The Red and the White (1967) Hungarian : Miklós Jancsó ♥♥♥♥♡

ไม่ว่าคอมมิวนิสต์/กองทัพแดง (Red Army) หรือผู้นิยมพระเจ้าซาร์/การ์ดขาว (White Guard) สงความคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! ถ้าปีนั้นไม่เกิดเหตุการณ์ Mai ’68 ที่เทศกาลหนังเมือง Cannes จักคือหนึ่งในตัวเต็งคว้ารางวัล Palme d’Or

เท่าที่ผมลองสังเกตภาพยนตร์ที่อยู่ในสายการประกวด (In Competition) เทศกาลหนังเมือง Cannes ปี 1968 มีภาพยนตร์อยู่ 3 เรื่องที่คุณภาพอยู่เหนือกาลเวลาในปัจจุบัน The Red and the White (1967), The Firemen’s Ball (1967) และ Kuroneko (1968)

  • หลายคนอาจมองว่า The Firemen’s Ball (1967) ของ Miloš Forman โดดเด่นสุดเพราะได้เข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film
  • แต่คะแนน IMDB สูงสุดคือ Kuroneko (1968) ของ Kaneto Shindô ที่ 7.7
  • และผลโหวตจากนักวิจารณ์ฝรั่งเศส French Syndicate of Cinema Critics เลือกให้ The Red and the White (1967) คว้ารางวัล Best Foreign Film of 1969 … ถ้าไม่ได้ Palme d’Or อย่างน้อยน่าจะการันตีรางวัล FIPRESCI Prize

The Red and the White (1967) เป็นภาพยนตร์ที่ผมรู้สึกว่ามีความบ้าระห่ำ คลุ้มบ้าคลั่ง แดงเดือด! นั่นเพราะผู้กำกับ Miklós Jancsó ได้รับมอบหมายให้สรรค์สร้างภาพยนตร์เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) กลับทำหนังออกมาในลักษณะสองแง่สองง่าม มองมุมหนึ่งคือใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) กรูไม่เอาสหภาพโซเวียต! ขณะเดียวกันช่วงท้ายของหนัง การก้าวสู่สนามรบทั้งรู้ว่าอาจต้องเผชิญหน้าความตาย นั่นถือเป็นทหารในอุดมคติ ให้กำเนิดวีรบุรุษสงคราม (Heroic-War) ก็ได้เช่นเดียวกัน

ใครที่สามารถครุ่นคิดทำความเข้าใจวิธีการนำเสนอของ The Red and the White (1967) จะตระหนักเลยว่านี่คือโคตรผลงาน Masterpiece โดยส่วนตัวหลงใหลคลั่งไคล้มากยิ่งกว่า The Round-Up (1966) และด้วยความสองแง่สองง่ามของการนำเสนอ มีเพียงกาลเวลาเท่านั้นถึงพิสูจน์ความตั้งใจแท้จริงของผู้กำกับ Jancsó นั่นทำให้กลายเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด … ที่ไม่ค่อยมีใครรับรู้จัก!


Miklós Jancsó (1921-2014) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Hungarian เกิดที่ Vác, Kingdom of Hungary ตั้งแต่เด็กครุ่นคิดอยากเป็นกำกับละครเวที แต่สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายจาก University of Cluj-Napoca แล้วช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองถูกเกณฑ์เป็นทหาร เคยโดนควบคุมตัวอาศัยอยู่ค่ายกักกันสงคราม (Prisoner of War) หลังเอาตัวรอดมาได้สมัครเข้าเรียนสาขาผู้กำกับ Színház- és Filmművészeti Egyetem (SZFE) จบออกมาเริ่มจากกำกับสารคดีข่าว (Newsreel) สะสมประสบการณ์จนมีโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องแรก The Bells Have Gone to Rome (1958), เริ่มมีชื่อเสียงจาก My Way Home (1964), โด่งดังระดับนานาชาติกับ The Round-Up (1966), The Red and the White (1968), พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์เรียกว่า ‘political musical’ ตั้งแต่ Winter Wind (1969), Electra, My Love (1974), Red Psalm (1972) ** คว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes

ความสนใจในช่วงแรกๆของ Jancsó มักเกี่ยวข้องประเด็นการเมือง การใช้อำนาจในทางมิชอบ (abuse of power) โดยอ้างอิงเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ สะท้อนเหตุการณ์บังเกิดขึ้นในปัจจุบัน(นั้น) เพื่อกล่าวถึงความคอรัปชั่นของฮังการีช่วงการปกครองพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การหนุนหลังสหภาพโซเวียต

สไตล์ของ Jancsó มักถ่ายทำยังพื้นที่ราบ/ชุมชนบทห่างไกล เพียงนำเสนอเหตุการณ์ ไม่ใคร่สนใจจิตวิเคราะห์ตัวละคร นักแสดงต้องซักซ้อมท่วงท่าขยับเคลื่อนไหว ตำแหน่งก้าวเดินไป ให้สอดคล้องการถ่ายทำแบบ Long Take กล้องเคลื่อนเลื่อน หมุนเวียนวน ซึ่งจะมีความยาว Average Shot Length เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (Winter Wind (1969) มีเพียง 12 ช็อตใน 80 นาที) ก่อนพัฒนามาเป็นลักษณะที่เจ้าตัวเรียกกว่า ‘political musical’

I used long takes because I wanted films without cuts. I’m simply inept at cutting. I always hated flashbacks, empty passages and cuts. Each shot took as long as there was material in the camera—ten minutes. All my films were made up of eight, ten, maximum sixteen shots.

Miklós Jancsó

ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) เปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) สู่สหภาพโซเวียต (Soviet Union) สตูดิโอ Mosfilm ได้รับมอบหมายให้สรรค์สร้างภาพยนตร์เพื่อเฉลิมฉลองเหตุการณ์ดังกล่าว และด้วยความสนใจในตัวผู้กำกับ Miklós Jancsó ที่เพิ่งแจ้งเกิดระดับนานาชาติจากผลงาน The Round-Up (1966) เลยติดต่อขอร่วมทุนสตูดิโอ Mafilm ของประเทศฮังการี

แซว: ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง วงการภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียตได้บังเกิดสูญญากาศครั้งใหญ่ เพราะบรรดาผู้กำกับระดับปรมาจารย์ Sergei Eisenstein, Vsevolod Pudovkin, Dziga Vertov, Alexander Dovzhenko ฯลฯ ต่างก็โรยรากันไป ยังไม่มีใครสามารถก้าวขึ้นมาแทนที่ Miklós Jancsó ถือเป็นหนึ่งในความหวังใหม่เลยก็ว่าได้! (เพราะฮังการีถือเป็นพันธมิตรสำคัญของสหภาพโซเวียต)

ผู้กำกับ Jancsó ร่วมงานนักเขียนบทขาประจำ Gyula Hernádi (1926-2005) แต่แทนที่พวกเขาจะพัฒนาบทภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ (Historical) หรือนำเสนอเหตุการณ์คาบเกี่ยวการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) กลับเลือกช่วงเวลาสองปีให้หลัง ค.ศ. 1919 ที่ราชอาณาจักรฮังการี (หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพิ่งแยกตัวจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี) แสดงเจตจำนงค์ในการสนับสนุนกองทัพแดง (Red Army) สู้รบต่อกรกับการ์ดขาว (White Guard)

เมื่อพัฒนาบทภาพยนตร์เสร็จสิ้น แน่นอนว่า Mosfilm ย่อมแสดงความไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่ แต่หัวหน้าสตูดิโอ Mafilm ขณะนั้น István Nemeskürty ให้การสนับสนุนวิสัยทัศน์ผู้กำกับ Jancsó อย่างเต็มที่! (น่าจะเพราะการมีส่วนร่วมของฮังการีในเรื่องราวของหนัง) แถมยังต่อรองขอใช้ทีมงานชาวฮังกาเรียนทั้งหมด ยกเว้นการถ่ายทำยังเมือง Kostroma ที่อยู่ติดกับแม่น้ำ Volga … ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม Mosfilm ถึงยินยอมความขนาดนี้?


สงครามกลางเมืองรัสเซีย ค.ศ. 1919 (Russian Civil War) เริ่มต้นที่แม่น้ำสายหนึ่ง ทหารแดงกำลังหลบหนีการ์ดขาว แต่เมื่อโดนล้อมจับกุมมักถูกสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ปล่อยให้วิ่งหลบหนีแล้วออกไล่ล่า จากนั้นค่อยเข่นฆ่าอีกฝั่งฝ่าย … ทำราวกับเกมการละเล่น แมวไล่จับหนู

หลังจาก László (รับบทโดย András Kozák) นายทหารชาวฮังกาเรียน สามารถหลบหนีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อมาถึงเมืองแห่งหนึ่งซึ่งทหารแดงครอบครองอยู่ ถูกผู้บัญชาการ (รับบทโดย József Madaras) แสดงความไม่พึงพอใจทหารหลบหนี จึงสั่งให้ปลดอาวุธ ถอดเสื้อผ้า แล้วขับไล่ออกจากกองทัพ แต่ไม่ทันไรหลังจากนั้นการ์ดขาวก็เข้ายึดครองเมืองดังกล่าว ผู้บัญชาการคนนั้นเลยตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย ดีกว่ากลายเป็นเชลยสงคราม

หลังจากกวาดต้อนทหารแดงที่อยู่ในเมืองแห่งนี้ ผู้บัญชาการการ์ดแดงประกาศว่าใครไม่ใช่ชาวรัสเซียจะได้รับอนุญาตปล่อยตัว ส่วนบุคคลที่เหลือจะต้องถอดเสื้อผ้า และมีเวลา 15 นาทีในการหลบหนี แต่ด้วยความเข้าใจผิดของทหารฮังกาเรียนคนหนึ่ง เลยถูกไล่ล่าโดยการ์ดขาว สามารถเอาตัวรอดออกจากเมืองแห่งนี้ได้อย่างหวุดหวิด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังติดตามมาจนถึงโรงพยาบาลทหารแห่งหนึ่ง … László ก็มาหลบลี้ภัยอยู่สถานที่แห่งนี้ แล้วได้รับมอบหมายให้ไปขอกำลังเสริมมาสู้รบการ์ดขาว

แม้โรงพยาบาลจะคือสถานที่เป็นกลาง ไม่มีแดง-ไม่มีขาว แต่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกลับบีบบังคับให้นางพยาบาลสาว เล่น-เต้น เริงระบำ พยายามเกี้ยวพาราสี กระทำสิ่งตอบสนองตัณหาของตนเอง หลังจากนั้นสั่งให้แยกผู้ป่วยแดง-ขาวออกจากกัน ระหว่างกำลังเริ่มต้นสังหารศัตรู ทหารแดงหน่วยใหม่ก็เข้ามาช่วยเหลือไว้ได้ทัน ถึงอย่างนั้นผู้บัญชาการทหารแดงกลับสั่งประหารชีวิต Sister Olga (รับบทโดย Krystyna Mikołajewska) ข้อหาทรยศขายชาติ เพราะคือบุคคลแบ่งแยกทหารแดง-ขาวออกจากกัน แล้วก็สั่งฆ่าผู้ป่วยการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน ซะงั้น!

พอทหารแดงรวมกลุ่มกันได้อีกครั้ง สามารถยึดครองบ้านบนเนินเขาหลังหนึ่ง แต่กลับพบว่านั่นคือกัปดักของการ์ดขาว ตั้งแถวห้อมล้อมอยู่ริมแม่น้ำ Volga นั่นทำให้ทำให้ผู้บัญชาการทหารแดงสั่งให้ทุกคนตั้งแถวพร้อมเผชิญหน้า ก้าวเดินออกไปทั้งๆรับรู้ว่าต้องพบเจอกับความตาย … ท้ายสุดเมื่อ László นำกำลังเสริมมาถึง กลับไม่มีใครหลงเหลือรอดชีวิต


ในส่วนของนักแสดงนั้นมีอยู่สามคนที่ค่อนข้างโดดเด่น แต่ผมจะขอกล่าวถึงแค่เพียงคร่าวๆ นั่นเพราะ ‘สไตล์ Jancsó’ มองพวกเขาเหล่านี้เพียงกลไกดำเนินไปของเรื่องราว ไม่ได้ทำให้จับต้องได้ มีตัวตน ราวกับหุ่นยนต์ อุปกรณ์ประกอบฉาก (prop) … ให้ความรู้สึกคล้ายๆนักแสดงในผลงานผู้กำกับ Robert Bresson ที่ขยับเคลื่อนไหวอย่างไร้จิตวิญญาณ ส่วน ‘สไตล์ Jancsó’ ใช้การเคลื่อนเลื่อนกล้องจนมองไม่ทันเห็นจิตวิญญาณนักแสดง

András Kozák (1943-2005) รับบท László นายทหารหนุ่มชาวฮังกาเรียน กำลังถอยร่นจากแนวหน้าเพราะถูกไล่ล่าจากการ์ดขาว มีสีหน้าขลาดหวาดกลัวตัวสั่น อยากที่จะเอาตัวรอดจากสงคราม แต่พอมาถึงเมืองแห่งหนึ่งกลับถูกผู้บัญชาการทหารแดงสั่งปลดอาวุธ ถอดเสื้อผ้า ทำให้อับอายขายขี้หน้า และเมื่อมาถึงโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแสร้งว่าได้รับบาดเจ็บ แล้วมีกัปตันมอบหมายภารกิจขอกำลังเสริม ทำให้เขามีข้ออ้างถอยร่นในที่สุด!

Krystyna Mikołajewska (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติ Polish โด่งดังจากผลงาน Pharaoh (1966), รับบทนางพยาบาลสาว Sister Olga ด้วยสัตย์สาบาน Hippocratic Oath เธอจึงไม่เลือกปฏิบัติทั้งทหารแดงและการ์ดขาว แต่เมื่อถูกผู้บัญชาการทหารการ์ดขาวบีบบังคับให้แบ่งแยกผู้ป่วยแดง-ขวา ด้วยความหวาดกลัวจึงจำต้องยินยอมทำตามคำสั่ง ผลลัพท์เมื่อผู้บัญชาการทหารแดงรับรู้เข้า ตีตราว่าเธอคือคนทรยศขายชาติ เลยโดนตัดสินโทษประหารชีวิต … นี่ฉันทำผิดอะไร?

Mikhail Kozakov (1934-2011) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย, รับบทผู้บัญชาการทหารแดง ผู้มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ยินยอมเสียสละชีพเพื่อชาติ รังเกียจคนทรยศหักหลัง (สั่งประหารชีวิต Sister Olga) รวมถึงประณามพวกล่าถอยหนี ซึ่งตัวเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อต้องเผชิญหน้าการ์ดแดง ทั้งรู้ว่าต้องพ่ายแพ้ กลับยังคงก้าวเดินไปข้างหน้า ไม่ยินยอมเสียศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย สมควรค่าแก่คำเรียกวีรบุรุษ … หรือคนบ้าดีนะ?


ถ่ายภาพโดย Tamás Somló (1929-93) สัญชาติ Hungarian สำเร็จการศึกษาจาก Színház- és Filmművészeti Egyetem (SZFE) น่าจะรุ่นเดียวกับผู้กำกับ Miklós Jancsó ร่วมงานกันตั้งแต่ถ่ายทำสารคดีข่าว ภาพยนตร์เรื่องแรก The Bells Have Gone to Rome (1959) และกลายเป็นขาประจำจนถึง The Confrontation (1969)

แม้ว่า ‘สไตล์ Jancsó’ กำลังอยู่ในขั้นเพาะบ่ม ทดลองผิดลองถูก แต่เราสามารถพบเห็นพัฒนาการ แนวคิด โดยเฉพาะการถ่ายทำ Long-Take แล้วเคลื่อนเลื่อนกล้องที่มักหมุนเวียนวนไปวนมา บางครั้งก็วงกลม 360 องศา ขณะที่นักแสดงถ้าไม่ยืนเข้าแถวก็ต้องขยับเคลื่อนไหว ก้าวเดินวนเวียนวนไป เดี๋ยวซ้าย-เดี๋ยวขวา เดี๋ยววกกลับมาที่เก่า เฉกเช่นเดียวกัน! ซึ่งนั่นแสดงถึงการซักซ้อมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แลดูมีลักษณะละม้ายคล้ายการเริงระบำ เลยได้รับการตั้งชื่อเรียก ‘political musical’

วิธีการของผู้กำกับ Jancsó ถือว่าเหมาะสมเข้ากันอย่างดี The Red and the White (1967) เพราะทำเกิดความสับสนวุ่นวาย สะท้อนความอลม่านในการสงคราม ไม่ว่าแดงหรือขาว ไม่จำเป็นต้องแยกฝั่งฝ่าย หรือเครื่องแบบทหารออกจากกัน เพราะสิ่งบังเกิดขึ้นคือความเหี้ยมโหดร้าย ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด เข่นฆ่ากันได้แม้แต่พวกพ้องร่วมชาติเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจมากๆก็คือ การใช้ Long-Take เวียนวนไปวนมาโดยรอบสถานที่/ตัวละคร จับจ้องเหตุการณ์บังเกิดขึ้นตรงข้างหน้า นั่นทำให้ผู้ชมไม่มีทางรับรู้สิ่งอื่นๆรอบข้าง นอกจากปฏิกิริยาแสดงออกของตัวละคร จู่ๆยืนหยุดนิ่ง สีหน้าตกตะลึง นั่นแปลว่าศัตรูปรากฎตัวขึ้นแบบคาดไม่ถึง!


ภาพแรกของหนัง นำเสนอภาพสโลโมชั่นพร้อมเสียงเป่าแตรทหาร (สัญลักษณ์ของการประจัญบาน) การมาถึงของทหารม้าการ์ดขาวแบบไม่ทันตั้งตัว แล้วจู่ๆก็ได้ยินเสียงปืน พร้อมใครบางคนตกหล่นลงจากหลังม้า เหมือนเพื่อจะสื่อว่าวีรบุรุษไม่มีอยู่จริงในสนามรบ (Anti-Heroic) ทุกคนมีโอกาสตกตายอย่างเท่าเทียมกัน

แซว: ไม่รู้ทำไมผมเห็นมุมกล้องช็อตนี้แล้วระลึกถึง Sátántangó (1994) ของผู้กำกับ Béla Tarr ขึ้นมาโดยทันที

หลังขับไล่/ประจานกลุ่มคนหนีทหาร ผู้บัญชาการทหารแดงคนนี้ก็หวนกลับเข้ามาในเมือง มุมกล้องช็อตนี้ตั้งอยู่เฉยๆ ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว เปิดเผยรายละเอียดอะไร แต่จู่ๆเขากลับยกมือขึ้น ทิ้งปืน ถอดเสื้อผ้า แล้วพอสบโอกาสก็กระโดดตึกฆ่าตัวตาย

นี่เป็นช็อตนำเสนอการมาถึงของการ์ดขาว แทรกซึมเข้ามายึดครองเมืองแห่งนี้ได้อย่างน่าประทับใจ สร้างความฉงนสงสัยชั่วครู่ให้ผู้ชม ก่อนเฉลยคำตอบหลังจากแสดงความหาญกล้าดั่งวีรบุรุษ/ไม่ต่างจากคนบ้าของผู้บัญชาการคนนี้ (ยินยอมฆ่าตัวตาย ดีกว่าตกเป็นเชลยศัตรู!)

พวกการ์ดขาวทำราวกับว่าสงครามคือเกมการละเล่น สำหรับเข่นฆ่าศัตรู/ทหารแดง อารัมบทโดยนายพลคนนี้ ปล่อยให้นักโทษออกวิ่ง แล้วทำราวกับกำลังยิงนกตกไม้ เห็นชีวิตมนุษย์ราวกับผักปลา ไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไร เช่นนั้นแล้วบุคคลระดับต่ำกว่า ผู้บัญชาการ นายทหาร ก็จำต้องเลียนแบบกระทำตาม นำสู่ฉากปล่อยเชลยนักโทษสงคราม ให้เวลาสิบห้านาทีก่อนออกไล่ล่า เข่นฆ่า ไม่ต่างจากแมวจับหนู

เมื่อตอนต้นเรื่องกัปตันการ์ดขาวคนนี้ (รับบทโดย János Görbe ใครเคยรับชม The Round-Up (1966) น่าจะจดจำได้กระมัง) เข่นฆ่านายทหารแดงยังแม่น้ำสายหนึ่ง ช่วงกลางๆเรื่องระหว่างเตรียมกำลังจะข่มขืนหญิงสาวชาวบ้าน พบเห็นโดยผู้บัญชาการที่มียศสูงกว่า เลยถูกสั่งปลดจากตำแหน่งและตัดสินโทษประหารชีวิต ถูกยิงตายตรงบริเวณข้างๆแม่น้ำ น่าจะสายเดียวกันกระมัง … ภาษาทางการของการนำเสนอลักษณะนี้เรียกว่า formalism แต่ผมชอบเรียกว่า ‘กรรมสนองกรรม’

จากบรรยากาศตึงเครียด เป็นๆตายๆ มาผ่อนคลายสักนิดกับการเล่น-เต้น เริงระบำ รับฟังบทเพลงจากวงดุริยางค์ แต่ให้ตายเถอะใครจะไปผ่อนคลายได้ลง เพราะผู้บัญชาการการ์ดขาวบีบบังคับให้นางพยาบาลขึ้นรถเดินทางมายังป่าเบิร์ช สถานที่ลับหูลับตา แถมยังต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเดรสอีกต่างหาก! ถึงหนังไม่นำเสนอว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเธอหลังจากนี้ แต่ผมว่าผู้ชมคงคาดเดาไม่ยากสักเท่าไหร่

เกร็ด: เบิร์ช (Birch Tree) หนึ่งในต้นไม้ประจำชาติ จิตวิญญาณของชาวรัสเซีย แม้ภายนอกดูบอบบางแต่ก็มีความแข็งแกร่งภายใน ชื่นชอบอากาศหนาวจึงเติบโตแถบอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น จีน และหลายๆประเทศที่มีหิมะตก, ชาว Celts/Celtic เชื่อว่าคือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของการถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ เรียกว่าวัฎจักรชีวิตก็ได้เช่นกัน

ใครเคยรับชม The Round-Up (1966) น่าจะมักคุ้นกับสิ่งบังเกิดขึ้นกับ Sister Olga ถูกบีบบังคับให้พบเห็นภาพบาดตาบาดใจ (János Gajdar ถูกขังอยู่ในห้องที่มีศพผู้เสียชีวิต) เลยเกิดอาการหวาดหวั่นสั่นสะพรึงกลัวตาย จึงยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บัญชาการการ์ดขาว (ทรยศหักหลังพรรคพวกพ้อง) แบ่งแยกผู้ได้รับบาดเจ็บแดง-ขาว ออกจากกัน!

ผมว่าใครต่อใครน่าจะบอกได้ว่าการกระทำของ Sister Olga เป็นการถูกบีบบังคับให้ต้องยอมจำนน หาใช่พฤติกรรมของคนทรยศหักหลังพวกพ้อง แต่นั่นไม่ใช่ในมุมมองของผู้บัญชาการทหารแดงที่สนเพียงเกียรติ ศักดิ์ศรี รักชาติยิ่งชีพ มองที่ผลของการกระทำ ไม่รับฟังความตั้งใจ-ไม่ตั้งใจ ใครหักหลังพวกเราล้วนคือศัตรูต้องเข่นฆ่า บ้าเลือด สูญเสียสติแตก!

ระหว่างที่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกำลังสั่งประหารผู้ได้รับบาดเจ็บทหารแดง เหมือนได้ยินเสียงอะไรบางอย่างจึงสั่งให้หยุด แล้วมุมกล้องถ่ายให้เห็นฝูงม้าตรงข้ามแม่น้ำกำลังวิ่งอุตลุต (ม้าคือสัญลักษณ์ของอิสรภาพ การปลดปล่อย) นี่คือการเบี่ยงเบนความสนใจให้ทหารแดงสามารถแทรกซึมเข้ามาประชิดใกล้ แล้วจัดการเผด็จศึกเข่นฆ่าศัตรูให้หมดสิ้นซาก (ถือว่าทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บทหารแดงได้รับอิสรภาพโดยทันที!) … ล้อกับตอนต้นเรื่องที่การ์ดขาวที่แทรกซึมเข้ามาในเมืองโดยไม่มีใครรับรู้ตัว

ทั้งการสั่งประหาร Sister Olga เข่นฆ่าการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน รวมถึงโอบกอดจูบนางพยาบาลสาว พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้บัญชาการทหารแดง ช่างไม่แตกต่างจากผู้บัญชาการการ์ดขาว อีกฝั่งเคยทำอะไรไว้ อีกฝ่ายก็พร้อมเลียนแบบตาม ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน ไม่ใคร่สนอะไรทั้งนั้น! จริงอยู่นี่คือวิถีของชีวิต สัจธรรมความจริง แต่มันไม่ใช่ในความเป็นมนุษย์ (humanity) เป็นการกระทำของเดรัจฉาน

หลังปลดแอกโรงพยาบาล ผู้บัญชาการทหารแดงก็รวบรวมกองกำลังแล้วออกเดินทางมาจนถึงบ้านแห่งหนึ่งบนเนินเขาแห่งหนึ่ง (จะตีความในเชิงสัญลักษณ์ถึงประเทศฮังการีก็ได้นะครับ) แต่โดยไม่รู้ตัวการ์ดขาวได้เตรียมกองกำลังห้อมล้อมรอบทุกทิศทาง เมื่อตระหนักว่าไม่สามารถหลบหนี จึงสั่งนายทหารตั้งแถวแล้วก้าวเดิน พร้อมเผชิญหน้าความตายอย่างสมศักดิ์ศรีชายชาติทหาร กลายเป็นวีรบุรุษ … หรือคนบ้า ก็แล้วแต่ผู้ชมจะพินิจพิจารณา

ผมครุ่นคิดว่าการให้ทหารยืนเรียงแถวหน้ากระดานลักษณะนี้ คงต้องการสื่อถึงกำแพงมนุษย์ สังเกตว่าฝั่งการ์ดขาวมีถึงสามชั้น ซึ่งสามารถไล่เรียงลำดับขั้นบัญชาการ ไม่มีทางที่ทหารแดงไม่กี่สิบคนจะสามารถก้าวไปถึงปลายยอดแหลม (คาดว่าน่าจะระดับนายพล/ผู้บัญชาการเหล่าทัพ) แค่กำแพงด่านแรกก็ยังไปไม่ถึงด้วยซ้ำ … ความตายของนายทหาร ไม่ได้ทำให้ทิศทางสงครามปรับเปลี่ยนแปลงไปแม้แต่น้อย!

Laszló เมื่อพากองกำลังเสริมมาถึงสนามรบ วิ่งลงไปถึงแม่น้ำ Volga ก็พบว่าไม่มีหลงเหลือผู้รอดชีวิต การ์ดขาวก็กรีธาทัพไปไหนต่อไหนหมดสิ้น เขาจึงหยิบดาบขึ้นมาสดุดี ทำท่าเคารพศพวีรบุรุษ/ผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตจากการสงคราม เสียสละเพื่อประเทศชาติ หรือตกตายไปอย่างน่าอเนจอนาถ

ผมเห็นช็อตนี้มีลักษณะเหมือน ‘ดาบสองคม’ จัดวางตำแหน่งตรงกึ่งกลางใบหน้านักแสดงพอดิบพอดี ทำให้สามารถแบ่งแยกทุกสิ่งอย่างออกเป็นสองฟากฝั่ง เหมือนทหารแดง-การ์ดขาว และภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองผู้ชม เห็นเป็นต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) หรือยกย่องวีรบุรุษ (Heroic-War)

ตัดต่อโดย Zoltán Farkas (1913-80) สัญชาติ Hungarian ในสังกัดสตูดิโอ Mafilm เริ่มมีผลงานตั้งแต่ปี 1935, ร่วมงานผู้กำกับ Miklós Jancsó ตั้งแต่ Cantata (1963) จนกระทั่ง Electra, My Love (1974)

แม้นายทหารชาวฮังกาเรียน Laszló จะปรากฎตัวในทุกๆฉากใหญ่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของเขา เพียงบุคคลกำหนดทิศทางเรื่องราว ลำดับการถอยร่นทหารแดง เริ่มจาก …

  • แม่น้ำสายหนึ่ง
    • Laszló กำลังถอยร่น พบเห็นการ์ดขาวเข่นฆ่าทหารแดงอย่างเลือดเย็น
  • เมืองแห่งหนึ่ง
    • Laszló มาถึงเมืองแห่งหนึ่ง ถูกผู้บัญชาการสั่งให้ถอดเสื้อผ้า ขับไล่ออกจากกองทัพ (เพราะไม่ยินยอมรับทหารหลบหนี)
    • เมื่อผู้บัญชาการคนนั้นกลับเข้าไปในเมือง เมื่อพบเห็นการ์ดขาวเข้ายึดครอง จึงตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย
    • การ์ดขาวกวาดต้อนทหารแดง สั่งให้ถอดเสื้อผ้า แล้วเล่นเกมแมวไล่จับหนู มีเวลา 15 นาทีในการหลบหนี
    • ทหารแดงบางส่วนที่สามารถหลบหนีออกจากเมือง ยังคงถูกไล่ล่าโดยการ์ดขาว แล้วมีกัปตันคนหนึ่งกำลังจะข่มขืนหญิงสาวชาวบ้าน เลยถูกสั่งประหารชีวิต
  • โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
    • แม้คือสถานที่เป็นกลาง แต่ผู้บัญชาการการ์ดขาวกลับออกคำสั่งนางพยาบาลให้ทำตามคำเรียกร้องขอ ขึ้นรถสู่ป่าเบิร์ช เล่น-เต้น เริงระบำ กระทำสิ่งตอบสนองตัณหา
    • Laszló ได้รับมอบหมายให้ไปขอกำลังเสริมจากทหารแดง
    • ผู้บัญชาการการ์ดขาวสั่งให้ Sister Olga แบ่งแยกผู้ป่วยแดง-ขาว ออกจากกัน
    • ระหว่างกำลังยิงเป้าผู้ป่วยแดง กองทัพแดงก็เข้ามาช่วยเหลือได้ทัน แล้วเข่นฆ่าการ์ดขาวที่ไม่ยินยอมจำนน พร้อมสั่งประหารชีวิต Sister Olga
  • เนินเขาริมแม่น้ำ Volga
    • ผู้บัญชาการทหารแดงจัดกองกำลังมาจนถึงแม่น้ำ Volga แต่ถูกห้อมล้อมโดยการ์ดขาว ก็ยังคงเลือกที่จะก้าวเผชิญหน้าความตาย
    • Laszló นำกำลังเสริมมาถึงแต่ก็ไม่มีใครหลงเหลือรอดชีวิต

การดำเนินเรื่องของหนังให้ความรู้สึกเหมือน ‘ส่งต่อไม้ผลัด’ คล้ายๆแนวคิดของ La Ronde (1950) และ The Phantom of Liberty (1974) จากตัวละครหนึ่งสู่อีกตัวละครหนึ่ง เริ่มต้นจาก Laszló → สู่ผู้บัญชาการทหารแดง ซึ่งพอตัดสินใจกระโดดตึกฆ่าตัวตาย → ก็เปลี่ยนมานำเสนอผู้บัญชาการการ์ดขาว ให้เวลานักโทษวิ่งหลบหนี → ทหารกลุ่มหนึ่งสามารถออกนอกเมืองได้สำเร็จ ฯลฯ ซึ่งบางครั้งแค่เพียงกล้องเคลื่อนจากตำแหน่งหนึ่งสู่อีกตำแหน่งหนึ่ง ก็สลับสับเปลี่ยนมุมมองการนำเสนอแล้วละ!


หนังถือว่าไม่มีเพลงประกอบ แต่จะได้ยินบทเพลงในลักษณะ ‘diegetic music’ จากวงดุริยางค์ช่วงกลางเรื่อง บรรเลงให้นางพยาบาลเล่น-เต้น เริงระบำ ดูเหมือนเพียงสร้างความเพลิดเพลินสำเริงกาย-ใจ ตอบสนองตัณหาของผู้บัญชาการการ์ดขาวเท่านั้นแหละ

นอกจากนี้ยังมีการบทเพลงของทหารแดง ครั้งหนึ่งพยายามล้อเลียนการ์ดขาวที่สั่งให้เขาร้องเพลง ก็เลยขับร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสที่อีกฝ่ายฟังไม่รู้เรื่อง (แต่ก็คาดไม่ยากว่าเนื้อร้องสื่อถึงอะไร) และไคลน์แม็กซ์ของหนัง เหล่าทหารหาญประสานเสียงบทเพลง La Marseillaise (เพลงชาติฝรั่งเศส) เพื่อสร้างความหึกเหิมขณะก้าวเดินสู่ความตาย

แซว: เอาจริงๆผมไม่เข้าใจว่าทำไมทหารฮังกาเรียนถึงขับร้องเพลงชาติฝรั่งเศส La Marseillaise แต่ถ้าสังเกตจากเนื้อคำร้องก็ถือว่าตรงกับใจความของหนังอยู่นะ

French originalEnglish translation
Allons enfants de la Patrie,
Le jour de gloire est arrivé !
Contre nous de la tyrannie
L’étendard sanglant est levé, (bis)
Entendez-vous dans les campagnes
Mugir ces féroces soldats ?
Ils viennent jusque dans vos bras
Égorger vos fils, vos compagnes !

Refrain :
Aux armes, citoyens,
Formez vos bataillons,
Marchons, marchons !
Qu’un sang impur
Abreuve nos sillons !

Que veut cette horde d’esclaves,
De traîtres, de rois conjurés ?
Pour qui ces ignobles entraves,
Ces fers dès longtemps préparés ? (bis)
Français, pour nous, ah ! quel outrage
Quels transports il doit exciter !
C’est nous qu’on ose méditer
De rendre à l’antique esclavage !

Refrain

Quoi ! des cohortes étrangères
Feraient la loi dans nos foyers !
Quoi ! Ces phalanges mercenaires
Terrasseraient nos fiers guerriers ! (bis)
Grand Dieu ! Par des mains enchaînées
Nos fronts sous le joug se ploieraient
De vils despotes deviendraient
Les maîtres de nos destinées !

Refrain

Tremblez, tyrans et vous perfides
L’opprobre de tous les partis,
Tremblez ! vos projets parricides
Vont enfin recevoir leurs prix ! (bis)
Tout est soldat pour vous combattre,
S’ils tombent, nos jeunes héros,
La terre en produit de nouveaux,
Contre vous tout prêts à se battre !

Refrain

Français, en guerriers magnanimes,
Portez ou retenez vos coups !
Épargnez ces tristes victimes,
À regret s’armant contre nous. (bis)
Mais ces despotes sanguinaires,
Mais ces complices de Bouillé,
Tous ces tigres qui, sans pitié,
Déchirent le sein de leur mère !

Refrain

Amour sacré de la Patrie,
Conduis, soutiens nos bras vengeurs
Liberté, Liberté chérie,
Combats avec tes défenseurs ! (bis)
Sous nos drapeaux que la victoire
Accoure à tes mâles accents,
Que tes ennemis expirants
Voient ton triomphe et notre gloire !

Refrain

Couplet des enfants:
Nous entrerons dans la carrière
Quand nos aînés n’y seront plus,
Nous y trouverons leur poussière
Et la trace de leurs vertus (bis)
Bien moins jaloux de leur survivre
Que de partager leur cercueil,
Nous aurons le sublime orgueil
De les venger ou de les suivre.

Refrain
Arise, children of the Fatherland,
The day of glory has arrived!
Against us, tyranny’s
Bloody standard is raised, (repeated)
Do you hear, in the countryside,
The roar of those ferocious soldiers?
They’re coming right into your arms
To cut the throats of your sons, your women!

Refrain:
To arms, citizens,
Form your battalions,
March, march!
Let an impure blood
Water our furrows!

What does this horde of slaves
Of traitors and conspiring kings want?
For whom have these vile chains
These irons, been long prepared? (repeated)
Frenchmen, for us, ah! What outrage
What furious action it must arouse!
It is for us they dare plan
A return to the old slavery!

Refrain

What! Foreign cohorts!
Would make the law in our homes!
What! These mercenary phalanxes
Would strike down our proud warriors! (repeated)
Great God! By chained hands
Our brows would yield under the yoke
Vile despots would themselves become
The masters of our destinies!

Refrain

Tremble, tyrants and you traitors
The shame of all parties,
Tremble! Your parricidal schemes
Will finally receive their prize! (repeated)
Everyone is a soldier to combat you,
If they fall, our young heroes,
Will be produced anew from the ground,
Ready to fight against you!

Refrain

Frenchmen, as magnanimous warriors,
Bear or hold back your blows!
Spare those sorry victims,
For regretfully arming against us (repeated)
But these bloodthirsty despots
These accomplices of Bouillé
All these tigers who, mercilessly,
Tear apart their mother’s breast!

Refrain

Sacred love of the Fatherland,
Lead, support our avenging arms
Liberty, cherished Liberty
Fight with your defenders! (repeated)
Under our flags may victory
Hurry to your manly accents
So that your expiring enemies
See your triumph and our glory!

Refrain

Children’s verse:
We shall enter the (military) career
When our elders are no longer there
There we shall find their dust
And the trace of their virtues (repeated)
Much less keen to survive them
Than to share their coffins
We shall have the sublime pride
To avenge or follow them.

Refrain

ผมรู้สึกว่าเราไม่จำเป็นต้องทำความใจเนื้อเรื่องราว รายละเอียดพื้นหลังของ The Red and the White (1967) ทหารแดงเข่นฆ่าการ์ดขาว ใครยึดครองสมรภูมิใคร ยุทธการแห่งหนไหน เพราะนั่นไม่ใช่สาระสำคัญของหนังที่ต้องการนำเสนอความสับสนวุ่นวายของสงคราม เครื่องแบบทหารที่แม้แตกต่างแต่ถ้าไม่สังเกตก็แยกไม่ออก รวมถึงเชื้อชาติ สีผิว ล้วนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งเดียว มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด! แม้แต่พรรคพวกเดียวกันเองก็ไม่ละเว้น

‘สไตล์ Jancsó’ มีความโดดเด่นมากๆในภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะลีลาการขยับเคลื่อนเลื่อนกล้อง เวียนวนไปวนมา วงกลม 360 องศา พร้อมการนำเสนอแต่ละช่วงเวลาที่ประเดี๋ยวทหารแดง อีกประเดี๋ยวสลับไปการ์ดขาว ใครเคยทำอะไรเลวร้าย เข่นฆ่าศัตรู ข่มขืนผู้บริสุทธิ์ ทำให้ใครอื่นต้องอับอายขายขี้หน้า อีกไม่นานผลกรรมก็จะติดตามตอบสนองอย่างรวดเร็วพลัน ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน ไม่ต้องเฝ้ารอคอยถึงชาติหน้าตอนบ่ายๆ

ผู้กำกับ Jancsó คงนำประสบการณ์จากเคยถูกเกณฑ์ทหาร เข้าร่วมสู้รบสงครามโลกครั้งที่สอง (ก่อนตกเป็นนักโทษเชลยสงคราม อาศัยอยู่ในค่ายกักกัน) มาสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างแน่นอน! และผมค่อนข้างเชื่อว่าเขาอาจเทียบแทนตนเองกับตัวละคร Laszló เพราะใจความต่อต้านสงครามของหนัง (Anti-Wars) เด่นชัดเจนกว่าการนำเสนอวีรบุรุษ (Heroic-War)

ผมเคยเขียนอธิบายไปแล้วเมื่อตอน The Round-Up (1966) ถึงธาตุแท้ตัวตนของผู้กำกับ Jancsó การยินยอมเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามสิ้นสุด ไม่ใช่เพราะเขาสนับสนุนเลือกข้างเผด็จการ แต่เพราะบทเรียนจากการเป็นทหาร/นักโทษเชลยสงครามทำให้เข้าใจวิถีของอำนาจ ตัวเขาก็แค่มนุษย์ตัวเล็กๆ ไร้ช่องทางหลบหนีเอาตัวรอดออกนอกประเทศฮังการี เมื่อไม่มีทางดิ้นรนขัดขืนก็ต้องก้มหัวศิโรราบ ยินยอมขายวิญญาณเพื่อกระทำตามความเพ้อใฝ่ฝัน (เพราะยุคสมัยนั้นในฮังการี สตูดิโอภาพยนตร์อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาลเท่านั้น)

ความสองแง่สองง่ามของภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นอีกคำตอบที่ชัดเจนถึงผู้กำกับ Jancsó แสดงทัศนคติต่อทั้งทหารแดงและการ์ดขาว (เหมารวมสหภาพโซเวียต) แม้งก็โฉดชั่วร้าย ตัวอันตราย ไม่สนห่าเหวอะไรใครทั้งนั้น โดยเฉพาะในโรงพยาบาล สถานที่เป็นกลาง แม้งยังไม่ยอมปล่อยปละละเว้น ใครไม่ใช่พรรคพวกพ้องมิตรสหาย ล้วนคือศัตรูต้องเข่นฆ่าให้ตกตาย! … นั่นมันไม่ใช่มนุษย์แล้วนะครับ (นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่ผู้กำกับ Jancsó พยายามนำเสนอตัวละครแบบผ่านๆ เพียงตัวประกอบ อุปกรณ์ประกอบฉาก)

เอาจริงๆผมโคตรไม่เข้าใจมุมมองของบรรดาทหารหาญ ที่ยึดถือมั่นในเกียรติ ศักดิ์ศรี จริงอยู่การเสียสละเพื่อประเทศชาตินั้นน่ายกย่อง แต่ถ้ามันเป็นแบบภาพยนตร์เรื่องนี้ ความตายของแต่ละคนไม่ได้มีคุณค่าอะไรเลยนะ! เพียงเกมการละเล่น ชิงไหวชิงพริบ แมวไล่จับหนู ของบุคคลผู้มีอำนาจ ยศศักดินา เห็นชีวิตมนุษย์เหมือนผักปลา ไม่ต่างอะไรจากคนบ้าเสียสติแตก

หนึ่งในลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Jancsó’ คือนำเสนอการใช้อำนาจในทางมิชอบ (abuse of power) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ใบสั่งจากสหภาพโซเวียต พี่แกก็แสดงอารยะขัดขืนด้วยการพัฒนาเรื่องราวไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) แถมแทนที่จะทำออกมาลักษณะยกย่องวีรบุรุษ (Heroic-War) กลับสร้างความสองแง่สองง่ามถึงการต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)

ในส่วนเนื้อหาสาระของหนังคงไม่ต้องอธิบายมากความ เต็มไปด้วยการใช้อำนาจในทางมิชอบของบรรดาผู้บัญชาการทั้งทหารแดงและการ์ดขาว ฝั่งหนึ่งสนเพียงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความเป็นลูกผู้ชาย อีกฝ่ายก็กระทำสิ่งตอบสนองตัณหา ความพึงพอใจส่วนบุคคล

ตัวละคร Laszló พยายามถอยร่น หาหนทางหลบหนีจากสมรภูมิรบ ยังสามารถสื่อถึงผู้กำกับ Jancsó ใคร่อยากออกไปจากประเทศฮังการี แต่ขณะนั้นเขาแค่พอมีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์ระดับหนึ่ง ยังไร้ซึ่งหนทางเอาตัวรอดปลอดภัย ถึงอย่างนั้นคงอีกไม่นานเท่าไหร่ สถานการณ์ปัจจุบัน(นั้น)ก็ไม่ได้เลวร้ายเกินไป … เพราะการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ทำให้เขาได้รับการปฏิบัติ/อภิสิทธิ์ที่ดีกว่าชนชั้นกรรมมาชีพด้วยกระมัง


เหมือนว่าสตูดิโอ Mosfilm ได้เตรียมแผนการสำหรับหนังเรื่องนี้ไว้แล้ว นั่นคือทำการตัดต่อใหม่ โดยมุ่งเน้นนำเสนอให้มีลักษณะ Heroic-War เพื่อเฉลิมฉลองเหตุการณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution 1917) แน่นอนว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ แต่ประเมินว่ามีผู้ชมกว่า 2.6 ล้านคน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

ขณะที่ในฮังการี หลายๆประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นฉบับดั้งเดิมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เสียงตอบรับจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ถือว่าดีล้นหลาม แม้ถูกวิพากย์วิจารณ์ว่าหนังเข้าถึงยากสักนิด แต่ก็กลายเป็นผลงานประสบความสำเร็จสูงสุดของผู้กำกับ Jancsó เลยก็ว่าได้

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะปรับปรุงคุณภาพ 4K เสร็จสิ้นปี 2021 ภายใต้การดูแลของ National Film Institute Hungary กลายเป็น Blu-Ray โดย Kino Lorber รวมอยู่ในคอลเลคชั่น MASTER SHOT: The Films of Miklós Jancsó ประกอบด้วย The Round-Up (1966), The Red and the White (1967), The Confrontation (1969), Winter Wind (1969), Red Psalm (1972), Electra, My Love (1974)

บอกตามตรงว่าผมดูหนังไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าใครแดง? ใครขาว? คือมันอุตลุด ชุลมุนวุ่นวาย จริงๆคือไม่ได้ใคร่สนใจสังเกตเครื่องแบบตัวละครอย่างๆจริงๆจังๆ (ซึ่งมันก็ไม่จำเป็นสักเท่าไหร่) เห็นแค่ว่าใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-อย่างไร เหตุการณ์ดำเนินไป อีกประเดี๋ยวคนทำชั่วก็จักได้รับกรรมคืนสนอง ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน เมื่อมันเกิดขึ้นเวียนวนซ้ำๆสักสองสามรอบ ก็เริ่มตระหนักถึงความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม แต่สิ่งน่าทึ่งโคตรๆคือเรายังสามารถมองในมุมกลับตารปัตรตรงกันข้าม ถึงการเชิดชูวีรบุรุษ ทหารในอุดมคติ มันเป็นไปได้ยังไงกัน!

ตอนที่ผมเริ่มตระหนักถึงการใช้ภาษาภาพยนตร์เพื่อธิบายความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม ก็สร้างความขนลุกขนพองถึงความยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ แต่พอมาครุ่นคิดว่าเราสามารถมองหนังในลักษณะ Heroic-War นั่นเป็นอะไรที่คาดไม่ถึงอย่างรุนแรง แสดงถึงอัจฉริยภาพของผู้กำกับ Jancsó สมดังคำกล่าวอ้างของ Béla Tarr

The greatest Hungarian film director of all time.

Béla Tarr กล่าวยกย่อง Miklós Jancsó

แนะนำคอหนังสงคราม (Pro-Wars), ต่อต้านสงคราม (Anti-Wars), พื้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซีย (Russian Civil War), ทหาร-ตำรวจ, นักสิทธิมนุษยชน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างภาพ ตากล้อง ลุ่มหลงใหลใน Long Take ห้ามพลาดเด็ดขาด!

จัดเรต 18+ สงคราม รบราฆ่าฟัน ทรยศหักหลัง โศกนาฎกรรม

คำโปรย | ไม่ว่าจะฝั่ง The Red หรือฝ่าย The White สงครามคือความเหี้ยมโหดร้าย มีเพียงหายนะ ความตาย โศกนาฎกรรมไม่เลือกข้างฝั่งฝ่ายใด!
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ใจสูญสลาย

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: