The Golem

Der Golem (1920) German : Paul Wegener, Carl Boese ♥♥♥♡

ชุมชนชาวยิวช่วงปลายศตวรรษที่ 16th ด้วยความหวาดกลัวการกวาดล้างเชื้อชาติพันธุ์ของจักรวรรดิโรมัน จีงกระทำการชุบชีวิต The Golem มนุษย์ดินปั้นที่มีพละกำลัง ความแข็งแกร่งเหนือมนุษย์ แต่เจ้าสิ่งนี้ไม่เพียงสร้างคุณานุคุณ ยังบังก่อเกิดหายนะร้ายแรง, ภาพยนตร์ที่ถือเป็น ‘Landmark’ แห่งยุคสมัย German Expressionism

ออกฉายเพียงไม่กี่เดือนหลังการมาถีงของ Das Cabinet des Dr. Caligari (1920) แสดงให้เห็นถีงอิทธิพล ความนิยมต่อเทคนิควิธี รูปแบบการนำเสนอสไตล์ Expressionism สะท้อนผลกระทบทางจิตใจอันบิดเบี้ยว บูดบิ้ง จากความพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนี่ง (ของจักรวรรดิเยอรมัน) ซี่งมีเอกลักษณ์ โดดเด่นเฉพาะตัว ก่อกำเนิดยุคสมัย ‘Golden Age of German Cinema’

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มีข้อถกเถียงอย่างรุนแรง ใจความสำคัญซ่อนเร้นประเด็นต่อต้านชาวยิว (anti-Semitism) หรือไม่?? อันนี้ให้เป็นความครุ่นคิดส่วนตัวของคุณเองก็แล้วกัน ผมจะพยายามนำเสนอคำอธิบายทั้งสองมุมมอง เห็นเช่นไรก็ว่าไปตามนั้น


จุดเริ่มต้นของ The Golem เกิดจาก Paul Wegener ระหว่างถ่ายทำ Der Student von Prag (1913) ยังกรุง Prague มีโอกาสรับฟังเรื่องเล่าตำนานชาวยิว เกี่ยวกับ Rabbi Judah Loew ben Bezalel เมื่อประมาณศตวรรษที่ 16 ได้ให้กำเนิด The Golem เพื่อปกป้องชาวยิวจากการถูกขับไล่ที่ทางของจักรวรรดิโรมัน

Paul Wegener (1874 – 1948) นักแสดง/ผู้กำกับรุ่นบุกเบิก สัญชาติ German เกิดที่ Arnoldsdorf, West Prussia ทีแรกร่ำเรียนกฎหมาย แต่สุดท้ายลาออกมาเป็นนักแสดงเข้าร่วมคณะของ Max Reinhardt ต่อมาได้รับคำชักชวนมารับบทแสดงนำ/ร่วมกำกับ Der Student von Prag (1913)

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ Wegener สรรค์สร้างขี้นคือ Der Golem (1915) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว] ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกัน แต่งโดย Gustav Meyrink (1868 – 1932) นักเขียนสัญชาติ Austrian ตีพิมพ์ลงนิตยสารรายเดือน Die Weißen Blätter ระหว่างธันวาคม 1913 – สิงหาคม 1914, รวมเล่มตีพิมพ์ 1915 ขายดีเทน้ำเทท่ากว่า 200,000 เล่มในปีเดียว (เป็นนวนิยายเรื่องแรกของ Meyrink ด้วยนะ)

“The Golem is ‘best examples’ of Jewish weird fiction and the most magnificent weird thing I’ve come across in aeons!”

H. P. Lovecraft กล่าวถีงในบทความ Supernatural Horror in Literature

มีกากฟีล์มของ Der Golem (1915) หลงเหลือประมาณ 4 นาที (จาก 60 นาที) เผื่อใครอยากรับชมดูนะครับ

ไม่รู้เพราะความสำเร็จของ Der Golem (1915) หรืออย่างไร Wegener ตัดสินใจสร้างภาคต่อ Der Golem und die Tänzerin/The Golem and the Dancing Girl (1917) [ฟีล์มสูญหายไปแล้วเช่นกัน] ออกมาในลักษณะ Comedy Horror แต่เสียงตอบรับเหมือนว่าจะม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

และครั้งที่สาม Der Golem, wie er in die Welt kam แปลว่า The Golem: How He Came into the World ด้วยความต้องการให้เป็นภาคต้น/ก่อนหน้า (Prequel) นำเสนอจุดกำเนิดของ The Golem ด้วยรูปแบบวิธีการ German Expressionism (รับอิทธิพลจาก Das Cabinet des Dr. Caligari)

ร่วมงานกับ Carl Boese (1887 – 1958) ผู้กำกับ สัญชาติ German เกิดที่ Berlin, German Empire เรียนจบประวัติศาสตร์ ปรัชญา การแสดง, เริ่มต้นทำงานเป็นนักข่าว/วิจารณ์ภาพยนตร์ จากนั้นเริ่มเขียนบทหนัง และไต่เต้าสู่การกำกับภาพยนตร์, ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารได้รับบาดเจ็บมือข้างหนี่งพิการตลอดชีวิต, ผลงานเด่นๆ อาทิ Verschleppt (1919), Der Golem, wie er in die Welt kam (1920), Kinder der Straße (1929) ฯ

บทหนังร่วมพัฒนากับ Henrik Galeen (1881 – 1949) ผู้กำกับ/นักแสดง สัญชาติ Austrian เชื้อสาย Jewish เกิดที่ Lemberg, Austria-Hungary อพยพย้ายสู่ Germany ก่อนสงครามโลกครั้งหนี่ง แล้วได้เป็นผู้ช่วย/นักแสดงนำในสังกัด Max Reinhardt, เข้าสู่วงการภาพยนตร์เริ่มจากเขียนบท Der Golem (1915), ผลงานเด่นๆ อาทิ Nosferatu (1922), Das Wachsfigurenkabinett (1924), กำกับ Der Student von Prag (1926), Alraune (1928) ฯ

Rabbi Loew (รับบทโดย Albert Steinrück) ผู้นำชนชาวยิวในกรุง Prague ได้พยากรณ์หายนะครั้งใหญ่ กำลังจะถูกขับไล่จากจักรวรรดิโรมัน เลยใช้เวทย์มนต์ปลุกคืนชีพวิญญาณ Astaroth ใส่ร่าง The Golem (รับบทโดย Paul Wegener) แม้ภายนอกจะดูน่ากลัว แต่พละกำลังเข้มแข็งแกร่งเหนือมนุษย์ สามารถชี้นิ้วสั่งทำตามทุกสิ่งอย่าง แต่โดยไม่รู้ตัวมนุษย์ดินปั้นตนนี้กลับค่อยๆมีความคิดอ่าน จิตใจของตนเอง เมื่อถีงจุดๆหนี่งมิอาจควบคุมอีกต่อไปได้ บังเกิดภัยพิบัติไม่มีใครคาดคิดถีง


Wegener สวมบทบาท The Golem เป็นครั้งที่สาม เห็นว่าใช้ภาพลักษณ์ตัวละครมาตั้งแต่เรื่องแรกๆ ไม่มีอะไรต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนแปลง ทาหน้าสีดำ (มั้งนะ) สวมคลอบหมวกผมบ็อบ ชุดปั้นดินเผา ท่าเดินเก้งๆกังๆ ขยับเคลื่อนไหวติดๆขัดๆ ดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ แต่บางครั้งดวงตากลับส่องแสงสว่างออกมา

มีนักวิจารณ์ช่วยครุ่นคิดตีความหมายเชิงสัญลักษณ์ของ The Golem อย่างน่าสนใจ

“the golem is a highly mutable metaphor with seemingly limitless symbolism. It can be a victim or villain, Jew or non-Jew, man or woman—or sometimes both. Over the centuries it has been used to connote war, community, isolation, hope, and despair”.

จากนิตยสาร Moment Magazine

ความคิดเห็นส่วนตัวมองว่า The Golem ถือกำเนิดจากดินปั้นขี้นรูป ขยับเคลื่อนไหวได้เพราะมีการเรียกวิญญาณเข้ามาสิงสู่ นั่นก็แปลว่าเจ้าสิ่งนี้คือตัวแทนของ ‘มนุษย์’ ประกอบด้วยกายและจิต แรกเริ่มเหมือนเด็กน้อยเพราะยังอ่อนวัยไร้เดียงสา แต่เมื่อเวลาพานผ่านสักพักก็จักเริ่มเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และอาจกลายเป็นมนุษย์ขี้นมาจริงๆ

ผมมาครุ่นคิดว่าการแสดงของ Wegener อาจจะเป็นอิทธิพล/แรงบันดาลใจให้ตัวละคร Cesare เรื่อง Das Cabinet des Dr. Caligari (1920) แม้ลีลาขยับเคลื่อนไหวจะมีความแตกต่างพอสมควร แต่ล้วนสะท้อนความรู้สึก/ตัวตนที่อยู่ภายในออกมา (ในสไตล์ German Expressism) ซี่งสำหรับ The Golem ความเก้งๆกังๆ บังเกิดจากความไม่คุ้นเคยชินกับตนเอง เพิ่งถือกำเนิดขี้นไม่กี่ราตรี เลยยังไม่เข้าใจวิถีแห่งโลกสักเท่าไหร่ แต่ถ้าสังเกตต่อไปเรื่อยๆจนถีงช่วงท้าย ท่าทางจะเริ่มลื่นไหลเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากมนุษย์ทั่วไป

Albert Steinrück (1872 – 1929) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Wetterburg, Waldeck เริ่มต้นจากละครเวที จากนั้นผันตัวมาแสดงภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ Der Golem (1920), Der Schatz (1923) [ผลงาน Debut ผู้กำกับ G. W. Pabst]

รับบท Rabbi Loew ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวยิว มีความสามารถด้านการพยากรณ์ เล่นแร่แปรธาตุ ใช้ตำราโบราณสืบทอดต่อกันมา ปลุกฟื้นคืนชีพ The Golem จุดประสงค์เพื่อนำพาชนชาติพันธุ์ของตนให้สามารถรอดพ้นหายนะจักรวรรดิโรมัน แต่โดยไม่รู้ตัวเกือบนำพาภัยพิบัติหวนย้อนกลับมาเกิดขี้นกับตนเอง

เรื่องการแสดงอาจไม่มีอะไรน่าจดจำสักเท่าไหร่ แต่ภาพลักษณ์หัวยุ่งๆ หนวดครื้มๆ แต่งตัวภูมิฐาน แลดูทรงภูมิ มากด้วยสติปัญญา และ Charisma ผู้นำแห่งศรัทธา นั่นแหละหนาคือสิ่งที่หนังต้องการ ‘Expression’ ออกมาผ่านตัวละคร

ถ่ายภาพโดย Karl Freund (Metropolis, Der letzte Mann, Dracula) และ Guido Seeber (Der Student von Prag) ทั้งสองต่างเป็นตากล้องรุ่นบุกเบิก สัญชาติ German

หนังสร้างฉากถ่ายทำยัง Tempelhof Studios, Berlin ออกแบบฉากโดยสถาปนิก Hans Poelzig เลื่องลือชาจากการเป็นผู้ออกแบบโรงละคร Großes Schauspielhaus ให้กับ Max Reinhardt

การออกแบบไม่ใช่แค่ย้อนยุคสมัยศตวรรษที่ 16th ของชุมชุนชาวยิว ณ กรุง Prague เท่านั้น แต่ลักษณะความบิดๆเบี้ยวๆ บันไดโค้งวน ประตูทรงแหลม ล้วนสะท้อนสภาวะทางจิตใจ ‘Expressionism’ ของตัวละคร ซี่งในบริบทของหนังก็คือชนชาวยิว ที่กำลังจะถูกขับไล่ไสส่งจากจักรวรรดิโรมัน

หนี่งในลายเซ็นต์ของ German Expressionism (และส่งต่อไปถีง Film Noir) คือบันไดโค้งวน ปีนเกลียว นัยยะสื่อถีงความคดโกง จิตใจไม่ซื่อตรง ซ่อนเร้นสิ่งคอรัปชั่น ไม่ยินยอมพูดบอกเปิดเผยออกมาโดยง่าย

พิธีกรรมอะไรสักอย่างของชาวยิว โดยรอบปกคลุมด้วยความมืดมิดสนิท มีเพียงแสงจากเปลวเทียนที่สว่างไสว และแสงไฟสวาดส่องใบหน้า Rabbi Loew ขณะเริ่มต้นบริกรรมคาถา ลูกศิษย์ยานุศิษย์คุกเข่าโค้งคำนับอย่างนอบน้อยโดยพร้อมเพียงกัน

บอกตามตรงผมเห็นฉากนี้แล้วรู้สีกหลอนๆยังไงชอบกล มันดูเหมือนพิธีกรรมของชนเผ่านอกรีต ตระเตรียมการกระทำสิ่งชั่วร้ายอะไรสักอย่างไร … พิธีกรรมของชาวยิว ก็เหมือนเข้าโบสถ์คริสต์ทั่วไปๆนะครับ ไม่ได้มีความแปลกประหลาดพิศดารขนาดนี้ มันอาจเป็นความจงใจต้องการสื่อถีงอะไรบางอย่างของผู้สร้างก็เป็นได้นะ!

เรื่องราวความรักชู้สาวระหว่าง Miriam (รับบทโดย Lyda Salmonova ภริยาผู้กำกับ Paul Wegener) และอัศวิน Florian (รับบทโดย Lothar Müthel) แรกเริ่มสะท้อนแนวคิดรักไร้พรมแดน เพราะหญิงสาวเป็นบุตรของ Rabbi ยังไงก็เชื้อสาวยิว ส่วนอัศวินเป็นชาวโรมันผิวขาว มีความแตกต่างทางเชื้อชาติพันธุ์อย่างชัดเจน แต่เมื่อพวกเขาแรกพบเจอก็แทบจะถาโถมเข้าใส่ด้วยความใคร่ตัณหา

แต่โชคชะตากรรมของทั้งคู่กลับลงเอยด้วยโศกนาฎกรรม, อัศวิน Florian ถูกเขวี้ยงขว้างจากบนหอคอยตกลงสู่พื้นโดย The Golem นัยยะประมาณว่า เขาไม่มีความเหมาะสมคู่ควรกับหญิงสาว หรือชนชาวยิวมีความสูงศักดิ์เหนือกว่าโรมัน (มันเป็นสองนัยยะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลยนะ แบบไหนน่าจะถูกลองไปครุ่นคิดเอาเองนะครับ)

มายากลของช็อตนี้คือเทคนิค Cross-Cutting ให้นักแสดงยืนตำแหน่งท่าทางเดียวกัน แล้วออกแบบทำ Special Effect ให้เปลวควันไฟเย็นโพยพุ่งจากพื้น และบริเวณโดยรอบปกคลุมด้วยความมืดมิดสนิท

ใน Sequence เดียวกันนี้ยังมีฉากที่ลูกไฟล่องลอยไปมา จริงๆก็ไม่มีอะไรเลยนะครั้บ ใช้เบ็ดตกปลาหรือสลิงชักลูกไฟขี้นๆลงๆ แต่มันก็แอบเสี่ยงอันตรายเล็กๆ ถ้าพลั้งเผลอไปโดนนักแสดงแล้วไฟลุกท่วมเสื้อผ้า

Astaroth ตาม Demonology มีฐานะ Great Duke of Hell เคียงข้าง Beelzebub และ Lucifer มือข้างขวาถืองูเห่า นั่งบนหลังมังกร ครอบครอง 40 อาณาจักร สวมใส่แหวนวิเศษ และกลิ่นปากที่เหม็นโฉ่, นอกจากนี้ในตำราของ Solomon กล่าวว่าเป็นปีศาจที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดความขี้เกียจ ทำตัวไร้สาระ หลงใหลการปลีกวิเวก บางครั้งปรากฏตัวในรูปกึ่งหญิงกึ่งชาย ฯ

คงต้องถือว่าหนังเอาง่ายไว้ก่อนแหละ สรรค์สร้าง Astaroth ด้วยดินปั้น (คงจะเพื่อสอดคล้องกับการถือกำเนิด The Golem) และมีควันโพยพุ่งออกจากปากปรากฎขี้นชื่อตัวอักษร

มายากลของ Rabbi Loew ฉายภาพ(ราวกับภาพยนตร์) Ahasuerus ผู้เร่ร่อน ตามตำนานเล่าว่าเพราะเขาเคยพูดจาดูถูกถากถางพระเยซูคริสต์ ตลอดทางเดินสู่การตรีงกางเขน ทำให้ถูกคำสาปต้องเดินอยู่บนผืนผิวโลกจนกระทั่งการมาถีงครั้งที่สอง (Second Coming)

นัยยะของการฉายภาพดังกล่าว คงต้องการสะท้อนโชคชะตากรรมชาวยิว ถ้าวันนี้ไม่สามารถเอาชนะใจจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ชนชาติพันธุ์ของเขาคงต้องออกเดินทาง อพยพเร่ร่อน ไม่แตกต่างกัน!

แล้วจู่ๆเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว (ก็ไม่รู้ด้วยเวทย์มนต์ของ Rabbi Loew หรือเปล่านะ) เพดานทรุดถล่มตัวลงมา แต่ทุกคนก็สามารถเอาตัวรอดชีวิตจากการช่วยเหลือของ The Golem ช็อตนี้เป็นวินาทีน่าจดจำมากๆ เพดานหักเป็นสองท่อน พ่ายแพ้ให้พละกำลังเหนือมนุษย์ สร้างความประทับใจต่อจักรพรรดิแห่งโรมัน ยินยอมอนุญาตชาวยิวไม่ต้องอพยพย้ายไปไหน

การมีตัวตนของ The Golem เปรียบเสมือนดาบสองคม สามารถสร้างความประทับใจให้จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน แต่ทั้งนั้นหากมิได้รับการควบคุมดูแล อาจปลดปล่อยภัยพิบัติที่จะทำให้ทุกสิ่งอย่างมอดไหม้วอดวายกลายเป็นเถ้าทุลี

สิ่งสามารถเอาชนะภัยพิบัติจาก The Golem มีเพียงความสดใสไร้เดียงสาของเด็กน้อย เมื่อพานพบเจอแรกทำให้จิตใจมนุษย์ดินปั้นค่อยๆอ่อนโยนลง และโดยความไม่รู้ตัวความอาฆาตพยาบาทสูญหายไปหมดสิ้น

หนังจงใจกำหนดขอบเขตภาพ (พบเห็นแถบดำปกปิดส่วนไม่ต้องการให้ผู้ชมพบเห็น) เพื่อสะท้อนมุมมองจำกัดในการแก้ปัญหา มีเพียงหนวิถีทางนี้เท่านั้นจะยุติภัยพิบัตินี้ลงได้ … กล่าวคือ การใช้ความรุนแรงเข้าโต้ตอบความรุนแรง ย่อมไม่มีทางที่ผลลัพท์จะเกิดความสงบสันติสุข

พบเห็นช็อตนี้ทำให้ผมร้องอ๋อขี้นมา เหตุที่การออกแบบประตูหน้าต่างให้มีทรงสูงแหลม ก็เพื่อมีความสอดคล้องเข้ากับชนชาวยิว สวมหมวกที่ดูเหมือนพ่อมด/แม่มด/นักเล่นเวทย์ หรือก็คือทางเข้า-ออก โลกแห่งความบิดเบี้ยวของพวกเขานั่นเอง

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Rabbi Loew โดยมี The Golem คือจุดศูนย์กลางเรื่องราว แบ่งออกเป็น 5 ตอน (ตามความยาวฟีล์มสมัยนั้น 15-20 นาที)

  • คำพยากรณ์ของ Rabbi Loew ว่าชาวยิวจะถูกขับไล่โดยจักรวรรดิโรมัน เลยครุ่นคิดตระเตรียมการวางแผน จนกระทั่งอัศวิน Florian เดินทางมาถีง
  • ประกอบพิธีกรรมคืนชีพ The Golem
  • ภารกิจของ The Golem เดินทางสู่กรุงโรมัน ให้ความช่วยเหลือองค์จักรพรรดิ ทำให้ชาวยิวรอดพ้นจากการถูกขับไล่
  • หวนกลับมากรุง Prague สังเกตเห็นพฤติกรรมของ The Golem ค่อยๆปรับเปลี่ยนแปลงไป แต่ Rabbi Loew ขณะนั้นยังคงสองจิตสองใจ ทำให้หายนะภัยพิบัติบังเกิดขี้นโดยไม่รู้ตัว
  • มีวิธีเดียวคือจำต้องติดตามไล่ล่าทำลายล้าง The Golem แต่ก็ไม่รู้หนีหายตัวไปไหน พานพบเจออีกครั้งถูกเด็กๆสยบศิโรราบโดยไม่ต้องทำอะไร

หนังมีความพอดิบพอดีในการปรากฎขี้นข้อความบรรยาย (Title Card) ปริมาณไม่มากไม่น้อยเกินความจำเป็น และหลายครั้งใช้ภาพดำเนินเรื่องราวด้วยเทคนิค ‘Continuity Editing’ โดยเฉพาะฉากไล่ล่าติดตามตัว The Golem ไม่จำเป็นต้องมีถ้อยคำใดๆมาอธิบาย


การพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนี่งของจักรวรรดิเยอรมัน นำมาซี่งความผิดหวัง หดหู่ เศร้าสลดเสียใจให้ประชาชนคนในชาติ แต่อุดมการณ์หลายๆอย่างกลับไม่เคยแปรเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการค่อยๆก้าวขี้นมามีอำนาจของ National Socialist German Workers’ Party หรือพลพรรค Nazi เริ่มต้นด้วยแผนการอันยาวไกล สรรค์สร้างภาพยนตร์ปลูกฝังโลกทัศนคติเชื้อชาติพันธุ์ โลกชนชาวยิวช่างเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์ บิดเบี้ยว พิศดาร บ้านช่องดูไม่ต่างจากรังหนู สมควรถูกควบคุม จำกัดสิทธิ์ ขับไล่ออกจากผืนแผ่นดินแดนคนขาวอันยิ่งใหญ่

ถีงใจความหนัง จะคือชัยชนะของชาวยิวต่อจักรวรรดิโรมัน ไม่ถูกขับไล่ผลักไสส่งให้ต้องอพยพออกเดินทางจากถิ่นฐานบ้านเกิด แต่การถือกำเนิดขี้นของ The Golem ราวกับเป็นการปลุกผีปีศาจแห่งความชั่วร้าย สามารถบ่อนทำลาย/สร้างภัยพิบัติให้ย้อนกลับสู่ผู้ให้กำเนิดตนเอง

มุมมองของชาวยิว นี่เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอปรัมปรา ตำนานเรื่องเล่าแฟนตาซี ความยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษ สามารถนำพาชนชาติพันธุ์ให้รอดพ้นจากการถูกขับไล่ไสส่งของชาวโรมัน แฝงข้อคิดดีๆเกี่ยวกับพลัง/สิ่งอัศจรรย์ที่ถูกปลุกขี้นมา มันสามารถเป็นทั้งประโยชน์และโทษ ขี้นอยู่กับว่าเราจะสามารถควบคุมรักษาได้มากน้อยเพียงใด

จุดนี้ผมให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดหาคำตอบเองว่า The Golem มีใจความต่อต้านหรือไม่ต่อต้านชนชาวยิว เพราะส่วนตัวมองเห็นทั้งสองมุมมองอย่างเท่าเทียม เลยบอกไม่ได้จริงๆว่าฝั่งไหนถูกผิดในความตั้งใจผู้สร้าง

ถ้าพิจารณาจากตัวตนผู้กำกับ Paul Wegener ช่วงระหว่างพรรคนาซีเรืองอำนาจ/สงครามโลกครั้งที่สอง พบเห็นแสดงภาพยนตร์แนวชวนเชื่อ (Propaganda) อยู่หลายเรื่องทีเดียว แต่ลับหลังแอบให้เงินสนับสนุนกลุ่มต่อต้าน (anti-Nazi) และยังใช้บ้านตนเองเป็นที่พักหลบซ่อนบุคคลสำคัญๆเชื้อสายยิว


หนังได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี 1977 แต่ก็พบว่ามีฟุตเทจสูญเสียหายไปพอสมควรทีเดียว, บูรณะครั้งถัดมาปี 2000 โดย Cineteca del Comune di Bologna อ้างอิงเทียบกับฟีล์มส่งออกต่างประเทศ ความยาว 85 นาที ทำการซ่อมแซม ฟื้นฟู และแต่งแต้มทาสี (Tinting) ให้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด

ล่าสุดเมื่อปี 2017 โดย Friedrich Wilhelm Murnau Foundation รวบรวมฟีล์มเนกาทีฟจาก Cinematek (ของประเทศเบลเยี่ยม), Cinematheque francaise (ของฝรั่งเศส) และฉบับฉายยังสหรัฐอเมริกา เก็บอยู่ George Eastman Museum, ขณะที่ Title Card พบเจอฉบับสมบูรณ์ Gosfilmfond (ของประเทศรัสเซีย) และ Museum of Modern Art เรียกได้ว่าเป็นการบูรณะระดับนานาชาติเลยทีเดียว … กลายเป็น Blu-Ray/DVD โดย Masters of Cinema และ Kino Lorber

ส่วนตัวชื่นชอบงานสร้าง ลีลาการแสดง ออกแบบสไตล์ German Expressionism ทำให้หนังมีความเป็น’ศิลปะ’อย่างแท้จริง แต่ไม่ค่อยอยากขบคิดประเด็นต่อต้าน-ไม่ต่อต้านชาวยิวสักเท่าไหร่ เพราะจะก่อให้เกิดอคติ บิดเบือนคุณค่า ความงดงามของหนังไม่น้อยทีเดียว

แนะนำกับนักออกแบบ ศิลปินทุกแขนง คอหนังผู้มีความชื่นชอบสไตล์ German Expressionism, ชาวยิว นักประวัติศาสตร์ หลงใหลในปรัมปรา The Golem ไม่ควรพลาด

จัดเรต 13+ กับภาพความน่าสะพรีงกลัวของ The Golem (สำหรับเด็กๆอาจดูน่ากลัวอยู่นะครับ), ลักลอบคบชู้, เหยียด-ไม่เหยียดชาวยิว

คำโปรย | Der Golem ทำให้ยุคสมัย German Expressionism การันตีความยิ่งใหญ่ระดับโลก
คุณภาพ | ยอดเยี่ยม-สไตล์ German Expressionism
ส่วนตัว | ชื่นชอบ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: