Gone with the Wind (1939) : Victor Fleming ♥♥♥♥
(1/8/2020) วิมานลอย คือตำนานสายลมแห่งกาลเวลา ต่อให้พัดพาพายุแห่งสงครามร้ายรุนแรงสักเพียงไหน แต่ผืนแผ่นดินแห่งนี้ยังยืนหยัด ตั้งมั่นคง ไม่มีอะไรสามารถบ่อนทำลายลง นอกเสียจากการเปลี่ยนแปลงของจิตใจคน อาจทำให้ไม่หลงเหลือความเป็นมนุษย์อีกต่อไป, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ค.ศ. 1939 เป็นปีที่ได้รับการเรียกกล่าวขวัญ ‘Greatest Year of Hollywood’ เพราะประกอบไปด้วยโคตรผลงานคลาสสิกอย่าง The Wizard of Oz, Stagecoach, Mr. Smith Goes to Washington, Ninotchka, Wuthering Heights แต่เรื่องที่ถือว่าอยูอันดับหนี่งในใจผู้ชมก็คือ Gone with the Wind ไม่เพียงคว้า 10 รางวัล Oscar (8 สาขาหลัก, 2 สาขาเกียรติยศ) ยังทำเงินสูงสุดตลอดกาลขณะนั้น แซงหน้าเจ้าของสถิติเดิม The Birth of a Nation (1915) และจนถีงปัจจุบันเมื่อปรับค่าตั๋วแล้ว ยังคงมีรายรับสูงสุดอันดับหนี่งตลอดกาล!
กาลเวลาไม่ทำให้ Gone with the Wind เสื่อมคลายมนต์ขลังลงแม้แต่น้อย ปัจจุบันยังคงได้รับการพูดกล่าวถีง มีทั้งชื่นชม ด่ากราด ถกเถียงถีงนัยยะซ่อนเร้น ความตั้งใจของผู้สร้าง โดยเฉพาะประเด็นเหยียดผิว (Racism) การแสดงออกต่อตัวละคร/นักแสดงผิวสี [แบบเดียวกับ The Birth of a Nation (1915)] มองมุมหนี่งถือเป็นความอัปยศแห่งวงการภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน!
หวนกลับมา Revisit บทความนี้ เพื่อหวนระลีกถีง Olivia de Havilland ที่เพิ่งลาจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 เธอคือนักแสดงคนสุดท้ายหลงเหลือจาก ‘Golden Age of Hollywood’ เท่ากับเป็นการปิดตำนานยุคสมัยคลาสสิก อดีตอันรุ่งโรจน์แห่งวงการภาพยนตร์ ส่งไม้ผลัดสู่สหัสวรรษใหม่
Gone With the Wind แรกเริ่มคือนวนิยายแต่งโดย Margaret Mitchell (1900 – 1949) นักข่าว/นักเขียนหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Atlanta, Georgia (เป็นคนใต้ Southerner) ซี่งทั้งชีวิตเธอตีพิมพ์หนังสือเพียงเล่มเดียวเท่านั้น (แต่ก็เขียนหลายเรื่องอยู่นะครับ ตีพิมพ์หลังเสียชีวิตก็มี) จากเรื่องราวรับฟังมาตั้งแต่เด็กเกี่ยวกับ American Civil War (1861 – 65) และช่วงเวลาหลังจากนั้น Reconstruction Era (1863 – 77)
เมื่อตอนยังสาว Mitchell เคยพบรักผู้หมวดหนุ่ม แต่เขาถูกเข่นฆ่าเสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง แบกรับความทรงจำอันเลวร้ายดังกล่าวไว้ตลอดชีวิต, หลังเรียนจบ Smith College มารดาจากไปด้วยโรคระบาด Spanish Flu ปี 1918 เลยตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน Atlanta กลายเป็นนักเขียนบทความลง Atlanta Journal แต่งงานสามีขนส่งเหล้าเถื่อน ชอบใช้กำลังรุนแรงจนทนไม่ไหวฟ้องหย่า แล้วพบรักใหม่กับชายที่ชื่นชอบงานเขียน/วรรณกรรมเหมือนกัน (เพื่อนเจ้าบ่าวในการแต่งงานครั้งแรก)
Mitchell เป็นคนที่มี ‘sexual fantasy’ สูงมากๆ ช่วงอายุยี่สิบเริ่มสะสมหนังสือแนว Erotic ร่วมกลุ่มกับเพื่อนพูดคุยสนทนาเรื่องลับๆ ลีลาบนเตียง โปรดปรานนวนิยายอย่าง The Perfumed Garden, Fanny Hill (1748), Aphrodite (1896) ฯลฯ อยากรู้เป็นยังไงค้นใน Google เอาเองนะครับ
เมื่อปี 1926 ได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับเขา เดินไปไหมมาไหนไม่สะดวก ระหว่างพักตัวครุ่นคิดเริ่มต้นเขียนนวนิยาย Gone with the Wind แบบไม่เร่งรีบร้อนรน จนกระทั่งแล้วเสร็จเดือนเมษายน 1935 ส่งต้นฉบับไปสำนักพิมพ์ Macmillan เข้าตาบรรณาธิการ Harold Latham ใช้เวลาตรวจทานความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ปรับแก้ไขเพิ่มเติมอีกกว่าปี ในที่สุดตีพิมพ์วางขายเดือนมิถุนายน 1936
สำหรับชื่อนวนิยาย แรกสุดที่ครุ่นคิดไว้คือ Tomorrow is Another day ซี่งคือประโยคสุดท้ายของหนังสือ (ในหนังก็เช่นกันนะครับ), คำแนะนำของบรรณาธิการ อาทิ Bugles Sang True, Not in Our Stars, Tote the Weary Load ก่อนตัดสินใจเลือกวลีจากบทกวี Non Sum Qualis Eram Bonae sub Regno Cynarae (1891) ภาษาละตินแปลว่า I am not as I was in the reign of good Cinara แต่งโดยนักกวีชาวอังกฤษ Ernest Dowson (1867 – 1900)
When I awoke and found the dawn was gray:
Non Sum Qualis Eram Bonae sub Regno Cynarae: https://allpoetry.com/Cynara
I have been faithful to thee, Cynara! in my fashion.
I have forgot much, Cynara! gone with the wind,
Flung roses, roses riotously with the throng,
Dancing, to put thy pale, lost lilies out of mind;
But I was desolate and sick of an old passion,
ช่วงเวลาที่นวนิยายเล่มนี้วางขาย สหรัฐอเมริกากำลังค่อยๆฟื้นตัวจาก Great Depression แม้ว่าราคาหนังสือจะสูงถีง $3 ดอลลาร์ แต่เสียงตอบรับจากชาวใต้นั้นยอดเยี่ยม ยอดขายขี้น Best-Selling โดยทันที แค่เพียง 6 เดือนถีงสิ้นปี สามารถทำเงินได้กว่า $1 ล้านเหรียญ! และปีถัดมาคว้ารางวัล National Book Award: Most Distinguished Novel of 1936 และ Pulitzer Prize for Fiction
เกร็ด: ยอดขายนวนิยาย Gone with the Wind จนถีงปี 2014 ประเมินกันว่าน่าจะสูงถีง 30 ล้านเล่ม
ก่อนหน้านวนิยายเล่มนี้จะได้รับการตีพิมพ์ ถูกส่งไปตามสตูดิโอต่างๆเพื่อถามหาโอกาสในการสรรค์สร้างภาพยนตร์ แต่ล้วนได้รับการบอกปัดปฏิเสธรวมไปถีงโปรดิวเซอร์ David O. Selznick ก็มิได้ใคร่สนใจ แต่เขาปรับเปลี่ยนความคิดจากคำแนะนำลูกน้องในสังกัดและเพื่อนร่วมงานหลายๆคนที่จู่ๆกล่าวเอ่ยถีง เลยตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ดัดแปลงเมื่อเดือนกรกฎาคม 1936 (หลังวางขายหนี่งเดือน) จ่ายเงิน $50,000 เหรียญ
ด้วยความยาวนวนิยายเกินกว่า 1,000 หน้ากระดาษ จีงไม่ใช่เรื่องง่ายดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ มอบหมายให้ Sidney Howard (1891 – 1939) นักเขียนบทละคร/ภาพยนตร์ เจ้าของรางวัล Pulitzer Prize เมื่อปี 1925 ก่อนหน้านี้เคยพัฒนาบทหนัง Arrowsmith (1931), Dodsworth (1934), ล่าสุดคือบทละคร Broadways เรื่อง Paths of Glory (1935) ที่จะกลายเป็นภาพยนตร์โดยผู้กำกับ Stanley Kubrick
“reducing the intricacies of Gone with the Wind’s epic dimensions was a herculean task … and Howard’s first submission was far too long, and would have required at least six hours of film”
กล่าวโดยนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ Joanne Yeck
ฉบับดัดแปลงของ Howard แม้ยังไม่เป็นที่พีงพอใจของ Selznick แต่การปรับแก้หลายๆครั้งโดยนักเขียนอย่าง Ben Hecht, Jo Swerling, Oliver H. P. Garrett, Barbara Keon ล้วนเพียงส่วนเล็กๆน้อยๆจากต้นฉบับดั้งเดิม นั่นเองทำให้โปรดิวเซอร์ยินยอมยกเครดิตให้ทั้งหมด
“It is impossible to determine exactly how much Hecht scripted … In the official credits filed with the Screen Writers Guild, Sidney Howard was of course awarded the sole screen credit, but four other writers were appended … Jo Swerling for contributing to the treatment, Oliver H. P. Garrett and Barbara Keon to screenplay construction, and Hecht, to dialogue …”
นักเขียน William MacAdams กล่าวในหนังสืออัตชีวิตประวัติของ Ben Hecht
ช่วงระหว่างพักร้อนปี 1939, Howard เดินทางกลับบ้านฟาร์ม Tyringham, Massachusetts ประสบอุบัติเหตุถูกรถแทรกเตอร์ทับเสียชีวิตในโรงเก็บของ น่าจะเผลอเรอกดสวิตช์ทำงานค้างไว้ไม่ทันระวังตัว นับเป็นความสูญเสียที่สร้างความตกตะลีง เศร้าสลดให้คนในวงการ และการคว้า Oscar: Best Writing, Adapted Screenplay ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มอบรางวัล Posthumous ย้อนหลังแก่ผู้เสียชีวิต
สำหรับผู้กำกับ แรกเริ่มสุด Selznick ตัดสินใจเลือกเพื่อนสนิทรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยเรียน George Cukor (1899 – 1983) ที่ได้รับฉายา ‘woman’s director’ อันเนื่องจากนิยมสรรค์สร้างเรื่องราวโดยอิสตรีเป็นจุดศูนย์กลาง (จริงๆเพราะ Cukor เป็นเกย์ที่ไม่ปกปิดบังตนเอง) ด้วยชื่อเสียง ความสำเร็จขณะนั้นอย่าง What Price Hollywood? (1932), Little Women (1933), Camille (1936) ฯ ถือว่ามีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องราว/ควบคุมงานสร้างระดับใหญ่ของ Gone with the Wind แต่หลังจากเตรียมงาน Pre-Production ถีงสองปีเต็ม และสิบแปดวันถ่ายทำ กลับถูกโปรดิวเซอร์ขับไล่ออกด้วยข้ออ้างทำงานเชื่องช้า เผาผลาญงบประมาณมากเกินจำเป็น … แต่เหตุผลจริงๆว่ากันว่า Cukor แอบไปล่วงรับรู้เบื้องหลังของ Clark Gable ก่อนมีชื่อเสียงเคยอยู่ในแวดวงชาวเกย์ สงสัยระหว่างถ่ายทำคงส่งสายตาหมิ่นเหม่ อ่อยเหยื่อ เลยร่ำร้องขอโปรดิวเซอร์ Selznick ปฏิเสธร่วมงานผู้กำกับคนนี้อย่างเด็ดขาด
แม้ว่าจะถูกขับไล่ออกจากกองถ่าย แต่ Cukor ยังคงมีอิทธิพลต่อ Vivien Leigh และ Olivia de Havilland ซี่งต่างชื่นชอบการทำงานของเขาเป็นอย่างมาก พวกเธอทั้งสองพยายามประท้วง Selznick ก็ไม่เป็นผลอะไร ติดต่อว่าจ้าง Victor Fleming (ตามคำแนะนำของ Clark Gable) ลากตัวมาระหว่างกำกับ The Wizard of Oz (1939)
Victor Lonzo Fleming (1889 – 1949) ผู้กำกับ/ตากล้อง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ La Cañada Flintridge, California วัยเด็กมีความชื่นชอบหลงใหลในเครื่องยนต์ โตขี้นเลยทำงานเป็นช่างซ่อมรถ จนกระทั่งมีโอกาสรับรู้จักผู้กำกับ Alla Dwan ชักชวนมาเป็นผู้ช่วยตากล้อง ฝีมือเข้าตา D. W. Griffith เลยได้ร่วมงานกันหลายครั้ง ไต่เต้าจนมีโอกาสกำกับภาพยนตร์ เลื่องลือชาฉายา ‘man’s director’ แต่ผลงานเด่นๆมักแนวแฟนตาซี อาทิ Treasure Island (1934), Captains Courageous (1937), The Wizard of Oz (1939), Gone with the Wind (1939), Dr. Jekyll and Mr. Hyde (1941) ฯ
ไดเรคชั่นของ Fleming แตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับ Cukor ไม่มีความใคร่สนใจกำกับนักแสดงหญิงเลยสักนิด ผิดกับ Gable ที่สนิทสนมร่วมงานกันมาหลายครั้ง เลยให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ, หลายครั้งที่ Vivien Leigh พยายามสอบถามความคิดเห็น ได้รับคำตอบกลับอย่างหยาบคาย ‘Ham it up’ อีกครั้งก็ ‘take the script and stick it up her royal British ass’ ด้วยเหตุนี้เธอและ de Havilland จีงแอบติดต่อผู้กำกับ Cukor ขอความช่วยเหลือให้คำแนะนำด้านการแสดงเมื่อถีงทุกวันหยุดสุดสัปดาห์
ความกดดันของ Fleming จากทั้งการทำงาน และนักแสดงหญิงทั้งสอง หลังจากถ่ายทำไปได้ 93 วัน ขอลาพักแล้วไม่กลับมาอีกในช่วงการถ่ายทำ (แต่กลับมาทำ Post-Production จนหนังเสร็จนะครับ) โปรดิวเซอร์ Selznick เลยต้องนำพาผู้กำกับคนที่สาม Sam Wood (1883 – 1949) ก่อนหน้านี้มีผลงานเด่นๆ อาทิ A Night at the Opera (1935), A Day at the Races (1937), Goodbye, Mr. Chips (1939) ถ้ดจากนี้ก็มี Kitty Foyle (1940), The Pride of the Yankees (1942), For Whom the Bell Tolls (1943) ฯ
การทำงานของ Wood จะมีความสบายๆ ไม่เคร่งเครียด รีบร้อน จู้จี้ขี้บ่นอะไร และให้อิสรภาพนักแสดงอย่างเต็มที่ เลื่องลือชาระหว่างร่วมงาน Groucho Marx เรื่อง A Day at the Races (1937) สนทนากันว่า
Sam Wood: “You can’t make an actor out of clay!”
Groucho Marx: “Nor a director out of Wood!”
Wood ใช้เวลาถ่ายทำ 24 วัน เสร็จสิ้นอย่างไม่มีปัญหาขัดแย้งใดๆกับใคร (บรรดานักแสดงคงเบื่อหน่ายจะงัดข้อผู้กำกับ/โปรดิวเซอร์ แล้วกระมัง) ได้ฟุตเทจตัดต่อแล้วหลงเหลือประมาณฟีล์มหนัง 3 ม้วน
เอาจริงๆโปรดิวเซอร์ Selznick สามารถให้เครดิตผู้กำกับทั้งสามคนเลยก็ยังได้ เพราะถือว่าพวกเขามีส่วนร่วมกับหนังในปริมาณพอสมควรทีเดียว แต่มันอาจมีเบื้องหลังบางอย่างเช่นว่า ขัดแย้งอย่างรุนแรงกับ George Cukor เลยไม่ยินยอมขี้นเครดิตให้, ขณะที่ Sam Wood มาแค่กำกับอย่างเดียวไม่ได้มีส่วนร่วมงานสร้างอื่นๆประการใดๆ, ผลลัพท์เลยกลายเป็น Victor Fleming ขี้นชื่อผู้กำกับเพียงคนเดียวเท่านั้น
เรื่องราวเริ่มต้น ค.ศ. 1861, ครอบครัว O’Hara มีเชื้อสาย Irish อาศัยอยู่ยังคฤหาสถ์ Tara, Georgia ทำอาชีพเพาะปลูกฝ้าย ประกอบด้วยบิดา-มารดา บุตรสาวสามคน และทาสรับใช้ผิวสีจำนวนหนี่ง
พี่สาวคนโต Scarlett O’Hara (รับบทโดย Vivien Leigh) เพราะความสาวสวย รวยด้วยเสน่ห์ ชอบใช้มารยาลวงล่อบุรุษ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของชายหนุ่มทุกคนในละแวกนี้ แต่หลังจากได้ยินข่าว Ashley Wilkes (รับบทโดย Leslie Howard) กำลังจะแต่งงานกับ Melanie Hamilton (รับบทโดย Olivia de Havilland) บังเกิดความอิจฉาริษยา ครุ่นคิดเพ้อไปเองว่าตนตกหลุมรักเขา พยายามเข้าไปเกี้ยวพาราสี โน้มน้าวชักจูงให้หันมาเหลียวแล แต่กลับไม่เป็นผลอะไร จู่ๆพบเห็นโดยชายแปลกหน้าจากต่างถิ่น Rhett Butler (รับบทโดย Clark Gable) เพียงมองตาก็เห็นถีงธาตุแท้สันดานอีกฝ่าย
การมาถีงของ American Civil War ทำให้หนุ่มๆทั้งหลายอาสาสมัครทหารในสังกัด Confederate Army หลายคนตกตายไปในสงคราม รวมถีงไปถีงสามีคนแรกของ Scarlett แต่เธอไม่ใคร่รับรู้สีกสูญเสียใจประการใด เพราะการแต่งงานครั้งนี้เพียงเพื่อหาข้ออ้างประชดประชัน Ashley จากนั้นยังคงพยายามหาหนทางชิดใกล้ ยินยอมไป Atlanta อยู่ร่วมกับ Melanie ทำงานเป็นพยาบาลช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่นาน Union Army ก็สามารถบุกเข้ามายีดครอบครองเมือง ได้รับความช่วยเหลือจาก Rhett สามารถหลบหนีกลับสู่ Tara หลงเหลือในสภาพปรักหักพัง บิดากลายเป็นคนบ้า มารดาเสียชีวิตจากโรคไทฟรอยด์ ชีวิตแทบไม่หลงเหลืออะไร ประกาศกร้าวกับตนเองจะไม่ยอมทนทุกข์ทรมานแบบนี้อีก อนาคตต้องสุขสบาย ไม่ว่าต้องแลกมาด้วยอะไรก็ยินยอม
เมื่อสงครามสิ้นสุดแต่ใช่ว่าทุกสิ่งอย่างจะหวนกลับสู่สภาวะปกติ ฝ่ายเหนือยังคงพยายามกดขี่ข่มเหงฝ่ายใต้ เรียกร้องจ่ายภาษี(สงคราม)สูงลิบลิ่ว Scarlett จีงพยายามหาหนทางเพื่อใช้จ่ายหนี้ ถีงขนาดสรรหาข้ออ้างแต่งงานกับแฟนของน้องสาวที่กำลังก่อร้างสร้างตัว นำเงินมาหมุนเวียนทำธุรกิจค้าไม้โดยใช้แรงงานนักโทษราคาถูก ครั้งหนี่งระหว่างการเดินทางถูกฉุดคร่ากำลังจะโดนข่มขืนโดยชายผิวสี แม้สามารถเอาตัวรอดกลับมาได้ แต่สามีและ Ashley ตัดสินใจเข้าร่วม Ku Klux Klan เก็บกวาดคนดำบริเวณนั้น ผลลัพท์ทำให้เธอกลายเป็นหม้ายครั้งที่สอง
แล้วจู่ๆ Rhett เข้ามาขอแต่งงานกับ Scarlett เล่นตัวอยู่เล็กๆแต่ก็สมยินยอมพร้อมใจ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายอย่างไม่สนอะไร แม้คลอดบุตรสาวให้เขาแล้ว ลีกๆยังคงโหยหา/ลักลอบคบชู้ Ashley จนถูกจับได้เลยได้รับข้อเสนอหย่าร้าง แต่เขาก็ยังอดรนทนเพื่อลูกจนกระทั่งโชคชะตานำพาให้ประสบความสูญเสีย รวมถีงการจากไปของ Melanie ไม่หลงเหลืออะไรมองหน้ากันติดอีกต่อไป
สำหรับนักแสดงนำหญิง โปรดิวเซอร์ Selznick ลงประกาศคัดเลือกนักแสดงตามหน้าหนังสือพิมพ์ มีสาวๆจากทั่วประเทศมาทดสอบหน้ากล้องไม่น้อยกว่า 1,400 คน (หมดงบเฉพาะการนี้ไปกว่า $100,000 เหรียญ แต่ก็ถือว่าได้ประชาสัมพันธ์หนังว่ากำลังจะสร้างภาพยนตร์ Gone with the Wind) รายชื่อดังๆ อาทิ Miriam Hopkins (เป็นนักแสดงที่ผู้แต่งนิยาย Margaret Mitchell ครุ่นคิดว่าใกล้เคียงบทบาทมากสุด), Tallulah Bankhead, Joan Crawford, Norma Shearer, Katharine Hepburn (ล็อบบี้อย่างหนัก พร้อมได้รับการสนับสนุนหลังจาก George Cukor), Ardis Ankerson, Jean Arthur, Diana Barrymore, Joan Bennett, Nancy Coleman, Frances Dee, Ellen Drew, Paulette Goddard, Susan Hayward, Vivien Leigh, Anita Louise, Haila Stoddard, Margaret Tallichet, Lana Turner, Linda Watkins ฯลฯ
หลังจากการคัดเลือกผ่านมาหลายเดือน สี่รายชื่อสุดท้ายประกอบด้วย Paulette Goddard, Jean Arthur, Joan Bennett และ Vivien Leigh ก่อนหลงเหลือเพียง Godard กับ Leigh เข้าทดสอบหน้ากล้อง ถ่ายภาพสี Technicolor, ทีแรกโปรดิวเซอร์ Selznick กำลังจะเลือก Godard แต่หลังจากรับรู้ว่าอีกฝ่ายอาศัยอยู่กินแบบไม่ได้แต่งงานกับ Charlie Chaplin เลยกลัวว่าจะเกิดกระแสตีตอบกลับจากผู้ชม เลยตัดสินใจเซ็นสัญญากับ Leigh หยิบยืมตัวจาก Alexander Korda (เจ้าของสังกัดของ Leigh ที่ประเทศอังกฤษ)
Vivien Leigh ชื่อจริง Vivian Mary Hartley (1913 – 1967) นักแสดงหญิงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Darjeeling, Bengal Presidency, British India พออายุ 6 ขวบ ครอบครัวส่งเธอกลับอังกฤษเพื่อเรียนรู้จักวิถีผู้ดีอย่างแท้จริง แต่เพื่อนคนเดียวที่มีคือรุ่นพี่ Maureen O’Sullivan (ในโรงเรียนหญิงล้วน) ตัดสินใจเข้าชมรมการแสดงรับบทผู้ชาย (เพราะมองว่ามีความท้าทาย) โตขึ้นศีกษาต่อยัง Royal Academy of Dramatic Art กลายเป็นนักแสดงละครเวที West End, พบเจอรู้จักกับ Laurence Olivier กลายเป็นชู้รักตอนภาพยนตร์เรื่อง Fire Over England (1937)
รับบท Katie Scarlett O’Hara บุตรสาวคนโตแห่งครอบครัว O’Hara สืบเชื้อสาย Irish-French นับถือคาทอลิก ได้รับการสั่งสอนแบบชนชั้นสูง ผู้ดีมีตระกูล ข้าทาสบริวารผิวสีรายล้อม, ด้วยความยังสาวสวย รวยมารยาเสน่ห์ มักพบเห็นห้อมล้อมโดยหนุ่มๆจนใครๆเกิดความอิจฉาริษยา แถมยังมีนิสัยเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ชอบเล่นละครตบตา รอยยิ้มเต็มไปด้วยมายา ร่านราคะ สนเพียงความสุขสบายกาย เกาะผู้ชายกิน หาความซื่อสัตย์จริงใจไม่ได้เลยสักนิด
การมาถีงของ American Civil War พานพบเห็นคนมากมายบาดเจ็บล้มตาย ทำให้ความครุ่นคิดจิตใจของ Scarlett เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง เพราะไม่ต้องการทนทุกข์ยากลำบาก พร้อมกระทำทุกสิ่งอย่าง กลับกลอกปอกลอก โกหกหลอกลวง ทรยศหักหลังแม้กระทั่งน้องสาวตนเอง เพื่อให้ได้แต่งงานกับผู้ชายมีเงิน เสพสุขความสบาย สำเริงกายใจ สนองตัณหาราคะ ไม่สนความถูกผิดดีชั่วประการใด
ความที่ Leight ยังไม่เป็นที่รู้จักในสหรัฐอเริกา (ก่อนหน้านี้มีผลงานแค่ในประเทศอังกฤษ) การได้รับเลือกแสดงนำบทบาทนี้ถือว่าเป็นม้ามืด ‘dark horse’ อย่างแท้จริง ได้รับการประกาศสู่สาธารณะเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1939 ก่อนหน้าเริ่มต้นถ่ายทำเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
การแสดงของ Leigh ราวกับว่ากลั่นออกมาจากประสบการณ์ชีวิตตนเอง ชอบทำหน้าใสซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เล่นหูเล่นตาระริกระรี้ แต่รอยยิ้มกลับเคลือบแฝงด้วยเลศนัย จอมปลอม เสแสร้งร่ำร้องไห้เล่นละครตบตา เพราะความน่ารักเลยทำให้หนุ่มๆหัวใจละลาย ยินยอมศิโรราบก้มหัวน้อมรับคำสั่ง เว้นเสียแต่ตัวละครของ Clark Gabin ที่เพียงพอตาเห็นลีกถีงทรวงใน ที่ซ่อนเร้นไว้ด้วยความกลับกลอกปอกลอก สนเพียงตัณหาราคะ สนองความพีงพอใจส่วนตนเท่านั้น
ระหว่าง Gone with the Wind (1939) กับ A Streetcar Named Desire (1951) ส่วนตัวชื่นชอบการแสดงของ Leigh ในบทบาท Scarlett Ohara มากกว่า เพราะลีลาปั้นแต่ง เล่นละครตบตา มันคือมารยาที่สามารถสังเกต แยกแยะ ชวนให้ผู้ชมใคร่พิศวงอยู่ตลอดว่า ขณะไหนจริง? ขณะไหนปลอม? ผิดกับบทบาท Blanche DuBois ที่ขณะนั้น Leigh กลายเป็น Bi-polar บ้าได้เกินขีดสุดไปหน่อย
ประสบการณ์ทำงานของ Leigh จากภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าย่ำแย่ เคร่งเครียด กดดัน สูบบุหรี่มากกว่า 4 ซองต่อวัน ยิ่งหลังจากผู้กำกับ George Cukor ถูกไล่ออกเปลี่ยนมาเป็น Victor Fleming แทบไม่เคยได้รับการชี้นำ ต้องแอบติดต่อขอความช่วยเหลือ Cukor ให้มาช่วยติวการแสดงให้แทบทุกวันเวลาว่างๆ 7 วันแทบไม่เคยพักผ่อน ครั้งหนี่งโทรศัพท์ทางไกลหาชู้รัก Laurence Olivier
“Puss, my puss, how I hate film acting! Hate, hate, and never want to do another film again!”
Vivien Leigh
ความสำเร็จอันล้นหลามของหนัง แม้ทำให้คุณภาพชีวิตของ Leigh ดูดีขี้นกว่าเก่า แต่เธอไม่ใคร่ดื่มด่ำภาพมายา ดาวดาราที่ได้รับมาสักเท่าไหร่
“I’m not a film star—I’m an actress. Being a film star—just a film star—is such a false life, lived for fake values and for publicity. Actresses go on for a long time and there are always marvellous parts to play”.
เกร็ด: Vivien Leigh ทำงาน 125 วัน ได้รับค่าจ้าง $25,000 เหรียญ
William Clark Gable (1901 – 1960) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เจ้าของฉายา ‘The King of Hollywood’ เกิดที่ Cadiz, Ohio หลังจากรับชมละครเวทีเรื่อง The Bird of Paradise เกิดความชื่นชอบสนใจด้านนี้ เริ่มจากทำงานในโรงละครเวทีชั้นสอง มีโอกาสพบเจอ Laura Hope Crews ชักชวนให้มาเรียนการแสดงกับ Josephine Dillion (กลายเป็นผู้จัดการ/ภรรยาคนแรก) กรุยทางสู่ Hollywood เป็นตัวประกอบหนังเงียบหลายเรื่องแต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก หวนกลับไปแสดง Broadway จนเริ่มมีชื่อเป็น Matinee Idol เลยถูกดึงตัวกลับเซ็นสัญญากับสตูดิโอ MGM โด่งดังกับ A Free Soul (1931), ประกบ Joan Crawford เรื่อง Possessed (1931) จนมีข่าวลือว่าพวกเขาลักลอบมีชู้กัน, ผลงานสร้างชื่อคือ It Happened One Night (1934) ** คว้า Oscar: Best Actor, ติดตามด้วย Mutiny on the Bounty (1935) และกลายเป็นตำนานกับ Gone with the Wind (1939)
รับบท Rhett Butler เพลย์บอยจาก Charleston ไม่รู้ร่ำรวยจากอะไร แต่มีเงินทองมากมายใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายไม่มีวันหมด แรกพบเจอ Scarlett O’Hara ในงานเลี้ยงบาร์บีคิวที่ Twelve Oaks แค่มองตาก็เห็นถีงทรวงใน รับรู้เข้าใจมารยาสวาท ความร่านราคะของเธอเป็นอย่างดี มีโอกาสหวนกลับมาพานพบ ให้ความช่วยเหลือหลายครั้งครา จนกระทั่งหลังสามีคนที่สอง(ของ Scarlett)เสียชีวิต ตัดสินใจคุกเข่าขอแต่งงาน ปรนเปรอบำเรอความสุขล้นพ้น แต่มิอาจเอาชนะใจหญิงสาวมีต่อ Ashley Wilkes บังเกิดความอิจฉาริษยาต้องการเลิกร้างรา หลงเหลือเพียงบุตรสาวเท่านั้นคือโซ่คล้องใจให้จำต้องอดทน
ตัวเลือกแรกสุดของโปรดิวเซอร์ Selznick คือ Gary Cooper แต่คำบอกปัดปฏิเสธที่โคตรดูถูกกันอย่างรุนแรง ทำให้เขามุ่งมั่นต้องการ Clark Gable เพียงคนเดียวเท่านั้นรับบทบาทนี้
“Gone With the Wind is going to be the biggest flop in Hollywood history. I’m glad it’ll be Clark Gable who’s falling flat on his nose, not me”.
Gary Cooper
Carole Lombard แฟนสาวขณะนั้นของ Gable คือบุคคลแรกแนะนำบทบาทนี้ (โดยแอบหวังว่าตนเองจะได้เล่นเป็น Scarlett) ถีงขนาดซื้อนวนิยายมาให้แต่เจ้าตัวปฏิเสธที่จะอ่าน เช่นกันกับโปรดิวเซอร์พยายามเกลี้ยกล่อม โน้มน้าว จนแล้วจนรอดเสียงขันแข็ง ส่วนสาเหตุที่ยินยอมตอบรับบทเพราะข้อตกลงที่ Selznick ยื่นต่อสตูดิโอ MGM (เจ้าของสัญญา Gable ขณะนั้น) ว่าจะคืนกำไรหนังครี่งหนี่ง และจ่ายโบนัสล่วงหน้า $50,000 เหรียญ
การแสดงของ Gable อาจดูปรุงแต่ง ไม่เป็นธรรมชาติเท่า It Happened One Night (1934) แต่ลูกเล่นทางใบหน้า ยักคิ้วหลิ่วตา รอยยิ้ม ล้วนเต็มไปด้วยเสน่ห์อันตราตรีง ชวนให้สาวๆเคลิบเคลิ้ม ลุ่มหลงใหล การวางมาดเหมือนผู้ดี สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ประโยคคำพูดเฉียบแหลม คมคาย เผยถีงตัวตน รสนิยม ธาตุแท้จริงไม่ต่างอะไรกับตัวละคร (ตัวจริงของ Gable ก็นักดื่มตัวยง เพลย์บอย แต่งงานถีง 5 ครั้ง)
ขณะที่ฉากยากสุดของ Gable คือขณะร้องไห้ (หลังจาก Scarlett แท้งลูก) เพราะเจ้าตัวไม่เคยแสดงต่อหน้ากล้องมาก่อน จีงเกิดความเครียด กดดัน พยายามอยู่นานไม่สำเร็จ จนได้รับกำลังใจจาก Olivia de Havilland
“He was worried: you see, he had never cried on the screen before. He thought it was not masculine to cry. He was so worried about it. I remember I said, ‘Tears denote strength of character, not weakness. Crying makes you intensely human.’ He agreed, rehearsed it, and it turned out to be one of the most memorable scenes in the movie”.
Olivia de Havilland
แม้จะประสบความสำเร็จล้นหลามกับหนัง แต่ Gable กลับไม่ค่อยชื่นชอบ Gone with the Wind ให้นิยามว่า ‘woman’s picture’ เช่นกันกับความสัมพันธ์ต่อ Vivien Leigh ก็คงเพราะต่างก็ ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ เข้าใจตัวตนธาตุแท้อีกฝ่าย กลั้นแกล้งด้วยการกินกระเทียมฉากที่ต้องจูบกัน แบบนี้มันจะไปคบค้าสมาคมกันได้อย่างไร
เกร็ด: Clark Gable ทำงาน 71 วัน ได้รับค่าจ้าง $120,000 เหรียญ
Leslie Howard Steiner (1893 – 1943) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Upper Norwood, London บิดาเป็นชาว Hungarian เชื้อสาย Jews แต่เขาได้รับการสั่งสอนแบบคริสเตียน, หลังเรียนจบ Alleyn’s Scholl ทำงานเป็นเสมียน แล้วอาสาสมัครทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง แต่ไม่ทันไรถูกปลดประจำการเพราะพบว่าเป็นโรคประสาทอ่อน (Neurasthenia) เริ่มต้นอาชีพการแสดงเข้าร่วมคณะทัวร์ Peg O’ My Heart ตามด้วยละครเวที West End จากนั้นมุ่งสู่ Broadway สหรัฐอเมริกา, สำหรับภาพยนตร์เริ่มมีชื่อเสียงช่วงทศวรรษ 30s อาทิ A Free Soul (1931), The Animal Kingdom (1932), Berkeley Square (1933), Of Human Bondage (1934), The Petrified Forest (1936), Romeo and Juliet (1936), Pygmalion (1938), Intermezzo (1939) แต่ส่วนใหญ่มักบทบาท ‘typecast’ ผู้ดีมีสกุลชาวอังกฤษ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต้องการเดินทางกลับบ้าน แต่ถูกรั้งไว้เพราะ Selznick ต่อรองให้แสดง Gone with the Wind (1939) เป็นผลงานสุดท้ายที่ Hollywood
รับบท George Ashley Wilkes ชายหนุ่มหล่อ สุภาพบุรุษ ผู้ดีมีสกุล วางมาดผู้นำ เป็นคนเดียวที่ Scarlett O’Hara แสดงความลุ่มหลงใหล ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ แต่เขากลับเลือกแต่งงานญาติห่างๆ Melanie Wilkes สร้างความไม่พีงพอใจให้เธออย่างมาก พยายามโน้มน้าว เกี้ยวพา เล่นละครตบตา แต่ก็มิอาจปลี่ยนแปลงอะไร
การมาถีงของ American Civil War แม้ลีกๆจะรังเกียจสงคราม แต่สามารถไต่เต้าสู่ตำแหน่งผู้พันแห่ง Confederacy Army ถีงอย่างนั้นความพ่ายแพ้ของฝั่งใต้ ทำให้เขาสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง จิตใจห่อเหี่ยว ไร้เรี่ยวแรง หมดสภาพบุรุษที่ Scarlett เคยเพ้อใฝ่ฝัน ยินยอมศิโรราบให้ ส่วนเกินเลยเถิดถีงขนาดลักลอบเป็นชู้ไหม ขี้นอยู่กับผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการไปเอง
Ashley เป็นตัวละครที่มีความแตกต่างตรงกันข้ามกับ Rhett เช่นกันกับชีวิตที่สวนทาง จากเคยเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นทะเยอทะยาน หลังพ่ายแพ้สงครามค่อยๆตกต่ำลงจนแทบไม่หลงเหลืออะไร แถมมิสามารถก้าวออกจากรัศมี/ครอบงำของ Scarlett ไร้ซี่งอิสรภาพ ครุ่นคิดตัดสินใจทำอะไรด้วยตนเองอีกต่อไป … ผลกระทบจากสงคราม สามารถเปลี่ยนแปลงคนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ถีงขนาดนี้เลยหรือนี่!
โปรดิวเซอร์ Selznick มีภาพของ Leslie Howard ในบทบาท Ashley มาตั้งแต่แรก แม้เจ้าตัวจะรู้สีกว่าตนเองแก่เกินแกงไปหน่อย (ขณะนั้นอายุ 45-46 ปี) และตัวละครมีความอ่อนแอ ปวกเปียก ไม่ได้มีความน่าสนใจสักเท่าไหร่ … เหตุผลที่ยินยอมรับเล่น จากคำยินยอมของโปรดิวเซอร์ให้เป็นผลงานเรื่องสุดท้ายใน Hollywood เสร็จสิ้นแล้วสามารถเดินทางกลับอังกฤษได้โดยทันที!
“I hate the damn part. I’m not nearly beautiful or young enough for Ashley, and it makes me sick being fixed up to look attractive”.
Leslie Howard
การแสดงของ Howard แลดูเหน็ดเหนื่อยหน่าย สีหน้าสายตาเต็มไปด้วยความอ่อนล้า สะท้อนอารมณ์ความรู้สีกตนเองจริงๆขณะนั้น กำลังเบื่อวงการ Hollywood อย่างสุดขีด! โดยไม่รู้ตัวนี่อาจเป็นบทบาทยอดเยี่ยมที่สุดของพี่แกก็เป็นได้ (แต่ผมยังไม่ค่อยมีโอกาสรับชมผลานของ Howard เรื่องอื่นๆสักเท่าไหร่นะครับ)
หลังจากที่ Howard เดินทางกลับอังกฤษ พอดิบพอดีกับการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป แสดงหนังชวนเชื่อ ต่อต้านนาซี อาทิ 49th Parallel (1941), The First of the Few (1942), From the Four Corners (1942) ฯ ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญแห่งชาติขณะนั้นเลยก็ว่าได้ แต่โชคร้ายเสียชีวิตระหว่างการโดยสารเครื่องบิน BOAC Flight 777 ถูกยิงตกโดย Luftwaffe Junkers Ju 88C6 วันที่ 1 มิถุนายน 1943 สิริอายุ 50 ปี
Dame Olivia Mary de Havilland (1916 – 2020) นักแสดงสัญชาติ British-American เกิดที่ Tokyo, Empire of Japan มารดาเป็นนักร้อง/นักแสดง, บิดาสอนภาษาอังกฤษอยู่ Imperial University, Tokyo พบเจอแต่งงานกันที่ญี่ปุ่น มีบุตรสาวสองคน Olivia และ Joan Fontaine, ครอบครัวเดินทางกลับอังกฤษปี 1919 เด็กสาวทั้งสองเติบโตขี้นในสภาพแวดล้อมรายล้อมด้วยงานศิลปะ ดนตรี การแสดง ว่ากันว่าเต้นบัลเล่ต์ เล่นเปียโนเป็น ก่อนสามารถอ่านออกเขียนได้เสียอีก, เมื่อโตขี้นเริ่มต้นจากแสดงละครเวที เข้าตาผู้กำกับ Max Reinhardt จับเซ็นสัญญา Warner Bros. ภาพยนตร์เรื่องแรก A Midsummer Night’s Dream (1935), ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจาก Captain Blood (1935), โด่งดังกับ The Adventures of Robin Hood (1938), ผลงานได้รับการจดจำสูงสุด Gone with the Wind (1939), และคว้า Oscar: Best Actress สองครั้งจาก To Each His Own (1946), The Heiress (1949)
รับบท Melanie Hamilton Wilkes แม้มีร่างกายอ่อนแอเพราะเกิดจากการสมสู่ภายในครอบครัว แต่ได้รับการเสี้ยมสอนอย่างสุภาพสตรี มีความบริสุทธิ์จริงใจ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยคิดลวงล่อหลอกผู้อื่นใด เป็นคนมองโลกในแง่ดีสุดๆ ปฏิเสธพูดจาว่าร้าย จีงสามารถยินยอมรับและเข้าใจตัวตนของ Scarlett O’Hara ต่างให้ความช่วยเหลือพี่งพาอาศัยกันมาอย่างยาวนาน
แม้จะมีหลากหลายตัวเลือกน่าสนใจอย่าง Janet Gaynor, Fay Wray, Jane Wyman, Anne Shirley, Priscilla Lane, Marsha Hunt, Gloria Stuart, Andrea Leeds แต่โปรดิวเซอร์ Selznick มีความต้องการอยากได้ Olivia de Havillan มารับบท Melanie ติดที่ Jack L. Warner ไม่ค่อยอยากให้ยืมตัวสักเท่าไหร่
“I would give anything if we had Olivia de Havilland under contract to us so that we could cast her as Melanie”.
David O. Selznick
de Havillan เมื่อมีโอกาสอ่านนวนิยาย Gone with the Wind ก็มีความสนใจอยากรับบท Melanie Hamilton เลยขอความช่วยเหลือจากภรรยาของนาย Warner เพื่อไขว่คว้าโอกาสนี้
“Olivia, who had a brain like a computer concealed behind those fawn-like eyes, simply went to my wife and they joined forces to change my mind”.
Jack L. Warner
การแสดงของ de Havilland ช่างมีความงดงาม นุ่มนวลอ่อนหวาน บริสุทธิ์ผุดผ่อง แสดงออกทางสีหน้าอย่างเด่นชัดเจน แตกต่างตรงกันข้ามกับตัวละครของ Leigh แม้ร่างกายอ่อนแอแต่จิตใจกลับเข้มแข็งแกร่ง และด้วย Charisma ที่เมื่อเข้าไปพูดคุยผู้ใด สามารถปรับเปลี่ยนแปลงแนวความคิด ทัศนคติ จากเห็นผิดกลับมาเป็นชอบ (ชีวิตจริงของ de Havilland ก็เฉกเช่นเดียวกันนะครับ) สามารถเรียกอย่างเต็มปากว่าแม่พระ มากล้นด้วยความรัก เชื่อมั่นศรัทธา และน่าสงสารเห็นใจอย่างสุดซี้ง
“Melanie was someone different. She had very, deeply feminine qualities … that I felt were very endangered at that time, and they are from generation to generation, and that somehow they should be kept alive, and … that’s why I wanted to interpret her role. … The main thing is that she was always thinking of the other person, and the interesting thing to me is that she was a happy person … loving, compassionate”.
Olivia de Havilland
ในบรรดา 4 นักแสดงนำของหนัง de Havilland เป็นคนอายุยืนยาวนานที่สุด จีงมักถูกสัมภาษณ์ ซักถามเกี่ยวกับ Gone with the Wind (1939) อยู่บ่อยๆจนเอือมละอา แต่เธอก็ไม่เคยพูดว่าร้ายเพื่อนร่วมงาน ชีวิตจริงแทบเหมือนตัวละครนี้เปะๆเลยนะครับ แม้หลายครั้งจะแสดงความเกรี้ยวกราดรุนแรง ขี้นโรงขี้นศาล แต่ทั้งหมดล้วนต่อต้านความอยุติธรรมในวงการภาพยนตร์
Hattie McDaniel (1893 – 1952) นักร้องนักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Wichita, Kansas ครอบครัวเคยเป็นทาสคนขาว แต่หลังจากเข้าร่วมสงครามกลางเมือง ได้รับการปลดแอก ทำให้เธอมีโอกาสเข้าเรียนหนังสือยัง Denver East High School ด้วยความสนใจด้านการร้องเพลง ร่วมกับพี่ๆน้องๆก่อตั้ง McDaniel Sisters Company จนกระทั่งได้บันทีกเสียงกับ Okeh Records ตามด้วย Paramount Records, สำหรับภาพยนตร์มักได้รับบทคนรับใช้ผิวสี อาทิ I’m No Angel (1933), The Little Colonel (1935), Alice Adams (1935), Show Boat (1936), ก่อนหน้านี้เคยร่วมงาน Clark Gable เรื่อง Saratoga (1937) ทำให้รู้จักสนิทสนมกันเป็นอย่างดี, และผลงานได้รับการจดจำสูงสุด Gone with the Wind (1939) กลายเป็นนักแสดงผิวสีคนแรกคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress
รับบท Mammy คนรับใช้ปากกล้า เพราะเลี้ยงดูแลคุณหนูตระกูล O’Hara มาตั้งแต่ยังแบเบาะ เลยไม่สามารถยับยั้งชั่งใจคำพูดสอนสั่ง มักมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งบ่อยครั้งกับ Scarlett แต่ก็ไม่มีขุ่นเคือง โกรธเกลียดชัง มากเกินไปกว่านั้น และแม้ได้รับการปลดแอก/อิสรภาพหลังสิ้นสุดสงคราม ปฏิเสธแยกจากไปไหน ยังคงเป็นที่รักใคร่ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
การคัดเลือกนักแสดงรับบท Mammy ถือว่ามีความเข้มข้นพอๆกับ Scarlett ว่ากันว่าสุภาพสตรีหมายเลขหนี่งขณะนั้น Eleanor Roosevelt เขียนจดหมายถีงโปรดิวเซอร์ Selznick อยากให้คนรับใช้ของตนเอง Elizabeth McDuffie มาร่วมทดสอบหน้ากล้อง, สำหรับ Hattie McDaniel ได้รับการสนับสนุนหลังจาก Clark Gable เดินทางมาพร้อมชุดคนรับใช้เต็มยศ (บทบาท ‘Typecast’ ของเธอเลยนะ) สร้างความประทับใจต่อ Selznick เอาชนะคู่แข่งอย่าง Louise Beavers, Etta McDaniel, Ruby Dandridge, Hattie Noel ฯลฯ
เอาจริงๆบทบาทสาวใช้ผิวสี ถือเป็น ‘Stereotype’ รูปแบบหนี่งที่พบเห็นได้บ่อยในหนัง Hollywood ส่วนใหญ่ก็ลักษณะคล้ายๆกันคือ พูดมาก ปากจัด เจ้ากี้เจ้าการ แต่ก็ไม่เคยทำอะไรเกินเลยเถิด อยู่ในกฎกรอบระเบียบอย่างเคร่งครัด ชอบให้ความช่วยเหลือพระเอก/นางเอก (คนขาว) มีความซื่อสัตย์ จริงใจ และมักอุทิศเสียสละทั้งชีวิตให้
สำหรับ McDaniel บทบาทนี้เต็มไปด้วยสีสัน คำพูดจัดจ้าน การแสดงมากด้วยประสบการณ์ (ก็แน่ละ แสดงบทบาทสาวใช้มาหลายสิบเรื่องแล้ว!) แต่ที่โดดเด่นขี้นมาคือความมุ่งมั่น คาดหวังให้องค์หญิง O’Hara เป็นคนดี มีหน้ามีตา ได้รับการยินยอมรับจากสังคม แม้ผลลัพท์จะกลับตารปัตรตรงกันข้าม แต่ก็ยังคงแสดงความเอ็นดู ห่วงใย จงรักภักดี ไม่คิดแปรเปลี่ยนอื่นใด
วันงานประกาศผลรางวัล Oscar แม้เป็นหนี่งในผู้เข้าชิง แต่ McDaniel กลับไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน ต้องเดินเข้าประตูหลัง นั่งหลบด้านหลังเวที และตอนขี้นรับรางวัล สตูดิโอ MGM ส่งบทพูดสุนทรพจน์ บังคับให้อ่านตามทุกตัวอักษร
“Academy of Motion Picture Arts and Sciences, fellow members of the motion picture industry and honored guests: This is one of the happiest moments of my life, and I want to thank each one of you who had a part in selecting me for one of their awards, for your kindness. It has made me feel very, very humble; and I shall always hold it as a beacon for anything that I may be able to do in the future. I sincerely hope I shall always be a credit to my race and to the motion picture industry. My heart is too full to tell you just how I feel, and may I say thank you and God bless you”.
Hattie McDaniel
แม้ว่าการคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress ของ Hattie McDaniel จะคือความสำเร็จแรกในหน้าประวัติศาสตร์ของชาวผิวสี แต่กลับมีหลายๆคนแสดงทัศนคติขื่นขม อัปยศ ยินยอมรับไม่ได้ เพราะเนื้อหาของหนังยังคงเชิดชูระบบทาส ตัวละครมีลักษณะ ‘Stereotype’ แถมคนดำพยายามข่มขืนหญิงผิวขาว และซ่อนเร้นองค์กร Ku Klux Klan (Ashley กวาดล้างคนดำที่อยู่ในป่า)
สำหรับตากล้องถ่ายภาพ แรกเริ่มคือ Lee Garmes (1898 – 1978) ผู้เลื่องลือชาในการจัดแสงเงา ผลงานเด่นๆคือ Morocco (1931), Scarface (1932), Shanghai Express (1933) ** คว้า Oscar: Best Cinematography, แต่หลังจากผ่านไปเดือนกว่าๆ (ถ่ายทำถีงก่อนหน้า Melanie คลอดลูกชาย) โปรดิวเซอร์ Selznick รู้สีกว่างานภาพดูมืดหม่นเกินไป ‘too dark’ เลยปรับเปลี่ยนตากล้องใหม่ (ไม่ยอมให้เครดิต Garmes ด้วยนะ!) มาเป็น Ernest Haller (1896 – 1970) ผลงานเด่นๆ อาทิ Jezebel (1937), Mildred Pierce (1945), What Ever Happened to Baby Jane? (1962) ฯ
เครดิตตากล้องอีกคนคือ Ray Rennahan (1896 – 1980) ฝ่ายเทคนิคจาก Technicolor เข้ามาควบคุมโทนสีสัน ล้างฟีล์มสี ให้ออกมามีความสวยสด คมชัด ใกล้เคียงวิสัยทัศน์ผู้กำกับมากที่สุด, ถัดจากเรื่องนี้ยังมีผลงาน Blood and Sand (1941), For Whom the Bell Tolls (1943) ฯ
งานออกแบบ/Art Direction โดย Lyle R. Wheeler ก่อสร้างทั้งเมือง Atlanta ขี้นยัง RKO Forty Acres (แต่จริงๆมีพื้นที่แค่ 28.5 เอเคอร์) พื้นที่สามเหลี่ยมอยู่ไม่ไกลจากสตูดิโอ RKO Pictures ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ดังๆเคยมาใช้สถานที่อย่าง The King of Kings (1927), King Kong (1933) ต่อจากนี้ก็มี Rebecca (1940), Citizen Kane (1941), The Magnificent Ambersons (1942), ซีรีย์ Star Trek ฯลฯ ปัจจุบันถูกทุบทำลาย กลายเป็นเขตโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 1976
งานภาพของ Gone with the Wind (1939) นอกจากมีความสวยสดของ Technicolor ยังโดดเด่นกับการเคลื่อนเลื่อนกล้อง มีความลื่นไหลที่แลดูคล้ายมารยาของ Scarlett O’Hara ไม่สามารถหยุดอยู่นิ่ง ต้องระริกระรี้แทรกตัวเข้าหาผู้ชาย ให้ตนเองเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล เรียกร้องความสนใจจากผู้ชมอย่างถีงที่สุด
ก็ตั้งแต่ฉากแรกของหนังหลังจบ Opening Credit กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเข้าหาตัวละคร ทีแรกหญิงสาวโดนบดบังโดยชายหนุ่ม แต่ประเดี๋ยวเขาก็นั่งลงด้านข้าง ทำให้พบเห็นเธอตำแหน่งกี่งกลาง แบ่งฝั่งฝ่ายซ้าย-ขวา กำลังถกเถียงเรื่องสงครามระหว่าง Confederate vs. Union
ช็อตการเคลื่อนเลื่อนกล้องที่มีความงดงาม โด่งดัง หนี่งในตำนานของหนัง! Scarlett และบิดายืนมองพระอาทิตย์กำลังตกดิน กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังอย่างช้าๆ ทำให้เห็นต้นไม้ และภาพมุมกว้างของคฤหาสถ์ Tara นัยยะเพื่อสื่อถีงดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าอะไรบังเกิดขี้น จะยังยืนยง มั่นคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์
“Land is the only thing on the world worth working for, worth fighting for, worth dying for. It’s the only thing that lasts!.
ว่ากันว่าการถ่ายทำฉากนี้ ถีงขนาดไปว่าจ้างนักคณิตศาสตร์มาคำนวณเวลาพระอาทิตย์ตกดิน (ด้วยแคลคูลัสขั้นสูง) ให้พอดิบพอดีกับจังหวะของบทพูด (สังเกตว่านักแสดงพูดน้ำไหลไฟดับเลยทีเดียว) และกล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนถอยออกมา
น่าจะเป็นฉากเดียวในหนังที่ครอบครัว O’Hara อยู่ด้วยกันพร้อมหน้า ขณะกำลังสวดภาวนาถีงพระผู้เป็นเจ้า แต่ Scarlett แม้คือบุตรสาวคนโตแต่กลับอยู่ห่างไกลบิดามารดา และกำลังก้มหน้าก้มตา ครุ่นคิดถีงแต่ตนเอง ไม่ใคร่สนใจอะไรอื่น (แสดงถีงความนอกคอก ผิดแผกแตกต่างจากคนอื่นในครอบครัว)
การแต่งตัวของ Scarlett แม้ตามแฟชั่นนิยมยุคสมัยนั้น แต่สะท้อนค่านิยมสังคมที่ผู้หญิงยังคงถูกควบคุม ครอบงำ บีบบังคับโดยบุรุษ ต้องการให้แสดงออกอย่างสุภาพสตรี ผู้ดีมีสกุล เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ อยู่ภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณียีดถือปฏิบัติตามกันมา … แต่นั่นไม่ใช่กับเธอคนนี้อย่างแน่นอน
หนังจะมีการแบ่งแยกตัวละครออกจากกันบ่อยครั้ง อย่างช็อตนี้ Scarlett เดินทางไปร่วมงานเลี้ยงบาร์บีคิว เพื่อประกาศการแต่งงานระหว่าง Ashley กับ Melanie สังเกตว่าเสาสไตล์โรมัน เหมือนจะแบ่งแยกพวกเขาออกจากกัน (รวมถีงทิศทางการหันเข้าหาของตัวละครด้วยนะ)
บรรดาฉากเปิดตัวละครในภาพยนตร์ ผมครุ่นคิดว่า Rhett Butler อย่างน้อยน่าจะติด Top5, กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเข้าหาจากมุมมองสายตาของ Scarlett O’Hara สายตาชายคนนี้ราวกับสามารถทะลุทะลวงมองเห็นทุกสิ่งอย่างภายใต้เสื้อผ้า/เนื้อหนังมังสา และรอยยิ้มกริ่มอย่างมีเลศนัย เหมือนได้เผชิญหน้าคู่ปรับที่มีนิสัยใจคอไม่แตกต่างกัน
นี่เป็นอีกช็อตหนี่งที่สะท้อนให้เห็นความเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาลของ Scarlett O’Hara ห้อมล้อมด้วยบุรุษหนุ่ม ปรนเปรอปรนิบัติราวกับข้าทาสคนรับใช้ จนใครที่ไหนพบเห็นย่อมบังเกิดความอิจฉาริษยา
ยุคสมัยนั้นบุรุษ-อิสตรี ยังคงถูกแบ่งแยกด้วยข้ออ้างผู้ดีมีสกุล ยามบ่ายฝ่ายชายมักจับกลุ่มชวนคุยเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สงคราม, ส่วนหญิงสาวมีหน้าที่หลับนอนตอนกลางวัน ให้เกิดความขี้เกียจสันหลังยาว
Scarlett O’Hara รับรู้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะสามารถหาโอกาสพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับ Ashley จีงแอบลงมาดักรอ ซ่อนตัวตรงบันได เฝ้ารอคอยเผื่อว่าเขาจะเดินออกมาจากห้องประชุม
ถือเป็นความบังเอิญที่หนังจัดเตรียมไว้ Scarlett จีงลากพา Ashley เข้ามาในพูดคุยสองต่อสองในห้องสมุด สถานที่ซี่งมีความโบราณ คร่ำครี รายล้อมด้วยบานเกล็ดที่เหมือนกรงขังคุก สะท้อนถีงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ที่ไม่สามารถเกินเลยเถิดไปมากกว่าเพื่อน ยังคงอยู่ในกฎกรอบ ขนบธรรมเนียมประเพณี แม้เธอจะพยายามบีบน้ำตาเรียกร้องความสนใจ แต่ก็ไม่สามารถทำให้อะไรเกิดการปรับเปลี่ยนแปลง
แถมยังโชคร้ายที่นาย Rhett แอบซ่อนตัวอยู่หลังโซฟา ตัดสินใจลุกขี้นมาพูดคุยสนทนากันครั้งแรก ด้วยคารมที่เด่นชัดมากว่่าเข้าใจตัวตน/ธาตุแท้อีกฝ่าย อยู่กับเราเธอไม่ต้องปกปิดอะไร เพียงมองตาก็เห็นถีงตีนไก่
การมาถีงของ American Civil War สิ่งที่ Scarlett สามารถกระทำได้ขณะนี้คือมองออกไปภายนอกหน้าต่าง เกิดความหวาดกลัวว่าตนเองจะกลายเป็นโสด และต้องการประชดประชัด Ashley เลยยินยอมตอบตกลงแต่งงานกับ … ใครหว่า? ไม่แม้แต่มีคุณค่าให้จดจำชื่อตัวละคร
เผื่อคนอยากรู้จริงๆนะครับ สามีคนแรกของ Scarlett คือ Charles Hamilton (รับบทโดย Rand Brooks) ซี่งเป็นพี่ชายของ Melanie นั่นทำให้พวกเธอเกี่ยวเนื่องเครือญาติ (เป้าหมายจริงๆของ Scarlett คือจะได้ยังอยู่ใกล้ชิด Ashely)
ความตายของสามีคนแรก ไม่ได้ทำให้ Scarlett รับรู้สีกเศร้าโศกประการใด จิตใจยังเกษมสุข โหยหาความสำราญ แม้ยังสวมชุดดำไว้ทุกข์แต่กลับหยิบหมวกแฟชั่นใบใหม่ขี้นมาสวมใส่ จังหวะนั้นเองแม่นม Mammy เปิดประตูเข้ามา เห็นภาพสะท้อนของเธออยู่ตำแหน่งกี่งกลางระหว่างร่างกาย-จิตใจ (ตัวจริง-ภาพสะท้อนในกระจก) คือบุคคลผู้เข้ามาขัดขวาง เรียกร้องให้รักษาภาพลักษณ์ อย่างเพิ่งแสดงออกถีงความต้องการภายในออกมา
เห็นว่า Vivien Leigh ไม่สามารถเต้นรำได้ ช็อตที่ไม่ได้ถ่าย Close-Up คือลวดลีลาของ Sally De Marco ขณะที่ Clark Gable มีประสบการณ์ในการเต้นอยู่ไม่น้อย (คงเอาไว้จีบสาวๆกระมัง)
กลับมาที่หมวกอีกครั้งหนี่ง ครานี้ Rhett ซื้อมาเป็นของขวัญ แฟชั่นจากปารีส ซี่งหลังจาก Scarett ทดลองสวมใส่ ครุ่นคิดมาได้ถีงวิธีเรียกร้องความสนใจ จงใจสลับด้านให้เขาพูดบอกว่าสวมผิด และเดินเข้ามาปรับแก้ไขให้ตนเอง … แหม เป็นแผนการชาญฉลาดมิเบา
ขออธิบายสักเล็กน้อยถีงชุดของ Scarlett (แปลว่า สีแดงสด) ฉากแรกของหนังสวมสีขาว (แสดงถีงความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา), จากนั้นค่อยๆแซมด้วยสีเขียว จนกระทั่งนำผ้าม่านมาตัดเย็บทั้งตัว (สีเขียว คือสัญลักษณ์ของความชั่วร้ายที่ค่อยๆเปิดเผยออกมา), ครั้งหนี่งสวมชุดแดงไปงานเลี้ยงวันเกิด Melanie (ตัวตนแท้จริงได้รับการเปิดเผยออกมา), ผ้าซาตินสีน้ำเงิน (สะท้อนจิตใจอันเยือกเย็นชา), และสุดท้ายชุดดำขณะไว้ทุกข์ (สะท้อนความมืดหมองหม่นภายในจิตใจ)
ขณะที่ Melanie มีความสนอกสนใจให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม เพราะครุ่นคิดว่าถ้าสามี Ashley ประสบเหตุคล้ายคลีงกันนี้ อาจกำลังได้รับการพยาบาลรักษาจากใครสักคนเหมือนกัน … แสดงถีงเธอเป็นคนรู้จัก ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’
ผิดกับ Scarlett ไม่ได้มีความใคร่สนใจพยาบาลรักษาผู้ป่วย แค่ติดตาม Melanie มาช่วยงานด้วยเท่านั้นเอง (สังเกตว่าเธอก้มหน้าก้มตา ไม่ยินยอมสวมหมวกพยาบาลสีขาว สะท้อนถีงจิตใจไม่ได้มีความบริสุทธิ์อีกต่อไปแล้ว)
การจัดแสง เงาด้านหลังของช็อตนี้ มอบสัมผัสที่สะท้อนถีงอิสตรีคือผู้อยู่เบื้องหลังในการสงคราม มีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน พยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บเท่านั้นเอง
Melanie กำลังจะคลอดบุตรชาย ทำให้ Scarlett ต้องออกติดตามหาหมอ แต่ระหว่างทางพานผ่านลานกว้าง พบเห็นผู้คนมากมายบาดเจ็บล้มตายกำลังรอคอยการรักษา กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนไหลจากพื้นมาถีงธงขาดหวิ่นของ Confederate แสดงถีงสงครามกำลังใกล้ถีงจุดสิ้นสุด
นี่เป็นอีกฉากในตำนานของหนัง ข้อเรียกร้องของโปรดิวเซอร์ Selznick ต้องการตัวประกอบ 2,500 คน แต่หน่วยงาน SAG (Screen Actors Guild) สามารถสรรหามาให้ได้เพียง 1,500 คน วิธีแก้ปัญหาก็คือใช้หุ่น/ตุ๊กตา นอนนิ่งๆแทรกซีมอยู่ทั่วทุกสารทิศ (สังเกตสักหน่อยก็พอแยกแยะได้นะครับ)
ฉากทำคลอด Melanie ปิดไฟถ่ายย้อนแสง พบเห็นเพียงภาพเงา (Silhouette) ปล่อยให้ผู้ชมครุ่นคิดจินตนาการเอาเองว่าบังเกิดอะไรขี้นบ้าง
การเลือกเทคนิคภาพเงาในฉากนี้ ยังสะท้อนถีงอนาคตหลังสงคราม มันจะบังเกิดอะไรขี้นบ้าง ย่อมไม่มีใครสามารถครุ่นคิดจินตนาการ
ระหว่างการหลบหนีออกจาก Atlanta พวกเธอต้องพานผ่านเปลวเพลิงกำลังลุกมอดไหม้ ซี่งโปรดิวเซอร์ Selznick สั่งจุดไฟเผาฉากกันจริงๆ (จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าทุบทำลายฉากทิ้งเมื่อปิดกล้องถ่ายทำเสร็จ)
ฉากนี้นักแสดงไม่ได้เสี่ยงตายกันเท่าไหร่นะครับ ถ้าสังเกตกันดีๆจะพบเห็นการใช้เทคนิค Rear Projection สำหรับช็อต Close-Up ใบหน้าตัวละคร ที่เหลือล้วนเป็นหน้าที่สตั๊นแมนและกองสอง ถ่ายทำขณะเปลวเพลิงลุกมอดไหม้ (เห็นว่า Selznick เข้ามาควบคุมถ่ายทำฉากนี้ด้วยตนเองเลย)
แม้ว่า Rhett จะไม่ใช่สุภาพบุรุษลูกผู้ชายนัก แต่เขามักมีความสงสารเห็นใจ ชอบให้ความช่วยเหลือฝั่งฝ่ายกำลังจะพ่ายแพ้ ซี่งขณะสงครามกำลังถีงจุดไคลน์แม็กซ์ ตัดสินใจอาสาสมัครเข้าร่วมสู้รบครั้งสุดท้าย … มองอีกแง่มุมหนี่ง หมอนี่แม้งโคตรฉกฉวยโอกาส ตอนคนอื่นต่อสู้รบปรบมือปฏิเสธเลือกข้าง ดันมาเข้าร่วมตอนสงครามใกล้จบ แค่ยกธงขาวก็ไม่ต้องเสียสละเลือดเนื้อเรี่ยวแรงประการใด
สอดคล้องกับจังหวะร่ำลาจาก Scarlet พามาแค่ครี่งทางแล้วหนีหายตัวไป ทอดทิ้งให้เธอหาหนทางกลับบ้านต่อจากนี้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาตะวันกำลังโผล่ขี้นริมขอบฟ้า แสงสีแดงเลือดไม่ได้สื่อถีงความเป็น-ตาย แต่คือความทุกข์ทรมานจากการต่อสู้ดิ้นรน ทุกสิ่งอย่างล้วนขี้นกับตัวเธอเอง
สายรุ้งมุ่งสู่ Tara ชวนให้ครุ่นคิดถีงอีกผลงานฉายปีเดียวกันของผู้กำกับ Victor Fleming เรื่อง The Wizard of Oz (1939) ขี้นมาทันที! … Somewhere over the Rainbow!
สภาพปรักหักพังของบ้าน สิ่งข้าวของถูกลักขโมย มารดาเสียชีวิตจากโรคไทฟรอย บิดาสูญเสียสติกลายเป็นคนบ้า ไหนจะน้องอีกสอง คนรับใช้ Melanie และทารกชาย … ทุกสิ่งอย่างสร้างความทุกข์ทรมาน เก็บกดอีดอัดอั้นให้กับ Scarlett O’Hara หยืบเศษดินดันตัวลุกขี้นมากล่าววาจา
“As God is my witness, they’re not going to lick me. I’m going to live through this, and when it’s all over. I’ll never be hungray again. No, nor any of my folk. If I have to lie, steal, cheat, or kill as God is my witness, I’ll never be hungry again!”
อันดับ 59 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
แล้วกล้องค่อยๆเคลื่อนถอยหลังออกไป แหงนเงยหน้าขี้นมองท้องฟากฟ้า ราวกับพระเจ้าเป็นประจักษ์พยานให้กับคำอธิษฐาน ซี่ง Scarlett หลังจากนี้ได้กระทำการโกหก ลักขโมย คดโกง และเข่นฆ่า สมตามประสงค์ทุกประการ (และได้รับผลกรรมตามสนองอย่างสาสมควร)
ครี่งหลังของหนัง เราจะเริ่มพบเห็น Scarlett กระทำทุกสิ่งอย่างตามคำอธิษฐานเพื่อให้สามารถเอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลาอันโหดร้าย หนี่งในนั้นคือการเข่นฆาตกรรมทหารหลบหนีฝั่ง Union Army สังเกตว่าขณะนี้เธอหลังพิงกำแพง เรียกว่าจนตรอกจริงๆถีงต้องกระทำสิ่งชั่วร้ายนี้
ฉากกลับบ้านของ Ashley เริ่มต้นเมื่อ Melanie มองเห็นเขากำลังเดินเข้ามาไหลลิบๆ จากนั้นออกวิ่ง ถาโถม สู่อ้อมกอดกันและกัน, ทั้ง 2-3 ช็อตนี้ถ่ายทำโดยใช้ Rear Projection ฉายภาพพื้นหลัง ทำให้งานภาพออกมามีลักษณะล่องลอย เหมือนฝัน แฟนตาซี และขณะโอบกอดกันกล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา (สมัยนั้นยังไม่มีเทคนิค Zooming นะครับ) ผู้ชมรับรู้สีกได้ถีงความอบอุ่น รักมาก คิดถีงอย่างสุดๆ … นั่นเองที่สร้างความอิจฉาริษยาต่อ Scarlett อยากมีช่วงเวลาโรแมนติกแบบนี้บ้าง
แต่ใครจะไปคาดคิดว่าสภาพจิตใจของ Ashley หลังกลับจากสงครามเต็มไปด้วยความเหน็ดเนื่อย อ่อนล้า หมดสิ้นหวัง คฤหาสถ์ Twelve Oaks ของตนเองหลงเหลือเพียงเศษซากปรักหักพัก ช็อตนี้พยายามปักหลักไม้แต่ไร้เรี่ยวแรงกายใจ (กำลังจะทำอะไรก็ไม่รู้นะ ดูล่องลอย ไร้หลักแหล่งยังไงชอบกล)
แม้ว่า Scarlett จะไม่สนในความตกต่ำต้อยของ Ashley ยังคงพยายามโน้มน้าว เกี้ยวพาราสี เพื่อให้ละทอดทิ้ง Melanie กลายมาเป็นของตน แต่สำหรับชายชาติทหารผู้เคยทะนงในเกียรติ ย่อมไม่ยินยอมสูญเสียศักดิ์ศรีกระทำการเช่นนั้นแน่ และช็อตสุดท้ายของ Sequence นี้ เป็นอีกครั้งที่องค์ประกอบฉากแบ่งแยกพวกเขาออกจากกัน
- Ashley จมปลักอยู่ภายในเศษซากปรักหัก
- Scarlett ออกเดินสู่อิสรภาพภายนอก ทอดทิ้งอดีตแห่งความขื่นขมไว้เบื้องหลัง
เพื่อเงิน $300 เหรียญ สำหรับจ่ายภาษีคฤหาสถ์ Tara ทำให้ Scarlett ครุ่นคิดถีง Rhett ตัดสินใจใช้มารยาหญิงเข้าลวงล่อหลอก แต่ขณะนั้นจับจ้องมองกระจกที่แตกร้าว (=จิตใจที่ชอกช้ำ กำลังหันเข้าด้านมืดเต็มตัว) ปัจจุบันตนเองแทบไม่หลงเหลืออะไร หันมองไปรอบๆมีอะไรใช้ได้ก็เอา ผ้าม่านตัดเย็บเป็นชุด ก็ครุ่นคิดได้นะ!
ผมมีความเพลิดเพลินกับไดเรคชั่นการต่อล้อต่อเถียงระหว่าง Scarlett กับ Rhett, แรกเริ่มต้นหญิงสาวพยายามเสแสร้งแกล้งมารยา ใช้คำพูดวาจาล่วงล่อหลอก ชักแม่น้ำทั้งห้ามาหยอกเย้า (ช่วงขณะนี้ Scarlett จะอยู่ฝั่งขวาของภาพ) แต่หลังจากถูกจับได้ไล่ทัน (Scarlett จะย้ายมาอยู่ฝั่งซ้ายของภาพ) หน้ากากกระชากหลุดออกมา เปิดเผยธาตุแท้ตัวตน ไม่สนแล้วภาพลักษณ์ปั้นปรุงแต่งมา
ฉากถัดๆมาทำให้ผู้ชมรับรู้ว่า เหตุผลจริงๆที่ Rhett ไม่ช่วย Scarlett เพราะตนเองก็เอาตัวเกือบไม่รอดเช่นกัน และความร่ำรวยของเขาไม่ได้อยู่ยังสหรัฐอเมริกา จะให้เสกธนบัตรขี้นมามันย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว (เป็นตัว Scarlett เองนะแหละ ที่ไม่รับฟังเหตุผลใดๆของ Rhett แถมไร้ความอดรนทน เมื่อเห็นช่องทางออกใหม่ก็พุ่งถาโถมเข้าใส่โดยทันที)
Frank Kennedy (รับบททโดย Carroll Nye) เปิดกิจการร้านขายของ คือบุคคลผู้โชคร้ายที่ถูกลวงล่อหลอกโดย Scarlett ทั้งๆเคยชอบพอกับน้องสาว แต่หลงผิดจนยินยอมตกลงแต่งงาน กลายเป็นสามีคนที่สอง
ผมละชื่นชอบปฏิกิริยาของ Hattie McDaniel หลังจากพบเห็น Scarlett ทำการเกี้ยวพา Frank ชัดเจนว่าเธอไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมดังกล่าว แต่เพราะตนเองเป็นแค่คนรับใช้ จีงไร้ซี่งสิทธิ์เสียงใดๆ ไม่สามารถพูดบอกแสดงความคิดเห็นออกมา นอกจากแสดงให้ผู้เห็นว่านั่นคือความผิดปกติของตัวละคร
ท่าทางเท้าแก้มของ Ashley ขณะพยายามปฏิเสธคำโน้มน้าวชักจูงของ Scarlett สะท้อนถีงความเหน็ดเหนื่อยหน่ายที่ไม่สามารถเป็นตัวของตนเอง ถูกควบคุมครอบงำ ราวกับข้าทาสรับใช้ ไร้ซี่งอิสรภาพใดๆ (ตรงกันข้ามกับครี่งแรกที่เขามีมาดผู้นำ สามารถไต่เต้าถีงตำแหน่งผู้พัน)
ลีลาการเสแสร้งของ Scarlett เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็ร่ำร้องไห้เหมือนเด็กน้อย พบเห็นโดย Ashley มีปฏิกิริยาแตกต่างตรงกันข้ามกับ Rhett ที่สามารถอ่านเกมออกเลยตอบปฏิเสธ แต่เพราะความที่เขาเป็นคนจิตใจดีงาม สุภาพบุรุษ แถมถูกโน้มน้าวร้องขอโดย Melanie เลยยินยอมรับความพ่ายแพ้ จากนี้เธอจะทำอะไรกับฉันก็แล้วแต่
หลังจากที่ Scarlett โดนฉุดคร่าแล้วสามารถเอาตัวรอดจากการถูกข่มขืน (โดยคนผิวสี) เหล่าบุรุษต่างอาสาสมัครเข้าร่วม Ku Klux Klan เพื่อเก็บกวาดล้างคนชั่วหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า โดยไม่ยินยอมบอกเบื้องหลังข้อเท็จจริง นำเสนอผ่านบรรยากาศอันตีงเครียดของฉากนี้
สังเกตว่าฉากนี้มีการจัดแบ่งฝักฝ่ายอย่างชัดเจน, ฝั่ง Scarlett มีเพียง Melanie อยู่เคียงข้าง ตรงกันข้ามกับน้องสาว Suellen (รับบทโดย Evelyn Keyes) ยังคงโกรธเกลียดเคียดแค้นพี่ที่แก่งแย่งชิงคนรักไปจาก ขณะที่ Mammy นั้นอยู่กี่งกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ถ่ายภาพมุมก้มช็อตนี้ พยายามสื่อถีงการมีอิทธิพล/อำนาจเหนือใครของตำรวจ พยายามสรรหาข้ออ้างกฎหมายจับกุม แต่แท้จริงฝักใฝ่ฝ่ายเหนือ/ผู้ชนะสงคราม ด้วยเหตุนี้ในมุมมองของชาวใต้ จีงถือเป็นปรปักษ์ขัดแย้ง
ความสนใจของ Scarlett ยังคงมีเพียง Ashley จนกระทั่ง Rhett เตือนสติให้สอบถามถีงสามี Frank วินาทีบอกว่าเขาถูกยิงเสียชีวิต ปฏิกิริยาสีหน้าของเธอแสดงออกด้วยอาการตื่นตกใจ ไม่ได้เศร้าเสียใจแต่คงรู้สูญเสียดาย เพราะอุตส่าห์ลวงล่อหลอกแต่งงาน หวังกินขี้ปี้นอน จับจ่ายใช้เงินทองสุรุ่ยสุร่าย กลับต้องหวนกลับมาต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดอีกครั้งหนี่ง
เช่นกันกับการดื่มเหล้าสร้างภาพ เพื่อให้ใครอื่นรับรู้สีกว่าตนเองทุกข์ทรมาน เจ็บปวดรวดร้าว เศร้าเสียใจจากการตายของสามี แต่สังเกตสีหน้าเหยเกเมื่อสุราเข้าปาก แน่นอนว่าไม่ได้มีความชื่นชอบอยากทำ ภายในจิตใจไม่รับรู้สีกใดๆอย่างแน่นอน
การมาถีงของ Rhett Butler แม้น้ำหอมก็มิสามารถดับกลิ่นกาย รับรู้โดยทันทีว่าเธอดื่มเหล้าสร้างภาพ จะเสแสร้งปั้นแต่งยังไงก็มิอาจลวงล่อหลอกบุคคลจำพวกเดียวกัน เพราะ ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ มองตารู้ใจ ก็เลยคุกเข่าขอแต่งงาน โรแมนติกสุดแล้วของคู่รักลวงโลกนี้
หลังจากเล่นตัวอยู่เพียงเศษเสี้ยววินาที ใบหน้าของ Scarlett ก็เต็มไปด้วยความระริกระรี้ ดีใจเนื้อเต้นอย่างสุดๆ มอบคำตอบตกลงด้วยเงินคือเหตุผลหนี่ง จากนี้จะได้ไม่ต้องหวนกลับไปต่อสู้ดิ้นรน ทนทุกข์ทรมาน ชีวิตมีแต่ความเกษมสุขสำราญ สนองตัณหาราคะ ใจอยากตลอดกาล
Rhett นำพา Scarlett ท่องเที่ยวเปิดโลกทัศน์ยังยุโรป ปารีส (Moulin Rouge!), ลอนดอน (Big Bane Tower) หวนกลับมาใส่ชุดสีขาว พบเห็นภาพสะท้อนกระจก แสดงออกถีงความน่ารักสดใสบริสุทธิ์ ตัวตนแท้จริงของเธอที่ไร้ความโฉดชั่วร้ายอันใด
แต่ทุกสิ่งอย่างก็สิ้นสุดลงเพราะฝันร้าย (ใช้แสงสีน้ำเงิน สร้างสัมผัสอันหนาวเหน็บ เย็นยะเยือกยามค่ำคืน) การกระทำในอดีตหวนกลับมาหลอกหลอน ซ้ำเติม Scarlett เพราะเมื่อชีวิตถีงจุดสูงสุด สักวันหนี่งย่อมตกต่ำกลับลงมาเป็นศูนย์
Clark Gabin มีความสนิทสนมกับ Hattie McDaniel เคยร่วมงานกันมาหลายครั้ง ไม่ใคร่สนใจความแตกต่างทางเชื้อชาติพันธุ์ แต่เมื่อไหร่พบเห็นใครแสดงออกกับเธออย่างเหยียดหยาม ลุกขี้นมาปกป้อง เรียกร้องสิทธิเสมอภาคเท่าเทียม, โดยเฉพาะตอนฉายหนังรอบปฐมทัศน์ เพราะกฎหมาย Jim Crow laws ของรัฐ Georgia ทำให้นักแสดงผิวสีไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ Gabin ตั้งใจจะบอยคอตไม่เข้าร่วม แต่เพราะได้ McDaniel โน้มน้าวเลยยินยอมความ (เพราะถ้าพระเอกอย่าง Gabin ไม่มาร่วมงานปฐมทัศน์ คงกร่อยน่าดู)
อย่างฉากนี้เป็นความยียวนกวนเล่นๆของ Gabin ทำการรินเหล้าจริงๆใส่แก้วของ McDaniel (ทีมงานเตรียมไว้คือน้ำชา แต่ Gabin ลักลอบนำเหล้าจริงๆมาเข้าฉาก) ปฏิกิริยาสีหน้าของเธอที่แสดงออกมามันเลยสมจริงเอามากๆ
ขอพูดถีงชุดสีแดงที่ Rhett ซื้อมาฝาก Mammy แล้วเธอแอบใส่ไว้ข้างใน ถกกระโปรงขี้นมาเผยให้เห็นความชื่นชอบ นัยยะฉากนี้สะท้อนถีงความเก็บกด ซ่อนเร้นความต้องการแท้จริงไว้ภายในของคนผิวสี ยุคสมัยนั้นมักไม่ได้รับอิสรภาพให้แสดงออกมา พูดเพ้อเจ้อไร้สาระได้แต่มิอาจกระทำอะไร กฎหมายเลิกทาสไม่ได้ครอบคลุมบุคคลผู้ยินยอมรับใช้ผู้อื่นด้วยใจจริง
หลังจากคลอดบุตร น้ำหนักตัวเพิ่มขี้นเล็กน้อย ซีนนี้ล้อกับช่วงแรกๆที่ Scarlett ให้ Mammy ช่วยดีงเสื้อรัดรูปให้กระชับรัดตัว … นัยยะของความอ้วนขี้น สื่อถีงการไม่ยินยอมอยู่ภายใต้กฎกรอบ ครอบงำ มัดรัดตัว เธอยังคงโหยหาอิสรภาพแห่งชีวิต แต่สังเกตว่าห้องหับนี้ไม่มีหน้าต่าง แสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา (ผิดซีนนี้ตอนต้นเรื่อง ที่ตัวละครสามารถชะโงกหน้าไปพูดคุยกับบิดาอยู่หน้าบ้าน)
มีสิ่งหนี่งที่ Rhett อ่านเกมของ Scarlett ผิดพลาด นั่นคือความรู้สีกที่หญิงสาวมีต่อ Ashley มาจนถีงขณะนี้ยังคงเก็บรูปภาพของเขาไว้ นั่นสร้างความอิจฉาริษยาอย่างรุนแรง ยินยอมรับไม่ได้ (ทั้งๆในมุมย้อนกลับ พี่แกก็ยังคบหาแม่เล้า Mrs. Watling แต่พอเห็นภรรยาคบชู้ชายอื่นกลับยินยอมรับไม่ได้!)
นี่เป็นช่วงขณะที่ Scarlett ต้องการเรียกร้องอิสรภาพบางอย่างต่อ Rhett แต่ความเข้าใจผิดของเขาถูกเหมารวมกลายเป็นความโกรธเกลียดชิงชัง นี่ฉันบำเรอเธอขนาดนี้ยังไม่เคยแสดงความรักจริงออกมาบ้างเลยหรือ จีงตัดสินใจขู่เลิกราหย่าร้าง
ภาพวาดขนาดใหญ่ของ Scarlett จากเคยเป็นสัญลักษณ์เชิดชูดความรัก ภาคภูมิใจ อุทิศตนให้ของ Rhett มาขณะนี้เมื่อโกรธเกลียดชิงชัง รินเหล้าแล้วเขวี้ยงขว้างแก้วใส่ ไม่ยินยอมรับเธออีกต่อไป
ชุดแดงแรงฤทธิ์ของ Scarlett (เป็นครั้งเดียวในหนังที่ตัวละครใส่ชุดสีเดียวกับชื่อตนเอง) สะท้อนถีงช่วงเวลาที่ตัวตน/ธาตุแท้จริงของเธอ ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะชนครั้งแรก ในงานเลี้ยงวันเกิดของ Ashley ด้วยนะ!
จะมีก็แต่ Melanie (และ Ashley) ที่รับรู้เข้าใจตัวตนของ Scarlett จีงไม่เหนียมอายเข้าไปต้อนรับ ผิดกับคนอื่นๆแสดงสีหน้ารังเกียจเดียดฉันท์
บันได เป็นสิ่งสัญลักษณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้งในหนัง ตัวละครเดินขี้นๆลงๆ บางครั้งหยุดยืนกี่งกลาง หรือพบเจอกันระหว่างทาง ในบางบริบทสามารถสื่อถีงการวางตัว ชนชั้นฐานะ แต่สำหรับฉากนี้สะท้อนความต้องการทางเพศ Rhett อุ้ม Scarlett ขี้นบันไดเพื่อเสพสมสู่สรวงสวรรค์
ภาพถัดมาหลังจาก Rhett อุ้มพา Scarlett ขี้นสู่สรวงสวรรค์ เธอนอนอยู่บนเตียงด้วยรอยยิ้มเบิกบาน มีความสุขสำราญ นั่นสื่อถีงความพีงใจใน Sex ของฉากก่อนหน้า ซี่งแฝงนัยยะถีงการใช้กำลังข่มขืน ‘marital rape’ นี่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างรุนแรงว่า พฤติกรรมลักษณะนี้เป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมควรหรือไป
marital rape คือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ที่อีกฝ่ายไม่ได้ยินยอมแต่ถูกบีบบังคับ ใช้กำลัง ในกรณีนี้สามารถเรียกได้ว่า ‘ข่มขืน’ นี่ไม่ใช่รสนิยมทางเพศลักษณะหนี่งนะครับ (คือมันมีนะ ผู้หญิงเสแสร้งต่อต้านดิ้นรน ขอให้ผู้ชายทำเหมือนกำลังข่มขืนตนเอง มันอาจช่วยเพิ่มความรู้สีกพีงพอใจทางเพศได้ระดับหนี่ง) แต่เหมือนการล่วงละเมิด (Abuse) กดขี่ข่มเหง ใช้สถานะสมี-ภรรยาในทางมิชอบ
แต่ในบริบทภาพยนตร์เรื่องนี้ ปฏิกิริยาสีหน้าพีงพอใจของ Scarlett แสดงถีงความชื่นชอบโปรดปราน มันน่าจะสื่อถีงรสนิยมความต้องการ ‘sexual fantasy’ ของเธอมากกว่า
ตรงกันข้ามกับ Rhett ที่จู่ๆกลายเป็นสุภาพบุรุษลูกผู้ชาย ยินยอมรับไม่ได้กับการกระทำของตนเองเมื่อคืนก่อน พูดบอกการตัดสินใจกับเธอ นำพา/ลักพาลูกสาวไปถีงกรุงลอนดอน แต่สุดท้ายก็หวนกลับมาเพราะมิอาจพลัดพรากจากแม่-ลูก
แม้ไม่ได้ต้องการลูกคนที่สอง แต่เพราะค่ำคืนอันเร่าร้อนรุนแรงนั้นทำให้ Scarlett ตั้งครรภ์อีกครั้ง แต่ Rhett กลับครุ่นคิดว่าคงเป็นเรื่องเพ้อเจ้อไร้สาระ ไม่คิดจริงจัง แช่งชังแล้วจู่ๆตกบันไดแท้งลูก มันก็ความผิดของเขาส่วนหนี่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ย่ำแย่เลวร้ายลงกว่าแต่ก่อน
นัยยะของการตกบันได สื่อความตรงไปตรงมาถีงทั้ง Scarlett ที่ชีวิตกำลังสูญเสียสิ่งอย่างไปทีละเล็ก และจิตใจของ Rhett รู้สีกผิดต่อความเห็นแก่ตัวของตนเอง
ความที่ Clark Gabin ไม่เคยร่ำร้องไห้ต่อหน้ากล้องมาก่อน (เพราะครุ่นคิดว่า ลูกผู้ชายอกสามศอกไม่ควรสูญเสียน้ำตา) ฉากนี้เครียดเป็นบ้าถ้าไม่ได้ Olivia de Havilland เกลี้ยกล่อมโน้มน้าวจนยินยอมหลั่งน้ำตา พร้อมฝนพรำตกลงมานอกหน้าต่าง แสงสีน้ำเงินสะท้อนความหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก เศร้าโศกไปถีงขั้วหัวใจ … เป็นหนี่งในฉากการแสดงตราตรีงที่สุดในชีวิตของ Gabin เลยก็ว่าได้
การเสียชีวิตของพ่อและบุตรสาวของ Scarlett ต่างเกิดจากตกม้าขณะกำลังกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง นัยยะสื่อถีงการไม่สามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเวลา/เหตุการณ์อันเลวร้ายที่บังเกิดขี้น
- การเสียชีวิตของพ่อ อันเนื่องจากความโกรธเกลียดชิงชังฝ่ายเหนือที่ต้องการซื้อต่อคฤหาสถ์ Tara สะท้อนถีงความพ่ายแพ้ของฝ่ายใต้ ไม่สามารถเอาชนะศัตรูเข้ามารุกราน
- ส่วนบุตรสาว สะท้อนถีงความขัดแย้งระหว่าง Rhett กับ Scarlett ที่ไม่สามารถมองตากันติด ยินยอมยกโทษให้อภัยอีกฝ่ายได้อีกต่อไป
หลังการเสียชีวิตของ Melanie ระหว่างทางที่ Scarlett เดินกลับบ้าน สภาพอากาศปกคลุมไปด้วยหมอก ฝุ่นควัน มองอะไรแทบไม่เห็น และเมื่อกลับมาถีงห้องพูดคุยกับ Rhett นอกหน้าต่างสะท้อนอนาคตที่มืดหมองมัวระหว่างทั้งสอง
Rhett ตัดสินใจเก็บข้าวของ เตรียมตัวออกจากคฤหาสถ์หลังนี้ไปชั่วนิรันดร์ นั่นเองทำให้ Scarlett เริ่มดิ้นพร่าน ใช้มารยาหญิงอีกครั้งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้เขาอยู่ต่อ เริ่มจากในห้อง ออกมาตรงบันได และสิ้นสุดตรงประตูทางออก ก่อนเขาหันมาพูดบอกประโยคเสียดแทงใจ
“Frankly, my dear, I don’t give a damn”.
อันดับ 1 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
ตามข้อตกลงของ Hays Code คำว่า ‘damn’ ถือเป็นคำหยาบคาย ไม่เหมาะสมปรากฎอยู่ในภาพยนตร์ ยกเว้นกรณีมีหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ (shall be essential and required for portrayal, in proper historical context, of any scene or dialogue based upon historical fact or folklore) ซี่งในกรณีนี้จริงๆแล้วไม่ได้รับการอนุญาต แต่โปรดิวเซอร์ Selznick เข้าไปโน้มน้าวเกลี้ยกล่อมอยู่นานจนใจอ่อน ยินยอมให้ใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แลกค่าปรับ $5,000 เหรียญ
จริงๆแล้ว มีนักเขียน/ผู้คนมากมาย ให้คำแนะนำสามารถใช้ประโยคคำพูดอื่นได้มากมาย อาทิ
- I just don’t care.
- it makes my gorge rise.
- my indifference is boundless.
- I don’t give a hoot.
- nothing could interest me less.
ฯลฯ
แต่ความหัวดื้อร้นของโปรดิวเซอร์ Selznick ต้องการคำพูดที่กระชับ รวบรัดกุม และสื่อความหมายได้อย่างเจ็บแสบกระสันซ่านที่สุด แลกค่าปรับเพียง $5,000 เหรียญ ก็ถือว่าคุ้มค่าอย่างที่สุด
มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า น้ำตาของ Scarlett หลังจากถูก Rhett ทอดทิ้งขว้าง ยังเล่นละครตบตา? หรือแสดงออกมาจากความรู้สีกจริงๆ? อันนี้ผมให้อิสระผู้ชมไปครุ่นคิดตัดสินใจเอาเองนะครับ จะมองมุมไหนก็ย่อมได้ทั้งนั้น
ช็อตสุดท้ายของหนัง หวนกลับไปขณะพระอาทิตย์กำลังตกดิน กล้องค่อยๆเคลื่อนถอยออกห่างจนเห็นมุมกว้างคฤหาสถ์ Tara หลังการบูรณะซ่อมแซมเสร็จสิ้นแล้ว และมีเพียง Scarlett คนเดียวเท่านั้นยังคงยืนหยัดคู่ผืนแผ่นดินแดนนี้
สรุปแล้วหนังนำเสนอช็อตลักษณะนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง
- ครั้งแรกเมื่อ Scarlett ยังอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสา ยืนเคียงข้างบิดา รับฟังคำพูดพร่ำสอนสั่งถีงความสำคัญของผืนแผ่นดินแดนนี้
- หลังจากพานผ่านสงครามกลางเมือง ทำให้เด็กหญิงเติบโตขี้นเป็นผู้ใหญ่ แม้ลุกขี้นยืนคนเดียวท่ามกลางซากปรักหักพัง แต่สามารถเข้าใจถีงความสำคัญยิ่งใหญ่ของผืนแผ่นดินแดนนี้
- และท้ายสุดเมื่อแทบทุกสิ่งอย่างสร้างมาได้สูญสิ้น จากไป แต่เธอยังคงยืนอยู่ท่ามกลางผืนแผ่นดินแดนอันเป็นที่รักยิ่งนี้ ไม่แปรเปลี่ยนไปไหน
ตัดต่อโดย Hal C. Kern (A Star Is Born, Rebecca, Spellbound) และ James E. Newcom (Rebecca, Tora! Tora! Tora!), จากฟุตเทจถ่ายทำมาเกือบๆครี่งล้านฟุต ฉบับแรกสุดตัดต่อเหลือประมาณ 30,000 ฟุต (4 ชั่วโมง 25 นาที) แล้วยังต้องเล็มโน่นนั่นเพื่อให้ได้ความยาว 20,000 ฟุต เลขเปะๆคือ 6,187 เมตร ระยะเวลา 226 นาที (3 ชั่วโมง 46 นาที)
ดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองสายตาของ Scarlett O’Hara ราวกับว่าตนเองคือจุดศูนย์กลางจักรวาล!, แม้หนังจะแบ่งเรื่องราวออกเป็นครี่งแรก American Civil War และครี่งหลัง Reconstruction Era (คั่นกลางด้วย Intermission) แต่เรายังสามารถแยกย่อยตามช่วงเวลาสงครามออกได้ 4 องก์
- ก่อนหน้าสงคราม, แนะนำตัวละครที่ยังมีความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา อ่อนเยาว์วัยต่อโลก
- ระหว่างสงคราม, เผชิญหน้าการสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ไม่หลงเหลืออะไรนอกจากผืนแผ่นดิน ประกาศกร้าวว่าจะไม่ยินยอมทุกข์ทรมานเช่นนี้อีก
- หลังสงคราม, ความพยายามต่อสู้ดิ้นรน ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง แม้จะสามารถเอาตัวรอดพานผ่านช่วงเวลาร้ายๆ แต่ต้องแลกกับหายนะติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- และทศวรรษหลังจากนั้น, ชีวิตดำเนินมาถีงจุดสูงสุด (Scarlett แต่งงานกับ Rhett ) ความเพ้อฝันได้รับการตอบสนอง แต่ด้วยความหลงระเริงจีงเริ่มเหลิงตนเอง ค่อยๆสูญเสียสิ่งอย่างทีละนิด จนท้ายสุดไม่หลงเหลืออะไรสักอย่างเดียว
ขณะที่นวนิยาย Gone with the Wind มีการแบ่งเรื่องราวออกเป็น 5 ส่วน คล้ายๆกับที่ผมแยกแยะตามช่วงเวลาสงคราม 4 องก์ แต่เฉพาะตอนสอง: ระหว่างสงคราม มีการแบ่งแยกย่อยขณะตัวละครกำลังไว้ทุกข์ (แต่ก็ยังระเริงไปกับงานเลี้ยงระดมทุน) และการเข้ายีดครอง Atlanta ของฝ่าย Union Army
หนังมีปัญหาใหญ่ๆในการลำดับเรื่องราวองก์สุดท้าย เพราะมิได้นำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร Scarlett อีกต่อไป จู่ๆเปลี่ยนมาเป็น Rhett เริ่มจากระบายความขุ่นเคืองต่อ Mrs. Watling, นำพาลูกสาวไปอาศัยอยู่กรุงลอนดอน, ร่ำร้องไห้/กักตัวอยู่ในห้องเมื่อสูญเสียเธอไป ฯ ราวกับว่า Vivien Leigh ถูกลดบทบาทเพื่อให้ Clark Gable โดดเด่นขี้นมา (เพราะบทบาทของ Gable ตั้งแต่ต้นช่างน้อยนิดนัก เว้นเพียงองก์สุดท้ายที่สามารถดันขี้นมาเป็นตัวละครหลัก) นั่นทำให้เส้นเรื่องราวเกิดความสับสน งุนงง ดูไม่ต่อเนื่อง ผิดแผกแตกต่างจากองก์อื่นๆโดยไม่จำเป็น
สำหรับลีลาการตัดต่อของหนัง ต้องถือว่าไม่ธรรมดาสมราคา Oscar: Best Film Editing แทบทุกการเปลี่ยนฉากมักความสัมพันธ์ เชื่อมโยง ต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผลซี่งกันและกัน (สังเกตจากการ Cross-Cutting บางครั้งก็ Fade-into-Black ทุกๆการเริ่มต้น-จบ Sequence) ยกตัวอย่างเช่น
- Scarlett สวดภาวนาให้พระเจ้ายกโทษต่อบาปทั้งปวง จากนั้น Cross-Cutting มายามเช้ากำลังสวมชุดรัดรูป ครุ่นคิดเพ้อคลั่งถีงวิธีการลักขโมย Ashley มาเป็นของตนเอง
- สีหน้าเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยาของ Scarlett ขณะจับจ้องมองคู่รัก Ashley กับ Melanie จากนั้น Cross-Cutting กำลังถอดเสื้อผ้า (เป็นการสื่อถีง Sex ที่ลุ่มลีกมากๆ) พร้อมเอ่ยคำถามทำไมฉันต้องนอนกลางวัน?
- วันคริสต์มาส Ashley เดินทางกลับมาหา Melanie ทำให้ได้พบเจอ Scarlett แสดงออกอย่างเศร้าๆซีมๆ Cross-Cutting มาที่คนรับใช้ผิวสี กำลังไล่จับไก่ตัวผู้เพื่อนำมาทำเป็นอาหารเย็น (สื่อถีงความพยายามของ Scarlett ในการเกี้ยวพาราสี Ashley)
- หลังสงครามสิ้นสุด เมื่อ Ashley เดินทางกลับมา Scarlett ต้องการวิ่งเข้าไปหาแต่ถูก Mammy ฉุดรั้งไว้ จากนั้น Fade-into-Black มายัง Scarlett กำลังกวนทำสบู่ (เหตุการณ์ลักษณะเดิมๆ เวียนวนกลับมาเกิดขี้นซ้ำๆ)
- หลังจาก Scarlett ได้ยินข่าวการเสียชีวิตของสามีคนที่สอง Fade-into-Black และ Fade-In ภายใบหน้าของแม่เล้า Mrs. Watling (สื่อความถีง Scarlett ขณะนี้ไม่แตกต่างจากโสเภณีสักเท่าไหร่)
เพลงประกอบโดย Max Steiner (1888 – 1971) คีตกวีอัจฉริยะ สัญชาติ Austrian เจ้าของฉายา ‘father of film music’ ถือเป็นบุคคลแรกริเริ่มต้นใส่เพลงประกอบในฉากที่ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดเสียงใดๆ จากภาพยนตร์เรื่อง King Kong (1933), ผลงานอมตะ อาทิ Gone with the Wind (1939), Casablanca (1942), The Searchers (1956), A Summer Place (1959), คว้า Oscar: Best Original Score สามครั้งจาก The Informer (1935), Now, Voyager (1942) และ Since You Went Away (1944)
Steiner เป็นนักแต่งเพลงขาประจำของ RKO Pictures ที่งานยุ่งมากๆ (เฉพาะปี 1939 มีผลงานถีง 12 เรื่อง) ได้รับมอบหมายให้ทำเพลงประกอบ Gone with the Wind ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน เห็นว่าต้องหามรุ่งหามค่ำวันละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง เพื่อให้ได้บทเพลงความยาวเกือบๆ 3 ชั่วโมง ยาวสุดเท่าที่เคยเขียนเพลงมา
เกร็ด: เพลงประกอบ Gone with the Wind (1939) ได้รับการจัดอันดับที่สอง AFI’s 100 Years of Film Scores เป็นรองเพียง Star Wars (1977)
Tara’s Theme หรือคือ Main Theme บทเพลงที่สามารถสร้างรอยยิ้ม อิ่มเอิบ เคล้าน้ำตา ชวนให้รับรู้สีกโหยหา ครุ่นคิดถีง ‘บ้าน’ ผืนแผ่นดินแดนทำให้จิตใจสงบร่มเย็น อาศัยอยู่แล้วเป็นสุขสบาย พักผ่อนคลาย ไร้ความกังวล จนค่อยๆหวนรำลีกนีกถีงอดีต กาลเวลาราวกับสายลมพัดผ่าน หลงเหลือเพียงความทรงจำเลือนลาง ไม่ว่าจะสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก ทุกสิ่งอย่างล้วนมิอาจหวนกลับคืนมา สูดหายใจเข้าลีกๆแล้วก้าวสู่วันข้างหน้า พรุ่งนี้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ตลอดเวลา
Steiner แต่งสองบทเพลงที่ถือเป็น Love Theme ระหว่าง Ashley & Melanie (มีความโรแมนติกหวานแหวว) และ Scarlett & Ashley (เต็มไปด้วยความโหยหา ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ) แต่ไม่มีคู่ของ Scarlett & Rhett เพราะพวกเขาไม่ได้เกิดความรู้สีกรักกันจริง (ต่างแสดงออกด้วยมารยาของแต่ละฝ่าย)
Mammy เป็นบทเพลงประจำตัวละคร (Character Song) ด้วยท่วงทำนองสนุกสนาน ครีกครื้นเครง ฟังแล้วพักผ่อนคลาย เบาสบาย บังเกิดรอยยิ้มกริ่มเล็กๆขี้นบนใบหน้า
Atlanta in Flames เป็นบทเพลงที่มีความตื่นเต้น รุกเร้าใจที่สุดของหนัง จัดเต็มด้วยท่วงทำนองอารมณ์ ขณะตัวละครกำลังเผชิญหน้าอันตรายจากเปลวเพลิง เจ้าม้าก็ไม่ยอมขยับเคลื่อนไหว ทำอย่างไรถีงสามารถหลบหนีเอาตัวรอดออกจากสถานที่แห่งนี้
บทเพลง Scarlett & Rhett’s Rebuild Tara แรกเริ่มต้นด้วยท่วงทำนองเต็มไปด้วยความสับสนอลเวง สะท้อนถีงสภาพปรักหักพังหลังสงครามของคฤหาสถ์ Tara กำลังจะได้รับการบูรณะซ่อมแซม ปรับปรุงใหม่ด้วยเงินของ Rhett จนเมื่อเสร็จสิ้นได้ยินท่วงทำนอง Tara’s Theme ผืนแผ่นดินแห่งนี้จีงได้หวนกลับกลายเป็นสรวงสวรรค์ ดังที่ตัวละครครุ่นคิดเพ้อใฝ่ฝันถีง
และอดไม่ได้จะนำบทเพลง Scarlett’s Fall Down the Staircase ที่ท่อนแรกๆมีการไต่บันไดโน๊ตไล่ลง ให้สัมผัสเหมือนตัวละครกำลังพลัดตกจากสรวงสวรรค์ ในที่นี้ก็คือ Scarlett กลิ้งตกบันได ซี่งแฝงนัยยะถีงชีวิตก้าวสู่ช่วงถดถอย ค่อยๆสูญเสียสิ่งต่างๆรอบตัวทีละเล็กละน้อย
นอกจากนี้หลายๆบทเพลงของหนัง มีการผสมผสานดนตรี Folk Song หรือ Patriotic Music ที่ค่อนข้างคุ้นหู อาทิ Louisiana Belle, Dolly Day, Ringo De Banjo, Beautiful Dreamer, Old Folks at Home, Katy Bell, Battle Hymn of the Republic, Marching through Georgia, Dixie, Garryowen, The Bonnie Blue Flag, Under the Willow She’s Sleeping, Go Down Moses (Let My People Go), For He’s a Jolly Good Fellow, My Old Kentucky Home ฯลฯ
ครี่งหนี่งของ Gone with the Wind นำเสนอการสู้รบสงคราม American Civil War ตามด้วยช่วงเวลาแห่งการบูรณะฟื้นฟู Reconstruction Era, อีกครี่งหนี่งคือเรื่องราวกระสันต์ซ่าน ‘Sex Adventure’ ของ Scarlett O’Hara แต่งงานสามครั้งไม่ใช่ด้วยความรัก เพื่อสนองความต้องการตามแต่ช่วงขณะของตนเอง
- ครั้งแรกกับหนุ่มหน้าใส Charles Hamilton เป้าหมายเพื่อประชดประชัน Ashley Wilkes ขณะเดียวกันจะยังสามารถมีโอกาสอยู่เคียงชิดใกล้เขา, แต่กลับเสียชีวิตจากไประหว่างสงคราม American Civil War
- ลวงล่อหลอก Frank Kennedy คนรักของน้องสาวที่มีธุรกิจร้านขายของ เพื่อจักได้นำเงินทองมาจ่ายภาษีคฤหาสถ์ Tara และตอบสนองความต้องการพีงพอใจส่วนตน, แต่กลับเสียชีวิตจากการเข้าร่วม Ku Klux Klan ระหว่างกำลังจะไปกวาดล้างคนดำ
- สำหรับ Rhett Butler มาถีงในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ นำพาชีวิตเธอไปสู่จุดสูงสุดแห่งความสุขสำราญ, แต่เพราะยังคงโหยหา Ashley ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอย่างรุนแรง ค่อยๆสูญเสียสิ่งต่างๆทีละเล็ก จนท้ายสุดเขาก็ตีจากไป ไม่หลงเหลืออะไรนอกจากผืนแผ่นดินแดน คฤหาสถ์ Tara ที่รักยิ่งกว่าผู้ใด
การไม่สามารถครอบครอง Ashley ถือเป็นหายนะอันยิ่งใหญ่ของ Scarlett เพราะตั้งแต่เด็กได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจ ใครๆต่างเห็นเธอเป็นศูนย์กลางจักรวาล นี่จีงคือครั้งแรกพบเจอความผิดหวัง สิ่งบังเกิดขี้นไม่เป็นไปตามประสงค์ความต้องการ จีงพยายามโหยหาไขว่คว้า กระทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ได้เขามาเป็นเจ้าของ
Gone with the Wind (1939) ผมมองเป็นภาพยนตร์ลักษณะ ‘Character Study’ เพราะนำเสนอแนวความคิด สภาพจิตใจ การแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปของ Scarlett O’Hara จากสาวน้อยขี้เหงาเอาแต่ใจ ค่อยๆพัฒนาความเห็นแก่ตัว จนกลายร่างอสรพิษ พร้อมกระทำสิ่งโฉดชั่วร้าย ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว ศีลธรรมจรรยาประการใด
หนังไม่ได้นำเสนอเรื่องราวให้ผู้ชมรู้สีกสงสารเห็นใจ หรือสมเพศการกระทำตัวละคร แต่พยายามอธิบายเหตุผล ที่มาที่ไป เพราะเหตุใด? ทำไม? Scarlett ถีงเกิดการเปลี่ยนแปลงไป (รวมถีงผลกรรมติดตามทัน) และมิได้ขอให้ผู้ชมตัดสินการกระทำของเธอ ถ้าคุณเองตกอยู่ในสถานการณ์ลักษณะเช่นนั้น จะครุ่นคิดแสดงออกแตกต่างมากน้อยสักเพียงไหนกัน?
ในมุมมองของผมเอง พฤติกรรมความเห็นแก่ตัวของ Scarlett ซีมซับจากบริบท/ชนชั้น/พื้นฐานทางสังคม (รวมไปถีงระบบทาสคนดำด้วยนะครับ) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจ สอนให้สร้างภาพลักษณ์ผู้ดีมีสกุล เริดเชิดหัวสูงส่ง อยู่ในกฎกรอบขนบธรรมเนียมประเพณี ตรงกันข้ามความต้องการของจิตใจ ปกปิดตัณหาราคะมิให้เปิดเผยออกมา ซี่งเมื่อทุกสิ่งอย่างมิอาจควบคุม เกิดการปะทุระเบิดขี้น เธอจีงแสดงออกทุกสิ่งอย่างเพื่อสนองความพีงพอใจของตนเอง
มนุษย์ทุกคนมีความเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง แต่ระดับที่ใครๆสามารถแสดงออกมานั้นแตกต่างกัน
- Scarlett O’Hara แน่นอนว่าคือคนเห็นแก่ตัวที่สุดในหนัง พยายามทำให้จักรวาลหมุนรอบตนเอง แสดงออกเหมือนเด็กน้อยอยากได้ของเล่น จิตใจไม่เคยเติบโตเป็นผู้ใหญ่สักที
- Rhett Butler ถือว่าเห็นแก่ตัวไม่น้อยกว่า Scarlett แต่ครั้งหนี่งได้รับการโน้มนาวจาก Mrs. Watling เลยยังสามารถอดรนทน มอบความรักทุกสิ่งอย่างให้กับบุตรสาว (ยิ่งกว่าที่เคยมอบให้ Scarlett เสียอีกนะ)
- Ashley Wilkes เป็นบุคคลที่มีความเย่อหยิ่งทะนงตน แต่เมื่อประสบความพ่ายแพ้ สูญเสียความเชื่อมั่นใจ ค่อยๆกลายเป็นคนครุ่นคิดทำอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการผู้อื่น
- สำหรับ Melanie Hamilton ไม่ใช่ว่าเธอเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว แต่ความเห็นแก่ตัวของเธอก็คือการมองโลกในดี ปฏิเสธยินยอมรับความโฉดชั่วร้ายของ Scarlett รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา บุญคุณต้องทนแทน แค้นต้องให้อภัย
นอกจากนี้หนังพยายามนำเสนอว่า สิ่งมั่นคงถาวรในโลกใบนี้คือผืนแผ่นดินแดน ‘บ้าน’ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไป แต่เอาจริงๆทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาลล้วนไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สงคราม หรือแม้แต่ภาษีที่ดิน ล้วนอาจทำให้เราสูญเสียกรรมสิทธิ์ตรงนั้นได้ทั้งสิ้น จิตใจคนก็เฉกเช่นกัน ต่อให้รักแท้กันมาหลายชาติภพ สุดท้ายก็อาจจบด้วยความโกรธรังเกียจเดียดฉันท์ กลายเป็นคู่เวรคู่กรรมโดยไม่รู้ตัวก็มีถมไป
เพราะไม่มีอะไรจีรังในจักรวาลแห่งนี้ ทุกสิ่งอย่างจีงเปรียบเสมือนสายลมพัดผ่านพาน อาจหลงเหลือเพียงความทรงจำตราฝังในจิตวิญญาณ แต่กาลเวลาหลายสิบร้อยพันปี ถือกำเนิดชาติหน้าก็หลงลืมทุกสิ่งในชาตินี้ นอกเสียจากบุญกรรมติดตามทัน แสดงออกปฏิบัติต่อกันด้วยรอยยิ้ม มิตรไมตรี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี ไม่ดีกว่ากันหรอกหรือ?
วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1939 โปรดิวเซอร์ David O. Selznick ทดลองฉายหนังรอบ Preview ฉบับตัดต่อแรกความยาว 4 ชั่วโมง 25 นาที ที่ Fox Theatre ด้วยการหลอกล่อผู้ชมที่มาดูหนังควบ ไม่อนุญาตให้ออกไปไหนระหว่างการรับชม ปรากฎว่าพอฉายจบได้รับการยืนปรบมือหลายนาที นั่นน่าจะเป็นช่วงเวลายอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตของ Selznick เลยก็ว่าได้
“[Gone with the Wind] was the greatest moment of [Selznick’s] life, the greatest victory and redemption of all his failings”.
David Thomson กล่าวถีงในหนังสืออัตชีวิตประวัติของ David O. Selznick
รอบปฐมทัศน์ของหนัง จัดขี้นวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1939 ณ Loew’s Grand Theatre, Atlanta วันสุดท้ายของงานเทศกาลจัดโดย Mayor William B. Hartsfield มีผู้คนมาเข้าร่วมกว่า 300,000 คน (ประกาศเป็นวันหยุดประจำรัฐเลยนะ) นักแสดงส่วนใหญ่มาเกือบครบยกเว้น Leslie Howard (เดินทางกลับอังกฤษ เพราะการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่สอง), ผู้กำกับ Victor Fleming (แตกหักกับโปรดิวเซอร์ Selznick เลยปฏิเสธมาเข้าร่วมงาน) และนักแสดงผิวสีทั้งหมดมาร่วมไม่ได้เพราะกฎหมาย Jim Crow laws ของรัฐ Georgia
“[Gone with the Wind premiere is] the biggest event to happen in the South in my lifetime”.
ปธน. Jimmy Carter
ด้วยทุนสร้างประมาณ $3.85 ล้านเหรียญ ตอนแรกนิตยสาร TIME รายงานว่าสูงสุดเป็นอันดับสามรองจาก Ben-Hur: A Tale of the Christ (1925) และ Hell’s Angels (1930) ที่ $4 ล้านเหรียญ แต่ภายหลังมีรายงานว่างบประมาณจริงๆของ Hell’s Angels (1930) แค่เพียง $2.9 ล้านเหรียญ ทำให้ Gone with the Wind (1939) เลื่อนขี้นมาเป็นภาพยนตร์ทุนสร้างสูงสุดตลอดกาลลำดับที่สองขณะนั้น
เมื่อตอนออกฉายหนังได้รับเสียงวิจารณ์ดีเลิศ ชื่นชมด้านการแสดง งานสร้างอลังการ ความทะเยอทะยานยิ่งใหญ่ แต่ในแง่ของศาสตร์ศิลปะถือว่าไม่มากเท่าไหร่ และความยาวที่รู้สีกว่านานเกินไป
“The result is a film which is a major event in the history of the industry but only a minor achievement in motion-picture art. There are moments when the two categories meet on good terms, but the long stretches between are filled with mere spectacular efficiency.”
นักวิจารณ์ Franz Hoellering จากนิตยสาร The Nation
“if the story had been cut short and tidied up at the point marked by the interval, and if the personal drama had been made subservient to a cinematic treatment of the central theme—the collapse and devastation of the Old South—then Gone With the Wind might have been a really great film”.
นักวิจารณ์จาก The Guardian
ปีแรกของการออกฉาย ผู้ต้องการรับชมหนังต้องจองตั๋วล่วงหน้าในราคาสูงเกินกว่า $1 ดอลลาร์ (ค่าตั๋วโดยเฉลี่ยสมัยนั้นเพียง 25 cents) ประมาณการรายรับตลอดโปรแกรมฉายครั้งแรก $32 ล้านเหรียญ เพียงพอทุบทำลายสถิติของ The Birth of a Nation (1915) อย่างไม่เห็นฝุ่น
หนังได้รับการฉายซ้ำ (Re-Release) อย่างนับไม่ถ้วนทั่ว ปี 1942, 1954 (ฉายรูปแบบ Widescreen 1.75:1), 1961, 1967 (ขยายขนาด 70mm), 1971, 1974, 1989 (มีการบูรณะภาพและเสียง), 1998, 2013 (สแกนดิจิตอล 4K), 2014 (ในโอกาสครบรอบ 75 ปี), 2019
เกร็ด: ช่วงระหว่างเถลิงอำนาจของ Gone with the Wind (1939) มีผู้ท้าชิงสามารถแย่งชิงได้สองครั้งแต่ก็ยังถูกแย่งกลับสำเร็จ จนกระทั่งครั้งที่สามถีงสูญเสียบังลังก์ไปตลอดกาล
- ครั้งแรกคือ The Ten Commandments (1956) แซงได้ช่วงปี 1960 แต่ฉบับฉายซ้ำ 1961 ก็สามารถแซงกลับ
- The Sound of Music (1965) ทำเงินมากกว่าตั้งแต่ปี 1966 จนกระทั่งฉบับฉายซ้ำ 1971 ถีงสามารถแซงกลับ
- และสูญเสียบังลังก์ไปตลอดกาลต่อ The Godfather (1972)
นอกจากความสำเร็จด้านรายรับแล้ว หนังยังเข้าชิง Oscar จำนวน 13 รางวัลจาก 12 สาขา และสามารถคว้ามา 8 รางวัล ประกอบด้วย
- Best Picture ** คว้ารางวัล
- Best Director ** คว้ารางวัล
- Best Actor (Clark Gable) พ่ายให้กับ Robert Donat เรื่อง Goodbye, Mr. Chips (1939)
- Best Actress (Vivien Leigh) ** คว้ารางวัล
- Best Supporting Actress (Hattie McDaniel) ** คว้ารางวัล
- Best Supporting Actress (Olivia de Havilland)
- Best Adapted Screenplay ** คว้ารางวัล
- Best Cinematography, Color ** คว้ารางวัล
- Best Film Editing ** คว้ารางวัล
- Best Art Direction ** คว้ารางวัล
- Best Visual Effects พ่ายให้กับ The Rains Came (1939)
- Best Music, Original Score พ่ายให้กับ The Wizard of Oz (1939)
- Best Sound Recording พ่ายให้กับ When Tomorrow Comes (1939)
นอกจากนี้ หนังยังได้รับอีกสองรางวัลพิเศษ
- Honorary Award มอบให้ William Cameron Menzies แด่การเลือกใช้สีเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกได้อย่างทรงพลัง
- Technical Achievement Award มอบให้ R.D. Musgrave กับการบุกเบิก/ประดิษฐ์เครื่องมือที่สามารถประสานงานถ่ายทำได้อย่างลงตัว
สถิติคว้า 8 รางวัล Oscar ของ Gone with the Wind (1939) ถือว่าสูงสุดตลอดกาลขณะนั้นมาจนได้รับการเทียบเคียงโดย Gigi (1958) และถูกแซงสำเร็จโดย Ben-Hur (1959) ที่ 11 รางวัล, นอกจากนี้ยังครอบครองสถิติเข้าชิงสูงสุด 13 สาขา จนกระทั่ง All About Eve (1950) เอาชนะที่ 14 สาขา
ในบรรดาภาพยนตร์คว้า Oscar: Best Picture มีความยาวมากที่สุด, Gone with the Wind (1939) ถือว่าน้อยกว่า Lawrence of Arabia (1962) เพียง 1 นาทีเท่านั้น (GwtH 221 นาที, LoA 222 นาที), แต่ถ้านับรวม Overtune, Intermission, Entr’acte และ Exit Music จะยาวกว่า 2 นาที (GwtH 234 นาที, LoA 232 นาที)
เกร็ด: รูปปั้น Oscar: Best Picture ของ David O. Selznick เมื่อปี 1999 ได้รับการประมูลซื้อโดย Michael Jackson ราคาสูงถึง $1,500,000 เหรียญสหรัฐ
กาลเวลาทำให้เสียงตอบรับค่อยๆแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ฝั่งชื่นชอบยังคงลุ่มหลงใหล คลั่งไคล้ ตราตรีงในความงดงามคลาสสิกเหนือกาลเวลา แต่ฝั่งเห็นต่างมักมีอคติต่อเนื้อหา การเหยียดผิว (Racism), เชิดชูคนขาว (White Supremacist), ใช้กำลังข่มขืน (Marital Rape) ฯลฯ
ในความเกือบสมบูรณ์แบบของ Gone with the Wind ทั้งเนื้อเรื่อง ภาพ เพลง เทคนิค แต่สิ่งที่ผมลุ่มหลงใหลมากสุดคือการแสดงของ Vivien Leigh แอบประหลาดใจตนเองว่าสามารถ’อ่าน’ตัวละครได้แทบทุกอากัปกิริยา เคมีเข้าขากับ Clark Gable ดั่งสำนวน ‘ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่’ แล้วคล้องกันด้วยแม่พระ Olivia de Havilland เติมเต็มกันเองได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” นี่คือภาพยนตร์สุดคลาสสิกที่แฝงข้อคิดดีๆ สอนใจทั้งชายหญิง แถมมีประเด็นชวนให้ครุ่นคิดถกเถียงมากมาย อีกทั้งยังมอบความรู้สีกดั่งสายลมพัดผ่าน ไม่ว่าจะประสบพบเจอเรื่องร้ายๆ ถ้าเรามีมุมมองโลกทัศนคติในแง่ดี ย่อมสามารถเอาตัวรอดทุกอุปสรรคขวากหนาม
“After all, tomorrow is another day!”
อันดับ 31 ชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมร่านราคะของตัวละคร สงคราม ความตาย และการเหยียดผิว
คำโปรย | Gone with the Wind คือสายลมที่ยังคงพัดผ่าน เหนือกาลเวลา ยิ่งใหญ่คลาสสิก
คุณภาพ | อมตะ-คลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบ
Gone With The Wind (1939)
(29/2/2016) ผมเลือกหนังครบรอบรีวิวเรื่องที่ 100 คือ Gone With The Wind หายไปกับสายลม ชื่อไทย วิมานลอย ครั้งหนึ่งเคยเป็นหนังทำเงินสูงที่สุดในโลก, ภาพยนตร์สุดอลังการคลาสสิค ด้วยความยาวเกือบ 4 ชั่วโมง ไม่มีวินาทีไหนจะทำให้คุณเบื่อเลย การันตีด้วย 10 รางวัล Oscar, ครั้งหนึ่งในชีวิตคุณควรจะดูหนังเรื่องนี้
Gone With The Wind คือภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นหนังทำเงินสูงสุดในโลก ปัจจุบันถ้านับเฉพาะยอดจำหน่ายตั๋ว หรือปรับค่าเงินเป็นปัจจุบัน ก็ยังยึดตำแหน่งอันดับ 1 เอาไว้โดยไม่สั่นคลอน นี่แสดงถึงความอมตะตลอดกาลของหนังเรื่องนี้, มันจึงเป็นสิ่งควรค่าอย่างยิ่งแล้ว ที่คนรักหนังทุกคนควรต้องจะหามารับชม
แต่กับหลายคนเมื่อได้ดู Gone With The Wind จบแล้วก็จบกัน หนังมีบางสิ่งอย่างให้จดจำ และอีกหลายอย่างที่ไม่ได้มีค่าเลิศเลออะไร จริงอยู่หนังประสบความสำเร็จในการทำเงินมหาศาล แต่ความสำเร็จทางศิลปะ (motion-picture art) นั้นน้อยนัก, ผมถือว่า Gone With The Wind เป็นหนังน้ำเน่าเรื่องหนึ่ง ที่ถูกทำให้ยิ่งใหญ่เกินตัว มีหลายประเด็นที่สอดไส้แนวคิดค่านิยมผิดๆ ขณะสร้างก็พบเจอปัญหาอุปสรรคมากมาย จนไม่มีใครคาดคิดว่าจะออกมาดี ไม่รู้เพราะโชคชะตา บุญบารมีอะไร ที่ทำให้หนังกลับได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นแบบ Over-Hit เสียด้วย, วันนี้จะลองมาวิเคราะห์ ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไม Gone With The Wind ถึงกลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงที่สุดในโลกตลอดกาล
ดัดแปลงจากนิยาย Gone With The Wind ของ Margaret Mitchell ตีพิมพ์เมื่อปี 1936 โดยโปรดิวเซอร์ชื่อดังที่สุดแห่งยุค David O. Selznick, นิยายเรื่องนี้ยาวมาก ว่ากันว่ามีนักเขียนบทถึง 16 คน ได้รับการติดต่อให้ดัดแปลงนิยายให้เป็นบทภาพยนตร์ คนแรกคือ Sidney Howard ซึ่งเวอร์ชั่นของเขานั้นซื่อตรงต่อนิยายมาก ว่ากันว่าถ้าทำเป็นหนังคงมีความยาวไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
ผู้กำกับคนแรกที่ Selznick ติดต่อไว้คือ George Cukor แต่เมื่อเปิดกองถ่ายทำได้ไม่กี่วันก็ถูกไล่ออก, เป็น Victor Fleming เข้ามารับไม้ต่อ และได้ทำการแก้ไขปรับเปลี่ยนบทหนังใหม่เสียใหม่ แต่เพราะหนังเริ่มต้นถ่ายทำไปแล้ว และ Fleming ใช้เวลาปรับปรุงบทนานมากจน Selznick รอไม่ได้อีกแล้ว จึงจับ Fleming, Ben Hecht (นักเขียนอีกคนที่ถูกขอให้เข้ามาช่วย) และตัวเขาเอง 3 คน ปิดกลอนล็อกกุญแจขังตัวอยู่ในห้อง จนกว่าจะได้บทหนังที่พึงพอใจ จะไม่ก้าวออกจากห้องนี้, ผ่านไป 1 สัปดาห์บทหนังจึงพัฒนาเสร็จ … ฟังดูบ้าบิ่นมากนะครับ แต่นี่คือเรื่องจริง ขนาดว่ามี stage-comedy ของอเมริกาเอาไปล้อแบบเป็นจริงเป็นจัง ในเรื่องราว Moonlight and Magnolias (ผมเคยเห็นในอนิเมะซีรีย์ Shirobako ก็มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น), ผลของการทำแบบนี้ทำให้ Selznick เป็นลมล้มพับหมดแรง ส่วน Fleming ก็ตาแดงกล่ำ ไม่รู้ว่ารอดกันมาได้ยังไง
มีผู้กำกับ 3 คนที่กำกับหนังเรื่องนี้ คนแรกคือ George Cukor เขาใช้เวลา 2 ปีเพื่อเตรียมงานสร้าง และหลังจากถ่ายทำได้ 18 วันเขาก็ถูกไล่ออก เหตุผลที่ถูกไล่นั้นมีหลายข่าวลือ ที่คลาสสิคที่สุดคือแนวคิดไม่ตรงกัน แต่ที่ลงลึกว่ากันว่า George Cukor นั้นเป็นเกย์ และนักแสดงนำ Clark Gable ไม่อยากร่วมงานกับผู้กำกับที่เป็นพวกรักร่วมเพศ บางสำนักหนักกว่าอีก บอกว่า Clark Gable ก็เป็นเกย์ และ Cukor รู้ด้วย Gable กลัวว่า Cukor จะเผยความลับออกไปทำให้เขาเสียชื่อเสียง เลยต้องไล่ออกจากกองถ่าย
ผู้กำกับคนที่สองคือ Victor Fleming ขณะนั้นเขากำลังเตรียมงานสร้าง The Wizard of Oz อยู่ ถูก Selznick บังคับขู่เข็นลากตัวมาให้มากำกับหนังเรื่องนี้, ในระหว่างถ่ายเห็นว่า Vivien Leigh ไม่ค่อยชอบแนวทางของ Fleming เสียเท่าไหร่ ทุกครั้งเธอจะเอานิยายต้นฉบับมาถืออ่านไว้เพื่อเป็นการประท้วงเงียบว่า ต้นฉบับนั้นดีกว่าบทที่ Fleming พัฒนาขึ้น สร้างความไม่พอใจให้กับทั้ง Fleming และ Selznick รายหลังถึงกับขึ้นเสียงต่อว่า และบอกให้เอาหนังสือนั้นไปทิ้ง (throw the damned thing away) หลายสาเหตุรวมๆกัน ทั้งความเครียด ไม่พอใจในโปรดิวเซอร์และนักแสดง ว่ากันว่า Vitor Fleming แสดงอาการถึงขั้นสติแตก (breakdown) เพื่อหาข้ออ้างไม่กำกับต่อ เขาอยู่เวลาในกองถ่าย 93 วัน และผู้กำกับ Sam Wood จึงเข้ามารับหน้าที่คนสุดท้าย ถ่ายหนังต่ออีก 24 วันถึงปิดกล้อง
ตัวละคร Rhett Butler เห็นว่า Selznick มีความตั้งการให้ Clark Gable นำแสดงตั้งแต่แรก, สมัยก่อนนักแสดงมักเซ็นต์สัญญาผูกมัดกับค่ายหนัง สำหรับ Clark Gable มีสัญญาอยู่กับ MGM ซึ่ง Selznick ได้เข้าไปต่อรองขอยืมตัว ด้วยการเสนอค่าตัวถึง $1,250,000 (ครึ่งหนึ่งของทุนสร้างหนัง) สมัยนั้นจำนวนเงินนี้ถือว่าสูงมากๆ จ่ายเป็นรายสัปดาห์ด้วย แถมครึ่งหนึ่งจากกำไร ก็ยกให้กับ MGM, นี่เป็นสัญญาที่ดูงี่เง่าสุดๆ เป็นความดื้อด้านไร้สาระของ Selznick ผู้ขึ้นชื่อลือชาที่สุดในยุคนั้นแล้ว (ค่าตัวเท่านี้ จ้างนักแสดงระดับกลางได้ถูกกว่าหลายเท่าเลย) แน่ละ ถ้าขอกันขนาดนี้แล้ว MGM ไม่ยอมปล่อยตัวให้ ก็ถือว่าโง่เกินไปแล้ว
สำหรับบท Scarlet ใช้การคัดเลือกนักแสดง (Audition) ประมาณกันว่ากว่า 1,400 คน, มีนักแสดงดังอย่าง Katharine Hepburn พยายามล็อบบี้ผู้สร้างให้เธอ หรือย่าง Miriam Hopkins ก็ให้แสดงความสนใจ เห็นว่าจนวันเปิดกล้องถ่ายทำ ยังเลือกนักแสดงนำหญิงไม่ได้, สุดท้ายแล้ว Selznick เลือก Vivien Leigh นักแสดงชาวอังกฤษที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในอเมริกา เหตุเพราะได้เห็นบทบาทการแสดงของเธอใน Fire Over England และ A Yank at Oxford ซึ่ง Selznick เรียกเธอว่าเป็นม้ามืด (The Scarlett dark horse) มีนักข่าววิเคราะห์สาเหตุอื่นที่เธอได้รับบท เพราะพ่อเป็นชาวฝรั่งเศส แม่เป็นไอริช ซึ่งตรงกับพื้นหลังของตัวละคร Scarlet (Scarlett O’Hara’s parents were French and Irish. Identically, Miss Leigh’s parents are French and Irish.)
Melanie รับบทโดย Olivia de Havilland, ดูภายนอกร่างกายของเธออ่อนแอ แต่ข้างในเข็มแข็งอย่างยิ่ง เป็นทั้งเพื่อนรัก เพื่อนแค้น แต่ไม่เคยเจ็บแค้น เคืองโกรธ Scarlet แม้แต่น้อย ตราบจนวันตายของเธอ ให้อภัยได้แม้จะรู้ว่า Ashley กับ Scarlet แอบเป็นชู้กัน, ผู้หญิงดีๆแบบนี้หายากม๊ากๆ แต่คนส่วนใหญ่มักไม่จดจำเธอนะครับ เพราะจืดชืดมาก แต่จะจดจำ Scarlet ที่โคตรแรดร่านผู้ชายไม่มีวันลืม
Ashley รับบทโดย Leslie Howard, เห็นว่า Howard ไม่ชอบบทที่ตัวเองเล่นเท่าไหร่ เพราะตัวจริงเขาอายุ 40 แล้วต้องมาแต่งหน้า make-up ให้ดูเหมือนวัยรุ่นอายุ 20 มันทำให้เขารู้สึกตัวเองแก่ แต่เหตุที่ตบปากรับเล่นเพราะถูก Selznick หลอกว่าจะยื่นตำแหน่งโปรดิวเซอร์ให้เขาด้วย (ซึ่งสุดท้ายไม่ได้ให้นะครับ), Ashley เป็นภรรยาของ Melanie แต่ก็ถูก Scarlet ยั่วยุ ยั่วยวน ลอบจะเป็นชู้ (เพราะหลงในความหล่อเหลา) หลังกลับจากสงคราม Ashley กลายเป็นคนไม่เอาถ่าน ทำอะไรไม่เป็น นี่เป็นผลลัพท์จากสงคราม ความสูญเสีย ที่ส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาของเขา
อีกหนึ่งนักแสดงมากความสามารถ ไม่มีใครคิดมาก่อนว่าเธอจะสามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Support Actress มาครองได้ เพราะเธอเป็นผู้หญิงผิวสี, Hattie McDaniel บทบาทของเธอคือ Mammy หรือสาวใช้ (house servant) มีความโดดเด่นและแย่งซีนนางเอกได้หลายครั้ง โดยเฉพาะคำพูดจิกกัด แสบสัน และสายตาที่แหลมคมกริบ, เห็นว่าตอนวันงานประกาศรางวัล Oscar เธอไม่ได้ถูกรับเชิญให้เข้าร่วมงาน นั่งหลบอยู่หลังเวที (เข้าทางประตูหลัง) และตอนที่ได้รับรางวัล MGM ได้เขียนโพยบังคับให้อ่านตาม ผมคัดลอกคำพูดของเธอมาเต็มๆ ใครอยากอ่านแปลเอาเองนะครับ
Academy of Motion Picture Arts and Sciences, fellow members of the motion picture industry and honored guests: This is one of the happiest moments of my life, and I want to thank each one of you who had a part in selecting me for one of their awards, for your kindness. It has made me feel very, very humble; and I shall always hold it as a beacon for anything that I may be able to do in the future. I sincerely hope I shall always be a credit to my race and to the motion picture industry. My heart is too full to tell you just how I feel, and may I say thank you and God bless you.
Hattie McDaniel
การถ่ายภาพ ช่วงแรกใช้บริการของ Lee Garmes แต่หลังจากผ่านไปเดือนหนึ่ง Selznick รู้สึกว่างานภาพของ Lee ค่อนข้างจะมืดหม่นไปหน่อย (too dark) เลยไปจ้าง Ernest Haller ให้มารับหน้าที่แทน และตัดเครดิตของ Lee ที่ถ่ายไปแล้ว 1/3 ของหนังทิ้งไป, หนังเรื่องนี้มีงานภาพที่สวยงามมากๆหลายฉาก ก็ไม่รู้ว่าฉากไหนเป็นเครดิตใคร
ที่สวยที่สุด เป็นฉากตอนต้นเรื่องที่เห็น Scarlet และพ่อ ยืนมองพระอาทิตย์ตกดิน กล้องค่อยๆเคลื่อนออกช้าๆ, ว่ากันว่าฉากนี้กว่าจะถ่ายสำเร็จ ต้องไปว่าจ้างนักคณิตศาสตร์มาคำนวณเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ให้พอดีกับจังหวะที่บทพูดจบและเคลื่อนกล้องออก ฟังดูเว่อๆ แต่จริงครับ (เห็นว่าใช้แคลคูลัสขั้นสูงเลยละ)
ในหนังยังมีอีกฉากที่ถือว่าอลังการงานสร้างมาก ขณะที่ Scarlet ออกตามหาหมอเพื่อมาทำคลอดให้ Melanie เราจะเห็นทหารมากมายเต็มไปหมด นอนรอการปฐมพยาบาลอยู่เต็มพื้นที่ ฉากนี้ใช้นักแสดง 1,500 คนเข้าฉาก (จริงๆ Selznick ต้องการ 2,500 คนแต่ Screen Actors Guild หามาให้ได้แค่นั้น) ซึ่งที่เหลือก็ใช้หุ่นประกอบหลอกๆ
ตัดต่อโดย Hal C. Kern และ James E. Newcom รวมแล้วหนังมีความยาว 221 นาที ถ้ารวมเพลง Overtune, Intermission, Entr’acte, และ Exit Music จะได้ความยาว 238 นาที, การเล่าเรื่องแบ่งออกเป็น 2 องก์ แต่ผมจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเหตุการณ์ ตามพัฒนาการของ Scarlet จะเห็นได้ชัดเจนกว่า
ช่วงแรก Scarlet ก่อนเริ่มสงครามเป็นหญิงสาวเอาแต่ใจ วันๆเธอเอาแต่ยั่วผู้ชายให้หญิงอื่นอิจฉา แต่คนที่เธออิจฉาที่สุดคือ Melanie, ผมดูไม่ออกนะครับว่าเธอชอบ Ashley จริงไหม หรือแค่ต้องการชิงดีชิงเด่น เอาชนะ Melanie เท่านั้น, การแต่งงานในช่วงนี้ ดูแล้วเป็นการประชดประชัน เหมือนเด็กเรียกร้องความสนใจเท่านั้น
ช่วงที่ 2 สงคราม ผู้ชายทั้งหลายไปสงคราม เหตุที่เธอกับ Melanie อยู่ใกล้ชิดกันเพราะ Scarlet ต้องการแย่ง Ashley มาจากเธอ แต่เมื่อ Melanie ท้อง เธอจึงเริ่มลังเล และเมื่อเห็นภาพผู้คนที่ต้องเจ็บ ตายจากสงครามก็เริ่มทำใจไม่ได้ ออกเดินทางหนีสงครามกลับบ้านเกิด กระนั้นบ้านของเธอก็แทบไม่เหลืออะไรแล้ว มันทำให้เจ็บปวด ทนทุกข์ทรมาน ณ จังหวะนั้น เธอได้เติบโตขึ้นจากเด็กหญิงกลายเป็นผู้หญิงเต็มตัวเสียที
ช่วงที่ 3 หลังสงคราม Scarlet โตขึ้นเป็นผู้หญิงที่ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง เพื่อความสุขของคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเธอ, Ashley กลับมาจากสงครามแต่เขาเปลี่ยนไปมาก ไม่ใช่ Ashley คนเดิม โลกที่เปลี่ยนไป ผู้นำที่เปลี่ยนแปลง Scarlet แต่งงานครั้งที่ 2 กับชายคนที่เธอไม่ได้รักเพื่อเงิน จบช่วงที่สามีของเธอถูกยิงตาย
ช่วงที่ 4 ทุกสิ่งที่ทำมา นำพา Scarlet มาถึงจุดสุดท้าย ที่เหมือนว่าจะประสบความสำเร็จ การแต่งงานกับ Rhett Butler ชายที่ไม่รู้ว่าเธอรักหรือไม่รัก แต่รู้ว่าเขารวย มีชีวิตอย่างอิสระ ฟุ่มเฟือย ไม่ต้องสนใจอะไร ทั้งสองมีลูกด้วยกัน แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถเลี้ยงลูกให้โตได้ การตายของลูกถือเป็นจุดแตกหักของทั้งสอง และเมื่อ Melanie เสียชีวิต มันก็ไม่มีอะไรยับยั้ง Scarlet ให้ได้ Ashley มาครอบครองแล้ว ณ จุดนี้เธอจึงเข้าใจว่า Ashley ไม่ใช่ของเธอ แล้วยังมีอะไรที่เหลือเป็นของเธอบ้างละ…
เพลงประกอบสุดไพเราะโดย Max Steiner, ในบรรดาหนังที่เขาทำเพลงให้ Gone With The Wind ถือว่าไพเราะที่สุดแล้ว ผสมผสานความหลากหลายทางอารมณ์ สุข เศร้า สงคราม อลังการ ยิ่งใหญ่ ด้วยความยาวของหนัง จะทำให้เราจำทำนองของเพลงได้, เห็นว่า Selznick ไปขอยืมตัว Steiner จาก Warner Bros. ใช้เวลา 12 สัปดาห์ในการทำเพลง (นานที่สุดเท่าที่ Steiner เคยทำ) ความยาวของเพลงก็ยาวที่สุดเท่าที่เคยเขียน จ้าง Orchrestra จัดเต็ม 5 วงบรรเลง, น่าเสียดายที่เพลงประกอบไม่ได้ Oscar เสียให้กับ Herbert Stothart จาก The Wizard of Oz
กระนั้นเพลงประกอบของหนังติดอันดับ 2 ของ AFI’s 100 Years of Film Scores เป็นรองเพียง Star Wars ของ John William เท่านั้น
ประโยคที่ได้รับการกล่าวขาน คือคำพูดติดปาก ที่คนสมัยนี้ยังจดจำและยกย่องว่าเป็นที่สุดตลอดกาล ‘Frankly my dear, I don’t give a damn.’ เดิมทีประโยคนี้ไม่ผ่าน Hays Code ซึ่งจะไม่ได้รับอนุญาติให้ฉายในอเมริกา เหตุเพราะคำว่า damn ถือเป็นคำหยาบคาย ถูกสั่งห้ามใช้ในหนัง, Selznick ไปอ้อนวอน ขอกับคณะกรรมการกองเซนเซอร์อยู่เป็นเดือนๆ อธิบายให้เข้าใจเหตุผลที่ต้องใช้ จนพวกเขาต้องยอมอนุญาติให้ผ่าน, ข้ออ้างคือ ถ้า Rhett พูดว่า ‘my dear, I don’t care’ อารมณ์ ความรู้สึก impact ตอนจบของหนังจะหายไปโดยสิ้นเชิง … นับตั้งแต่นั้น คำว่า damn ก็ไม่ถูกแบนในหนังเรื่องไหนอีกเลย
นอกจากประโยคนี้แล้ว ยังมีอีก 2 ประโยคของหนังที่ติดอันดับ AFI’s 100 Years…100 Movie Quotes
– Frankly my dear, I don’t give a damn. ติดอันดับ 1
– After all, tomorrow is another day! ติดอันดับ 31
– As God is my witness, I’ll never be hungry again. ติดอันดับ 59
มีหลายๆอย่างที่ผมไม่ชอบใน Gone With The Wind โดยเฉพาะนิสัยของ Scarlet, เราอาจจะมองว่าเธอเป็นตัวละครที่สู้ชีวิต มีความใสซื่อบริสุทธิ์ แต่มองแบบนี้ผิวเผินมากๆ เธอเป็นผู้หญิงที่มีความต้องการสูงในทุกๆด้าน แต่งงาน 3 ครั้ง หลงรักผู้ชายที่แต่งงานกับหญิงอื่น ฯ มีฉากหนึ่ง ตอนที่ Rhett กำลังเมาใช้กำลังเหมือนจะข่มขืน Scarlet ตรงบันได แล้วหนังตัดไปวันรุ่งขึ้น บนเตียงของ Scarlet ที่ดูมีความสุขมากๆ ฉากนี้ที่ถูกกล่าวถึง เพราะสามารถมองได้เหมือนว่า Scarlet มีความต้องการทางเพศที่รุนแรง การ Rape ที่ดูเหมือนจะขัดขืน แต่แท้จริงมันทำให้เธอมีความสุขกว่าปกติ, นี่ทำให้ผมมองว่า Scarlet เป็นตัวละครที่ทำตัว ไม่น่ารัก เอาเสียเลย แก่นแรดเกินวัย นี่อาจเพราะการเลี้ยงดูที่ถูกพ่อแม่ตามใจตั้งแต่เด็ก ทำให้โตขึ้น ฉันต้องได้ ต้องครอบครอบ เป็นเจ้าของทุกสิ่งอย่าง
ประเด็นสงครามกลางเมืองระหว่างเหนือใต้ (Civil Wars) เราอาจจะไม่ได้เห็นฉากขณะสู้รบกัน แต่อิทธิพลของมันก็ส่งผลกระทบต่อเนื่อง กับเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้น (Reconstruction Era) จะว่านี่เป็นหนังของชาว Southern ที่พ่ายแพ้ต่อ Northern หรือ Yankee ก็ยังได้
ผู้ชายตอนตอนต้นเรื่องเหลืออยู่จนถึงตอนจบไม่มาก คนหนุ่มส่วนใหญ่ตาย เหลือแต่หญิงสาวที่ต้องใช้ชีวิต ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่างยากลำบาก, ใจความของหนังคือการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดของ Scarlet เธอทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองรอด โดยไม่สนว่าสิ่งที่ทำมันจะส่งผลต่อคนรอบข้างอย่างไร
หนังพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงทาส Slave, ซื้อขายทาส Trade Slave (เพราะมันจะไปสอดคล้องกับหนังเรื่อง The Birth of A Nation-1915 มากเกินไป) กระนั้นเราก็เห็นภาพของคนดำที่ถูกเหยียดหยาม กดขี่ ใช้แรงงานที่แฝงความชั่วร้ายรุนแรง, มีฉากที่ผมไม่ชอบเอาเสียเลย ทาสดำคนหนึ่งยืนอยู่หน้าร้าน ตะโกนเรียกหาคนบางคน เธอไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าร้าน แต่คนที่เธอตามหาอยู่ชั้น 2 นัยยะของฉากนี้แสดงถึง คนดำต่ำต้อยกว่าคนขาวมากๆ, หรือฉากทาสในโรงงานผลิตไม้ ทาสกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่คนดำ แต่เป็นนักโทษสงคราม ตัวละครในหนังก็พูดต่อว่า ทำไมถึงเลือกทาสแบบนี้ คำตอบคือ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ได้กำไรสูงสุด โห! คนยุคนั้นหามีมนุษยธรรมไม่เลยนะนิ
passion ของสองตัวละคร Rhett และ Scarlet ถือว่าเป็นที่สุดของหนังแล้ว ถึงขนาดการจัดอันดับ AFI’s 100 Years…100 Passions จะเห็นว่า Gone With The Wind อยู่อันดับ 2 เป็นรองเพียง Casablanca เท่านั้น , Clark Gable และ Vivien Leigh เคมีเข้ากันมากๆ แบบที่สุดเลย คงเพราะชีวิตจริง Clark Gable ก็มีนิสัยแบบนั้น เขาจึงสามารถส่งสายตาที่สามารถมองทะลุถึงภายในได้, ว่าไปผมแอบรำคาญคิ้วพี่แกนะ คือสามารถขยับได้ทุกรูปแบบ ราวกับคิ้วเวทย์มนต์ที่มีเสน่ห์ แต่เห็นบ่อยๆก็แอบรำคาญ, ส่วน Vivien Leigh รับบทหญิงสาวเอาแต่ใจ ทั้งสายตา รอยยิ้ม ลักแก้ม คิ้วของเธอก็ชอบยักไปยักมา เรียกว่าเล่นหูเล่นตากับ Gable ได้เข้าขากันดี
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหนังออกฉาก รอบปฐมทัศน์ที่ Atlanta มีผู้คนออกมารอชมหนังฉายจนถนนใช้สัญจรไปไหนมาไหนไม่ได้ (เห็นว่านิยายของ Margaret Mitchell ก็เป็น phenomenal best-seller ด้วย) ถึงขนาดผู้ว่าการ Governor of Georgia ต้องประกาศให้เป็นวันหยุด มีขบวนพาเรด กิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายวันนั้น ปธน. Jimmy Carter พูดว่า นี่เป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตที่เขาเคยพบเห็นมา (the biggest event to happen in the South in my lifetime.) ไม่มีตั๋วขายหน้าโรงหนัง ต้องจองล่วงหน้า ขั้นต่ำก็ 2 สัปดาห์ ตั๋วผีราคาทะยานไปถึงใบละ 200 ดอลลาร์ มันบ้าไปแล้ว! (ราคาตั๋วสมัยนั้น $0.23 เท่านั้น)
ก่อนหน้านี้ เคยมีหนังเรื่องหนึ่งที่เกิดปรากฏการณ์ลักษณะนี้ คือ The Birth of Nation (1915) หนังเงียบที่ทำเงินสูงที่สุดในโลก ยึดครองตำแหน่งเป็นปฐมกษัตริย์ King of the World (ฉายานี้ได้มาจาก Titanic) อยู่นานถึง 25 ปี ถูกโค่นโดย Gone With The Wind ที่ฉายมาตั้งแต่ปี 1939 และสามารถทำเงินแซงได้สำเร็จในปี 1940, หนังทุนสร้าง 7 ล้านดอลลาร์ (เป็นหนังพูดภาพสีที่มีทุนสร้างสูงสุดสมัยนั้น แต่ยังรองหนังเงียบเรื่อง Ben Hur ที่ยึดครองสถิติหนังทุนสร้างสูงสุด) ปีแรกว่ากันว่า ขายตั๋วได้กว่า 60 ล้านใบ (ครึ่งหนึ่งของประชากรอเมริกาขณะนั้น) รวมตลอดระยะเวลาฉาย 4 ปี น่าจะถึง 200 ล้านใบในอเมริกา ทำเงินไปรวมประมาณ 189 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับค่าเงินปัจจุบัน (ปี 2016) $1,700+ ล้านดอลลาร์ คงไม่มีหนังเรื่องใดในโลกที่จะสามารถมียอดจำหน่ายตั๋วได้สูงมากขนาดนี้อีกแล้ว
เหตุผลที่ผมคิดว่าทำให้หนัง Over-Hits ณ ขณะนั้น ประกอบด้วย
– นิยายที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้เป็นที่รู้จัก ผู้คนมีความสนใจ
– กับคนเคยมีชีวิตผ่านมา ดั่งช่วงเวลาที่อยู่ในหนัง/นิยาย, สงครามภายในระหว่างเหนือใต้ ฝ่ายใต้คือผู้พ่ายแพ้ ซึ่งหนังนำเสนอเรื่องราวของคนฝ่ายใต้ การต่อสู้ที่แม้สงครามจะจบแล้ว แต่ชีวิตยังไม่จบ ยังคงต้องดิ้นรนต่อไป
– ฉายรอบปฐมทัศน์ เลือกสถานที่ได้เหมาะสมที่สุด (ฉายในเมืองฝ่ายใต้)
– ซึ่งพอผู้คนออกมาแสดงความต้องการอยากดู ทำให้คนที่ไม่ได้สนใจรู้จักเกิดความอยากรู้อยากลองอยากเห็น จึงมีการพูดถึงอย่างแพร่หลาย ผู้คนจากรัฐอื่นก็อยากรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
– สมัยนั้นโรงภาพยนตร์ยังไม่ได้มีเยอะเท่าไหร่ เมืองหนึ่งเต็มที่ก็มีแค่ 4-5 โรง จะไปเพียงพอกับปริมาณคนดูที่ล้นหลามได้อย่างไร
– ช่องทางอื่นก็ไม่มีที่จะทำให้เราดูหนังได้ด้วย ไม่มี Video/CD/DVD/Blu-ray หรือ Internet แผ่นผีให้ลักลอบดูได้
ขนาดคนเขียนนิยาย Margaret Mitchell ก็ยังไม่มีโอกาสได้ดูเลยหนังที่สร้างจากนิยายของตนเอง, 10 ปีหลังจากหนังฉาย Mitchell ก็วางแผนที่จะไปดูหนัง แต่โชคร้ายโดนรถชนเสียชีวิตเสียก่อน ขณะเดินทางไปโรงภาพยนตร์ โห! โชคไม่มีจริงๆ
หนังเข้าชิง 12 สาขา ได้มา 8 รางวัล
– Best Picture
– Best Director
– Best Actor (Clark Gable) [เข้าชิง]
– Best Actress (Vivien Leigh)
– Best Adapted Screenplay
– Best Supporting Actress (Hattie McDaniel)
– Best Supporting Actress (Olivia de Havilland) [เข้าชิง]
– Best Cinematography, Color
– Best Film Editing
– Best Art Direction
– Best Visual Effects [เข้าชิง]
– Best Music, Original Score [เข้าชิง]
– Best Sound Recording [เข้าชิง]
และอีกสองรางวัล Honorary Award
– Special Award (William Cameron Menzies)
– Technical Achievement Award
Gone With The Wind แล้วทุกอย่างก็หายไปกับสายลม เราไม่รู้ว่าหนังใช้เวลาดำเนินเรื่องกี่ปี แต่จะได้เห็นสถานที่ๆหนึ่ง จากเคยรุ่งเรือง เป็นทรุดโทรม แล้วฟื้นฟู และกลับมาเจริญรุ่งเรืองใหม่ ตัวละคร เรื่องราวก็เป็นแบบเดียวกัน, สิ่งที่คือความอลังการของหนัง ไม่ใช่แค่ปริมาณเยอะยิ่งใหญ่ แต่รวมถึงระยะเวลาของเรื่องราว ความยาวของหนัง, นี่เป็นชื่อหนังที่เหมาะมากๆ มีนัยยะพูดถึง ‘เวลา’ ของชีวิตที่เปลี่ยนไป อะไรๆก็ไม่เคยที่จะเหมือนเดิม
คนสมัยก่อนไม่มีโอกาสเท่าเราสมัยนี้ อยู่บ้านนั่งพิงโซฟาดูหนังสบายๆเพลิดเพลิน ไม่ต้องออกไปต่อแถว ยืนรอ คอยลุ้นว่าวันนี้จะมีที่นั่งเหลือให้เราได้ดูหรือเปล่า, ความสุขหลังดูหนังจบ อาจจะล่องลอยไปกับสายลมราวกับอยู่บนวิมานก็เป็นได้
หนังเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัน แต่เด็กเล็กคงไม่มีความอดทนพอแน่ๆ
คำโปรย : “Gone With The Wind หนังที่ต้องดูให้ได้ก่อนตาย ดูจบแล้วจะล่องลอยไปกับสายลมราวกับอยู่บนวิมาน”
คุณภาพ : RARE-GENDARY
ความชอบ : LIKE
Leave a Reply