Forever the Moment (2008)
: Yim Soon-rye ♥♥♥♡
หนังรางวัล Blue Dragon Film Award สาขา Best Film ของเกาหลีใต้ เรื่องราววุ่นๆของนักกีฬา Handball เพื่อเตรียมตัวเข้าแข่งขัน 2004 Athens Summer Olympics, Greece นี่อาจดูเป็นหนังชาตินิยมของเกาหลีไปสักหน่อย แต่ก็ถือเป็นหนัง Drama น้ำดีใช้ได้เรื่องหนึ่ง
2004 Athens Summer Olympic, Greece ระหว่างวันที่ 13-29 กันยายนปี 2004 นับเป็นครั้งที่ 28 และเป็นครั้งแรกในรอบร้อยปีที่โอลิมปิกกลับมาจัดที่ Greece ประเทศต้นกำเนิดโอลิมปิกและประเทศเริ่มจัดการแข่งขัน Modern Olympic ยุคใหม่ครั้งแรก
กีฬา Handball มีการแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกเมื่อ 1936 Berlin Summer Olympic, Germany เฉพาะประเภททีมชาย ชนะเลิศคือ Germany แต่หลังจากครั้งนั้นก็ไม่ได้จัดแข่งขันอีกเลย จนได้รับบรรจุเข้าโอลิมปิกอีกครั้งเมื่อ 1972 Munich Summer Olympic, Germany เฉพาะทีมชายเช่นกัน (จะว่า Germany เป็นตัวตั้งตัวตีนำกีฬานี้เข้าสู่โอลิมปิก), สำหรับ Handball ทีมหญิง ได้รับการบรรจุแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกในโอลิมปิกครั้งถัดมา 1976 Montreal Summer Olympic, Canada
มหาอำนาจของกีฬา Handball บอกตามตรงผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ช่วงแรกๆเป็นของ Germany และ Soviet แต่หลังๆจะเป็น Denmark, Norwey และ South Korea ที่ผลัดกันได้เหรียญโอลิมปิก, ซึ่งถ้านับตั้งแต่ 1984 Los Angeles Summer Olympic เกาหลีใต้จะต้องติด 1 ใน 4 ทีมสุดท้ายเสมอ (ได้ทอง 2 ครั้ง เงิน 3 ครั้ง และทองแดง 1 ครั้ง) นี่น่าจะถือว่า Handball คือกีฬาความหวังเหรียญทองของเกาหลีใต้ก็ว่าได้
Handball เป็นกีฬาที่ … บอกตามตรง ผมไม่เห็นว่าจะดูสนุกตรงไหน สมัยเรียนก็เคยเล่นนะ แต่ไม่ชอบเท่าไหร่ บาสเกตบอลก็ไม่ใช่ ฟุตบอลก็ไม่เชิง ใช้มือเล่น เดินได้หลายก้าวด้วย, กระนั้นนี่เป็นกีฬาที่ไม่ใช่มีแข่งขันแค่โอลิมปิก/เอเชียนเกมส์นะครับ เหมือนกับฟุตบอล, บาสเกตบอล ฯ นักกีฬาเก่งๆดังๆ สามารถกลายเป็น professional ได้ ในยุโรปที่ดังๆเลยก็ ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เยอรมัน, เดนมาร์ก, สวีเดน ฯ มีแข่ง Champion League (แบบเดียวกับ UEFA Champion League) ฝั่งเอเชียก็มีญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย ฯ ทุก 2 ปีก็มีแข่ง World Cup (ในไทยไม่รู้ว่ามีแบบ league หรือเปล่านะครับ) ในหลายประเทศ กีฬาประเภทนี้ถือว่าดังมากๆ มีผู้ชม แฟนคลับตามเชียร์อยู่เสมอๆ แต่อาจไม่ใช่กับเกาหลีใต้ (ปัจจุบัน/ความจริงเป็นยังไงไม่รู้ แต่ดูจากในหนัง league ของเกาหลีใต้ สโมสรไม่ค่อยให้ความสนใจดูแลนักกีฬาในสังกัดเท่าไหร่)
ผู้กำกับ Yim Soon-rye เขาอาจเป็นคนดังในเกาหลีใต้ แต่ทั่วโลกไม่มีใครรู้จักเขา ยังไม่มีผลงานที่เปิดประตูตนเองสู่ระดับนานาชาติ ที่ดังที่สุดก็ Forever the Moment หนังเรื่องนี้แหละ คงต้องชมคนเขียนบท Nah Hyeon ด้วย เพราะสามารถเอาเรื่องที่อยู่ในกระแสจาก 2004 Athens Summer Olympics มาฉายในปีเดียวกับ 2008 Beijing Summer Olympics แบบนี้จะไม่ให้ผมเรียกหนังสร้างกระแสรักชาติ มุ่งสู่โอลิมปิกได้ยังไง
นำแสดงโดย Moon So-ri นางเอกสุดสวยจาก Peppermint Candy (2000) และ Oasis (2002), สำหรับหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็น Han Mi-sook ตอนแรกเป็นโค้ชฝึกสอน ภายหลังสมาคมแต่งตั้งโค้ชทางการคนใหม่ เธอจึงกลายมาเป็นผู้เล่น, การแสดงของเธอมีทั้งแข็งนอกอ่อนใน มี charisma เป็นผู้นำที่ดี เข้าใจคนอื่น ถึงไม่ใช่อัจฉริยะในด้านกีฬา แต่มีความทุ่มเทพยายามอย่างมาก (ตัวแทนของพรแสวง) ความสามารถในการเป็นโค้ชไม่รู้ แต่เธอสามารถซื้อใจลูกทีมได้ ด้วยความเข้าใจ เชื่อมั่น จริงใจและทุ่มเท
Kim Jung-eun รับบท Kim Hye-kyeong, ส่วนใหญ่ Jung-eun จะรับงานละครเสียมาก มีแสดงภาพยนตร์บ้าง ที่ดังๆเช่น Marrying the Mafia (2002), บทของเธอเป็นนักกีฬายอดฝีมือ (เป็นคนมีพรสวรรค์) แต่วัยวุฒิที่เริ่มสูง ประกอบกับการมีลูก และสามีติดหนี้ ทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหา ถึง Handball จะเป็นกีฬาที่เธอรัก แต่ใช่ว่าจะสามารถทุ่มเททุกสิ่งอย่างให้ได้
อีกสองสาวที่แย่งซีนอยู่เรื่อยๆ Kim Ji-young รับบท Song Jeong-ran เจ๊หัวหยิก ปากหมา ใจนักเลงแต่รักเพื่อน, และ Jo Eun-ji รับบท Oh Soo-hee (Goalkeeper) หญิงสาวที่ทำหน้าเหมือนจะไร้เดียงสาแต่ทำตัวแก่แดดมากๆ, Kim Ji-young ได้รางวัล Best Supporting Actress จาก Blue Dragon Film Award ด้วยนะครับ (เป็น 1 ใน 2 รางวัลของหนังที่ได้)
สำหรับโค้ช Uhm Tae-woong รับบทเป็น Ahn Seung-pil น่าจะเป็นคนรักเก่าของ Han Mi-sook แต่เพราะเธอทนเขาไม่ได้ในความ Ego จัดจึงเลิกรากัน, โค้ชเป็นคนหัวสมัยใหม่ ถึงตัวเองตอนเป็นผู้เล่นจะเคยได้แชมป์ยุโรปก็ไม่ได้การันตีว่าจะกลายเป็นโค้ชที่ดีได้ ความดื้อด้าน เอาแต่ใจ เห็นแก่ตัว ไม่สนคนอื่น ทำให้เขาขาดจิตวิญญาณการเป็นโค้ชที่ดี, นี่เป็นตัวละครที่คงมีคนเกลียดเยอะแน่ ผมคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบ หนังเกาหลีมักจะมีคนดี คนไม่ดีชัดแบบนี้แหละครับ
หนังเกาหลีขึ้นชื่อเรื่องดราม่าแรงๆ แต่หนังเรื่องนี้ถือว่า นุ่มๆกำลังพอหอมปากหอมคำ เรื่องวุ่นๆก่อนไปแข่งโอลิมปิก แต่ละคนต้องค้นหาเป้าหมายของตัวเองให้เจอก่อนการแข่งจะเริ่มต้นขึ้น, การเสียดสีที่เจ็บปวดสุดคือเรื่อง racisim และการเล่นพรรคเล่นพวก โดยเฉพาะการแต่งตั้งโค้ชชายคุมทีมผู้หญิง เราคนดูอาจรู้สึกเจ็บแค้นแทนสาวๆที่ได้โค้ชไม่ดี แต่มุมมองของผู้ใหญ่ในสมาคม นี่ย่อมเป็นสิ่งที่เหมาะสม ประเด็นนี้ใจเขาใจเรานะครับ ไม่มีใครถูกและผิดเสมอไป ที่บอกไปผมไม่ชอบโค้ชคนนี้ แม้จนเขาสามารถเอาชนะใจทีมได้แล้ว ผมก็ยังไม่ชอบอยู่ คนประเภทนี้น่าจะดูรู้ ไม่เหมาะที่จะเป็นโค้ชอย่างยิ่ง
ถ่ายภาพโดย Hwang Ki-seok
ตัดต่อโดย Moon In-dae
เพลงประกอบ Yoon Min-hwa
เรื่องราวของหนังดำเนินผ่านมุมมองของนักกีฬารุ่นเก๋า 3 คน + 1 รุ่นน้อง โค้ชเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ นักกีฬาตัวประกอบคนอื่นๆก็เป็นผู้เล่นหน้าใหม่หมด หนังเรื่องนี้จึงสามารถมองได้เป็น อะไรเก่าๆvsอะไรใหม่ๆ แนวคิดสมัยก่อนvsแนวคิดสมัยใหม่, กระนั้นความตั้งใจของโค้ชที่จะไล่นักกีฬารุ่นเก๋าออกไปจากทีม นี่เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง หนังทำให้เราเข้าใจว่า คนเก่าย่อมมีความเก๋า ประสบการณ์ เทคนิค ทักษะที่เหนือกว่าเด็กรุ่นใหม่ ไม่มีทางที่คนรุ่นใหม่อย่างเดียวจะสามารถแบกรับทุกสิ่งอย่างได้ หรือคนรุ่นเก่าอย่างเดียวจะดีเลิศประเสริฐศรี ส่วนผสมทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ต่างหาง ถ้าสามารถหาความเหมาะสมลงตัวพอดีได้ ถึงจะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ
สำหรับฉากการแข่งขัน นี่เป็นกีฬาที่ไม่มีความสวยงามอะไรเลย การถ่ายภาพเน้นถ่ายจากข้างสนามใกล้ชิดผู้เล่น มีความสมจริง แต่หนังกลับไม่ได้มีจังหวะอะไรเลย (เหมือนการแอบถ่ายเสียมากกว่า) แถมการตัดต่อไม่มีอะไรเด่น ไม่มีลูกล่อลูกชน ตรงไปตรงมาแทบทุกฉาก เพลงประกอบก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่มีความตื่นเต้น ไม่รู้สึกลุ้นระทึก เหมือนตอนแข่งขันโอลิมปิกจริงๆ, จะมีที่พอใช้ได้หน่อย ก็แค่ตอนยิงลูกโทษครั้งสุดท้าย หนังไม่ให้เห็นว่าตอนขว้างเป็นยังไง ถ่ายแค่ด้านหน้าของ Kim Hye-kyeong ภาพสโลวโมชั่น เธอคว้าลูก ตัวหายไปจากเฟรม แล้วด้านหลังนักกีฬาทีมคู่แข่งที่หลุดโฟกัสแสดงท่าดีใจ ทีมเกาหลีกุมขมับ เธอกลับเข้ามาในเฟรมอีกครั้ง สีหน้าผิดหวังสุดขีด, นี่น่าจะคือ Moment ที่แทนด้วยชื่อหนังเลยนะครับ
ชื่อหนัง 우리 생애 최고의 순간 (Uri saengae choego-ui sungan) แปลว่า ‘The Best Moment in Our Lives’ มีชื่อภาษาอังกฤษที่ใช้ 2 ชื่อคือ Forever the Moment และ Our Finest Hour ถือว่าคือเรื่องเดียวกันนะครับ, แม้ชื่อหนังจะเป็น ‘ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต’ แต่จริงแล้วมันควรเป็น ‘ช่วงเวลาที่ทำใจยากที่สุดในชีวิต’ ผมเปรียบเทียบกับ Lionel Messi น่าจะเห็นภาพแน่ เข้าชิงฟุตบอลโคปาอเมริกา 3 ครั้ง และฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ไม่มีครั้งไหนเลยได้แชมป์เลย แพ้รอบชิงชนะเลิศตลอด นัดสุดท้ายก่อนเขาจะอำลาทีมชาติ ดวลจุดโทษกับชิลี ยิงจุดโทษคนแรกพลาด เรื่องราวในหนังก็แบบนี้เปะ ผมไม่รู้ช่วงเวลาแบบนี้จะเรียกว่า The Best Moment in Our Lives ได้ยังไงนะครับ!
ลองไปหาคลิปแข่งนัดชิงของคู่ Denmark vs South Korea ใน Youtube ดูนะครับ จะบอกว่าน่าตื่นเต้นกว่าหนังมาก ถ้าคุณเชียร์เกาหลีใต้ และดูตอนแข่งขณะนั้นจริงๆ จะยกย่องเลยว่านี่เป็นแมตช์ประวัติศาสตร์เลยละ เสมอในเวลาต่อเวลา เสมออีกยิงลูกโทษ ความดื้อด้าน รั้นที่จะไม่ยอมแพ้ สู้สุดใจขาดดิ้น ถึงพวกเธอจะได้แค่เหรียญเงิน แต่มีค่าเท่ากับเหรียญทองในใจของชาวเกาหลี
นี่เป็นหนังระดับความบันเทิงชั้นยอด คุณค่าทางศิลปะอาจไม่เท่าไหร่ มีเรื่องราวน่าสนใจ ผมไม่เชิงเรียกหนังว่าเป็น Blockbuster นะครับ แต่ในเกาหลีใต้ นี่ถือเป็นหนังที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำเงินสูงสุดแห่งปีเรื่องหนึ่งเลย
หนังเข้าชิง 6 สาขา Blue Dragon Film Award (เทียบได้กับ Oscar ของเกาหลีใต้) ได้มา 2 รางวัล
– Best Film
– Best Supporting Actress (Ji-yeong Kim)
เข้าชิงสาขาอื่น
– Best Director
– Best Actress (So-ri Moon)
– Best Supporting Actor (Tae-woong Eom)
– Best Screenplay
แนะนำกับนักกีฬา Handball (ดูไปอาจไม่ได้ความรู้เท่าไหร่), แนะนำอย่างยิ่งกับคนทำงานสมาคมกีฬาทั้งหลาย ไม่ใช่แค่ Handball นะครับ แต่กับทุกสมาคมเลย ‘อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดระหว่างโค้ชกับนักกีฬา ?’ ดูหนังเรื่องนี้แล้วคุณต้องตอบคำถามนี้ให้ได้, และคอหนังดราม่าเกาหลี แฟนๆ So-ri Moon, Ji-yeong Kim และ Tae-woong Eom ไม่ควรพลาด
จัดเรต PG มีแฝงความรุนแรงนิดหน่อย กับนิสัยของบางตัวละครที่ Ego แรงๆ
Leave a Reply