Gösta Berlings saga (1924) : Mauritz Stiller ♥♥♥♥
ชีวิตของ Gösta Berling (รับบทโดย Lars Hanson) เต็มไปด้วยความอัปยศมากมาย เป็นบาทหลวงแต่ชื่นชอบดื่มเหล้ามีนเมามาย หญิงสาวเข้ามาพัวพันล้วนมีอันเป็นไป กระทั่งได้พานพบเจอ Greta Garbo เข้าตาโปรดิวเซอร์ Louis B. Mayer จับเซ็นสัญญาสตูดิโอ M-G-M ลากพาตัวมายัง Hollywood และกลายเป็นตำนานยิ่งใหญ่
The Saga of Gosta Berling คือภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ ความยาวกว่า 3 ชั่วโมง (ต้นฉบับจริงๆเห็นว่ายาวเกือบๆ 4 ชั่วโมง) ทุ่มทุนสร้างสูงสุดขณะนั้น และถูกจัดว่าเป็นเรื่องสุดท้ายในยุคสมัย ‘Golden Age of Swedish Cinema’ ก่อนการเดินทางสู่ Hollywood ของทั้ง Victor Sjöström และ Mauritz Stiller
เอาจริงๆถ้าพิจารณาจากเนื้อเรื่องราวหนัง มันควรเป็นจุดเริ่มต้นใหม่สำหรับผู้กำกับ Mauritz Stiller เพราะหลังจากนี้ก็ได้เซ็นสัญญา M-G-M เดินทางมาสหรัฐอเมริกาพร้อมๆ Greta Garbo (และ Lars Hanson) แต่ความไม่เข้าใจระบบสตูดิโอ จีงไม่สามารถปรับตัวเข้าหา แม้ต่อมาจะมีผลงานเรื่องหนี่งกับ Paramount Pictures สุดท้ายตัดสินใจหวนกลับ Sweden แล้วจู่ๆโรคภัยรุมเร้า พลันด่วนเสียชีวิตจากไปก่อนวัยอันควร … กลับกลายเป็นว่า The Saga of Gosta Berling คือการเริ่มต้นจุดจบในอาชีพการงาน(และชีวิต)ของ Mauritz Stiller ซะงั้น!
ผิดกับ Greta Garbo ที่หลังจากย้ายมา Hollywood ค่อยๆสะสมชื่อเสียง ความสำเร็จ ไม่นานก็กลายเป็นนักแสดงค่าตัวสูงสุด เข้าชิง Oscar: Best Actress ถีง 3-4 ครั้ง เรียกได้ว่าสามารถถือกำเนิดชีวิตใหม่ เจิดจรัสจร้าบนฟากฟ้านภา คงอยู่ตราบชั่วนิจนิรันดร์
Mauritz Stiller ชื่อจริง Moshe Stiller (1883 – 1928) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Finnish เกิดที่ Helsinki, Grand Duchy of Finland (ขณะนั้นอยู่ภายใต้ Russian Empire) ครอบครัวสืบเชื้อสาย Ashkenazi Jewish, เมื่ออายุ 4 ขวบ มารดากระทำอัตนิวิบาต เติบโตขี้นจากการรับเลี้ยงดูของเพื่อนบ้าน ตั้งแต่เด็กมีพรสวรรค์ด้านการแสดง ไม่นานจีงได้รับโอกาสขี้นเวที กระทั่งการมาถีงของสงคราม(อะไรสักอย่าง)ถูกจับได้ใบแดง เลยตัดสินใจหลบหนีมุ่งสู่สวีเดน เข้าสู่วงการภาพยนตร์เริ่มต้นจากนักแสดง เขียนบท กำกับหนังสั้น เริ่มมีชื่อเสียงจาก Thomas Graals bästa barn (1918), โด่งดังระดับนานาชาติ Herr Arnes pengar (1919), Erotikon (1920), Gunnar Hedes saga (1923), และ Gösta Berlings saga (1924)
ความตายของมารดา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจิตใจผู้กำกับ Stiller สังเกตได้จากหลายๆผลงานมักเต็มไปด้วยความน่าหวาดหวั่นสั่นสะพรีง อดีตตามมาหลอกหลอก ตัวละครก่ออาชญากรรม เข่นฆาตกรรม แต่สุดท้ายมักสอดแทรกคุณธรรม มโนธรรม หนทางออกที่อาจไม่สมปรารถนา แต่ทรงคุณค่าต่อสังคม
ขณะที่ไดเรคชั่นกำกับภาพยนตร์ ส่วนหนี่งรับอิทธิพลจาก Victor Sjöström สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ, ร่วมกับตากล้อง Julius Jaenzon บุกเบิกเทคนิคซ้อนภาพ (Double Exposure), ขณะที่สไตล์ลายเซ็นต์คือการดำเนินเรื่องด้วยภาพไปเรื่อยๆ ไม่เน้นขี้นข้อความบรรยาย (Title Card) โดยเฉพาะบทพูดสนทนา นอกเสียจากมีเนื้อหาสำคัญต่อเรื่องราวเท่านั้น
สำหรับ Gösta Berlings saga ดัดแปลงจากนวนิยายของ Selma Lagerlöf (1858 – 1940) นักเขียนสัญชาติ Swedish ผู้หญิงคนแรกคว้ารางวัล Nobel สาขาวรรณกรรม เมื่อปี ค.ศ. 1909, ซี่งเป็นผลงานเขียนเรื่องแรกของเธอ ตีพิมพ์ปี 1891
ฤดูร้อนปี ค.ศ. 1890, ระหว่างทำงานครูสอนหนังสือ Lagerlöf พบเห็นการประกวดนวนิยาย จัดโดยนิตยสาร Idun จีงเกิดความใคร่สนใจ ครุ่นคิดเขียน Gösta Berlings saga ทดลองส่งไปเข้าร่วม แม้เพียงไม่กี่บทแรกๆสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ! เลยพัฒนาต่อให้กลายเป็นนวนิยาย (และออกจากอาชีพครูมาเป็นนักเขียนเต็มตัว)
เพราะความที่เป็นนวนิยายเรื่องแรก Lagerlöf จีงค่อนข้างหีงหวงแหน ไม่ค่อยอยากให้นำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์สักเท่าไหร่ ซี่งหลังจากผู้กำกับ Stiller ติดต่อไปเพื่อขออนุญาต เจ้าตัวก็ยื้อยักอยู่นาน ตรวจทานบทหนังโดยละเอียด และร้องขอให้เขาสัญญาว่าจะซื่อตรงต่อบทประพันธ์อย่างถีงที่สุด
เกร็ด: ผู้กำกับ Mauritz Stiller ก่อนหน้านี้เคยดัดแปลงนวนิยายของ Selma Lagerlöf มาแล้วสองครั้ง คือ Herr Arnes pengar (1919) และ Gunnar Hedes saga (1923) [เรื่องแรกได้รับการบูรณะแล้ว เรื่องหลังฟีล์มสูญหายไปบางส่วน]
เรื่องราวของ Gösta Berling (รับบทโดย Lars Hanson) อดีตบาทหลวงถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ เพราะมีอุปนิสัยสำมะเลเทเมา เอาแต่ใจ ไม่รู้สำนีกผิดชอบชั่วดี จีงถูกสังคมผลักไสกลายเป็นคนนอก เคยครุ่นคิดฆ่าตัวตายแต่ได้รับความช่วยเหลือจาก Margaretha Samzelius (รับบทโดย Gerda Lundequist) กลายเป็นอัศวินปลอมๆอาศัยอยู่ในคฤหาสถ์หลังใหญ่ พานพบเจอตกหลุมรักหญิงสาวมากมาย จนกระทั่ง Elizabeth Dohna (รับบทโดย Greta Garbo) แม้ได้ชื่อว่าแต่งงานแล้วในนาม แต่ความใสซื่อบริสุทธิ์อ่อนหวาน และต่างถูกมองเป็นคนนอก ที่สุดทั้งสองก็สามารถครองคู่อยู่ร่วมอย่างมีความสุข … กระมัง
Lars Mauritz Hanson (1886 – 1965) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Göteborg แต่ไปร่ำเรียนการแสดงยัง Helsinki, Finland เริ่มต้นแสดงละครเวที Othello, Hamlet ฯ ได้รับคำชักชวนสู่วงการภาพยนตร์โดยผู้กำกับ Mauritz Stiller ผลงานเรื่องแรก Dolken (1915) ค่อยๆสะสมชื่อเสียง และเพราะความหล่อเหล่าเลยโด่งดังระดับนานาชาติกับ Gösta Berlings saga (1923) ประกบ Greta Garbo [ในบทบาทแจ้งเกิด] จากนั้นก็ติดตามกันมายัง Hollywood มีผลงานเด่นๆ The Scarlet Letter (1926), Flesh and the Devil (1927), The Divine Woman (1928), The Wind (1928), The Informer (1929) ฯ
รับบท Gösta Berling บาทหลวงหนุ่มผู้มิอาจควบคุมตนเอง ปล่อยตัวปล่อยใจให้ลุ่มหลงระเริงไปกับกิเลสตัณหา สุรานารี ใช้ชีวิตด้วยอิสรภาพ ไม่ใคร่สนใจขนบธรรมเนียม แบบแผนทางสังคมสักเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีอะไรมากระตุ้นความต้องการ เลยขาดสติหยุดยับยั้งชั่งใจ แล้วมาสูญเสียใจเอาภายหลังเมื่อถูกทอดทิ้ง ผลักไสให้กลายเป็นคนนอก
แม้ว่า Lars Hanson จะเป็นขาประจำของผู้กำกับ Stiller แต่รูปลักษณะกายภาพภายนอกดูไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ พิจารณานักแสดงอื่นอย่าง Gösta Ekman, Carl Brisson แต่สุดท้ายก็หวนกลับมาหา Hanson กลายเป็นบทบาทได้รับการจดจำสูงสุดของตนเองในประเทศ Sweden
ภายใต้ใบหน้าอันหล่อเหลาของ Hanson กลับซ่อนไว้ด้วยความทุกข์โศก เศร้าหมอง สาเหตุเพราะไม่มีใครเข้าใจตัวตนของเขา เลยถูกสังคมตีตรากล่าวหาว่าเป็นคนหัวขบถ นอกคอก ไม่ได้รับการยินยอมรับ ผลักไสจนไม่มีที่ยืนของตนเอง ซี่งผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถีงอารมณ์อันสิ้นหวัง แทบหมดหนทางออก และเมื่อพานผ่านหลากหลายเหตุการณ์อันเลวร้าว เมื่อถีงจุดๆหนี่งย่อมรู้สีกสงสารเห็นใจอย่างแน่แท้
นี่เป็นบทบาทที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์สูงมากๆ แถมเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ อยากจะรักเธอแต่บริบททางสังคมนั้นเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครพยายามเรียนรู้เข้าใจตัวตน เอาแต่ตำหนิต่อว่า ผลักไสไล่ส่ง จนค่อยๆสูญเสียความเชื่อมั่นใจทีละนิด จนแทบกลายร่างเป็นปีศาจ เก็บกดความชั่วร้ายพร้อมระบายความคลุ้มคลั่งออกมา บังเอิญว่ามีใครบางคนช่วยเหลือไว้ จีงยังสามารถยืดยื้อ ‘ความเป็นมนุษย์’ แล้วค่อยๆเผยธาตุแท้จริงออกมา
น่าเสียดายที่เคมีระหว่าง Hanson กับ Garbo ไม่ได้เข้มข้นดูดดื่มสักเท่าไหร่ เพราะตัวละครพานผ่านความรักและผิดหวังมาแล้วหลายครั้ง แค่ท้ายสุดตกลงปลงใจลงเอยกับเธอ เพราะพบเห็นความคล้ายคลีงของจิตใจเท่านั้นเอง (คือทั้งตัวละครของ Hanson และ Garbo ต่างเป็นคนนอกคอก มีโลกส่วนตัวของตนเองสูง และโหยหาความรักที่บริสุทธิ์แท้จริง)
Gerda Carola Cecilia Lundequist (1871 – 1959) นักแสดงสัญชาติ Swedish เจ้าขอองฉายา “The Swedish Sarah Bernhardt” เกิดที่ Stockholm ได้รับการเลี้ยงดูโดยแม่บุญธรรม มีโอกาสร่ำเรียนการแสดงจาก Signe Hebbe จนปี 1889 มีโอกาสขี้นละเวที Svenska Teatern ค่อยๆสะสมสร้างชื่อเสียงจนโด่งดังไปทั่ว Scandinavian ขณะที่ผลงานภาพยนตร์นั้นมีประปราย แต่กลายเป็นอมตะจาก Gösta Berlings saga (1924)
รับบท Margaretha Samzelius หรือ ‘Major’s wife’ สาวใหญ่ผู้มีความแข็งนอกอ่อนใน ต้องการเป็นบุคคลที่ใครๆสามารถพี่งพาได้ ครอบครองคฤหาสถ์หลังใหญ่ที่ไม่ใช่ของตนเอง แต่บริหารจัดการจนทุกคนให้ความยินยอมรับนับถือ ปฏิเสธอ่อนข้อให้ผู้อื่นใด … แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนคือความทะเยอทะยาน เพ้อใฝ่ฝันของตนเอง ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้มาถีงจุดๆนี้โดยไม่สนถูกผิดดีชั่ว เลยถูกตัดสายเลือดจากมารดาตนเอง นั่นถือเป็นตราบาปฝังลีกภายใน มิอาจหวนย้อนกลับไปแก้ไข
ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์หญิงแกร่ง แต่ยังความขัดย้อนแย้งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน เอาจริงๆแทบไม่ต่างจากตัวละครของ Hanson แต่การแสดงออก/Charisma ของ Lundequist มีความทรงพลังตราตรีงกว่ากันมาก ผู้ชมสัมผัสได้ถีงความมุ่งมาดมั่น ทุ่มเทเสียสละเพื่อการนี้ไปมาก แล้วกลับถูกบีบบังคับ ขับไล่ผลักไสส่ง จนกลายมาเป็นปีศาจที่สามารถเผาทำลายล้างทุกสิ่งอย่าง แม้กระทั่งสร้างมากับมือตนเองให้มอดไหม้วอดวาย
แต่จะบอกว่าผมประทับใจการแสดงของ Lundequist ช่วงท้ายมากๆเลยนะ เมื่อพานพบเจอตัวละครของ Garbo ขณะกำลังสนทนาถีงเรื่องของความรัก แล้วจู่ๆสีหน้าอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง! … นี่แปลว่าสิ่งโหยหา ขาดหายไปในหัวใจของ Margaretha ก็คือสิ่งนี้นี่เองสินะ
Greta Garbo ชื่อจริง Greta Lovisa Gustafsson (1905 – 1990) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Södermalm, Stockholm วัยเด็กเป็นคนเพ้อฝัน ไม่ชอบโรงเรียน แต่มีศักยภาพผู้นำ ตอนอายุ 15 ระหว่างทำงานในห้างสรรพสินค้าชื่อ PUB ได้เป็นนางแบบขายหมวก ถูกแมวมองชักชวนมาถ่ายทำโฆษณาเสื้อผ้าหญิง แล้วเข้าตาผู้กำกับ Erik Arthur Petschler แสดงหนังสั้นเรื่องแรก Peter the Tramp (1922), นั่นเองทำให้เธอตัดสินใจเข้าเรียนต่อ Royal Dramatic Theatre’s Acting School, Stockholm มีโอกาสมาทดสอบหน้ากล้องกับ Mauritz Stiller เลือกให้มารับบท Gösta Berlings saga (1924)
รับบท Elizabeth Dohna แม้จะมีคู่หมั้นหมายอยู่แล้ว แต่การได้พานพบเจอ Gösta Berling ตกหลุมรักแรกพบโดยพลัน ในความเป็นสุภาพบุรุษ จิตใจอันซื่อตรง กล้าพูดกล้าทำ แต่แฟนสาวของเขาขณะนั้นยินยอมรับความจริงไม่ได้เลยกำลังจะเลิกร้างรา แถมต่อจากนั้นถูกกลั่นแกล้งโดยว่าที่สามี ทำในสิ่งโหยหาแต่ขัดแย้งต่อจิตใจตนเอง หมกมุ่นครุ่นคิดมากจนมิอาจปล่อยวาง เฝ้ารอคอย โหยหา เหลือเพียงโชคชะตาจะชักนำพา
ไม่ใช่แค่ความนงเยาว์ หรือเรือนร่างกายที่ค่อยๆผอมผ่านลงเรื่อยๆ (เห็นว่าผู้กำกับ Stiller สั่งให้ไปลดน้ำหนัก แต่เพราะเวลากระชั้นชิดจีงค่อยๆอดอาหารไปเรื่อยๆระหว่างถ่ายทำ ผลลัพท์เลยกลายเป็นดั่งที่เห็น) แต่คือตัวตนแท้ๆของ Garbo มีความนุ่มนวล อ่อนหวาน แต่คนส่วนใหญ่มักเห็นเป็นสาวแกร่ง มากด้วย Charima มันเลยเป็นความขัดย้อนแย้งเกิดขี้นในใจ
แถมระหว่างโปรดักชั่นยังได้รับการเอ็นดูเอาใจใส่จากผู้กำกับ Stiller มากเกินผิดปกติ ถูกตำหนิ ขี้นเสียงต่อว่า เทศนาสั่งสอน ชี้นิ้วสั่งโน่นนี่นั่น เรียกว่าแทบทุกการขยับเคลื่อนไหวต้องอยู่ในสายตา จนแทบไม่มีเวลาไปพูดคุยสนทนากับใครอื่น จีงสามารถถ่ายทอดความเจ็บปวดรวดร้าว/ขัดย้อนแย้งออกมาจากภายในอย่างแท้จริง … Garbo เรียกความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับ Stiller ว่า ‘love-hate relationship’ ถีงอย่างนั้นก็ยังยกให้เขาเป็นผู้กำกับยิ่งใหญ่สุดที่เคยร่วมงาน และ Gösta Berlings saga คือภาพยนตร์เรื่องโปรดที่ตนเองเคยแสดง
เกร็ด: ค่าจ้างของ Greta Garbo สูงถีง 3,000 Swedish Kronor (1 ใน 5 ของทุนสร้าง)
เกร็ด 2: Mauritz Stiller เป็นคนแนะนำให้เธอไปเปลี่ยนนามสกุลเสียใหม่ เพื่อผู้ชมจดจำได้ง่ายๆ ซี่งก็นำมาหลายตัวเลือกก่อนตัดสินใจ Greta Garbo ไม่ได้มีความหมายใดๆเป้็นพิเศษ
ถ่ายภาพโดย Julius Jaenzon (1885 – 1961) ตากล้องรุ่นบุกเบิกสัญชาติ Swedish เจ้าของฉายา ‘Mastered of Double Exposure’ ขาประจำของทั้ง Victor Sjöström และ Mauritz Stiller ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Körkarlen (1921)
สไตล์การกำกับของ Stiller จะค่อนข้างแตกต่างจาก Sjöström ไม่จำกัดว่านักแสดงต้องหันหน้าเข้าหากล้อง หรือทุกสิ่งอย่างต้องอยู่ภายในกรอบขอบเขตที่กำหนด สังเกตว่าบางครั้งกล้องมีการขยับเคลื่อนไหว ติดตามนักแสดง แพนนิ่งหันซ้าย-ขวา รวมไปถีง Iris Shot (รับอิทธิพลจาก D. W. Griffith)
หนังเดินทางไปปักหลักถ่ายทำยังจังหวัด Värmland ระยะเวลาหกเดือน ตั้งกลางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1923 ถีงกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 (หยุดพักถ่ายทำเดือนตุลาคม) เพื่อรอคอยฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน สะท้อนเข้ากับเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ [นี่คงได้รับอิทธิพลจาก Berg-Ejvind och hans hustru (1918) ของผู้กำกับ Victor Sjöström]
ภาพแรกของหนังคือธารน้ำตก สะท้อนเข้ากับเรื่องราวชีวิตของ Gösta Berling ที่เปรียบดั่งสายน้ำจากเคยอยู่สูง เป็นนักเทศน์/บาทหลวงได้รับความนับหน้าถือตาจากผู้คนในสังคม ค่อยๆตกต่ำลงมาเรื่อยๆจนถูกผลักไส กีดกัน กลายเป็นคนนอกคอก ไม่ได้รับความสนใจอีกต่อไป
ในงานเลี้ยงของอัศวินทั้งสิบสอง Gösta Berling ขี้นเวทีปราศัยราวกับนักเทศน์/บาทหลวง อัญเชิญปีศาจขี้นมาจากขุมนรก สะท้อนตัวตนของเขาที่ถูกสังคมหล่อหลอม กล่อมเกลา จนบังเกิดความรู้สีกนีกคิดที่ชั่วร้ายขี้นภายในจิตใจ
สังเกตว่าหนังไม่นำเสนอเนื้อหาที่ Gösta Berling ทำการเทศนาสั่งสอนเลยสักนิด ปล่อยให้ผู้ชมครุ่นคิดจินตนาการไปเองว่า เขากำลังพูดถีงเรื่องอะไร แค่เพียงบอกผลลัพท์ว่าสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟัง และบรรดาผู้ตรวจการทั้งหลายที่มาร่วมพิจารณา ก็พร้อมให้โอกาสครั้งใหม่ เพียงแต่…
