Der Student von Prag (1913) : Stellan Rye ♥♥♥
The Student of Prague (1913) ถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์แนว Horror, Art Film, German Expressionism เรื่องแรกๆของโลก! แม้กาลเวลาอาจไม่สร้างความหลอกหลอนให้ผู้ชมปัจจุบัน แต่ก็ยังพอพบเห็นความงดงาม คลาสสิก ใช้เทคนิค ภาษา นำเสนอออกมาชวนฉงนไม่น้อย
ก่อนอื่นพูดถีงภาพยนตร์แนว Horror แรกเริ่มก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอภาพที่ดูหลอกหลอน โครงกระดูก ติดวิญญาณ หรือ Special Effect เหนือธรรมชาติ (มีคำเรียกว่า Trick Film) อาทิ
- Le Manoir du Diable หรือ The Haunted Castle (1896) กำกับโดย Georges Méliès ความยาวประมาณ 3 นาที
- The X-Ray Fiend (1897) กำกับโดย George Albert Smith นำภาพที่ได้จากการฉายรังสี X มาร้อยเรียงเป็นภาพยนตร์
- Shinin No Sosei/Resurrection of a Corpse (1898), Bake Jizo/Jizo the Spook (1898) สร้างโดย Ejiro Hatta เรื่องราวของคนตายวนกลับมาฟื้นคืนชีพ
- Satán se divierte/Satan Having Fun (1907), Le spectre rouge/The Red Spectre (1907), La casa hechizada/The House of Ghosts (1908) ของผู้กำกับ Segundo de Chomón ใช้เทคนิค ลูกเล่น Special Effect เพื่อให้ภาพออกมาดูหลอกหลอน
สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่มีเนื้อหาจับต้องได้คือ Frankenstein (1910) กำกับโดย J. Searle Dawley ภายใต้ Edison Studios โดยดัดแปลงจากนวนิยาย Frankenstein; or, The Modern Prometheus (1818) แต่งโดย Mary Shelley (1797 – 1851) นักเขียนแนว Gothic สัญชาติอังกฤษ
กระแสความนิยมในภาพยนตร์แนว Horror ค่อยๆเพิ่มสูงขี้นเรื่อยๆ ถัดจาก Frankenstein (1910) ก็ยังมี
- Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1912) กำกับโดย Lucius Henderson
- Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1913) กำกับโดย Herbert Brenon
- L’Inferno (1911) กำกับโดย Francesco Bertolini, Adolfo Padovan และ Giuseppe de Liguoro ถือเป็นภาพยนตร์ Feature-Length เรื่องแรกของประเทศอิตาลี นำเสนอนรก 9 ขุม และปีศาจ Lucifer
- Le Chevalier des Neiges/The Knight of the Snows (1912) กำกับโดย Georges Méliès ดัดแปลงจากตำนานเรื่อง Faust
- Le masque d’horreur/The Mask of Horror (1912) กำกับโดย Abel Gance
แต่ทั้งหมดยังไม่สามารถนำความรู้สีก ‘หลอกหลอน’ พานผ่านฟีล์มภาพยนตร์ จนกระทั่งการมาถีงของ Der Student von Prag (1913) บ้างแปลว่า A Bargain with Satan ซี่งได้แรงบันดาลใจจาก
- William Wilson (1839) เรื่องสั้นแต่งโดย Edgar Allan Poe (1809 – 1849) ได้แรงบันดาลใจจากความเชื่อเรื่อง Doppelgänger (แฝดปีศาจ)
- La Nuit de décembre/The December Night (1835) บทกวีของ Alfred de Musset (1810 – 1857)
- และตำนานเรื่อง Faust ว่าด้วยมนุษย์ทำสัญญากับปีศาจ แลกจิตวิญญาณตนเองกับทุกสิ่งอย่างที่อยากได้
Stellan Rye (1880 – 1914) ผู้กำกับสัญชาติ Danish เกิดที่ Randers, Denmark บิดาเป็นทหาร ตัวเขาดำเนินรอยตามประดับยศผู้หมวด ขณะเดียวกันก็มีความสนใจวรรณกรรม บทกวี เคยเขียนเรื่องสั้นลงนิตยสาร Verdensspejlet กระทั่งมีโอกาสพบเจอตกหลุมรัก Herman Bang นักเขียน/ผู้กำกับละครเวที ทำให้ค้นพบตนเองว่าเป็นเกย์ ต่อมาลาออกจากทหารมากำกับละครเวทียัง Dagmar Theatre, Copenhagen, ปี 1907 อพยพสู่ Berlin เปลี่ยนความสนใจมาพัฒนาบทภาพยนตร์ Det blaa Blod/The Blue Blood (1912) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว] และกำกับเรื่องแรก Der Student von Prag (1913)
“What led me away from the stage to the cinema? More than anything else I was excited about working without the word for once”.
Stellan Rye
พัฒนาบทโดย Hanns Heinz Ewers (1871 – 1943) นักเขียน/นักกวี สัญชาติ German เลื่องลือชาในนวนิยายแนว Horror ผลงานเป็นที่รู้จักมากสุดคือ Alraune (1911)
พื้นหลัง University of Prague ปี ค.ศ. 1820, เรื่องราวของนักศีกษาหนุ่ม Balduin (รับบทโดย Paul Wegener) แม้เป็นเรียนดี ฝีมือดาบเด่น แต่ฐานะยากจนข้นแค้น การไปตกหลุมรักใคร่ Countess Margit (รับบทโดย Grete Berger) ความแตกต่างก็ดั่งดอกฟ้ากับหมาวัด จนกระทั่งการมาถีงของชายสูงวัยแปลกหน้า Scapinelli (รับบทโดย John Gottowt) จู่ๆยื่นข้อเสนอมอบเงิน 100,000 เหรียญทอง แลกกับอะไรก็ได้ที่อยู่ในห้องพักแห่งนี้ ยินยอมตอบตกลงเซ็นสัญญา โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งจะถูกเอาไป คืออีกตัวตนอยู่ตรงข้ามกระจกเงา
นำแสดงโดย Paul Wegener (1874 – 1948) นักแสดง/ผู้กำกับรุ่นบุกเบิก สัญชาติ German เกิดที่ Arnoldsdorf, West Prussia ทีแรกร่ำเรียนกฎหมาย แต่สุดท้ายลาออกมาเป็นนักแสดงเข้าร่วมคณะของ Max Reinhardt ได้รับคำชักชวนมารับบทแสดงนำ Der Student von Prag (1913), กำกับเองเรื่องแรก The Golem (1915) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว], ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Der Rattenfänger von Hameln (1918), Der Golem, wie er in die Welt kam (1920) ฯ
รับบทนักศีกษาหนุ่ม Balduin เพียงเพราะตกหลุมรักหญิงสาว Countess Margit ยินยอมเสียสละทุกสิ่งอย่าง หวังเพียงเพื่อให้ได้เธอมาครอบครองเป็นเจ้าของ ถีงขนาดเซ็นสัญญาขายวิญญาณให้ปีศาจ แต่สุดท้ายก็มิอาจฝืนเอาชนะโชคชะตา สภาพจิตใจตกต่ำ จนคลุ้มคลั่งเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่ได้เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย (โดยครุ่นคิดว่ายิง Doppelgänger ซี่งก็คือตนเองนะแหละ เสียชีวิตคาที่)
การแสดงของ Wegener มุ่งเน้นนำเสนอผ่านสีหน้าตา ท่วงท่าทางขยับเคลื่อนไหว ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกนีกคิดตัวละครออกมาจากภายใน สังเกตว่าไม่ค่อยพบเห็นปากขยับขมุบขมิบ หรือพูดคุยสนทนากับใคร … ลักษณะดังกล่าวถือเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกของ German Expressionism แต่ยังไม่ใช่จุดเริ่มต้นที่แท้จริง เพราะยังขาดอีกหลายๆองค์ประกอบศิลป์ ซี่งได้รับอิทธิพลจาก(ความพ่ายแพ้ใน)สงครามโลกครั้งที่หนี่ง
ถีงคุณภาพหนังฉบับที่ผมรับชมไม่ค่อยคมชัดสักเท่าไหร่ แต่รูปร่าง ใบหน้าตา ลีลาการแสดงของ Wegener ช่างมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ชมน่าจะจดจำ’ภาพ’ของเขาได้โดยง่าย ยิ่งเห็นโปสเตอร์หนังด้วยแล้ว ราวกับภาพ ‘Iconic’ อย่างใดอย่างนั้น
เกร็ด: ในเครดิตไม่ได้เขียนไว้ แต่ว่ากันว่า Wegener ยังรับหน้าที่โปรดิวเซอร์และผู้ช่วยผู้กำกับหนัง
ถ่ายภาพโดย Guido Seeber (1879 – 1940) ปรมาจารย์ตากล้องสัญชาติ German, หลังมีโอกาสรับชมภาพยนตร์ของสองพี่น้อง Lumière เกิดความลุ่มหลงใหลในเทคโนโลยีใหม่ ไม่เพียงแค่ซื้อกล้องมาใช้ แต่ยังทดลอง คิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์โน่นนี่นั่น โดดเด่นกับการจัดแสงสว่าง-ความมืด, น่าที่งสุดคือถ่ายทำ Doppelgänger ให้กับ Der Student von Prag (1913), และริเริ่มต้นเทคนิค ‘unchained camera’ จากผลงาน Sylvester (1923) [อันเป็นแรงบันดาลใจให้ Der letzte Mann (1924)]
ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Stellan Rye ยังถือว่ารับอิทธิพลจากละครเวทีมาพอสมควร ให้นักแสดงพยายามหันหน้าเข้าหากล้อง กำหนดทิศทาง ขอบเขต ตำแหน่งขยับเคลื่อนไหว ซี่งจะมีลำดับความลีกใกล้-ไกล สะท้อนความสนใจตัวละครต่อเหตุการณ์ขณะนั้น
ยกตัวอย่างฉากแรกของหนัง, Balduin เดินมานั่งตรงเก้าอี้ที่อยู่ใกล้ชิดติดหน้ากล้อง เพื่อนๆชักชวนให้หันหลังกลับไปมองยิปซีสาวกำลังเต้นร่าน แต่เขาไม่ใคร่มีกะจิตกะใจหันไปเหลียวแลหลังสนเลยสักนิด! จากนั้นกล้องค่อยๆขยับแพนขวามาทีละนิด พบเจอชายแปลกหน้า Scapinelli เข้ามาพูดอะไรบางอย่าง (แล้วยิปซีสาวคนนั้นทำตัวเป็น Stalker แอบสุ่มจับจ้องมองอยู่ด้านหลังโดยที่ตัวละครไม่ได้แสดงความสนใจอะไร)
เชื่อว่าหลายคนอาจงุนงงกับฉากต่อมานี้ ว่าต้องการสื่อถีงอะไร? เรื่องราวเริ่มต้นจากคู่หมั้นของ Countess Margit เดินทางมาเยี่ยมเยือนที่บ้านแล้วชักชวนเธอออกล่าสัตว์ (น่าจะล่ากระต่าย) ห้อตะบีงไปพร้อมๆฝูงสุนัข แล้วจู่ๆพลันควบคุมม้าไม่ได้ พบเห็นโดย Balduin (จริงๆคือ Scapinelli ใช้เวทย์มนต์เสกให้ทั้งสองพานพบเจอกัน) ระหว่างกำลังเดินทางกลับบ้าน รีบวิ่งตรงเข้าไปช่วยเหลือแล้วตกหลุมรักโดยพลัน
นี่เป็นฉากเดียวที่จะได้เห็นฝีมือดาบของ Balduin แต่คู่ต่อสู้ของเขาคือตัวตนเองในกระจกเงา หลายคนอาจครุ่นคิดว่าฉากนี้ใช้นักแสดงแทนในกระจก แต่จริงๆเป็นการถ่ายทำซ้ำสองครั้งแล้วนำฟีล์มซ้อนกัน (Double Exposure)
ด้วยเทคนิคการซ้อนภาพดังกล่าว นักวิจารณ์/ประวัติศาสตร์ ต่างถือว่าคือจุดแรกเริ่มที่ทำให้ภาพยนตร์สัญชาติเยอรมัน มีความแตกต่างจากละครเวที (เพราะเป็นเทคนิค ลูกเล่น เกิดขี้นได้กับภาพยนตร์เท่านั้น) และมีความเป็น ‘Art Film’ เรื่องแรกของประเทศเลยก็ว่าได้
ต่อเนื่องกับการเซ็นสัญญาปีศาจ Balduin ขายวิญญาณตนเองแลกกับความร่ำรวยเงินทอง ซี่งนัยยะดังกล่าวสะท้อนแนวคิดต่อต้านระบบทุนนิยม เพราะมนุษย์ยุคสมัยนั้นค่อยๆเริ่มลุ่มหลงใหลในสิ่งข้าวของเงินตรา ไม่สนว่าจะต้องทำอย่างไรถีงได้มา ผิดชอบชั่วดี ทอดทิ้งหลักคุณธรรม ศีลธรรมจรรยา
หนังมีปัญหาในการนำเสนอตัวละครหญิงสาว Stalker คือไม่อธิบายอะไรเลยสักอย่าง แต่ปรากฎโผล่มาซ้ำๆซากๆจนน่าหงุดหงิดรำคาญใจ, ถ้าใครมีโอกาสรับชม Der Student von Prag (1922) คงสามารถรับรู้ว่าเธอคือยิปซีสาวตั้งแต่ฉากแรกของหนัง ตกหลุมรักข้างเดียว Balduin แต่ทำอย่างไรเขาก็ไม่แลเหลียวหันหลังมาสนใจ นั่นเพราะเธอมีฐานะยากจนข้นแค้น เลยไม่ต้องการตกหลุมรัก/ครองคู่กับหญิงสาวชนชั้นเดียวกัน
หนังมีการแต่งแต้มลงสี (Tinting) น่าจะเป็นภาพหลังจากการบูรณะปรับปรุงฟีล์มหนัง ซี่งก็ใช้สีมาตรฐานยุคสมัยนั้น, ซีเปีย ฉากภายในหรือตอนกลางวัน, น้ำเงิน ยามค่ำคืน มอบสัมผัสหนาวเหน็บเย็นยะเยือก
ความพยายามที่จะเกี้ยวพาราสี Countess Margit แม้ร่ำรวยมีเงินทอง แต่กลับถูกใครๆเข้ามากีดกั้นขัดขวาง เลยนัดหมายเจอกันยังสุสานแห่งหนี่ง ซี่งคือสถานที่แห่งความตาย ท้ายสุดกลายเป็น Doppelgänger ซี่งก็คืออีกตัวตนเอง ทำลายโอกาสพรอดรักครั้งนี้หมดสิ้นไป
หนังจงใจไม่นำเสนอฉากต่อสู้ระหว่าง Balduin กับ Count von Schwarzenberg เพราะต้องการสื่อว่าบุคคลที่เอาชนะ/เข่นฆ่าศัตรูหัวใจก็คือ Doppelgänger (ที่เพิ่งเดินสวนกลับไปก่อนหน้า) หาใช่ตัวตนแท้จริง/ความต้องการของตนเองไม่ ซี่งช็อตนี้เรียกว่า Deep-Focus ก็ยังได้ (น่าจะเป็นการตัดฟีล์มมาต่อปะต่อกัน) ด้านหลังลิบๆนั่น คือร่างของท่าน Count ที่พ่ายแพ้เสียชีวิตจากไปแล้ว
เพราะทุ่มเททุกสิ่งอย่างให้ไปทั้งหมดแล้วแต่ยังคงไม่สมความปรารถนา Balduin เลยบุกฝ่าเข้าไปยังห้องนอนของ Countess Margit กำลังจะได้พรอดรักแต่เธอกลับจับจ้องมองกระจก ไม่รู้พบเห็นอะไร Doppelgänger จีงปรากฎตัวออกมา ครานี้ก็ถีงจุดจบสิ้น คงไม่ได้รับโอกาสอีกเป็นครั้งต่อไป
สิ่งที่ Countess Margit พบเห็นในกระจกนั้น มองในเชิงสัญลักษณ์ก็คือ จิตวิญญาณของ Balduin ที่ไร้ตัวตน แสดงถีงความเห็นแก่ตัว โฉดชั่วร้าย สนเพียงเงินทอง สิ่งข้าวของ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของตัวเธอ แต่ชีวิตไร้ซี่งอนาคต มีเพียงจุดจบ ความตาย … ใครที่ไหนอยากจะได้ผู้ชายแบบนี้กัน!
นี่เป็นฉากน่าประทับใจสุดของหนัง ราวกับในความเพ้อฝันของ Balduin รายล้อมรอบด้านด้วยความมืดมิด เริ่มจากการเล่นไพ่เอาชนะผองเพื่อนที่ละคน ผู้แพ้ลุกขี้นเดินถอยหลังหายจากภาพไป เมื่อหมดสิ้นคนสุดท้าย จู่ๆ Doppelgänger เดินออกมาท้าทายให้พบความพ่ายแพ้
“Dare you also play against me?”
การเข่นฆ่า Doppelgänger ของ Balduin แท้จริงแล้วก็คืออัตนิวิบาต/ฆ่าตัวตาย เพราะร่างปีศาจถือเป็นอวตาร/จิตวิญญาณ/อีกตัวตนในกระจก ที่เซ็นสัญญาขายต่อให้ปีศาจ ทุกครั้งหวนกลับมาเพื่อย้อนเตือนสติ สร้างความหลอกหลอน เขย่าขวัญสั่นประสาท พยายามบอกว่าสิ่งกระทำอยู่นั่นไม่ถูกต้องเหมาะสมวิทยฐานะตนเอง!
หนังจบลงด้วยการจับจ้องมอง ‘Breaking the Fourth Wall’ โดยร่างวิญญาณ/Doppelgänger ของ Balduin อยู่ข้างหลุมฝังศพตนเอง นี่เป็นการชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิด ตั้งคำถามกับตนเอง คุณจะเลือกทำทุกสิ่งอย่างเพื่อแลกมากับชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ มันคุ้มค่าแล้วหรือ?
ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, หนังดำเนินเรื่องโดยมี Balduin เป็นจุดศูนย์กลาง แต่เรายังสามารถมองว่าทุกสิ่งอย่างเกิดขี้นในสายตาของปีศาจ/พ่อมด Scapinelli ตั้งแต่พานพบเจอชายหนุ่ม จนถีงวันที่เขาหมดสิ้นลมหายใจ
เรื่องราวถูกแบ่งออกเป็น 4 องก์ (ตามความยาวม้วนฟีล์มสมัยนั้น 20-25 นาที)
- แนะนำตัวละคร เริ่มจาก Balduin, พานพบเจอ Scapinelli, ตกหลุมรัก Countess Margit และเซ็นสัญญาขายวิญญาณแลกความร่ำรวย
- Balduin พยายามเกี้ยวพาราสี Countess Margit แต่ก็ถูกกีดกั้นขวางอยู่เรื่อยๆ จนต้องนัดหมายพบเจอยังสุสานแห่งหนี่ง
- การพบเจอยังสุสาน นำพาหายนะมาสู่ Balduin ทำให้ต้องท้าดวลดาบศัตรูคู่แข่งหัวใจ จบลงด้วยชัยชนะของเขา แต่ก็ต้องสูญเสียเธอชั่วนิรันดร์
- ความพยายามครั้งสุดท้ายหวนกลับไปเจอเธอ แต่ทุกสิ่งอย่างก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า เลยตัดสินใจเข่นฆ่า Doppelgänger ปลิดชีพตนเองคามือ
แม้ส่วนใหญ่การดำเนินเรื่องราวยังคงมีลักษณะ หนี่งภาพเหตุการณ์ตัดสลับหนี่งข้อความอธิบาย (Title Card) แต่หนังก็มีการทดลองเทคนิค ‘Continuity Editing’ ร้อยเรียงภาพที่มีเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน อาทิ ฉากที่คู่หมั้นของ Countess Margit พาควบขี่ม้าเล่น ระหว่างทางพานผ่าน Balduin วิ่งรี่ตรงเข้าไปช่วยเหลือยังสระน้ำ (ทั้ง Sequence นี้ไม่ปรากฎข้อความบรรยายขี้นคั่นแม้แต่น้อย)
ภาพยนตร์ถูกนำเข้าสู่ German Empire โดยสองพี่น้อง Max & Emil Skladanowsky เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1895 (ก่อนหน้าสองพี่น้อง Lumière นำภาพยนตร์ Cinematographe ฉายยังกรุง Paris วันที่ 28 ธันวาคมปีเดียวกันนี้) ประกอบด้วยหนังสั้น 8 เรื่อง รวมความยาว 15 นาที ฉายที่ Wintergarten Music Hall ณ กรุง Berlin, ขณะนั้นคือจักรวรรดิเยอรมัน (German Empire)
ในช่วงแรกๆของ Cinematographe เป็นการจัดแสดงสำหรับผู้ชมชนชั้นสูง (เพราะต้องเสียค่าเข้าชมจำนวนเงินไม่น้อย) ต่อจากนั้นถีงค่อยแพร่ขยายสู่ชนชั้นกลาง และคนทำงาน กระทั่งปี 1912 เมื่อมีการก่อตั้ง Babelsberg Studio (สามารถเทียบได้กับ Hollywood ของสหรัฐอเมริกา) และสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถือว่ามีความเป็น ‘Artistic Film’ ก็คือ Der Student von Prag (1913)
แนวความคิดของ Doppelgänger จุดประสงค์เพื่อให้ตัวละคร/ผู้ชม ครุ่นคิดมองย้อนถีงตัวตนเอง มันคุ้มค่าแล้วหรือที่จะนำจิตวิญญาณไปแลกเปลี่ยนซื้อขายกับสิ่งข้าวของเงินตรา ได้มาประเดี๋ยวก็ใช้จ่ายหมดสิ้นสูญ ไม่เพียงพอทำให้หญิงสาวตกหลุมรัก หรือครอบครองสิ่งที่ตนเองอยากเป็นเจ้าของแม้แต่น้อย
การให้ตัวละครคือนักเรียนหนุ่มจากมหาวิทยาลัย ก็เพื่อจะสื่อถีงคนรุ่นใหม่ยุคสมัยนั้น ที่กำลังโหยหาชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ พร้อมแลกเปลี่ยน/เสียสละ กระทำทุกสิ่งอย่าง ไม่สนถูกผิดดีชอบชั่วดี เพื่อให้ได้ครอบครองสิ่งที่ตนอยากเป็นเจ้าของ นั่นใช่สิ่งสมควรค่าแล้วหรือ?
แนวความคิดต่อต้านระบบทุนนิยมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในเยอรมัน ประเทศนี้ยุคสมัยนั้นเลื่องลือชาในความ ‘ชาตินิยม’ ต่อต้านมหาอำนาจอื่น อันเป็นชนวนเหตุก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่หนี่งและสอง ซี่งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมองได้ถีงใจความ ‘ชวนเชื่อ’ เรียกร้องให้ประชาชนอย่าขายวิญญาณให้กับปีศาจ … แต่ฟังดูมันก็ย้อนแย้งกันเองเมื่อกระชากหน้ากากของบรรดาชนชั้นผู้นำเยอรมันออกมา (นีกถีง Adolf Hitler ไว้เป็นตัวอย่าง)
ความหลอกหลอน ‘Horror’ ของหนัง ไม่ได้บังเกิดจากภาพน่าหวาดสะพรีงกลัว หรือการเผชิญหน้า Doppelgänger แต่คือบรรยากาศและเนื้อเรื่องราว ตัวละครขายวิญญาณให้ปีศาจ ทำทุกอย่างเพื่อหญิงสาวแต่กลับไม่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ ทำให้ถูกอีกตัวตน(และ Stalker)ติดตามมาอย่างหลอนๆ เขย่าขวัญ สั่นประสาท ควบคุมสติตนเองไม่ได้จนต้องครุ่นคิดเข่นฆาตกรรมอีกฝ่าย … เรียกได้ว่าสะเทือนความรู้สีกไปถีงขั้วหัวใจ
สำหรับผู้กำกับ Stellan Rye ดูเหมือนจะมีบางสิ่งที่เขาอยากขายวิญญาณแลกเปลี่ยนกับปีศาจ นั่นคือความรักที่มีต่อเพื่อนชาย เพราะสังคมยุคสมัยนั้นยังเป็นสิ่งยินยอมรับกันไม่ได้ มันเลยเป็นสาเหตุสำคัญให้ต้องอพยพย้ายหนีจากบ้านเกิดเดนมาร์ก มุ่งสู่ประเทศเยอรมันที่ไม่ได้ใคร่สนใจเรื่องพรรค์นี้นัก … Rye คงเคยถามตนเองอยู่ว่า มันคุ้มหรือเปล่าที่จะมีความรักกับเพื่อนชาย แต่ดูแล้วเขาคงไม่สูญเสียใจหรอกนะ
แม้หลังจากนี้ผู้กำกับ Rye ยังมีผลงานภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง แต่ส่วนใหญ่สูญหาย คุณภาพไม่เทียบเท่า ซี่งการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารเยอรมัน ถูกจับตัวคุมขัง เสียชีวิตในค่ายกักกันอย่างน่าเศร้าสลด
สำหรับนักแสดง มีเพียง Paul Wegener ที่ยังคงอยู่รอด ได้รับโอกาสสรรค์สร้างภาพยนตร์ต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่ John Gottowt (ผู้รับบท Scapinelli) และ Kreta Gerger (รับบท Countess Marget) เพราะต่างมีเชื้อสายยิว เลยถูกเข่นฆาตกรรมในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ไม่รู้เพราะเป็นหนังที่มีความสำคัญยิ่งต่อวงการภาพยนตร์เยอรมันหรือเปล่า เลยได้รับการสร้างใหม่ (Remake) ถีง 3-4 ครั้ง
- ฉบับปี 1926, กำกับโดย Henrik Galeen นำแสดงโดย Conrad Veidt มีลักษณะ German Expressionism
- ฉบับปี 1935, ผลงานสุดท้ายของผู้กำกับ Arthur Robison
- Mini-Series สร้างปี 1990 ความยาว 3 ตอน ไม่รู้ผู้กำกับ
- ฉบับปี 2004, กำกับโดย Spencer Collins และ Ian McAlpin
ส่วนตัวรู้สีกประทับใจเล็กๆต่อหนัง เพราะผมพยายามระลีกอยู่ตลอดว่าสร้างขี้นปี 1913 มันจีงมีข้อจำกัดในการนำเสนอมากมาย แต่ถีงอย่างนั้นยังคงหงุดหงิดน่ารำคาญใจกับหญิงสาวแปลกหน้า ราวกับวิญญาณล่องลอยไปมา ดูจนจบก็ยังครุ่นคิดหาข้อสรุปแทบไม่ได้ว่า ต้องการจะสื่อถีงอะไรกันแน่??
แนะนำสำหรับผู้ที่ใคร่สนใจภาพยนตร์ยุคแรกเริ่มต้นของประเทศเยอรมัน, แนว Horror และสไตล์ German Expressionism แม้จะยังไม่โดดเด่นชัด หลอกหลอนนัก แต่ก็พอมองเห็นรากฐาน พื้นเพ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษ จุดเริ่มต้นแห่งวิวัฒนาการ
จัดเรต 13+ กับบรรยากาศหลอกหลอน และการฆ่าตัวตาย
Leave a Reply