First of Animation Films
แอนิเมชัน, อนิเมชั่น (Animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง นำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน ใช้วิธีถ่ายภาพรูปวาด (Tradition Animation) ถ่ายภาพจากหุ่นจำลองการเคลื่อนไหว (Stop Motion) หรือคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Animation) ตั้งแต่ 16 ภาพต่อวินาทีขึ้นไป จะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน
อนิเมชั่นนั้นมีต้นกำเนิดมานานแล้ว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้มีการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งในภาพวาดมีการวาดการเคลื่อนไหวของขาทั้งสี่ข้าง, ในยุคต่อมา 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงยุคของฟาโรห์ Ramesses II ได้มีการก่อสร้างวิหารเพื่อบูชาเทพี Isis โดยมีการวาดรูปการเคลื่อนไหวของเทพีต่อเนื่องกันถึง 110 รูป, ในยุคกรีกโรมัน ก็ปรากฎพบเช่นกัน จากภาพที่ปรากฏบนคนโท ถ้านำไปหมุนจะเห็นว่าเป็นภาพต่อเนื่องของการวิ่ง
ผมได้รวบรวมภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวจากทั่วโลก เท่าที่หาได้ เป็นเรื่องแรกที่ถูกสร้างในประเภทและประเทศนั้นๆ เรียงลำดับตามปีที่มีการสร้าง
El Apóstol (1917) : Quirino Cristiani
The Apostle ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี 1917 โดยผู้กำกับ Quirino Cristiani ชาวอาร์เจนติน่า ด้วยวิธี Cutout Animation ใช้ภาพจำนวน 58,000 เฟรม ได้ความเร็ว 70 นาที (ที่ 14fps) น่าเสียดายฟีล์มภาพยนตร์เรื่องนี้สูญหายไปแล้ว
เมื่อปี 2007 มีนักอนิเมเตอร์ชาวอิตาเลี่ยน Gabriele Zuchelli ได้สร้างสารคดีเรื่อง Quirino Cristiani: The mystery of the first animated movies โดยได้ทำการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ และพยายามสร้าง El Apóstol ขึ้นใหม่ ด้วยเทคนิคและเรื่องราวที่เหลืออยู่ของหนัง
ถึงนี่ไม่ใช่อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของโลก แต่เป็นอนิเมชั่นเรื่องยาวที่เก่าแก่ที่สุด ที่หลงเหลืออยู่บนโลกใบนี้ สร้างขึ้นด้วยวิธี Silhouette Animation ภาพเงาดำ (คล้ายๆหนังตะลุง) ดัดแปลงมาจาก One Thousand and One Nights (อาหรับราตรี) นิทานอาหรับสุดคลาสสิก แม้เรื่องราวจะเรียบง่ายไม่สลับซับซ้อนอะไร แต่ภาพสวยงามวิจิตรมากๆ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
Puppet Animation ขนาดยาวเรื่องแรกของโลก สร้างขึ้นที่สหภาพโซเวียต โดยผู้กำกับ Aleksandr Ptushko ดัดแปลงจากวรรณกรรมเรื่อง Gulliver’s Travels (1726) ของนักเขียนชาวไอริช Jonathan Swift, แม้โดยรวมอนิเมะเรื่องนี้คุณภาพจะไม่ดีมากเท่าไหร่ แต่การได้เห็นหุ่นขนาดจิ๋วเคลื่อนไหวได้ พร้อมๆกับมนุษย์ (ผสม Live-Action) ดูแล้วน่าทึ่งไม่น้อย
The Adventures of Pinocchio (1936) : Raoul Verdini, Umberto Spano
ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรก ของประเทศอิตาลี ใช้การวาดรูปด้วยมือ (Traditional Animation) รวมปริมาณภาพวาด 150,000 ภาพ ได้ฟีล์มขนาด 2,500 ฟุต ความยาวประมาณ 105 นาที สร้างเสร็จเมื่อปี 1940 แต่ Raoul Verdini ต้องการแปลงเป็นภาพสี แต่ติดสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยสร้างไม่เสร็จ และฟีล์มภาพยนตร์สูญหายไปแล้ว
Le Roman de Renard อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของฝรั่งเศส สร้างด้วยเทคนิค Puppet Animation (จริงๆเรื่องนี้สร้างก่อน The New Gulliver ด้วยซ้ำแต่ได้ฉายทีหลัง) ดัดแปลงจากนิทานพื้นบ้าน Renard the Fox เรื่องราวของจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ที่ชอบแกล้งคนอื่นไปทั่ว (คล้ายๆ Fantastic Mr. Fox-2009) มีแนวคิดสอนคนอย่างคาดไม่ถึง, หนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ภาพยนตร์อนิเมชั่นสีขนาดยาวเรื่องแรกของ Walt Disney และ Hollywood ที่ใช้การวาดด้วยมือ (Cel Animated) ดัดแปลงมาจากเทพนิยายของ Brothers Grimm, ทุกความยิ่งใหญ่มีจุดเริ่มต้น แม้เรื่องราวจะเรียบง่าย เน้นความบันเทิง แต่แฝงอะไรแนวคิดบางอย่างไว้ และเทคนิค ลูกเล่น ชั้นเชิงในการนำเสนอ เป็นสิ่งควรค่าที่จะ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
หลายคนคงคิดว่า อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของเอเชียคงจะสร้างโดยญี่ปุ่น แต่ความจริงกลับเป็นประเทศจีนที่สำเร็จเสร็จก่อน, องค์หญิงพัดเหล็ก (Tiě shàn gōngzhǔ) จากนวนิยายคลาสสิกจีนเรื่องไซอิ๋ว ขณะพระถังซัมจั๋งเดินทางมาถึงเทือกเขาแห่งหนึ่งที่มีเปลวไฟลุกโชติช่วงชัชวาลย์ การจะผ่านเส้นทางนี้ได้จำเป็นต้องหยิบยืมขอใช้พัดเหล็กนางมาดับไปบนเทือกเขานี้
อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของญี่ปุ่น เป็นหนังประเภทชวนเชื่อของกองทัพเรือ (Propaganda) ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างโดย Mitsuyo Seo, เมื่อปี 2016 ได้รับโอกาสฉายในเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Cannes Classics (ปีเดียวกับสันติ วีณา) แนะนำอย่างยิ่งกับคนรักอนิเมะของญี่ปุ่น จะพลาดอนิเมชั่นเรื่องแรกไปได้ยังไง
ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศอังกฤษ ดัดแปลงจากวรรณกรรมอมตะของ George Orwell ในฟาร์มชนบทแห่งหนึ่ง ฝูงสรรพสัตว์รวมพลังยึดอำนาจจากเจ้าของที่เป็นมนุษย์ แต่แล้วการปกครองกันเองของพวกเขากลับไม่แตกต่างจากที่เคยเป็น หนำซ้ำยังเลวร้ายยิ่งเสียกว่าเดิม, ได้ทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก Central Intelligence Agency (CIA) เพราะนัยยะใจความต่อต้าน Anti-Communism ตรงกับช่วงสงครามเย็นพอดี
ภาพยนตร์อนิเมชั่นขนาดยาวสัญชาติไทยเรื่องแรก สร้างโดย ปยุต เงากระจ่าง ผู้มีจิตวิญญาณและความตั้งใจอันดี แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด จบสิ้นทั้งสุขภาพตนเองและผลงานที่สร้างสรรค์, ถ้าคุณเป็นคนไทยมีโอกาสก็รับชมหนังเรื่องนี้สักหน่อยนะครับ ยกย่องชื่นชมในความทุ่มเท แม้คุณภาพของผลงานจะเทียบไม่ได้กับความตั้งใจก็เถอะ
ภาพยนตร์อนิเมชั่นสามมิติเรื่องแรกของโลก สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยผู้กำกับ John Lasseter แห่งสตูดิโอ PIXAR, ของเล่นคือเพื่อนรักสำหรับเด็ก มีทั้งเก่าและใหม่ เช่นเดียวกับภาพยนตร์อนิเมชั่นที่มีลายเส้นสองมิติแบบเก่า และภาพสามมิติแบบใหม่ หนังเรื่องนี้นำเสนอแนวคิดของการเปลี่ยนผ่าน ที่ไม่ได้ทำให้เราเลิกรักอะไรเก่าๆ หรือสนใจเฉพาะของเล่นใหม่ๆเท่านั้น, หนังเรื่องนี้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ ได้สรุปหลักการและคุณสมบัติของภาพยนตร์อนิเมชั่นเอาไว้ดังนี้
1. สามารถใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
2. สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
3. ใช้อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
4. ใช้อธิบายหรือเน้นส่วนสำคัญให้ชัดเจนและกระจ่างขึ้นได้
ถ้าคุณเป็นคนรักภาพยนตร์อนิเมชั่น รายการหนังชุดนี้ไม่ควรพลาดสักเรื่องเลย เพื่อจะได้รู้จักกับต้นกำเนิดอนิเมชั่นจากประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งล้วนแฝงทัศนคติ ค่านิยมของแต่ละประเทศ ต่อสื่ออนิเมชั่น ได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ
♥ ที่อยู่หลังชื่อเรื่อง คือคะแนนความชอบของผมนะครับ เต็ม 5 ดาว (เรื่องโปรด)
♡ คือ 1/2 คะแนน
Like this: Like Loading...
Related
[…] First of Animation Films […]