้าฉากแทน (มีฟุตเทจของเธอหลงเหลือมาถึงปัจจุบันด้วยนะครับ) แต่เพราะหนังถ่ายกับ Cherrill ไปมากแล้ว ซึ่งเธอก็ถูกร้องขอจาก Marion Davies ที่บอกว่า Chaplin ต้องการให้เธอกลับมา เธอจึงยอมต่อรองและขอเงินเดือนเพิ่ม 2 เท่า แม้ Chaplin จะไม่พอใจเท่าไหร่ แต่ก็ต้องจำใจยอม

หลังจากประสบความสำเร็จล้นหลามจากหนังเรื่องนี้ 20th Century Fox ก็รีบจับ Cherrill เซ็นต์สัญญาระยะยาวทันที แต่เธอก็อยู่ในวงการได้ไม่นานเพราะหนังเรื่องถัดๆมาไม่ประสบความสำเร็จเลย จนเธอคิดว่าตัวเองคงไม่มีพรสวรรค์ด้านการแสดง (no great shakes as an actress.) จึงออกจากวงการในปี 1936, Cherrill เคยแต่งงานอยู่กินกับ Cary Grant ระหว่างปี 1934-1935 แต่เลิกกันเพราะเธออ้างว่า Grant ใช้ความรุนแรงกับเธอ, ภายหลังเมื่อปี 1960 เธอได้รับประดับดาวใน Hollywood Walk of Fame ที่ 1545 Vine Street จากความยอดเยี่ยมในการแสดงที่สุดประทับใจจากหนังเรื่องนี้

การถ่ายทำเริ่มต้นเมื่อ 27 ธันวาคม 1928 (หลังจากเริ่มเขียนบทประมาณ 1 ปี), Chaplin เป็นผู้กำกับที่ขึ้นชื่อว่ามีความเป็น perfectionist สูงมาก เขาถ่ายฉากที่ Tramp ซื้อดอกไม้ดอกแรกจากหญิงสาวตาบอด ว่ากันว่าประมาณ 342 ครั้ง เพราะเขาไม่สามารถโน้มน้าวใจตัวเอง ให้พอใจต่อวิธีการแสดงให้หญิงสาวเข้าใจผิดคิดว่า Tramp เป็นคนรวยได้, เห็นว่าถ่ายกันอยู่ 3 เดือนก็ยังไม่พอใจฉากเดียว เลยเปลี่ยนไปถ่ายฉากอื่น

กับฉากเปิดเรื่องนั้น เดิมนั้น Chaplin ตั้งใจให้เป็นฉากจบ เป็นขณะที่หญิงสาวตามองเห็นแล้ว และได้เห็นเขาในลักษณะที่เป็นตัวตลก (ฟุตเทจนี้จริงๆจะมีบทของ Cherrill ด้วยนะครับ) แต่สุดท้ายก็ตัดอะไรๆออก แล้วย้ายมาใส่เป็นฉากเปิดเรื่องแทน, เสียงที่เราได้ยินที่อู้อี้ๆ ขณะตัวละครกำลังเหมือนพูดปราศัยอะไรสักอย่าง แท้จริงเป็นเสียง paper reed โดย Chaplin เองนะครับ, ผมเชื่อว่ามีคนเข้าใจผิด หลงคิดว่าลำโพงเสียแน่ๆ … ไม่ใช่นะครับ เป็นความจงใจของ Chaplin ที่ทำให้เป็นแบบนั้น

สำหรับฉาก Boxing Match ที่ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของหนัง, ฉากนี้ใช้ตัวประกอบประมาณ 100 คน Chaplin ชักชวนพรรคพวก ญาติสนิท มิตรสหายที่อาศัยอยู่แถวๆสตูดิโอมาเป็นตัวประกอบ ใช้เวลาซักซ้อม 4 วัน ถ่ายจริง 6 วัน, ตัวประกอบเหล่านี้พอเห็นการแสดงของ Chaplin ที่มีความตลกขบขันอย่างมาก จนเกิดการชักชวนต่อกัน ปากต่อปาก ทำให้แต่ละวันมีตัวประกอบเข้ามาในกองถ่ายเยอะขึ้นเรื่อยๆ

เห็นตลกๆแบบนั้น แต่แฝงอะไรหลายๆไว้พอสมควรเลยนะครับ ดูรอบนี้ผมทึ่งมากๆ เพราะได้มองเห็นแนวคิดที่แอบซ่อนไว้นี้ บางอย่างไม่น่าเชื่อว่าเสียดสีสังคมได้เจ็บแสบมากๆ, การต่อยมวยแทนการต่อสู้ การเอาตัวรอดในสังคม มนุษย์เราส่วนมากมักจะหลบซ่อนตัวเอง (อยู่หลังกรรมการ) ไม่แสดงตน ออกสิทธิ์ออกเสียงเมื่อมีการประทะซึ่งกันและกัน, กับคู่ต่อสู้เดิม ที่ว่าถ้าแกล้งแพ้ ไม่ต้องเจ็บตัวมาก จะแบ่งเงินกัน 50-50 ในชีวิตจริงมันแทบไม่มีแบบนั้นนะครับ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัว คนส่วนใหญ่เป็นแบบถ้าตัวเองไม่ได้ประโยชน์ก็ต้องไม่เสียประโยชน์, ระหว่างชก ผลัดกันล้มแล้วลุกแล้วล้ม นี่คือชีวิตมนุษย์เลยนะครับ มีขึ้นก็ต้องมีลง มีได้ก็ต้องมีเสีย แต่ถ้าต้องมีผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว หมัดเดียวต้องให้สลบ ล้มไม่ลุกเท่านั้น ทำลายคู่แข่งไม่ให้ฟื้นกลับขึ้นมา นั่นถือจะเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด

หนังปิดกล้อง กันยายน 1930 รวมเวลาการถ่ายทำเกือบ 2 ปี เข้าสู่ช่วงตัดต่อและ Post-Production หนังได้ฟุตเทจความยาว 314,256 ฟุต ซึ่งหนังเรื่องนี้ความยาวแค่ 8,093 ฟุต หารเฉลี่ยจะพบว่าอัตราส่วนหนัง 38 ฟุตจะกลายเป็นหนัง 1 ฟุตที่ฉายจริง, ทุนสร้างของหนังนอกจากหมดไปกับค่าฟีล์มแล้ว ยังรวมถึงค่า stand-by ของนักแสดง ที่ตลอดระยะเวลา 2 ปี นักแสดงในหนังจะได้รับค่าจ้างต่อเนื่องเป็นรายเดือน เพราะติดสัญญาจนกว่าจะถ่ายทำเสร็จ, หนังใช้ทุนสร้างทั้งหมด $1.5 ล้าน แต่โชคดีที่หนังทำรายได้ในอเมริกาประมาณ $5 ล้าน เป็นหนังเงียบที่ทำเงินสูงสุดที่นับตั้งแต่มีหนัง Talkie เข้ามาแย่งตลาด

นี่เป็นหนังเรื่องสุดท้ายที่ Chaplin ตัดต่อด้วยตัวเอง และเป็นหนังเรื่องแรกที่เขาแต่งเพลงประกอบ, หลังจากการเข้ามาของหนัง Talkie โรงหนังหลายแห่งได้ทำการไล่วง Orchestra ออก (เพราะหนังเสียงบรรจุเพลงประกอบในหนังแล้ว วง Orchestra จึงไม่จำเป็นอีกต่อไป) ครอบครัวของ Chaplin มีหลายคนที่เป็นนักดนตรี ซึ่งพอพวกเขาตกงานก็ทำให้ Chaplin ว่าจ้างพวกเขาเพื่อให้มาเล่นเพลงประกอบให้กับหนัง, Chaplin ใช้เวลา 6 สัปดาห์เขียนเพลงประกอบกับ Arthur Johnston ซึ่ง Chaplin นั้นให้เครดิตกับ Johnston ว่าเป็นคนเขียนเพลงประกอบ เขาเป็นแค่คนคิดทำนองเท่านั้นไม่ได้เขียน (I really didn’t write it down. I la-laed and Arthur Johnson wrote it down.) ความตั้งใจของเพลงประกอบคือ แปลความรู้สึก อารมณ์ของตัวละครผ่านตัวโน๊ต, เพลงประกอบได้รับการบันทึกเสียงและกำกับโดย Alfred Newman

เพลงที่ดังๆเป็น Leitmotif ของหญิงสาวตาบอดที่ขายดอกไม้ ชื่อเพลง “La Violetera” (“Who’ll Buy my Violets”) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากเพลงของ José Padilla ซึ่ง Chaplin คงลืมไม่ได้ให้เครดิตเขา จึงถูก Padilla ฟ้องแล้วแพ้ ลองไปฟังเพลงนี้ดูนะครับ

ปกติแล้วหนังที่สร้างใน Hollywood ก็มักจะมีรอบ Premiere ที่ Hollywood แต่หนังเรื่องนี้ Chaplin เลือก Los Angeles Theater เป็นสถานที่ฉายรอบปฐมทัศน์ และเชิญ Albert Einstein และภรรยามาเป็นแขกรับเชิญกิตติมาศักดิ์, หลังจากหนังฉายจบได้รับการยืนปรบมือ และตอนไฟขึ้น Chaplin เห็น Einstein ร้องไห้กับฉากสุดท้ายของหนัง ‘ไม่รู้มาก่อนว่า Einstein จะเป็นคนอ่อนไหวขนาดนี้’

หนังเรื่องนี้ ‘ต้องดูให้ได้ก่อนตาย’ ไม่ใช่แค่เพราะความตลกขบขัน ที่ผมคิดว่านี่เป็นหนังที่ลงตัวและตลกที่สุดของ Charlie Chaplin แล้ว, แต่ยังหมายถึงเรื่องราวที่แฝงข้อคิดที่สวยงาม กับคนที่ด้อยโอกาสกว่าเรา เขาไม่เห็นหรอกว่าเราเป็นคนยังไง ดีเลว หล่อสวย รวยจน แต่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน นี่คือสิ่งที่เขาจะจดจำไว้จนวันตาย ถึงผู้มีบุญคุณ ที่สักวันหนึ่งเมื่อเขามองเห็นเรา เขาจะไม่สนใจหรอกว่าเราเป็นคนยังไง ความดีนี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ยกย่อง มันคือความสวยงามที่สุดของมนุษย์ที่จะแสดงออกมาได้

กับฉากตอนจบ มันคือฉากที่สวยงามที่สุดในโลกภาพยนตร์จริงๆนะครับ ต่อให้เรารู้สึกเฉยๆกับหนังมาทั้งเรื่อง แต่มาถึงตรงนี้ดูกี่ครั้งผมก็ยังน้ำตาคลอเบ้า เพราะมันคือความหวังที่สวยงาม ครั้งหนึ่งผมเคยคิดว่ามันคือความหวังในรัก แต่เมื่อมองลึกลงไป มันคือความหวังของมวลมนุษย์ ต่อความดี ความบริสุทธิ์ใจ ที่เมื่อเราให้สิ่งนี้กับใคร หวังดีต่อใคร ย่อมได้รับผลตอบแทนที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน, Chaplin พูดว่า ฉากสุดท้ายนี้เขาไม่ได้แสดง แต่คือตัวตนของเขาจริงๆ ที่กำลังยืนชื่นชมความสวยงามของหญิงสาว (The last scene, I’m not acting …. Almost apologetic, standing outside myself and looking … It’s a beautiful scene, beautiful, and because it isn’t over-acted.)

รายชื่อคนดังที่ City Light เป็นหนังเรื่องโปรด อาทิ Orson Welles, Stanley Kubrick, Andrei Tarkovsky, Federico Fellini, Woody Allen ฯ

หนังติดอันดับ 17 จาก Top 100 of all time ของนิตยสาร Cahiers du cinéma
ติด All-TIME 100 Movies นิตยสาร TIME
ติดอันดับ 76 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 1998
ติดอันดับ 11 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 2007
ติดอันดับ 2 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Critic’s Poll 1952
ติดอันดับ 30 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Director’s Poll 2012
และติดอันดับ 50 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Critic’s Poll 2012

แนะนำหนังเรื่องนี้กับผู้ชมทุกเพศทุกวัย เด็กก็ดูได้ แต่ผู้ใหญ่ดูแล้วน่าจะอินกว่า ถึงจะเป็นหนังเงียบ แต่การันตีได้ว่าจะไม่เบื่อเลย โดยเฉพาะฉากต่อยมวยที่จะทำให้คุณหัวเราะจนท้องแข็งแน่นอน, จัดเรต General ดูได้ทุกคน

TAGLINE | “City Lights ของ Charlie Chaplin มีฉากจบที่สวยงามที่สุดในโลก”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | FAVORI 


City Light

City Lights (1931)

(4/1/2016) นี่คือหนังของ Charlie Chaplin ที่ผมชอบที่สุด มีส่วนผสมของ Romance กับ Comedy ที่ลงตัวมากๆ ฉากต่อยมวยช่วงท้ายรับประกันได้ว่าหัวเราะจนท้องแข็งทีเดียว ในบรรดาหนังของ Chaplin นี่เป็นหนังที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด อันดับ 11 ในชาร์ท AFI (สูงสุดในบรรดาหนังของ Chaplin) สำหรับนิตยสาร Sight & Sound นั้นเคยได้สูงสุดถึงอันดับ 2 เมื่อตอนโหวตปี 1952 เป็นรองเพียง Bicycle Thieves เท่านั้น

คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากกับสรรพคุณของ Charlie Chaplin หนึ่งในผู้กำกับและนักแสดงแห่งยุคหนังเงียบ ถึงเขาจะไม่ประสบความสำเร็จกับหนังเสียงนัก แต่การแสดงของเขาก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักแสดงรุ่นถัดมามากมาย และทั่วโลก ว่ากันว่า การแสดงฉาก Action ของ Jacky Chan ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากความบังเอิญอย่างจงใจของ Chaplin ตัวละครที่ Chaplin นิยมใช้เป็นพระเอก เป็นตัวละครประเภทจรจัด จนเขาได้ฉายาว่า Chaplin’s Tramp นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ตัวเอกเป็น Tramp ที่ไปเจอกับหญิงสาวคนหนึ่งและตกหลุมรัก

City Lights มี Theme หลักเป็นเรื่องของความรักและความหวัง ถ้าถามว่าอะไรคือ City Lights ในหนังก็คือนางเอก นำแสดงโดย Virginia Cherrill ถือว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเธอแล้ว เคมีของเธอกับ Chaplin เข้ากันมาก แม้หนังเรื่องนี้เธอจะแสดงเป็นสาวตาบอด แต่สายตาของเธอที่ดูล่องลอยกลับแฝงไว้ด้วยความหวัง เธอเปรียบเหมือนแสงสว่างนำทางให้ตัวละครของ Chaplin หนังจบอย่างสวยงามมาก (แอบมีน้ำตาคลอ) ไม่สปอยแล้วกัน

The Circus (1928) เป็นหนังเรื่องสุดท้ายของ Chaplin ก่อนที่ระบบสตูดิโอจะเข้ามาใน hollywood เว้นว่างไปถึง 3 ปี เขาได้เป็นหนึ่งในเจ้าของสตูดิโอ United Artists และสร้าง City Lights โดยตั้งใจให้มันเป็นหนังเงียบ (ทั้งๆที่ตอนนั้นหนังเสียงได้เกิดขึ้นแล้ว) และผลงานของเขาทุกเรื่องเป็นหนังเงียบหมด ผมลองไปหาบทความที่ Chaplin เคยให้สัมภาษณ์ เขาบอกว่าถ้าเขาพูด เขาก็จะกลายเป็นเหมือนตลกคนอื่น “If I talked I would become like any other comedian.” ในยุคหลังๆถึงตัวละครของ Chaplin จะไม่พูด แต่เขาก็ประพันธ์เพลงประกอบเองด้วย (เป็นเพลงบรรเลงที่ใช้ประกอบหนังเงียบ) ใน City Lights ถ้าใครได้ดูเวอร์ชั่นที่มีเพลงบรรเลง นั่นเป็นงานประพันธ์ของ Chaplin เองเลยนะครับ

ในหนังมีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ Chaplin ทำไม่ได้ คือ ตากล้อง (เพราะถ้าเขาอยู่ในฉากด้วยเขาจะเป็นตากล้องได้ยังไง) คือ Roland Totheroh หรือ Rollie Totheroh ตากล้องขาประจำของ Chaplin กว่า 30 เรื่อง สไตล์การถ่ายถ้าใครได้ดูหนังของ Chaplin หลายๆเรื่องก็จะจับทางพัฒนาการได้ คือแรกๆจะเน้นการตั้งกล้องไว้เฉยๆ แล้วให้การแสดงนำไป จากนั้นก็เริ่มมีการเคลื่อนกล้องหมุนไปมาตามตัวละคร แต่เราจะเห็นแค่ทิศทางเดียว เหมือนกับดูละครเวทีเล่นสด เราจะเห็นแค่ด้านหน้าเท่านั้นไม่ค่อยเห็นบรรยากาศรอบๆเท่าไหร่

หนังของ Chaplin มักจะตัดไปที่คำพูดไม่บ่อยนัก คือมักจะทิ้งให้คนดูคิดไปเองว่าตัวละครพูดอะไร เครดิตตัดต่อ … ก็ Chaplin นะแหละ พี่แกทำทุกอย่างจริงๆ

ผมคงไม่สปอยอะไรมากสำหรับหนังเรื่องนี้ บอกแค่ว่าถ้าไม่ได้ดูจะเสียชาติเกิดมากๆ สามารถหาดูได้ที่ Youtube ด้วย หนังยาวแค่ 87 นาทีเท่านั้น หนังดูง่าย เนื้อเรื่องตรงไปตรงมา แต่การแสดงของ Chaplin นั้นสุดยอดมากๆ เชื่อว่าดูจบแล้วคุณจะหลงรัก Charlie Chaplin และอยากหาหนังของเขามาดูอีก

คำโปรย : “City Lights หนังที่สวยงามที่สุด และยอดเยี่ยมที่สุดของ Charlie Chaplin”
คุณภาพLEGENDARY
ความชอบLOVE

3
Leave a Reply

avatar
3 Comment threads
0 Thread replies
0 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
0 Comment authors
Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
trackback

[…] 5. City Lights (1931)  : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♥ […]

trackback

[…] 5. City Lights (1931)  : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♥ […]

trackback

[…] 5. City Lights (1931)  : Charlie Chaplin ♥♥♥♥♥ […]

%d bloggers like this: