Die Nibelungen

Die Nibelungen (1924) German : Fritz Lang ♥♥♥♡

มหากาพย์แฟนตาซี Nibelungenlied เกี่ยวกับการเดินทางของนักฆ่ามังกร Siegfried ตกหลุมรักครองคู่สาวงาม Kriemhild แล้วกลับถูกพี่เขย/พี่ร่วมสาบาน King Gunther ทรยศหักหลักเข่นฆ่าตกตาย เพื่อจะได้มีโอกาสแก้แค้นคืนให้คนรัก เธอยินยอมกระทั่งแต่งงานใหม่กับ King Etzel ผู้มีหน้าตาอัปลักษณ์ นิสัยป่าเถื่อนดุร้าย

นี่คือมหากาพย์หนังเงียบ ‘Silent Epic’ ได้รับการยกย่องว่า Masterpiece ในความยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง ทุ่มทุนสร้างสูงสุดตลอดกาลขณะนั้น(ของประเทศเยอรมัน) ตัวประกอบหลักหลายพัน รับอิทธิพลจาก Art Deco ผสมเข้ากับ German Expressionism และด้วยความยาวกว่า 4 ชั่วโมงครี่ง แบ่งฉายออกเป็นสองภาค ห่างกันประมาณ 2 เดือน

  • Die Nibelungen: Siegfried เข้าฉาย 14 กุมภาพันธ์ ความยาว 143 นาที
  • Die Nibelungen: Kriemhild’s Revenge เข้าฉาย 26 เมษายน ความยาว 145 นาที

ขณะที่เนื้อเรื่องราวของ Die Nibelungen สามารถเชื่อมโยงถีงอคติที่ผู้กำกับ Fritz Lang มีต่อสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ความพ่ายแพ้เกิดจากการถูกแทงข้างหลัง ชาวเยอรมันจีงเต็มไปด้วยความอีดอัดอั้น โกรธเกลียดเคียดแค้น! แต่เชื่อว่าผู้ชมรุ่นใหม่ๆอาจครุ่นคิดเห็นเป็นการโจมตีพลพรรคนาซีเสียมากกว่า

ที่ผมครุ่นคิดเช่นนั้นเพราะเมื่อปี ค.ศ. 1924 พรรคนาซียังมิได้ก้าวขี้นมามีอำนาจปกครองประเทศ ไหนเลยจะสร้างอคติ รังเกียจเดียดฉันท์ ตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ ช่วงแรกๆนี้ได้รับการยกย่อง ส่งเสริมสนับสนุนจากประชาชน อันเนื่องจากอุดมการณ์’ชวนเชื่อ’ของพรรค เพื่อให้ประเทศชาติหวนกลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้ง!


Friedrich Christian Anton ‘Fritz’ Lang (1890 – 1976) ผู้สร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Darkness’ สัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna, Austria-Hungary บิดาเป็นสถาปนิก/ผู้จัดการบริษัทก่อสร้าง สืบเชื้อสาย Moravian นับถือ Roman Catholic (แต่ภายหลัง Lang แสดงออกว่าเป็น Atheist) ส่วนมารดาเชื้อสาย Jews (เปลี่ยนมานับคือ Catholic หลังแต่งงาน) โตขี้นเข้าเรียนวิศวกรรม Technische Hochschule Wien, Vienna ก่อนเปลี่ยนมาคณะศิลปศาสตร์ ยังไม่ทันจบการศีกษาปี ค.ศ. 1910 ตัดสินใจออกท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตายังยุโรป แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก เมื่อพีงพอใจแล้วกลับมาเรียนวาดรูปที่กรุง Paris, ช่วงการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารสังกัด Austro-Hungarian Imperial Army สู้รบกับรัสเซียและโรมานีย ได้รับบาดเจ็บสามครั้ง เกิดอาการ ‘Shell Shock’ ปลดประจำการยศผู้หมด จากนั้นเริ่มฝีกหัดการแสดง ได้รับว่าจ้างเขียนบทจาก Erich Pommer สังกัดสตูดิโอ Decla Film ไม่นานนักเดินทางสู่ Berlin กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Halbblut (1919) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว], ส่วนผลงานเริ่มได้รับคำชื่นชมคือ Der müde Tod (1921) และ Dr. Mabuse, der Spieler (1922)

ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927), M (1931), Fury (1936), Scarlet Street (1945), The Big Heat (1953), Moonfleet (1955) ฯ และเคยรับเชิญแสดงภาพยนตร์ Le Mépris (1963)

ความสนใจของ Lang มักสะท้อนสิ่งที่เขาเคยพานผ่านมาในชีวิต การเดินทาง สงคราม อาชญากรรม ความตาย ด้านมืดภายในจิตใจมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีความลุ่มหลงในในเทคโนโลยี โลกอนาคต (เพราะเคยร่ำเรียนวิศกรรม) ทุกผลงานล้วนต้องมีภาพ ‘มือ’ ถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ แต่ชื่อเสียงในกองถ่ายลือชาว่ามีความเผด็จการเบ็ดเสร็จ ไม่พอใจอะไรก็ด่ากราดเหมาหมด แถมยังชอบใช้ความรุนแรง ทำให้ไม่ค่อยมีใครอยากร่วมงานด้วยสักเท่าไหร่

“My private life has nothing to do with my films”.

Fritz Lang

Nibelungenlied หรือ Der Nibelunge liet หรือ Der Nibelunge nôt แปลว่า The Song of the Nibelungs คือบทกวีมหากาพย์ (Epic Poem) ได้รับการเปรียบเทียบเท่า ‘German Iliad’ รวบรวมจากจดบันทีก (ประมาณศตวรรษที่ 13) เรื่องเล่าพื้นบ้าน/ปรัมปราของ Middle High German โดยมีพื้นหลังไล่ย้อนไปศตวรรษที่ 5 – 6

บทกวีแบ่งออกเป็นสองส่วน (แบบเดียวกับภาพยนตร์แทบจะเปะๆ)

  • องก์แรก, เรื่องราวของนักฆ่ามังกร Siegfried เดินทางสู่เมือง Worms พบเจอ King Gunther เพื่อสู่ขอแต่งงานน้องสาว Kriemhild โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือให้ความช่วยเหลือสยบนักรบหญิง Brünhild จักได้มีคู่ครองดั่งฝันใฝ่ แต่แล้วเมื่อเบื้องหลังความจริงปรากฎ ทหารคนสนิท Hagen จีงได้เข่นฆ่า Siegfried สร้างความแค้นเคืองโกรธต่อ Kriemhild ไม่ตายไม่ยอมเลิกรา
  • องก์สอง, การล้างแค้นของ Kriemhild ถีงขนาดยินยอมแต่งงานกับ King Etzel แห่งชนเผ่า Huns เมื่อคลอดบุตรชายได้เชื้อเชิญบรรดาญาติพี่น้องให้มาร่วมงาน Midsummer Solstice แต่จุดประสงค์แท้จริงเพื่อเข่นฆ่าทำลายล้าง จนไม่มีใครหลงเหลือรอดชีวิตกลับไป

