Eastern Promises

Eastern Promises (2007) British, Canadian : David Cronenberg ♥♥♥♥

คำสัญญาขายฝันของกลุ่มอาชญากรรัสเซีย (Vory v zakone) แท้จริงแล้วคือคำลวงล่อหลอกหญิงสาว ลักพามาขายบริการ ตกเป็นทาสยาเสพติด ไร้หนทางดิ้นหลบหนี ทำไมโลกปัจจุบันนี้มันช่างมีความกลับกลอกปอกลอกยิ่งนัก!

เกร็ด: вор в зако́не, Vory v zakone แปลว่า Thief in Law คำเรียกกลุ่มอาชญากรอาชีพ (professional criminal) ในเครือสหภาพโซเวียต ที่ยึดถือมั่นตามกฎอาชญากรอย่างเคร่งครัด ใช้รอยสักบนเรือนร่างกาย (Vory tattoos) แบ่งแยกชนชั้น วิทยฐานะ บ่งบอกว่าเคยพานผ่านอะไรมา อาทิ

  • รอยสักรูปดาวแปดแฉก ปรากฎบนบ่าหรือหัวเข่า หมายถึงบุคคลผู้มีอำนาจระดับสูงในองค์กร
  • หัวกระโหลกหรือยมทูต คือสัญลักษณ์ของการเป็นฆาตกร
  • พระแม่มารีย์ สื่อถึงการเป็นอาชญากรตั้งแต่เด็ก, ไม้กางเขนคือการอุทิศตนเพื่ออาชญากรรม หรือ Prince of Thieves (ไม่ได้สื่อถึงความเชื่อศรัทธาศาสนาเลยนะครับ)
  • โบสถ์/วิหารคริสต์ หมายถึงสถานที่/เรือนจำเคยถูกควบคุมขัง
  • ดวงอาทิตย์ คือสัญลักษณ์ของการติดคุก โดยจำนวนรังสีแผ่ออกมา บ่งบอกระยะเวลายาวนานเท่าไหร่
    ฯลฯ

Eastern Promises (2007) แม้ไม่ใช่ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของผู้กำกับ David Cronenberg แต่อาจคือผลงานดีที่สุดเรื่องสุดท้าย นำเสนอเรื่องราวกลุ่มอาชญากรรัสเซียในกรุง London เบื้องหน้าเปิดกิจการร้านขายอาหาร ลับหลังลักลอบทำการค้ามนุษย์ (Sex Trafficking) โสเภณี ยาเสพติด ค้าของเถื่อน และมือปืนรับจ้าง (แต่มาเฟียพวกนี้ใช้มีดสั้นเป็นอาวุธ)

แม้ผกก. Cronenberg จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลา ‘body horror’ สู่ยุคสมัยเน้นความสมจริง (Realist) แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายละเอียดอันน่าทึ่งเกี่ยวกับรอยสักบนร่างกาย สำหรับชาวรัสเซียมีความสำคัญอย่างมากๆ บางถิ่นฐานยังคงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีครั้งหนึ่งที่ Viggo Mortensen ไม่ได้ลบรอยสักแล้วเข้าไปยังร้านอาหารรัสเซียในกรุง London จู่ๆบรรยากาศโดยรอบเงียบสงัดลง สายตาบางคนแสดงอาการหวาดหวั่นสั่นสะพรึง ลุกขึ้นหนีออกจากร้านไปเลยก็มี ครุ่นคิดเข้าใจผิดว่าเขาคือสมาชิก Vory v zakone

I talked to them about what they meant and where they were on the body, what that said about where they’d been, what their specialties were, what their ethnic and geographical affiliations were. Basically their history, their calling card, is their body.

Viggo Mortensen

นอกจากประเด็นเรื่องรอยสัก สิ่งน่าสนใจโคตรๆของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือทีมนักแสดง Viggo Mortensen, Naomi Watts, Vincent Cassel และ Armin Mueller-Stahl แต่ละคนถือว่าสุดยอดกันทั้งนั้น ถ้าปีนั้นไม่มี Daniel Day-Lewis นำแสดง There Will Be Blood (2007) เชื่อเลยว่า Mortensen ต้องได้ลุ้นคว้ารางวัล Oscar: Best Actor อย่างแน่นอน!

เกร็ด: Viggo Mortensen ได้รับรางวัล “Rolling R” จากนิตยสาร Russia! Magazine เนื่องจากการออกเสียงสำเนียงรัสเซียได้ถูกต้องแม่นยำ ทั้งยังมีการใช้ศัพท์แสลงอาชญากร รวมถึงภาษา Ukrainian ตอนปลอบประโลมโสเภณีได้อย่างละมุนไม

We’re proud to acknowledge Mr. Mortensen, whose star turn in Eastern Promises (2007) is amazingly sensitive, multifaceted, and above all authentic. His character even speaks a specific old-school thief slang, and switches to Ukrainian when comforting a Ukrainian woman.


จุดเริ่มต้นของ Eastern Promises เกิดขึ้นจากนักเขียน Steven Knight (เกิดปี 1959) สัญชาติอังกฤษ ที่เพิ่งแจ้งเกิดจากบทภาพยนตร์ Dirty Pretty Things (2002) กำลังมองหาเรื่องราวสะท้อนโลกอีกใบ เกี่ยวกับผู้อพยพ ชาวต่างด้าวที่เข้ามาปักหลักอาศัยอยู่ในกรุง London

I wrote Dirty Pretty Things because I was interested in the stories of the ‘other London’ beneath the surface – the London of newly arrived immigrants. I felt it was an area that could be explored in more than one feature. Dirty Pretty Things was about an African and a Turk, and Eastern Promises is about another community and another experience.

Steven Knight

ดั้งเดิมนั้น Knight ได้รับมอบหมายให้พัฒนา Telefilm เกี่ยวกับการค้ามนุษย์จากยุโรปตะวันออก ซึ่งระหว่างค้นหาข้อมูลก็ได้ค้นพบเจอกลุ่มอาชญากรข้ามชาติ Vory V Zakone (อ่านว่า vor-ee sack-o-nee) ตระหนักว่าเรื่องราวดังกล่าวสามารถขยับขยายกลายเป็นภาพยนตร์

The sex-trafficking trade is a huge industry in the U.K. Police records show that is run predominantly by criminals of Eastern European descent.

โปรดิวเซอร์ Paul Webster

บทหนังของ Knight เมื่อผ่านสายตาผกก. Cronenberg แสดงความสนใจออกมาโดยทันที ตอบตกลงเซ็นสัญญา และมีการร่วมทุนระหว่างสตูดิโอสัญชาติอังกฤษ และแคนาดา

I immediately sucked into this intense little world of the criminal subculture in London. In a sense, Steve has reinvented the crime movie because the script accesses all the great parts of that genre while inverting and subverting them in an interesting way. It’s not a retro movie; instead, it’s very modern and intense. What I also found was that it offered a wonderful character study, particularly of Nikolai, and that I wanted to bring these characters to life.

David Cronenberg

David Paul Cronenberg (เกิดปี 1943) ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นนักเขียน/นักตัดต่อ พยายามเสี้ยมสอนบุตรชายให้หลงใหลในสื่อภาพยนตร์ แต่เขากลับชื่นชอบอ่านนวนิยาย Science-Fiction ในตอนแรกเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ University of Toronto ก่อนเปลี่ยนมาคณะวรรณกรรมภาษาอังกฤษ จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสรับชม Winter Kept Us Warm (1966) ถึงเริ่มค้นพบความสนใจในภาพยนตร์ กำกับหนังสั้น 16mm ร่วมก่อตั้ง Toronto Film Co-op กับเพื่อนสนิท Ivan Reitman, ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Stereo (1969), Crimes of the Future (1970), พัฒนาสไตล์ลายเซ็นต์ ‘body horror’ เริ่มตั้งแต่ Shivers (1975), Rabid (1977), The Brood (1979) ฯลฯ

เมื่อครั้นผกก. Cronenberg ร่วมงานกับ Viggo Mortensen เรื่อง A History of Violence (2005) สังเกตว่าอีกฝ่ายดูมีภาพลักษณ์ชาวรัสเซีย (จริงๆคือลูกครึ่ง Dutch) เลยลองติดต่อพูดคุย นำบทหนังเรื่องนี้มาให้พิจารณาอ่าน บังเกิดความชื่นชอบหลงใหล ตอบตกลงทันทีโดยไม่มีข้อแม้อะไร

ระหว่างที่ Mortensen ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวละคร เดินทางไปรัสเซีย ฝึกพูด-อ่าน-เขียน ทำให้พบเจอสารคดี The Mark of Cain (2000) นำเสนอเกี่ยวกับรอยสักอาชญากร (Russian criminal tattoos) เลยส่งทั้งหนังสือ วีดีโอ รายละเอียดอีกมากมายให้ผกก. Cronenberg เกิดความตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้สามารถใช้เป็นอุปมาอุปไมย นัยยะเชิงสัญลักษณ์ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้เนื้อเรื่องราวได้อย่างมากๆ

Viggo sent me books on Russian criminal tattoos which were filled with not just photos and diagrams but also texts about the meanings of tattoos. He also sent me The Mark of Cain (2000). There’s this whole hidden world of symbolism that is immediately fascinating.

Tattoos suddenly became an intense metaphor and symbol in the movie. It’s a specialized world that is in fact dying because of the changes that have happened in Russia in the last decade.

The tattoos are tied to an older Russian criminal caste with a real structure and hierarchy – the Vory V Zakone – which is literally translated as ‘Thieves in law.’ It’s a brotherhood of thieves. The old saying goes – ‘There is no honour among thieves’ but what we found out was that the Vory has, if not honour, then at least a code that is adhered to – and it’s a very brutal one.

David Cronenberg

เหตุการณ์เริ่มต้นที่พยาบาลสาว Anna Khitrova (รับบทโดย Naomi Watts) ทำคลอดหญิงสาวชาวรัสเซียที่ไม่มีเอกสารอะไรใดๆ พบเพียงสมุดบันทึกเล่มหนึ่ง เชื่อว่าน่าจะเขียนบอกรายละเอียดที่มาที่ไป บ้านเกิดอยู่แห่งหนไหน จักได้ติดต่อญาติมารับเลี้ยงทารกน้อย ไม่ต้องเข้าสู่ระบบสถานกำพร้า

ในตอนแรกต้องการให้ลุง Stepan ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ KGB แปลข้อความในไดอารี่ แต่ขณะเดียวกัน Anna เดินทางไปยังที่อยู่ตามนามบัตร พบเจอภัตตาคารหรู เจ้าของคือชายสูงวัย Semyon (รับบทโดย Armin Mueller-Stahl) อาสาแปลสมุดบันทึกดังกล่าวด้วยตนเอง แต่โดยไม่รู้ตัวชายคนนี้เป็นสมาชิกระดับสูงขององค์กรอาชญากรรม Vory v zakone ลักลอบทำการค้ามนุษย์ และหญิงสาวคนนั้นคือหนึ่งในผู้ตกเป็นเหยื่อ ถูกข่มขืน เสพยา โดนทำร้ายร่างกาย

สำหรับ Semyon แม้คือสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone แต่บุตรชาย Kirill Semyonovich (รับบทโดย Vincent Cassel) กลับเป็นบุคคลพึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ โชคดีได้บอดี้การ์ด/คนขับรถ Nikolai Luzhin (รับบทโดย Viggo Mortensen) เจ้าหน้าที่ FSB (Federal Security Service องค์กรที่สืบต่อภารกิจของ KGB) ปลอมตัวมาเป็นอาชญากร ไต่เต้าจากสมาชิกระดับล่าง เพิ่งถูกส่งตัวมายังกรุง London โดยเป้าหมายคือทะลายเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมให้หมดสิ้นสภาพ


Viggo Peter Mortensen Jr. (เกิดปี 1958) นักแสดงสัญชาติ Danish-American เกิดที่ New York City แม่เชื้อสายอเมริกัน ส่วนพ่อชาว Danish พบเจอที่ Norway ครอบครัวมักออกเดินทางไปทำธุรกิจยัง Venezuela, Denmark, ก่อนตัดสินใจปักหลักที่ Argentina แต่หลังจากหย่าร้างอาศัยอยู่กับแม่ที่ New York เรียนจบจาก St. Lawrence University ทำงานหลากหลาย ขายดอกไม้ ขับรถบรรทุก แสดงละครเวที ว่ากันว่าภาพยนตร์เรื่องแรกคือ The Purple Rose of Cairo แต่ฉากดังกล่าวถูกตัดออกไป ผลงานสร้างชื่อคือไตรภาค The Lord of the Rings (2001-03), A History of Violence (2005), Appaloosa (2008), เคยเข้าชิง Oscar: Best Actor สามครั้งจากเรื่อง Eastern Promise (2007), Captain Fantastic (2016), Green Book (2018)

รับบท Nikolai Luzhin เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ FSB แทรกซึมเข้าสู่องค์กรอาชญากรรมในฐานะคนขับรถ จึงพยายามกีดกันผลักไส Anna ไม่ให้เข้ามายุ่งย่ามเกี่ยว ขณะเดียวกันก็คอยช่วยเหลือปกป้อง Kirill ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง จนได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่งตั้งสมาชิกติดดาวของ Vory v zakone แต่นั่นคือแผนการของ Semyon เพื่อให้เขากลายเป็นตัวตายตัวแทนบุตรชาย เผชิญหน้ากลุ่มแก๊งค์คู่อริ โชคดีสามารถเอาตัวชีวิตรอด และนำเสนอหลักฐานสำหรับจับกุมตัวเจ้าพ่อมาเฟีย

หนึ่งในการแสดงยอดเยี่ยมที่สุดของ Mortensen แทบไม่หลงเหลือเค้าโครงจากผลงานเรื่องอื่นไหน สวมวิญญาณ แปลงร่างกายเป็นมาเฟียรัสเซีย ทั้งสีหน้าท่าทาง สำเนียงการพูด ในความแข็งกระด้างซ่อนเร้นความอ่อนโยน เพราะตัวเขาก็เต็มไปด้วยลับลมคมใน คงเคยพานผ่านอะไรๆ พบเห็นสิ่งต่างๆมากมาย จึงต้องการกำจัดภัยสังคม ไต่เต้าให้ถึงจุดสูงสุด แล้วทำลายทุกสิ่งอย่างจนย่อยยับเยิน

เกร็ด: Mortensen จัดทริปให้กับตนเองเดินทางไปรัสเซียหลายครั้งละเป็นสัปดาห์ๆ สำหรับค้นคว้าหาข้อมูล พูดคุยอดีตอาชญากร เตรียมความพร้อมรับบทบาท หนึ่งในนั้นคือการเลียนแบบบุคลิก Vladimir Putin เพราะเปิดโทรทัศน์ทีไร พบเห็นผู้นำคนนี้ปรากฎตัวบ่อยมากๆ

He went away and immersed himself in that world, and spent time with a lot of very disreputable Russian people! I wrote the lines but the heart and soul of Nikolai is really from Viggo.

Steven Knight

He learned to speak Russian quite well for this role. He brings the intensity and humour and subtlety to Nikolai that he brings to every performance – all the while speaking with a Russian accent – so his voice has a different timbre than you’ve heard in his other movies. It’s a complete transformation from the inside out. He played two characters really in A History of Violence, and I saw traces of neither of them in his portrayal of Nikolai.

David Cronenberg

สิ่งการันตีความยอดเยี่ยมของ Mortensen คือการได้เข้าชิง Best Actor จากแทบทุกสถาบัน (แต่ไม่ได้อะไรเลยเพราะปีนั้นมี Daniel Day-Lewis นำแสดง There Will Be Blood (2007)) ผมมองว่าเป็นบทบาทประสบความสำเร็จยิ่งกว่า LOTR เสียอีกนะ! และเมื่อตอนเข้าชิงครั้งที่สามจาก Green Book (2018) ในบทบาทคนขับรถ/บอดี้การ์ด สัญชาติตัวละครเปลี่ยนจากลูกครึ่งรัสเซียเป็น Italian-American แทบจะโคลนกันมา!


Naomi Ellen Watts (เกิดปี 1968) นักแสดงหญิง สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Shoreham, Kent มารดาเป็นนักออกแบบฉากและเสื้อผ้า, ส่วนบิดาทำงานผู้จัดการและ Sound Engineer ให้วง Pink Floyd, เมื่ออายุ 4 ขวบ ครอบครัวหย่าร้าง อาศัยอยู่กับแม่เดินทางไปๆกลับๆ Australia และ Wales ก่อนปักหลักอยู่ Sydney ตั้งแต่อายุ 14 ปี มีความสนใจด้านการแสดงหลังพบเห็นแม่เล่นละครเวที และภาพยนตร์เรื่อง Fame (1980), ระหว่างเดินสายออดิชั่นมีโอกาสพบเจอ รู้จักสนิทสนม Nicole Kidman, มีผลงานเรื่องแรก For Love Alone (1986), ตามด้วยโฆษณา ซีรีย์โทรทัศน์ สมทบภาพยนตร์ Flirting (1991), แม้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ใน Australia แต่หลังได้รับคำชักชวนจาก Kidman มุ่งสู่ Hollywood ตั้งแต่ปี 1993 พยายามดิ้นรนอยู่นาน ก็ไม่ได้รับโอกาสดีๆ ประสบความสำเร็จเสียที จนกระทั่งชีวิตพลิกผันกับ Mulholland Drive (2001)

รับบท Anna ‘Anya’ Ivanovna Khitrova พยาบาลประจำโรงพยาบาล Trafalgar Hospital เธอคือหญิงสาวผู้อ่อนด้อยประสบการณ์ทางโลก แม้เคยมีแฟน/สามี แต่ก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรสักเท่าไหร่ จนกระทั่งการมาถึงของทารกน้อย แม้ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขกลับบังเกิดความห่วงโหยหาอาลัย พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้เด็กคนนี้เติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมเหมาะสม นั่นเองทำให้เธอได้เผชิญหน้าสิ่งชั่วร้าย จากบุคคลแสดงความสุภาพอ่อนน้อม ภายนอกดูไม่ได้มีพิษมีภัยเลยสักนิด!

Anna is very vulnerable, and has had loss in her life which is still affecting her. She starts to connect with the Russian half of her roots – her late father had emigrated to England – in investigating where this woman came from, what the diary means and what will become of the orphaned baby. Because she’s living a dreary English life she’s drawn into the intense lives of the Russian immigrants who live in London. Nikolai scares her – yet she has a desire to flirt with danger; it’s her effort to scare herself back into the world. Naomi carries off all Anna’s changes and modulations with such grace.

David Cronenberg

โดยปกติแล้วการเซ็นสัญญาเล่นหนัง จะต้องมีการพูดคุยพบเจอหน้าผู้กำกับ แต่ Watts ตอบตกลงเล่นหนังด้วยความเชื่อไว้ใจต่อผกก. Cronenberg ใคร่อยากร่วมงานกันมานาน ใครกันจะยอมพลาดโอกาสครั้งสำคัญ

ผมยังคงติดตาภาพความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา แล้วพัฒนาสู่ความคลุ้มบ้าคลั่งของ Watts มาตั้งแต่ Mulholland Drive (2001) ซึ่งบทบาทใน Eastern Promise (2008) แทบจะโคลนนิ่งกันมา! เริ่มต้นด้วยความมุ่งมั่นต้องการทำบางสิ่งอย่าง (หาครอบครัวให้กับทารกน้อย) แล้วค่อยๆเรียนรู้ เปิดโลกกว้าง ตระหนักถึงความเป็นจริงที่แสนเหี้ยมโหดร้าย … ยังดีตอนจบลงอย่าง Happy Ending

แต่ถึงการแสดงของ Watts แทบไม่มีอะไรใหม่ เธอเล่าว่าระหว่างฝึกฝนการเป็น ‘midwife’ ที่ Whittington Hospital ได้มีโอกาสพบเห็นการทำคลอด นั่นเปิดประสบการณ์ชีวิตที่งดงามมากๆ (ตอนนั้น Watts แต่งงานอยู่กับ Liev Schreiber และตั้งครรภ์ระหว่างถ่ายทำหนังเรื่องนี้)

I was present at such powerful moments in another person’s life. It was earthy and beautiful and poetic. What midwives do is pretty extraordinary. It requires a huge amount of trust.

Naomi Watts

Vincent Cassel (เกิดปี 1966) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่กรุง Paris บิดาคือโคตรนักแสดง Jean-Pierre Cassel ติดตามรอยเท้าเข้าสู่วงการ แจ้งเกิดผลงาน La Haine (1995), L’Appartement (1996), โกอินเตอร์เล่นหนังภาษาอังกฤษเรื่องแรก Elizabeth (1998), ผลงานเด่นๆ อาทิ Ocean’s Twelve (2004), Eastern Promises (2007), Mesrine (2008), Black Swan (2010), It’s Only the End of the World (2016), Jason Bourne (2016) ฯลฯ

รับบท Kirill Semyonovich บุตรชายคนเดียวของ Semyon ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเอาอกตามใจ แต่ไม่เคยมอบความอบอุ่นหรืออยู่เคียงชิดใกล้ เลยมีความโดดเดี่ยวอ้างว้าง เลือกใช้ชีวิตอย่างเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา รวมถึงรสนิยมทางเพศชาย-ชาย (คาดว่าอาจจะแอบชื่นชอบ Nikolai Luzhin) พยายามทำสิ่งต่างๆเพื่อเรียกร้องความสนใจจากบิดา แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่เขามิอาจทำตามคำสั่งได้ลง

แม้อยากร่วมงานผกก. Cronenberg มาช้านาน (เคยพูดคุยโปรเจคอื่นก่อนหน้า แต่เหมือนจะติดพันอะไรบางอย่าง เลยยังไม่มีโอกาสร่วมงานกัน) แต่ในตอนแรก Cassel มีความลังเลเพราะรู้สึกเบื่อหน่ายในการเล่นบทตัวร้าย แต่เมื่ออ่านบทก็อดใจไม่ได้กับมิติอันซับซ้อนของตัวละคร ส่วนความโคตรท้าทายคือการพูดภาษารัสเซีย ได้รับความช่วยเหลือจาก Mortensen รับส่งกันอย่างเข้าขา

If you live long enough you get to work with people you admire and want to work with. I’d met with Vincent before about other projects and I thought of him when I read the screenplay. He proved to be wonderful – bringing out all the wildness, ambivalence, liveliness and desperation that Steve had wonderfully written.

Vincent communicates external and internal chaos on-screen with great precision and control; he’s a marvel to work with. I knew that his extreme looks and strong screen presence would allow him to match up well with Viggo.

David Cronenberg

หลายคนอาจรู้สึกโคตรๆรำคาญ Kirill ทำตัวเหมือนเด็กน้อย เห็นแก่ตัวเอาแต่ใจ ขี้งอแง แถมชอบเรียกร้องความสนใจ แต่นั่นคือความซับซ้อนของตัวละครนี้ อันเป็นอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม (เติบโตขึ้นในแวดวงมาเฟีย) สูญเสียมารดาตั้งแต่เด็ก และไม่เคยได้รับความสนใจใยดีจากบิดา การแสดงของ Cassel ถือว่าเล่นยาก เต็มไปด้วยความข้อแย้งระหว่างภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ แต่เอาตัวรอดเพราะคู่ขา Mortensen เคมีพวกเขายังกะคู่รัก!

Kirill is a victim of a very tough childhood. Yes, he’s violent and dangerous, but at the same time it’s touching because ‘the family business’ and a very dark father are all he knows. Kirill’s relationship with Nikolai exists on so many different levels, including jealousy. The biggest challenge for me was to be believable as a Russian with the accent and the Russian language, which I worked hard at.

Vincent Cassel

Armin Mueller-Stahl (เกิดปี 1930) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Tilsit, East Prussia (ปัจจุบันคือ Sovetsk, Russia) มารดาสอนมหาวิทยาลัย ส่วนบิดาเป็นเจ้าหน้าที่ธนกิจ อพยพสู่กรุง Berlin ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, เมื่อตอนวัยรุ่นฝึกฝนไวโอลิน เคยขึ้นแสดงคอนเสิร์ต ก่อนเปลี่ยนมาร่ำเรียนการแสดงเมื่อปี 1952 มีผลงานละครเวที โด่งดังจากซีรีย์โทรทัศน์ Das unsichtbare Visier (1973-79) กระทั่งถูกแบนใน East German หลังจากเข้าร่วมการประท้วงรวมประเทศ เลยอพยพลี้ภัยสู่ West Germany มีผลงาน Lola (1981), Veronika Voss (1982), A Love in Germany (1984), Utz (1992), Shine (1996) ** เข้าชิง Oscar: Best Supporting Actor

รับบท Semyon ภายนอกเป็นผู้สูงวัยแสนดี แสดงความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจไมตรีต่อ Anna แต่ลับหลังคือเจ้าพ่อมาเฟีย สมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone พฤติกรรมเหี้ยมโหด เลือดเย็นชา ตาต่อตา-ฟันต่อฟัน พร้อมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อปกป้องบุตรชายไม่เอาอ่าว Kirill ด้วยการส่ง Nikolai Luzhin เป็นตัวตายตัวแทน รวมถึงเข่นฆาตกรรมทารกน้อยไร้เดียงสา

Armin is somebody that I’ve taken note of for years- fantastic voice, fantastic face. His own life experience – being forced to leave East Germany – is all there in his countenance. Even before I met him, I sensed that there was an incredible sweetness to him but also an incredible power that could make you afraid at the same time.

David Cronenberg

ผมเคยประทับใจมาดเนี๊ยบๆ สุภาพเรียบร้อยของ Mueller-Stahl มาตั้งแต่ BRD Trilogy คาดคิดไม่ถึงว่า Eastern Promises (2008) ภาพเหล่านั้นจะสามารถเคลือบฉาบ ซุกซ่อนความเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย กลายเป็นบุคคลโคตรๆอันตราย อาจไม่ได้มี Charisma เทียบเท่า Marlon Brando เรื่อง The Godfather (1972) แต่สร้างความขนลุกขนพองยิ่งกว่า!

It’s a black piece of work, this story. Semyon is a very brutal man and the world is full of those people. A monster is not visible, but is deep inside. The Vory stays secret because they are not visible. But it’s very important to show both sides of these monsters. Semyon has a very warm, sentimental relationship with his grand-daughter, and the same attitude to Russian music. There’s a certain tradition to playing a crime boss on screen. Hopefully, I was able to do it my own way.

Armin Mueller-Stahl

แซว: Mueller-Stahl เล่าถึงความประทับใจเมื่อพบเจอผกก. Cronenberg ชื่นชมว่าเป็นคนอัธยาศัยดีงามมากๆ ผิดกับผลงานของเขาที่มีความน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก

On the set David is friendly and also focused on the story, and on what needs to happen in a scene. When I met him the first time, I thought, ‘What a nice man – and his films are so scary.’


ถ่ายภาพโดย Peter Suschitzky (เกิดปี 1941) สัญชาติอังกฤษ สำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก Institut des hautes études cinématographiques เริ่มงานเป็นเด็กตอกสเลท, ควบคุมกล้อง, ถ่ายภาพเรื่องแรก It Happened Here (1964), โด่งดังจาก The Rocky Horror Picture Show (1975), Valentino (1977), The Empire Strikes Back (1980), แล้วกลายเป็นขาประจำผู้กำกับ David Cronenberg ตั้งแต่ Dead Ringers (1988)

ผกก. Cronenberg เพ้อใฝ่ฝันอยากถ่ายทำภาพยนตร์นอกแคนาดามานานนับทศวรรษ เพิ่งมีโอกาสครั้งแรกก็ Eastern Promises (2008) เดินทางสู่กรุง London เพราะไม่ค่อยมักคุ้นสถานที่เลยต้องเตรียมงานสร้างอยู่สองเดือน ส่วนระยะเวลาถ่ายทำจริงสามเดือน พฤศจิกายน 2006 ถึงกุมภาพันธ์ 2007

ขณะที่ท้องถนนภายนอกคือทิวทัศน์กรุง London ประเทศอังกฤษ แต่ฉากภายในทุกๆสถานที่ล้วนมีความเป็นลูกครึ่ง แสดงถึงอิทธิพลต้นกำเนิด/เชื้อชาติตัวละคร กล่าวคือเต็มไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมรัสเซีย และสังเกตว่ายังมีแบ่งแยกระดับความหรูหรา วิทยฐานะ ความแตกต่างทางชนชั้นออกจากกันอย่างชัดเจน

งานภาพของหนังจะพบเห็นการใช้มุมก้ม-เงย ระดับสูง-ต่ำ อยู่บ่อยๆครั้ง เพื่อสื่อถึงอิทธิพล การควบคุมครอบงำ บุคคลผู้นั้นเต็มไปด้วยพลังอำนาจที่สามารถตัดสินโชคชะตาชีวิตเป็น-ตาย ทำให้อีกฝั่งฝ่ายดูตัวเล็กกระจิดริด ต่ำต้อยด้อยค่าลงทันที


เป็นอีกครั้งที่ผกก. Cronenberg ไม่ได้เริ่มต้นด้วย Title Sequence แต่ใช้การอารัมบทเรื่องราวที่สามารถปรับอารมณ์ผู้ชมโดยทันที นั่นคือฉากร้านตัดผม จู่ๆก็ใช้มีดโกนเชือดคอ สร้างความตกตะลึง คาดไม่ถึง เกิดความตระหนักโดยทันทีว่านี่คือภาพยนตร์อาชญากรรม เต็มไปด้วยความรุนแรงบ้าคลั่งอย่างแน่นอน!

ร้านตัดผม (นึกถึงแฟนฉัน (พ.ศ. ๒๕๔๖) ทุกทีเลยนะ) คือสถานที่สำหรับตัดแต่งทรงผม ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทอดทิ้งตัวตนในอดีต ซึ่งสามารถสื่อถึงการถือกำเนิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ … ในบริบทนี้จะมองว่าถูกฆาตกรรมแล้วได้เกิดใหม่ก็ได้เช่นกัน (มันจะล้อกับฉากถัดไป)

หญิงสาวชาวรัสเซีย เดินตรงมายังร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง (น่าจะต้องการสื่อถึงสถานที่ที่สามารถให้บริการทุกสิ่งอย่าง) ร้องขอความช่วยเหลือเพราะตนเองกำลังน้ำเดินใกล้คลอด มาถึงโรงพยาบาลหมอช่วยเหลือได้เพียงทารกน้อย ส่วนมารดาหมดสิ้นเรี่ยวแรงและลมหายใจ … การนำเสนอสองฉากอารัมบทติดๆต่อๆกันนี้ มอบความรู้สึกเหมือนบุคคลที่ถูกเข่นฆาตกรรม ได้ถือกำเนิดใหม่เป็นทารกน้อยคนนี้ (ความตาย=เกิดใหม่)

ผมเคยอ่านเจอว่าผกก. Cronenberg ไม่มีความเชื่อเรื่องโลกหลังความตายสักเท่าไหร่ สองฉากนี้คงไม่มีความสัมพันธ์เหนือธรรมชาติใดๆ แต่เรายังสามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ของความตาย=เกิดใหม่ ในบริบทของหนังก็คือการอพยพจากถิ่นฐานทุรกันดาร (ในรัสเซีย) มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ยัง London, ประเทศอังกฤษ

หลังเสร็จจากทำคลอดที่โรงพยาบาล Anna บึ่งมอเตอร์ไซด์ Ural Solo (ผลิตโดยรัสเซีย ซึ่งทำการลอกเลียนแบบรุ่น BMW R71 ของเยอรมัน) ขึ้นสะพาน Southwark Bridge ข้ามแม่น้ำ Thame พบเห็นสถานีรถไฟ Cannon Street และ London Bridge อยู่ลิบๆ

ผมนำช็อตที่ดูเหมือนไม่มีอะไร ขับรถจากบ้าน<>ที่ทำงาน แต่สามารถสื่อนัยยะถึงการเดินทางข้าม(แม่)น้ำข้ามทะเล อพยพย้ายถิ่นฐาน (จากรัสเซียสู่อังกฤษ) เพราะแม่น้ำ Thame ถือว่าแบ่งแยกกรุง London ออกเป็นเหนือ-ใต้ (ก็คล้ายๆแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งกรุงเทพฯ ออกเป็นสองฟากฝากฝั่ง)

ชื่อร้าน Trans-Siberian ชวนให้นึกถึงทางรถไฟสายยาวที่สุดในโลก เดินทางจาก Moscow สู่อีกฟากฝั่งโลกยังเขตตะวันออกไกลและทะเลญี่ปุ่น (ใช้เวลาเดินทางรถไฟชั้นสาม 7 วัน 7 คืน) ซึ่งการตั้งชื่อร้านเช่นนี้ เหมือนจะเป็นการล้อทางรถไฟในทิศทางกลับตารปัตร เพราะกรุง London ถือว่าอยู่คนละฟากฝั่ง จะเรียกว่าตะวันตกไกล(จาก Moscow)ก็ได้กระมัง

ผมครุ่นคิดอยู่นานว่าทำไมต้องให้ Anna ขับมอเตอร์ไซด์ยี่ห้อเลียนแบบ ก่อนตระหนักว่า Nikolai คือคนขับรถหรู ลีมูซีน ซึ่งเป็นสิ่งแบ่งแยกแยะวิทยฐานะ ชนชั้น และช็อตนี้แม้ทำการจอดระยะปะชิด แต่ชวนให้ครุ่นคิดว่ารถยนต์สามารถพุ่งชนมอเตอร์ไซด์กระเด็นกระดอน นัยยะถึงอิทธิพลพวกมาเฟีย สามารถกระทำทุกสิ่งอย่างต่อบุคคลธรรมดาสามัญ

ค่ำคืนน่าจะก่อนถึงวัน Christmas Eve (คงประมาณวันที่ 21-22 ธันวาคม) เป็นช่วงเวลาครอบครัว ญาติพี่น้อง นัดพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหารค่ำร่วมกัน สองช็อตนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง

  • ครอบครัวชนชั้นกลางของ Anna มีเพียงลุงและมารดา แต่งตัวง่ายๆ รับประทานอาหารทั่วๆไป ไม่มีพิธีรีตรองอะไร
  • ครอบครัวใหญ่ของเจ้าพ่อมาเฟีย Semyon (นั่งอยู่หัวโต๊ะ) ประกอบด้วยญาติพี่น้องหลายสิบ แต่งสูท-ชุดเดรสหรูหรา เสิร์ฟอาหารราคาแพง

ราวกับพวกเขาอาศัยอยู่บนโลกคนละใบ ต่างมีวิถีชีวิต กฎระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน โดยปกติไม่ควรยุ่งเกี่ยวข้องแวะ เพราะต่างไม่สามารถเข้าใจอะไรๆตรงกัน

หลังจากนำเอาไดอารี่ฉบับถ่ายเอกสารมาให้กับ Semyon จู่ๆรถมอเตอร์ไซด์ของ Anna ก็ดันสตาร์ทไม่ติด นี่ไม่ใช่แค่เหตุผลฝนตกน้ำเข้าเครื่องแค่นั้นนะครับ ยังแฝงนัยยะถึงการเผชิญหน้าปัญหาที่ทำให้เธอไม่สามารถออกเดินทางต่อ หรือก็คือใครกันเป็นพ่อเด็ก? เนื้อหาในสมุดบันทึกนั้นคืออะไร? การเผชิญหน้ากับ Semyon ก็เต็มไปด้วยความน่าเคลือบแคลงสงสัย

Nikolai พบเห็นสภาพของ Anna เลยอาสาให้ความช่วยเหลือด้วยการขับรถพาส่งบ้าน … พบเห็นฉากนี้ทำให้ผมนึกถึง Green Book (2018) ที่ Viggo Mortensen แสดงเป็นคนขับรถ(และบอดี้การ์ด) แถมตัวละครยังคือลูกครึ่ง Italian-American

ในซ่องโสเภณีจะมีการจัดแสงสีออกส้มๆ เหลืองทองอร่าม มอบสัมผัสอบอุ่น เร่าร้อน เฟอร์นิเจอร์ก็ดูหรูหรา ระยิบระยับ Nikolai ถูก Kirill บีบบังคับให้ร่วมรักโสเภณี (เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ใช่เกย์) ในท่วงท่าหมา (Doggy Style) ซึ่งสามารถสื่อนัยยะตรงๆถึงการเป็นขี้ข้า สุนัขรับใช้ ต้องคอยกระทำตามคำสั่งเจ้านาย

อีกช็อตที่ผมนำมาอาจดูไม่ได้มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์อะไร แต่อยากให้ถึงความแตกต่างของแสงสีสัน ฉากในโรงพยาบาลใช้โทนสีฟ้า แม้ดูแห้งแล้ง แต่กลับสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย เบาสบาย ราวกับโลกคนละใบ

โดยปกติแล้วการแข่งขันฟุตบอลสโมสรจะหยุดพักกันช่วงคริสต์มาส/ปีใหม่ ยกเว้นเพียงประเทศอังกฤษมีคำเรียกว่า ‘Boxing Day’ จัดการแข่งขัน 3-4 นิดติดๆตั้งแต่ช่วงคริสต์มาสลากยาวถึงปีใหม่ … ผมครุ่นคิดว่าเหตุผลที่หนังเลือกทีมฟุตบอลเชลซี เพราะเจ้าของขณะนั้น Roman Abramovich เป็นชาวรัสเซีย! เข้ามาเทคโอเวอร์ตั้งแต่ปี 2003 และสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกสองฤดูกาลก่อนหน้า 2004–05 และ 2005–06

สำหรับความตายของบุตรชายเจ้าของร้านตัดผม เกิดขึ้นหลังการแข่งขันเชลซี vs. อาร์เซนอล (ทั้งสองต่างเป็นทีมจากกรุง London จึงมีคำเรียก ‘London derbies’ โปรแกรมจริงๆวันที่ 10 ธันวาคม 2006 ผลการแข่งขันเสมอ 1-1) แม้เต็มไปด้วยผู้คนกำลังเดินทางกลับ แต่กลุ่มมาเฟียคู่อริกลับจัดการเชือดคอโดยไม่สนอะไรทั้งนั้น (ถือว่ามีลักษณะ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นตอนต้นเรื่อง) สถานที่คือสุสาน Brompton Cemetery

แซว: ผมมีความสงสัยว่าทำไมต้องปัสสาวะลงป้ายสุสาน Elliot Hastings? แต่ก็ไม่ค้นพบข้อมูลว่าเขาคือใคร มาจากไหน ถือเป็นบุคคลนิรนามโดยแท้ จนไปพบเจอว่าอาจเป็นการเล่นคำ (anagram) ผันไปเรื่อยๆได้เป็น hostile slating ต่อด้วย Ealing shot list กลายมาเป็น genital slosh it จากนั้น still not geisha (ฤาจะล้อกับภาพยนตร์ M. Butterfly (1993)) และจบลงด้วย slashing toilet (ล้อกับการปัสสาวะพอดิบดี)

ช่วงแรกๆที่ Semyon พูดคุยสนทนาอย่างเป็นกันเองกับ Anna มุมกล้องมีระดับเสมอเท่ากัน แต่ครานี้สังเกตได้ชัดเมื่อรับฟังปัญหาของช่างตัดผม มีการใช้ตำแหน่งบน-ล่าง มุมกล้องก้ม-เงย แสดงวิทยฐานะ ชนชั้นของตัวละครออกมาได้อย่างชัดเจน

The criminals in Russian jails say that your tattoo is your life. Your tattoos on your body are who you are. If you come in with no tattoos, you don’t exist. They must be accurate; they tell what crimes you’ve committed, what jail time you’ve served, what your sexual orientation is and more. If you were to have a tattoo that says you are higher up in the crime world than you are – you would be seriously punished, if not killed. It is said that tattoos are one’s passport, but it’s a very obscure country that the passport is from; the Russian criminal life is a rather small world. So the tattoos you’ve branded yourself with are determining your own fate and are also your private passport to your private world.

David Cronenberg

รอยสัก สำหรับอาชญากรรัสเซีย เรียกได้ว่าคือประวัติความรุนแรง ‘History of Violence’ สิ่งบันทึกอัตลักษณ์ ตัวตน ความเป็นลูกผู้ชาย อดีตเคยพานผ่านอะไรมา รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ยิ่งมีมากยิ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ และเป้าหมายสูงสุดก็คือรอยสักรูปดาว 8 แฉก แทนการเป็นสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone

แต่ขณะเดียวกันรอยสักเหล่านี้คือสิ่งบ่งบอกธาตุแท้ตัวตน หลักฐานมัดตัวอาชญากร ไม่สามารถปฏิเสธการกระทำ บางประเทศถึงขนาดสั่งห้ามผู้มีรอยสักเข้าประเทศ เพราะถือเป็นบุคคลอันตราย ตีตราว่าร้าย … จะว่าไปไม่ใช่แค่มาเฟียรัสเซียที่นิยมรอยสัก ยากูซ่าญี่ปุ่น นักเลงไทยก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่

บนร่างกายของ Mortensen กล่าวอ้างว่ามีรอยสักทั้งหมด 43 แห่ง (แต่จากลิ้งค์ที่ผมนำมาค้นพบเพียง 42 แห่ง) ใช้เวลาลอกลายทั้งหมด 4 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการถ่ายทำในแต่ละวัน เขาจะขอให้ทีมงานลบออกให้หมด (เพราะจากประสบการณ์เข้าภัตตาคารรัสเซียครั้งนั้น Mortensen กลัวจะสร้างความเข้าใจผิดๆให้ใครต่อใครอีก)

ลิ้งค์นี้ยังอธิบายความหมายของบรรดารอยสัก รวมถึงข้อสรุปที่ได้จากรายละเอียดดังกล่าวด้วยนะครับ

  • เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการโจรกรรม (Prince of Thieves) ลักเล็กขโมยน้อยมาตั้งแต่ยังเด็ก
  • เป็นฆาตกร และเคยเป็นสมาชิกระดับสูงของแก๊งค์อาชญากร
  • เคยถูกคุมขังสามเรือนจำ หนึ่งในนั้นอยู่ในกรุง St. Petersburg อีกสองแห่งอยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย รวมระยะเวลา 3 ปี
  • เคยฉลองวันเกิดวัยรุ่น ขณะยังอยู่ในเรือนจำ
  • น่าจะเคยพัวพันเกี่ยวกับยาเสพติด
  • และปัจจุบันเป็นสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone ห้ามก้มศีรษะ ห้ามคุกเข่าแก่บุคคลใด

LINK: https://easternpromises.livejournal.com/47809.html

ในบทหนังไม่ได้เขียนไว้ว่านักแสดงต้องต่อสู้ในสภาพเปลือยกายล่อนจ้อน แต่เมื่อผกก. Cronenberg พูดคุยกับ Mortensen ต่างมองตาก็รู้ใจ รับรู้ว่าฉากนี้ยังไงก็ต้องเปลือยกายเข้าฉาก เพื่อสื่อถึง ‘body-ness’ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการซักซ้อม คล้ายๆออกแบบท่าเต้น (Choreography) ใช้เวลาถ่ายทำอยู่ 3-4 วัน

When we talk about violence, we’re talking about the destruction of the human body, and I don’t lose sight of that. In general, my filmmaking is fairly body-oriented, because what you’re photographing is people, bodies.

David Cronenberg

สภาพเปลือยเปล่าระหว่างการต่อสู้ จะทำให้ผู้ชมพบเห็นร่องรอยบาดแผล เลือดไหลอาบ (ด้วยมีด Linoleum knife) สัมผัสได้ถึงความเจ็บปวด ซึ่งสามารถสื่อถึงความรุนแรงคือสิ่งทำลายเรือนร่างกาย รวมถึงรอยสักที่บันทึกความเป็นมาของบุคคล (สรุปก็คือ ความรุนแรงมันบ่อนทำลายทุกสรรพสิ่งอย่าง)

แซว: แทนที่จะใช้ปืนกลับเป็นมีด Linoleum knife ผกก. Cronenberg ให้เหตุผลว่าอาวุธชิ้นนี้สามารถพกติดตัว เวลาตำรวจเรียกตรวจจะสามารถสรรหาข้ออ้างได้ดีกว่าอาวุธปืน

We have no guns in this movie. There were no guns in the script. The choice of those curved knives we use in the steam bath was mine. They’re not some kind of exotic Turkish knives, they’re linoleum knives. I felt that these guys could walk around in the streets with these knives, and if they were ever caught, they could say ‘we’re linoleum cutters’.

ฉากที่เปิดเผยตัวตนแท้จริงของ Nikolai ว่าเป็นสายลับ FSB คือระหว่างพบเจอ Yuri เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Scotland Yard ยังสถานที่บนชั้นดาดฟ้าโรงพยาบาล จุดสูดสูงอาคาร ซึ่งสามารถสื่อถึงอำนาจหน้าที่ของพวกเขาในการจัดการพวกมาเฟียรัสเซีย … ผมว่าสื่อถึงไคลน์แม็กซ์/จุดสูงสุดของหนัง ใกล้ถึงตอนจบยังจะตรงเสียกว่า!

ระหว่างที่ตำรวจมาตรวจเลือดของ Semyon (เพื่อตรวจสอบ DNA สำหรับเตรียมการจับกุม) สังเกตว่า Kirill กำลังพูดคุยกับหลานสาวอย่างสนทสนิม พร้อมสูบลมใส่ลูกโป่ง (คงกำลังเตรียมงานเลี้ยงวันปีใหม่)

ซึ่งเหตุการณ์ต่อจากนี้ Semyon จะออกคำสั่งให้ Kirill เข่นฆาตกรรมทารกน้อย (ไม่ได้พูดออกมาตรงๆ แต่ผู้ชมสามารถเข้าใจเหตุการณ์เกิดขึ้นได้ไม่ยาก) นั่นเป็นสิ่งสร้างความเจ็บปวดรวดร้าว เกิดความโล้เล้ลังเลใจ ร่ำไห้ออกมาเพราะไม่อยากกระทำสิ่งชั่วร้าย เปรียบเทียบกับการอัดลมเข้าลูกโป่งมากเกินไปจนแตกระเบิด!

ระหว่าง Kirill กำลังสองจิตสองใจ ไม่อยากเข่นฆาตกรรมทารกน้อยให้ตกตาย การมาถึงของ Nikolai และ Anna พยายามโน้มน้าว เกลี้ยกล่อมเกลา บอกกับเขาว่านั้นคือสิ่งที่ Semyon ล้ำเส้นเกินไป (จริงๆมันไม่มีอะไรขัดต่อ ‘Thief in Law’ นะครับ)

ภาษากายของ Nikolai เป็นสิ่งที่สร้างความน่าประหลาดใจมากๆ

  • ภาษากายกับ Kirill มีทั้งชนหน้าผาก (=เผชิญหน้า) โอบกอดเข้าด้านหลัง (=การพึ่งพักพิง) ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของการยินยอมรับ พึ่งพาอาศัยกันและกัน Bromance?
  • ภาษากายกับ Anna ค่อยๆโถมตัวเข้าไปจุมพิต นี่ไม่ได้สื่อถึงความรักโรแมนติก แต่เหมือนคำขอบคุณ และเป็นการร่ำลาเสียมากกว่า

แม้นี่ไม่ใช่ช็อตสุดท้ายของหนัง แต่การเดินจากไปของ Nikolai และ Kirill เข้าสู่ความมืดมิด สื่อถึงทิศทางที่ Anna ไม่สามารถก้าวติดตาม(สู่โลกใต้ดิน/วิถีของอาชญากร) รถมอเตอร์ไซด์ของเธอจอดอยู่แค่ตรงนี้ ทุกสิ่งอย่างจบสิ้นลงเสียที (วันนี้วันสิ้นปี) พรุ่งนี้ก็จะเริ่มต้นนับหนึ่ง ในวันขึ้นปีใหม่

ตัดต่อโดย Ronald Sanders สัญชาติแคนาดา ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ David Cronenberg ตั้งแต่ผลงาน Fast Company (1979)

หนังใช้การดำเนินเรื่องคู่ขนานระหว่าง Anna Khitrova กับ Nikolai Luzhin โดยมีไดอารี่ของหญิงสาวที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างวิถีคนปกติ กับโลกอาชญากรใต้ดิน Vory v zakone

  • อารัมบท
    • การฆาตกรรมในร้านตัดผม
    • หญิงสาวท้องแก่ขอความช่วยเหลือจากร้านสะดวกซื้อ
    • หมอทำคลอดทารกน้อย แต่สูญเสียมารดา
  • Anna in Wonderland, ผจญภัยเข้ามาในโลกอาชญากรรม
    • Anna นำไดอารี่ของหญิงสาวกลับมาบ้าน มองหาบุคคลที่สามารถแปลภาษารัสเซีย
    • เดินทางมายังภัตตาคารแห่งหนึ่ง พูดคุยกับ Semyon และมอบสำเนาไดอารี่ให้กับเขา
    • พบเห็นวิถีของอาชญากร Nikolai Luzhin จัดการกับศพที่ถูกฆาตกรรม นำพา Kirill มายังบริเวณสำหรับทิ้งศพลงแม่น้ำ
    • Semyon เดินทางมายังโรงพยาบาลของ Anna พบเจอทารกน้อย แล้วพยายามพูดแบล็กเมล์ ย้ำเตือนอะไรบางอย่าง
    • Anna เพิ่งเริ่มตระหนักว่าตนเองไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับคนพรรค์นี้ จึงจำใจต้องมอบไดอารี่เล่มนั้นให้กับ Nikolai
  • การแก้แค้นของมาเฟียคู่อริ
    • บุตรชายช่างตัดผมถูกฆาตกรรมโดยมาเฟียคู่อริ และมีเป้าหมายคือ Kirill ที่เป็นบุคคลออกคำสั่ง เลยนำความมาพูดคุยกับ Semyon ให้ช่วยหาหนทางออก
    • Semyon ตัดสินใจเลื่อนขั้นให้ Nikolai กลายเป็นสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone
    • และส่งให้เขาเป็นตัวตายตัวแทน เผชิญหน้าศัตรูในห้องอาบน้ำ สภาพเปลือยเปล่า
  • ปัจฉิมบท
    • เปิดเผยตัวตนของ Nikolai และแผนการจับกุม Semyon
    • Kirill ลักพาตัวทารกน้อย ทำให้ Nikolai และ Anna พยายามเกลี้ยกล่อมเขาไว้

ตามสไตล์ Cronenberg การลำดับเรื่องราวจะมีความค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆเปิดเผยรายละเอียดออกทีละเล็ก ช่วงแรกๆสร้างความฉงนสงสัยให้ตัวละคร Semyon ชายคนนี้คือใคร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับหญิงสาวผู้เสียชีวิต เชื่อว่าหลายคนคงครุ่นคิดว่า Kirill คือบุคคลผู้เป็นต้นสาเหตุทั้งหมด แต่เมื่อความจริงเปิดเผยย่อมสร้างความตกตะลึง อ้ำอึ้งทึ่ง และเกิดบรรยากาศอันน่าหวาดสะพรึง หญิงสาวพลัดหลงเข้าไปยังสถานที่ที่ไม่ควรเข้าไปยุ่งย่ามเกี่ยว

ผมรู้สึกว่าตอนจบของหนังค่อนข้างจะรวบรัดตัดตอน เหมือนต้องการให้ไคลน์แม็กซ์คือการต่อสู้เปลือยกายในห้องอาบน้ำ จากนั้นนำเสนอบทสรุปโชคชะตาทารกน้อย แล้วปล่อยให้ผู้ชมขบครุ่นคิดจินตนาการถึงสิ่งบังเกิดขึ้นกับ Semyon, Kirill และ Nikolai Luzhin จากภาคต่อที่เขียนบทไว้แต่ไม่ได้สรรค์สร้าง T_T


เพลงประกอบโดย Howard Leslie Shore (เกิดปี 1946) นักแต่งเพลงชาว Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario ค้นพบความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 8-9 ขวบ มีความสามารถเล่นดนตรีได้หลากหลาย เลยเข้าเรียนต่อ Berklee College of Music จากนั้นเป็นสมาชิกวงดนตรี Lighthouse แนว Jazz Fusion, ต่อด้วย Music Director ให้รายการโทรทัศน์อย่าง Saturday Night Live, สำหรับภาพยนตร์ได้รับคำชักชวนจาก David Cronenberg เริ่มต้นครั้งแรก The Brood (1979), The Dead Zone (1983), The Fly (1986), Dead Ringers (1988), Naked Lunch (1991), Crash (1996), ผลงานเด่นๆ อาทิ The Silence of the Lambs (1991), Ed Wood (1994), Se7en (1995), The Game (1997), The Lord of the Rings trilogy (2001-03) ** คว้ารางวัล Oscar ทั้งหมด 3 ครั้ง, Gangs of New York (2002), The Aviator (2004), Hugo (2011) ฯลฯ

ได้ยินเสียงไวโอลินจากบทเพลง Tatiana แวบแรกทำให้ผมครุ่นคิดถึงภาพยนตร์ Schindler’s List (1993) ประพันธ์โดย John Williams เดี่ยวไวโอลินโดย Itzhak Perlman, ต่างมอบสัมผัสความเจ็บปวดรวดร้าว เสียดแทงถึงจิตวิญญาณ นี่ฉันทำเวรทำกรรมอะไร ถึงถูกลวงล่อหลอกมาเสียตัว ตกเป็นทาสมาเฟียรัสเซีย ไม่สามารถหลบหนีเอาตัวรอด แต่ก็ยังพยายามอดทน ดิ้นรนเฮือกสุดท้าย เพื่อว่าบุตรใกล้คลอดจะได้รับโอกาสมีชีวิต หลุดพ้นจากความทุกข์ยากลำบาก … จะว่าไปพล็อตของ Schindler’s List (1993) ก็มีความละม้ายคล้าย Eastern Promises (2008) อยู่หลายๆส่วนเหมือนกัน

ความที่เดี่ยวไวโอลินของหนังมีความทรงพลังอย่างมากๆ ผมเลยลองมองหาข้อมูลดูว่าใครเป็นผู้บรรเลง ครุ่นคิดว่าอาจใช้บริการนักดนตรีมืออาชีพ และก็ค้นพบ Nicola Benedetti (เกิดปี 1987) นักไวโอลินชาวสก็อตแลนด์ เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวด BBC Young Musician of the Year เมื่อปี 2004 เมื่อตอนอายุ 16 เท่านั้น! … ตอนทำเพลงประกอบหนังเรื่องนี้ก็เพิ่งอายุ 19-20 ปี!

เกร็ด: เมื่อตอน Benedetti ชนะการประกวด BBC Young Musician of the Year 2004 มุขมนตรีสก็อตแลนด์ขณะนั้น Jack McConnell กลับไม่แสดงความสนใจใยดีอะไร เลยโดนตำหนิจากสาธารณะและนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม กระแสรุนแรงจนต้องโทรศัพท์พูดแสดงความยินดีกับเธอ

งานเพลงของ Eastern Promises (2008) มอบสัมผัสถึงบางสิ่งอย่างที่แม้เนิบนาบ แต่หนักแน่นทรงพลัง เป็นสิ่งที่คนทั่วไปอย่างเราๆไม่สามารถเผชิญหน้าต่อกร จำต้องเพิกเฉยปล่อยผ่าน เพราะมันคือสิ่งชั่วร้ายแทรกซึมอยู่ทุกแห่งหน ไม่มีใครสามารถทำอะไร ตำรวจก็พึ่งพาไม่ได้ ทางที่ดีควรหลบเลี่ยง หลีกหนี ตีตนออกให้ห่างไกล เอาสามัญสำนึกโยนทิ้งไปถ้ายังไม่อยากตกตาย

Eastern Promises (2008) เต็มไปด้วยคำสัญญาอันลวงหลอก กลับกลอก ปอกลอก ซึ่งสามารถสะท้อนทุกสรรพสิ่งอย่างในโลกยุคสมัยนี้ ภายนอกพูดบอก-แสดงออกเช่นไร ลับหลังกลับครุ่นคิด แอบปฏิบัติในทิศทางตรงกันข้าม

  • สาวชาวรัสเซีย Tatiana หลงเชื่อคำลวงเดินทางสู่กรุง London แต่กลับถูกนำมาค้าประเวณี ถูกตบตี บีบบังคับให้เสพยา จนตั้งครรภ์และคลอดบุตร
  • ภายนอกของ Semyon เป็นผู้สูงวัยแสนดี แสดงความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจไมตรีต่อ Anna แต่ลับหลังกลับคือเจ้าพ่อมาเฟีย พฤติกรรมเหี้ยมโหด เลือดเย็นชา
  • Kirill ดูเป็นชายหนุ่มเที่ยวเตร็ดเตร่ สำมะเลเทเมา ใช้ชีวิตอย่างไม่ยี่หร่าอะไร แต่ตัวตนกลับเป็นคนอ่อนแอ โหยหาใครสักคน(บิดา/แฟนหนุ่ม)สำหรับพึ่งพักพิง ต้องการพิสูจน์ตนเอง เรียกร้องความสนใจ สุดท้ายก็มิอาจกระทำสิ่งเลวร้ายได้ลง … กล่าวคือไม่ใช่คนที่ข่มขืน Tatiana และช่วงท้ายก็มิอาจปลิดชีวิตทารกน้อยได้ลง
  • คำสัญญาของ Semyon แต่งตั้งให้ Nikolai กลายเป็นสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone แท้จริงแล้วคือวางแผนให้เป็นตัวตายตัวแทนของบุตรชาย ส่งมอบให้กับศัตรูคู่อริเข่นฆ่าปิดปาก
  • แสร้งว่าเป็นบอดี้การ์ด พนักงานขับรถ แต่แท้จริงแล้ว Nikolai คือสายลับ FSB แทรกซึมเข้ามาเป็นสมาชิกระดับสูงของ Vory v zakone

แซว: นักแสดงทุกคนในหนังต่างรับบทตัวละครเชื้อสาย/ลูกครึ่งรัสเซีย แต่กลับไม่มีใครสักคนที่มีแม้แต่เศษเสี้ยวรัสเซีย

เท่าที่ผมอ่านจากบทสัมภาษณ์ของผกก. Cronenberg อธิบายใจความของภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับมรดก (heritage) การสืบเชื้อสาย ซึ่งบรรพบุรุษของเขาเองทั้งปู่และย่าต่างอพยพมาจาก Lithuania ตั้งถิ่นฐานยังสหรัฐอเมริกา แล้วบิดา-มารดาพบเจอแต่งงานกันยัง Toronto, Canada

My background is actually Lithuanian Jewish. My grandparents on both sides all came from the same town in Lithuania. My father, however was born in Baltimore. His family came to America first. My mother was born in Toronto. And somehow found each other, despite their ancestors having come from the same town, which is a classic New World romance. But I’ve always felt very Canadian; the Lithuanian part was not prevalent. But my mother was a musician, and she played piano for many choirs, and a lot of them were Russian and Ukranian. But we didn’t speak Russian. I heard a lot of Russian music, and many different languages, often Eastern European.

David Cronenberg

เกร็ด: นอกจากผกก. Cronenberg บรรดานักแสดงนำอย่าง Mortensen ก็มีเชื้อสาย American-Danish, ขณะที่ Watts ก็มีเสี้ยวจากปู่เป็นชาว Welsh, ขณะที่ Mueller-Stahl เกิดที่ East Prussia เติบโตยัง East Germany แล้วต้องอพยพลี้ภัยสู่ West Germany … เรียกได้ว่าพวกเขาต่างพานผ่านประสบการณ์อพยพ ย้ายถิ่นฐาน เป็นลูกครึ่ง เพื่อเสาะแสวงหาวิถีชีวิตที่ดีกว่า

นอกจากเรื่องต้นกำเนิด เชื้อชาติพันธุ์ หนังยังสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงประวัติความรุนแรง (History of Violence) ซึ่งในที่นี้ก็คือกลุ่มอาชญากร Vory v zakone สืบทอดกันด้วยกฎระเบียบ (Thief in Law) พานผ่านรอยสักบนเรือนร่างกาย พิสูจน์ความเป็นลูกผู้ชาย พัฒนาการความรุนแรงมาเป็นในรูปแบบระบบธุรกิจ (ตามมุมมองโลกสมัยใหม่)

Violence is a way of life for these people. It’s a business for them, it’s not serial killer craziness or psychosis – they’re not doing it for pleasure – it’s calculated business. I’m merely presenting this world from their point of view.

Mortensen ให้คำอธิบาย Eastern Promises (2008) แทบจะคือภาคต่อทางจิตวิญญาณของ A History of Violence (2005) ต่อยอดด้วยการนำเสนอประวัติความรุนแรงที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ เชื้อชาติพันธุ์ แล้วสร้างสถานการณ์ท้าทายสามัญสำนึก และตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในโลกยุคสมัยปัจจุบัน

I consider myself very fortunate to have done two movies in a row with David. I think that with this movie we explored language a little more, whereas in A History of Violence it was gesture that took precedence. Eastern Promises is a logical follow-up to A History of Violence; there are identity issues, explorations of the traditional family structure, people dealing with perilous situations and moral dilemmas and the question ‘Is violence ever justified?

Viggo Mortensen

มนุษย์อพยพย้ายถิ่นฐานกันทำไม? จะว่าไปเหตุผลไม่แตกต่างจากสรรพสัตว์ เพื่อออกค้นหาสถานที่อยู่ใหม่ อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร แหล่งน้ำ ตอบสนองความต้องการของร่างกาย-จิตใจ สำหรับมนุษย์มักเป็นการเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน โหยหาโอกาส อาชีพการงานมั่นคง ฐานะการเงินมั่งคั่ง หลบหนีจากความทุกข์ยากลำบาก เพื่อความสะดวกสบาย เป็นสุขใจในการใช้ชีวิต

ผมมอง Eastern Promises (2008) คือเรื่องราวของการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่ ถิ่นฐานใหม่ โลกทัศน์ใหม่ แนวคิดธุรกิจแบบใหม่ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง บางคนอาจโชคร้ายถูกลวงล่อหลอกมาขายตัว ใช้แรงงาน ตกเป็นทาสยาเสพติด ไม่สามารถดิ้นหลบหนีจนกว่าจะตัวตาย ก็ได้แต่คาดหวังว่าลูกหลาน ทารกน้อย อนาคตจักสามารถเติมเต็มความเพ้อฝันของบิดา-มารดา ธำรงชีพรอดปลอดภัย และมีโอกาสใช้ชีวิตอย่างคนอื่นๆทั่วไป


หนังฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาล Toronto International Film Festival ได้เสียงตอบรับดีมากๆ จนคว้ารางวัล Audience Prize แต่ด้วยทุนสร้าง $50 ล้านเหรียญ ทำเงินได้เพียง $56.1 ล้านเหรียญ ถือว่าขาดทุนย่อยยับเยิน

แม้หนังจะได้เข้าชิง Golden Globe จำนวนสามสาขา แต่กลับมาถึง Oscar แค่เพียงสาขาเดียว

  • Academy Award
    • Best Actor (Viggo Mortensen)
  • Golden Globe Award
    • Best Motion Picture – Drama
    • Best Actor – Drama (Viggo Mortensen)
    • Best Original Score
  • BAFTA Award
    • Alexander Korda Award for Best British Film
    • Best Actor (Viggo Mortensen)

น่าเสียดายสุดๆคือทุกสถาบันต่างมองข้ามการแสดงของ Armin Mueller-Stahl เป็นหนึ่งในการแสดงที่ลุ่มลึก เหี้ยมโหด และอันตรายสุดๆ (ด้วยเหตุนี้กระมังเลยถูก SNUB)

เห็นว่าผกก. Cronenberg เคยมีแผนสร้างภาคต่อ Eastern Promises 2 โดยใช้ทีมงานชุดเดิม ติดต่อนักแสดง Cassel และ Mortensen ตอบตกลงปากเปล่าไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งใจจะเริ่มต้นโปรดักชั่นหลังเสร็จจาก A Dangerous Method (2011) แต่ถูกโปรดิวเซอร์ขึ้นหิ้งเอาไว้อย่างน่าเสียดาย (คงเพราะหนังไม่ทำเงินกระมัง เลยไร้ซึ่งเหตุผลในการเข็นภาคต่อออกมา)

ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เต็มไปด้วยความลึกลับ สิ่งสร้างความระทึกทรวงใน ประทับใจทีมนักแสดง ไดเรคชั่นผกก. Cronenberg แต่ผมแอบรำคาญใจตอนจบเพราะรู้สึกยังไม่เต็มอิ่มหนำ หลายสิ่งอย่างเหมือนยังค้างๆคาๆ (ไม่ใช่ปลายเปิดเหมือน A History of Violence (2005)) พอเห็นข่าวคราวภาคต่อเลยตระหนักว่าตัวละคร Vincent Cassel ยังมีอะไรๆให้ต่อยอดอีกมาก น่าเสียด้าย น่าเสียดาย

แนะนำคอหนังอาชญากรรม (Crime) ลุ้นระทึก (Thriller), เกี่ยวกับมาเฟียรัสเซีย (Mafia Gangster), โดยเฉพาะคนชื่นชอบรอยสัก หลงใหลสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และคนกำลังจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดคน!

จัดเรต 18+ อาชญากร เจ้าพ่อมาเฟีย ความรุนแรง ภาพโป๊เปลือย

คำโปรย | คำสัญญาจอมปลอมของ Eastern Promises ถูกทำให้มีประกายความหวังเล็กๆโดยผู้กำกับ David Cronenberg
คุณภาพ | สั
ส่วนตัว | ล่อนจ้อน

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: