Distant Voices, Still Lives (1988) : Terence Davies ♥♥♥♡
กระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Terence Davies นำเสนอการจากไปของบิดา ที่ยังคงสร้างอิทธิพลให้ลูกหลานสืบต่อมา งดงามวิจิตรศิลป์ แต่อาจมีความเฉพาะตัวเกินไปสักนิด
I think Distant Voices, Still Lives is the most beautiful British film since the war. It’s a film which shows life as it was, life as it is, life as it will be. It’s a film which shows the past, the present, the future. It’s a great work of art. It’s a film which is made with love and pain, and that’s what gives it its power. It’s a film which shows the importance of family, of love, of memory. It’s a film which shows a world that’s no longer there.
Jean-Luc Godard
โดยปกติแล้วผู้กำกับ/นักวิจารณ์ Jean-Luc Godard มักปัดสวะภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ ไม่ค่อยให้ค่า เต็มไปด้วยคำด่า น้อยครั้งมากๆถึงชื่นชมอย่างออกนอกหน้าแบบ Distant Voices, Still Lives (1988) เพราะประเทศนี้มักให้ความสำคัญกับหนังกระแสหลัก (Mainstream) ไม่ค่อยพบเจอศิลปิน (Auteur) สรรค์สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทดลองทำสิ่งแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร
Distant Voices, Still Lives (1988) ถือเป็นภาพยนตร์ ‘Art House’ ที่มีความเฉพาะตัวในวิธีการเล่าเรื่องราว ทุกช็อตดูราวกับรูปภาพถ่าย (นักแสดงทุกคนจะหันหน้าเข้าหากล้อง) แต่ละซีนลักษณะเหมือนเศษเสี้ยวความทรงจำ (เปรียบดั่งกระเบื้องโมเสก) ตัดสลับไปมาระหว่างอดีต-ปัจจุบัน (Distant Voice) ครึ่งหลังนำเสนออนาคต (Still Lives) แล้วใช้การขับร้องเพลงของบรรดานักแสดง (ในอัลบัม Soundtrack มีทั้งหมด 32 บทเพลง) สำหรับเชื่อมประสานทุกสรรพสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน
ไม่ใช่แค่ลีลาดำเนินเรื่องที่น่าสนใจ หนังยังคืออัตชีวประวัติ/เศษเสี้ยวความทรงจำผู้กำกับ Terence Davies เติบโตในครอบครัวชนชั้นทำงาน (Working Class) พานผ่านช่วงเวลาทุกข์ยากลำบากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และแม้บิดาเสียชีวิตนานแล้ว แต่ยังคงสร้างอิทธิพลส่งถึงลูกหลาน เรียบง่าย รุนแรง ทรงพลังมากๆสำหรับคนที่สามารถชื่นเชยชม
Terence Davies (เกิดปี 1945) นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์ เกิดที่ Kensington, Liverpool เป็นบุตรคนเล็กจากพี่น้องสิบคน ในครอบครัวคาทอลิกเคร่งครัด ชนชั้นทำงาน (Working Class) บิดาทำงานเสมียนท่าเรือบริษัท Elder Dempster Lines เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตอนเขาอายุได้ 7 ขวบ, จากนั้นถูกส่งไปโรงเรียนประจำ พอจบมัธยมออกมาทำงานเป็นเสมียน (แบบเดียวกับบิดา) พบว่าไม่ใช่อาชีพที่เติมเต็มความต้องการ จึงเปลี่ยนไปทดลองทำงานหลายๆอย่าง จนกระทั่งตัดสินใจดำเนินตามความฝันวัยเด็ก เข้าศึกษาภาพยนตร์ยัง Conventry Drama School แล้วมีโอกาสสรรค์สร้างหนังสั้น Children (1976), จากนั้นเข้าเรียนต่อ National Film School ทำหนังอีกหนังสั้น Madonna and Child (1980) และสามปีถัดมาปิดไตรภาค The Terence Davies Trilogy ด้วย Death and Transfiguration (1983)
Memory is the most powerful force in the world. It can bring us great joy and great pain, but it is always with us. As filmmakers, we have the ability to capture and express those memories in a way that can touch people’s hearts and minds.
We are all products of our past, and our memories shape who we are. As filmmakers, we have the opportunity to explore those memories and to create something that is both personal and universal.
Terence Davies
ภาพยนตร์ของผู้กำกับ Davies ทุกเรื่องล้วนคือ(กึ่ง)อัตชีวประวัติ นำเสนอภาพความทรงจำ ปะติดปะต่อแบบไม่เรียงลำดับเวลา (Non-Linear Narrative) มักให้นักแสดงขับร้องเพลงเพื่อประสานทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน และมีการอ้างอิงถึง บทกวี วรรณกรรม กีฬา แฟชั่น บุคคลดัง เหตุการณ์สำคัญ รวมถึงสถานที่ต่างๆในละแวก Liverpool บันทึกประวัติศาสตร์ เก็บฝังไว้ใน ‘Time Capsule’
สำหรับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Distant Voices, Still Lives (1988) ผกก. Davies ต้องการเล่าเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ความสัมพันธ์กับบิดา ทั้งรัก-ทั้งเกลียด แม้ไม่เคยแสดงออกด้วยคำพูดหรือภาษากาย แต่เป็นที่ทุกคนล้วนสัมผัส และได้รับอิทธิพลต่อชีวิตมาจนถึงปัจจุบัน
I wanted to make a film about my family, to exorcise the ghosts, to celebrate them, to tell the story of a family that was full of love but never showed it physically. There was no hugging, no kissing, but there was so much love.
It was an attempt to come to terms with my past, but also to celebrate my family, who were, in spite of everything, very loving and very united.
The past is not just the past; it’s a living thing that has a great influence on our lives.
ด้วยความที่โปรเจคส่วนตัวมากๆ อีกทั้งผกก. Davies เพิ่งมีผลงานหนังสั้นแค่สามเรื่อง จึงไม่มีสตูดิโอแห่งไหนให้ความเชื่อมั่น ยินยอมออกทุนสร้าง จนกระทั่งได้รับการอนุมัติเงินก้อนหนึ่งจาก British Film Institute (BFI) ทำให้สามารถติดต่อของบประมาณเพิ่มเติมจาก Channel Four และ Palace Pictures รวมๆแล้ว £750,000 ปอนด์
หนังแบ่งออกเป็นสองส่วน ครึ่งแรก-ครึ่งหลัง ถ่ายทำห่างกันสองปี แต่ใช้นักแสดงชุดเดียวกัน(เกือบ)ทั้งหมด นำเสนอเรื่องราวของครอบครัว Davies ประกอบด้วยบิดา มารดา บุตรทั้งสาม (หญิงสอง-น้องชายคนเล็ก) รวมถึงญาติพี่น้อง อาศัยอยู่ร่วมกันที่ Kensington, Liverpool
Distant Voices ร้องเรียงภาพความทรงจำ(ตัดสลับไปมาแบบไม่เรียงลำดับ) ตั้งแต่เมื่อลูกๆยังเป็นเด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ พานผ่านก่อน-หลังสงครามโลกครั้งที่สอง นำเสนอเหตุการณ์สำคัญๆที่ยังคงตราฝังในความทรงจำ อาทิ ซ่อนตัวในหลุมหลบภัย (ช่วงระหว่าง WW2), ความรุนแรงในครอบครัว, งานเลี้ยงวันเกิดที่โดนทำลาย, เดทแรกของสาวๆ, น้องชายโดนจับกุม, บิดาล้มป่วย เสียชีวิต, ก่อนจบลงด้วยงานแต่งงานพี่สาว
Still Lives นำเสนอเรื่องราวภายหลังการจากไปของบิดา ช่วงทศวรรษ 50s (ดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า) หลังจากพี่สาวคลอดบุตร ทุกสัปดาห์มักนัดพบปะเพื่อนฝูง ซุบซิบนินทา พยายามจับคู่ให้กันและกัน ดื่มเหล้าเมามายจนพลัดตกตึก รักษาตัวในโรงพยาบาล ก่อนจบลงด้วยงานแต่งงานน้องชาย
Peter William Postlethwaite (1946-2011) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Warrington ในครอบครัวคาทอลิกเคร่งครัด ชนชั้นทำงาน (Working Class), วัยเด็กชื่นชอบเล่นรักบี้ ครุ่นคิดอยาเป็นบาทหลวง แต่เปลี่ยนความสนใจมาเป็นนักแสดง ฝึกฝนยัง Bristol Old Vic Theatre School แล้วได้เริ่มต้นอาชีพที่ Everyman Theatre สนินสนมกับ Bill Nighy, Jonathan Pryce, จากนั้นมีผลงานภาพยนตร์ อาทิ The Duellists (1977), Distant Voices, Still Lives (1988), Alien 3 (1992), The Last of the Mohicans (1992), In the Name of the Father (1993), The Lost World: Jurassic Park (1997), The Usual Suspects (1997), Amistad (1997), The Town (2010) ฯ
รับบทบิดา Tommy Davies แม้หลายครั้งเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด ชอบใช้กำลัง ความรุนแรงต่อทั้งภรรยาและลูกๆ แต่ทั้งหมดที่ทำไปล้วนด้วยข้ออ้างความรัก ไม่ต้องการให้พวกเขาพบเจอเรื่องร้ายๆ แม้ตอนล้มป่วยยังพยายามดิ้นรน หาหนทางกลับบ้าน เต็มไปด้วยความเป็นห่วงเป็นใยครอบครัว
ผกก. Davies มีความประทับใจ Postlethwaite เมื่อครั้นรับชมโปรดักชั่นละครเวทีเรื่อง King Lear ที่ Everyman Theatre จึงพยายามติดต่อแม้เต็มไปด้วยความหวาดวิตกว่าเขาจะไม่สนใจ (เพราะตอนนั้นยังเป็นผู้กำกับไม่ได้มีชื่อเสียงสักเท่าไหร่) ซึ่งสาเหตุที่ได้รับคำตอบตกลงเกิดจากโปรดิวเซอร์ ไม่เพียงนำบทให้อ่าน ยังเปิดหนังสั้นทั้งสามเรื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้อีกฝ่าย
I saw Pete Postlethwaite in ‘King Lear’ at the Everyman Theatre in Liverpool, and I was just stunned by his performance. He had such power and presence on stage, and he could convey so much with just a look or a gesture. I knew then that I wanted him for the role of the father in my film. Pete has this incredible emotional depth and range as an actor, and he was able to bring such complexity and nuance to the character. He was perfect for the role, and I’m so grateful that he agreed to do it.
Terence Davies
อ่านจากบทภาพยนตร์ Postlethwaite แทบไม่อยากเชื่อว่าบิดาของผกก. Davies ใช้ความรุนแรงกับลูกๆขนาดนั้น แต่หลังจากพบปะญาติๆพี่น้อง(ของผกก. Davies) มาพูดเล่าความหลัง เหตุการณ์ต่างๆเคยบังเกิดขึ้นกับพวกเขา นั่นสร้างความตกตะลึง และยินยอมจำนนต่อความจริงในที่สุด
เค้าโครงใบหน้าของ Postlethwaite เสริมสร้างภาพลักษณ์ตัวละครให้ดูเป็นคนเคร่งเครียด จริงจัง เก็บฝังความรุนแรงไว้ภายใน อย่าทำให้โกรธเพราะจะแสดงอาการคลุ้มคลั่งออกมา (น่าจะเป็นอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่สอง ปลูกฝังความรุนแรงสะสมอัดอั้นภายในจิตใจ) แต่บางครั้งก็มีความละมุ่น นุ่มนวล อ่อนไหว พยายามปกปิดความรู้สึกเหล่านั้นเอาไว้ ไม่ต้องเปิดเผยให้ใครพบเห็น (กลัวจะสูญเสียความน่าเชื่อถือในความเป็นบิดา/ลูกผู้ชาย)
Pete Postlethwaite gives a heartbreaking performance as the father, capturing the deep emotional damage that underlies his bursts of violence and his attempts to heal it through his children. This is a man who genuinely wants to be good, but his past has damaged him too deeply. His tragedy is that his own pain leads him to inflict more pain on others. It’s a subtle, devastating portrayal, and Postlethwaite brings an extraordinary depth of feeling to the role.
Linda Ruth Williams นักวิจารณ์จาก Sight & Sound
ปล. รูปถ่ายที่แขวนอยู่กลางบ้าน ไม่ใช่ภาพของ Pete Postlethwaite แต่คือบิดาผู้กำกับ Terence Davies พวกเขามีใบหน้าตาละม้ายคล้ายกันยิ่งนัก!
Freda Dowie (1928-2019) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Carlisle, Cumberland เข้าสู่วงการช่วงทศวรรษ 60s ผลงานส่วนใหญ่จะอยู่ฟากฝั่งโทรทัศน์ แสดงภาพยนตร์ประปราย อาทิ The Omen (1976), Distant Voices, Still Lives (1988) ฯ
รับบทมารดา Nell Davies ด้วยความจงรักต่อสามี แม้ถูกทุบตีทำร้ายร่างกาย ก็ไม่เคยปริปากว่าร้าย ยังคงอุทิศตนเองให้กับครอบครัว (คงเพราะนับถือคาทอลิกอย่างเคร่งครัดด้วยกระมัง) การเสียชีวิตของเขาจึงสร้างความเจ็บปวด เศร้าโศกเสียใจ ก้าวพานช่วงเวลาร้ายๆได้เพราะลูกๆทั้งสามของเธอ
I saw her in Beckett’s Happy Days and she was just extraordinary – she had a wonderful voice and could hold the audience in the palm of her hand. When I was casting Distant Voices, Still Lives, I thought of her immediately.
Terence Davies
ตัวละครของ Dowie แม้บทพูดน้อยนิด แต่เอาจริงๆโดดเด่นไม่น้อยไปกว่า Postlethwaite (ผู้ชมมักจดจำการใช้ความรุนแรงของบิดาได้ชัดเจนกว่า) เพราะถึงถูกกระทำร้ายร่ายกาย ได้รับบาดแผลรอยฟกช้ำ เธอกลับไม่เคยแสดงความโกรธเกลียดเคียดแค้น เก็บฝังความรู้สึกเจ็บปวดไว้ภายใน ยังคงเศร้าเสียใจเมื่อชายคนรักตายจากไป … มันช่างเป็นความรักที่แปลกประหลาดยิ่งนัก ‘abuse love’
ครึ่งหลังสามีจากไป แม้ภายในยังคงเศร้าโศกเสียใจ แต่การได้พบเห็นลูกๆหลานๆ แต่งงานมีความสุข ก็ทำให้เธอรู้สึกปลื้มปีติ ยินดีปรีดา เวลาขับร้องเพลงช่างมีความไพเราะเพราะพริ้ง แสดงถึงความอิ่มเอม เบิกบาน ร่าเริงหฤทัย คลายความเป็นห่วงเป็นใย
Dowie’s performance is towering – her rigid posture, her unsmiling face, her sharp movements, her steely determination. The movie is worth seeing for her alone.
นักวิจารณ์ Sheila O’Malley
Freda Dowie, as the mother, gives one of the most remarkable performances in British cinema history – a truly terrifying figure, yet also full of a strange kind of love. Her lips pressed tightly together, her eyes set in a deathly stare, Dowie hardly moves as she sings or speaks, but her presence is overwhelming. When she hits her children – something she does frequently – it’s like an explosion. Yet at other times, she is capable of great tenderness, and there are moments of poignant beauty in the film that testify to her love for her family, and to the way that Davies, despite everything, still manages to celebrate the endurance of human bonds. It’s hard to think of another performance quite like it.
Geoff Andrew นักวิจารณ์จาก Sight & Sound
ถ่ายภาพโดย William Diver, Patrick Duval
คงต้องเรียกว่า ‘สไตล์ Davies’ ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทุกช็อตฉากดูราวกับรูปภาพแห่งความทรงจำ นักแสดงหันหาหน้ากล้อง (แต่ไม่ใช่การ “Breaking the Fourth Wall”) ใช้แสงสีอ่อนๆ โทนน้ำตาลอบอุ่น คละคลุ้งกลิ่นอายหวนระลึก (Nostalgia) ส่วนใหญ่ถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ กล้องค่อยๆเคลื่อนไหล (ให้ความรู้สึกเหมือนฝัน ‘Dreamlike’) จากระยะไกลสู่ใกล้ จับจ้องใบหน้าตัวละครเพื่อสร้างสัมผัสชิดใกล้ (Intimacy)
ผมพยายามสังเกตว่าหนังมีการสร้างความแตกต่างระหว่างอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต หรือไม่? คำตอบคือไม่! นี่เป็นความท้าทายศักยภาพในการรับชมอย่างมากๆ เพราะทำได้เพียงสังเกตบริบทรอบข้าง เหตุการณ์สำคัญๆบังเกิดขึ้น และอายุ/รูปร่างหน้าตานักแสดงที่เปลี่ยนไป เด็ก-ผู้ใหญ่ และครึ่งหลังถ่ายทำสองปีให้หลัง (ใครช่างสังเกตก็อาจพบเห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กๆที่เกิดขึ้นกับนักแสดง)
I shot the film over two years because I didn’t have enough money to shoot it all at once. But that wasn’t necessarily a bad thing, because it allowed me to reflect on the film as I was making it. When I came back to shoot the second part, I was able to look at what I had done and see what was working and what wasn’t. So it was a difficult process, but ultimately a rewarding one.
Terence Davies
บ้านหลังเก่าของผกก. Davies ณ Kensington, Liverpool ถูกทุบทำลายไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 ทีแรกก็ครุ่นคิดจะสร้างขึ้นใหม่ แต่ด้วยงบประมาณอันน้อยนิด เลยตัดสินใจมองหาสถานที่ที่ดูละม้ายคล้ายชุมชนชั้นทำงาน (Working Class) ก่อนค้นพบยัง Drayton Park, Islington ไม่เหมือนบ้านหลังเก่าเสียทีเดียว แต่ก็พอใช้แทนกันได้
เกร็ด: ปัจจุบันบ้านพักแถบ Drayton Park, Islington ก็ถูกทุบทำลาย รีโนเวทใหม่เอี่ยมอ่องแล้วเช่นกันนะครับ
เกร็ด2: สำหรับคนที่อยากพบเห็นหน้าตาบ้านหลังเก่าของผกก. Davies ให้ลองหารับชม The Long Day Closes (1992) เห็นว่าได้งบประมาณมากเพียงพอที่จะก่อร่างสร้างบ้านหลังนั้นขึ้นมาใหม่
สองช็อตแรกของหนังคือภาพบ้านพักอาศัยครอบครัว Davies มีความเรียบง่าย ธรรมดาสามัญ แต่กลับเต็มไปด้วยนัยยะซ่อนเร้นที่โคตรๆทรงพลัง
- ช็อตแรกถ่ายจากภายนอกบ้าน ได้เสียงฝนตกฟ้าร้อง วิทยุกำลังรายงานสภาพอากาศ
- เสียงฟ้าคำราม สามารถเปรียบเทียบถึง ‘Distant Voices’ ดังจากตรงไหนก็ไม่รู้ ระยะทางห่างไกล แต่เรากลับยังได้ยิน แล้ว(หลายคน)บังเกิดอาการตื่นตกอกตกใจ สะดุ้งกลัวถูกฟ้าผ่า
- นัยยะตามชื่อหนัง ‘Distant Voices’ คือการจากไปของบิดา แม้พานผ่านมาหลายปี กลับยังคงสร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบต่อลูกๆหลานๆ
- สภาพอากาศฝนพรำ สามารถสื่อถึงความเศร้าโศกเสียใจ คราบน้ำหลั่งไหลจากภายใน จากการจากไปของบิดา
- เสียงฟ้าคำราม สามารถเปรียบเทียบถึง ‘Distant Voices’ ดังจากตรงไหนก็ไม่รู้ ระยะทางห่างไกล แต่เรากลับยังได้ยิน แล้ว(หลายคน)บังเกิดอาการตื่นตกอกตกใจ สะดุ้งกลัวถูกฟ้าผ่า
- ช็อตสองถ่ายภายในบ้าน โถงทางเดิน บันไดว่างเปล่า ได้ยินเพียงเสียงพูดคุยสนทนา (แต่จะไม่ได้ยินบิดา) จากนั้นกล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อน แต่กลับไม่พบเห็นผู้ใด
- การแช่ภาพช็อตนี้ มอบสัมผัสเวิ้งว้าง ว่างเปล่า ราวกับเพิ่งมีบางสิ่งอย่างในบ้านหลังนี้ได้สูญเสียหาย หรือก็คือความตาย/การจากไปของบิดา
- เสียงพูดคุยสนทนาที่ดังขึ้น ก็สามารถสื่อถึง ‘Distant Voices’ หรือเสียงที่ดังห่างออกไปจากภาพ แต่ยังสามารถสร้างอิทธิพล มารดาปลุกตื่นลูกๆทั้งสาม
แม้นี่จะเป็นสองช็อตแรกของหนัง แต่เราสามารถตีความว่าคือภาพเหตุการณ์ในอนาคต หลังจากตอนจบที่บุตรชายแต่งงานออกจากบ้าน สถานที่แห่งนี้จึงหลงเหลือเพียงมารดาพักอาศัย และเสียงแห่งความทรงจำยังคงกึกก้องบนโถงทางเดินว่างเปล่า … เหตุการณ์หลังจากนี้ทั้งหมดก็คือภาพความทรงจำ (Flashback)
แทบทุกช็อตในหนัง จะมีการจัดวางองค์ประกอบ นักแสดงหันหน้าเข้าหากล้อง และโทนสีน้ำตาลอ่อนๆ ให้ความรู้สึกเหมือนรูปภาพถ่ายเก่าๆ (หลายครั้งก็จะเป็นการกำลังถ่ายรูปจริงๆ) นี่ก็สามารถสื่อถึงภาพยนตร์คือ ‘ความทรงจำ’ ของผู้กำกับ Davies ได้อย่างตรงไปตรงมา
ด้วยความที่หนังไม่ค่อยพูดบอกรายละเอียดอะไรมาก ต้องใช้การสังเกตรายละเอียดของภาพ แล้วครุ่นคิดทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่างด้วยตนเอง อย่างสองช็อตถ่ายรูปหมู่ (โดยมีรูปภาพบิดาประดับฝาผนัง)
- ภาพแรกทุกคนสวมใส่ชุดสีดำ สีหน้าบูดบึ้งตึง นั่นคือการไว้ทุกข์ ซึ่งในช่วงแรกๆหนังยังไม่บอกกล่าวว่าใครคือผู้เสียชีวิต (จะไปเฉลยเอาช่วงท้ายของครึ่งแรก) แต่ผู้ชมน่าจะสามารถเกิดความตระหนักได้เอง ว่าคือสามี/บิดาของพวกเขาเหล่านี้
- ภาพสองสังเกตจากเสื้อผ้าสีสันสดใส ใบหน้าอิ่มเอมด้วยรอยยิ้ม ดูแล้วน่าจะเป็นงานมงคลสักอย่าง ก่อนเฉลยว่าคืองานแต่งงานของพี่สาว Eileen Davies
ผมเลือกนำสองช็อตนี้ที่ถ่ายภาพมุมเดียวกัน นักแสดงชุดเดียวกัน อาจจะปรับเปลี่ยนตำแหน่งยืน-นั่ง แต่สังเกตว่างานศพ(อวมงคล) vs. งานแต่งงาน(มงคล) คือสองพิธีกรรมที่มีความแตกต่างขั้วตรงข้าม … หนังเต็มไปด้วย ‘สูตรสอง’ ตั้งแต่การแบ่งครึ่งแรก-ครึ่งหลัง เหตุการณ์ต่างๆมักเกิดขึ้นซ้ำสอง ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น มีเกิดก็ย่อมมีตาย ว่ายเวียนวนในวัฏจักรแห่งชีวิต
สองช็อตจากสองซีนนี้ น่าจะไม่ได้บังเกิดขึ้นวันเวลาเดียวกัน แต่เพราะหนังนำเสนอแบบติดต่อเนื่อง ซึ่งสามารถสื่อถึงอิทธิพล ผลกระทบจากการที่บิดาจู่ๆใช้ความรุนแรง เอาไม้ทุบตีกระทำร้ายพี่สาว Maisie ราวกับกลายเป็นสาเหตุให้บุตรชาย Tony หลังจากดื่มเหล้าเมามาย เต็มไปด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด ชกต่อยกระจก เลือดอาบเต็มมือ … หนังพยายามนำเสนอการส่งต่อความรุนแรง จากรุ่นสู่รุ่น บิดาสู่บุตรชาย
มีครั้งหนึ่งที่ Eileen กับเพื่อนสาว เพิ่งกลับจากงานเลี้ยงเต้นรำ (แต่หนังไม่ได้ถ่ายให้เห็นว่าพวกเธอไปงานเต้นรำจริงไหมนะ แค่พบเห็นตอนขออนุญาตบิดา แล้วตัดข้ามมาขณะนี้เลย) ระหว่างพวกเธอกำลังสูบบุหรี่อยู่หน้าบ้าน ได้ยินเสียงเรียกของบิดา ‘Distant Voices’ ครั้งแรกทำการต่อรองขอเวลาอีกแปป แล้วยืนสลับเปลี่ยนตำแหน่งกับเพื่อนสาว ซึ่งพอบิดาตะโกนเรียกครั้งสอง งานเลี้ยงก็สิ้นสุดลงโดยพลัน
ทิศทางการเคลื่อนไหลของภาพก็แฝงนัยยะเช่นเดียวกัน, อย่างงานเลี้ยงแต่งงานของ Eileen กล้องเริ่มถ่ายทำจากบาร์นำสุรามาเสิร์ฟ แล้วเคลื่อนเลื่อนจากซ้ายไปขวา → พบเห็นแขกเหรื่อไม่พบเห็นใบหน้า → บรรดาผู้สูงอายุ → หนุ่มๆสาวๆยังละอ่อนวัย … ผมครุ่นคิดว่านี่คือทิศทางสู่อนาคต ชีวิตดำเนินไปข้างหน้า
ตรงกันข้ามเมื่อภาพเคลื่อนเลื่อนจากขวาไปซ้าย จะหมายถึงการคือหวนระลึกนึกย้อนอดีต เริ่มจากภาพของ Eileen สวมกอดกับน้องชาย ร่ำไห้ครุ่นคิดถึงบิดา ← กล้องเคลื่อนไปทางซ้าย พานผ่านโถงทางเดินบ้าน ครอบครัวตอนพวกเขายังเด็กๆ กำลังจุดเทียนบูชาพระแม่มารีย์ ← มองจากภายนอกพบเห็นบิดากำลังประดับตกแต่งต้นไม้ ในเทศกาลวันคริสต์มาส … หลายคนอาจมองว่าคือ ‘Flashback ซ้อน Flashback’ แต่คิดแบบนั้นมันจะยิ่งปวดหัวเสียเปล่าๆนะครับ
ยามค่ำคืน บิดาแอบเปิดประตูห้องนอน นำของขวัญวันคริสต์มาสใส่ถุงเท้า แขวนบนเตียงลูกๆทั้งสาม ใบหน้าของเขาดูอ่อนไหว เอ็นดู สุขใจ แต่ซีนถัดมาเหตุการณ์บนโต๊ะอาหาร แม้มีความขาวสว่าง แต่พฤติกรรมบิดากลับตารปัตรจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่รู้เหมือนกันว่าบังเกิดห่าเหวอะไรขึ้น แสดงความเกรี้ยวกราดอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
ภาพที่มารดากำลังเช็ดกระจก มันช่างมีความน่าหวาดเสียวยิ่งนัก! (นี่อาจสื่อว่าเธอเคยครุ่นคิดสั้น อยากจะฆ่าตัวตาย) สังเกตว่ากล้องถ่ายจากภายในบ้าน ค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเข้าหาเบื้องหน้า (สาเหตุที่เช็ดกระจก เพื่อให้สอดคล้องเนื้อเพลง Taking a Chance on Love จะมีประโยค ‘Here I slide again’) แล้วจู่ๆตัดไปภาพเธอถูกสามีทุบตี กระทำร้ายร่างกาย และช็อตถัดมาถ่ายจากด้านข้าง พบเห็นรอยฟกช้ำดำขาว “I see a rainbow blending now, We’ll have a happy ending now”
ภาพแรกที่ถ่ายจากเบื้องหน้า สามารถมองว่าคือช่วงเวลาแห่งความสุขของมารดา ดูเธอเพลิดเพลินกับการทำงาน (แม้เต็มไปด้วยความน่าหวาดเสียว เสี่ยงอันตราย), ส่วนภาพถ่ายด้านข้าง ยังพบเห็นเงาลางๆเบื้องหลัง ถือเป็นมุมมืดของครอบครัว ช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดทั้งร่างกาย-จิตใจ … การเลือกมุมกล้องด้านข้าง แทนที่จะเป็นหน้า-หลัง ผมครุ่นคิดว่าเพื่อให้ผู้ชมพบเห็นทั้งแสงสว่าง-เงามืด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆครอบครัวต้องประสบพบเจอ
จากภาพรอยฟกช้ำดำขาวของมารดา กล้องค่อยๆเคลื่อนจากศีรษะลงล่าง (↓) สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจตกต่ำ → ตัดไปภาพบุตรสาว Maisie กำลังตักถ่านหินอยู่ชั้นใต้ดิน ปกคลุมด้วยความมืดมิด แล้วช็อตที่สองเงยศีรษะขึ้นมองเบื้องบน พ่นคำด่าทอบิดา → ตัดไปภาพงานเลี้ยงอะไรสักอย่าง กล้องเคลื่อนจากมือขึ้นเบื้องบน (↑) มารดากำลังขับร้องบทเพลง Barefoot days เอ่อล้นด้วยรอยยิ้ม … สรุปก็คือทิศทางขึ้นลง สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจตัวละคร จมกับความทุกข์-อิ่มสุขสำราญ
เสียงไซเรนก็ถือเป็น ‘Distant Voices’ แทนการมาถึงของเครื่องบินรบเยอรมัน ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สร้างความหวาดระแวง สะพรึงกลัวให้ชาวอังกฤษ และมีการให้เด็กๆขับร้อง Roll out the barrel ใครเคยรับชมหนังสงคราม(ของอังกฤษ)มาเยอะ น่าจะมักคุ้นเคยบทเพลงนี้เป็นอย่างดี
ระหว่างที่บิดากำลังหวีขนเจ้าม้าสุดที่รัก มีการขับร้องเพลงพื้นบ้านไอริช When Irish eyes are smiling จะมีประโยคหนึ่ง “All the world is bright and gay”. หมายความว่าทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนมีสองด้านเสมอๆ สว่างไสวและมืดมิด สอดคล้องเข้ากับหนังอย่างตรงไปตรงมา … ฉากนี้คือช่วงเวลาอารมณ์ดีของบิดา ขณะเดียวกันแสงสว่างสาดลงมา ยังพบเห็นเงามืดซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลัง
ขอพูดถึงสำเนียง Liverpool สักหน่อยก็แล้วกัน ครั้งแรกที่ผมได้ยิน “I want me dad!” เกิดอาการอ้ำๆอึ่งๆ มันควรจะเป็น “I want my dad!” ไม่ใช่หรือ? แต่หลังจากพบเห็นศัพท์แปลกๆอีกหลายครั้ง “All the world is bright and gay”. (จริงๆควรจะเป็น bright and grey) เลยตระหนักว่ามันคือสำเนียงท้องถิ่น ไม่ผิดหลักการอะไร ถ้าสามารถสื่อสารเข้าใจ ก็เพียงพอแล้วละ
แม้บิดาจะจากไปสักพักแล้ว แต่สำหรับ Eileen (นี่น่าจะเป็นช็อตหลังงานเลี้ยงแต่งงาน) พูดบอกว่าเหมือนไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง “I don’t feel any different”. นั่นเพราะเธอยังคงรู้สึก ได้รับอิทธิพล เหมือนบิดายังคงเวียนวน อยู่ในความทรงจำของทุกคน … ตราบจนวันตาย
การนำเข้าสู่ครึ่งหลังของหนัง เริ่มจากประตูชั้นล่าง ภายนอกบ้าน ยามค่ำคืนมืดมิด เคลื่อนเลื่อนกล้องขึ้นมายังหน้าต่างชั้นบน ผ้าม่านปิดสนิท → แล้วตัดภาพเปลี่ยนมาเป็นถ่ายจากภายในห้อง ยามกลางวันแสงสว่างส่องผ่านหน้าต่าง ผ้าม่านบางๆ แล้วกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังจนพานผ่านบานประตู … ลักษณะกลับตารปัตรตรงกันข้ามดังกล่าว สามารถสื่อเรื่องราว/วิถีชีวิตของครอบครัวนี้ ครึ่งแรก-ครั้งหลังก็มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่าง หลังสูญเสียบิดา ทุกสิ่งอย่างดูสว่างสดใสขึ้นมาทันตา
ช่วงระหว่าง Maisie กำลังคลอดบุตร นอกจากบทเพลง Benjamin Britten: A Hymn to the Virgin ยังพบเห็นภาพพื้นผืนน้ำ สะท้อนแสงระยิบระยับ … ผมไม่ค่อยแน่ใจสัญญะทางศาสนานี้สักเท่าไหร่ ครุ่นคิดว่าผืนน้ำน่าจะสื่อถึงการให้กำเนิด แบบเดียวกับพิธีจุ่มศีล (Baptists) ที่จะพบเห็นในฉากถัดๆไป
ผมนำเอาข้อความชื่อตอน มาเปรียบเทียบให้พบเห็นความแตกต่าง(ตรงกันข้าม)
- Distant Voices พื้นหลังสีดำสนิท สามารถสื่อถึงการไว้ทุกข์ หรือช่วงเวลาดำมืดของครอบครัว Davies
- Still Lives พบเห็นประตูหน้าบ้าน และรถเข็นเด็ก สามารถสื่อถึงชีวิต และการเริ่มต้นใหม่
มันจะมีฉากเล็กๆเกี่ยวกับการกู้หนี้ยืมสิน Mr. Spaull จากบริษัท Lehigh & Lend ซึ่งมารดาทำการขอยืมเงิน £25 ปอนด์ทุกๆวันคริสต์มาส สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายครอบครัว แล้วค่อยๆจ่ายคืนตลอดระยะเวลา 12 เดือน เวียนวนไม่รู้จักจบจักสิ้น แต่เมื่อบุตรสาวทั้งสองแต่งงานออกจากบ้าน เงินส่วนนี้จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ทีแรกผมครุ่นคิดว่าซีเควนซ์นี้ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไร แต่ถ้าเปรียบเทียบครึ่งแรกของหนังกับการเป็นหนี้สิน มันคือสิ่งควบคุมครอบงำตัวเรา ให้ต้องทำงานงกๆหาเงินทองมาชดใช้หนี้, ส่วนครึ่งหลังจากมารดายกเลิกกู้ยืมเงิน ก็ราวกับได้รับปลดปล่อย อิสรภาพ ไม่มีอะไรให้ต้องครุ่นคิด วิตกกังวลอีกต่อไป
เมื่อตอนต้นเรื่องเคยพบเห็น Eileen และเพื่อนสาวกำลังยืนสูบบุหรี่อยู่หน้าบ้าน แล้วได้ยินเสียงเรียก ‘Distant Voice’ ของบิดา แต่มาคราวนี้เปลี่ยนจากเพื่อนสาวเป็นสามี ในสภาพเมามาย ยืนปัสสาวะตรงรั้ว และกำลังขับร้องเพลง สร้างความรำคาญแก่ผู้คน จนได้ยินเสียงคุณยายดังล่องลอยมา … สองครั้งคราเช่นเดียวกัน
จู่ๆช็อตนี้ก็บังเกิดขึ้น ‘Slow-Motion’ แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ปล่อยให้ผู้ชมขบครุ่นคิดเอาเองว่าบังเกิดเหตุการณ์ห่าเหวอะไรขึ้น ผมคาดเดาได้เพียงว่า Tony (และเพื่อนอีกคน) คงจะดื่มเหล้ามึนเมามาย แล้วตัดสินใจกระโดดตึก (ก็ไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไร) สังเกตตำแหน่งของทั้งสองมีความกลับตารปัตรตรงกันข้าม และตกลงมากระแทกหลังคากระจกแตกละเอียด … ล้อกับตอนต้นเรื่องที่ Tony มึนเมาชกกระจกหน้าต่าง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากบิดา
ด้วยความที่ผกก. Davies และทีมงาน ไม่เคยมีประสบการณ์ถ่ายทำฉากอันตรายขนาดนี้ โปรดิวเซอร์จึงว่าจ้าง Arthur Wooster ตากล้อง/ผู้กำกับกองสองแฟนไชร์ James Bond ออกแบบ สร้างฉาก ถ่ายทำยัง Pinewood Studios สูญงบประมาณถึง £10,000 ปอนด์ … มากไปไหมเนี่ย!!
หลังเมาตกตึก Tony เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ซีนนี้ก็ล้อกับครึ่งแรกที่บิดาล้มป่วยโรคมะเร็ง ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเช่น แต่สังเกตว่าทุกสิ่งอย่างล้วนมีความกลับตารปัตรตรงกันข้าม
- มุมกล้องทางฝั่งบิดา ถ่ายเห็นใบหน้า พยายามดันตัวลุกขึ้นนั่ง, ส่วนบุตรชายถ่ายจากด้านข้าง นอนรายลงกับเตียง
- ทิศทางด้านหน้า-หันข้าง แนวคิดเดียวกับตอนมารดานั่งเช็ดกระจก-หลังถูกทำร้ายร่างกาย สามารถสื่อถึง
- ถ่ายเห็นเบื้องหน้า สามารถสื่อถึงช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัว เพราะเมื่อบิดาล้มป่วยใกล้ตาย ทำให้ชีวิตพวกเขาไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกกระทำร้ายอีกต่อไป
- ถ่ายด้านข้าง คือความทุกข์ทรมานของครอบครัว เพราะทุกคนต่างเป็นห่วงเป็นใย หวาดกลัวว่าบุตรชายจะเป็นอะไรไป
- ทิศทางด้านหน้า-หันข้าง แนวคิดเดียวกับตอนมารดานั่งเช็ดกระจก-หลังถูกทำร้ายร่างกาย สามารถสื่อถึง
- ภาพของบิดาและผู้มาเยี่ยมไข้ มักแบ่งแยกสองช็อต ไม่เคยอยู่ร่วมเฟรมเดียวกัน, ทางฝั่งบุตรชายจะเห็นทุกคนนั่งอยู่เคียงข้างเตียง ร่วมเฟรมเดียวกัน
- นี่ก็สะท้อนความสัมพันธ์ของพวกเขาได้เป็นอย่างดี
- ท้ายสุดก็คือบิดาเสียชีวิต ส่วนบุตรชายหลังหายดีก็เตรียมเข้าพิธีแต่งงาน
ตอนจบของหนัง หลังงานเลี้ยงแต่งงานบุตรชาย เขาก็ขึ้นรถไปกับภรรยา ส่วนมารดา(พร้อมพี่สาวและสามี) ก็เดินกลับบ้านอีกเส้นทางหนึ่ง นี่แสดงถึงทิศทางแยกของชีวิต สุดท้ายแล้วต่างคนต่างก็ดำเนินไปตามหนทางของตนเอง หลงเหลือเพียงความทรงจำที่เราเคยอาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกัน
ตัดต่อโดย William Diver,
หนังดำเนินเรื่องโดยมีจุดศูนย์กลางคือครอบครัว Davies พักอาศัยอยู่ย่าน Kensington, Liverpool ในช่วงทศวรรษ 40s-50s ก่อน-หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งจะทำการแบ่งออกเป็นครึ่งแรกเมื่อครั้นบิดายังมีชีวิต ‘Distant Voices’ และครึ่งหลังจากบิดาจากไป ‘Still Lives’
- ครึ่งแรก ‘Distant Voice’ ช่วงทศวรรษ 40s ดำเนินเรื่องแบบตัดสลับไป-มา ระหว่างอดีต-ปัจจุบัน (Non-Chronological Order) ก่อน-หลังสงคราม เมื่อครั้งยังเด็ก-เติบโตเป็นผู้ใหญ่-และความตายของบิดา เหตุการณ์หลักๆประกอบด้วย การล้มป่วย-รักษาตัวในโรงพยาบาล-งานศพของบิดา
- ความทรงจำวัยเด็กช่วงระหว่างสงครามโลก หลบซ่อนตัวในหลุมหลบภัย ได้รับของขวัญคริสต์มาส ถูกทำลายเค้กวันเกิด แอบดูบิดาหวีขนเจ้าม้า
- บุตรชายคนเล็ก Tony Davies เมื่อเติบใหญ่เป็นทหาร หวนกลับบ้านด้วยความมึนเมา ทุบทำลายกระจกแตกจนถูกจับ (ตอนวัยเด็กก็เคยถูกบิดาขับไล่ไม่ให้เข้าบ้าน)
- งานแต่งงานของบุตรสาว Eileen Davies (ในอดีตเคยหาข้ออ้างไปดื่ม-กิน ท่องเที่ยวกับเพื่อนสนิท)
- ครึ่งหลัง ‘Still Lives’ ช่วงทศวรรษ 50s ดำเนินเรื่องเป็นเส้นตรง ร้อยเรียงวิถีชีวิตของสมาชิกในครอบครัว พี่สาวคลอดบุตร น้องชายพลัดตกตึก ก่อนจบลงด้วยพิธีแต่งงาน
- หลังจากคลอดบุตร Maisie Davies พยายามหาเวลาออกมาดื่มกินกับผองเพื่อน
- สามีของ Eileen Davies ดูเรื่องมาก เอาแต่ใจ มีแนวโน้มไม่ต่างจากบิดา อาจใช้ความรุนแรงในอนาคต
- Tony Davies ใช้ชีวิตอย่างเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา แล้วกระโดดตึกลงมาได้รับบาดเจ็บ รักษาตัวในโรงพยาบาล
- งานแต่งงานของ Tony คือจุดสิ้นสุดของครอบครัว ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปตามหนทางของตนเอง
ครึ่งแรกของหนังเป็นความท้าทายของผู้ชม ในการสังเกตภาพพบเห็นคือเหตุการณ์อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต หรือช่วงเวลาขณะไหน แต่เอาจริงๆเราสามารถช่างหัวแม้ง! ไม่ต้องครุ่นคิดปวดหัวกับมันเลยก็ยังได้ เพราะแต่ละซีนเป็นเพียงเศษเสี้ยวความทรงจำ คล้ายๆกระเบื้องโมเสกแผ่นเล็กๆ ต้องอดรนทนดูให้จบ(ครึ่งแรก)ถึงสามารถพบเห็นภาพรวมทั้งหมดว่าผู้สร้างต้องการนำเสนออะไร
นอกจากนี้เวลาปรับเปลี่ยนซีน ครึ่งแรกมักมีการ Fade-To-Black เพื่อสื่อการใช้ความรุนแรงของบิดา ทำให้สภาพจิตใจตกต่ำ ดำมืด จมปลักอยู่กับความเจ็บปวดรวดร้าว ระทมทุกข์ทรมาน, ตรงกันข้ามกับครึ่งหลัง Fade-To-White ทุกสิ่งอย่างดูเจิดจรัสจร้า สาดแสงสว่างแห่งความหวัง ชีวิตได้รับการปลดปล่อย ผ่อนคลาย สำราญหฤทัย
เหตุผลของการตัดต่อที่มีความยุ่งยากวุ่นวาย ก็เพื่อเปรียบเทียบความทรงจำของมนุษย์ ให้ลองทบทวนนึกย้อนอดีต จะพบว่าไม่มีทางหวนระลึกได้ทุกสิ่งอย่าง เฉพาะเพียงวันเวลาสำคัญๆที่สร้างความตราประทับ ฝังใจ สร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบต่อตัวเรา ซึ่งบางครั้งมันก็อาจกระโดดไป-มา จำสับสน ผสมผสาน สลับเหตุการณ์อื่นๆมากมายเต็มไปหมด … ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือความทรงจำของผู้กำกับ Terence Davies
บทเพลงคือองค์ประกอบที่เป็น’ส่วนตัว’อย่างมากๆของหนัง มีความหลากหลายสารพัดรูปแบบทั้ง diegetic, non-diegetic จู่ๆก็ดังขึ้นมา ได้ยินจากแผ่นเสียง/วิทยุ แต่ส่วนใหญ่คือนักแสดงทำการขับร้อง-เต้นระบำในผับบาร์ (บางครั้งมีดนตรีประกอบ, บางครั้งก็มีแต่คำร้องคอรัส) พบเห็นตั้งแต่เด็ก-ผู้ใหญ่-สูงวัย เพศชาย-หญิง สไตล์คลาสสิก-แจ๊ส-ป็อป-พื้นบ้าน ดนตรีกล่อมเด็ก-ปลุกใจ-สุขทุกข์-เกี่ยวกับศาสนา ฯ อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าอัลบัม Soundtrack มีอยู่ 32 บทเพลง (มากกว่าหนัง Musical ทั่วๆไปเสียอีกนะ!) โดยเฉลี่ยทุกๆสามนาทีจะต้องได้ยินหนึ่งบทเพลง
ผกก. Davies ไม่ได้ครุ่นคิดถึงการใช้บทเพลงเมื่อตอนตอนเขียนบท แต่คือวิวัฒนาการเกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำ ทดลองให้ญาติๆพี่น้องของเขาขับร้อง บันทึกเทป ช่วยกันหวนระลึกความทรงจำ พอนำมาเปิดฟังก็เลือกเอาบทเพลงที่ชื่นชอบ สอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆ เห็นว่านักแสดงของหนังแทบไม่รับรู้จักเป็นส่วนใหญ่
I got my family to sing them [the songs] – on tapes. It was difficult, actually, knowing what to leave out… All the songs I’d heard them sing, that were my favourites, I put in. It was as simple as that. None of them [the actors] knew any of the lyrics. Their parents did.
Terence Davies
ผมเลือกมา 4-5 บทเพลงที่มีความตราตรึง ได้ยินแล้วสร้างความขนลุกขนพอง ขอเริ่มจาก There’s a Man Goin’ Round Takin’ Names แนวเพลง Gospel Song (หรือ Spiritual Song) กล่าวถึงบุคคลทำการ ‘takin’ names’ ซึ่งอ้างอิงถึงคัมภีร์ไบเบิ้ล John 1:6-8 และ 1:19-28
ฉบับในหนังขับร้องโดย Jessye Norman (1945-2019) ระดับเสียงโซปราโน เจ้าของรางวัล Grammy Award จำนวนห้าสาขา รวมถึง Grammy Lifetime Achievement Award, น้ำเสียงอันโหยหวนของเธอ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสั่นสะท้านทรวงใน แม้ยังไม่เข้าใจว่าบังเกิดเหตุการณ์อะไร แต่ก็พอคาดเดาเกี่ยวกับการสูญเสีย ความตาย
There’s a man goin’ ’round takin’ names
There’s a man goin’ ’round takin’ names
He taking my father’s name
And he left my heart in vain
There’s a man goin’ ’round takin’ names
ความหลากหลายของบทเพลง ยังรวมถึงการนำเอาเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง Limelight (1952) ของ Charlie Chaplin มาเป็นเสียงเป่าฮาร์โมนิก้า(โดยบุตรชายคนเล็ก Tony Davies) ผมบังเอิญพบเจอคลิปนี้ที่มีลีลาใกล้เคียงกับหนังมากๆ ฟังแล้วรู้สึกคร่ำครวญ โหยหา ครุ่นคิดถึงบิดา
บทเพลงที่หลายคนรับฟังแล้วอาจถึงขั้นร่ำไห้ แต่ผมกลับรู้สึกท้อแท้ละเหี่ยใจ Taking a Chance on Love ทนอยู่กับคนพรรค์นี้อยู่ทำไม? เนื้อคำร้องจะมีความสอดคล้องภาพเหตุการณ์ “Here I slide again” พบเห็นมารดากำลังเช็ดกระจกหน้าต่าง จากนั้นตัดไปภาพถูกบิดาทุบตี กระทำร้ายร่างกาย “I see a rainbow blending now’ เต็มไปด้วยรอยฟกช้ำดำขาว “We’ll have a happy ending now” ยินยอมเจ็บปวดเพื่อความรัก มันคุ้มค่ากันแล้วหรือ?
Taking a Chance on Love ประพันธ์โดย Vernon Duke, คำร้องโดย John La Touche & Ted Fetter, ต้นฉบับประกอบละครเพลง Broadway เรื่อง Cabin in the Sky (1940) กลายเป็นภาพยนตร์ Cabin in the Sky (1943), โด่งดังจากการคัฟเวอร์โดย Benny Goodman, Frank Sinatra, Tony Bennett, ส่วนฉบับที่ใช้ในหนังขับร้องโดย Ella Fitzgerald
Here I go again
I hear those trumpets blow again
All aglow again
Taking a chance on loveHere I slide again
About to take that ride again
Starry eyed again
Taking a chance on loveI thought that cards were a frame-up
I never would try
But now I’m taking the game up
And the ace of hearts is highThings are mending now
I see a rainbow blending now
We’ll have a happy ending now
Taking a chance on love(ในหนังจะได้ยินแค่สี่ท่อนแรกเท่านั้นนะครับ)
Here I come again
I’m gonna make things hum again
Acting dumb again
Taking a chance on loveHere I stand again
About to beat the band again
Feeling grand again
Taking a chance on loveI walk around with a horseshoe
In clover I lie
And brother rabbit of course you
Better kiss your foot good-byeThings are mending now
I see a rainbow blending now
We’ll have a happy ending now
Taking a chance, taking a chance
Taking a chance on love
ระหว่างที่พี่สาว Maisie Davies กำลังคลอดบุตรนั้น (เริ่มต้นครึ่งหลังของหนัง) จะมีการซ้อนภาพสายน้ำพริ้วไหว สะท้อนแสงระยิบระยับ พร้อมบทเพลงชื่อว่า A Hymn to the Virgin ประพันธ์โดย Benjamin Britten หรือ Baron Britten (1914-76) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ มอบสัมผัสถึงแสงสว่าง แห่งการเริ่มต้น แบ๊บติสต์ชีวิตใหม่
Of one that is so fair and bright
Velut maris stella
Brighter than the day is light
Parens et puella
I cry to thee, thou see to me
Lady, pray thy Son for me
Tam pia
That I may come to thee
Maria!All this world was forlorn
Eva peccatrice
Till our Lord was y-born
De te genetrice
With ave it went away
Darkest night, and comes the day
Salutis
The well springeth out of thee
Virtutis.Lady, flow’r of everything
Rosa sine spina
Thou bare Jesu, Heaven’s King
Gratia divina
Of all thou bear’st the prize
Lady, queen of paradise
Electa
Maid mild, mother
Es Effecta.
ผมละนึกว่าฉากฉายหนัง จะนำบทเพลง Soundtrack จากโปสเตอร์ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องที่ขึ้นปรากฎ
- Guys and Dolls (1955) กำกับโดย Joseph L. Mankiewicz, นำแสดงโดย Marlon Brando, Jean Simmons, Frank Sinatra, Vivian Blaine
- Love Is a Many-Splendored Thing (1955) กำกับโดย Henry King, นำแสดงโดย William Holden และ Jennifer Jones
แต่กลับกลายเป็นว่าเลือกใช้บทเพลง The Isle of Innisfree (1950) แต่งโดย Dick Farrelly ซึ่งถูกนำมาประกอบภาพยนตร์ The Quiet Man (1952) มอบสัมผัสโหยหา หวนรำลึก สำนึกรักบ้านเกิด แต่ในบริบทของหนังน่าจะสื่อถึงโรงภาพยนตร์ คือสถานที่ที่ทำให้ผกก. Davies รู้สึกผ่อนคลาย เบิกบานหฤทัย ราวกับชีวิตได้รับการปลดปล่อย
ทิ้งท้ายกับบทเพลง My Thanks to You (1959) ต้นฉบับแต่งโดย Noel Gay & Norman Newell, ดังขึ้นระหว่างงานแต่งงานของบุตรชาย ขับร้องโดยมารดา Nell Davies (รับบทโดย Freda Dowie) เพื่อเป็นการกล่าวขอบคุณทุกสิ่งอย่างพานผ่านเข้ามาในชีวิต
ศิลปินคนแรกขับร้องเพลงนี้คือ Connie Francis แต่เนื้อคำร้องสองย่อหน้าแรกจะต่างออกไป ผมเลยนำฉบับแก้ไขของ Des O’Connor ซึ่งตรงกับที่ได้ยินตัวละครขับร้องในหนัง
For all you mean to me
My thanks to you
For every memory
My thanks to youMy thanks for everything
We loved to share
For all the joy you bring
When you are thereThese foolish words of mine could never say
How slow the hands of time when you’re away
As years go rolling by my whole life through
I give my love and all my thanks to you
ฟ้าคำราม แม้อยู่ห่างไกลหลายสิบ-ร้อยกิโลเมตร กลับยังสามารถได้ยินเสียง ทำให้หลายคนออกอาการสะดีดสะดิ้ง ตื่นตกอกตกใจ หวาดกลัวการถูกฟ้าฝ่า ฉันท์ใดฉันท์นั้น ‘Distant Voice’ นำเสนอการจากไปของบิดา แต่อิทธิพล ผลการกระทำ ยังคงฝังลึกความทรงจำ โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรง กระทำร้ายร่างกาย รอยฟกช้ำดำขาวไม่นานเดี๋ยวก็หาย แต่บาดแผลภายในจิตใจ จักคงติดตัวลูกๆหลานๆ ‘Still Lives’ ตราบยังมีชีวิต จวบจนวันตาย
แซว: เมื่อได้ยินเสียงฟ้าคำราม ทำให้ผมนึกถึงภาพยนตร์อินเดีย Distant Thunder (1973) ของผู้กำกับ Satyajit Ray ขึ้นมาโดยพลัน … ไม่ได้เกี่ยวเนื่องอะไรกันหรอกนะ
The past is not just the past; it’s a living thing that has a great influence on our lives.
Terence Davies
“ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” คือสำนวนสำหรับอธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ อิทธิพลจากการใช้ความรุนแรงของบิดา สามารถสืบทอดส่งต่อมาถึงบรรดาสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่มารดามีพฤติกรรมเก็บกด อึดอัดอั้น บางครั้งก็ตบหน้า มองด้วยแววตาตำหนิต่อว่าลูกๆ สำหรับเด็กๆทั้งสามเมื่อเติบใหญ่ ต่างมีนิสัยดื้อรั้น ดึงดัน เอาแต่ใจ หงุดหงิดหัวเสียง่าย โดยเฉพาะน้องชายคนเล็ก เวลามึนเมาก็ชอบทำสิ่งบ้าๆบอๆ ชกกระจก กระโดดตึก เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (ทรงอย่างแบดไม่ต่างจากบิดา)
การจะรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าเราควรมองผ่านเลนส์ชนชั้นทำงาน (Working Class) อย่าเอาโลกทัศน์ชนชั้นกลาง (Middle Class) มาตัดสินพฤติกรรม/การกระทำ ความรุนแรงไม่ใช่สิ่งถูกต้องก็จริง แต่มันคือส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตพวกเขา ต่อให้เจ็บปวดทางกายสักแค่ไหน ความรัก ครอบครัว ศรัทธาต่อพระเจ้า ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
เพราะถ้าเรามองหนังในมุมชนชั้นกลาง ก็อาจเต็มไปด้วยอคติ ไม่เข้าใจ (บ้างอาจเกิดความรังเกียจเหยียดหยามชนชั้นทำงาน) ทำไมมารดาถึงอดกลั้นฝืนทน ยินยอมถูกกระทำร้ายร่างกาย-จิตใจ ไม่รู้จักลุกขึ้นมาโต้ตอบเอาคืน เลิกราหย่าร้าง ฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล
I don’t have messages in my films, I don’t set out to make a point. I want to tell the story of these people’s lives, and if a point emerges, so be it.
เอาจริงๆหนังไม่ได้ต้องการให้ผู้ชมเกิดความตระหนักถึงอะไรใดๆ เพียงนำเสนอสิ่งที่อยู่ในความทรงจำผู้กำกับ Davis ลักษณะเหมือนกระเบื้องโมเสก ร้อยเรียงเหตุการณ์สำคัญๆ (ที่ยังคงจดจำ) พานผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก หลายสิ่งอย่างก่อร่างสร้างให้กลายเป็นตัวเราในปัจจุบัน รวมถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เป็นทั้งอัตชีวประวัติ และบันทึกประวัติศาสตร์ ช่วงเวลา สถานที่ ด้วยลักษณะกวีนิพนธ์ เก็บฝังไว้ใน ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นเชยชม
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes ในส่วนของ Directors’ Fortnight สามารถคว้ารางวัลนักวิจารณ์ FIPRESCI Prizes ถึงอย่างนั้นด้วยทุนสร้าง £750,000 ปอนด์ ทำเงินในอังกฤษได้เพียง £480,000 ปอนด์ แทบไม่มีโอกาสทำกำไร
กาลเวลาทำให้ Distant Voices, Still Lives (1988) ได้รับการโหวตติดอันดับ “Greatest Movie of All-Time” จากหลายๆสำนัก ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษยอดเยี่ยมที่สุด
- BFI: Top 100 British films (1999) ติดอันดับ 82
- TIMEOUT: The 100 Best British Films (2017) ติดอันดับ 3
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 ติดอันดับ 154 (ร่วม)
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 ติดอันดับ 243 (ร่วม)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย British Film Institute (BFI) คุณภาพ 4K ตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Terence Davies ในโอกาสครอบรอบ 30 ปี เสร็จสิ้นเมื่อ ค.ศ. 2018 สามารถหาซื้อ Bluray ของค่าย Arrow และ BFI (หรือรับชมออนไลน์ได้ทาง BFI Player)
แม้หนังจะมีความงดงามวิจิตรศิลป์ โดดเด่นด้วยสไตล์ลายเซ็นต์เฉพาะตัว ถือว่าทรงคุณค่าในศาสตร์ศิลปะ แต่ส่วนตัวกลับไม่ได้ชื่นชอบสักเท่าไหร่ เพราะเรื่องราวไม่ได้มีเนื้อหาสาระอะไร เพียงกระเบื้องโมเสกความทรงจำ อัตชีวประวัติผู้กำกับ Davies ซึ่งมีลักษณะ ‘High Art’ เท่านั้นเอง
ผมมองพยายามมองหาสาสน์สาระของหนัง อย่างการใช้ความรุนแรงของบิดาที่ส่งอิทธิพลต่อลูกหลาน แต่มันก็ไม่ได้สร้างความตระหนักอะไรแก่ผู้ชมเกิด เพียงสะท้อนวิถีชีวิต/ครอบครัวชนชั้นทำงาน (Working Class) ลูกๆและมารดายังคงคร่ำครวญโหยหา(ถึงบิดาผู้ล่วงลับ) แสร้งทำเป็นว่าเหตุการณ์เลวร้ายในอดีตไม่เคยบังเกิดขึ้น นี่เหมือนเป็นการ ‘romanticize’ ความรุนแรงให้เป็นเรื่องปกติสามัญ
ผู้ชมควรต้องสร้างจิตสามัญสำนึกให้กับตนเอง ไม่ให้ยินยอมรับ หรือมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องปกติสามัญอย่างเด็ดขาด เพราะอิทธิพลของมันจะสืบทอดส่งต่อถึงลูกหลาน ทวีความคลุ้มบ้าคลั่ง สังคมทุกวันนี้ยังไม่เสียสติพอหรืออย่างไร
จัดเรต 15+ กับภาพความรุนแรง ทุบตี ทำร้ายร่างกาย คำพูดด่าทอ
Leave a Reply