Crisis: Behind a Presidential Commitment (1963) : Robert Drew ♥♥♥♥
Alabama หนึ่งในรัฐทางตอนใต้สหรัฐอเมริกาที่ช่วงต้นทศวรรษ 60s ยังคงยึดถือมั่น Jim Crow laws แต่เมื่อนักศึกษาผิวสีสองคนต้องการเข้าศึกษาต่อ University of Alabama จึงกลายเป็นการเผชิญหน้าครั้งสำคัญระหว่างผู้ว่าการรัฐ George Wallace vs. ประธานาธิบดี John F. Kennedy
ทางฝั่งผู้ว่าการรัฐ Alabama พยายามใช้ข้ออ้างทางศีลธรรมจากความรู้สึก สามัญสำนึกที่ถูกปลูกฝัง วิถีชนชาวใต้ที่ยังยึดถือมั่น Jim Crow laws กฎหมายสำหรับแบ่งแยกคนขาว-ดำ ไม่ต้องการให้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ซึ่งการกระทำของนักศึกษาผิวสีทั้งสอง ต้องการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่มีแต่คนขาว ถือว่าเป็นการลุกล้ำเส้น ผู้คน(สมัยนั้น)ยังไม่ให้การยินยอมรับ
เกร็ด: คำอธิบายย่อๆสำหรับ Jim Crow laws คือกฎหมายท้องถิ่น (ส่วนใหญ่ใช้กับรัฐทางตอนใต้สหรัฐอเมริกา) สำหรับแบ่งแยกคนขาว-ดำ ไม่ให้คลุกคลี มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันตามโรงเรียน ร้านค้า สถานที่สาธารณะ โซนบ้านพักอาศัย ฯ
จริงอยู่ว่าการกระทำของนักศึกษาทั้งสองจะเป็นสิ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายท้องถิ่นขณะนั้น แต่เมื่อเรื่องราวดังกล่าวโด่งดังถึง Washington D.C. จึงกลายเป็นหน้าที่ประธานาธิบดี ต้องมองภาพรวมประเทศในการเผชิญหน้า ตอบโต้ ตัดสินใจกระทำสิ่งถูกต้องเหมาะสมอย่างแท้จริง พลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส … เหตุการณ์ดังกล่าวคือหนึ่งในแรงผลักดันรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา เร่งออกกฎหมาย Civil Rights Act of 1964 และ Voting Rights Act of 1965 เพื่อล้มล้าง Jim Crow laws ให้หมดสิ้นสภาพไป (น่าเสียดายที่ JFK ไม่ทันได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว)
ในตอนแรกผมตั้งใจจะเขียนแค่ Primary (1960) ที่ถือเป็นหมุดหมายสารคดียุคสมัยใหม่ แต่พอพบเห็น Crisis (1963) ได้คะแนน IMDB.com สูงถึง 7.8 และคำโปรยของนักวิจารณ์ …
An unprecedented television documentary that is a milestone in film journalism.
John Horn นักวิจารณ์จาก New York Herald Tribune
the first movie that Barack Obama should watch in the White House screening room.
Fred Kaplan นักวิจารณ์จาก The New York Times เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009
รับชมแล้วเกิดความชื่นชอบประทับใจอย่างมากๆ ไม่ใช่แค่มุมมองนำเสนอ ลีลาตัดต่อ หรือความบังเอิญบางอย่างที่โคตรๆมหัศจรรย์ แต่อยากแนะนำบรรดานักการเมืองทั้งหลาย เชื่อว่าสารคดีเรื่องนี้น่าจะสร้างจิตสามัญสำนึก ให้รู้จักหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม กล้ากระทำในสิ่งถูกต้องเหมาะสม เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่ง
Robert Lincoln Drew (1924-2014) ผู้กำกับสารคดีสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Toledo, Ohio บิดาเป็นเซลล์แมนขาย Seaplane ทำให้มีความชื่นชอบเครื่องบินตั้งแต่เด็ก ยังไม่ทันเรียนจบมัธยมอาสาสมัครทหารอากาศ ขับเครื่องบินต่อสู้กว่า 30 ภารกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคยถูกยิงตกที่ Italy โชคดีมากๆสามารถเอาตัวรอดสามเดือนครึ่งโดยไม่ถูกจับกุม, ต่อมาเข้าทำงานนักเขียน/บรรณาธิการนิตยสาร Life เคยคว้ารางวัล Nieman Fellowship ของ Harvard University จากบทความ “Why are documentaries so dull? What would it take for them to become gripping and exciting?” จนกระทั่งมีโอกาสรับชมสารคดี Toby and the Tall Corn (1954) กำกับโดย Richard Leacock บันทึกภาพทัวร์คอนเสิร์ต ด้วยการให้กล้องติดตามนักร้อง ตั้งแต่ออกเดินทาง พบปะผู้คน ซักซ้อม เตรียมตัวการแสดง เบื้องหน้า-หลังเวที ฯ นั่นสร้างความประทับใจจนต้องรีบติดต่อหา ชักชวนมาร่วมเป็นสมาชิก ‘Drew Associates’
ถัดจาก Leacock สมาชิกรุ่นแรกของ ‘Drew Associates’ ยังประกอบด้วย D. A. Pennebaker, Terence Macartney-Filgate และสองพี่น้อง Albert & David Maysles ร่วมกันสรรค์สร้างสารคดี Primary (1960) ที่ถือเป็นหมุดหมายสารคดียุคสมัยใหม่, หลังจากนั้น Macartney-Filgate และสองพี่น้อง Maysles brothers ต่างก็แยกย้ายออกไปทำงานที่ตนเองส่วนใจ เพิ่มเติมสมาชิกใหม่ประกอบด้วย James Lipscomb, Abbot Mills, Gregory Shuker และหญิงสาวหนึ่งเดียวในกลุ่ม Hope Ryden
หลังจากผกก. Drew นำสารคดี Primary (1960) ฉายให้กับปธน. John F. Kennedy (ภายหลังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง) แสดงความชื่นชอบประทับใจ สอบถามถึงอนาคตอยากทำอะไรต่อไป
After the screening of Primary, he said, ‘What do you want to do next?’ I said [that] I’d like to do a film about a president in a crisis, having to make decisions with his back to the wall. He liked that, and again, think about why he would like it. He’d seen images of presidents before, but they had no connection to the job as he knew it. They were all just pictures of people shaking hands in front of automobiles. He thought about it and said, ‘Yes, I can see the idea. Imagine if I could see what happened in the White House in the 24 hours before we declared war on Japan.’
Robert Drew
ผลลัพท์กลายมาเป็น Adventures on the New Frontier (1961) บันทึกภาพกิจวัตรประจำวัน การทำงานของปธน. Kennedy ในระยะเวลา 6 สัปดาห์หลังเข้าพิธีสาบานตน แต่เสียงตอบรับเมื่อออกฉายสถานีโทรทัศน์ ABC News Close-Up! กลับไม่ค่อยได้รับคำชื่นชมสักเท่าไหร่
แม้ภาพยนตร์เรื่องนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จนัก แต่ก็ทำให้ Kennedy เรียนรู้จักวิธีการเข้าถึงชาวอเมริกันโดยตรง ด้วยการปรากฎตัวออกสื่อบ่อยครั้ง และให้ศรีภรรยารายการพิเศษ A Tour of the White House with Mrs. John F. Kennedy (1962) มีผู้ชมกว่า 56-80 ล้านคน! ทำให้ไม่จำเป็นต้องสื่อสารผ่านนักข่าวคนกลางแบบยุคสมัยก่อนอีกต่อไป!
สามปีถัดมา เกิดเหตุการณ์กำลังเป็นข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับสองนักศึกษาผิวสี Vivian Malone, James Hood ได้รับอนุญาตจากศาลรัฐบาลกลาง (Federal Court) สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย University of Alabama แต่ผู้ว่าการรัฐ George Wallace กลับประกาศจะยืนขัดขวาง แสดงอารยะขัดขืน จนสร้างความแตกตื่น ก่อเกิดวิกฤตต่อทำเนียบขาว
ผกก. Drew หลังจากได้ยินข่าวใหญ่ดังกล่าว โทรศัพท์ติดต่อหา Pierre Salinger โฆษกปธน. Kenney ได้รับคำตอบกลับ “How can you call when we’re in the middle of a crisis?” คีย์เวิร์ดคำว่า ‘crisis’ เป็นสิ่งที่สร้างความกระตือรือร้น สนอกสนใจเป็นอย่างมากๆ
เร่งนำความไม่พูดคุยต่อรอง ของบประมาณจากสถานีโทรทัศน์ ABC แล้วแบ่งทีมเข้าไปพูดคุยอัยการสูงสุด Robert F. Kennedy (น้องชายของปธน. John F. Kennedy) รวมถึงผู้ว่าการรัฐ George Wallace ได้รับคำตอบตกลง อนุญาตให้ถ่ายทำ รวมถึงเข้าไปบันทึกภาพในห้องทำงานรูปไข่ ทำเนียบขาว (ด้วยข้อแม้ว่าต้องนำหนังมาให้ตรวจสอบก่อนออกฉาย)
The civil-rights movement was the most important political and social story of our time. It was about changing the laws of the land to guarantee basic human rights to every citizen. I felt that this story was not only an important one, but that it had to be told in a way that would make people care about it.
Robert Drew
สามปีหลังจาก Primary (1960) ปฏิวัติวงการสารคดี เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆที่ ‘Drew Associates’ ร่วมกันครุ่นคิดประดิษฐ์ขึ้น ได้พัฒนายกระดับไปอีกขั้น หลังจากวิศวกรชาวโปแลนด์ Stefan Kudelski ออกแบบอุปกรณ์บันทึกเสียง (Portable Audio Recorders) ชื่อว่า NAGRA (ภาษา Polish แปลว่า ‘[it] will record’) ซึ่งมีขนาดเล็ก กระทัดรัด ทำให้ตากล้องและคนบันทึกเสียง (Sound Recorder) สามารถอยู่ระยะห่างไกล ไม่จำเป็นต้องเชื่อมติดกันด้วยสายไฟอีกต่อไป … กล่าวคือ กล้องก็บันทึกภาพ ส่วนไมค์อัดเสียงจะไปอยู่แห่งหนไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง ‘Sound-on-Film’ ค่อยทำการผสมเสียง (Sound Mixing) เอาภายหลังถ่ายทำ
อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากตอน Primary (1960) นั่นคือประสบการณ์ทำงาน ทั้งสมาชิกเก่า-ใหม่ของ ‘Drew Associates’ ต่างค้นพบแนวคิด ปรัชญา เข้าใจวิธีการทำงาน ผลลัพท์จับต้องได้ ไม่ใช่ตาบอดคลำทางเหมือนตอนสรรค์สร้างผลงานเรื่องแรกอีกต่อไป!
สำหรับ Crisis (1963) มีการแบ่งออกเป็นสามทีม ประกอบด้วย
- Drew & Pennebaker ติดตามอัยการสูงสุด Robert F. Kennedy อยู่ที่ Washington D.C.
- Leacock & Lipscomb ในตอนแรกติดตามผู้ว่าการรัฐ George Wallace ก่อนเปลี่ยนมารองอัยการสูงสุด Nicholas Katzenbach
- Ryden & Mills ติดตามสองนักศึกษาผิวสี Vivian Malone และ James Hood
ยุคสมัยนั้นยังไม่มีอุปกรณ์อย่างวอคกี้ทอคกี้ (วิทยุสื่อสาร) หรือโทรศัพท์ไร้สาย ทั้งสามทีมเมื่อแยกย้ายก็ตัวใครตัวมัน แทบไม่มีโอกาสติดต่อประสานงาน จนกว่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะจบสิ้นลง แต่มีซีเควนซ์น่าอัศจรรย์หนึ่งระหว่าง Robert F. Kennedy โทรศัพท์หารองอัยการสูงสุด Nicholas Katzenbach แล้วจู่ๆบุตรสาว Kerry Kennedy ก็เข้ามาก่อกวน แล้วพูดคุยเล่นกับลุงที่อยู่ปลายสาย เป็นความบังเอิญ โชคดิบโชคดี Pannebaker และ Leacock ต่างบันทึกภาพเหตุการณ์นี้ได้พร้อมกัน
Probably one of the most exciting moments of my filmmaking career was when the Kennedy children were on the phone with their father during the crisis. To have been able to capture that raw emotion, that sense of intimacy and vulnerability, it was just incredible. I knew at that moment that we had something special, something that would really speak to people on a deep emotional level.
Richard Leacock
ในขณะที่ Primary (1960) จะมีเพียงการตัดสลับไปมาระหว่างสองผู้ลงสมัครเลือกตั้งขั้นต้น John F. Kennedy vs. Hubert Humphrey, แต่สำหรับ Crisis (1963) จะไม่ใช่แค่ปธน. Kennedy vs. ผู้ว่าการรัฐ George Wallace (จริงๆสามารถมองว่าตัดสลับไปมาระหว่างทำเนียบขาว Washington D.C. vs. ลงพื้นที่รัฐ Alabama) เรื่องราวส่วนใหญ่นำเสนอผ่านมุมมองอัยการสูงสุด Robert F. Kennedy และรองอัยการสูงสุด Nicholas Katzenbach ตระเตรียมแผนการรับมือ และลงพื้นที่เผชิญหน้าผู้ว่าการรัฐ Wallace ระหว่างวันที่ 10-11 มิถุนายน ค.ศ. 1963
- อารัมบท ร้องเรียงชุดภาพระหว่างฟากฝั่งผู้ว่าการรัฐ Alabama vs. ทิวทัศน์ทำเนียบขาว Washington D.C.
- เริ่มต้นพูดคุย วางแผน ติดต่อประสาน
- เริ่มต้นยามเช้า RFK ออกจากบ้าน เดินทางถึงทำเนียบขาว
- ตัดไปผู้ว่าการรัฐ Wallace ออกจากบ้าน เดินทางถึงสถานที่ทำงาน
- RFK เข้าพบเจอปธน. JFK พูดคุยถึงแผนการตระเตรียมไว้
- พูดคุย ตระเตรียมความพร้อมกับสองนักศึกษาผิวสี
- RFK ออกสื่อให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
- ผู้ว่าการรัฐ Wallace ออกเยี่ยมเยียนผู้คน ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี
- สรุปแผนงาน เตรียมความพร้อมขั้นสุดท้าย
- RFK เข้าประชุมอีกครั้งกับ JFK เพื่อสรุปแผนการทั้งหมด
- รองอัยการสูงสุด Katzenbach เดินทางถึง Alamaba เพื่อสรุปแผนการกับเจ้าหน้ารัฐ
- RFK พูดคุยสรุปงานทางโทรศัพท์กับ Katzenbach
- เหตุการณ์บังเกิดขึ้น
- ผู้ว่าการ Wallace เดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย ยืนขวางประตูทางเข้า
- เผชิญหน้ากับรองอัยการสูงสุด Katzenbach
- มีกองกำลังทหารเข้ามาประจำการตามจุดต่างๆ
- สองนักศึกษาเดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย แล้วแยกย้ายกันเข้าคนละประตู เลยไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงใดๆบังเกิดขึ้น
- และหลังจากนั้น
- ผู้ว่าการ Wallace ยินยอมเดินทางกลับโดยดี
- ค่ำคืนนั้นปธน. Kennedy กล่าวสุนทรพจน์ผ่านสื่อโทรทัศน์
- วันถัดมานักศึกษาผิวสีทั้งสอง เดินทางเข้ามหาวิทยาลัย ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติใดๆบังเกิดขึ้น
เสียงบรรยายของ James Lipscomb เป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาภายหลังฉายให้ทำเนียบขาวรับชม จุดประสงค์ไม่ใช่แค่อธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้น แต่บางฉากยังถูกร้องขอให้ตัดเสียงสนทนา เพราะอาจมีความละเอียดอ่อนต่อบุคคลนั้นๆ … ผมก็คิดว่าเสียงบรรยายไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ แต่ก็ช่วยให้รับชมสารคดีเรื่องนี้เข้าใจง่ายขึ้น
ไฮไลท์การตัดต่อ นอกจากบุตรสาวของ RFK ที่เข้ามาก่อกวนระหว่างพูดคุยโทรศัพท์กับ Katzenbach, ไคลน์แม็กซ์ตัดสลับระหว่างเหตุการณ์ที่มหาวิทยาลัย University of Alabama vs. ทำเนียบขาว Washington D.C. พบเห็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงใคร ต่างลุ้นระทึก ใจจดใจจ่อ เฝ้ารอคอยว่าผลลัพท์จะออกมาเช่นไร … มีความตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่ารอผลการเลือกตั้งของ Primary (1960)
สำหรับเพลงประกอบจะได้ยินแค่ช่วงเกริ่นนำ อารัมบท ประกอบด้วยสองบทเพลงที่เป็นตัวแทนของฝ่ายเหนือ vs. ใต้, Union vs. Confederacy, Washington D.C. vs. Alabama และระหว่างปธน. John F. Kennedy vs. ผู้ว่าการรัฐ George Wallace
สารคดีเริ่มต้นที่ Dixie (1859) บ้างเรียกว่า Dixie’s Land หรือ I Wish I Was in Dixie แต่งคำร้อง/ทำนองโดย Daniel Decatur Emmett (1854-1904) ช่วงระหว่างสงครามกลางเมือง American Civil War (1861-65) ถูกเลือกเป็นเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของฝ่ายใต้ Confederacy … Dixie’s Land ก็คือดินแดนทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกานั่นเองแหละครับ
เกร็ด: Dixie ยังคือเพลงโปรดของปธน. Abraham Lincoln
O, I wish I was in the land of cotton
Old times there are not forgotten
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.In Dixie Land where I was born in
Early on one frosty mornin’
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.Chorus:
O, I wish I was in Dixie!
Hooray! Hooray!
In Dixie Land I’ll take my stand
To live and die in Dixie
Away, away,
Away down south in Dixie!Old Missus marry Will, the weaver,
William was a gay deceiver
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.But when he put his arm around her
He smiled as fierce as a forty pounder
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.(Chorus)
His face was sharp as a butcher’s cleaver
But that did not seem to grieve her
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.
Old Missus acted the foolish part
And died for a man that broke her heart
Look away! Look away!
Look away! Dixie Land.(Chorus)
อีกบทเพลงก็คือ Battle Hymn of the Republic แนว American Patriotic Song แต่งทำนองโดย William Steffe (1856), คำร้องโดย(ชนพื้นเมืองอินเดียนแดง) Julia Ward Howe (1861) ซึ่งทำการเรียบเรียงใหม่จากอีกบทเพลงของตนเอง John Brown’s Body (1861) เคยเป็นบทเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการฝั่ง Union ช่วงระหว่างสงครามกลางเมือง American Civil War (1861-65)
Mine eyes have seen the glory of the coming of the Lord;
He is trampling out the vintage where the grapes of wrath are stored;
He hath loosed the fateful lightning of His terrible swift sword:
His truth is marching on.Chorus:
Glory, glory, hallelujah!
Glory, glory, hallelujah!
Glory, glory, hallelujah!
His truth is marching on.I have seen Him in the watch-fires of a hundred circling camps,
They have builded Him an altar in the evening dews and damps;
I can read His righteous sentence by the dim and flaring lamps:
His day is marching on.(Chorus)
I have read a fiery gospel writ in burnished rows of steel:
“As ye deal with my contemners, so with you my grace shall deal”;
Let the Hero, born of woman, crush the serpent with his heel,
Since God is marching on.(Chorus)
He has sounded forth the trumpet that shall never call retreat;
He is sifting out the hearts of men before His judgment-seat;
Oh, be swift, my soul, to answer Him! Be jubilant, my feet!
Our God is marching on.(Chorus)
In the beauty of the lilies Christ was born across the sea,
With a glory in His bosom that transfigures you and me.
As He died to make men holy, let us die to make men free,[15]
While God is marching on.(Chorus)
Crisis (1963) นำเสนอวิกฤตที่เกิดจากความขัดแย้งเห็นต่างทางอุดมการณ์ ความเชื่อ วิถีทางสังคม ระหว่างรัฐบาลกลางขสหรัฐอเมริกา vs. คนขาวชาวใต้ ได้รับการปลูกฝัง-เสี้ยมสอนสั่ง อคติต่อคนดำ ยึดถือมั่นกฎหมายท้องถิ่น Jim Crow laws แม้เป็นสิ่งขัดแย้งต่อหลักมนุษยธรรม หรือคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐ ค.ศ. 1776
ทศวรรษ 60s-70s ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการปรับปรุงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil Rights) ตั้งแต่เรื่องแรงงาน สิทธิสตรี-เด็ก อิสรภาพทางเพศ รวมถึงเชื้อชาติพันธุ์ ฯ ต่างกลุ่มต่างพยายามออกมาเรียกร้อง แสวงหาโอกาสแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม เป้าหมายสำคัญคือให้ได้รับการเห็นชอบทางกฎหมาย นั่นคือสิ่งเบื้องต้นที่สามารถปกป้อง คุ้มกันภัย เพราะการจะเปลี่ยนแปลงความคิด วิถีสังคม สำหรับคนบางคนแทบจะเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ
สารคดีเรื่องนี้ผ่านมุมมองคนสมัยนั้น อาจดูเป็นการเข้าข้างทำเนียบขาว Washington D.C. ชวนเชื่อให้เกิดการปรับปรุงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองผ่านรัฐบาลกลาง คือผู้กำหนดทิศทางบริหารประเทศ กฎหมายท้องถิ่นที่มีความขัดแย้งจักถูกทำให้หมดสูญสิ้นสภาพ … อย่าง Jim Crow laws ถูกลบล้างโดย Civil Rights Act of 1964 และ Voting Rights Act of 1965 (ผมขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ ใครอยากรู้ว่าเป็นยังไงก็ลองศึกษาหาข้อมูลเอาเองเลย)
รับชมสารคดีเรื่องนี้ในปัจจุบัน เชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะตระหนักถึงพฤติการณ์ของผู้ว่าการ George Wallace เป็นสิ่งขัดแย้งต่อค่านิยมสังคมใหม่ มนุษย์ไม่ว่าจะเชื้อชาติ เพศสภาพ สีผิว ล้วนต้องได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ยุคสมัยแห่งการแบ่งแยกจบสิ้นลงนานแล้ว … แม้ในความเป็นจริง ยังคงพบเห็น ‘racism’ อยู่ทั่วๆไปก็ตามเถอะ
I wanted to make a film that would grab people by the shoulders and say, ‘Wake up, this is happening now, and it’s important.’ That’s what documentary is about, telling people what’s happening in the world around them. It’s the most exciting form of filmmaking, because you’re making something that has immediate relevance to people’s lives.
Robert Drew
หลายคนอาจรับรู้สึกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นใน Crisis (1963) ดูไม่ค่อยเหมือนรัฐบาลกลางตกอยู่ในวิกฤตสักเท่าไหร่ มันก็อาจใช่ในมุมมองปัจจุบัน แต่ยุคสมัยนั้นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil Rights) ยังมีความละเอียดอ่อนไหวอย่างมากๆ ดูอย่างช่วงแรกๆ ปธน. JFK ยังพยายามหาหนทางหลีกเลี่ยง ปฏิเสธเผชิญหน้าตรงๆ ไม่ต้องการออกโทรทัศน์เพื่อพูดถึงปัญหาดังกล่าวด้วยซ้ำไป!
ทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวสุนทรพจน์เต็มๆของปธน. John F. Kennedy ออกอากาศวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1963 เวลา 8:00-8:13 PM EDT ค่ำคืนหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ Crisis (1963) อีกทั้งยังยื่นข้อเสนอเตรียมออกกฎหมาย Civil Rights Act of 1964 แม้เสียงตอบรับหลังจากนี้จะมีทั้งชื่นชมและผิดหวัง (รัฐทางตอนใต้ส่ายหัวกันถ้วนหน้า) แต่ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ต่างให้การยกย่อง “Kennedy’s finest moment as president”. รวมถึง “finest speech ever on race relations”.
สารคดีออกฉายทางสถานีโทรทัศน์ ABC (American Broadcasting Company) วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1963 ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวพานผ่านมาประมาณสี่เดือน และก่อนหน้าการเสียชีวิตของปธน. John F. Kennedy เกือบๆหนึ่งเดือน
เสียงตอบรับเมื่อตอนออกฉายมีความแตกแยกอย่างรุนแรง ฝั่งชื่นชมก็มักกล่าวถึงเทคนิค แนวคิด วิธีนำเสนอที่แปลกใหม่ สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ พบเห็นการทำงานภายในทำเนียบขาว มุมมองจับต้องได้ของทั้งปธน. JFK และน้องชาย Robert F. Kennedy
This is a documentary with a meaning and an impact that go far beyond the ordinary. It is not only a perfect record of a significant event, it is an evocation of the spirit of that event as no written or spoken account could ever be.
Paul V. Beckley นักวิจารณ์จาก Los Angeles Times
Crisis: Behind a Presidential Commitment is a brilliant example of how documentary filmmaking can be used to chronicle a moment in history while illuminating the larger issues at play.
Megan Garber นักวิจารณ์จาก The Atlantic
แต่นักวิจารณ์ทางฝั่งอนุรักษ์นิยม ถึงขนาดตีตราว่าหนังชวนเชื่อ ‘propaganda film’ สร้างภาพให้รัฐบาล Kennedy สนเพียงมุมมองขัดแย้งทางกฎหมาย แทบไม่ได้นำเสนอสภาพเป็นจริงของสองนักศึกษาคนดำ เหตุผล แรงจูงใจ สิ่งที่พวกเขาเคยประสบพบเจอในชีวิต รวมถึงความรุนแรง Racism ในชีวิตประจำวันของชนชาวใต้
The point of the film was not to inform, but to mesmerize, and with a propaganda piece in which the dominant symbol is not the American flag, but the Kennedy flag, the portrait of the late President occupying a central place in the White House is an alarming premonition.
William F. Buckley Jr. นักวิจารณ์/ผู้ก่อตั้งนิตยสาร National Review
ปัจจุบันสารคดีเรื่องนี้รวบรวมอยู่ในคอลเลชั่น The Kennedy Films of Robert Drew & Associates ทั้งสี่เรื่องได้รับการบูรณะ ‘digital restoraion’ คุณภาพ 2K สามารถหาซื้อ Blu-Ray รับชมออนไลน์ได้ทาง Criterion Channel ประกอบด้วย
- Primary (1960)
- Adventures on the New Frontier (1961)
- Crisis: Behind a Presidential Commitment (1963)
- และหนังสั้น Faces of November (1964)
ปล. สำหรับ Faces of November (1964) คือหนังสั้นร้อยเรียงภาพใบหน้าผู้เข้าร่วมพิธีศพของปธน. John F. Kennedy ช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ความยาว 12-13 นาที, คว้ารางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยม Plaque Lion de St. Mark และ San Giorgio Statuette จากเทศกาลหนังเมือง Venice
ส่วนตัวมีความชื่นชอบประทับใจทั้ง Primary (1960) และ Crisis (1963) แต่ค่อนไปทางเรื่องหลังมากกว่านิดหน่อย เพราะเรื่องราวการเผชิญหน้าที่ท้าทายจิตสามัญสำนึกทางศีลธรรม (ผู้ชมสมัยนี้น่าจะตระหนักถึงสิ่งถูก-ผิด ได้ด้วยตนเองแล้วกระมัง) และต้องถือว่าต่างเป็นหมุดหมายสำคัญของวงการสารคดี บันทึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม
ผมยังไม่ได้ดูอีกสองเรื่องที่เหลือ แต่ก็เชื่อว่าคอลเลคชั่น The Kennedy Films of Robert Drew & Associates เหมาะสำหรับบรรยากาศการเลือกตั้งเป็นอย่างดี แม้เรื่องราวจะมีความเฉิ่มเชยล้าหลัง ยังอาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครที่ชื่นชอบเรื่องการเมือง และคอหนังสารคดีได้เป็นอย่างดี
จัดเรต pg กับความดื้อด้าน พฤติกรรมดูถูกเหยียดหยาม
Leave a Reply