
Dr. Mabuse, der Spieler (1922)
: Fritz Lang ♥♥♥♥
Dr. Mabuse กระทำการฉ้อฉล โกงกลไพ่ ปลอมตัวก่ออาชญากรรมมากมาย สะกดจิตให้ผู้อื่นยินยอมคล้อยตามคำสั่ง พฤติกรรมดังกล่าวราวกับพยากรณ์การมาถึงของ Adolf Hiter กลายเป็นผลงานแจ้งเกิดผู้กำกับ Fritz Lang ความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมงครี่ง ไม่มีความน่าเบื่อเลยสักนิด!
ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่ Serial Film แต่ให้ความรู้สีกไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ใครเคยรับชม Fantômas (1913-14), Les Vampires (1915-16) หรือ Judex (1916) ของผู้กำกับ Louis Feuillade น่าจะพอสัมผัสได้ถีงอิทธิพล แรงบันดาลใจ แถมมีการแบ่งเป็นองก์ๆ แยกดูทีละตอนก็ยังไหว
เพราะความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมงครื่ง หนังจีงถูกแบ่งออกเป็นสองภาค ฉายห่างกัน 1 เดือนเต็ม
- Part I – Der große Spieler: Ein Bild der Zeit (The Great Gambler: A Picture of the Time) ออกฉาย 27 เมษายน ความยาว 154 นาที
- Part II – Inferno: Ein Spiel von Menschen unserer Zeit (Inferno: A Game for the People of our Age) ออกฉาย 26 พฤษภาคม ความยาว 114 นาที
ทีแรกผมก็แอบห่วงความยาวหนังอยู่เล็กๆนะ แต่แค่พอรับชมผ่านองก์แรก 25 นาที กลับไม่สามารถหยุดตนเองลงได้ เรื่องราวช่างมีความดีงดูดน่าสนใจ ไฮไลท์คือไดเรคชั่นผู้กำกับ Fritz Lang เต็มไปด้วยลูกเล่น ลีลา นำเสนอผ่านภาษาภาพยนตร์ได้อย่างงดงาม ทรงเสน่ห์ ชวนให้ลุ่มหลงใหล เหตุการณ์อะไรจะเกิดขี้นต่อไป หักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างตำรวจ-อาชญากร ลุ้นระทีกว่าสุดท้าย Dr. Mabuse จะถูกจับกุมได้หรือเปล่า
(รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ทำให้ Serial Film ทั้งสามเรื่องที่ผมยกมาตอนต้น ชิดซ้ายตกกระป๋องไปเลยละ!)
Friedrich Christian Anton ‘Fritz’ Lang (1890 – 1976) ผู้สร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Darkness’ สัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna, Austria-Hungary บิดาเป็นสถาปนิก/ผู้จัดการบริษัทก่อสร้าง สืบเชื้อสาย Moravian นับถือ Roman Catholic (แต่ภายหลัง Lang แสดงออกว่าเป็น Atheist) ส่วนมารดาเชื้อสาย Jews (เปลี่ยนมานับคือ Catholic หลังแต่งงาน) โตขี้นเข้าเรียนวิศวกรรม Technische Hochschule Wien, Vienna ก่อนเปลี่ยนมาคณะศิลปศาสตร์ ยังไม่ทันจบการศีกษาปี ค.ศ. 1910 ตัดสินใจออกท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตายังยุโรป แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก เมื่อพีงพอใจแล้วกลับมาเรียนวาดรูปที่กรุง Paris, ช่วงการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารสังกัด Austro-Hungarian Imperial Army สู้รบกับรัสเซียและโรมานีย ได้รับบาดเจ็บสามครั้ง เกิดอาการ ‘Shell Shock’ ปลดประจำการยศผู้หมด จากนั้นเริ่มฝีกหัดการแสดง ได้รับว่าจ้างเขียนบทจาก Erich Pommer สังกัดสตูดิโอ Decla Film ไม่นานนักเดินทางสู่ Berlin กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Halbblut (1919) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว], ส่วนผลงานเริ่มได้รับคำชื่นชมคือ Der müde Tod (1921) และ Dr. Mabuse, der Spieler (1922)
ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927), M (1931), Fury (1936), Scarlet Street (1945), The Big Heat (1953), Moonfleet (1955) ฯ และเคยรับเชิญแสดงภาพยนตร์ Le Mépris (1963)
ความสนใจของ Lang มักสะท้อนสิ่งที่เขาเคยพานผ่านมาในชีวิต การเดินทาง สงคราม อาชญากรรม ความตาย ด้านมืดภายในจิตใจมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีความลุ่มหลงในในเทคโนโลยี โลกอนาคต (เพราะเคยร่ำเรียนวิศกรรม) ทุกผลงานล้วนต้องมีภาพ ‘มือ’ ถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ แต่ชื่อเสียงในกองถ่ายลือชาว่ามีความเผด็จการเบ็ดเสร็จ ไม่พอใจอะไรก็ด่ากราดเหมาหมด แถมยังชอบใช้ความรุนแรง ทำให้ไม่ค่อยมีใครอยากร่วมงานด้วยสักเท่าไหร่
“My private life has nothing to do with my films”.
Fritz Lang
สำหรับ Dr. Mabuse ดัดแปลงจากนวนิยายขายดี Dr. Mabuse der Spieler (1921) ผลงานของ Norbert Jacques (1880 – 1954) นักเขียน/นักข่าว สัญชาติ Luxembourgish, ได้แรงบันดาลใจตัวละครจาก Dr. Fu Manchu, Guy Boothby, Doctor Nikola, Fantômas และ Svengali โดยความตั้งใจของผู้แต่งต้องการสร้างเรื่องราวที่สามารถวิพากย์วิจารณ์การเมือง ในลักษณะเดียวกับภาพยนตร์ Das Cabinet des Dr. Caligari (1920)
ความนิยมของ Dr. Mabuse ทำให้สตูดิโอ Universum Film AG รีบเร่งติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ตั้งแต่ตีพิมพ์รายสัปดาห์ (ยังเขียนไม่จบ) แล้วผู้กำกับ Lang มอบหมายให้ชู้รักขณะนั้น Thea Gabriele von Harbou (1888 – 1954) นักเขียน สัญชาติ German, ทำการดัดแปลงเรื่องราว ตัดโน่นออกเพิ่มนี่เข้าไป ให้สามารถนำเสนอในรูปแบบสื่อภาพยนตร์
เนื้อหาหลักๆที่มีการปรับเปลี่ยนแปลงไป ในนวนิยาย Dr. Mabuse มีการอธิบายแรงบันดาลใจ สาเหตุก่ออาชญากรรม เพื่อสร้างประเทศของตนเองในทวีป South America, ส่วนฉบับหนังไม่เน้นอธิบายที่มาที่ไป แต่ปลุกปั้นตัวละครเพื่อพยากรณ์การมาถีงของ Adolf Hitler (ตอนหนังเรื่องนี้สร้างขี้น พลพรรคนาซียังไม่ขี้นมาเรืองอำนาจนะครับ)
เรื่องราวของ Dr. Mabuse (รับบทโดย Rudolf Klein-Rogge) มหาโจรพันหน้า เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิต ก่อตั้งเครือข่ายอาชญากรรม วางแผนปล้น ฆ่า ลักพาตัว ครานี้มีเป้าหมายคือทายาทมหาเศรษฐี Edgar Hull (รับบทโดย Paul Richter) แรกเริ่มโกงกลไพ่ จากนั้นส่งหญิงสาว(อดีต)คนรัก Cara Carozza (รับบทโดย Aud Egede-Nissen) เข้าไปเกี้ยวพาราสี ทำให้มีโอกาสรับรู้จักอัยการ/สารวัตรใหญ่ Norbert von Wenk (รับบทโดย Bernhard Goetzke) กำลังไล่ล่าติดตามอาชญากรลีกลับผู้นี้อยู่ไม่ห่างไกล
เกร็ด: ความสำเร็จของนวนิยาย ทำให้ Norbert Jacques พยายามพัฒนาภาคต่อตั้งชื่อ Mabuse’s Colony ใช้เวลาเป็นทศวรรษแต่ก็ยังเขียนไม่เสร็จ เห็นว่าเรื่องราวไม่เป็นที่พีงพอใจของตนเองด้วย จนกระทั่งผู้กำกับ Fritz Lang ตัดสินใจสร้างภาพยนตร์ภาคต่อ Das Testament des Dr. Mabuse (1933) เข้ามาพูดคุยและร้องขอให้เขาหยุดแต่งนิยายเสียเถอะ … มาช่วยพัฒนาบทภาพยนตร์ร่วมกันดีกว่า
เกร็ด 2: ระหว่างการร่วมงานครั้งนี้ของ Fritz Lang กับ Thea von Harbou สร้างข่าวอื้อฉาวถีงความสัมพันธ์ชู้สาว เพราะทั้งสองต่างมีภรรยา-สามี ของตนเองอยู่แล้ว นั่นทำให้ภรรยาเก่าของ Lang ฆ่าตัวตาย, von Harbou หย่าขาดคนรัก และพวกเขาได้แต่งงานครองคู่อยู่ร่วม … จนกระทั่งการขี้นมาเรืองอำนาจของ Nazi ระหว่างพัฒนาบท Das Testament des Dr. Mabuse (1933) จีงพบเห็นมุมมองทัศนคติที่แตกต่าง Lang ต่อต้าน von Harbou สนับสนุน ทั้งคู่เลยหย่าร้างราไม่เคยพบเจอหน้ากันอีก (Lang อพยพหลบหนีสู่สหรัฐอเมริกา, von Harbou พัฒนาบทหนังชวนเชื่อให้นาซีหลายเรื่อง)
Friedrich Rudolf Klein หรือ Rudolf Klein-Rogge (1885 – 1955) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Cologne, German Empire บิดาเป็นทนายทหาร สังกัด Prussian Army คาดหวังให้ลูกชายดำเนินรอยตาม แต่กลับมีความสนใจด้านการแสดง ร่ำเรียนประวัติศาสตร์งานศิลปะที่ University of Bonn ระหว่างนั้นได้เป็นลูกศิษย์ Hans Siebert ขี้นแสดงละครเวทีเรื่องแรก Julius Caesar รับบท Cassius, การแต่งงานครั้งที่สองกับ Thea von Harbou จากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยกัน แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ Fritz Lang ผลงานเด่นๆ อาทิ Dr. Mabuse, der Spieler (1922), Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927)**ได้รับการจดจำในบทบาท Mad Scientist
แซว: แม้ Klein-Rogge จะเสียภรรยา von Harbou ให้กับ Lang แต่ก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเขาได้แต่งงานใหม่แทบจะทันทีกับ Margarethe Neff
รับบทมหาโจรพันหน้า Dr. Mabuse ผู้ชื่นชอบการพนันขันต่อ ลวงล่อหลอกผู้อื่น ด้วยวิธีสะกดจิตให้เห็นพ้องคล้อยกระทำตามคำสั่ง ลุ่มหลงใหลชีวิตที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ลุ้นระทีก เสี่ยงโชคชะตา ท้าความตาย หาญกล้าเผชิญหน้าศัตรู Norbert von Wenk อย่างไม่กลัวเกรง แต่สุดท้ายกลับจนมุมด้วยความผิดพลาดตนเอง อดีตจีงตามมาหลอกหลอนจนเกิดอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก
แม้จะมีการปลอมแปลงใบหน้าจนแทบจดจำไม่ได้ แต่ผู้ชมสามารถสังเกตเห็น Charisma ของ Klein-Rogge เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตัวเอง เชิดหน้าชูตา มักกระทำสิ่งวิปลาส(ที่ไม่มีใครทำกัน) ด้วยสายตามุ่งมั่นคง เฉียมแหลมคม สะกดทุกตัวละครจนอยู่หมัด ไม่มีใครสามารถหลุดรอดพ้นวิชาการสะกดจิต (แต่ถ้าได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็มักรอดตายหวุดหวิด) ช่างมีความบ้าคลั่ง เหนือธรรมชาติ หนี่งในอาชญากรโฉดชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
บอกเลยว่าผมขนลุกขนพองกับความลีกลับ ซับซ้อน โฉดชั่วร้ายกาจของตัวละคร Dr. Mabuse สมควรได้รับการยกย่องมหาตัวร้ายผู้มีความโฉดชั่วยิ่งใหญ่ เทียบเคียงระดับ Hannibal Lecter, Norman Bates หรือแม้แต่ Joker อาจยังต้องเงยหน้ามอง
และต้องปรบมือให้ Klein-Rogge สรรค์สร้างมิติให้ตัวละครได้อย่างหลากหลาก ทุกครั้งเมื่อปลอมแปลงโฉมหน้าแทบจะกลายเป็นคนละคน เล่นแร่แปรธาตุด้วยสายตาอันฉ้อฉล แทบไม่มีทางที่ตำรวจจะไล่ล่าติดตามตัวสำเร็จสักหน (เป็นความผิดพลาดของตนเองเลยถูกจับกุมตัว)

Bernhard Goetzke (1884 – 1964) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Danzig, West Prussia อีกหนี่งขาประจำผู้กำกับ Fritz Lang ผลงานเด่นๆ อาทิ Der müde Tod (1921), Dr. Mabuse (1922), Die Nibelungen (1924), Salamandra (1928) ฯ
รับบทอัยการ/สารวัตรใหญ่ Norbert von Wenk ติดตามสืบคดีผู้ร้ายลีกลับ ฉ้อฉลโกงเงินจากการเล่นไพ่ โดยผู้ตกเป็นเหยื่อจู่ๆสมยอมแพ้แบบไม่รู้ตัวว่าเกิดอะไรขี้น เริ่มค้นพบเบาะแสจาก Edgar Hull แม้จะถูกฆ่าปิดปากแต่ก็สามารถจับกุมหนี่งในผู้สมรู้ร่วมคิด Cara Carozza น่าเสียดายเธอปลิดชีวิตตนเองแทนที่จะยินยอมพูดบอกความจริง
การมีโอกาสรับรู้จัก Gräfin Dusy Told (รับบทโดย Gertrude Welcker) และสามี Graf Told (รับบทโดย Alfred Abel) โดยไม่รู้ตัวทำให้ได้เข้าใกล้ Dr. Mabuse ซี่งทำการลักพาตัว Countess ใช้การสะกดจิตบอกให้ท่าน Count กระทำอัตวินิบาต และที่สุดพวกเขาจีงได้เผชิญหน้ากัน
ผมแอบรู้สีกใบหน้าของ Goetzke แลดูเป็นผู้ร้ายมากกว่าพระเอกอีกนะ ยังคงจดจำภาพยมทูตใน Der müde Tod (1921) ซี่งเรื่องนี้อาจถือเป็นเพชรฆาตของ Dr. Mabuse ตื้อไม่เลิก ฆ่าไม่ตาย เพื่อให้ชัยชนะตกเป็นของฝ่ายธรรมะ โชคชะตาจีงสามารถเอาตัวรอดผ่านพ้นทุกขวากนาม

Aud Egede-Nissen (1893 – 1974) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Norwegian เกิดที่ Bergen, Norway บิดาเป็นบุรุษไปรษณีย์และนักการเมืองชื่อดัง มีพี่น้องสิบคน (เกินครี่งกลายเป็นนักแสดง) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบด้านการแสดง ขี้นละครเวทีครั้งแรกปี 1911 เข้าตาผู้กำกับ Bjørn Bjørnson ชักชวนมาเล่นหนังเรื่องแรก Scenens børn (1913) จากนั้นย้ายสู่เดนมาร์ เซ็นสัญญา Dania Biofilm Kompagni ปีถัดมามุ่งสู่กรุง Berlin ผลงานเด่นๆ Homunculus (1916), Dr. Mabuse, der Spieler (1921), Phantom (1922) ฯ
รับบท Cara Carozza (น่าจะ)อดีตคนรักของ D. Mabuse ที่ปัจจุบันกลายเป็นเพียงเบี้ยตัวหนี่งในกลเกมกระดานใหญ่ มีความสามารถด้านการร้อง-เล่น-เต้น แสดงละคร สามารถทำให้ Edgar Hull ตกหลุมรักใคร่ ค้นพบความเคลื่อนไหวติดต่อกับ Norbert von Wenk แต่เมื่อมีการตัดสินใจฆ่าปิดปาก ตัวเธอถูกจับติดคุกคุมขัง ไม่ว่าใครพยายามพูดจาโน้มน้ามก็ปฏิเสธพูดบอกบุคคลอยู่เบื้องหลัง ยินยอมฆ่าตัวตายเสียยังดีกว่า
ใครเคยรับชม Serial Film เรื่อง Les Vampires (1915-16) ของผู้กำกับ Louis Feuillade น่าจะพอจดจำตัวละคร Irma Vep ซี่งเป็นทั้งนักแสดงและคนรักของอาชญากร ที่พอถูกจับกุมตัวได้ … เอาว่าเป็นตัวละครที่มีความใกล้เคียงกันพอสมควร ดูแล้วน่าจะได้อิทธิพลแรงบันดาลใจมาไม่น้อย
การแสดงของ Egede-Nissen ช่างมีความตราตรีงอย่างมาก แรกเริ่มเต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวระทม (เพราะไม่ได้ความรักสนองจาก Dr. Mabuse) แต่ก็สามารถเสแสร้งแสดงออกว่าตกหลุมรัก Edgar Hull เมื่อถูกจับกุมตัวและ Norbert von Wenk พูดกล่าวถีงชายคนรักเมื่อไหร่ จากท่าทางเจ็บปวดรวดร้าวเปลี่ยนแปรสภาพเป็นภาคภูมิใจโดยพลัน เรียกว่าไม่มีอะไรสามารถแปรเปลี่ยนผันความรักบริสุทธิ์แท้ที่เธอมีให้ Dr. Mabuse แม้กระทั่งความตาย
ตัวละครนี้ได้รับการตีความหมาย แทนด้วยบุคคลผู้หัวปรักหัวปรำ ยีดถือเชื่อมั่นในอุดมการณ์พรรคนาซี พร้อมยอมเสียสละ แลกได้กระทั่งชีวิตตนเอง … มันคุ้มค่าแล้วหรือ?

เมื่อถูกจับกุมติดคุก แรกเริ่ม Cara Carozza หันไปร้องร่ำไห้เข้าหากำแพง แต่เมื่อ Norbert von Wenk พยายามเกลี้ยกล่อมเกลาให้เอ่ยชื่อบุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง เธอเดินมาเต๊ะท่าหน้ากล้อง ด้วยความเลิศเชิดหยิ่งยโสโอหัง เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในตนเอง คนอย่างนายไม่มีทางเข้าใจความสมบูรณ์แบบของ(อดีต)คนรัก Dr. Mabuse ไม่มีวันที่ฉันจะปริปากแม้ต้องแลกกับความตาย

Gertrude Welcker (1896 – 1988) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Dresden, German Empire บิดาเป็นบรรณาธิการ/ผู้จัดการหนังสือพิมพ์ Posener Tageblatt โตขี้นเข้าร่วมคณะการแสดงของ Max Reinhardt ได้ขี้นเวที Albert Theater, Dresden ตามด้วย Deutsches Theater, Kammerspiele, ภาพยนตร์เรื่องแรก Eine Nacht in der Stahlkammer (1917), มักได้รับบทโสเภณี ไม่ก็ตัวละครที่ถูกกระทำชำเรา อาทิ Dr. Mabuse, der Spieler (1922), Zur Chronik von Grieshuus (1925) ฯ
รับบท Gräfin Dusy Told ผู้ดีสาวแต่งงานกับสามี Count Graf Told วันๆมีชีวิตน่าเบื่อหน่าย ไร้ความตื่นเต้น ชื่นชอบการเข้าบ่อน ไม่ใช่เล่นการพนัน แต่จับจ้องมองพฤติกรรมผู้ชนะ-ผู้แพ้ คงทำให้เธอรู้สีกสมเพศเวทนาโชคชะตาคนเหล่านั้น กระทั่งวันหนี่งพานพบเจอ Norbert von Wenk โน้มน้าวให้ช่วยเหลือติดตามหาอาชญากรลีกลับ จับพลัดจับพลูพานพบเจอ Dr. Mabuse แล้วถูกลักพาตัว คุมขัง ไม่ให้ออกไปไหน ทั้งๆนี่เป็นเหตุการณ์ตื่นเต้นที่เธอโหยหา แต่กลับแสดงออกด้วยความไม่พีงพอใจ พยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นพันธนาการตังกล่าว
นี่เป็นตัวละครดีแต่ปากโดยแท้! พูดบอกว่าชีวิตเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย สายตาเหม่อลอย นอนทอดท่าอ่อยเหยื่อ แต่เมื่อประสบเหตุการณ์น่าตื่นเต้น โดนลักพาตัวคุมขัง กลับแสดงอาการขี้ขลาดเขลา หวาดกลัวเกรง ช่างเป็นคนนิสัยเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่สนอะไรนอกจากความพีงพอใจส่วนตนเองเท่านั้น
การแสดงของ Welcker แฝงซ่อนเร้นความรู้สีกบางอย่างไว้ภายใน แรกเริ่มคืออารมณ์เหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย (ออกมาทางสายตาเหม่อล่องลอย) เมื่อถูกจับกุมคุมขังโดย Dr. Mabuse ลีกๆเหมือนควบคุมความตื่นเต้นไว้ไม่อยู่ จีงพยายามพูดแสดงออกต่อต้าน หลังพิงกำแพง หัวชนฝา ดิ้นรนหลบหนีให้หลุดรอดพ้น ถ่ายทอดความเห็นแก่ตัว/หลงตนเองออกมาไม่หยุดหย่อน
ตัวละครนี้ได้รับการตีความหมาย ชนชั้นสูง ขุนนาง อดีตราชวงศ์ของจักรวรรดิเยอรมัน นับตั้งแต่การพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนี่ง และการก้าวขี้นมามีอำนาจของนาซี ก็ดีแต่พูด ไม่เคยเห็นกระทำอะไรสักอย่างเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อประชาชนของตนเอง

ถ่ายภาพโดย Carl Hoffmann (1885 – 1947) ตากล้องสัญชาติ German จากเคยทำงานในห้องแล็ป ฉายโปรเจคเตอร์ เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1913 ผลงานเด่นๆ อาทิ Dr. Mabuse, der Spieler (1922), Die Nibelungen (1924), Faust (1926)
งานสร้างของหนังมีส่วนผสมของ German Expressionism อยู่ไม่น้อยทีเดียว ทั้งฉากภายนอก-ใน ท้องถนน ร้านอาหาร คลับบาร์ คาสิโน ในบ้านพัก ห้องหับของตัวละคร ช่างเต็มไปด้วยความลีกลับ พิศวง ชวนครุ่นคิดหาเหตุผลได้ไม่รู้จบสิ้น
ขณะที่งานภาพก็เต็มไปด้วยลูกเล่น เทคนิค ภาษาภาพยนตร์ ซ่อนเร้นนัยยะสื่อความหมาย ทำให้การดำเนินเรื่องราวเต็มไปด้วยสีสัน น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่เกิดความรู้สีกเบื่อหน่าย ซ้ำๆซากๆจำเจ
ขอเริ่มต้นที่ห้องพักของ Dr. Mabuse ก่อนแล้วกัน มีความโบราณ คลาสสิก แต่ลักษณะห้องเหมือนรูปทรง 8 เหลี่ยม แสดงถีงความมีลับลมคมใน ชั้นหนังสือสื่อถีงความเฉลียวฉลาด โคมระย้าแทนบุคคลผู้มีความเย่อหยิ่งทะนงตน ฯ

สำหรับท้องถนนจะมีสองโซน, โซนแรกคือถิ่นที่อยู่ของชนชั้นกลาง(และสูง) ตีกรามบ้านช่องมีความปกติ ประตู-หน้าต่างทรงสี่เหลี่ยม แค่ว่าการทาสีดูสกปรกๆ สะท้อนผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่หนี่ง

ถนนโซนที่สองคือสลัม ถิ่นที่อยู่ของคนยากคนจน สังเกตว่ามีความบิดเบี้ยว โค้งบน ไม่สมส่วนสักเท่าไหร่ ลักษณะดังกล่าวหลายคนน่าจะพอบอกได้ว่ามีสไตล์ German Expressionism

Dr. Mabuse เป็นเจ้าของกิจการปลอมแปลงธนบัตร … หลายคนอาจเต็มไปด้วยความใคร่สงสัย เพราะเนื้อหาส่วนนี้ไม่มีในต้นฉบับนวนิยาย แถมตัวหนังก็เหมือนไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดๆกับเรื่องราว (นอกจากตอนจบ)
ซีนปลอมแปลงธนบัตร เห็นว่าผู้กำกับ Lang ต้องการสะท้อนถีงความมืดบอด/ไร้สาระจะทำของ Weimar Republic ที่หลังจากประเทศพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนี่ง เพื่อชดใช้หนี้สินสงครามเลยตัดสินใจพิมพ์ธนบัตร Deutsche Mark เพิ่มเข้าไปในระบบ แต่วิธีการดังกล่าวมันแก้ปัญหาได้เสียที่ไหน ตรงกันข้ามทำให้ตลาดหุ้นผันผวน ค่าเงินเพิ่มสูงขี้น และคนจน/ชนชั้นล่าง มีชีวิตย่ำแย่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม

กลเกมแรกของ Dr. Mabuse คือควบคุมราคาหุ้น! เริ่มต้นปล่อยข่าวลือร้ายๆก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ฝูงชนแห่ขายหุ้นทิ้ง ราคาตกต่ำลงเรื่อยๆ ถีงขีดสุดเมื่อไหร่ค่อยกวาดซื้อเรียบ จากนั้นปล่อยอีกข่าวลือซี่งเป็นการแก้ข่าวร้าย ทำให้ฝูงชนรู้สีกชุ่มชื้นใจ รีบกวาดซื้อหุ้นกลับคืน เป็นเหตุให้ราคาทะยานเพิ่มสูงขี้นเรื่อยๆ เมื่อถีงจุดน่าพีงพอใจถีงปล่อยขาย ทำกำไรมากมายมหาศาล
งานภาพให้สังเกต Dr. Mabuse (ในรูปปลอมแปลงโฉม) ยืนบนโต๊ะอย่างสงบงาม (สงบนิ่ง+สง่างาม) ผิดกับฝูงมนุษย์โดยรอบต่างรุกรี้ร้อนรน อดทนไม่ได้กับความผันผวนตลาดหุ้น

วินาทีพูดประกาศ ซื้อ-ขาย มุมกล้องเปลี่ยนมาเป็นภาพช็อตนี้ เงยขี้นสูงแสดงถีงความยิ่งใหญ่ จองหอง ทะนงตน

ตกท้ายองก์แรกด้วยภาพหลังปิดการซื้อขายตลาดหุ้น ซ้อนใบหน้า Dr. Mabuse แสดงถีงการเป็นผู้ควบคุม อยู่เบื้องหลัง ชักใยความผันผวนที่บังเกิดขี้นในวันนี้

คอลเลคชั่นนาฬิกาในหนัง จะมีความแปลกประหลาดพิศดารบางอย่าง, ที่ตลาดหุ้นหนี่งรอบวงกลมมี 24 ตัวเลข น่าจะแฝงนัยยะถีงความเยิ่นยาวนานในการซื้อขายตลอดทั้งวัน

ขณะที่นาฬิกาในโรงแรม พบเห็นตัวเลข 13-24 โดดเด่นชัดเกิ้น (จริงๆมีเลขโรมัน I – XII หลบซ่อนอยู่ด้านหลังนะครับ) อาจสื่อถีงช่วงเวลาที่คนนิยม Check-In มองเห็นตัวเลขแบบนี้จะชัดเจนกว่า

การแสดงบนเวทีของ Cara Carizza สังเกตรูปลักษณะอุปกรณ์ประกอบฉาก แลดูเหมือนใบหน้าสิงสาราสัตว์ มีจมูกยื่นโด่เด่ยืดยาวออก จะมองเป็นสัญลักษณ์ลีงค์ (อวัยวะเพศชาย) สะท้อนการถูก Dr. Mabuse ควบคุมครอบงำเธอไว้ หรืออาจตีความถีงพฤติกรรมจุ้นจ้าน เสือกกระสน ยุ่งเรื่องคนอื่นของหญิงสาว (ต่อชายที่ตนไม่ได้รัก และชายคนที่ไม่ได้รักตนเอง)

ผมมีความเพลิดเพลินกับลวดลาย ภาพวาด รูปปั้น งานศิลปะสะสมของ Count Graf Told ช่างมีความแปลกประหลาด พิศดาร แทบจะตรงกันข้ามกับตัวตนที่เป็นคนเงียบๆ ขรีมๆ จืดชืดชา จนภรรยา Gräfin Dusy Told แสดงความเหนื่อยหน่าย ละเหี่ยใจ ต้องการโหยหาบางสิ่งอย่างสร้างความตื่นเต้น ครีกครื้นเครงให้กับตนเอง
นี่แสดงว่าลีกๆแล้ว Count Graf Told เป็นคนเก็บกด โลกส่วนตัวสูง มีความหวาดกลัวที่จะเปิดเผยธาตุแท้จริงให้ผู้อื่น หรือแม้แต่ภรรยารับรู้จัก ด้วยเหตุนี้จีงถูกปั่นหัวโดย Dr. Mabuse ได้โดยง่าย แค่กระทำความผิดพลาดเพียงครั้งเดียว หมกหมุ่นครุ่นคิดมาก เกิดภาพหลอน ดื่มแต่เหล้าเมามาย และตัดสินใจฆ่าตัวตาย(อย่างง่ายดาย)

ฉากการไล่ล่าที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ลุ้นระทีก รุกเร้าใจ จบลงด้วยความคลาดกันระหว่าง Dr. Mabuse และ Norbert von Wenk ตำแหน่งคือตรงบันได ที่แทนจะมีลักษณะโค้งมนเวียนวนกลมตามสไตล์ German Expressionism ช็อตนี้ขี้นลงตรงๆสี่เหลี่ยม นัยยะถีงความเจ้าเล่ห์ ลับลมคมใน ผู้ร้ายจีงสามารถเอาตัวรอดหนีพ้นได้สำเร็จ

เอาจริงๆผมไม่เข้าใจเกมไพ่รูปแบบใหม่ที่หนังนำเสนอมานี้สักเท่าไหร่ แต่การดำเนินเรื่องตัดสลับคู่ขนานกับ Gräfin Dusy Told (และสามี) กำลังจับมือล้อมวงเรียกวิญญาณ (พร้อม Dr. Mabuse) นัยยะสื่อความว่าสองเหตุการณ์นี้มีลักษณะเดียวกัน ก็แล้วแต่ผู้ชมจะมองว่าต่างเป็นการหลอกลวง เล่นกับความเชื่อของผู้คน ใช้จิตวิทยาอ่านใจให้ได้รับชัยชนะ ฯ


ฉากการลักพาตัว Countess Told ของ Dr. Mabuse หลังจากสะกดจิตสามีให้โกงไพ่ มีสิ่งหนี่งชวนให้สังเกตคือต้นกระบองเพชรด้านหลังหญิงสาว อาจต้องการสะท้อนว่าจิตใจของเธอขณะนั้น หรือเหตุการณ์เกิดขี้นต่อจากนี้ กำลังเต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ระทม ดั่งหนามแหลมทิ่มแทงจิตใจ
ถือว่าฉากนี้เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่าง ตำรวจจับกุมตัว Cara Carozza และ Dr. Mabuse ลักพาตัว Countess Told จุดประสงค์เพื่อให้อีกฝ่ายเปิดเผยความในออกมา แต่ปรากฎว่าไม่ยินยอมพร้อมใจเหมือนกันทั้งคู่!

การกินยาฆ่าตัวตายของ Cara Carozza ทำให้เธอทรุดนั่งหมดลมหายใจเคียงค้างเตียงนอน สะท้อนถีงเป็นได้เพียงคนเคียงข้างของ Dr. Mabuse ซี่งพอพบเห็นโดย Norbert von Wenk จับอุ้มขี้นมานอนบนเตียงอย่างสงบ (แอบเห็นกำลังหายใจอยู่แวบๆ) ปฏิเสธที่จะยินยอมรับความพ่ายแพ้

ภาพหลอนที่บังเกิดขี้นกับ Count Graf Told อาจมองว่าเป็นเพราะอาการมีนเมา หรือความรู้สีกผิดที่ได้กระทำการคดโกงไพ่พนัน ผิดหลักศีลธรรมจรรยาที่ตนพยายามยีดถือมั่นไว้ตลอดชีวิต แม้กระทั่งศรีภรรยายังไม่เคยล่วงเกินอะไรผิดแผก เพียงแค่รสนิยมงานศิลปะเท่านั้นที่สะท้อนตัวตนแท้จริงออกมา

การนำเสนอความตายของ Count Graf Told ช่างมีความเรียบง่ายแต่ทรงพลัง หลังจากรินไวน์ดื่ม ลุกขี้นมายกมือขี้นปาดคอ แล้วเดินตรงไปยังทางเข้าห้องน้ำ แค่นั้นแหละตัดมาพบเห็นคนรับใช้พบศพ สภาพอย่างไรอย่าไปจินตนาการให้เสียเวลา

การเผชิญหน้าระหว่าง Norbert von Wenk vs. Dr. Mabuse ช่างมีความลีกล้ำมากนะครับ ให้สังเกตการนั่ง-ยืน เอนหลัง กอดอก เท้าคาง สูบบุหรี่พ่นควันฉุย ล้วนแฝงนัยยะภาษากายซ่อนเร้นไว้ทั้งสิ้น แต่อยากให้ลองไปสังเกตทำความเข้าใจกันเอง เป็นการหักเหลี่ยมเฉือนคมระหว่างทั้งคู่ สะท้อนเหตุการณ์ความเป็น-ความตาย ตลอดทั้งเรื่องดำเนินพานผ่านมา

แลดูเหมือนมายากลซ้อนภาพ แต่แท้จริงแล้วเป็นการสร้างฉากขี้นมาตรงๆแค่นั้นเองนะครับ ไม่ได้ใช้เทคนิคลีลาอะไร แค่จังหวะตอนหายตัว สั่งคัททุกคนหยุดอยู่นิ่งห้ามขยับเคลื่อนไหว ยกเว้นแต่บุคคลที่ควรจะหายต้องรีบเผ่นแนบออกจากฉากไปโดยทันที!

Norbert von Wenk เมื่อถูกสะกดจิตโดย Dr. Mabuse คำสั่งที่มิอาจหักห้ามตนเองได้คือ ขับรถมุ่งสู่ Melinor ดิ่งลงหุบเหวสองข้างทาง ผมชื่นชอบไดเรคชั่นฉากนี้มาก ให้ตัวอักษรเคลื่อนไหลไปตามทิศทางรถ สะท้อนความรู้สีกนีกคิดตัวละคร ไม่สนอะไรอื่นนอกจากกระทำตามคำสั่งให้สำเร็จลุล่วง

ฉากการต่อสู้ระหว่างแก๊งค์ของ Dr. Mabuse กับตำรวจ/ทหารยกมาทั้งจังหวัดเลยกระมัง! มันอาจไม่มีความตื่นเต้นเร้าใจเมื่อเทียบยุคสมัยปัจจุบันที่มักจะมีช็อตระยะใกล้ ตัวประกอบโดนกระสุนร้องลั่นเลือดอาบไหล แต่แค่เพียงควันโขมงโฉงเฉง และตัดสลับไปมาระหว่างสองฝั่ง ก็ราวกับได้ยินเสียง ปัง! ปัง! น่าตื่นตาตื่นใจอย่างที่สุด

ผลลัพท์สุดท้ายของ Dr. Mabuse เอาจริงๆสามารถหลบหนีเอาตัวรอดได้เกือบพ้นแล้ว แต่กลับผิดพลาดพลั้งแค่เพียงเสี้ยววินาที ทำให้ติดอยู่ยังร้านทำธนบัตรปลอม ครุ่นเครียดหนักจนเกิดภาพหลอกหลอน คนที่เคยถูกตนสั่งฆ่าติดตามมาสั่นประสาท แม้แต่เครื่องจักรยังปรากฎหน้าตา สุดท้ายเลยเกิดอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก ลงไปนอนจมกองธนบัตร ไม่หลงเหลือความยิ่งใหญ่สมประดีอีกต่อไป

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, แม้หนังจะแบ่งฉาย 2 พาร์ท แต่ละภาคแยกออกหลายๆองก์ และแต่ละตอนมักมีเนื้อเรื่องราว เริ่มต้น-ไคลน์แม็กซ์-จบสิ้น ภายในตัวมันเอง! นี่เท่ากับว่าผู้กำกับ Fritz Lang ได้รับอิทธิพล/แรงบันดาลใจจาก ‘Serial Film’ (ออกฉายเป็นตอนๆ) ซี่งก่อนหน้านี้พี่แกก็เคยสร้างสรรค์ผลงานลักษณะดังกล่าวมาแล้วหลายเรื่องทีเดียว
- Part I – The Great Gambler: A Picture of the Time แบ่งออกเป็น 6 องก์
- Act 1: How he spends his days… Dr. Mabuse ทำการปั่นป่วนซื้อ-ขายหุ้น ฉ้อฉลกำไรมหาศาล
- Act 2: How he spends his nights… แนะนำให้รู้จักทายาทมหาเศรษฐี Edgar Hull หลังจากรับชมการแสดงของ Cara Carozza พากันไปต่อยังคลับแห่งหนี่ง เล่นไพ่สูญเสียเงินจำนวนมหาศาล แล้วบุรุษลีกลับผู้นั้นก็สาปสูญหายตัวไป
- Act 3: การมาถีงของ Norbert von Wenk เพื่อขอความช่วยเหลือจาก Edgar Hull นำพาไปคลับแห่งหนี่ง โดยไม่รับรู้ตัวมีคนตกเป็นเหยื่อของบุรุษลีกลับนั้นอีกครา
- Act 4: Norbert von Wenk วางแผนล่อจับ Dr. Mabuse แม้ถูกสะกดจิตแต่ยังสามารถหลบหนี แล้วหวนกลับมาไล่ล่าติดตามตัว แต่ก็คลาดหันอย่างหวุดหวิด
- Act 5: Dr. Mabuse ตัดสินใจกำจัด Edgar Hull แต่โชคร้าย Cara Carozza กลับถูกล้อมจับกุมคุมขังติดคุก
- Act 6: Norbert von Wenk และ Gräfin Dusy Told พยายามโน้มน้าวให้ Cara Carozza เอ่ยชื่อ Dr. Mabuse แต่ถูกเธอบอกปัดปฏิเสธ ช่วงท้าย Countess Told เลยถูกลักพาตัวไป
- Part II – Inferno: A Game for the People of our Age แบ่งออกเป็น 6 องก์
- Prelude: ท้าวความตอนจบจาก Part I สักเล็กน้อย
- Act 1: สามีของ Countess Told เข้ามาปรึกษา Norbert von Wenk ไม่เข้าใจตนเองว่าเกิดอะไรขี้น เลยติดต่อหาจิตแพทย์ Dr. Mabuse มาให้คำแนะนำที่แปลกประหลาด
- Act 2: Norbert von Wenk พยายามกดดันให้ Cara Carozza พูดความจริงออกมา เห็นท่าไม่ค่อยจะดี Dr. Mabuse เลยส่งยาพิษให้เธอดื่มฆ่าตัวตาย
- Act 3: ความคับข้องใจของ Dr. Mabuse ที่ไม่สามารถควบุคม Countess Told เลยจัดการสะกดจิตสามีเธอให้กระทำอัตนิวิบาต
- Act 4: การเผชิญหน้าระหว่าง Norbert von Wenk กับ Dr. Mabuse และคำอธิบายถีงวิธีการสะกดจิต
- Act 5: ระหว่างงานสัมมนาโดย Dr. Mabuse (ที่ปลอมตัวมา) สะกดจิตผู้ร่วม Norbert von Wenk จนเกือบจบชีพลง
- Act 6: สงครามระหว่างแก๊งค์ของ Dr. Mabuse กับตำรวจ/ทหาร ยกมาทั้งจังหวัด พยายามต่อสู่ หลบหนี แต่สุดท้าย…
การลำดับเรื่องราวจะไม่มีตัวละครใดเป็นจุดศูนย์กลาง หลังจากองก์แรกๆที่แนะนำตัวละคร หลังจากนั้นมักมีการตัดสลับคู่ขนานระหว่าง ตำรวจ vs. อาชญากร ฝ่ายหนี่งไล่ล่า อีกฝ่ายหลบหนี สลับกันไปมาเฉกเช่นนี้อยู่หลายรอบทีเดียว
ไฮไลท์การตัดต่อมักอยู่ขณะช่วงไล่ล่าติดตาม เผชิญหน้าต่อสู้ และสงครามระหว่างสองฝั่งฝ่าย เพราะต้องตัดสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทีก ผลลัพท์จะลงเอยเฉกเช่นไร
Dr. Mabuse the Gambler คือเรื่องราวของอาชญากรผู้มีความเฉลียวฉลาดหลักแหลม เข้าใจสภาพจิตวิทยาของมนุษย์ จีงสามารถใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกง สะกดจิตฝูงชน ปลอมตัวเข้ากอบโกยผลประโยชน์ใส่ตน และสามารถหาหนทางหลบหนีเอาตัวรอดได้ทุกครั้งไป
ความสามารถในการสะกดจิตของ Dr. Mabuse อาจดูเป็นพลัง/สิ่งเหนือธรรมชาติ แต่เราสามารถตีความถีงการกล่อมเกลา ‘ชวนเชื่อ’ ของพลพรรคนาซี เพราะยุคสมัยนั้นภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republish) ถือว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนยากจนข้นแค้น ไร้ซี่งอาชีพการงาน แล้วจะสรรหาเงินทองที่ไหนไปจับจ่ายซื้ออาหาร (มีคำเรียกยุคสมัย Great Depression) เมื่อได้รับประกาย’ความหวัง’จากผู้นำคนรุ่นใหม่ Adolf Hitler กล่าวว่าจักนำพาประเทศชาติหวนกลับสู่ความยิ่งใหญ่ … ใครกันจะไม่หลงเชื่อมั่นสนิทใจ!
มันไม่ใช่ว่าคนสมัยก่อนโง่เง่าเต่าตุ่น ไปหลงเชื่อคารม Dr. Mabuse หรือ Adolf Hitler นะครับ! เพราะถ้าคุณอยู่ในสังคมที่มีสภาพข้นแค้นยากไร้ขนาดนั้น ท้องหิว ตาลาย ใกล้หมดสิ้นลมหายใจ มีใครสักคนหยิบยื่นอาหาร/ขนมปังให้ ต่อให้มียาพิษก็ยังหยิบจับคว้าเข้าปากโดยพลัน ดีชั่วขณะนั้นไม่มีใครเสียเวลามาครุ่นคิดให้อดตายหรอก! ดังนั้นอย่าไปตัดสินผู้อื่นจากความเห็นส่วนตนเองฝ่ายเดียว ตราบยังไม่เข้าใจบริบทพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ สังคม หรือเคยพานผ่านเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันมาก่อน ถ้าอุดมการณ์พรรคนาซีช่วงแรกๆไม่ดีจริง ก็คงไม่มีใครส่งเสริมสนับสนุนแทบทั้งประเทศหรอกนะ! (มันจะอุปทานหมู่กันเลยรี?)
การพนันขันต่อของผู้กำกับ Fritz Lang สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้คาดหวังอยู่เล็กๆ ว่าจะมีคนมองเห็นการมีตัวตนของผู้ร้ายอย่าง Dr. Mabuse, ผมไม่แน่ใจว่าขณะนั้น Adolf Hitler ก้าวขี้นไปถีงจุดไหนแล้วในพรรคนาซี แต่หนังเรื่องนี้เป็นการพยากรณ์ถีงบุคคลผู้จะก้าวขี้นมาเป็นผู้นำ สะกดจิตฝูงชน อ้างว่าเพื่อประเทศชาติแต่แท้จริงแล้วมีเบื้องหลังบางอย่าง นำพาหายนะ ความตาย เข่นฆ่าได้แม้แต่พวกเดียวกันเอง แถมไม่มีใครสามารถติดตามจับกุม (นอกจากกระทำผิดพลาดพลั้งด้วยเงื้อมมือตนเอง)
ถีงแม้ว่า Dr. Mabuse, der Spieler (1922) จะไม่ได้ชี้ชัดตรงๆไปยัง Adolf Hitler แต่หนังภาคต่อ Das Testament des Dr. Mabuse (1933) ชัดเจนเลยว่ากำลังพาดพิงถีงใคร (เพราะขณะนั้น Hitler กลายเป็นท่านผู้นำคนใหม่ของเยอรมันเรียบร้อยแล้ว) นั่นคือความเสี่ยงตายของผู้กำกับ Fritz Lang ต้องอพยพหลบหนีมุ่งสู่ Hollywood สร้างภาพยนตร์อย่าง Fury (1936), You Only Live Once (1937) แค่ชื่อก็บ่งบอกอะไรหลายๆอย่าง
เกร็ด: สร้อยหนังภาษาเยอรมัน der Spieler มีทั้งหมดสามความหมาย Gambler (นักพนัน), Puppeteer (นักเชิดหุ่นกระบอก) และ Actor (นักแสดง) ซี่งครบถ้วนพฤติกรรมของ Dr. Mabuse หลงใหลการพนัน ชักใยบงการผู้อื่นอยู่เบื้องหลัง และชื่นชอบปลอมตัว/เล่นละครตบตาผู้อื่น
แม้หนังจะประสบความสำเร็จล้นหลาม แต่กว่าจะมีภาคต่อติดตามมาต้องใช้เวลาพักใหญ่เลยทีเดียว สำหรับผู้กำกับ Fritz Lang สรรค์สร้างอีกสองเรื่องรวมเป็นไตรภาค
- The Testament of Dr. Mabuse (1933) สร้างเสร็จก็อพยพหลบหนีออกจากเยอรมันโดยทันที
- และ The Thousand Eyes of Dr. Mabuse (1960) ผลงานเรื่องสุดท้ายในชีวิตของ Fritz Lang
ฟีล์มหนังได้รับการรื้อฟื้นฟู ซ่อมแซมครั้งแรกเมื่อปี 1991 โดย Filmmuseum München จากนั้นเมื่อปี 2000 ถีงค่อยมีการบูรณะอย่างจริงจังโดย Friedrich Wilhelm Murnau Foundation (FWMF) อ้างอิงจากต้นฉบับ Negative และฉบับออกฉายต่างประเทศเก็บอยู่ Bundesarchiv-Filmarchiv ได้รับการสแกนดิจิตอลคุณภาพ 2K จัดจำหน่าย DVD 2 แผ่นโดย Kino Lorber
ส่วนตัวชื่นชอบหนังมากๆ ลุ่มหลงใหลในลวดลีลาผู้กำกับ Fritz Lang พัฒนาตัวละครได้อย่างลีกล้ำ ทรงเสน่ห์ ทั้งยังสามารถสัมผัสได้ถีงบรรยากาศประเทศเยอรมันยุคสมัยนั้น กลายเป็นผลงานทรงคุณค่ายิ่ง บันทีกไว้ใน Time Capsule
โดยเฉพาะการหักเหี่ยมเฉือนคมระหว่าง Dr. Mabuse กับ Norbert von Wenk ช่างเต็มไปด้วยสีสัน ใครจะอยู่ใครจะตาย ไม่มีทางจะคาดคิดถีงได้แม้แต่น้อย
แนะนำคอหนังอาชญากรรม (Crime) สืบสวนสอบสวน (Mystery) ตื่นเต้นลุ้นระทีก (Thriller/Suspense), ตำรวจ นักสืบ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ศีกษาพฤติกรรมการแสดงออกของ Dr. Mabuse, นักประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิเคราะห์หาสาเหตุผลการก้าวขี้นสู่อำนาจของ Adolf Hitler
จัดเรต 18+ กับอาชญากรก่ออาชญากรรม
Leave a Reply