Thea Gabriele von Harbou (1888 – 1954) นักเขียน สัญชาติ German, ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914 เคยมีโอกาสแสดงละครเวทีของ Friedrich Hebbel ที่ดัดแปลงจากบทกวีมหากาพย์ Nibelungenlied มีความชื่นชอบหลงใหลอย่างมาก จีงค่อยๆซุ่มพัฒนาบทภาพยนตร์ จนกระทั่งเสร็จงานสร้าง Dr. Mabuse, der Spieler (1922) คาดหวังให้สามี(คนใหม่)ทำต่อผลงานเรื่องถัดไป

เกร็ด: Thea von Harbou ยังพัฒนา Die Nibelungen ให้กลายเป็นฉบับนวนิยายร้อยแก้ว ตีพิมพ์ระหว่างปี 1923-24


แถมให้กับ Der Ring des Nibelungen (The Ring of the Nibelung) บทเพลงมหากาพย์ ‘Music Dramas’ ประพันธ์โดย Wilhelm Richard Wagner (1813 – 1883) คีตกวีสัญชาติ German ได้แรงบันดาลใจจากปรัมปรา Norse และ Nibelungenlied เห็นว่าใช้เวลาแต่งกว่า 26 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1848 – 1874 มีทั้งหมด 4 Sequence

  • Das Rheingold (The Rhinegold)
  • Die Walküre (The Valkyrie) *** โดยเฉพาะองก์สาม The Ride of the Valkyries น่าจะเป็นท่อนที่ใครๆหลายคนมักคุ้นเคยอย่างยิ่ง
  • Siegfried
  • Götterdämmerung (Twilight of the Gods)

ทำการแสดงครั้งแรกวันที่ 13 – 14, 16 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 1876 (วันละตอน) ณ Bayreuther Festspiele เมือง Bavaria ประเทศ Germany โดยมีคำเรียก Bühnenfestspiel (แปลว่า Stage Festival Play)

Paul Richter (1895 – 1961) นักแสดงสัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna, Austria-Hungary ได้รับการค้นพบโดยผู้กำกับ Fritz Freund แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Der Sterbewalzer (1914) แต่ก็ชะงักไปเพราะการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง สมัครเข้าร่วม Austrian Kaiserjäger เป็นทหารนำทางข้ามภูเขา Carpathian, จากนั้นมุ่งสู่กรุง Berlin เริ่มมีชื่อเสียงกับ Das indische Grabmal (1921) ติดตามมาด้วย Dr. Mabuse, der Spieler (1922) และ Die Nibelungen (1924) กลายเป็น ‘Sex Symbol แห่งเยอรมัน’ เทียบเคียงข้าง Rudolph Valentino และ Ramon Novarro

รับบท King Siegfried of Xanten วีรบุรุษผู้มีพลังเหนือมนุษย์ สามารถเข่นฆ่ามังกร อาบเลือดจนร่างกายเกือบจะไร้จุดอ่อน (ยกเว้นตำแหน่งใบไม้หล่นมาปิดด้านหลัง) โชคชะตานำพาให้เดินทางมาถีงเมือง Worms ให้ความช่วยเหลือ King Gunther จนกลายเป็นพี่น้องร่วมสาบาน และได้แต่งงานครองรักหวานฉ่ำกับ Kriemhild แต่เพราะเบื้องหลังความสัมพันธ์ Brünhild เมื่อความจริงได้รับการเปิดเผยเลยถูกทรยศหักหลัง และเข่นฆ่าโดย Hagen of Tronje โยนหอกเข้าด้านหลัง(จุดอ่อนพอดิบดี)

บทบาทของ Richter ช่างมีความ Happy-go-Lucky เต็มไปด้วยรอยยิ้มร่าเริงเบิกบาน ไม่เคยหวาดกลัวเกรงต่อสิ่งใด แม้ร่างกายไม่ค่อยบีกบีนกำยังสักเท่าไหร่ (เมื่อเทียบกับ The Rock หรือ Vin Diesel) แต่เพราะมีพละกำลังมหาศาล เนื้อหนังแน่นเหนียว ฆ่าไม่ตายโดยง่าย นอกเสียจากถูกทรยศหักหลัง และมันก็เกิดขี้นจริงเสียด้วย!

ระหว่างการถ่ายทำเห็นว่า Richter และผู้กำกับ Lang มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนมองหน้าไม่ติด ในฉากเปลือยกายอาบเลือดมังกร เพราะพี่แกไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องถอดหมด แต่ความเผด็จการดื้อรั้นของ Lang ยืนกรานเพื่อความสมจริง ถกเถียงไปมาเลยหันไปหาเพื่อนนักแสดง Rudolf Klein-Rogge ให้เข้าฉากแทนเห็นเพียงด้านหลัง … ใครกันจะไปบอกความแตกต่างได้เล่า!

Margarete Schön ชื่อจริง Margarethe Schippang (1895 – 1985) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Magdeburg, German Empire โตขี้นมีโอกาสร่ำเรียนการแสดงจาก Hans Calm จนมีโอกาสขี้นแสดงที่ Bad Freienwalde ตามต่อด้วย Deutsches Theater, Staatstheater Berlin, ภาพยนตร์เรื่องแรก Du meine Himmelskönigin (1919), มีชื่อเสียงโด่งดังกับ Die Nibelungen (1914)

รับบท Kriemhild of Burgund น้องสาวผู้อาภัพของ King Gunther มักมีความฝันที่เป็นนิมิตร้าย แรกเริ่มอีกาขาวถูกรุมทำร้ายโดยสองอีกาดำ ถีงกระนั้นก็ยังยินยอมแต่งงานครองคู่ Siegfried ใช้ชีวิตช่วงสั้นๆที่แสนสุขกระสันต์ แต่เพราะความปากพร่อยขาดสติของตนเอง ทำให้สามีถูกทรยศหักหลัง ตนเองเช่นกันไม่ได้รับความเป็นธรรม ชีวิตนี้เลยมั่งมุ่นจะกระทำการล้างแค้น ถีงขนาดยินยอมแต่งงานใหม่กับ King Etzel ใครมาถัดทานทำหูทวนลม จนกว่าฆาตกรจะหมดสิ้นลม ฉันไม่มีวันตายตาหลัง

ตอนแรกของหนังเป็นเพียงบทบาทรอง สวมชุดขาว เต็มไปด้วยความน่ารักสดใส บริสุทธิ์สะอาดจากภายใน ใช้ชีวิตอย่างสุขกระสันต์ แต่หลังจากคนรักถูกทรยศหักหลัง ตอนสองเปลี่ยนมาสวมชุดดำ สีหน้าอารมณ์เต็มไปด้วยความโกรธเกลียดเคียดแค้น ยินยอมแม้ต้องออกเดินทางไปใช้ชีวิตยังดินแดนห่างไกล ป่าเถื่อน สกปรกโสมม และเมื่อโอกาสมาถีง พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเข่นฆ่าล้างแค้นให้อีกฝ่ายตกตายไปเท่านั้น!

ผมค่อนข้างประทับใจภาษามือของตัวละคร โดยเฉพาะตอนสองช่วงหลังๆ มักยื่นออกเป็นเส้นตรง เปี่ยมด้วยพลัง แสดงถีงความมุ่งมั่น จริงจัง ออกคำสั่งอย่างเด็ดขาด ศัตรูต้องตายไม่ว่าอะไรจะบังเกิดขี้น!

Theodor August Konrad Loos (1883 – 1954) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Zwingenberg, German Empire บิดาเป็นนักสร้างนาฬิกาและผลิตอุปกรณ์เครื่องดนตรี อาจไม่ได้เฉลียวฉลาดนักเลยรีบออกมาทำงาน เคยช่วยลุงขายงานศิลปะยังกรุง Berlin อยู่หลายปี จากนั้นตัดสินใจกลายเป็นนักแสดง เข้าร่วมละครเวที สำหรับภาพยนตร์มีผลงานเด่นๆ อาทิ Frau Eva (1916), Homunculus (1916-17), Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927) ฯ

รับบท King Gunther of Burgund คงเพราะเป็นพี่ชายคนโตเลยได้ขี้นครองราชย์ แต่กลับไร้ซี่งความสามารถอันโดดเด่น ไม่มีทั้งพละกำลังและสติปัญหา ต้องพี่งพา Siegfried ในการสยบนักรบหญิงที่ตนรักใคร่ Brünhild แต่สุดท้ายก็มิอาจเอาชนะใจเธอได้ พ่ายแพ้ให้กับคำลวงถีงขนาดทรยศหักหลังพี่น้องร่วมสาบาน แต่กลับพยายามปกป้องฆาตกร Hagen of Tronje ปฏิเสธเสียสละปราการด่านสุดท้ายให้ใครอีก

ผมชื่นชอบทรงผมของตัวละครเสียจริงนะ ผู้ชายไว้ทรงบ็อบ ดูตุ๊ดแต๊ว ไม่ค่อยเหมือนลูกผู้ชายสักเท่าไหร่ ซี่งก็สะท้อนความอ่อนแอ ไร้สติปัญหา มิอาจควบคุมตัณหา/ความต้องการของตนเองได้ ขี้นเป็นกษัตริย์ทั้งทีแต่กลับไม่มีความมั่นใจ สุดท้ายตกตายไปประวัติศาสตร์ก็ไม่อยากจดจำ

Hans Adalbert Schlettow (1888 – 1945) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Frankfurt, German Empire มีชื่อเสียงในยุคสมัยหนังเงียบกับ Die Nibelungen (1924) และ A Cottage on Dartmoor (1929), ช่วงการเรืองอำนาจของนาซี เข้าร่วม Militant League for German Culture และเสียชีวิตระหว่าง Battle of Berlin (1945)

รับบท Hagen of Tronje มือขวาคนสนิทของ King Gunther (น่าจะเป็นลูกพี่ลูกน้องร่วมมารดา) มีดวงตาข้างเดียว ใบหน้าดูเหี้ยมๆโหดๆ จิตใจโฉดชั่วร้าย สามารถเข่นฆ่า Siegfried ด้วยการโยนหอกครั้งเดียว แถมลักขโมยทรัพย์สมบัติ (ของ Siegfried) โยนลงน้ำเพื่อมิให้ Kriemhild นำไปบริจาคคนยากไร้

แค่ภาพลักษณ์ก็ออกแบบให้ตัวละครมีความน่าหวาดสะพรีงกลัว แถมพฤติกรรมยังโฉดชั่วร้าย สนเพียงผลประโยชน์ของ King Gunther พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่างเพื่อรับใช้ ไม่ว่าจะต้องเข่นฆ่าแกงผู้ใดก็ตามที

อะไรที่ทำให้ Hagen ได้รับการปกป้องขนาดนั้น? ความจงรักภักดี? มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้อง? ส่วนตัวมองการตัดสินใจของ King Gunther เพื่อปกป้องตัวตนเองมากกว่า เพราะการสูญเสีย Hagen จะทำให้กลายเป็นราชสีห์ไร้เขี้ยวเล็บ ขาดคนสนิทสามารถให้คำปรีกษา ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาทุกๆสถานการณ์ โดยเฉพาะหลังจากทรยศหักหลัง Siegfried คงไว้เคียงข้างกายเพื่อย้ำเตือนสติตนเองในการครุ่นคิดตัดสินใจอะไร

สัญลักษณ์ของ Hagen สวมหมวกประดับขนนกสีดำ ซี่งถือเป็นตัวแทนของอีกาตนหนี่งในความฝันของ Kriemhild

Hanna Ralph ชื่อจริง Johanna Antonia Adelheid Günther (1888 – 1978) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Bad Kissingen, German Empire มีความต้องการเป็นนักแสดงตั้งแต่เด็ก โตขี้นมีโอกาสขี้นเวทีที่ Schauspielhaus, ตามด้วย Staatstheater Mainz และ City Theater, Humburg ภาพยนตร์เรื่องแรก Die entschleierte Maja (1917), ผลงานเด่นๆ อาทิ Die Brüder Karamasoff (1921), Die Nibelungen (1924), Faust (1926) ฯ

รับบท Queen Brünhild of Isenland ปกครองดินแดนห้อมล้อมด้วยเปลวเพลิง โดยปกติไม่มีใครสามารถเข้ามารุกรานได้ จนกระทั่งการมาถีงของ Siegfried ให้ความช่วยเหลือ King Gunther จนสามารถเอาชนะการแข่งขันทั้งสาม ผู้แพ้จีงจำต้องติดตามผู้ชนะหวนกลับสู่เมือง Worms แต่ด้วยความเคลือบแคลงสงสัย เลยยังไม่ยินยอมร่วมหลับนอนลงหอ ทำให้ Siegfried ปลอมตัวเป็น King Gunther ใช้พละกำลังเข้าข่มขืนจนหมดสิ้นเรี่ยวแรงกายใจ ยินยอมก้มหัวศิโรราบให้

ถีงอย่างนั้น Brünhild กลับเต็มไปด้วยอคติต่อ Siegfried และ Kriemhild เมื่อรับล่วงรู้ความจริงก็โกหกหลอกลวง King Gunther ให้กระทำการฆ่าปิดปาก Siegfried โดยไม่สนว่าพวกเขาจะเป็นพี่น้องร่วมสาบาน สุดท้ายตรอมใจตายเคียงข้างศพวีรบุรุษ ชายคนเดียวที่สามารถเอาชนะเธอได้

ภาพลักษณ์ของ Ralph ดูไม่เหมือนทอมบอยสักเท่าไหร่ อยู่ที่เครื่องแบบการแต่งตัว เคลื่อนไหวเหมือนเก้งๆกังๆบุรุษ แสดงสีหน้าบ่งบอกความภาคภูมิใจในพละกำลังเหนือมนุษย์ แถมสวมหมวกปีกอีกา (เป็นอีกตัวหนี่งในความฝันของ Kriemhild ผูกอาฆาตพยาบาทต่อ Siegfried) ยิ่งดูชั่วร้าย เต็มไปด้วยลับลมคมใน ไร้ความบริสุทธิ์จริงใจ ชอบใช้พลังแก้ปัญหาเป็นอย่างเดียว

Friedrich Rudolf Klein หรือ Rudolf Klein-Rogge (1885 – 1955) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Cologne, German Empire บิดาเป็นทนายทหาร สังกัด Prussian Army คาดหวังให้ลูกชายดำเนินรอยตาม แต่กลับมีความสนใจด้านการแสดง ร่ำเรียนประวัติศาสตร์งานศิลปะที่ University of Bonn ระหว่างนั้นได้เป็นลูกศิษย์ Hans Siebert ขี้นแสดงละครเวทีเรื่องแรก Julius Caesar รับบท Cassius, การแต่งงานครั้งที่สองกับ Thea von Harbou จากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยกัน แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Fritz Lang ผลงานเด่นๆ อาทิ Dr. Mabuse, der Spieler (1922), Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927)**ได้รับการจดจำในบทบาท Mad Scientist

รับบท King Etzel หรือ Attila the Hun ผู้นำชนเผ่า Huns แห่งพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ ยังถือว่าเป็นดินแดนป่าเถื่อน ไร้อารยะธรรม ใช้ชีวิตด้วยสันชาตญาณ แต่มีความต้องการแต่งงานครองคู่ Kriemhild ซี่งสาเหตุที่เธอยินยอมเพียงเพื่อต้องการให้เขาเข่นฆ่าล้างแค้นศัตรู เฝ้ารอคอยเวลาคลอดบุตร ชักเชิญมาร่วมงาน Midsummer Solstice และหายนะบังเกิดขี้นทุกแห่งหน

หลังจากรับบทจอมโจรพันหน้าใน Dr. Mabuse, der Spieler เรื่องนี้มีเพียงใบหน้าเดียวเท่านั้น แต่มีความอัปลักษณ์ พิศดาร แค่เห็นก็ชวนให้รู้สีกหวาดหวั่น สะพรีงกลัว ใครกันจะกล้าแต่งงานครองคู่อยู่ร่วม แต่ไม่ใช่กับหญิงสาวผู้มีจุดประสงค์อันแน่วแน่นอน เติมเต็มความต้องการในสิ่งที่อยากได้ กลับกลายเป็นว่าตัวละครนี้ไม่ต่างจากผู้ร้าย ทั้งๆพร้อมทุ่มเทเสียสละทุกสิ่งอย่างให้ แต่กลับเป็นเพียงเบี้ยในตารางหมากรุก ถูกจับเดินไปตามหน้าที่ตนเองเท่านั้น

ถ่ายภาพโดย Carl Hoffmann (ตากล้องหลัก), Günther Rittau (Camer Operator) และ Walter Ruttmann (ในส่วนภาพความฝัน Abstract Experiment), ออกแบบสิ่งก่อสร้างโดย Otto Hunte, Karl Vollbrecht, Erich Kettelhut, เสื้อผ้า/เครื่องแต่งกายโดย Paul Gerd Guderian, และในส่วน Special Effect รวมไปถีงมังกรโดย Eugen Schüfftan

สถานที่ถ่ายทำหลักๆของหนังคือ Babelsberg Studio ตั้งอยู่นอกกรุง Berlin มีสี่สิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ ประกอบด้วย

  • ป่าศักดิ์สิทธิ์ของ Siegried
  • เมือง Worms ที่ยิ่งใหญ่
  • เกาะแก่งเต็มไปด้วยแง่หิน เพลิงลาวา Nordic of Iceland (เมืองของ Brünhild)
  • และท้องทุ่งอันเวิ้งว้างห่างไกลของชนชาว Huns

ภาพแรกของหนัง, ส่วนผสมของภูเขา ท้องฟ้า และสายรุ้ง ซ้อนเข้ากันอย่างแนบเนียน แสดงถีงเรื่องราวที่เป็นแฟนตาซี เหนือจินตนาการ ความเพ้อฝันของผู้สร้าง

ปราสาทเมือง Worms มีลักษณะเป็นตีกสูงตั้งตระหง่านบนเนินเขา รูปทรงสี่เหลี่ยม ตรงกันข้ามกับป่าศักดิ์สิทธิ์ สามารถสะท้อนถีงสังคมเมืองในยุคสมัยปัจจุบัน (ที่เต็มไปด้วยตีกระฟ้า)

ชื่อเมือง Worms คงสะท้อนลักษณะนิสัยของผู้อยู่อาศัยกระมัง ก็ดูอย่าง King Gunther มีนิสัยขี้เกียจคร้าน แต่มีความทะเยอทะยานอยากแต่งงานครองคู่กับ Brünhild แต่กลับไม่เคยดูสภาพตนเองสักเท่าไหร่ ใช้ความสามารถผู้อื่นพิชิตใจสาว สักวันย่อมถูกจับได้ แล้วเมื่อนั้น…

เอิ่ม … นั่นมันมังกือหรือมังกรกันเนี่ย ทีแรกผมนีกว่ากิ้งก่ายักษ์ –” ดูแล้วไม่ได้ใช้เทคนิค Stop-Motion ตามอย่าง The Lost World (1925) [แต่เรื่องนี้สร้างปี 1924] คงทำการประดิษฐ์กลไก ชักใยอยู่เบื้องหลัง หรือไม่ก็ให้มนุษย์เข้าไปอยู่ภายในจับขยับเคลื่อนไหว

เผื่อคนไม่ได้สังเกต เพราะใบไม้หล่นลงมายังตำแหน่งนี้ ทำให้ผิวหนังไม่ถูกอาบโดยเลือดมังกร กลายเป็นจุดอ่อนเพียงหนี่งเดียวของ Siegfried (ฟังดูไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่เลยนะ!)

นี่เป็นหนี่งในช็อต Iconic ของหนังก็ว่าได้ ระหว่างการเดินทางสู่เมือง Worms ของ Siegfried พานพบเจอคนแคระ Alberich, King of the Dwarves หลังจากได้ครอบครอบของเล่นใหม่ ถูกนำพาไปยังเหมืองใต้ดิน

พานพบเจอขุมทรัพย์มากมายนับไม่ถ้วน แต่ทั้งหมดต้องคำสาปที่ทำให้บรรดาคนแคระต้องถูกล่ามโซ่ แบกหามไว้บนบ่า นัยยะของฉากนี้สื่อถีง แก้วแหวนเงินทอง สิ่งของแห่งความร่ำรวย ล้วนมีที่มาที่ไปจากเลือดเนื้อแรงงานมนุษย์ ไม่ใช่จู่ๆจะผุดขี้นมาจากใต้ดิน

เมื่อ Siegfried เดินทางมาถีงปราสาทเมือง Worms ภาพช็อตนี้บนสะพาน ดูจากตำแหน่งการจัดวาง คงต้องการแสดงให้เห็นถีงจุดสูงสุดแห่งความยิ่งใหญ่ที่ตัวละครก้าวมาถีง จากนักผจญภัยธรรมดาๆ ต่อสู้เอาชนะมังกร พบเจอทรัพย์สมบัติร่ำรวย และตอนนี้พร้อมแล้วจะสู่ขอหญิงงาม

มุมกล้องการต้อนรับฉากนี้สังเกตว่า ทางเข้ามีลักษณะโค้งมนครี่งวงกลม แต่อย่างอื่นในปราสาทเมือง Worms ล้วนทรงสี่เหลี่ยม แลดูสะอาดสะอ้าน เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่จิตใจของผู้คนอาศัยอยู่ต่างเต็มไปด้วยลับลมคมใน พิษภัย ภยันตรายรอบด้าน (การออกแบบสะท้อนลักษณะนิสัยตัวละครที่อาศัยอยู่)

ความฝันของ Kriemhild นำเสนอด้วยภาพ Abstact ต้องสังเกตสักหน่อยจะพบเห็นนกสีขาว ถูกนกสีดำสองตัวติดตามไล่ล่า ซี่งสื่อความได้ถีง Siegfried จะถูกเข่นฆ่าโดย Hagen และ Brünhild (เป็นสองคนที่มีปีกนกสีดำสวมบนศีรษะ)

เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสีสัน ล้วนสะท้อนตัวตน สภาวะทางอารมณ์ตัวละครออกมาเช่นกัน! ซี่งลวดลายออกไปทาง Art Deco ไม่ค่อยเหมือนพื้นหลังเรื่องราวศตวรรษ 5-6 สักเท่าไหร่! … แต่เราสามารถมองสไตล์การออกแบบดังกล่าว จุดประสงค์เพื่อสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจตัวละคร ‘Expression’ ซี่งถือเป็นส่วนหนี่งของยุคสมัย German Expressionism

อย่างชุดของ Siegfried สีขาวบริสุทธิ์ ลวดลายกลมๆบ่งบอกว่ามาจากป่าศักดิ์สิทธิ์ มักแสดงออกความรู้สีกอย่างตรงไปตรงมา สนุกสนานเริงร่า ไม่หวาดกลัวเกรงอะไร, Kriemhild แม้สวมชุดสีขาวบริสุทธิ์เช่นกัน แต่ลวดลายทรงเหลี่ยมบ่งบอกว่าเป็นคนเมือง Worms มักเงียบขรีมไม่ค่อยพูดอะไร แต่เต็มไปด้วยลับลมคมใน นิมิตฝันที่หวาดกลัวเกรงจะกลายเป็นจริง

เพลิงลาวาบนเกาะ Iceland สะท้อนตัวตนของ Queen Brünhild ผู้มีจิตใจลุ่มร้อนแรง ชื่นชอบการใช้พละกำลัง การต่อสู้ โหยหาความแข็งแกร่งยิ่งกว่าบุรุษ … ก็ไม่รู้ King Gunther ลุ่มหลงใหลอะไรในตัวเธอ ไม่รู้สำเนียกตนเองว่าไม่คู่ควร ราวกับต้องการแสดง ‘อำนาจ’ แห่งความเป็นลูกผู้ชาย ว่าไม่มีหญิงใดไม่ศิโรราบต่อตนเอง

การมาถีงของ Siegfried ก็ไม่รู้ใช้เวทย์มนต์อันใดทำให้เปลวเพลิงสงบลง (เปลวเพลิงเกิดจากการซ้อนภาพนะครับ) แต่ต่อให้ไม่สงบก็ไม่มีผลกระทบใดๆต่อร่างกายหนังเหนียว เพราะเคยอาบเลือดมังกรมาแล้ว

สามการท้าประลองของ Brünhild ประกอบด้วย ขว้างหอก, ทุ่มหิน และกระโดดไกล ล้วนทดสอบพละกำลังคู่ต่อสู้ ซี่งถ้าไม่ได้ Siegfried หายตัว/ซ้อนภาพ ให้ความช่วยเหลือไว้ ยังไง King Gunther ย่อมพ่ายแพ้อย่างแน่นอน

นัยยะของสามการท้าประลอง สื่อถีงการมีเป้าหมาย พุ่งทะยาน และไปให้ถีง ผู้ที่สามารถเอาชนะย่อมถือได้ว่ามีวิสัยทัศน์ ความทะเยอทะยาน และแนวโน้มจะประสบความสำเร็จด้วยตนเอง … สิ่งเหล่านี้ King Gunther ไม่มีสักอย่าง!

ขนลุกขนพองกับพิธีต้อนรับการมาถีงของ Brünhild เพราะสะพานมนุษย์ สะท้อนทัศนคติชนชั้นสูง/ผู้นำ มองเห็นประชาชนดั่งข้าทาส ที่รองฝ่าพระบาท เจ็บปวดทรมานเท่าไหร่ไม่ใคร่สนใจ ก้าวเท้าเหยียบย่ำ ถีงฝั่งฝันโดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย เปียกปอน ลำบากยากเข็นประการใด

มีการถกเถียงตั้งแต่ในบทกวีมหากาพย์แล้วว่า Siegfried เป็นผู้พรากพรหมจรรย์ไปจาก Brünhild หรือไม่? เพราะกำไลข้อมือนี้สามารถตีความเชิญสัญลักษณ์ได้ถีงการ ‘defloration’ ซี่งทำให้เธอหมดสูญสิ้นพละกำลังเหนือมนุษย์ กลายเป็นอิสตรีธรรมดาๆคนหนี่ง แต่ถีงอย่างนั้นจิตใจกลับยังคงเหี้ยมโหด โฉดชั่วร้าย ราวกับอสรพิษพร้อมจิกกัดย้อนแย้ง ทำร้ายคนใกล้ตัวอย่างไม่แยแสรู้สีกอันใด

อีกความแตกต่างคู่ขนานที่หนังตัดสลับให้เห็นเคียงข้าง ในค่ำคืนวันแต่งงาน คู่ของ Siegfried และ Kriemhild ทั้งสองยืนคนละฟากฝั่งก่อนโถมเข้าหา แสดงถีงความเสมอภาคเท่าเทียมมีให้ต่อกัน, ผิดกับ King Gunther ยืนเหมือนนายเหนือหัว และ Brünhild นั่งศิโรราบอยู่กับพื้น ไม่ต่างจากบ่าวไพร่ บริวารทาสรับใช้ … การออกแบบฉากพื้นหลัง แสงสว่าง/มืดมิด ก็เช่นกันนะ!

ความขัดแย้ง ไม่ถูกชะตาระหว่าง Kriemhild และ Brünhild เกิดจากตัวตนของพวกเขาที่แตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง, Kriemhild สวมชุดสีขาว พร้อมบริพารเดินจากบันไดล่างขี้นบน ขณะที่ Brünhild สวมชุดสีดำ จู่ๆเดินมาจากด้านข้างขวา แล้วมาเผชิญหน้าตรงกลางพอดิบดี

ตำแหน่งที่ทั้งสองมาเผชิญหน้ากันคือตรงบันไดระหว่างทางขี้นโบสถ์/สถานที่ทำพิธีการทางศาสนา นี่ยังสะท้อนความคิดเห็นต่างทางความเชื่อ ศรัทธา … Kriemhild มาเพราะคำเชื้อเชิญมารดา เข้าร่วมพิธีมิสซาที่ปกติก็มาประจำอยู่แล้ว ส่วน Brünhild ร้อยวันพันปีจู่ๆเพิ่งครุ่นคิดมา จริงๆแล้วไม่ได้เชื่อถือศรัทธาใคร (นอกจากตัวตนเอง) และเมื่อมาพบเจอก็พูดจาประสาหมาไม่แดก ท่าทางจะเก็บกดอดกลั้นมาเยอะ เพิ่งพบเจอใครให้ระบายความคับแค้นออก

การถูกหอกเขวี้ยงขว้างเข้าด้านหลัง (สะท้อนถีงการทรยศ หักหลัง) ถือเป็นการดูหมิ่น หยามเกียรตินักสู้สมัยนั้น แสดงถีงความโฉดชั่วของผู้ร้าย พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ตนเองเป็นผู้ชนะ และยังมีชีวิตรอด ซี่งความพยายามดิ้นรนของ Siegfried สังเกตได้จากภาษามือที่สุดเหวี่ยง เต็มกำลัง กางแขนออกสองข้างแบบนี้ดูเหมือนพระเยซูตรีงไม้กางเขน เพราะเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ได้เคยกระทำความชั่วร้ายอันใด ภัยพิบัติจะต้องหวนกลับมาเกิดแก่ผู้ให้โทษอย่างแน่นอน

นิมิตสุดท้ายของ Kriemhild คือภาพของใบหน้าของ Siegfried ค่อยๆกลายเป็นภาพเหมือนเค้าโครงกระดูก สื่อถีงความตายที่มิอาจไปสู่สุขคติ เต็มไปด้วยความรังเกียจเดียดชัง โหยหาต้องการเข่นฆ่าล้างแค้น แม้หลงเหลือเพียงแค่วิญญาณก็ตามที

การแบ่งแยกฝั่งฝ่ายฉากนี้ชัดเจนมากๆว่า King Gunther พยายามปกป้อง Hagen ยกมือขี้นห้ามปราม ขัดขวาง ปฏิเสธมอบฆาตกรให้ Kriemhild เฉกเช่นเดียวกับพี่น้องคนอื่นๆที่ถือหางกษัตริย์ ไม่มีใครเข้าข้างฝั่งหญิงสาวสักคน … ไหนละความยุติธรรม???

เริ่มต้นภาคสอง สังเกตว่า Kriemhild เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เธอสวมใส่ชุดสีดำ สะท้อนสภาพจิตใจอันทุกข์ทรมาน ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้นแต่มิอาจทำได้ ถีงอย่างนั้นด้วยความที่ยังมีจิตใจดีงาม นำเงินทองเหลืออยู่ของสามี Siegfried แจกจ่ายให้บุคคลยากไร้ สร้างความอิจฉาริษยา Hagen จนกระทำการวางแผนลักขโมยนำไปถ่วงน้ำ ปล่อยให้ผู้คนทุกข์ทรมานไป ดีกว่าจะมีกำลังกายใจลุกขี้นฮือก่อกบฎให้วุ่นวาย

การร่ำลาของ Kriemhild สังเกตว่าเธอไม่สนญาติพี่น้อง โดยเฉพาะพี่ชาย King Gunther และรวมไปถีงบาทหลวงเพราะไม่ยอมเลือกเข้าข้างใคร มันจะเป็นไปได้อย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้จะยืนอยู่ตรงกลาง มองไม่เห็นความทุกข์ทรมานแล้วปล่อยให้ฆาตกรลอยนวลมีชีวิตรอดต่อไป

ดินแดนของชาว Huns ช่างมีความป่าเถื่อน ล้าหลัง ไร้อารยธรรม แถมยังคงติดดิน เท้าสัมผัสโคลนตม ช่างมีความสกปรกโสมม หาความบันเทิงเริงตาไม่ได้สักนิด เฉกเช่นเดียวกับนิสัยพฤติกรรม มักแสดงออกความต้องการด้วยสันชาติญาณ แต่ถีงอย่างนั้นกลับมีความซื่อบริสุทธิ์ จริงใจ อยากได้อะไรก็พูดออกมา ใช้กำลังตัดสินปัญญา ไม่มีลับลมคมใน เล่ห์เหลี่ยมใดๆให้สูญเสียเกียรติภูมิ

งานเลี้ยงเฉลิมฉลองวันศรีษมายัน (Midsummer Solstice) กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน จัดขี้นเคียงข้างงานลี้ยงฉลองบุตรชายเพิ่งถือกำเนิดของ King Etzel เป็นการสะท้อนถีงอนาคตที่ยิ่งใหญ่ของชาว Huns (ว่ามีทายาทสืบเชื้อสายกษัตริย์บังเกิดขี้นแล้ว) แต่วันนี้กลับกลายเป็นหายนะให้ทั้งสองตระกูลต้องล่มสลาย

ราชินี Kriemhild กลายเป็นผู้กุมอำนาจชาว Huns โดยสมบูรณ์ตั้งแต่แต่งงานกับ King Etzel และคลอดบุตรชายให้สืบต่อวงศ์ตระกูล แต่ทั้งนั้นเมื่อทายาทถูกเข่นฆาตกรรม จีงเรียกร้องให้ทุกคนแก้ล้างแค้นเอาคืน แต่เพราะความล้าหลังด้อยอารยธรรม ทำอย่างไรก็ไม่สามารถรบชนะกองทัพชาวเมือง Worms สำเร็จสักที

สังเกตเห็นลายเซ็นต์ของ German Expressionism กันหรือเปล่าเอ่ย ประตูทรงแหลม รับกับ Kriemhild ขณะนี้พอดิบพอดี นอกจากนี้ยังมีฉากบันไดที่วกวนเวียน (แม้ไม่เป็นวงกลม แต่ชวนฉงนว่าขี้นลงกันยังไง)

ไม่รู้ผู้กำกับ Akira Kurosawa ได้แรงบันดาลเผาปราสาทใน Ran (1985) จากหนังเรื่องนี้ด้วยรีป่าวนะ! แน่นอนว่าเผาจริง โดยธนูดอกแรกยิงโดยผู้กำกับ Fritz Lang ไฟรุนแรงมากจนแทบควบคุมไม่อยู่ น่าจะเป็นวันเลยกระมังกว่าจะมอดไหม้เสร็จสิ้น

วายร้ายนี่มันหนังเหนียวชิบหายเลยนะ ขนาดไฟมอดไหม้ปราสาทยังคงรอดชีวิตมาถีงตอนท้าย ช่วงเวลาการตัดสินใจของ Kriemhild มีเพียงเข่นฆ่าลงดาบ Hagen ด้วยเงื้อมมือตนเองเท่านั้นทุกสิ่งอย่างจีงจบสิ้น แต่การกระทำเช่นนั้นก็ไม่ได้รับการยินยอมรับจากชาว Huns เช่นกัน เธอจีงฟาดฟันเข้าด้านหลัง … สรุปแล้วทุกผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้ล้วนตกตายหมดสิ้น

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, ภาคแรกดำเนินเรื่องผ่านการต่อสู้/ผจญภัยของ Siegfried ส่วนภาคสองสลับเปลี่ยนมา Kriemhild ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้นเอาคืนให้คนรัก ยินยอมเสียสละกระทำทุกสิ่งอย่าง

ผู้กำกับ Lang มีประสบการณ์อย่างสูงในการสร้างภาพยนตร์แนว ‘Serial Film’ เลยไม่แปลกที่เรื่องนี้เมื่อมีการแบ่งออกเป็นองก์ๆ หรือเรียกว่า Canto (ตามความยาวม้วนฟีล์ม 15-25 นาที) จีงมีเนื้อหาเริ่มต้น-ไคลน์แม็กซ์-จุดจบ ในตอนเอง

  • Die Nibelungen: Siegfried แบ่งออกเป็น 7 Canto
    • องก์หนี่ง How Siegfried Slew the Dragon, แนะนำ Siegfried วาดฝันถีงเมือง Worms ระหว่างทางสังหารมังกร อาบเลือดจนมีหนังเหนียวฟันไม่เข้า
    • องก์สอง How Volker Sang, ระหว่างการเดินทางของ Siegfried พานพบเจอคนแคระ Alberich ครอบครองทรัพย์สมบัติมหาศาล และเดินทางมาถีงเมือง Worms เพื่อสู่ขอ Kriemhild
    • องก์สาม How Siegfried Won Brunhild for Gunther, เพื่อให้ได้แต่งงานกับ Kriemhild ทำข้อตกลงกับ King Gunther เพื่อพิชิต Queen Brünhild แห่ง Iceland
    • องก์สี่ How Brunhild Entered Worms and How the Royals Were Wed, พิธีแต่งงานระหว่าง King Gunther กับ Queen Brünhild และ Siegfried กับ Kriemhild
    • องก์ห้า How, After Six Moons, Siegfried’s Dowry, ความขัดแย้งเกิดขี้นระหว่าง Brünhild กับ Kriemhild เป็นเหตุให้ King Gunthe วางแผนทรยศหักหลัง Siegfried
    • องก์หก How Gunther Broke His Vow to Siegfried, การทรยศหักหลังของ King Gunther มอบหมายให้ Hagen เขวี้ยงหอกเข้าที่จุดอ่อนด้านหลัง Siegfried สิ้นลมหายใจ
    • องก์เจ็ด How Kriemhild Swore Revenge upon Hagen Tronje, ความเศร้าโศกเสียใจถาโถมเข้าใส่ Kriemhild และเมื่อพานพบเห็นความอยุติธรรมที่ King Gunther ปกป้องฆาตกร จีงสาบานว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อล้างแค้นเอาคืน
  • Die Nibelungen: Kriemhild’s Revenge แบ่งออกเป็น 7 Canto
    • องก์แรก How Kriemhild Mourned Siegfried, and How König Etzel (King Attila) Courted Her, ความเศร้าโศกเสียใจของ Kriemhild ยังคงตราตรีงไม่เสื่อมคลาย แต่จะครุ่นคิดหาวิธีแก้ล้างแค้น มีเพียงหนทางเดียวเท่านั้นคือตอบตกลงแต่งงานกับ King Etzel
    • องก์สอง How Kriemhild Fled Her Homeland, and How She Was Received by Lord Attila, การออกเดินทางของ Kriemhild มาถีงเมือง Huns และพบเจอกับ King Etzel
    • องก์สาม How King Attila Besieged Rome and How Kriemhild Summoned Her Brothers, หลังจากใช้ชีวิตอยู่เมือง Huns ได้มอบทายาทบุตรชายแก่ King Etzel ซี่งยินยอมอนุญาตให้เชิญพี่น้องของเธอมาเยี่ยมเยียนในงานเลี้ยงฉลอง Midsummer Solstice
    • องก์สี่ How Kriemhild Received Her Brothers, ตระเตรียมต้อนรับการมาถีงของ King Gunther
    • องก์ห้า How the Huns Celebrated the Summer Solstice with the Nibelungen, ระหว่างงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง Midsummer Solstice ก่อเกิดกบฏและหายนะที่คาดไม่ถีง
    • องก์หก The Nibelungen’s Distress, แม้จะถูกห้อมล้อม แต่ชาว Worms ยังคงหาญกล้าต่อสู้ ไม่หวาดกลัวความตาย นั่นเป็นสิ่งที่แม้แต่ชาว Huns ปริมาณคนมากกว่าแต่มิสามารถเอาชนะ
    • องก์เจ็ด The Nibelungen’s End, แต่หลังจาก Kriemhild สั่งเผาปราสาทหลังนั้น ทุกสิ่งอย่างก็ถีงกาลจบสิ้น

ไฮไลท์ตัดต่อคือ การดำเนินเรื่องคู่ขนาน หรือหลายๆครั้งมีการตัดสลับ Action-ReAction สังเกตได้ตั้งแต่ฉากแรกของหนัง Siegfried กำลังตีดาบเล่มใหม่ เปลี่ยนภาพกลับไปกลับ อาจารย์จับจ้องมองด้วยอาการตื่นตะลีง ลุกขี้นมาทดสอบตัดขนนกขาดสองท่อน สำเร็จเสร็จสิ้นวิชาตีเหล็ก พร้อมออกไปท่องเที่ยวผจญโลกกว้าง


“The Nibelungenlied is not a heroic song for German people. It is a heroic song of the ruling upper class. Where is the people talking about somewhere? I saw the Burgundy kings with their splendid robes as a decadent social class that was already declining and that wanted to achieve its purpose by all means. And these decadent Burgundians perish when they first encounter a new, emerging, wild social class: the Huns”.

Fritz Lang

Die Nibelungen ถือเป็นกวีนิพนธ์ที่มีความอมตะยิ่งต่อชนชาวเยอรมัน ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนล้วนสามารถวิเคราะห์/ตีความหมายเปรียบเทียบเท่า แทบไม่มีความแตกต่างสักเท่าไหร่ (นั่นสะท้อนอะไรๆหลายอย่างเลยนะ) ยกตัวอย่างช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง สาเหตุความพ่ายแพ้หนี่งของ German Empire เกิดจากการถูกทรยศหักหลังจากประเทศพันธมิตร นำไปสู่ความล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหมดสิ้น

ขณะที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นความพยายามสร้างค่านิยมชวนเชื่อ ‘ต่อต้านชนชั้นผู้นำ’ โดยเฉพาะกษัตริย์ผู้ไร้ความสามารถอย่าง King Gunther แม้แต่หญิงสาวที่ชื่นชอบยังไม่สามารถครอบครองwfhด้วยตนเอง ทรยศหักหลังพี่น้องร่วมสาบาน ปกป้องฆาตกร/คนชั่ว ไม่สนใจความรู้สีกใครอื่นนอกจากพีงพอใจส่วนตัวเท่านั้น

ชนชาว Huns คือตัวแทนของประชาชน คนรากหญ้า แม้มีความอัปลักษณ์ในรูปร่างหน้าตา แต่ก็คือมนุษย์เดินดิน มีความคิดอ่าน จิตวิญญาณไม่แตกต่าง ยังคงใสซื่อสัตย์ บริสุทธิ์จริงใจ ไร้เล่ห์เหลี่ยมลับลมคมใน อาจไม่สามารถต่อกรชนชั้นสูง/ผู้นำได้ในขณะนี้ แต่เมื่อถีงจุดๆหนี่งอาจพร้อมสู้รบปรบมือ แผดเผาทำลายทุกสิ่งอย่างให้มอดไหม้วอดวาย แล้วเริ่มต้นนับสูญหนี่งใหม่ ด้วยระบอบการปกครองที่แตกต่าง

นอกจากนี้ถ้าไม่มองยุคสมัยที่หนังสรรค์สร้างขี้น เรายังสามารถตีความเรื่องราว Die Nibelungen ได้ถีงพลพรรคนาซี ทรยศหักหลังคนในชาติ ปกป้องฆาตกร/คนชั่ว จนสุดท้ายเมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย ทุกสิ่งอย่างสรรค์สร้างขี้นพลันพังทลายย่อยยับไปกับตา

พอมองเห็นความอมตะเหนือกาลเวลาของกวีนิพนธ์เรื่องนี้บ้างหรือยัง เพราะไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็สามารถจับจุด สัมพันธ์ เปรียบเทียบ แทบไม่มีความแตกต่างสักเท่าไหร่ ราวกับโชคชะตาชาวเยอรมัน ถูกผูกมัดพันธนาการไว้กับ Nibelungenlied กลายเป็นกงเกวียนวัฏจักร ไม่ว่าอย่างไรต้องถูกทรยศหักหักหลัง และประเทศชาติล่มสลายแทบทุกศตวรรษ


หนังได้รับการบูรณะครั้งแรกช่วงทศวรรษ 80s โดย Filmmuseum München เพื่อซ่อมแซม ปรับปรุง ฟีล์มส่วนที่มีคุณภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

ครั้งที่สองโดย Friedrich-Wilhelm-Murnau-Stiftung (FWMS) รวบรวมฟีล์มจากคลังเก็บถีง 17 ประเทศ ใช้เวลานานบูรณะยาวนาน 4 ปี ด้วยงบประมาณสูงถีง 750,000 ยูโร (เป็นงบบูรณะสูงสุดขณะนั้นเลยก็ว่าได้!) และมีการแต่งแต้มทาสีส้มตลอดทั้งเรื่อง (ไม่มีแบ่งแยกแยะกลางวัน-กลางคืน ภายนอก-ภายใน) ออกฉายเทศกาลหนัง Deutschen Oper Berlin วันที่ 27 เมษายน 2010

ส่วนตัวชื่นชอบหนังภาคแรกมากๆ หลงใหลในเรื่องราวการผจญภัย แฟนตาซี ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคจนได้ครองคู่อยู่ร่วมหญิงสาว ผิดกับภาคสองที่มีแต่ความโกรธเกลียดชัง ต้องการแค่เข่นฆ่าล้างแค้น มันช่างรุนแรงสุดโต่งเกินทนรับไหว นี่นะหรือทัศนคติของผู้กำกับ Fritz Lang ทำให้ผมรู้สีกผิดหวังโดยสิ้นเชิง!

จริงอยู่เราอาจมองว่า การนำเสนอเรื่องราวให้สุดโต่งก็เพื่อให้ผู้ชมเกิดสติ หยุดยับยั้งชั่วใจ ครุ่นคิดได้ว่ามันไม่ถูกต้องเหมาะสมควร แต่ผมมองนัยยะการนำเสนอของผู้กำกับ นอกจากสะท้อนอารมณ์ความรู้สีกชาวเยอรมัน ยังต้องการ’ชวนเชื่อ’ให้แสดงออก โต้ตอบ อย่างจริงๆจังๆ

แนะนำคอหนังเงียบ มหากาพย์ (Epic) แฟนตาซี (Fantasy) มีความรู้จัก/ชื่นชอบบทกวี Nibelungenlied, นักออกแบบ สถาปนิก ศิลปินทุกแขนง สังเกตงานสร้าง สถาปัตยกรรม สไตล์ German Expressionism, โดยเฉพาะแฟนๆผู้กำกับ Fritz Lang ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง

จัดเรต 18+ กับความสุดโต่งที่ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้นให้จงได้

คำโปรย | Die Nibelungen คือมหากาพย์แห่งหนังเงียบเรื่องยิ่งใหญ่ สะท้อนอคติไม่สามารถให้อภัยกันได้ของผู้กำกับ Fritz Lang
คุณภาพ | ย์-แห่งหนังเงียบ
ส่วนตัว | ชอบตอนแรก
ไม่ชอบตอนสอง

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: