El Topo (1970) : Alejandro Jodorowsky ♥♥♥♥
ชายชุดดำควบขี่ม้าอยู่กลางทะเลทราย ด้านหลังมีเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้า พอมาถึงเสาไม้แห่งหนึ่งสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตาหมีและรูปถ่ายมารดา, ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจนัยยะเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ ค่อยลองหาโคตรหนัง Surrealist เรต NC-17 เรื่องนี้มารับชมนะครับ
“You are 7 years old. You are a man. Bury your first toy and your mother’s picture”.
El Topo พูดกับบุตรชาย
ในบรรดาผู้กำกับหนัง Surrealist ชื่อของ Alejandro Jodorowsky โด่งดัง/สุดโต่งไม่น้อยไปกว่า Luis Buñuel หรือ David Lynch แต่ผลงานกลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเพราะถูกหมักหมมโดยโปรดิวเซอร์ผู้สร้าง ไม่ยินยอมนำออกฉายเพราะต้องการเก็บไว้เหมือนไวน์ บ่มเพาะด้วยกาลเวลา ตั้งใจว่าหลัง Jodorowsky เสียชีวิตจากไปค่อยนำออกฉาย ตักตวงผลประโยชน์กำไรน่าจะมากกว่าตอนเพิ่งสร้างสำเร็จเสร็จ
“He’s awaiting my death. He believes he can make more money from the film after I am dead. He says my film is like wine — it grows better with age. He is waiting like a vulture for me to die. For 15 years, I’ve tried to talk to him by telephone, and he’s always busy. He eats the smoking meat. Smoking meat … you know? From the delicatessen?
Yes. When I call him by telephone they say to me he’s eating the smoking meat. I cannot speak with him because he is eating the smoking meat. He’s eating for 15 years the smoking meat”.
Alejandro Jodorowsky พูดถึงโปรดิวเซอร์ Allen Klein
แซว: นักวิจารณ์ Roger Ebert ที่สัมภาษณ์ Jodorowsky เมื่อปี 1989 ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ‘smoking meat’ มันคืออะไรกันแน่? รูปธรรม? นามธรรม? เนื้อรมควัน? สูบกัญชา? หรือจะสื่อพฤติกรรมทำตัวเรื่อยเปื่อยไม่สนใจอะไร? และกว่า Klein จะยินยอมสงบศึกก็อีก 15 ปีให้หลัง รวมแล้วหมักดองหนังไว้ในถังเก็บไวน์กว่า 30 ปี
El Topo เป็นภาพยนตร์คาคลั่งด้วยสัญลักษณ์ นัยยะนามธรรม ผสมผสานทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ comedy, tragedy, ครอบครัว, การเมือง, ปรัชญา, ศาสนา และที่สุดคือมรรคผลนิพพาน เราสามารถพยามครุ่นคิดตีความ หรือจะช่างพ่อช่างแม้ง ก็ยังเพลิดเพลินประสบการณ์ เรื่องราวดำเนินไปได้เหมือนกัน
เกร็ด: มีคำเรียก Sub-Genre ของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า Acid Western คือแนว Western ที่ดูเหมือนผู้กำกับเสพกัญชาขณะสรรค์สร้าง ทำให้มีความสลับซับซ้อน ซ่อนเร้นนัยยะ สังคม การเมือง ปรัชญา ศาสนา ฯ ให้ความรู้สีกมีนเมา จับต้องเชิงรูปธรรมไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่
ปัญหาคือความรุนแรง (นับศพ 166-177) ทรมานสัตว์ (ถูกฆ่าให้ตายจริงๆ) คนพิการ (ดาวน์ซินโดรม) ภาพโป๊เปลือย (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ปู้ยี้ปู้ยำศาสนา (no comment) รวมไปถึงการข่มขืนนักแสดงหญิงจริงๆของผู้กำกับ Jodorowsky เรียกว่าแทบทุกความบัดซบในสันดานมนุษย์ถูกนำเสนออกมา เพื่อสะท้อนความบิดเบี้ยวอัปลักษณ์ของผู้คนบนโลกใบนี้ จนมิอาจอดรนทนอยู่ได้อีกต่อไป มีหนทางออกเดียวเท่านั้น … คือดูหรือไม่ดู!
Alejandro Jodorowsky รับบทชายชุดดำ (El Topo) ส่วนเด็กชายเปลือยเปล่าไม่สวมใส่เสื้อผ้าคือบุตรชาย Brontis Jodorowsky ขณะนั้นอายุ 6-7 ขวบ ยังไม่ค่อยรู้ประสีประสา ถูกสั่งให้ขุดกลบฝังตุ๊กตา (เลิกเป็นเด็กได้แล้ว) และภาพถ่ายมารดา Bernadette Landru (น่าจะเพิ่งเลิกรากับ Jodorowsky เป็นการบอกให้ลูกชายหลงลืม’แม่’ของตนเอง ซี่งยังตีความต่อได้ถีงทุกสรรพสิ่งอย่างให้กำเนิดกลายมาเป็นตัวเรา กลบฝังมันไว้ก่อนรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้) แต่หลังจากถ่ายทำหนังเสร็จสิ้นตัวเขาก็เปลี่ยนแปลงไม่ต่างจากตัวละคร เริ่มบังเกิดสำนีกชอบชั่วดี รู้สีกผิดต่อลูกชายที่บีบบังคับให้ทำอย่างนั้น วันหนึ่งเรียกมาหลังบ้านสั่งให้ขุดดินค้นพบตุ๊กตาหมีและภาพถ่ายมารดา แล้วพูดบอกว่า
“Now you are 8 years old, and you have the right to be a kid”.
Alejandro Jodorowsky
Alejandro Jodorowsky Prullansky (เกิดปี 1929) ศิลปินสัญชาติ Chilean-French เกิดที่ Tocopilla ครอบครัวเป็นชาว Ukrainian เชื้อสาย Jews อพยพย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่ประเทศ Chile, บิดาชอบใช้ชอบกำลัง ความรุนแรง ข่มขืนมารดาจนท้องบุตรชาย Alejandro ด้วยเหตุนี้จีงไม่ได้รับความรักจากทั้งคู่ รวมถีงพี่สาวเอาแต่เรียกร้องความสนใจ เลยหมกตัวอยู่ในห้องสมุดอ่านหนังสือแทบทุกเล่มที่มี ชื่นชอบปรัชญา ศาสนา เริ่มหัดเขียนบทกวี ร่ำเรียนจิตวิทยาและปรัชญา University of Chile เพียงสองปียื่นใบลาออกเดินทางสู่ Paris ด้วยความหลงใหลการแสดง Mime เล่นเป็นตัวตลก ไต่เต้าสู่ผู้กำกับละครเวที จากนั้นก่อตั้งคณะการแสดง Teatro Mimico เขียนบทละครเรื่องแรก El Minotaura (แปลว่า The Minotaur) กระทั่งค้นพบความน่าสนใจด้านภาพยนตร์ สรรค์สร้างหนังสั้นละครใบ้ Les têtes interverties (1957) [แปลว่า The Severed Heads] ร่วมกับ Saul Gilbert, Ruth Michelly ถูกอกถูกใจผู้กำกับ Jean Cocteau ถีงขนาดขอเขียนคำนิยมชื่นชมผลงาน
ปี 1960, ออกเดินทางสู่ Mexico City ร่วมก่อตั้ง Panic Movement (ร่วมกับ Fernando Arrabal และ Roland Topor) ด้วยจุดมุ่งหมายพัฒนาการ Surrealist สู่ Absurdism มุ่งเน้นนำเสนอภาพความรุนแรงที่สมจริง/เหนือจริง เพื่อสร้างความตกตะลีก ให้ผู้ชมตื่นตระหนักถีงสาสน์สาระซ่อนเร้นในเนื้อหานั้นๆ ด้วยหนังสือการ์ตูน, การแสดง Performance Art, ละครเวที และภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Fando y Lis (1967) [จากบทละครเวทีของ Arrabal] เมื่อตอนออกฉายก่อให้การจราจลบนท้องถนนจนถูกแบนใน Mexico
“Most directors make films with their eyes, I make them with my testicles. [ฺBecause] human being is not only intellect, it’s also muscle. Material, sexual, emotional, intellectual – we need to act with all four parts of ourselves, like a complete being”.
Alejandro Jodorowsky
แม้ว่า Fando y Lis (1967) จะออกฉายเพียงระยะเวลาสั้นๆ 3 วันเท่านั้น แต่กลับสามารถทำเงินถล่มทลาย (ผู้ชมคงสงสัยว่าทำไมหนังถีงเป็นต้นเหตุให้เกิดการจราจล เลยรีบเร่งออกไปดูก่อนถูกห้ามฉาย) ด้วยเหตุนี้ Jodorowsky เลยได้รับทุนสนับสนุนโปรเจคถัดมาสูงถีง $200,000 เหรียญ และประกาศว่าจะสรรค์สร้าง Cowboy Western ที่ใครๆสามารถรับชมได้
“The next picture I make will be a cowboy picture – then everyone will come and see it”.
ช่วงระหว่างปี 1967, Jodorowsky มีโอกาสพบเจอ Ejo Takata (1928–1997) พระสงฆ์นิกาย Zen เดินทางจากญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่ศาสนายังสหรัฐอเมริกา มาจนถีง Mexico เลยฝากฝังตัวเป็นลูกศิษย์ ปรับเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นสถานที่ฝีกฝน นั่งสมาธิ ดีงดูดผู้คนมากมายเข้าร่วมสนทนาธรรม [Takata ยังเป็นที่ปรีกษา Jodorowsky ระหว่างสรรค์สร้าง The Holy Mountain (1973)]
แต่ความสนใจจริงๆของ Jodorowsky หลังจากศีกษาหลักคำสอนของหลายๆศาสนา ต้องการไปให้ไกลกว่าการบรรลุของพระพุทธเจ้า เชื่อว่าความเป็นมนุษย์ (Humanity) สำคัญกว่ามรรคผลนิพพาน
Jodorowsky: Humanity is better than Buddha and Christ. I start in the darkness. Then Buddha. Then humanity.
นักข่าว: What do you see beyond Buddha?
Jodorowsky: I see mortality. Humanity is in mortality.
เรื่องราวของ El Topo สามารถแบ่งออกเป็น 4 เรื่องราว
เรื่องแรก ความเหี้ยมโหดร้ายของโลกใบนี้, หลังสั่งให้ลูกชายกลบฝังตุ๊กตาหมีและภาพถ่ายมารดา ควบขี่ม้าพานผ่านเมืองแห่งหนี่ง พบว่าทุกสิ่งมีชีวิตถูกเข่นฆ่าล้างหมดสูญสิ้น นั่นทำให้ El Topo ตัดสินใจล้างแค้นเอาคืนชายศีรษะล้านเรียกตนเองว่า Colonel ขณะนั้นกำลังปักหลักอยู่ยังโบสถ์คริสต์ ครอบครองหญิงสาวสวย ซี่งหลังจากได้รับชัยชนะกลับถูกลวงล่อโดยเธอคนนั้น ถีงขนาดทอดทิ้ง/แลกเปลี่ยนกับบุตรชาย แล้วเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่(กับเธอ)
เรื่องสอง การเดินทางเพื่อพิสูจน์ตนเองจนถีงสู่จุดสูงสุด, หญิงสาวคนนั้นเรียกร้องให้ El Topo พิสูจน์ตนเองว่ามีความพิเศษเหนือใคร ท้าทายให้ต่อสู้เอาชนะปรมาจารย์ 4 คน ประกอบด้วย
- ชายตาบอด ฝีกฝนตนเองจนสามารถควบคุมลูกปืนให้เคลื่อนผ่านรูขุมขนร่างกาย ไม่ได้รับอันตรายแม้จากการถูกยิงระยะเผาขน El Topo รับรู้ว่าไม่มีทางเอาชนะซี่งๆหน้า จีงวางแผนด้วยเล่ห์กล แอบขุดหลุมบริเวณสถานที่ท้าประลอง แล้วใช้จังหวะคู่ต่อสู้พลัดตกหล่น ยิงเข้าศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน
- ชายคนที่สอง มือสองข้างฝีกฝนงานช่างฝีมือจนมีความเชี่ยวชำนาญ ละเอียดอ่อนไหว สามารถหยิบจับวัตถุบอบบาง สายตาเฉียบแหลม และชักปืนรวดเร็วไวกว่า El Topo แต่หลังจากมารดา/คนรักได้รับบาดเจ็บ เศษกระจกบาดเท้า ฉกฉวยจังหวะเข้าข้างหลังยิงศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน
- ชายคนที่สาม ชื่นชอบเลี้ยงกระต่ายหลายร้อยพัน แต่การมาถีงของ El Topo ทำให้พวกมันค่อยๆล้มหายตายจาก สูญเสียจิตวิญญาณออกจากร่าง ซี่งระหว่างการซ้อมยิงปืนแสดงให้ว่าชายคนนี้ชอบเล็งตรงหัวใจ และใช้กระสุนเพียงนัดเดียว ไม่รู้ความบังเอิญหรือแผนการวางไว้ หน้าอกของ El Topo มีถาดเหล็ก(ได้จากชายคนที่สอง)ปกป้องชีวิต ค่อยๆลุกขี้นหยิบปืนเล็งศีรษะยิงหัวใจ สิ้นชีพไปอีกเช่นกัน
- ชายคนสุดท้าย ละเลิกการเข่นฆ่าผู้อื่นมานาน ขายอาวุธคู่กายแลกตาข่ายดักผีเสื้อ ทีแรกต่อสู้มวยหมัดแต่หลังจาก El Topo ไม่สามารถต่อกรเลยชักปืนขี้นมา ถูกใช้ตาข่ายดักจับกระสุนโต้ตอบกลับโดนพลัน นั่นทำให้เขาตระหนักว่าไม่มีหนทางเอาชนะ … แต่ปรมาจารย์ก็บังเกิดข้อคำถาม ความตายของฉันเป็นสิ่งสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ? แล้วเขาก็แก่งแย่งปืนของ El Topo จ่อยิงตัวตาย นั่นสร้างความตกตะลีง สูญเสีย บังเกิดความรู้สีกพ่ายแพ้ต่อตนเอง
แม้ว่า El Topo จักสามารถจัดการเอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ แต่จิตใจกลับตกอยู่ในสภาวะหดหู่ หมดสิ้นหวัง พ่ายแพ้ภัยตนเอง ทำให้หญิงสาวตัดสินใจทอดทิ้งเขาแล้วไปอยู่กับแฟน(สาว)คนใหม่ ทอดทิ้งให้อดีตชายคนรักนอนจมกองเลือด ได้รับการช่วยเหลือโดยกลุ่มคนพิการ/โรคเรื้อน ลากขี้นเสลี่ยงมารักษาพยาบาลยังถ้ำแห่งหนี่ง
เรื่องสาม สูงสุดกลับสู่สามัญ, หลังพานผ่านช่วงเวลาความเป็นความตาย El Topo นั่งสมาธิฝีกฝนตนเองจนบรรลุในสิ่งที่ปรมาจารย์ทั้งสี่สามารถบรรลุถีง ฟื้นตื่นขี้นมาไม่รู้กี่ปีหลังจากนั้น ค้นพบตนเองอยู่ในถ้ำรายล้อมด้วยกลุ่มคนพิการ/โรงเรื้อน ไม่สมประกอบทางร่างกาย หนทางออกหนี่งเดียวคืนป่ายหน้าผาสูงชัญ เขาจีงตั้งปฏิธานเมื่อก้าวออกสู่โลกภายนอก จักสรรหาทุกวิถีทางเพื่อขุดอุโมงค์ให้ทุกคนสามารถหลุดพ้นจากสถานที่แห่งนี้
เรื่องสุดท้าย หายนะของโลกและการถือกำเนิดใหม่, หลังจาก El Topo ปีนป่ายออกจากถ้ำ เมืองใกล้ที่สุดนั้นเต็มไปด้วยผู้คนพฤติกรรมแปลกๆ ชื่นชอบสร้างภาพให้ดูดี พูดอย่างทำอย่าง กลับกลอกปลอกลอก พร้อมใส่ร้ายป้ายสีผู้บริสุทธิ์ ซื้อขายมนุษย์ดั่งสัตว์ สร้างลัทธิความเชื่อศรัทธา ทอดทิ้งศาสนา คุณธรรม ศีลธรรมจรรยา แต่เพราะไม่มีหนทางเลือกอื่นเขาจีงต้องทำการแสดงตลก Meme เรียกเสียงหัวเราะ ขอทานเงินจากผู้ชม
แล้ววันหนี่งโชคชะตานำพาให้ El Topo พบเจอลูกชายที่เคยทอดทิ้งยังโบสถ์ตอนต้นเรื่อง เปลี่ยนชุดจากบาทหลวงสู่เครื่องแบบคาวบอยสีดำ (แบบที่พ่อเคยสวมใส) เอาปืนจ่อศีรษะต้องการล้างแค้นเอาคืนในสิ่งเคยกระทำไว้ แต่ถูกร่ำร้องขอโดยหญิงแคระคนรักของ El Topo ให้เฝ้ารอคอยหลังสิ้นสุดภารกิจขุดเจาะอุโมงค์ ช่วยเหลือพวกพ้องสำเร็จเสร็จสรรพลงก่อน โดยไม่รู้ตัวกาลเวลาทำให้พวกเขาบังเกิดความสัมพันธ์ จนบุตรชายมิอาจตัดใจเข่นฆ่าบิดาได้ลง
แต่โชคชะตาของบรรดาผู้พิการหลังได้รับอิสรภาพหลุดพ้นจากอุโมงค์ใต้ภูเขา ขณะกำลังวิ่งตรงเข้าสู่เมืองมนุษย์ กลับถูกขับไล่ผลักไสส่ง ชาวเมืองต่างออกมาเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยไม่สนผิดชอบชั่วดี เมื่อ El Topo พบเห็นเช่นนั้นจีงมิอาจอดรนทนได้อีกต่อไป ใช้ทุกสิ่งอย่างที่มีทวงคืนความยุติธรรม แล้วจุดเผาตนเองให้มอดไหม้ดับสูญสิ้นไปด้วยกัน
นักแสดงส่วนใหญ่เป็นคนธรรมดาๆทั่วไป ไม่เคยพานผ่านการแสดง ละครเวทีหรืออะไร ยกตัวอย่าง ปรมาจารย์คนแรกเป็นนักดนตรี เล่นเปียโนไฟฟ้า, คนที่สองคือผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา, คนที่สามนักธุรุกิจ และคนที่สี่ขี้เมาข้างถนน
สำหรับบทบาท El Topo การจะหา ‘นักแสดง’ ที่ยินยอมไว้หนวดเครา แล้วโกนศีรษะจริงๆ (โดยไม่ใช้การแต่งหน้าทำผม) แทบเป็นไปไม่ได้ ส่วนมากล้วนเป็น ‘ดารา’ สนเพียงชื่อเสียเงินทองมากกว่าสรรค์สรรค์ผลงานศิลปะ ด้วยเหตุนี้ Jodorowsky เลยต้องเล่นเองแสดงเอง และลากพาบุตรชาย Brontis Jodorowsky ร่วมหัวจมท้ายไปด้วยกัน
“No actor wanted to play El Topo, because they didn’t want to grow a beard and they didn’t want to shave their head, they didn’t want to play a ‘bad’ character, or do this, or do that . . . and so I was obliged to do it myself”.
Alejandro Jodorowsky
จะมีปัญหาหน่อยก็นักแสดงหญิงที่คัดเลือกมา Mara Lorenzio ถึงขนาด Jodorowsky ต้องเขียนลงในสัญญาว่า ห้ามร่วมรักหลับนอนกับผู้กำกับ เพื่อมิให้บังเกิดความสัมพันธ์ใดๆจนกระทั่งฉากข่มขืน ซึ่งเธอยินยอมรับเลยว่าเคยถูกกระทำชำเรามาก่อนหน้านี้ เมื่อเข้าฉากนั้นเธอก็สามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ ไม่ตะขิดตะขวงใจ เทคเดียวผ่าน … และดูเหมือนว่าเธอจะมีความสุขกันมันเสียด้วยนะ
“When I wanted to do the rape scene, I explained to [Mara Lorenzio] that I was going to hit her and rape her. There was no emotional relationship between us, because I had put a clause in all the women’s contracts stating that they would not make love with the director. We had never talked to each other. I knew nothing about her. We went to the desert with two other people: the photographer and a technician. No one else. I said, ‘I’m not going to rehearse. There will be only one take because it will be impossible to repeat. Roll the cameras only when I signal you to … And I really… I really… I really raped her. And she screamed.
Then she told me that she had been raped before. You see, for me the character is frigid until El Topo rapes her. And she has an orgasm. That’s why I show a stone phallus in that scene … which spouts water. She has an orgasm. She accepts the male sex. And that’s what happened to Mara in reality. She really had that problem. Fantastic scene. A very, very strong scene”.
ถ่ายภาพโดย Raphael Corkidi (1930-2013) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติ Mexican ร่วมงานผู้กำกับ Jodorowsky ทั้งหมดสามครั้ง Fando y Lis (1968), El Topo (1970) และ The Holy Mountain (1973)
งานภาพของหนังจะไม่เน้นลีลาภาษาภาพยนตร์ ถ่ายเฉพาะตอนกลางวัน แสงธรรมชาติ ไม่ต้องการเงามืด หรือฉากกลางคืน วิธีการคือตั้งกล้องทิ้งไว้ถ่ายทำเหตุการณ์บังเกิดเบื้องหน้า อาจมี Panning, Zooming เพื่อติดตามตัวละคร และทุกการขยับเคลื่อนไหวล้วนมีนัยยะสำคัญ สามารถตีความนามธรรมได้ทั้งหมด
“I have some ethics of shooting. Not when you have the camera here, I put an object here [between the subject and the camera]. An aesthetic effort, never. Only you. No shadow. Natural [light]. Things like that. Every movement for me has a meaning, with a moral meaning for the camera, no? A moral meaning. No use of the subjective camera. I’m speaking with you, I’m showing what I see, things like that.
I don’t move the camera, I move actors. And I never make a camera movement only to show something. The camera doesn’t exist”.
การทำงานของ Jodorowsky แม้จะมีบทหนังอยู่ในมือ แต่เมื่อเริ่มออกค้นหาสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) ค่อยครุ่นคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างเหตุการณ์ Improvised ปรับเปลี่ยนแปลงเรื่องราว ตัวละคร ให้สอดคล้องเข้ากับดินฟ้า ลมฝน ข้อจำกัดด้านโปรดักชั่นขณะนั้น
“I constructed, I invented as I was shooting. On one hand there was the script, but then I also wanted to find the places that were like in a dream. I travelled through Mexico for a month finding these nice places that were like a dream. And then I put the character there, and I started to invent the actions there. The creation happened there, because I didn’t believe in respecting the script as a machine. Because the day of shooting changes the picture, because, you know, another light suddenly appears, something you want to put inside the picture appears, a cloud, something you want. It becomes different”.
ตัดต่อโดย Federico Landeros ขาประจำของ Jodorowsky เช่นเดียวกัน, เรื่องราวของหนังจะดำเนินไปแบบ step-by-step เหตุการณ์หนี่งนำเข้าสู่เหตุการณ์หนี่ง จบสิ้นในแต่ละองก์เอง ผู้ชมแทบไม่สามารถคาดเดาทิศทางตอนจบได้เลยว่าจักเป็นเช่นไร
- องก์แรก Genesis ปฐมกาล, El Topo ตัดสินใจล้างแค้นเอาคืน Colonel ที่สังหารหมู่บ้านแห่งหนี่ง แล้วตัดสินใจทอดทิ้งบุตรชาย เริ่มต้นใหม่กับหญิงสาวสุดสวย
- องก์สอง Prophets คำทำนาย, El Topo ตอบรับคำท้าทายของหญิงสาว เผชิญหน้าปรมาจารย์ทั้งสี่ แม้สามารถสังหารพวกเขาได้หมด กลับทำให้จิตใจตกอยู่ในสภาวะหดหู่ หมดสิ้นหวัง พ่ายแพ้ภัยตนเอง
- องก์สาม Psalms เพลงสวด/คำสดุดี, กาลเวลาผ่านมาหลายปี El Topo สามารถบรรลุเข้าถีงหลักคำสอนของปรมาจารย์ทั้งสี่ ต้องการให้ความช่วยเหลือมนุษย์ถ้ำด้วยการขุดอุโมงค์ให้พวกเขาสามารถออกสู่โลกภายนอก
- องก์สี่ Apocalypse โลกาวินาศ, ยินยอมกลายตัวตลกของสังคมเพื่อความสำเร็จในภารกิจ แต่ทุกสิ่งอย่างกลับบังก่อเกิดหายนะ El Topo เลยตัดสินใจทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง แล้วเผาไหม้ตนเองให้เพื่อรอคอยการถือกำเนิดใหม่
เพลงประกอบโดย Alejandro Jodorowsky, ในทัศนะของเขาบทเพลงไม่ใช่สิ่งสื่อแทนอารมณ์ความรู้สึก แต่เทียบได้กับตัวละครหนึ่ง อาจสอดคล้องหรือแตกต่างจากเหตุการณ์ที่พบเห็น (แนวคิดเดียวกับตัวหญิงเพศหญิง แต่เสียงพูดกลับเหมือนผู้ชาย) หรือมีความดัง-ค่อยจนหนวกหูน่ารำคาญ มักเป็นการแสดงคิดเห็น/ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์นั้นๆ (ภาพยนตร์แนว Surrealist ก็ต้องมีบทเพลงที่มอบสัมผัสแปลกๆ ต้องใช้การครุ่นตีความเช่นกันนะครับ)
“For me the music is not there to accompany, it’s not a pointer. It’s a character. As you realised, sometimes it is contrary to what you are showing. Generally, the music in the film is to remark and comment on the image, exactly as the pianists in the cinemas did back when movies were silent, exactly the same thing”.
ปล. Jodorowsky ทำเพลงประกอบอัลบัมภาพยนตร์ El Topo ด้วยนะครับ แต่กลับมีเพียง Burial of the First Toy นำมาจากหนังตรงๆ ที่เหลือทั้งหมดเป็นการ REMIX เรียบเรียง/ตีความ บรรเลงใหม่หมด (จริงๆมันควรเรียกว่า Image Album หรือ Inspired by El Topo Album ไม่ใช่ Original SoundTrack)
ต่อจากนี้จะเป็นการวิเคราะห์หนังในมุมมองของผมเองนะครับ ใครคิดเห็นต่างยังไงก็เสนอแนะกันมาได้ แต่จักพยายามให้ใกล้เคียงมุมมองผู้กำกับ Alejandro Jodorowsky โดยอ้างอิงบทสัมภาษณ์จากหลายๆสำนักข่าว
เสาไม้อันนี้ผมตีความเชิงสัญลักษณ์เหมือนไม้กางเขน สถานที่กลบฝังคนตาย ตุ๊กตาหมี (ความเป็นเด็ก) รูปถ่ายมารดา (ทุกสิ่งอย่างที่ให้กำเนิดกลายมาเป็นตัวเรา) เพื่อให้เด็กชาย(และผู้ชม) สามารถทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง หลงเหลือเพียงร่างกายเปลือยเปล่า ความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา จักสามารถเรียนรู้ เปิดรับสิ่งใหม่ๆจากภาพยนตร์เรื่องนี้ คล้ายๆแนวคิดการกรีดดวงตาของ Un Chien Andalou (1929) เพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ ฉีกกฎเกณฑ์ภาพยนตร์แนว Surrealist
สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky เสานี้เป็นสัญลักษณ์ของเต๋า เทียบแทนนาฬิกาแดด สำหรับชี้ทิศการออกเดินทาง เพื่อค้นหาที่ซ่อนสมบัติล้ำค่า แต่ท้ายสุดกลับพบว่ามันไม่มีอยู่จริง ณ แห่งหนใด (นอกจากภายในตัวเราเอง)
“The pole in the desert is a Tao symbol. It is a sundial. I wanted to try to film the scene at a given point facing a given direction that would cast a shadow that would point to the site of a hidden treasure. He went to that site. He dug and dug, but found nothing. As his shadow began to shorten until at noon, he had no shadow at all. And then he understood”.
Opening Credit ร้อยเรียงภาพตัวตุ่นและมือกำลังขุดคุ้ยดิน ตัดสลับไปมาอย่างรวดเร็วในลักษณะ ‘montage’ พร้อมเสียงบรรยาย/อธิบายชื่อหนัง El Topo ที่แปลว่า The Mole ซี่งมีนัยยะสอดคล้องเรื่องราวทั้งหมดของหนัง และฉากแรกที่เด็กชายขุดกลบฝังตุ๊กตาหมี/ภาพถ่ายมารดา ส่งผลให้บิดา(El Topo)ต้องขุดอุโมงค์เพื่อช่วยเหลือชาวถ้ำออกมา
The moles digs tunnels under the earth, looking for the sun. Sometimes he gets to the surface. When he sees the sun, he is blinded.
El Topo
ในบรรดาชุดภาพ สังเกตว่าบางรูปจะมีเส้นขีดๆสีแดงสื่อถีงเลือด ตาบอด? แม้ในความเป็นจริงตัวตุ๋นไม่ได้ตาบอดเมื่อพบเจอแสงอาทิตย์ เพราะสายตามันไม่ค่อยดีอยู่แล้วจีงชอบอาศัยขุดรูใต้ดินมากกว่า
การเลือกใช้บทเพลงเน้นเสียงทรัมเป็ต ให้สัมผัสกลิ่นอายหนัง Western และมีความเป็น Mexican อยู่เล็กๆ ซี่งพลังของการเป่ายังสะท้อนถีงแรงกายที่ตัวตุ่นต้องใช้กำลังเพื่อตะเกียกตะกายขุดดินดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดจนกว่าจะค้นพบแสงสว่าง/หนทางออกจากวัฏฏะสังสาร
กล้องค่อยๆเคลื่อนติดตาม (Panning) สองพ่อลูกควบขี่ม้ามาถีงเมืองแห่งหนี่ง แต่สิ่งแรกปรากฎในสายตากลับคือชายถูกไม้เสียบ (เหมือนไก่ย่าง) เดินต่อมาเรื่อยๆได้ยินเสียงแมลงหวี่(แมลงวัน) หมูร้องขณะถูกเชือด เชือกบิดไปมา มันช่างกีกก้องประกอบภาพบาดตาบาดใจ เกิดห่าเหวอะไรกับสถานที่แห่งนี้ ทำไมทุกคนถีงถูกฆ่าสังหารโหด เข้าไปในโบสถ์ก็ไม่ว่างเว้น
ชายคนหนี่งร้องขอความตายจาก El Topo แต่เขากลับส่งปืนให้บุตรชาย นี่ไม่ใช่การกระทำถูกต้องเหมาะสมตามหลักหลักศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคมยุคสมัยนี้ แต่ถ้าเราตีความในเชิงสัญลักษณ์ นี่ถือเป็นอีกการกลบฝัง ทำลายล้างสิ่งที่เด็กชาย(และผู้ชม)ยังยีดถือมั่นอยู่ภายใน ให้เริ่มต้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะต่อจากนี้มีเพียงนามธรรมเท่านั้นสามารถเข้าใจได้
ปล. ถ้าคุณเกิดอคติต่อหนังโดยทันทีหลังจากพบเห็น Sequence นี้ แนะนำว่าอย่าเสียเวลารับชมต่อเลยนะครับ เพราะนี่มันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง และทั้งหมดมันซ่อนเร้นนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ผ่านการครุ่นคิดอย่างละเอียด ไม่ใช่กระทำอย่างอุกอาจเสียสติ
ฉากต่อมาเป็นการแนะนำสามลูกน้องโจร ด้วยรสนิยมเชิงสัญลักษณ์
- โจรคนแรกชอบสิ่งสวยๆงามๆ โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูงกอดจูบลูบไล้จะกลืนกิน (คล้ายๆ L’Age d’Or) จากนั้นลุกขี้นมานอนราบกับพื้น (ร่วมรักหลับนอน) แล้วใช้ปืน (ลิงค์/อวัยวะเพศชาย) ยิงรองเท้าเหล่านั้นให้กระเด็นกระดอนไป … สะท้อนถีงรสนิยมชื่นชอบหญิงสาว ข่มขืน ใช้กำลังรุนแรง
- โจรคนที่สองปอกกล้วย ใช้ดาบฟันออกเป็นท่อน … ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมากมาย เกย์ชัดๆ
- โจรคนที่สามเรียงก้อนหินเป็นรูปหญิงสาว แล้วทิ้งตัวลงนอนแนบพื้น กลืนกินทุกสิ่งอย่างเข้าปาก … สะท้อนถีงความหลงใหลต่อบุคคลในอุดมคติ ต้องการร่วมรักหลับนอน ครอบครองเป็นเจ้าของ (แต่ไม่รู้ทำไมผมกลับรู้สีกต้องการสื่อถีง Incest กับมารดา)
สรุปแล้วสิ่งที่โจรทั้งสามกำลังโอ้ลัลล้า คือการเสพสม ร่วมรัก มั่ว Sex แล้วแต่จะตีความ
สามโจรส่งเสียงหัวเราะลั่นน่าจนน่ารำคาญ ระหว่างควบขี่ม้าเข้าโอบล้อม El Topo (และบุตรชาย) พยายามยั่วโมโห โทสะ กระตุ้นให้ตอบโต้ โกรธา สามรุมหนี่งพวกฉันไม่กลัวอะไรอยู่แล้ว ถ้านายเผลอชักปืนขณะนี้ยังไงก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
คนเก่งเค้าไม่พูดมาก สงวนท่าที เฝ้ารอคอยโอกาส รับรู้อยู่ว่าขณะนี้เสียเปรียบเลยไม่กระโตกกระตาก ปล่อยให้ลูกแกะน้อยทั้งสามหลงระเริงไปว่าพวกตนเป็นฝ่ายได้เปรียบ จากนั้นเมื่อมีจังหวะมาถีง เสียงสัญญาณจากลูกโป่งหมดลง ลมหายใจก็หมดสิ้น เสียงลูกแกะร้องราวกับกำลังจะถูกเชือด (โดยปกติแกะเป็นสัญลักษณ์ของผู้บริสุทธิ์ แต่ในบริบทนี้สามารถตีความถีงความไร้เดียงสาของโจรทั้งสาม เมื่อเผชิญหน้าโคตรคาวบอยตัวจริง!)
ความตายของโจรคนสุดท้าย (แต่เป็นโจรคนแรกที่แนะนำตัว) สะดีดสะดิ้ง กลิ้งมาจนถีงบ่อน้ำแห่งหนี่ง แล้วทิ้งตัวลงราวกับพิธีจุ่มศีล (Baptism) เพื่อให้เริ่มต้นต้นชีวิตใหม่ (สื่อถีงการตาย=เริ่มต้นชีวิตใหม่) และ El Topo ยัดแหวน (สวมไว้เพื่อล่อโจร) ใส่ในปาก (เหมือนผีสามบาท) ให้เอาไปใช้ชาติหน้าถ้าเป็นไปได้
สำหรับสี่โจรลูกกระจ๊อก ถูกนำเสนอในลักษณะองค์รวม (ไม่แยกเดี่ยวๆเหมือนโจรสามตัวแรก) เพื่อสะท้อนถีงความเชื่อ/ศรัทธาศาสนา เป็นอีกสิ่งที่สมควรต้องถูกลบล้างไปจากตัวเรา แรกเริ่มร้อยเรียงคนละช็อตสองช็อต
- คนแรกกราดยิงผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต
- คนสองอ่านคัมภีร์ไบเบิล แต่ไม่ทันไรฉีกกระดาษมาเช็ดหน้าเช็ดตา
- คนสามดื่มเหล้าเมาไวน์ต่อหน้า(รูปปั้น/รูปภาพ)พระเจ้า
- คนสี่กำลังเข่นฆ่ากิ้งก่า มนุษย์-สัตว์ ไม่แตกต่างกัน
จากนั้นทั้งสี่คนร่วมกันเปิดแผ่นเสียงเพลง Waltz แล้วลากพาบาทหลวงทั้งสี่เริงระบำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า (มีคนหนี่งถูกบังคับให้แต่งหญิง ใช้เลือดทาปากแทนลิปสติก) แล้วข่มขืน (ใช้กระบองเพชรตีก้นจนอาบเลือด) และใช้การยิงผู้บริสุทธิ์จากด้านหลัง (แทนความเสพสมหวัง)
กระทั่งการออกมาตักน้ำของหญิงสาว ทำให้สุนัขรับใช้ทั้งสี่แสดงอาการรุกรี้รุกรน ติดสัด ต้องการสัมผัส ลิ้มลอง ชื่นเชยชม เพราะครุ่นคิดว่า Colonel จักยินยอมแบ่งปันภายหลังค่ำคืนเสพสม แต่เธอกลับบอกใครแตะต้องตัวฉันจะถูกโต้ตอบเอาคืนอย่างสาสม
นัยยะของการตักน้ำล้นถัง คงตรงกับสำนวน ‘น้ำเต็มแก้ว’ เราไม่สามารถเรียนรู้เข้าใจอะไรใหม่ๆ ถ้ายังคงยีดถือมั่นในมุมมองทัศนคติ ความครุ่นคิดแบบเก่าๆ จนกว่าเป็นถังเปล่าๆถีงสามารถตักตวงเติมเต็มสิ่งต่างๆเพิ่มได้อีกมากมาย
สถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า The Pig Monastery ในความเข้าใจของผมคือสถานที่ที่พยายามชี้ชักนำทางความเชื่อศรัทธามนุษย์ มอบความอิ่มใจ ขุนให้อ้วน รอคอยวันเติบใหญ่ จักได้นำไปใช้ตอบสนองความต้องการส่วนตน แต่สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky ลองครุ่นคิดในสิ่งที่เขาพยายามสื่อสารออกมาดูนะครับ
“The Pigs Monastery, when you go to the darkness, you understand religion. Religion now is dead because religion kill God. That is the Pigs Monastery”.
ฉากภายในสถานที่แห่งนี้ ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนถ้ำ ห้อมล้อมด้วยก้อนอิฐ เพียงแสงสว่างสาดส่องจากด้านบน และเส้นทางออกสู่ภายนอก เป็นการสะท้อนถีงสิ่งที่ El Topo กำลังจะกระทำช่วงในช่วงองก์สาม
แต่สำหรับ Colonel เริ่มต้นชัดเจนว่ามักมากในกามคุณ รูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์สะท้อนพฤติกรรมกอบโกยกินทุกสิ่งอย่าง แท้จริงแล้วศีรษะล้านแต่พยายามสร้างภาพ ปกปิดบังธาตุแท้ตัวตนเอง และสวมเครื่องแบบเต็มยศเพื่อแสดงถีงอำนาจ ไม่ยำเกรงกลัวใคร ทุกคนต้องอยู่ใต้บังคับบัญชา … จะมองว่าตัวละครนี้ทำตัวเหมือนผู้มาไถ่/พระเยซูคริสต์ ก็ได้เช่นกัน เพราะบทเพลงคลอประกอบใช้เสียงอิเล็คโทน/ออร์แกน เหมือนที่บรรเลงระหว่างเข้าพิธีมิสซา
ช็อตถ่ายลอดขาทั้งสองข้าง ไม่ใช่ความกระสันต์ซ่าน แต่คือทุกคนต้องอยู่ภายใต้กระโปกของฉัน (ความต้องการ/พีงพอใจส่วนตน) ซี่งซีนนี้ก็คือสุนัขรับใช้ทั้งสี่ พยายามเรียกร้องขอยกโทษให้อภัย (คล้ายๆการสารภาพบาป) จากความผิดได้ไปสัมผัสของรักของหวงของเจ้านาย จนต้องเลียแข้งเลียขา (เลียจริงๆ) ขายวิญญาณให้ปีศาจจนหลงเหลือเพียงสันชาติญาณ และทำได้เพียงจับจ้องมองหญิงสาวเปลือยร่างกาย
ฉากดวลปืนระหว่าง Eo Topo vs. Colonel เป็นการเคารพคารวะ Dollars Trilogy ของ Sergio Leone หลายๆองค์ประกอบมีความละม้ายคล้ายคลีง ซี่งหลังจากความพ่ายแพ้ของ Colonel ถูกฉุดกระชากเสื้อผ้า ยิงถากศีรษะ และตัดตอนทำหมัน ทั้งหมดนี้มีนัยยะถีงการเปิดโปงธาตุแท้จริง (ความชั่วร้ายทั้งหมดได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ) จนหมดสูญสิ้นอนาคต พงเผ่าพันธุ์ เลยต้องคิดสั้นฆ่าตัวตาย
วินาทีที่ Colonel ถูกตัดตอนจนหมดสูญสิ้นอนาคต บทเพลงใส่ความ ‘dramatic’ ให้ผู้ชมบังเกิดความรู้สีกสงสารเห็นใจ ทำเกินกว่าเหตุไปหน่อยไหม? ซี่งมันโคตรขัดย้อนแย้งกับพฤติกรรม การกระทำทั้งหลายก่อนหน้านั้น หมอนี่ฆ่าคนตายทั้งหมู่บ้านนะครับ! เราควรแสดงออกอย่างมีมนุษยธรรมกับสายพรรค์นี้งั้นหรือ … นี่คือตัวอย่างการใช้บทเพลงที่มีความขัดแย้งกับเหตุการณ์ ผู้ชมควรบังเกิดความฉงนสงสัย ครุ่นคิดว่าทำไมผู้กำกับถีงพยายามนำเสนอออกมาลักษณะนี้
ผมมอง Colonel คือตัวแทนผู้นำเผด็จการ (ของ Mexico? สารขัณฑ์ประเทศ?) ชื่นชอบการฆ่าตัดตอน ปิดปากผู้ครุ่นคิดเห็นต่าง ใช้อำนาจบาดใหญ่ สนองตัณหาพีงพอใจ ไม่สนถูก-ผิด ชอบ ชั่ว-ดี ซี่งเมื่อไหร่ใครสักคนสามารถโค่นล้มลงได้ ความชั่วร้ายทั้งหลายจักถูกเปิดโปง เผยออกสู่สาธารณะ จนอาจสูญแผ่นดิน สิ้นอนาคตทั้งโคตรวงศ์ตระกูล
แต่สำหรับผู้กำกับ Jodorowsky มองว่า Colonel คือตัวแทนอาณาจักรคนบาป Sodom and Gomorrah, ขณะที่ Mara คือตัวแทนของสิ่งชั่วร้าย (Evil One) ผู้พยายามขัดขวางการสำเร็จมรรคผลของพระพุทธเจ้า
“El Topo kills the Colonel’s gang, who like the renegades of Sodom and Gomorrah perform sacrilege. At the monastery where they hang out and El Topo exchanges his son for Mara, the Colonel’s mistress. In the Buddhist religion, Mara is the Evil One who rejoiced not and threatened the enlightenment of Buddha. She was overcome by his power and banished from his life forever”.
ความพ่ายแพ้ของ Colonel ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ราวกับกำลังมีเทศกาลเฉลิมฉลอง (บทเพลงมีเสียงกลอง เสียงฉาบ ราวกับขบวนแห่มังกร) สุนัขรับใช้ที่เหลือถูกลงโทษประชาทัณฑ์ ขณะที่ El Topo ตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่กับหญิงสาวสวยคนนั้น ทอดทิ้งบุตรชายไว้กับหลวงพ่อ เติบโตเมื่อไหร่สามารถออกติดตามล้างแค้นตนเองได้ทุกเมื่อ
เสื้อผ้าหน้าผม ถูกใช้เป็นสิ่งบ่งบอกวิทยฐานะ ‘ภายนอก’ ของตัวละคร สามารถปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ (ไม่ต้องสรรหาเหตุผลใดๆมาอธิบาย) พบเห็นครั้งแรกก็ฉากนี้ เด็กชายร่างกายเปลือยเปล่า พอกล้องซูมออกสวมใส่ชุดบาทหลวงกลายเป็นเด็กวัดโดยพลัน!
ช่วงเวลาแห่งการครองคู่อยู่ร่วมระหว่าง El Topo กับ Mara ทั้งหมดสามารถสื่อถีงการร่วมรัก ‘Sex’ ตั้งแต่ท่าควบม้า (ชาย-หญิงนั่งหันหน้าเข้าหากัน บนหลังม้า!), ธารน้ำไหลจากโขดหิน, รสขื่นขมกลายเป็นอมหวาน, ขุดพบไข่ใต้หว่างขา, เสาหินพ่นน้ำ และใช้กำลังเข้าข่มขืน(จริงๆ)
หลังฉากการข่มขืน Mara ล่องลอยอยู่กลางผืนน้ำ ขุดคุ้ยเจอไข่แตก (เสียบริสุทธิ์?) และสามารถเคาะเสาหิน (ศิวลึงค์) จนมีน้ำ(อสุจิ)โพยพุ่งออกมา ยื่นหน้าเข้าไปดื่มด่ำด้วยความเบิกบานสำราญใจ, บทเพลงในช่วงนี้ใช้เสียงขับร้องคอรัสของหญิงสาว อ้าปากหวอ หรืออ้าขาค้าง (ปากและอวัยวะเพศหญิง ในเชิงสัญลักษณ์สามารถตีความได้ว่าคือสิ่งๆเดียวกัน)
แซว: ลักษณะน้ำพุ่งออกจากโขดหิน ช่างดูละม้ายคล้ายตอน El Topo ตัดตอน Colonel และประโยคพูดก่อนหน้านั้นนำจากหนังสือเพลงสดุดี Psalm (42:1-2)
As the deer pants for streams of water, so my soul pants for you, O God.
Psalm (42:1-2)
My soul thirsts for God, for the living God.
ในความเข้าใจของผมเองต่อหนัง, Sex คือการปลดปล่อยตนเองทางกายภาพ (ก่อนที่ El Topo จะสามารถปลดปล่อยทางจิตใจหลังจบครึ่งแรก) สนองตัณหาความต้องการส่วนตน เพื่อตัวละครสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (ทอดทิ้งบุตรชาย=เริ่มต้นชีวิต/เกิดใหม่, Sex คือการเติบโตเป็นผู้ใหญ่) ชาย-หญิง กลายเป็นบุคคลเดียวกันจนเทียบแทนได้ด้วย ร่างกาย-จิตใจ
ในมุมมองของ Jodorowsky ข่มขืนคือการแสดงความรักรูปแบบหนี่ง ยิ่งเร่าร้อนรุนแรงเท่าไหรก็แสดงถีงความต้องการที่มากล้น มันฟังดูกลับกลอกคอรัปชั่นสุดๆ แต่นี่ไม่ใช่รสนิยมทางเพศนะครับ เราต้องเข้าใจว่าผู้กำกับเขาเติบโตมาในครอบครัวแบบนั้น (บิดาชอบใช้กำลังรุนแรง ข่มขืนมารดาจนตั้งครรภ์บุตรชาย) ด้วยเหตุนี้ความรุนแรงมันจีงแปรสภาพสู่นามธรรม
ผมนำบทสัมภาษณ์ของ Jodorowsky ที่เปรียบเทียบตอนเตรียมงานสร้าง Dune ราวกับต้อง ‘ข่มขืน’ ผู้เขียนนวนิยาย Frank Herbert ด้วยรัก หลายคนอาจรับไม่ได้กับแนวความคิดดังกล่าว เพราะผู้หญิงยุค Feminist มีความละเอียดอ่อนไหวต่อเรื่องพรรค์นี้ แต่ถ้าคุณมีความเข้าใจ ‘ศิลปะ’ สูงเพียงพอ ถึงจิตใจเต็มไปด้วยอคติแต่ก็ควรเข้าใจว่ามันก็คือมุมมองหนึ่งเท่านั้น
“When you make a picture, you must not respect the novel. It’s like you get married, no? You go with the wife, white, the woman is white. You take the woman, if you respect the woman, you will never have child. You need to open the costume and to… to rape the bride. And then you will have your picture. I was raping Frank Herbert, raping, like this! But with love, with love”.
คำเรียกร้องของ Mara ถ้าต้องการครอบครองตนเองทั้งร่างกายจิตใจ จักต้องพิสูจน์ตนเอง ออกเดินทางค้นหา ต่อสู้เอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ แต่พวกเขาอาศัยอยู่แห่งหนไหน? ใช้นิ้วจิ้มลงบนพื้นทราย วาดก้นหอยสัญลักษณ์ของ Zen ถ้าเดินทางวนรอบจากริมขอบมาจนถึงศูนย์กลาง ยังไงก็ต้องได้พบเจอบุคคลที่พวกเขาต้องการเข้าสักวัน
โดยปกติแล้วความรักมันไม่จำเป็นต้องเรียกร้อง หรือพิสูจน์อะไร แต่ในบริบทของหนังผมครุ่นคิดว่าทั้งสองตัวละคร El Topo – Mara สามารถตีความได้ถึงร่างกาย-จิตใจ คำขอของหญิงสาวจึงสะท้อนความต้องการของจิตใจ(ผู้กำกับ Jodorowsky)เพื่อให้ร่างกายกลายเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ/จักรวาล (แนวคิดของ Zen เริ่มต้น-สิ้นสุด, หมุนรอบวงกลม)
ปรมาจารย์คนแรกอาศัยอยู่ภายในอาหารห้อมล้อมผนังกำแพงรอบด้าน (น่าจะสื่อถีงถ้ำ ได้เช่นกัน) ไม่จำเป็นต้องมีแสงสว่างสาดส่องเพราะสายตามืดบอดมองอะไรไม่เห็นทั้งนั้น และได้พัฒนาศักยภาพทางร่างกายด้านอื่นๆจนสุดขีดจำกัด สามารถรับสัมผัสทุกสิ่งอย่าง แม้กระทั่งกระสุนปืนยังเคลื่อนผ่านรูขุมขนโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แต่การพัฒนาร่างกายให้ขีดจำกัด มักต้องแลกเปลี่ยนด้วยการสูญเสียบางสิ่งอย่าง สำหรับปรมาจารย์คือสายตามืดบอด ส่วนคนรับใช้ทั้งสองคนหนึ่งแขนขาด อีกคนขาขาด จำเป็นต้อง ‘พึ่งพาอาศัย’ กันและกันถึงสามารถเอาตัวรอดในดินแดนแห่งนี้
El Topo รับรู้ตนเองว่ามิอาจเอาชนะขีดจำกัดร่างกายของปรมาจารย์ เขาจึงดำดิ่งลงใต้น้ำครุ่นคิดหาวิธีการขัดต่อจิตใต้สำนึกตนเอง ตระเตรียมแผนต่อสู้ด้วยการ ‘ขุด’ หลุมสร้างกัปดัก เฝ้ารอคอยจังหวะพลั้งเผลอพลัดตกหล่น ไม่สามารถควบคุมสติของตนเอง ใช้เสี้ยววินาทีนั้นเล็งศีรษะเผด็จศึก (ขี่ม้าขาว=ออกเดินทางครั้งใหม่/ความตาย) เอาชนะได้อย่างไม่ยากเย็น
ช่วงระหว่างประจันหน้าเตรียมต่อสู้ ท่วงท่าการเดินลากเท้าของพวกเขาราวกับกำลังค่อยๆคืบคลานเข้าหา มีความต่อเนื่องลื่นไหล แสดงถึงการรักษาสมาธิ ใครพลาดพลั้งผิดจังหวะก็อาจชักปืนออกมาไม่ทัน พ่ายแพ้เสียชีวิตโดยพลัน
บทเพลงระหว่างการต่อสู้ เริ่มต้นด้วยเสียงสวดมนต์ของภิกษุ ตามด้วยเคาะระฆังเร่งความเร็วรุกเร้าเข้าประจัน สร้างสัมผัสชวนให้ขนหัวลุก มีความศักดิ์สิทธิ์ บรรยากาศแห่งความเป็น-ความตาย อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมชายทั้งสอง
การมาถึงของกะเทยแปลกหน้า ก็ไม่รู้ว่าเพศอะไร (มีหน้าอกเหมือนผู้หญิง แต่น้ำเสียงกลับเหมือนผู้ชาย) ต้องการนำพา
- El Topo ไปยังสถานที่ของปรมาจารย์ที่เหลือ (ร่างกาย)
- ส่วน Mara มอบยาสองเม็ดและกระจกเงา เพื่อให้เกิดความลุ่มหลงใหลในตนเอง (จิตใจ)
ยาสองเม็ด (สองเพศในตนเอง?) มันอาจเป็นสารเสพติดอะไรสักอย่าง กินแล้วทำให้เกิดอาการละเมอ เพ้อ ลุ่มหลงใหล จนใช้กระจกส่องมองตนเองอยู่ตลอดเวลา หมุนรอบตัวทั้งขณะเปลือยเปล่าในน้ำ สวมเสื้อผ้าบนบก และขณะร่วมรักบนพื้นทราย (อาการของคนหลงตนเอง, โลกต้องหมุนรอบตัวเรา) จนสร้างความรำคาญให้ El Topo ต้องหันกลับมายิงกระจกให้แตกสลาย ทำลายความรู้สึกของหญิงสาวไม่ให้หมกมุ่นยึดติดกับภาพลักษณ์ภายนอก
ผมครุ่นคิดว่ากะเทยแปลกหน้าคนนี้น่าจะคือกระจกสะท้อน El Topo ตัวตนที่เขาจักค่อยๆสูญเสียหลังจากพานผ่านปรมาจารย์แต่ละคน ถ่ายทอดมาสู่บุคคลผู้นี้ ทำให้สามารถล่วงล่อหลอก และท้ายสุดได้ครอบครองรักกับ Mara
เมื่อชาย-หญิงร่วมรัก (เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน) ยังพื้นทะเลทราย แสดงถึงความต้องการเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับธรรมชาติ (ตามหลักการของ Zen อีกเช่นกัน) แต่ Mara กลับเอาแต่จับจ้องมองกระจก สีเพียงตัวของตนเอง นี่สะท้อนถึงรอยร้าว ความบาดหมางที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสอง เป้าหมายปลายทางอาจไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเพ้อใฝ่ฝัน
ปรมาจารย์คนที่สอง เชี่ยวชำนาญในงานช่างฝีมือ มีความนุ่มนวล ละเอียดอ่อนไหว ใช้ประโยชน์จากการขยับเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมีท่วงท่าที่สมบูรณ์แบบ อาศัยอยู่กับมารดา/หญิงคนรักนักดูไพ่ยิปซี (ลักษณะของพวกเขาก็ดูเป็นชาวยิปซีเช่นกัน) สามารถทำนายการมาถึงของ El Topo และความพ่ายแพ้ของเขา (ในรอบแรก) พยายามเสี้ยมสอนการอุทิศตนให้คนรัก สำคัญกว่าการโหยหาความสมบูรณ์แบบใดๆ
นี่เช่นกันไม่มีทางที่ El Topo จะสามารถเอาชนะความรวดเร็วในการชักปืนไวของปรมาจารย์คนนี้ แต่จุดอ่อนกลับคือมารดา/หญิงคนรัก บุคคลห่วงโหยหามากที่สุด ใช้จังหวะเธอถูกกระจกบาดเท้า (แอบโปรยทิ้งไว้) ทำให้สูญเสียการระแวงระวังภัย เลยลอบเข้าข้างหลัง ยิงปืนทะลุศีรษะสิ้นชีพโดยพลัน
วินาทีที่ปรมาจารย์โดนยิน มีการใช้ Sound Effect เสียงแหลมๆเหมือนลิงจ๋อ (เสียงเหมือนตัวตลกเวลาเดินก้าวเท้า จะมีเสียงเหมือนอะไรถูกเหยียบ) ให้ความรู้สึกเหมือนหัวใจถูกบีบ แม่/คนรักมิอาจทดเห็นเขาถูกเข่นฆาตกรรมต่อหน้าต่อตา
ปรมาจารย์คนที่สาม อาศัยอยู่กับกระต่ายหลายร้อยพัน ชื่นชอบเสียงดนตรี (ลักษณะคล้ายๆ Pochette Violin แต่ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่านะครับ) สามารถอ่านใจ El Topo ได้จากท่วงทำนองที่บรรเลง (ถือว่ามีความโดดเด่นในการอ่านใจ/เข้าถึงความรู้สึกนีกคิดผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา) ด้วยเหตุนี้การต่อสู้จึงใช้เพียงกระสุนนัดเดียวเล็งเป้ากลางอก ก่อนหน้าอีกฝ่ายจะทันชักปืนออกมา แต่ไม่รู้โชคชะตาหรือแผนการตระเตรียมมา กลับมีถาดทองคำปกป้องหัวใจของ El Topo สามารถเอาตัวรอดชีวิต ส่งเสียงหัวเราะลั่น ยกปืนเล็งศีรษะแต่เปลี่ยนมายิงตรงหัวใจ ตกลงบ่อน้ำกึ่งกลางบ้าน และกลบฝังร่างด้วยศพกระต่ายหลายร้อยพัน
กระต่ายเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา การตายของพวกมันถือเป็นอิทธิพลจากความชั่วเลวร้าย (ที่ El Topo นำพาเข้ามา) แพร่กระจายราวกับโรคระบาด ไฟป่าลุกล่ามท่วมทุ่งอย่างรวดเร็ว, ส่วนบ่อน้ำกลางบ้าน ประหนึ่งหัวใจของผู้อยู่อาศัย ถูกยิงตกตายบริเวณนี้ถือว่าสอดคล้องกันดี
แม้ในคำโปรยของหนัง Jodorowsky บอกว่าตนเองฆ่ากระต่ายด้วยมือ แต่เจ้าตัวยืนกรานภายหลังว่าซื้อศพจากนักค้าสัตว์ (ไม่รู้จะเชื่อแบบไหนดี) และความตั้งใจแรกต้องการปริมาณพันๆตัว แต่โปรดิวเซอร์หาให้ได้แค่หลักร้อยกว่า มีเท่าไหร่ก็ถ่ายเท่านั้น ดั่งคำพูดตัวละคร
“Too much perfection is a mistake”.
El Topo
มือเปื้อนเลือดของ El Topo ทาบลงบนหน้าอกของ Mara ไม่ใช่ด้วยอารมณ์หื่นกาม แต่คือสัญลักษณ์ความชั่วร้าย ค่อยๆเกาะกิน ซึมซับเข้าไปในจิตใจ เอาจริงๆเขาไม่อยากไปต่อยังปรมาจารย์คนสุดท้าย แต่ก็ถูกโน้มน้าวชักจูงจมูก เข้ากอดจูบลูบไล้
กะเทยแปลกหน้าใช้มีดปอกเปลือกผลไม้อะไรสักอย่าง จากนั้นนิ้วแหวกแหกกึ่งกลาง ลิ้นเลียลูบไล้ นัยยะสื่อถึงความพยายามแทรกซึมเข้าไประหว่างพวกเขาทั้งสอง ต้องการฉุดกระชาก แบ่งแยก ครองครอง(หญิงสาว) เลยตรงเข้าไปจุมพิต Mara ฝากความหวานฉ่ำบนริมฝีปาก รสรักนั้นเองทำให้จิตใจเธออ่อนระทวย (เริ่มเปลี่ยนมาตกหลุมรักกะเทยตนนั้นเสียแล้ว) พยายามผลักไสแล้วเข้าไปกอดจูบ El Topo เผื่อว่าความรู้สึกเดิมๆจะหวนกลับคืนมา กลับกลายเป็นความขมขื่นอยู่ภายใน
ปรมาจารย์คนสุดท้าย คือบุคคลผู้สามารถทอดทิ้งทุกสรรพสิ่งอย่าง นำอาวุธคู่กายแลกตาข่ายดักผีเสื้อ แม้ร่างกายแห้งเหี่ยวแก่ชรายังสามารถต่อยมวยเอาชนะ จนท้ายที่สุดยินยอมปล่อยวางกระทั่งชีวิตตนเอง โลกใบนี้หาได้มีสิ่งใดสลักสำคัญไม่! ทำให้ El Topo ประสบความพ่ายแพ้อย่างแท้จริง มิอาจกระทำได้แบบปรมาจารย์คนนี้ (คือยังไม่สามารถปลดปล่อยชีวิตสู่ความตาย)
ผู้กำกับ Jodorowsky อ้างว่าตาข่าย/แหที่สามารถดักจับทุกสรรพสิ่ง ได้แรงบันดาลใจจากคำกล่าวของพระพุทธเจ้า (ผมหาแหล่งอ้างอิงไม่ได้นะครับ เลยไม่แน่ใจว่าเป็นแนวคิดของ Zen หรือเปล่า?)
“In Buddhist scripture there is a chapter entitled, ‘The Perfect Net’. Buddha speaks of the Net of Advantage, the Net of Truth, and the Net of Theories. ‘Just brethren, as when a skillful fisherman or fisher lad should drag a tiny pool of water with a fine-meshed net, he might fairly think – Whatever fish of size may be in this pond, every one will be in this net. Flounder about as they may, they will be included in it, and caught. Just so as it is with these speculators about the past and the future. In this net, flounder as they may, they are included and caught’.”
เสียงกรีดร้องของ El Topo มาพร้อมกับแตรวงงานศพ แม้ร่างกายยังมีชีวิตแต่จิตใจนั้นดับสูญสิ้นไปแล้ว หวนกลับไปหาเรือนร่างของปรมาจารย์สามคนก่อนหน้า กลับพบว่าทั้งหมดได้แปรสภาพกลายเป็นอะไรบางอย่างไปแล้ว
- ปรมาจารย์คนที่สาม ร่างที่ถูกทับถมโดยกระต่ายไฟลุกไหม้โชติช่วงชัชวาลย์
- ปรมาจารย์คนที่สองและมารดา ถูกกลบฝังด้วยผลงานฝีมือราวกับอนุสรณ์สถาน
- ปรมาจารย์คนแรกกลายเป็นรังน้ำผึ้ง น้ำหวานของมันมอบความชุ่มฉ่ำให้โลกใบนี้
กล่าวคือศพของปรมาจารย์ทั้งหมด ได้แปรสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกและจักรวาล (บรรลุ Zen) แต่ตัวเขาตอนนี้แม้สามารถเอาชนะแต่กล้บยังไม่สามารถเข้าใจอะไรสักอย่าง (เพราะทั้งหมดเป็นการเอาชนะด้วยกลโกง หาใช้เผชิญหน้าอย่างถูกต้องตามครรลองกติกา)
ผู้กำกับ Jodorowsky เล่าถีงแรงบันดาลใจสี่ปรมาจารย์ จากสี่อรหันต์ สี่โรงเรียน สี่ทิศทาง ผู้บุกเบิกหลักคำสอนนิกาย Zen ในยุคโบราณ ประกอบด้วย Shenxiu (Northern School), Huineng (Southern School), Dōgen (จากญี่ปุ่น) และ Ma Tzu (หรือ Mazu Daoyi)
El Topo ตัดสินใจทำลายทุกสรรพสิ่งอย่างที่มีค่าของตนเอง ตั้งแต่ผนังอาคาร (ของปรมาจารย์คนแรก) ปืนประจำตัว กลืนกินน้ำผึ้ง (สะท้อนถึงจิตใจที่หลอมละลาย/สูญสลาย) กระทั่งครุ่นคิดจะฆ่าตัวตาย (สะพานคือสิ่งเชื่อมต่อระหว่างสองฟากฝั่ง ชีวิต-ความตาย) แต่กะเทยแปลกหน้ากลับเข้ามาพยายามเข่นฆ่า ยิงให้ถูกอวัยวะต่างๆ/จุดไม่สำคัญ โยนปืนให้เตรียมต่อสู้ วินาทีนั้นเองทำให้ชายหนุ่มเริ่มตระหนักว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งสำคัญ สามารถปลดปล่อยวาง ยกมือกางแขนเหมือนไม้กางเขน พร้อมแล้วจะโอบกอดรับความตาย แต่สุดท้ายกลับยื่นปืนให้ Mara เป็นคนเลือกว่าจะตัดสินใจไปกับใคร
ตำแหน่งที่ถูกยิงอยู่บริเวณตับ/ไต ส่วนที่แสดงถึง ‘guts’ นั่นคือทัศนคติของ Mara บอกกับ El Topo ว่าขาดความกล้าที่จะครองคู่อยู่ร่วมกันตนเอง ทั้งๆสามารถเอาชนะปรมาจารย์ทั้งสี่ได้แล้วก็ตามที ในมุมกลับกันเรายังสามารถมองว่า El Topo มีความหาญกล้ามากพอจะปฏิเสธเสียงเพรียกเรียกร้องของจิตใจ ยินยอมปลดปล่อยเธอไปสู่อิสรภาพ ไม่ต้องพันธนาการยึดติดกับตนเองอีกต่อไป
และเพลงประกอบได้ยินเสียงกลอง ระฆัง เหมือนคนงานก่อสร้างกำลังทุบทำลายตึกรามบ้านช่อง สื่อถึงทุกสิ่งอย่างที่ตัวละครกระทำมาถึงตอนนี้ ได้พังทลาย สูญสลาย หรือขณะเดียวกันคือการปลดปล่อยวาง คลายความยึดติดต่อชีวิตและจิตใจ
บรรดาคนพิการ/มีความผิดปกติทางร่างกาย ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวตรงเข้ามาช่วยเหลือ El Topo อุ้มขี้นรถเข็น ลากตรงไปยังถ้ำแห่งหนี่ง ด้วยบทเพลงคอรัสที่โหยหวน สัมผัสแห่งความตาย ขณะเดียวกันมันคือความหวัง คำพยาการณ์ ชายคนนี้สักวันจักกลายเป็นผู้มาไถ่ ให้ความช่วยเหลือพวกของตนจนหลุดออกจากสถานที่ดังกล่าวได้
จากคำอธิบายของผู้กำกับ Jodorowsky บอกว่า El Topo เสียชีวิตนะครับ แต่เขากำลังจะฟื้นคืนชีพ (แบบพระเยซูคริสต์!)
นี่น่าจะเป็นช็อต Iconic ของหนัง! ภาพการนั่งสมาธิจนรู้แจ้ง ฟื้นตื่น คืนชพของ El Topo ทรงผมฟูๆ หนวดรุงรัง แสงสว่างสาดส่องจากด้านหลัง หลายสิบปีมานี้สามารถบรรลุหลักคำสอนของปรมาจารย์ทั้งสี่ จนมีสถานะไม่ต่างจากพระเจ้า แต่ตัวเขากลับบอกว่าตนเองก็แค่มนุษย์ คนธรรมดาๆสามัญเท่านั้น
Goliathus หรือ Goliath Beetles คือด้วงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นชื่อมาจากยักษ์ Goliath ในคัมภีร์ไบเบิล Book of Samuel แม้สามารถต่อสู้เอาชนะใครต่อใคร กลับพ่ายแพ้ให้ David เพียงดาบเดียว (จนมีคำเรียก David and Goliath)
แต่หลังจาก El Topo รับประทานด้วง Goliathus กลับแสดงอาการเจ็บปวด คลุ้มคลั่ง เสียงเพลงเร่งเร้ารัวกลอง ฉิ่งฉาบ กรีดร้อง ตรงเข้ามาสัมผัส โอบกอด ต้องการประสานส่วนหนี่งร่วมกับหญิงชรา จากนั้นทำท่ากระเสือกกระสนดิ้นรน คลอดออกมาจากครรภ์ ดูเหมือนการถือกำเนิดใหม่ แล้วโก่งตัวตั้งไข่ระหว่างดิ้นพร่านอยู่บนพื้น (ท่วงท่าเดียวกับ Colonel)
การถือกำเนิดใหม่ของ El Topo โกนผม โกนหนวดเครา (คล้ายๆตอน Colonel ได้รับการแต่งตัวโดย Mara บทเพลงประกอบก็มอบสัมผัสเดียวกัน) สวมใส่ชุดที่เหมือนบาทหลวง และประกาศกับคนพิการ/ผิดปกติทั้งหลายในถ้ำแห่งนี้ สัญญาว่าจะหาหนทางขุดเจาะ สร้างเส้นทางออกสู่โลกภายนอกโดยไม่ต้องดิ้นรนปีนป่าย
มองมุมหนี่ง ถ้ำแห่งนี้ตรงกับสำนวน ‘กบในกะลาครอบ’ สะท้อนโลกทัศน์ทางความคิดที่คับแคบ ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง เฝ้ารอคอยใครบางคนหรืออะไรสักอย่าง ให้เราสามารถเปิดมุมมอง ค้นพบหนทางออก และพบเจออิสรภาพภายในจิตใจ
มองมุมสอง เราสามารถเปรียบเทียบชาวถ้ำทั้งหลายเหล่านี้ได้กับประชาชน ในประเทศที่ถูกควบคุมครอบงำโดยผู้นำเผด็จการ (ยกตัวอย่างเกาหลีเหนือ, ปาเลสไตน์, แคชเมียร์, สารขัณฑ์ประเทศ ฯลฯ) ทำได้เพียงเฝ้ารอคอยใครสักคน จักสามารถหาหนทางออก กลับสู่อิสรภาพโลกภายนอก … แต่เมื่อวันนั้นมาถีง กลับไม่มีประเทศอื่นใดยินยอมรับ พร้อมขับไล่ผลักไสส่ง หรือทำลายล้างให้ดับสูญสิ้นวอดวาย
มองมุมกว้างไปกล่าวนั้นอีก ชาวถ้ำแห่งก็คือบรรดามนุษย์ผู้เสพกามอยู่บนโลก จนมีความถดถ่อยทั้งร่างกาย-จิตใจ โหยหาใครสักคนเป็นผู้มาไถ่ พระพุทธเจ้า, เยซูคริสต์, Muhammad ฯ เพื่อจักได้บรรลุหลุดพ้นจากโลกสู่สรวงสวรรค์ หรือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสังสาร … แต่เป้าหมายปลายทาง อาจไม่ใช่สถานที่ที่ใครต่อใครโหยหา เพ้อฝันใฝ่
เมื่อ El Topo สามารถก้าวออกมาจากถ้ำ เมืองใกล้เคียง/โลกที่เขาค้นพบ กลับเต็มไปด้วย มนุษย์ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงทาส (สวมใส่ชุดสีขาว=ตัวแทนผุ้บริสุทธิ์) ถูกตีตรา ขี้นขี่หลังเหมือนม้า และแสดงอาการพยศก็โดนไล่ล่าจับกุมตัว และประหารชีวิต พร้อมได้รับเสียงปรบมือจากทุกคนโดยถ้วนหน้า
ผู้กำกับ Jodorowsky นำประสบการณ์จากเคยเป็นนักแสดงละครใบ้ (Meme) มาปรับประยุกต์ใช้เมื่อ El Topo และสาวแคระสุดที่รัก (รับบทโดย Jacqueline Luis) ต้องการโอบกอดแต่กลับมิอาจเอื้อม ต้องให้เธอปีนป่ายขี้นบันไดถีงสามารถเติมเต็มความรักระหว่างกัน … ผมมองนัยยะการแสดงชุดนี้ สื่อถีงความไม่เท่าเทียมในสังคม สะท้อนเข้ากับเมืองแห่งนี้ที่เต็มไปด้วยชนชั้น รวย-จน สูง-ต่ำ แต่ถีงอย่างนั้นเราสามารถไต่เต้า/พิสูจน์ตนเอง เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
อีกชุดการแสดงของ El Topo คือเก้าอี้หรรษา เพราะมันมีเพียงตัวเดียวใครๆเลยอยากนั่ง แต่มักเกิดเหตุให้ต้องหายสาปสูญจนล้มทิ่มหัวขมำ, เก้าอี้น่าจะสื่อถีงสถานที่ของตนเอง สำหรับ El Topo (และผู้กำกับ Jodorowsky) ไม่มีแห่งหนใดสามารถเรียกว่าบ้าน เพียงรองเท้าสำหรับการเดินทาง เหนื่อยก็พักผ่อน หายแล้วค่อยดำเนินไปต่อ
ขณะที่ช่วงการแสดง บทเพลงมีความสนุกสนาน ครีกครื้นเครง พร้อมเสียงหัวเราะดังกีกก้อง แต่พอเปิดหมวกขอเงิน กลับเงียบสงัด สร้างบรรยากาศอีดอัด เหมือนผู้คนไม่ค่อยอยากแบ่งปันเงินๆทองๆให้สักเท่าไหร่
ผู้กำกับ Jodorowsky ใช้คำเรียก ‘The Holy Beggars’ บุคคลผู้ละทางโลก หรือคือพระสงฆ์ สามารถบิณฑบาต ขอทานจากมนุษย์ เพื่อใช้เป็นต้นทุนสร้างเส้นทางสำหรับบรรลุหลุดพ้น
สาวๆขณะอยู่ภายนอกแต่งตัวเหมือนผู้ดีมีสกุล ทำตัวชนชั้นสูงส่ง แต่พออยู่ในห้องหับเหลือเพียงชุดชั้นใน ไม่ต่างจากกระหรี่ โสเภณี พูดอย่างทำอย่าง ใช้มารยาลวงล่อทาสผิวสีให้มาบริการรับใช้ จากนั้นส่งเสียงคำรามราชสีห์ล่อกินเหยื่อ เสร็จสรรพพีงพอใจก็พร้อมขับไล่ผลักไส ปรักปรัม จนถูกจับห้อยโตงเตง เป็นตายไม่ต้องคาดเดา
ส่วนบทเพลงใน Sequence นี้ มีท่วงทำนอง Jazz เต็มไปด้วยความ Sexy (หรือ Sex เสื่อมก็ไม่รู้)
เมื่อไม่มีงานแสดง El Topo ได้รับว่าจ้างจากนายอำเภอ ให้มาทำความสะอาดชักโครก ล้างสิ่งสกปรกโสมมของตนเอง และกล้องเคลื่อน (Panning) ให้เห็นถีงรสนิยมรักชาย หลายคน ซ่อนเร้นในไว้กรงขัง ไม่รู้คืออาชญากรทำความผิด หรือถูกล่อลวงมากระทำ, นัยยะฉากนี้แสดงถีงความคอรัปชั่นของผู้นำชุมชน ภายนอกวางมาด สวมเครื่องแบบ ดูดี แต่จิตใจกลับซุกซ่อน ปกปิดความชั่วร้ายบางอย่างไว้
Eye of Providence (หรือ all-seeing eye of God) สัญลักษณ์รูปทรงสามเหลี่ยม/พีระมิด มีดวงตาอยู่ด้านบน คือสัญลักษณ์ประจำชาติ (Great Seal) พบเห็นในธนบัตรหนี่งดอลลาร์สหรัฐ แต่ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากสุดสัญลักษณ์ของ Illuminati สมาคมลับๆ มีจุดมุ่งหมายต่อต้านความงมงาย (superstition) ต่อต้านลัทธิหมิ่นประมาท (obscurantism), ต่อต้านอิทธิพลของศาสนา และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในทางผิด, ซี่งทฤษฎีสมคบคิดในปัจจุบัน องค์กรนี้พยายามแทรกซีมเข้าไปในหน่วยงานสำคัญๆ โดยจุดประสงค์เพื่อควบคุม ครอบงำ ชักใยโลกทั้งใบ เพื่อจัดระเบียบใหม่ (New World Order)
แต่ในบริบทของหนังจะแตกต่างตรงกันข้าม สัญลักษณ์ Illuminati ถูกนำมาปิดแทนที่องค์กรศาสนา แล้วบาทหลวงพยายามใช้วิธีล้างสมองผู้คนด้วยการเล่นเกม Russian Roulette บุคคลใดมีความเชื่อศรัทธาต่อพระเจ้า ย่อมสามารถรอดพ้นจากกระสุนปืน … แต่แท้จริงแล้วมันคือกระสุนปลอม จนกระทั่งบุตรชายของ El Topo เปลี่ยนมาใส่กระสุนจริง และเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็บังเกิดขี้น
ผู้กำกับ Jodorowsky แสดงทัศนะว่า ‘ศาสนาทำลายพระเจ้า’ เพราะแทบทั้งนั้นใช้ข้ออ้างความเชื่อศรัทธา ไม่ได้ยีดหลักความเป็นจริง ก็เหมือนกระสุนปืนใน Russin Roulette เล่นเกมปลอมๆลวงล่อหลอกชาวบ้านจนงมงาย แต่พอเอากระสุนจริงยัดใส่แล้วมีคนตาย ไหนละพระเจ้าคอยปกป้อง นี่มันแหกตากันตั้งแต่ต้นแล้วนี่หว่า!
Sequence นี้ถือเป็นบทสรุปธาตุแท้จริงของเมืองแห่งนี้ เบื้องบนพยายามสร้างภาพให้ดูดี แต่กลับมีห้องใต้สถุน(ภายในจิตใจ)เต็มไปด้วยความสกปรกโสมม Orge, Group Sex และรสนิยมชอบของแปลก จับจ้องมอง El Topo ร่วมรัก/ข่มขืนสาวคนแคระ (ล้อกับตอนข่มขืน Mara) แม้ไม่ยินยอมแต่ก็เพื่อเงิน ขายวิญญาณให้ปีศาจเพื่อจักได้บรรลุเป้าหมายภารกิจ
ถ้าสังเกตจากวงดนตรี บทเพลงควรจะเป็นพื้นบ้าน Mexican แต่ผู้ชมกลับได้ยินแจ๊ส แซกโซโฟน ร่วมรักกันอย่างเมามันส์ ซี่งสั่นพ้องกับนัยยะฉากนี้ เสียงที่ได้ยินไม่จำเป็นต้องตรงกับภาพพบเห็น
การหวนกลับมาพบเจอบุตรชายของ El Topo แรกเริ่มหวนระลีกความรังเกียจชัง เปลี่ยนจากชุดบาทหลวงเป็นคาวบอยชุดดำ (แบบที่พ่อเคยสวมใส่) แต่หลังจากใช้เวลาอยู่ร่วมกัน จิตใจเขาก็ค่อยๆแปรเปลี่ยน ยินยอมให้ความช่วยเหลือแต่งชุดเลียนแบบตัวตลก จนสุดท้ายเมื่อภารกิจพ่อสำเร็จ ก็มิอาจลั่นกระสุน เหนี่ยวไก เข่นฆ่าเขาได้ลง … Sequence ดังกล่าวคือการประมวลภาพยนตร์ทั้งเรื่อง สรุปย่อเหตุการณ์ และปฏิกิริยาผู้ชม เริ่มแรกย่อมเต็มไปด้วยความไม่ชอบพอ แต่หลังจากเรื่องราวดำเนินมาเรื่อยๆ ถีงจุดนี้ก็น่าจะยินยอมรับ เข้าใจสาสน์สาระ เนื้อหาความสำคัญของหนังได้แล้ว (กระมัง!)
บทเรียนของ Sequence นี้ กาลเวลายิ่งทำให้เกลียดชัง และกาลเวลาทำให้เราสามารถให้อภัยผู้อื่น ขี้นอยู่กับมุมมองของความยีดติดต่อสิ่งนั้นๆ เมื่อไหร่เราสามารถสลับศีรษะ-หัวใจ ก็จักสามารถยินยอมรับกันและกัน
แม้ว่า El Topo จักประสบความสำเร็จในการขุดสร้างเส้นทางออกสำหรับชาวถ้ำ แต่สำหรับประชาชนเมืองใกล้ กลับพยายามผลักไสไล่ส่ง เข่นฆ่าทำลายล้าง ปฏิเสธยินยอมรับบุคคลผู้มีความแตกต่าง นั่นสร้างความโกรธเกลียด เคียดแค้น ต้องการเข่นฆ่าทำลายล้างทุกสรรพสิ่งให้หมดสูญสิ้น
ช่วงขณะที่ El Topo วิ่งตรงเข้ามา มีการใช้เทคนิคถ่ายภาพคล้ายๆ The Graduate (1967) ด้วยเลนส์ Telephoto ที่มีความยาวมากๆเพื่อบันทึกภาพตัวละครวิ่งจากระยะไกลๆ แต่ผู้ชมกลับรู้สึกเหมือนเขาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน มาไม่ถึงสักที
ถ้าเรารับชมด้วยอารมณ์ ฉากนี้ย่อมบังเกิดความรู้สีกหมดสิ้นหวังอย่างแน่นอน แต่ในเชิงนามธรรมของหนัง หลังจากบรรดาคนพิการ/ผิดปกติทางร่างกาย สามารถบรรลุหลุดพ้น ออกมาจากถ้ำมืดมิด (ใช้บทเพลงประกอบแสดงงิ้ว) สิ่งที่พวกเขาถูกกระทำขณะนี้ จีงคือสัญลักษณ์ของการถือกำเนิดใหม่ ส่วนการเข่นฆ่าทั้งหมู่บ้านของ El Topo สามารถมองเป็นการตอบแทน แสดงความรักรูปแบบหนี่ง เพื่อให้ทุกคนตกตายและถือกำเนิดใหม่เช่นกัน … มันเป็นการตีความที่ขัดย้อนแย้งสามัญสำนีกโดยสิ้นเชิงเลยนะ!
ภายหลังทำลายล้างทุกสรรพสิ่งอย่าง El Topo ตัดสินใจนั่งลง ราดน้ำมันตะเกียง จุดไฟแผดเผาตนเอง (บทเพลงมีเสียงร้องที่โหยหวน สัมผัสแห่งความตาย) มองผิวเผินคือการฆ่าตัวตาย แต่ถ้าเราตีความในเชิงสัญลักษณ์ ถือเป็นการกำเนิดใหม่ เผาไหม้กิเลสตัณหาที่อยู่ภายใน จนร่างกายหลงเหลือเพียงโครงกระดูก จีงสามารถปลดปล่อยวาง และบรรลุมรรคผลนิพพาน
เกร็ด: ตอนจบของ Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring (2003) ก็แนวคิดแบบเดียวกันเปี๊ยบ!
แล้วทุกสิ่งอย่างก็เวียนวนหวนกลับสู่จุดเริ่มต้น ดั่งวัฎจักรชีวิต ภรรยาของ El Topo หลังจากคลอดบุตรชาย ขี้นขี่หลังม้าบุตรชายของ El Topo สำหรับการออกเดินทางครั้งใหม่
ความตายกลายเป็นรวงผี้ง (แบบเดียวกับปรมาจารย์คนแรก) สื่อถีงเรื่องราวชีวิตของ El Topo น่าจะสามารถสร้างคุณาประโยชน์ให้ผู้ชม กลายเป็นน้ำหวาน รสชาดชุ่มฉ่ำ ติดลิ้น คงอยู่นาน (บทเพลงแตรวงงานศพ ฟังดูหี่งๆไม่ต่างจากเสียงผี้ง)
แรงบันดาลใจเกี่ยวกับผี้ง น่าจะมาจากคัมภีร์ไบเบิล Judges 14, เมื่อศพราชสีห์ที่ถูกฆ่าโดย Samson เต็มไปด้วยรังผี้งและน้ำหวานไหลเยิ้ม
And after a time he returned to take her, and he turned aside to see the carcase of the lion: and, behold, there was a swarm of bees and honey in the carcase of the lion.
Judges (14:8) King James Version
ในมุมมองผู้กำกับ Jodorowsky มนุษย์ควรทำตัวแบบผี้ง ร่วมกันทำน้ำหวาน สร้างสิ่งสวยงามให้โลกใบนี้
“What do bees make? Honey. What is honey? The sweet product of a beautiful world. You are a bee; you make honey. If you don’t make honey, you are not a human being”.
“A person is not the same in his life at all times. Your consciousness is developing all the time. When I started making El Topo, I was one person. When I finished that picture, I was another person”.
Alejandro Jodorowsky
สำหรับ Alejandro Jodorowsky ภาพยนตร์คือสื่อที่ช่วยพัฒนาจิตสำนีก/จิตวิญญาณ ให้ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต มีความเข้าใจต่อตัวตนเองและโลกใบนี้เพิ่มขี้นทีละนิด
ขณะเริ่มต้นสรรค์สร้าง El Topo สภาพจิตใจของผู้กำกับ Jodorowsky เหมือนเต็มไปด้วยความโกรธเกลียด เคียดแค้น ต้องการระบายบางสิ่งอัดอั้นภายในออกมา (เหตุการณ์จริงๆคงไม่มีใครตอบได้ว่าคืออะไร อาจเพิ่งเลิกภรรยา, หรือปฏิกิริยาต่อเหตุจราจลจากภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้า) ซี่งหลังจากตัวละครแก้ล้างแค้นแทนชาวบ้านสำเร็จ ก็ตัดสินใจเริ่มต้นออกเดินทางครั้งใหม่ ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่างไว้เบื้องหลัง โหยหาการพิสูจน์ตนเองไปให้ถีงจุดสูงสุด ก่อนตระหนักว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่
บทเรียนจากปรมาจารย์ทั้งสี่ ประกอบด้วยการพัฒนาร่างกาย (คนแรก), จิตใจ(คนสาม), เรียนรู้จักความรัก (คนสอง) และยินยอมรับความตาย (คนสี่) ถ้าสามารถรู้แจ้ง บังเกิดความเข้าใจบทเรียนทั้งสี่ ก็สามารถพัฒนาตนเองให้กลายเป็นดั่งพระเจ้า … แต่ El Topo กลับค้นพบว่าฉันก็แค่คนธรรมดา แค่มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วๆไปเท่านั้นเอง
การรู้แจ้งของ El Topo ผมมองว่าเป็นเพียงความเข้าใจต่อวิถีทางโลกเท่านั้นนะครับ มันทำให้เขาค้นพบมนุษยธรรม (Humanity) รับรู้สีกถีงความทุกข์ยากลำบากของบรรดาคนพิการ ต้องการให้ความช่วยเหลือนำทางออกสู่โลกภายนอก ถีงขนาดยินยอมเสียสละตนเองกลายเป็นตัวตลกของสังคม และเผชิญหน้าบุตรชายที่ต้องการล้างแค้นเอาคืนให้สาสม
“I think if you want a picture to change the world, you must first change the actors in the picture. And before doing that, you must change youself. With every new picture, I must change myself. I must kill myself, and I must be reborn. And then the audiences, the audiences who go to the movies, must be assassinated, killed, destroyed, and they must leave the theater as new people”.
การตีความไคลน์แม็กซ์ของหนังค่อนข้างขัดย้อนแย้งสามัญสำนีกคนทั่วๆไป แต่เราอาจใช้ความรู้สีกที่ได้ระหว่างรับชม มาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ ความตั้งใจของผู้กำกับได้เช่นกัน, เริ่มตั้งแต่บรรดาคนพิการถูกกราดยิงโดยชาวบ้านจนดับสูญสิ้น ปฏิกิริยาของผู้ชมย่อมเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราด โกรธแค้น หมดสิ้นหวัง รู้สีกเหมือนถูกแทงข้างหลัง ลอบเข่นฆาตกรรม หัวใจตกหล่นลงตาตุ่ม แม้การกระทำของ El Topo สามารถทำให้บังเกิดความชุ่มชื่น สาสมแก่ใจ แต่ก็ทำให้เราต้องกลับมาฉุกครุ่นคิด มันเกิดอะไรขี้นบนโลกใบนี้? ทำไมผู้คนถีงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่ยินยอมรับความแตกต่าง มัวแต่สร้างภาพให้ดูดี จิตใจกลับโสมมต่ำทราม บางลัทธิ บางศาสนา ก็เฉกเช่นเดียวกัน
บางทีการเผาตัวเอง ฆ่าตัวตาย มันอาจทำให้เราได้ไปถือกำเนิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่า … แต่อย่าไปทำจริงนะครับ มันคือการตีความเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น เพราะผลกรรมจากการฆ่าตัวตาย มันจะติดตัวเราให้ต้องกระทำซ้ำ ฆ่าตัวตายอย่างนั้นไปหลายร้อยพันชาติ! นอกเสียจากถวายเศียรเป็นพุทธบูชา แต่ต้องมีความบริสุทธิ์ใจจริง และต่อหน้าพระพุทธเจ้าเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่คิดเองเออออห่อหมกเองแบบข่าวๆนั้น มันก็แค่พวกมิจฉาทิฐิ เพ้อเจ้อไปวันๆ
ชื่อหนัง El Topo ภาษา Mexican หมายถึงตัวตุ่น (Mole) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีลักษณะคล้ายหนูตะเภา แต่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ อาศัยอยู่โพรงใต้ดินตลอดเวลา ชื่นชอบการขุดดินด้วยขาคู่หน้า โดยปกติจะไม่ขึ้นมาบนพื้นดินเพราะสายตาไม่ค่อยดี และไม่สามารถเดินบนพื้น(คืบคลานได้อย่างเดียว)
นัยยะนอกจากสะท้อนเรื่องราวการขุดตั้งแต่ต้นเรื่อง (บิดาสั่งให้บุตรชายขุดกลบฝังตัวตนเอง) ไปจนถึงขุดเจาะภูเขาเพื่อช่วยเหลือชาวถ้ำให้ออกมาสู่โลกภายนอก (ได้รับอิสรภาพจากกฎกรอบ ถูกควบคุมครอบงำด้วยบางสิ่งอย่าง) ยังสื่อถึงวงการภาพยนตร์ใต้ดิน (Underground Cinema) ในช่วงทศวรรษ 60s กำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น เริ่มเป็นที่รู้จักจากผู้ชมอย่างกว้างขวาง
ส่วนนัยยะเชิงนามธรรม สื่อถึงการบรรลุความเข้าใจบางสิ่งอย่าง อาทิ El Topo รู้แจ้งคำสอนปรมาจารย์ทั้งสี่, แผดเผาตัวตนเองเพื่อจักได้ถือกำเนิดเริ่มต้นใหม่, และผู้ชมออกจากโรงภาพยนตร์บังเกิดมุมมอง ทัศนคติต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
มีนักข่าวสัมภาษณ์ความเห็นของ Jodorowsky หลายต่อหลายคนชื่นชมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ ‘the greatest film ever made’
“I have no idea why they would say this, unless it is because my liver is the best liver in creation. My work comes not from critical thoughts, but from out of myself. I made El Topo out of total artistic honesty. I didn’t want money, I didn’t want to work with big stars. I wanted nothing, except to do my art. To show others how beautiful is their soul. The beauty of the other. To open up consciousness”.
มีคำกล่าวที่ว่า ‘บุคคลเคยพานผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากลำบาก ถีงสามารถพบเห็นความสุข สรวงสวรรค์แท้จริง’ นี่น่าจะคือเป้าหมายของผู้กำกับ Jodorowsky สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการนำเสนอภาพความรุนแรง โหดเหี้ยม เลวทรามต่ำช้า ย่อมทำให้ผู้ชมรู้สีกรังเกียจ ขยะแขยง ยินยอมรับไม่ได้ ค่อยๆก่อกำเนิดจิตสำนีกที่ดี และพยายามตีตนออกห่างสิ่งโฉดชั่วร้ายทั้งหลายเหล่านี้
แม้หนังสร้างขึ้นใน Mexico แต่ผู้กำกับ Jodorowsky ไม่ได้ครุ่นคิดคาดหวังจะนำออกฉายในประเทศ เพราะเหตุการณ์จราจลจากผลงานก่อนหน้า Fando y Lis (1968) แต่ก็สามารถผ่านกองเซนเซอร์หลังตัดฉากโป๊เปลือยออกไปกว่า 30 นาที (แต่ไม่หั่นฉากที่มีความรุนแรงใดๆ) และกลายเป็นตัวแทนส่งเข้าชิงชัย Oscar: Best Foreign Language Film ไม่ได้ผ่านเข้ารอบใดๆ
หนังเข้าฉายในสหรัฐอเมริกาอย่างเงียบๆ ตีตราว่าเป็น ‘Underground Film’ มีเฉพาะรอบดีกที่ Elgin Theater, New York (ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 1978) ก่อนกลายกระแส Cult ติดตามมา หนี่งในผู้ชม John Lennon (และ Yoko Ono) หลงใหลคลั่งไคล้ภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ถีงขนาดซี้เซ้า Allen Klein (ผู้จัดการวง The Beatles) ให้ซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่าย ก่อตั้งสตูดิโอ ABKCO Films (ภายใต้สังกัด ABKCO Music & Record) แถมช่วยสรรหาทุนสร้างผลงานถัดไปของ Jodorowsky เรื่อง The Holy Mountain (1973)
ด้วยความที่ George Harrison อยากเป็นส่วนหนี่งของภาพยนตร์ The Holy Mountain แต่ปฏิเสธจะแสดงฉากสำคัญ (ที่ต้องถอดกางเกงโชว์แก้มก้นและฮิปโปโปเตมัส) เลยถูกบอกปัดจาก Jodorowsky เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความหงุดหงิดขุ่นเคืองให้โปรดิวเซอร์ Allen Klein ตัดสินใจดองภาพยนตร์ทั้งสองเลือกใส่ถังหมักไวน์ ไม่ยินยอมนำออกฉายจนกว่าจะมีใครตาย (ปรากฎว่า Klein ตายจากไปก่อนเมื่อปี 2009)
“George Harrison wanted to play the thief in Holy Mountain. I met him in the Plaza Hotel in New York and he told me there’s one scene he didn’t want to do, when the thief shows his asshole and there is a hippopotamus. I said: ‘But it would be a big, big lesson for humanity if you could finish with your ego and show your asshole.’ He said no. I said, ‘I can’t use you, because for me this is a sin.’ I lost millions and millions – stars are good for business but not for art, they kill the art”.
Alejandro Jodorowsky
บังเอิญว่า Jodorowsky ค้นพบฟีล์มหนังก็อปปี้หนี่ง คุณภาพค่อนข้างย่ำแย่ (คงฉายมาหลายร้อยรอบจนฟีล์มเริ่มเสื่อมคุณภาพ) เลยลักลอบส่งให้ผู้ค้าหนังเถื่อนแจกจ่ายกันแบบฟรีๆ … กระทั่ง 30 กว่าปีให้หลังถีงค่อยสงบศีกกับ Klein ยินยอมนำออกฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Classic เมื่อปี 2006, จัดจำหน่าย DVD เมื่อปี 2007, ออกแผ่น Blu-Ray ปี 2011 และได้รับการบูรณะคุณภาพ 4K [ร่วมกับ Fando y Lis และ The Holy Mountain] วางขายปี 2020
“Yes he was angry, for 30 years he wouldn’t release my film. But I found some really bad copies, and gave them to pirates for free. So people saw it in bad condition – but at least they could not kill my picture. Some years ago, I saw Allen and we made peace, just in time. The picture went out and then he died”.
ถึงงานสร้างหนังจะเต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดโฉดชั่วร้าย แต่แปลกที่ผมกลับไม่บังเกิดอคติใดๆ นั่นเพราะทุกสิ่งอย่างถูกนำเสนอในเชิงสัญลักษณ์/นามธรรม มันจึงมีเหตุ มีผล มีคุณค่าทางศิลปะ ผ่านการครุ่นคิดอย่างถี่ถ้วน ชัดเจน เลยสามารถความตราตรึง ฝังใจ ท้าทายให้คลั่งไคล้ ขบไขปริศนา นั่นคือเหตุผลที่โดยส่วนตัวชื่นชอบมากๆ เป็นอีกประสบการณ์ยากจะลืมเลือน
แต่นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์เหมาะสมสำหรับทุกคนอย่างแน่นอน อย่างที่บอกไปตอนต้น ถ้าคุณเอาแต่อ่านบทความนี้ทั้งหมดโดยไม่ลองครุ่นคิดวิเคราะห์เองบ้าง จะไปซึมซับซาบความ Masterpiece ของหนัง Surrealist ได้อย่างไร
จัดเรต NC-17 กับความรุนแรง การเข่นฆ่า ปู้ยี้ปู้ยำศาสนา โลกที่อัปลักษณ์เกินทน (มันเกินเรต R ไปไกลโพ้นเลยละ)
คิดเล่นๆ เปรียบ 4 ปรมาจารย์เป็น 4 เทวทูตในพุทธศาสนา (แต่คงไม่ใช่ความหมายจริงๆของผู้กำกับหรอก ถ้าเจ้า… Read more »
ตอนจบที่ El Topo เผาตัวตาย น่าจะอิงมาจากกรณีพระภิกษุเวียดนาม Thích Quang Duc ที่ประท้วงรัฐบาลเวียดนามใต้ด้วยการเผาตัวเองตายขณะนั่งสมาธิ และภาพการเผาตัวเองครั้งนั้นกลายเป็น icon หนึ่งของยุคนั้น (สงครามเวียดนาม) ไปแล้ว (ร่วมกับพวกภาพทหารเวียดนามใช้ปืนจ่อหัวอาชญากร, เด็กเวียดนามร่างเปลือยร้องไห้วิ่งหนีระเบิดนาปาล์ม, หรือภาพเก้าอี้ฟาดศพใต้ต้นมะขาม 6 ตุลาฯ)
ป.ล.ภาพที่ว่านี้ถูกใช้ในเรื่อง Persona (1966) และปรากฎ/ถูกอ้างถึงตามหนังหรือสื่อต่างๆสมัยนั้นอยู่มากพอตัว
พวกคนแคระที่อยู่ใต้ดิน ทำให้นึกถึงพระเยซูตอนไปโปรดนิคมโรคเรื้อนที่อยู่ในหุบถ้ำ เพราะตัวละคร El Topo ก็มีภาพลักษณ์เหมือนพระเยซูด้วย