Close-Up (1990) : Abbas Kiarostami ♥♥♥♥
(5/2/2023) พบเห็นอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Abbas Kiarostami ในระยะประชิดใกล้ (Close-Up) จากการผสมผสานครึ่งจริง-ครึ่งแต่ง เรื่องราวของชายที่แอบอ้างตนเองเป็นผู้กำกับดัง อะไรคือสิ่งดลใจให้เขาทำเช่นนั้น?
ก่อนที่ Close-Up (1990) จะสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติให้ผู้กำกับ Abbas Kiarostami เมื่อตอนออกฉายรอบปฐมทัศน์ในอิหร่าน ถูกนักวิจารณ์ด่ากราด ถึงความจอมปลอม เพ้อเจ้อไร้สาระ พยายามนำเสนอข้อแก้ต่างให้ผู้ต้องหา อีกทั้งยังโดนตีตราชวนเชื่อฟาสซิสต์-คอมมิวนิสต์
the close-up is not a close-up of the film, that is, it is not a cinema, it is a dull television report that has come to testify to the futility of the filmmaker’s mere instinctive imaginations. To testify that it is not Mr. Hossein Sabzian who is looking for recovery of confiscation conditions, if his action stems from self-deprecation tendencies, unfortunately, these tendencies are a compromise of Mr. Kiarostami’s lowered self-esteem.
Fereydoun Sediqi นักวิจารณ์จากหนังสือพิมพ์ Kayhan
Kiarostami’s films (especially Homework (1989) and Close-Up (1990)) are similar to the propaganda films of the fascist and communist regimes, which did not create characters, they created acts, the actions of such documentaries are for propaganda or revenge and revenge.
Masoud Farasti นักวิจารณ์จากนิตยสารรายเดือน Mehr (Monthly)
แต่สิ่งที่ผู้ชม/นักวิจารณ์ทั่วโลกต่างยกย่องสรรเสริญจนกลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ “Greatest Film of All-Time” นั่นคือแนวคิดการลบล้างเส้นแบ่งบางๆระหว่างเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง (Reality) กับสิ่งที่ผู้กำกับครุ่นคิดสร้างสรรค์ขึ้น (Fiction) ผ่านมุมมองสองเลนส์ระยะประชิด (Close-Up Lens) และมุมกว้าง (Wide-Angle Lens) ซึ่งสามารถตั้งคำถาม’หยิน-หยาง’ได้อย่างครอบจักรวาล อาทิ โจทก์-จำเลย, ผู้พิพากษา-ผู้ต้องหา, ผู้กำกับ-นักแสดง, มืออาชีพ-สมัครเล่น, ชีวิตจริง-ศิลปะ, ชนชั้นฐานะรวย-จน การแสดงออกภายนอก-ตัวตนแท้จริงภายใน, หรือแม้แต่ไมค์ติดๆดับๆช่วงท้าย ฯลฯ … ผมครุ่นคิดว่าหนังมีความลุ่มลึกล้ำระดับเดียวกับ Persona (1966)
The greatest documentary about filmmaking I have ever seen.
ผู้กำกับ Werner Herzog
เมื่อตอนรับชมหนังครั้งแรกจดจำได้ว่าโคตรเหนื่อย! เพราะบรรยากาศอันตึงเครียด ต้องใช้สมาธิในการครุ่นคิดตามอยู่ตลอดเวลา หวนกลับมารอบนี้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น สามารถทำเข้าใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ พบเห็นอัจฉริยภาพผู้กำกับ Kiarostami ในระยะประชิดใกล้ แม้ส่วนตัวยังคงโปรดปรานปรัชญาของ The Wind Will Carry Us (1999) แต่ก็เห็นด้วยว่า Close-Up (1990) คือหนึ่งในมาสเตอร์พีซแห่งวงการภาพยนตร์
แซว: ความที่ผู้ชมต่างชาติสมัยนั้น ส่วนใหญ่ไม่รับรู้จักทั้ง Abbas Kiarostami และ Mohsen Makhmalbaf นักข่าวชาวอเมริกัน Godfrey Cheshire จากนิตยสาร Film Comment จึงใช้คำอธิบายเรื่องย่อหนังโดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อของเซเลบ François Trauffaut และ Jean-Luc Godard ลองอ่านเต็มๆดูนะครับ
… Paris, 1963. One day on a bus a woman strikes up a conversation with a young man, asking about the book he is reading. The young man shyly reveals that he is, in fact, the book’s author the noted filmmaker François Trauffaut. One conversational thing leads to another and soon enough the man has been welcomed into the woman’s upper-middle-class household and a family that reveres the cinema. The self-described Trauffaut embraces that reverence, promises to involve the family in the next film, and holds rehearsals; he also borrows money he does not return. Eventually, the ruse fails. The young man, a poor nobody, is arrested and scheduled for trial. At this point enter (the real) Jean-Luc Godard, who wins permission to bring his cameras into the courtroom and even re-enacts certain scenes, involving in his docudrama the family, the young man, and (the real) Trauffaut …
นิตยสาร Film Comment ฉบับเดือน April ’93
Abbas Kiarostami (1940-2016), عباس کیارستمی ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอิหร่าน เกิดที่ Tehran วัยเด็กมีความลุ่มหลงใหลการวาดภาพ โตขึ้นเข้าเรียน School of Fine Arts ณ University of Tehran ระหว่างนั้นทำงานพาร์ทไทม์เป็นตำรวจจราจร, จบออกมาได้กลายเป็นนักออกแบบโปสเตอร์ กำกับโฆษณากว่า 150 ชิ้น กระทั่งการมาถึงของ The Cow (1969) สร้างโดยผู้กำกับ Dariush Mehrjui อันเป็นจุดเริ่มต้นยุคสมัย Iranian New Wave ทำให้ Kiarostami ติดตามรอยเท้า เริ่มต้นสร้างหนังสั้น The Bread and Alley (1970), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก The Experience (1973), The Traveler (1974), The Report (1977), หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาหลายปี ในที่สุดก็ค้นพบแนวทางของตนเองกับ Where Is the Friend’s Home? (1987), โด่งดังระดับนานาชาติเรื่อง Close-Up (1990), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Life, and Nothing More… (1992), Through the Olive Trees (1994), Taste of Cherry (1997), The Wind Will Carry Us (1999), Ten (2002) ฯลฯ
สไตล์ของ Kiarostami รับอิทธิพลจาก Neorealist เน้นความเป็น Naturalist และ Minimalist มักนำเสนอด้วยรูปแบบ Docudrama จนมีลักษณะของ Poetic Film, หัวข้อสนใจด้านปัญหาสังคม เกี่ยวกับครอบครัว ชีวิต-ความตาย และจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์
ช่วงปลายปี 1989, ระหว่างที่ผู้กำกับ Kiarostami กำลังเตรียมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อไป And Life Goes On (1992) ได้พบเห็นบทความในนิตยสาร Sorush ชื่อว่า “Bogus Makhmalbaf Arrested” เขียนโดย Hassan Farazmand อธิบายเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นที่ Varamin ทางตอนเหนือของ Tehran ด้วยการสัมภาษณ์ชายคนหนึ่ง Hossain Sabzian แอบอ้างว่าตัวเองเป็นผู้กำกับดัง Mohsen Makhmalbaf
LINK: สำหรับคนอยากอ่านบทความฉบับแปลภาษาอังกฤษ [คลิก]
ในบทสัมภาษณ์ของ Makhmalbaf เล่าว่าตนเองเป็นคนซื้อนิตยสารเล่มดังกล่าว เพราะครุ่นคิดที่จะดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ แล้วนำมาพูดคุยกับ Kiarostami แต่ได้รับคำทันทาน ให้เหตุผลว่าเพราะเขาคือตัวละครในเรื่องราวดังกล่าว
Kiarostami said I shouldn’t direct it, because I’m a character in the story.
Mohsen Makhmalbaf
แต่ในบทสัมภาษณ์ของ Kiarostami บอกว่านิตยสารเล่มนั้นอยู่ในสำนักงานก่อนที่เขาจะมีโอกาสพูดคุยกับ Makhmalbaf และระหว่างสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตนเองเป็นผู้เสนอแนะเรื่องการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ … ก็ไม่รู้ใครพูดจริงนะครับ
ไม่กี่วันหลังจากนั้นผู้กำกับ Kiarostami ก็รวบรวมทีมงาน ติดต่อตากล้อง Ali Reza Zarrindast ช่างเสียง ช่างไฟ เดินทางไปเข้าพบ Hossain Sabzian ขณะนั้นยังถูกควบคุมขังในเรือนจำ แล้วมีการติดต่อ(ล็อบบี้)ผู้พิพากษาขออนุญาตบันทึกภาพระหว่างการไต่สวนคดีความบนชั้นศาล หลังจาก Sabzian ได้รับการปล่อยตัว พบเจอ Makhmalbaf จึงเริ่มทำการ ‘reconstruct’ ถ่ายทำเหตุการณ์ทั้งหมดที่บังเกิดขึ้น
ถ่ายภาพโดย Ali Reza Zarrindast (เกิดปี 1945), علیرضا زریندست ตากล้องสัญชาติอิหร่าน เข้าสู่วงการตั้งอายุ 20 ปี จากเป็นช่างภาพนิ่ง ผู้ควบคุมกล้อง (Camera Operator) เริ่มมีชื่อเสียงจาก Goodbye Friend (1971), The Report (1977), The Peddler (1987), The Cyclist (1989), Close-Up (1990) ฯลฯ
เพราะเป็นการถ่ายทำเชิงสารคดี จึงดูเหมือนไม่ได้มีเทคนิคอะไรหวือหวา แต่ประสบการณ์/สันชาติญาณของ Zarrindast ถือว่าไม่ธรรมดา! โดยเฉพาะขณะสัมภาษณ์หรืออยู่ในชั้นศาล บ่อยครั้งจะมีการค่อยๆซูมเข้าใกล้ใบหน้า “Close-Up” เพื่อสร้างแรงดึงดูด/จุดสนใจ ให้ผู้ชมเกิดความจดจ่ออยู่กับคำถาม-ตอบนั้นๆ เมื่อพูดจบก็ซูมออกห่าง แล้วแพนนิ่งเคลื่อนหาบุคคลเป้าหมายลำดับถัดไป
แซว: การที่หนังใช้ชื่อ Close-Up (1990) ย่อมทำให้ผู้ชมมากประสบการณ์เกิดความวิตกจริต (ผมก็คนหนึ่งละ!) คอยจับจ้องมองหาช็อต “Close-Up” ครุ่นคิดว่ามันอาจเคลือบแอบแฝงนัยยะบางอย่าง แต่จริงๆแล้วก็ไม่ได้มีอะไรมากกว่าที่เพิ่งอธิบายไป เพียงสร้างแรงดึงดูด/จุดสนใจ เหมือนว่าคำถาม-ตอบนั้นๆมีความสลักสำคัญ โปรดจงตั้งใจรับฟัง (แต่มันอาจไม่มีอะไรเลยก็ได้)
ในแต่ละองก์ของหนังจะมีเทคนิค วิธีการถ่ายภาพที่แตกต่างกันออกไป
- อารัมบทและช่วงของภาพย้อนอดีต (Flashback หรือ Reconstruct Scene) จะใช้วิธีการถ่ายทำภาพยนตร์แบบทั่วๆไป มุมมองบุคคลที่สาม ด้วยฟีล์ม 35mm คุณภาพดีเยี่ยม เพื่อสื่อถึงการนำเสนอในลักษณะเรื่องแต่ง (Fiction)
- ช่วงการสัมภาษณ์ตำรวจ, ผู้พิพากษา รวมถึงสมาชิกครอบครัว Ahankhah ใช้วิธีการนำเสนอแบบสัมภาษณ์ถาม-ตอบ (ผมเรียกว่ามุมมองบุคคลที่สี่ เพราะพวกเขาสบตาหน้ากล้อง “Breaking the Fourth Wall”) ได้ยินเสียงผู้กำกับ Kiarostami ยืนอยู่ด้านหลังกล้อง ถ่ายทำด้วยฟีล์ม 35mm
- ช่วงการเข้าไปพูดคุยกับ Sabzian ในเรือนจำ (เป็นครั้งเดียวที่จะเห็นผู้กำกับ Kiarostami อยู่ข้างหน้ากล้อง) และตอนท้ายเมื่อได้รับการปล่อยตัวออกมา ใช้วิธีการแอบถ่ายด้วยฟีล์ม 35mm ภาพสั่นๆ มักต้องมีบางสิ่งอย่างบดบัง กีดกั้นขวาง (เพื่อสร้างสัมผัสของการแอบถ่าย)
- และระหว่างการพิจารณาคดีบนชั้นศาล ถ่ายทำด้วยกล้องสองตัว ฟีล์มขนาด 16mm ภาพแตกๆเบลอๆ เพื่อนำเสนอการเผชิญหน้าโลกความจริง (Reality) ของ Sabzian ที่ไม่ได้สวยเลิศเลออย่างเคยเพ้อฝันหวาน
นักข่าว Hossain Farazmand ระหว่างโดยสารรถแท็กซี่ มีการคุยโวโอ้อวด สนทนากล่าวอ้างถึงสามนักข่าวชื่อดัง ประกอบด้วย
- Oriana Fallaci (1929-2006) นักข่าวชาวอิตาเลี่ยน มีชื่อเสียงจากรายงานสถานการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และบทสัมภาษณ์ผู้นำโลกอย่าง Indira Gandhi (นายกรัฐมนตรีอินเดีย), Golda Meir (นายกรัฐมนตรีอิสราเอล), Yasser Arafat (ผู้นำปาเลสไตน์), Zulfikar Ali Bhutto (ปธน. ปากีสถาน), Willy Brandt (นายกรัฐมนตรีเยอรมนี), Mohammad Reza Pahlavi (สมเด็จพระเจ้าชาห์องค์สุดท้ายของอิหร่าน), Nguyễn Văn Thiệu (ปธน.เวียดนามใต้), Võ Nguyên Giáp (นายพลเวียดนามเหนือ), ปธน. เติ้งเสี่ยวผิง, Ayatollah Khomeini, Muammar Gaddafi, รวมถึงผู้กำกับดัง Alfred Hitchcock ฯลฯ
- Peter Bogdanovich (1939-2022) ก่อนหน้าจะกลายเป็นผู้กำกับ เคยเป็นนักข่าว เขียนบทความวิจารณ์ลงนิตยสาร Film Culture และ Esquire
- John Edisson … ใครหว่า?
ระหว่างการเดินทางมีการสอบถามทาง 2 ครั้ง ซึ่งจะมีการนำเสนอที่แตกต่างตรงกันข้าม
- ครั้งแรกสอบถามเด็กชายคนหนึ่ง แต่กล้องยังคงจับจ้องภายในรถแท็กซี่ พอไม่ได้รับคำตอบรถก็ขับเคลื่อนออกไปอย่างรวดเร็ว (เห็นเด็กคนนั้นลิบๆ)
- ครั้งสองมีการตัดให้เห็นภาพชายวัยกลางคน แต่ยังคงถ่ายจากภายในรถ ได้ยินเสียงพูดตอบว่าไม่รู้ จากนั้นพยายามเสนอขายไก่งวงสองตัว
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าทำไมถึงต้องเป็นไก่งวง แต่ลักษณะของมันทั้งสองตัวดูเหมือนเปี๊ยบ แยกกันไม่ออก สามารถสื่อถึง Sabzian ที่ปลอมตัวเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf กระมัง? … คือหนังเต็มไปด้วย “สูตรสอง” ที่มีความละม้ายคล้ายและแตกต่างตรงกันข้าม
รวมถึงบทสนทนาระหว่างคนขับรถแท็กซี่กับนายตำรวจทั้งสองก็แอบเข้า “สูตรสอง” มีคนหนึ่งเล่าว่าเป็นชาว Isfahan แล้วมาประจำการอยู่ Tehran ซึ่งตรงกันข้ามกับคนขับรถแท็กซี่เกิดที่ Tehran เคยไปประจำการที่ Isfahan, นอกจากนี้ยังพูดคุยเรื่องระยะเวลาประจำการ สำหรับชายโสดต้องอยู่ 2 ปีเต็ม ส่วนอีกคนบอกแต่งงานแล้วเลยได้รับการลดหย่อนเหลือ 18 เดือน (ปีครึ่ง)
ระหว่างรอคอยการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คนขับแท็กซี่ลงมาเก็บดอกไม้จากกองขยะ (รู้สึกคล้ายๆสำนวนไทย ‘เพชรในตม’) แฝงนัยยะล้อเหตุการณ์คู่ขนานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั่นคือการจับกุมตัว Sabzian ชายผู้เต็มไปด้วยคำโป้ปดหลอกลวง (ทำตัวเหมือนขยะสังคม) แต่จิตใจของเขามีความซื่อบริสุทธิ์ (เหมือนดอกไม้ที่เก็บขึ้นมา)
ช่วงท้ายของหนังเมื่อ Sabzian พบเจอตัวจริงผู้กำกับ Makhmalbaf ระหว่างทางมายังบ้านของครอบครัว Ahankhah ก็มีการแวะซื้อต้นดอกไม้จากร้านริมทาง ด้วยลักษณะลำต้นสูงยาวแสดงถึงการเติบโต เรียนรู้จักความผิดพลาด ซึ่งน่าจะสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์แทนคำขอโทษ สาสำนึกผิด จะไม่ครุ่นคิดกระทำสิ่งนั้นอีกต่อไป
หลังจากคนขับแท็กซี่หยิบดอกไม้ขึ้นมาจากกองขยะ พบเห็นกระป๋องสเปรย์ อยู่ว่างๆไม่รู้จะทำอะไรก็เลยง้างเท้าเตะ กล้องติดตามการหมุนกลิ้งของมันอยู่หลายวินาทีจนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่ออะไร??? อีกทั้งตอนจบของซีเควนซ์นี้ หลังจากนักข่าว Farazmand ได้เครื่องบันทึกเสียง ก็ทำการเตะกระป๋องสเปรย์นี้อีกครั้ง!
นัยยะของกระป๋องสเปรย์ ถือว่าเข้า “สูตรสอง” อีกเช่นเดียวกัน!
- คนขับแท็กซี่ คือตัวแทนชนชั้นทำงาน (จะมองว่าคือตัวแทน Sabzian ก็ได้กระมัง) มีวิถีชีวิตเหมือนกระป๋องสเปรย์ที่ค่อยๆเคลื่อนไหล ดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า ไร้มูลค่าราคา กล้องจับจ้องอยู่สักพักใหญ่ๆ
- ตรงกันข้ามกับนักข่าว Farazmand ตัวแทนชนชั้นกลาง (หรือก็คือผู้กำกับ Makhmalbaf) ใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบร้อนรน เมื่อได้สิ่งของต้องการ ก็เตะกระป๋องสเปรย์กระเด็นกระดอน มองไม่เห็น กล้องไม่สามารถจับภาพ
นักแต่งเพลงที่เป็นคนรู้จักครอบครัว Ahankhah เป็นคนแนะนำนักข่าว Farazmand ที่เคยสัมภาษณ์ผู้กำกับ Makhmalbaf ให้มาพิสูจน์ตัวตนของชายคนนี้ แต่ผมรู้สึกว่าเขาก็ตระหนักได้ตั้งแต่แรกพบเจอ สังเกตเห็นความผิดปกติ รวมถึงขณะนี้ที่พอทอดถอนหายใจ เปลี่ยนท่านั่งไขว่ห้างจากซ้ายเป็นขวา … นี่ก็ “สูตรสอง” เช่นเดียวกัน
เกร็ด: ชายคนนี้คือ Ahmad Reza Moayed Mohseni, احمدرضا موید محسنی นักแต่งเพลงชาวอิหร่าน มีผลงานออกอัลบัม ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ มีชื่อเสียงในประเทศ แต่ก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ
การมาถึงของนักข่าว Farazmand ทำให้ Sabzian เกิดลางสังหรณ์ว่านี่อาจคือจุดจบของตนเอง! เมื่ออีกฝ่ายขอเวลาทำอะไรสักอย่าง ช่วงเวลาว่างๆเกือบนาที (พอดิบพอดีกับขณะที่คนขับรถแท็กซี่เตะกระป๋องสเปรย์อยู่ภายนอก) เริ่มจากถอดเสื้อคลุม (สัญลักษณ์ของการปลดเปลื้องเปลือกภายนอก นัยยะเดียวกับการถอดหน้ากาก) นั่งลงตรงเก้าอี้อย่างร้อนรน (จะมีการถ่ายสองช็อต ระยะไกล-ใกล้) แล้วลุกขึ้นเดินวนไปวนมา มองออกไปนอกหน้าต่าง ไม่ทันกาลเสียแล้วถ้าจะหลบหนี
การถูกจับกุมของ Sabzian สังเกตว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรงเข้าไปใส่กุญแจมือยังบริเวณหน้าต่างที่มีแสงสว่างจร้า (จากเคยมีตัวตน มีหน้ามีตา อนาคตสดใส) จากนั้นพาเดินผ่านบริเวณปกคลุมด้วยความมืดมิด (กลายเป็นผู้ต้องหากระทำความผิด) และกล้องแพนนิ่งติดตามไปจนถึงอีกฟากฝั่ง มองไม่เห็นขณะก้าวออกทางประตู (หรือคือมองไม่เห็นหนทางออก) แต่นำเสนอผ่านมุมมองของ Mr. Mohseni เดินตรงไปยังหน้าต่าง จับจ้องเหตุการณ์ที่อยู่ภายนอกบ้าน (แทนสายตาคนนอก เพียงรับรู้เรื่องราวและพบเห็นผลลัพท์ที่บังเกิดขึ้น)
ในบรรดาคำถาม-ตอบทั้งหมด สิ่งแสดงให้ถึงอัจฉริยภาพ ไหวพริบ ความเฉียบแหลมคมที่สุดของผกก. Kiarostami ก็คือตั้งข้อสงสัย Sabzian ดูเหมือนนักแสดงมากกว่าผู้กำกับ? จากนั้นสอบถามทำไมถึงเลือกสวมบทบาทเป็นผู้กำกับ? ไม่ใช่นักแสดงคนหนึ่งใด? คำตอบที่ได้รับผมรู้สึกเหมือนเป็นสคริปที่เขียนโดย Kiarostami มีการอ้างอิงถึง Tolstoy และนิยามของงานศิลปะ แต่ผมก็ยังแอบเชื่อว่าเป็นคำพูดของ Sabzian ที่ออกมาจากภายใน ไม่ใช่การปรุงปั้นแต่งขึ้นมา
I’m speaking of my suffering. I’m not acting. I’m speaking from the heart. This isn’t acting. For me, art … is the experience of what you’ve felt inside. If one could cultivate that experience, it’s like when Tolstoy says that art is the inner experience cultivated by the artist and conveyed to his audience. Given the positive feelings I’ve experienced, as well as the deprivation and suffering, and my interest in acting, I think I could be an effective actor and convey that inner reality.
Hossain Sabzian
ช่วงระหว่างการพิจารณาคดี มันจะมีขณะหนึ่งที่มารดาของ Sabzian ลุกออกไปเข้าห้องน้ำ นี่ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในสคริปอย่างแน่นอน! แต่ต้องชมสัญชาติญาณตากล้อง Ali Reza Zarrindast จู่ๆเคลื่อนเลื่อนติดตามเธอระหว่างลุกเดินออกไปข้างนอก ซึ่งสามารถสะท้อนคำกล่าวอ้างที่ฟังไม่ค่อยขึ้นสักเท่าไหร่ของบุตรชาย (ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นช่วงขณะนี้ แต่เหมารวมหลายๆแม่น้ำทั้งห้าที่เขาพยายามชักมาสาธยาย)
หลังจากได้รับการปล่อยตัว Sabzian มีโอกาสพบเจอ Makhmalbaf จริงๆแล้วไมโครโฟนไร้สายสามารถทำงานได้เป็นปกติ บันทึกเสียงการสนทนาของทั้งสองจากระยะไกล แต่สาเหตุที่ผู้กำกับ Kirostami จงใจใช้ข้ออ้างไมค์ติดๆดับๆ เพราะบทพูดของ Makhmalbaf ฟังดูปรุงปั้นแต่ง ไม่เป็นธรรมชาติสักเท่าไหร่ ตรงกันข้ามกับ Sabzian แสดงความรู้สึกออกมาจากทรวงใน! … นี่ทำให้ผมรับรู้สึกว่าผู้กำกับ Kirostami ไม่ได้เข้าเหตุผลแท้จริงของ Sabzian ในการปลอมตัวเป็น Makhmalbaf จนกระทั่งหลังถ่ายทำฉากนี้ (ก่อนหน้านี้คงครุ่นคิดแค่ว่าเป็นมิจฉาชีพ ต้องการเรียกร้องความสนใจ สรรพสรรหาข้ออ้างเอาตัวรอดพ้นคุกเท่านั้นแหละ!)
ระหว่างการเดินทางจะพบเห็นลีลาสารพัดจะแอบถ่าย ภาพสะท้อนจากกระจกมองข้าง หรือกระจกหน้ารถที่มีรอยแตกร้าว เหล่านี้สามารถสื่อถึงโลกทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปของ Sabzian หลังรอดพ้นคุก และพบเจอตัวจริงของ Makhmalbaf (โลกใบเก่าได้พังทลาย กำลังมุ่งสู่การเริ่มต้นชีวิตใหม่)
นี่ผมก็ไม่รู้มีการแอบตั้งกล้องไว้ก่อนแล้วหรือไร แต่ทิศทางของกล้องเริ่มจากถ่ายผ่านกระจกรถยนต์ที่มีสะท้อนภาพใบไม้เบื้องบน (แลดูราวกับภาพแห่งความเพ้อฝัน, Fiction) เมื่อรถมอเตอร์ไซด์มาถึงก็แพนนิ่งติดตาม มาจอดตรงตำแหน่งใต้ต้นไม้ (นั่นคือภาพจากโลกความจริง, Reality) … นี่คือช่วงเวลาที่ Sabzian กำลังจะก้าวออกมาจากโลกมายา เพื่อเผชิญหน้าความเป็นจริง/พบกับครอบครัว Ahankhah
แน่นอนว่าช็อตสุดท้ายของหนังต้องคือภาพ “Close-Up Shot” ตรงกันข้ามกับช็อตแรกที่เป็นภาพ “Long Shot” และมันยังมีรายละเอียดอื่นที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง
- ช็อตแรกเป็น Long Take กล้องเคลื่อนเลื่อนติดตามนักข่าวและนายตำรวจออกจากโรงพัก ไปจนขึ้นรถแท็กซี่ความยาวประมาณ 30 วินาที, ช็อตสุดท้ายของหนังคือ Freeze Frame ค้างภาพนิ่งดังกล่าวไว้จนจบ Closing Credit
- ซีนแรกถ่ายทำยังสถานีตำรวจ พบเห็นรั้วเหล็กที่ดูเหมือนซี่กรงขัง, ส่วนซีนสุดท้ายภายหลังจาก Sabzian ได้รับการปล่อยตัว เดินทางมาถึงยังประตูหน้าบ้านของครอบครัว Ahankhah
- ขณะที่ภาพช็อตแรกคมชัดทุกรายละเอียด, ต้นไม้ด้านหลังของ Sabzian ถูกทำให้เบลอๆเพราะเป็นช็อต Close-Up สามารถสื่อถึงอดีตอันเลวร้ายที่พานผ่านไปแล้ว กำลังจะกลายเป็นเพียงความทรงจำอันเลือนลาง
- ต้นไม้ภายในสถานีตำรวจดูแห้งแล้งไร้ใบ แต่ดอกไม้สีชมพูไม่รู้สายพันธุ์อะไร คงแทนความรู้สึกสาสำนึกแก่ใจ (ก้มหน้ามองต่ำ ก็แทนความรู้สึกผิดเช่นเดียวกัน)
ตัดต่อโดย Abbas Kiarostami,
นำเสนอด้วยโครงสร้างสามองก์ (Three Structure Act) โดยมีจุดศูนย์กลางคือ Hossain Sabzian ชายผู้แอบอ้างตนเองเป็นผู้กำกับ Mohsen Makhmalbaf เรื่องราวเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ถูกจับกุม, พิพากษาคดีความในชั้นศาล และเหตุการณ์หลังได้รับการปล่อยตัว ซึ่งแต่ละองก์จะมีลีลาการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป
- อารัมบท, นำเสนอผ่านมุมมองคนขับ Taxi พานักข่าว Farazmand และเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนาย ไปจับกลุ่มชายแอบอ้างตนเองเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf ยังบ้านของครอบครัว Ahankhah
- ช่วงแรกรับผู้โดยสารจากสถานีตำรวจ ระหว่างขับรถมีการพูดคุยสนทนา รับฟังเหตุการณ์บังเกิดขึ้น
- เมื่อมาถึงยังสถานที่เป้าหมาย ก็เฝ้ารอคอยอยู่ภายนอกจนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว Sabzian แล้วขับรถกลับไปส่งสถานตำรวจ
- ปิดท้ายด้วยนักข่าว Farazmand เคาะประตูเพื่อนบ้าน ขอหยิบยืมเครื่องบันทึกเสียง (สำหรับอัดบทสัมภาษณ์ Sabzian)
- การพิจารณาคดีความ,
- ก่อนการพิจารณาคดี นำเสนอในลักษณะบทสัมภาษณ์ของผู้กำกับ Kiarostami
- เดินทางไปสถานีตำรวจเพื่อสัมภาษณ์นายตำรวจรับผิดชอบคดีความ
- เดินทางไปสัมภาษณ์ครอบครัว Ahankhah
- เดินทางไปยังเรือนจำ พบเจอกับ Sabzian (ด้วยลักษณะแอบถ่ายจากภายนอก)
- เดินทางไปพบเจอผู้พิพากษา พยายามต่อรอง(ล็อบบี้)ให้เลื่อนการพิจารณาคดีเข้ามา และขออนุญาติบันทึกภาพและเสียงระหว่างการขึ้นศาลไต่สวน
- เหตุการณ์บนชั้นศาล จะมีการนำเสนอเคียงคู่ขนานระหว่างภาพเหตุการณ์จริง (ระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาล) และการ ‘reconstruct’ โดยให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำลองเหตุการณ์เคยบังเกิดขึ้น
- (ถ่ายทำด้วยกล้อง 16mm) ผู้กำกับ Kiarostami เล่าถึงเหตุผลการมีกล้องสองตัว และเริ่มต้นการพิจารณาคดี
- (Flashback) Sabzian เล่าถึงการพบเจอครั้งแรกกับสมาชิกครอบครัว Ahankhah
- (ถ่ายทำด้วยกล้อง 16mm) Sabzian พยายามอธิบายเหตุการณ์ต่างๆบังเกิดขึ้น รวมถึงเหตุผลการปลอมตัวเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf
- (Flashback) นำเสนอช่วงเวลาที่ Sabzian กำลังจะถูกจับกุมตัว
- (ถ่ายทำด้วยกล้อง 16mm) Sabzian ยินยอมตอบรับความผิด และผู้พิพากษาตัดสินคดีความ
- ก่อนการพิจารณาคดี นำเสนอในลักษณะบทสัมภาษณ์ของผู้กำกับ Kiarostami
- ปัจฉิมบท, นำเสนอด้วยวิธีแอบถ่ายจากบนรถ หลังจาก Sabzian ได้รับการปล่อยตัว แล้วมีโอกาสพบเจอผู้กำกับ Makhmalbaf พาขึ้นรถมอเตอร์ไซด์ ไปซื้อดอกไม้ และหวนกลับยังบ้านของครอบครัว Ahankhah เพื่อกล่าวขอโทษขอโพย แสดงความรู้สำนึกผิด
คนที่มีประสบการณ์ดูหนังมาระดับหนึ่ง เชื่อว่าน่าจะสามารถแยกแยะเหตุการณ์จริง vs. ฉากการแสดง แต่จุดประสงค์ของผู้กำกับ Kiarostami ต้องการสร้างความกลมกลืน ทำลายเส้นแบ่งระหว่าง Reality vs. Fiction ผสมผสานให้กลายเป็นอันหนึ่งเดียวกัน
- ฉากที่บันทึกภาพเหตุการณ์จริงๆ (Realist) ประกอบด้วย
- ระหว่างสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ, Sabzian ขณะถูกคุมขัง และผู้พิพากษา
- การพิพากษาคดีความบนชั้นศาล แต่จะมีหลายครั้งที่ผู้กำกับ Kirostami พูดสอบถามความคิดเห็นจาก Sabzian
- ปัจฉิมบทเป็นการแอบถ่ายจริงๆ ขณะที่ Sabzian แสดงปฏิกิริยา พูดความรู้สึกออกมาจากภายใน, แต่ผกก. Makhmalbaf กลับทำตามสคริปที่เตรียมเอาไว้
- ฉากที่เป็นการ ‘reconstruct’ จำลองสร้างสถานการณ์ (Fiction) โดยจะมีส่วนผสมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และปรับแก้ไขตามวิสัยทัศน์ผู้กำกับ Kirostami ประกอบด้วย
- ตลอดทั้งซีเควนซ์อารัมบท
- และภาพย้อนอดีต (Flashback) ทั้งหมด
แม้ตลอดทั้งเรื่องจะไม่มีการใช้เพลงประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศสมจริง (Reality) แต่ช่วงปัจฉิมบทนอกจากเหตุผลตัดบทสนทนาระหว่าง Sabzian และผกก. Makhmalbaf ยังเป็นการสร้างสัมผัสทางจิตวิญญาณให้ตัวละคร เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง สาสำนึกผิด ทำให้ชีวิตมีประกายแห่งความหวังขึ้นมา
ปล. Closing Song เป็นการอ้างอิงถึง/นำจากภาพยนตร์เรื่อง The Traveler (1974) ประพันธ์โดย Kambiz Roshanravan ได้ยินช่วงท้ายของหนัง
Close-Up ความหมายทั่วๆไปคือการประชิดใกล้, ในวงการถ่ายภาพ/ภาพยนตร์ จะสื่อถึงระยะห่างระหว่างกล้องกับวัตถุที่มีความใกล้กันมากๆ ทำให้พบเห็นสิ่งๆนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (หลายคนอาจครุ่นคิดว่า Close-Up คือการถ่ายภาพใบหน้าเต็มเฟรม/กรอบรูป แต่มันสามารถเหมารวมถึงวัตถุอื่นๆในระยะประชิดใกล้ได้เช่นกัน)
สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ คำว่า “Close-Up” ได้รับการกล่าวถึงระหว่างอยู่บนชั้นศาล โดยผู้กำกับ Kiarostami ทำการอธิบายวิธีถ่ายทำด้วยกล้องสองตัว
- หนึ่งมีเลนส์ Close-Up สำหรับจับจ้อง Sabzian (และครอบครัว Ahankhah ที่เป็นโจทก์นั่งอยู่ด้านหลัง) เพื่อบันทึกคำให้การ พูดตอบคำถาม พบเห็นปฏิกิริยาแสดงออกบนใบหน้าอย่างใกล้ชิด!
- ส่วนกล้องอีกตัวใช้เลนส์ Wide-Angle ถ่ายบรรยากาศโดยรอบชั้นศาล ฟากฝั่งผู้พิพากษาที่นั่งอยู่คนละฟากฝั่งตรงข้าม
โดยปกติแล้วการถ่ายภาพด้วยเทคนิค Close-Up จุดประสงค์เพื่อสร้างแรงดึงดูด/จุดสนใจ ให้ผู้ชมเกิดความจดจ่ออยู่กับรายละเอียด วัตถุสิ่งของนั้นๆ หรือบุคคลที่กำลังพูดคุยสนทนา ตั้งคำถาม อธิบายคำตอบ รวมถึงปฏิกิริยาแสดงออกบนใบหน้า แม้ไม่ได้ชิดใกล้จนเห็นดวงตา แต่ก็สามารถเป็นหน้าต่างของหัวใจ เปิดเผยธาตุแท้จิตวิญญาณ!
ด้วยเหตุนี้ชื่อหนัง Close-Up จึงไม่ใช่แค่ภาพถ่ายระยะประชิดใกล้ แต่ยังคือการเปิดเผยธาตุแท้จิตวิญญาณของ Sabzian ทำไมชายคนนี้ถึงพยายามปลอมตัวเป็นผู้กำกับดัง Makhmalbaf? มีเหตุผลอะไรซุกซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ?
และถ้าเราถอยออกห่างจากมุมกล้อง Close-Up มองหนังเรื่องนี้ด้วยเลนส์ Wide-Angle เรื่องราวของ Sabzian ยังสามารถสะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม ไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศอิหร่านสมัยนั้น ยังเหมารวมโลกยุคใหม่แห่งการสร้างภาพ ที่สื่อภาพยนตร์ได้กลายเป็นอิทธิพล ผู้คนเกิดการลอกเลียนแบบ เรียนรู้จักการเล่นละคอนตบตา (ไม่จำเป็นว่าต้องปลอมตัวเป็นนักแสดง ผู้กำกับ หรือใครอื่นใด) สวมหน้ากากปกปิดบังใบหน้า ซุกซ่อนเร้นตัวตนแท้จริงไว้ภายใน
สำหรับคนแปลกหน้าเพิ่งเริ่มคบหากันใหม่ๆ คงไม่มีใครเคลือบแคลงระแวงสงสัย คุยโวโอ้อวดอะไรก็เชื่อสนิทใจ จนกว่าจะได้เรียนรู้จักมักคุ้นเคยจนกลายมาเป็นเพื่อนสนิทสนม ถึงค่อยเริ่มสังเกตพฤติกรรมที่ดูผิดแผกแตกต่าง ดี-เลวเกินไป มาก-น้อยเกินไป ก่อให้เกิดข้อคำถามความฉงนสงสัย ไม่รู้เขามาดีมาร้ายหรือต้องการทำอะไรกันแน่?
คนที่แอบอ้างในสิ่งที่ตนเองไม่ได้เป็น ใครๆย่อมครุ่นคิดเห็นว่าต้องมีเหตุผลเคลือบแอบแฝง วางแผนโจรกรรม? เลวร้ายหน่อยก็ฆาตกรรม? คนที่ถูกลวงหลอกไม่ใช่แค่เสียความรู้สึก ยังความผิดหวัง จิตใจชอกช้ำ บางครั้งทางกายก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยินยอมยกโทษให้อภัย!
อะไรคือแรงจูงใจให้ Sabzian หลอกลวงใครอื่นว่าตนเองเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf? ผมจะขอแยกแยะออกเป็นข้อๆเท่าที่สามารถทำความเข้าใจได้นะครับ
- เรียกร้องความสนใจ เพราะ Sabzian มีความชื่นชอบหลงใหล ต้องการกลายเป็นแบบอย่างผู้กำกับ Makhmalbaf จึงพยายามสร้างภาพ เล่นละคอนตบตา ทีแรกอาจไม่ได้ครุ่นคิดจริงจัง แต่พอทำซ้ำหลายๆครั้งเลยไม่สามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ
- ความต้องการหนีโลก (Escapist) เพราะเมื่อสวมบทบาทกลายเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf ทำให้ได้รับการยินยอมรับนับหน้าถือตา ชีวิตพลิกกลับตารปัตรจากหน้ามือเป็นหลังมือ ขออะไรก็ได้จากครอบครัว Ahankhah จนสามารถหลงลืมความทุกข์ยากลำบาก ถูกเมียทิ้ง ไม่มีงานทำ อาศัยอยู่กับมารดาและบุตร
- ใช้ข้ออ้างการเป็นศิลปิน บอกว่าการสวมบทบาทเป็นผู้กำกับ Makhmalbaf คือลักษณะของศิลปะแสดงสด (Performance Art)
- ปัญหาทางจิตเวช ไม่สามารถแบ่งแยกแยะระหว่างโลกความจริง (Reality) vs. จินตนาการเพ้อฝัน (Fiction)
- หรือจะไม่เชื่อคำกล่าวอ้างใดๆก็ได้เช่นกัน มองว่าเป็นพฤติกรรมหลอกลวง วางแผนจะทำบางสิ่งอย่างกับครอบครัว Ahankhah แต่ถูกจับได้เสียก่อน
ยังมีอีกคำให้การหนึ่งของ Sabzian ที่ซับซ้อนมากๆ กล่าวอ้างถึงคำสอนคัมภีร์อัลกุรอาน “เรียกพระนามอัลเลาะห์เพื่อปลอมประโลมจิตใจ” แต่เขากลับไม่เคยรับรู้สึกอะไรใดๆ จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสรับชมภาพยนตร์ The Cyclist (1989) กลับสามารถทำให้ความระทมทุกข์ภายในสงบลง … เหมือนต้องการจะสื่อว่าผู้กำกับ Makhmalbaf เปรียบดั่งพระผู้มาไถ่ และการได้ปลอมตัวเป็นชายคนนี้ ทำให้เขายังมีพลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป
I think of the Qur’an verse that says, “Speak Allah’s name, and your heart will be consoled,” but I feel no consolation. Whenever I feel depressed or overwhelmed, I feel the urge to shout to the world the anguish of my soul, the torments I’ve experienced, all my sorrows – but no one wants to hear about them. Then a good man comes along who portrays all my suffering in his films, and I can go see them over and over again. They show the evil faces of those who play with the lives of others, the rich who pay no attention to the simple material needs of the poor. That’s why I felt compelled to take solace in that screenplay. I read it, and it brings calm to my heart.
Hossain Sabzian
แต่การโกหก หลอกตนเอง ไม่ต่างจากคนติดเหล้าติดยา ยิ่งเสพหนักก็ยิ่งเลิกยาก ซึ่งตัวของ Sabzian ดูแล้วก็น่าจะตระหนักรู้อยู่แก่ใจ เหมือนเขาเฝ้ารอคอยให้ครอบครัว Ahankhah จับได้ไล่ทัน ส่งเข้าคุกติดตาราง เพื่อว่าเมื่อทุกสิ่งอย่างจบสิ้นลง ตนเองจะมีเวลาครุ่นคิดทบทวน ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เผชิญหน้าความจริง ยินยอมรับสารภาพผิดทั้งหมด
ผมครุ่นคิดว่าระหว่างการถ่ายทำ ผู้กำกับ Kiarostami ไม่ได้เข้าใจเหตุผลจริงๆของ Sabzian จนกระทั่งอีกฝ่ายได้รับการปล่อยตัว แล้วมีโอกาสพบเจอตัวจริงของ Makhmalbaf คำพูดที่ออกมาจากภายใน และน้ำตาแห่งความสำนึกผิด นั่นถือเป็น “Close-Up Shot” ธาตุแท้จิตวิญญาณของชายคนนี้!
เกร็ด: แม้หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย Hossain Sabzian จะกลายเป็นคนดัง แต่ชีวิตเขาก็ไม่ได้ดีขึ้นจากเดิมสักเท่าไหร่ เห็นว่าเสียชีวิตเมื่อปี 2006 จากโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุเพียง 52 ปี
กล้องตัวแรกจับจ้อง Sabzian ในฐานะศิลปิน กำลังทำสรรค์สร้างศิลปะแสดงสด (Performance Art) ขณะที่กล้องอีกตัวบันทึกภาพผู้พิพากษา ตัวแทนของจริยธรรม (Morality) และกฎหมายบ้านเมือง (Law) … ใครรับชมหนังจากอิหร่านมาพอสมควร ย่อมตระหนักถึงอิทธิพลกองเซนเซอร์ที่มีต่อวงการภาพยนตร์ พยายามควบคุมครอบงำ ไม่ต้องการให้ผลงานใดๆ ก้าวล้ำเส้นแบ่งบางๆของความถูกต้องเหมาะสม
หลายๆผลงานของผกก. Kiarostami อาทิ Close-Up (1990) หรืออย่าง Koker Trilogy ต่างมีความพยายามลบล้างเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง (Reality) กับสิ่งที่ตัวเขาครุ่นคิดสร้างสรรค์ขึ้น (Fiction) ต้องการให้ทั้งสองฟากฝั่งมีความกลมกลืน ผสมผสานกลายเป็นอันหนึ่ง ในลักษณะเรียกว่า Docudrama (หรือ Docufiction)
แล้วมันมีเหตุผล/ความจำเป็นอะไรในการทำเช่นนั้น? นี่ทำให้ผมนึกถึงตอนเขียนถึงหลายๆผลงานของผกก. Jean-Luc Godard ที่ก็พยายามผสมผสานเรื่องราวในชีวิตจริง ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับภาพยนตร์ เพื่อสร้างสิ่งเรียกว่า “จิตวิญญาณ”
“This is indeed Life itself!”
จากเรื่องสั้น The Oval Portrait (1842) ของ Edgar Allan Poe
ทิ้งท้ายด้วยบทสัมภาษณ์ของผู้กำกับ Kiarostami ทำการเปรียบเทียบภาพยนตร์เรื่องนี้กับนักกวีคนหนึ่ง ผมขี้เกียจแปลเลยคัทลอกข้อความมาทั้งหมด ถ้าใครสามารถทำความเข้าใจ ก็อาจจะมองเห็น Close-Up (1990) ในอีกแง่มุมหนึ่ง
What happened in Close-Up reminds me of one of our Poets. He was a homeless guy with old, torn clothing. He was just passing by a religious school and he heard some people reciting from the Qur’an, in a beautiful voice. So he stood there listening for awhile, and then he was so fascinated that he banged on the door. They opened the door and he told them he had really enjoyed their recitation. “How did you learn to sing so beautifully?” When they looked at him they thought this guy’s nobody, so they tried to kid him saying “It’s not a problem, all we did was go over there to that icy pool, we broke the ice and dove in. When we reemerged, we could recite like that.” He actually followed what they told him and dove into the water, and when he came out they were worried that he was going to catch a cold or die. As they were drying him off, he said, “Okay, now you can bring me the Qur’an.” He started reciting just as beautifully as they had. This is such a wonderful story, and I think something like that happened in this movie, in the sense that everybody got what he wanted.
Abbas Kiarostami
หนังเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาล Fajr Film Festival (ของอิหร่าน) ได้เสียงตอบรับที่ย่ำแย่จนค่ายหนังแทบไม่อยากนำออกจัดจำหน่าย สามารถขายตั๋วได้เพียง 72,000+ ใบ รายรับประมาณ 1.7 ล้าน Iranian tomans
แต่พอส่งออกฉายตามเทศกาลหนังต่างประเทศ เริ่มจากเมือง Munich, Toronto, Montréal (คว้ารางวัล Quebec Film Critics Award: Best Film), Istanbul (คว้ารางวัล FIPRESCI Prize) เสียงตอบรับระดับนานาชาติที่ดีล้นหลาม ทำให้สามารถออกเดินทางไปเกือบทั่วทุกมุมโลก และได้รับการโหวตติดอันดับชาร์ทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมากมาย
- Cahiers du Cinéma จัดให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอันดับ 5 แห่งปี 1991
- Cahiers du Cinéma จัดให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอันดับ 4 (ร่วม) แห่งทศวรรษ 90s
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 ติดอันดับ 43 (ร่วม)
- Sight & Sound: Director’s Poll 2012 ติดอันดับ 37
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ติดอันดับ 17
- Sight & Sound: Director’s Poll 2022 ติดอันดับ 9 (ร่วม)
- Busan: Asian Cinema 100 Ranking ติดอันดับ 11
- BBC: The 100 greatest foreign-language films ติดอันดับ 39
หนังได้รับการบูรณะตั้งแต่ปี 2016 คุณภาพ High-Definition (2K) ฉบับของ Criterion Collection ยังประกอบด้วยสารคดี Close-Up Long Shot (1996), A Walk with Kiarostami (2003) และภาพยนตร์ The Traveler (1974), สามารถหารับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel, iTunes, Amazon Prime ฯลฯ
หวนกลับมารับชมหนังรอบนี้ ทำให้ผมพบเห็นถึงความลุ่มลึกล้ำ อัจฉริยภาพของผู้กำกับ Kiarostami ในระยะประชิดใกล้ขึ้นกว่าเก่า ไม่ใช่แค่การคำถามที่โคตรๆเฉียบแหลมคม แต่ยังรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอย่างการเตะกระป๋องสเปรย์ ที่ถ้าใครสามารถครุ่นคิดเข้าใจ ก็อาจทำให้ตกตะลึง อ้าปากค้าง!
แนะนำคอหนัง Art House ชื่นชอบการขบครุ่นคิดวิเคราะห์, นักข่าว นักเขียน นักปรัชญา, ตำรวจ ผู้พิพากษา, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ค้นหาเบื้องหลัง แรงจูงใจ สิ่งที่ตัวละครแสดงออกถูก-ผิดเช่นไร, และโดยเฉพาะคนทำงานเบื้องหลัง นักศึกษาภาพยนตร์ เพื่อศึกษาเทคนิค วิธีการ แนวทางใหม่ๆในการสรรค์สร้างผลงาน
จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมหลอกลวง เล่นละคอนตบตา บรรยากาศตึงเครียดของหนัง
เรื่องนี้คือที่สุดแล้วครับของผู้กำกับ