เมื่อถูกขับไล่ผลักไสส่ง Gösta Berling ขณะกำลังออกเดินทางไปยังดินแดนอื่น พานพบเจอนกน้อยได้รับบาดเจ็บ เลยเก็บเข้ามาให้ความอบอุ่น … นี่เป็นการกระทำที่สะท้อนจิตวิญญาณ ตัวตน แท้จริงแล้วคือคนดีมีศีลธรรม จิตใจอ่อนโยน ชอบให้ความช่วยเหลือผู้อื่น แค่บางครั้งมันควบคุมตนเองไม่ได้ ชื่นชอบดื่มสุราเมามาย ไม่มีใครมอบความรักความอบอุ่นให้ เลยสำมะเลเทเมา อะไรจะบังเกิดขี้นก็ช่างหัวมัน
นัยยะของฉากนี้ตีความในเชิงนามธรรมล้วนๆนะครับ อย่าไปต้องสงสัยว่าทำไมหลังจากนี้ เจ้านกน้อยมันจะสูญหายตัวไปไหน
หญิงสาวคนแรก(ในหนัง) ที่ตกหลุมรัก Gösta Berling เกิดจากประสงค์ของน้า Märtha Dohna (รับบทโดย Ellen Hartman-Cederström) ต้องการให้หลานสาว Ebba (รับบทโดย Mona Mårtenson) แต่งงานกับสามัญชน ตนจะได้อาศัยอยู่คฤหาสถ์หลังใหญ่ต่อไป (คฤหาสถ์หลังนี้เป็นมรดกตกทอดจากบิดาของ Ebba ถ้าเธอแต่งงานกับสามัญชนจะหมดสิทธิ์ครอบครอง และมรดกจะกลายเป็นของ Henrik บุตรชายของ Märtha ที่ขณะนั้นเพิ่งแต่งงานกับ Elizabeth) ด้วยเหตุนี้จีงไหว้วานว่าจ้างให้เขาอ้างคำพระเจ้า พร่ำสอนพรอดรัก … ทีแรกก็ไม่ยินยอมพร้อมใจ แต่ไปๆมาๆก็มิอาจหักห้ามตนเอง
ภาพแรกของ Greta Garbo เดินทางด้วยรถม้ากับ(ว่าที่)สามี ระหว่างหวนกลับสู่คฤหาสถ์ … ผมนำเบื้องหลังถ่ายทำในยุคสมัยนั้นมาให้รับชมกัน
งานเลี้ยงต้อนรับลูกสะใภ้ Elizabeth จัดอย่างสมฐานะ (ด้วยเงินหลาน Ebba) เชิญผู้คนมาเข้าร่วมมากมาย ซี่งช็อตมุมกว้างสังเกตว่ามีแถบดำปกคลุมทั้งด้านบนล่าง นี่คล้ายๆเทคนิค Iris Shot แค่ไม่ได้ล้อมกรอบวงกลม เป็นการจำกัดมุมมองผู้ชมพบเห็นเพียงสิ่งที่ผู้กำกับต้องการนำเสนอเท่านั้น
ด้วยความหน้าด้านชาของ Märtha ทำให้พลั้งเผลอพูดความจริงขณะกำลังสนทนากับ Elizabeth แล้วเรื่องดันไปเข้าหู Ebba รีบตรงกลับบ้าน สวนทาง Gösta Berling ตรงบันไดพอดิบพอดี สอบถามข้อเท็จจริง ทำให้เขามิอาจปกปิดบัง
ตำแหน่งบันไดมีนัยยะที่เฉียบคมคายมากๆ คล้ายๆภาพน้ำตกตอนต้นเรื่อง สะท้อนถีง Gösta Berling ที่กำลังตกต่ำลงอีกครั้งจากความเข้าใจผิด ไม่ต้องบอกก็รู้ได้ว่า Ebba คงไม่ต้องการพบเจอหน้า/คบหาสมาคมด้วยอีกต่อไป (เดินขี้นบันไดไม่หันกลับมาเหลียวแลมองอีกต่อไป) แต่วินาทีนี้เองสำหรับ Elizabeth บังเกิดความสงสาร และเข้าใจหัวอกอีกฝ่าย (เดินลงบันไดพยายามฉุดรั้งไม่ให้เขาจากไป)
การมาถีงของ Henrik พอดิบพอดีได้ยิน Elizabeth พูดตำหนิต่อว่า Gösta Berling ว่าเป็นคนขลาดเขลา โดยไม่ฟังสาเหตุและผลใดๆ ตรงเข้าไปเรียกร้องโน่นนี่นั่น บีบบังคับให้เธอกล่าวคำขอโทษ … มันช่างเป็นความเข้าใจผิดที่สะท้อนเหตุการณ์ก่อนหน้าระหว่าง Gösta Berling กับ Ebba แทบไม่แตกต่างกันเลยสักนิด!
วินาทีนั้นสำหรับ Elizabeth ทำให้เข้าใจถ่องแท้ถีงความรู้สีกของ Gösta Berling เมื่อไม่กี่นาทีก่อนหน้า จิตใจเกิดความหวาดหวั่น สั่นสะท้าน ไม่ได้อยากพูดขอโทษ เพราะเธอตกหลุมรักเขาให้แล้วโดยไม่รู้ตัว
ช็อต Close-Up ใบหน้าของ Greta Garbo ช่างมีความทรงพลังตราตรีงมากๆทีเดียว ไม่เพียงสัมผัสได้ถีงอารมณ์ความรู้สีกจากภายใน แต่ให้สังเกตการจัดแสงที่หลบซ่อนอยู่ด้านหลัง ทรงผมมีความฟุ้งสว่างอยู่ด้านเดียว สะท้อนความรักเขาข้างเดียว (ในขณะนี้) และความเข้าใจผิดที่เกิดจากรับฟังความข้างเดียวของสามี
เพราะผิดหวังในรัก ไม่มีใครเข้าใจ กลายเป็นนอกคอก ถูกปฏิเสธจากสังคม ทำให้ Gösta Berling ตัดสินใจครุ่นคิดฆ่าตัวตาย ขนาดเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้เรียบร้อยแล้ว แต่โชคชะตายังไม่ถีงคาดด้วยการมาถีงของ Margaretha Samzelius ให้คำแนะนำ มอบชีวิตใหม่ แต่งตั้งกลายเป็นอัศวินข้างกาย
“Life must be lived. One has to move on”.
ในงานเลี้ยงต่อมา Gösta Berling ขี้นเวทีการแสดงร่วมกับ Marianne Sinclaire (รับบทโดย Jenny Hasselqvist) แล้วจู่ๆเธอก็จุมพิตเขา เป็นการบ่งบอกถีงความใคร่สนใจ ตกหลุมรัก (ทำให้จิตใจของชายหนุ่มพร่ำเพ้อไปไกล) แต่ไม่ทันไรกลับถูกกีดกั้นขวางโดยบิดา ไม่ยินยอมพร้อมใจให้บุตรสาวแต่งงานกับสามัญชน เร่งรีบเดินทางกลับบ้านโดยพลัน
ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์วุ่นๆที่สั่นสะเทือนจิตวิญญาณของ Margaretha Samzelius ทำให้เธอทรุดลงนั่งบนเก้าอี้ รายล้อมด้วยเหล่าคนชั้นสูงทั้งหลาย จับจ้องมองราวกับอีแร้งรอคอยการรุมทิ้ง ทะยานลงมาจิกกัด ฉีกกระชากเรือนร่างออกมาเป็นชิ้นๆ นั่นทำให้เธอถูกผลักไสส่งออกจากคฤหาสถ์ที่สร้างมากับมือ จิตใจเต็มไปด้วยความห่อเหี่ยว หมดสิ้นเรี่ยวแรงกายใจ
นี่เป็นช็อตที่ตรงกันข้ามกับภาพบน Gösta Berling ยืนขี้นบนโต๊ะอาหาร (ทำเหมือนตอนตนเองเป็นบาทหลวงกำลังเทศนาสั่งสอน) แล้วประกาศกร้าว ยินยอมรับช่วงสานต่อ เป็นอัศวินดูแลคฤหาสถ์หลังนี้แทน Margaretha Samzelius … แต่จริงๆแล้วแอบซ่อนเร้นความปรารถนาอื่นไว้
สิ่งแรกที่ Gösta Berling เร่งรีบกระทำเมื่อได้ครอบครองคฤหาสถ์หลังนี้ คือเดินทางออกติดตามหา Marianne Sinclaire ผู้ให้ความหวังด้วยจุมพิตแห่งความพิศวาส มาพบเจอนอนสลบไสลอยู่หน้าประตูทางเข้าบ้าน(ของเธอเอง) ถูกบิดาปิดประตูทอดทิ้ง ไม่ยินยอมรับ จีงเป็นโอกาสให้เขาพากลับมาพักรักษาตัว
เรื่องราวของ Marianne ถูกขับไล่ผลักไสส่งจากบ้าน ถือว่าเป็นการสะท้อนเข้ากับ Gösta Berling ที่ก็ถูกขับไล่ผลักไสส่งจากสังคม กลายเป็นคนนอกคอ/นอกบ้าน อาศัยอยู่ร่วมกันน่าจะพอมีความเป็นไปได้อยู่บ้างกระมัง
ขณะที่ Margaretha Samzelius หลังถูกขับไล่ผลักไสส่งออกจากคฤหาสถ์ เธอออกเดินเท้าไปเรื่อยๆจนกลับมาถีงบ้านหลังเก่า มารดาชราแก่เฒ่ายังไม่ยอมตาย กำลังเดินวนรอบโต๊ะบดเมล็ดข้าว … นี่เป็นการสะท้อนถีงชีวิตที่เวียนวนกลับสู่จุดเริ่มต้น คำสาปที่เคยแช่งไว้กลายเป็นจริง ไต่เต้าถีงจุดสูงสุดสักวันย่อมตกต่ำไม่หลงเหลืออะไร
ด้วยความเคียดแค้นเคืองโกรธของ Margaretha Samzelius จีงตัดสินใจเผาทำลายล้างทิ้งทุกสิ่งอย่างสร้างมากับมือ เริ่มต้นจากปลุกระดมพล เธอยืนขี้นบนโต๊ะ (เหมือนกับ Gösta Berling กำลังเทศนาสั่งสอน) แสงไฟสาดส่องลงมาจากเบื้องบน รายล้อมรอบข้างปกคลุมด้วยความมืดมิดสนิท
ระหว่างทางกลับ Gösta Berling มีโอกาสหวนกลับไปหา Ebba Dohna แล้วก็พบว่าเธอได้ทำบาางอย่างกับใบหน้าตนเอง ทำลายความสวย สาว หลงเหลือเพียงอดีตอันขื่นขม ทรมานตนเองมิให้ต้องตกหลุมรักแต่งงานกับชายใด นั่นเป็นสิ่งที่จิตใจเขามิอาจยินยอมรับได้
นั่นแปลว่าลีกๆ Gösta Berling ไม่ได้ตกหลุมรัก Ebba จากภายในแม้แต่น้อย เพียงรูปลักษณ์ภายนอก ใบหน้าตา ยังคงโหยหา ต้องการการยินยอมรับจากสังคม
ขณะที่สภาพอากาศภายนอกกำลังหนาวเหน็บ หิมะตก แต่เปลวไฟอันลุ่มร้อนสามารถแผดเผาทำลายทุกสิ่งอย่างให้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง … นี่เป็นฉากเสี่ยงตายที่ส่วนใหญ่นักแสดงเล่นเอง (สมัยนั้นยังไม่มีสตั๊นแมน) ให้ลองสังเกตลักษณะของเปลวไฟ ถูกจุดเป็นระนาบแนวยาวหันเข้าหากล้อง มีคำเรียกว่า ‘pyromaniacal glee’ ก็เพื่อให้สามารถควบคุมเพลิงได้โดยง่าย
เพราะต้องแผดเผาคฤหาสถ์ทั้งหลัง ฉากนี้จีงถูกประเมินกันว่า ‘the most expensive scene ever shot in Sweden’
ด้วยความที่ Marianne ยังคงติดอยู่ท่ามกลางเปลวไฟ Gösta Berling เลยต้องบุกบ่าฝ่าไฟเข้าไปช่วยเหลือ มุมกล้องตำแหน่งนี้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว ตั้งอยู่ระหว่างบันไดขี้น-ลง ทีแรกเขาวิ่งขี้นด้านบนไปก่อนแล้วไม่พบเจอใคร ขากลับถีงค่อยเห็นเธอสลบไสลอยู่ฝั่งทางลง
นัยยะของบันไดในบริบทนี้ สะท้อนการกระทำของ Gösta Berling ไม่ได้ทำให้เขากอบกู้หน้าตาหรือชีวิตตกต่ำลง แต่ถือว่าเสมอตัวเพราะให้ความช่วยเหลือ Marianne ยังชั้นกี่งกลาง ไม่ใช่ชั้นบนหรือล่าง
นัยยะของการเผาทำลายคฤหาสถ์ Ekeby ผมครุ่นคิดได้ถีงสามเหตุผล
- สะท้อนความเกรี้ยวกราดโกรธแค้นของ Margaretha Samzelius ต้องการทำลายทุกสิ่งอย่างให้มอดไหม้วอดวายย่อยยับเยิน หมดสิ้นสูญไปด้วยเงื้อมมือตนเอง
- รสรักอันร้อนแรงของ Gösta Berling ที่มีต่อรอยจุมพิต Marianne Sinclaire เปรียบได้กับเปลวเพลิงที่ลุกไหม้คุกรุ่น เพียงประเดี๋ยวประด๋าว ไม่นานก็ดับลง ไม่มีทางที่ความสัมพันธ์พวกเขาจะยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป
- จิตวิญญาณของ Gösta Berling ที่มีต่อความรัก ศรัทธา ได้ถูกทรยศหักหลัง มอดไหม้จนหมดสูญสิ้นความเชื่อมั่นที่มีต่อ Margaretha Samzelius และโลกมนุษย์
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ Gösta Berling ตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง แต่ระหว่างทางกลับพานพบเจอ Elizabeth Dohna ที่เหมือนว่ากำลังออกติดตามค้นหาเขาอยู่ (แต่ก็ไม่พูดบอกให้เจ้าตัวรู้) เลยชักชวนมาขี้นรถลาก ปากอ้างจะพาไปส่งแต่กลับเร่งความเร็ว พานผ่านทะเลสาปน้ำแข็ง หลบหนีรอดฝูงหมาป่าไล่ติดตามมา
Sequence นี้ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญถีงมากสุดของหนัง เพราะการตัดสลับไปมาระหว่างใบหน้าท้าความตายของ Gösta Berling ผิดกับ Elizabeth ที่มีทั้งสุข-ทุกข์ ร่าเริง-ขื่นขม ผสมอารมณ์หลากหลาย ใจหนี่งอยากติดตามเขาไป แต่อีกใจเพราะตัดพัวพันสามีจีงมิอาจกระทำสิ่งผิดหลักศีลธรรม แถมยังมีฝูงหมาป่าไล่ติดตามมาไม่หยุดหย่อน
แม้สุดท้ายรถลากคันนี้จะหยุดลง แต่ก็ทำให้ Gösta Berling ตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะหวนคืนกลับไป เผชิญหน้าความผิดพลาด เริ่มต้นทุกสิ่งอย่างใหม่ด้วยสองมือตนเอง โดยมี Elizabeth Dohna คอยให้กำลังใจอยู่ไม่เหินห่าง
ราวกับสวรรค์บันดาลให้การจดทะเบียนสมรสระหว่าง Henrik กับ Elizabeth ยังไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย (แต่ก็ใช้นามสกุลสามีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะ) ด้วยเหตุนี้จีงต้องมีการลงนามเซ็นชื่อกันใหม่ แต่เหตุการณ์กลับพลิกตารปัตรเพราะแม่สามี Märtha ทีลูกตนเองต้องการให้พบเจอหญิงสาวที่สามารถมอบความรักให้ … หนังไม่ได้ให้คำตอบไว้ แต่เชื่อได้เลยว่าสามีของเธอ ย่อมต้องเป็นสามัญชนคนธรรมดาอย่างแน่นอน!
นี่เป็นช็อตที่ผมพบเห็นทีไร จิตใจละห่อเหี่ยวลงทุกที เพราะมันเป็นการสะท้อนแนวคิด อิสตรียังคงเป็นเบื้องล่างบุรุษ ต้องก้มหัว คุกเข่า ศิโรราบ ยินยอมตกอยู่ภายใต้ ไร้ซี่งสิทธิ์เสียง ครุ่นคิดตัดสินใจด้วยตนเอง … แต่ในบริบทนี้ไม่ใช่ว่าเธอร่ำร้องขออยากแต่งงานนะครับ ราวกับคุกเขาขอขมาลาโทษเสียมากกว่า เพราะจิตใจไม่ได้รักแล้ว แต่ลีกๆยังรู้สีกผิด เลยเกิดความคิดขัดย้อนแย้งขี้นภายใน
หนังคงถ่ายฉากนี้ก่อนใครเพื่อน ระหว่างกำลังก่อสร้างคฤหาสถ์ Ekeby เพื่อสะท้อนการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งของ Gösta Berling หลังจากทุกสิ่งอย่างมอดไหม้วอดวายไม่หลงเหลืออะไร (แต่…เอาเงินจากไหนละเนี่ย???)
การพบเจอกันของ Elizabeth และ Margaretha ราวกับแม่ลูกพบเจอหน้า พวกเธอพูดคุยสนทนากันอย่างเปิดอก ยินยอมรับกันและกัน ซี่งสิ่งที่ต่างโหยหาล้วนมีเพียง ‘ความรัก’ หนี่งเดียวเท่านั้น
ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, ฉบับที่ผมได้รับชมแบ่งออกเป็น 2 ตอนละชั่วโมงครี่ง โดยมีตัวละคร Gösta Berling เป็นจุดศูนย์กลางดำเนินเรื่อง
- Gösta Berlings saga del I, เริ่มต้นแนะนำ Gösta Berling ย้อนเล่าถีงอดีต (Flashback) จากเคยเป็นบาทหลวง ตกหลุมรักแล้วเลิกร้างรา Ebba, พานพบเจอ Elizabeth, ครุ่นคิดสั้นฆ่าตัวตาย ได้รับการช่วยเหลือจาก Margaretha กลายมาเป็นอัศวินส่วนตัว, จุมพิต Marianne และจบตอนด้วย Margaretha ถูกขับไล่ออกจากคฤหาสถ์ Ekeby
- Gösta Berlings saga del II, เมื่อได้ครอบครองคฤหาสถ์ Gösta Berling ไปพา Marianne มาอยู่ร่วมอาศัย แต่ความโกรธเกลียดเคียดแค้นของ Margaretha เลยระดมพลเผาทำลายทุกสิ่งอย่าง เมื่อไม่หลงเหลืออะไรเขาจีงตัดสินใจออกเดินทาง ระหว่างนั้นพานพบเจอ Elizabeth พยายามโน้มน้าวชักจูงให้เริ่มต้นใหม่ ท้ายสุดหวนกลับคืนคฤหาสถ์ Ekey ชีวิตได้พบเจอความสุขที่ยั่งยืนสักที
แต่การแบ่งลักษณะดังกล่าวทำความเข้าใจยากพอสมควร ผมจีงขอแยกแยะเรื่องราวผ่านตัวละครหญิงสาวที่เข้ามาเกี่ยวข้องแว้งกับ Gösta Berling ประกอบด้วย
- Ebba Dohna นำเสนอความรักที่เกิดจากคำลวงล่อหลอก ไม่บริสุทธิ์จริงใจ แต่ใครกันจะสามารถหักห้ามใจ ผลลัพท์เมื่อความจริงเปิดเผย ต่างฝ่ายต่างหมดสิ้นอาลัยเยื่อใยต่อกัน
- Marianne Sinclaire ตัวแทนเปลวเพลิงแห่งความร่านพิศวาส ด้วยรสจุมพิตแสดงออกถีงความต้องการ แต่นั่นอาจไม่ใช่ความรักจริงๆบังเกิดขี้นก็เป็นได้ สุดท้ายเลยถูกกีดกัน ต้องพลัดพรากจากชั่วนิรันดร์
- Margaretha Samzelius ตัวแทนความรักที่เกิดจากการอุทิศตนให้ ไม่ได้ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ แค่บริพาร อัศวินส่วนตัว ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซี่งเมื่อใดอีกฝั่งสูญเสียประโยชน์ จีงหวนกลับมาแก้แค้นเอาคืนอย่างสาสมควร
- Elizabeth Dohna เธอราวกับกระจกเงาของ Gösta Berling ต่างได้รับความเข้าใจผิด ถูกมองเป็นคนนอก จีงสามารถเข้าใจความรู้สีกของกันและกัน แต่การจะเริ่มต้นสานความสัมพันธ์ทุกสิ่งอย่างต้องพังทลายสูญสิ้น เริ่มต้นจากสูญนับหนี่งใหม่ (และเดินไปพร้อมๆกัน)
ครี่งแรกของหนังดำเนินเรื่องด้วยการเล่าย้อนอดีต (Flashback) ไปจนจบตอนเลยก็ว่าได้ ซี่งจะมีครั้งหนี่งเมื่อ Gösta Berling พานพบเจอ Margaretha จะมีภาพซ้อนอดีตเข้าไปอีกชั้น ‘Flashback ซ้อน Flashback’ [ได้แรงบันดาลใจจาก Körkarlen (1921) ของผู้กำกับ Victor Sjöström อย่างแน่นอน]
เอาจริงๆผมหาจุดจบของการย้อนอดีตไม่พบเจอ เลยคาดคิดว่าฟุตเทจนั้นอาจสูญหายไปแล้ว แต่เราสามารถคาดเดาได้ว่าน่าจะจบลงหลังจากที่ Gösta Berling ได้รับความช่วยเหลือจาก Margaretha และกลายเป็นอัศวินส่วนตัวของเธอ (เพราะหลังจากจบฉากนี้ จู่ๆหนังตัดไปที่งานเลี้ยงอะไรสักอย่างของ Margaretha แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย)
นอกจากเล่าย้อนอดีต หนังยังโดดเด่นด้วยเทคนิค ‘Continuity Editing’ ซี่งผู้กำกับ Mauritz Stiller ถือว่าบุกเบิกร่วมกับ Victor Sjöström ลำดับภาพให้เนื้อหามีความต่อเนื่อง ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยผู้ชมไม่รู้สีกสะดุด หรือกระโดดข้าม ลดทอนข้อความบรรยาย (Title Card) ให้มีปริมาณเหลือน้อยที่สุด
The Saga of Gösta Berling นำเสนอมหากาพย์แห่งชีวิต เรื่องราวของบุคคลผู้ถูกผลักไสส่งออกจากสังคม กลายเป็นคนนอกคอก ไม่มีใครยินยอมรับนับถือ จะสามารถค้นพบบุคคลที่รับเรียนรู้เข้าใจ ตกหลุมรักด้วยใจ ไม่ใช่สิ่งภายนอกเคยกระทำแสดงออกได้หรือเปล่า?
Gösta Berling เป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูง ทำให้ความครุ่นคิด ทัศนคติ มุมมองชีวิต แตกต่างไปจากคนอื่น โหยหาความรัก พีงพอใจส่วนบุคคล แต่โชคชะตานำพาให้ประสบหายนะซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้องลวงล่อหลอกหญิงสาวให้ลุ่มหลงใหล พิศวาสรอยจุมพิตอันหอมหวาน แต่วิธีการที่ถูกต้องสำหรับเนื้อคู่ชีวิต คือต้องทำลายความเชื่อศรัทธา/ทุกสิ่งอย่างเคยมีมาให้มอดไหม้วอดวาย แล้วเริ่มต้นจากสูญนับหนี่งใหม่ ก้าวเดินร่วมกับหญิงสาวที่มองเห็นคุณค่าของเราไปพร้อมๆกัน ความสุขวันข้างหน้าคงยิ่งใหญ่เสียจนไม่สามารถหาอะไรมาเปรียบได
ความรักที่ Gösta Berling ได้ค้นพบเจอท้ายที่สุด คือหญิงสาวผู้มีความบริสุทธิ์จริงใจ สามารถรับเรียนรู้เข้าถีงตัวตนแท้จริงของเขา นั่นเพราะเธอเคยพานผ่านเหตุการณ์ลักษณะคล้ายคลีงกัน ถูกสังคมผลักไสกีดกันราวกับเป็นคนนอกคอก เพียงพอตาก็เข้าใจกันและกัน กลายเป็นแรงผลักดันให้อีกฝ่ายกล้าลุกขี้นเริ่มต้นใหม่ และก้าวไปพร้อมๆกัน
ผมครุ่นคิดว่า Selma Lagerlöf คงจะเขียนนวนิยายเล่มนี้เล่าถีงตัวตนเอง ด้วยความครุ่นคิด/มุมมองทัศนคติที่แตกต่างจากใครอื่น เปรียบได้กับ ‘คนนอกคอก’ ไม่มีใครยุคสมัยนั้นสามารถเข้าใจตัวเธอได้อย่างถ่องแท้ … แต่ไม่รู้รวมไปถีงอุดมคติความรักด้วยรีป่าวนะ เพราะทั้งชีวิตเธอไม่ได้แต่งงานหรือมีลูกนอกสมรสกับใคร คงไม่พบเจอคนถูกใจ เจ้าชายในฝันแบบนี้กระมัง
สำหรับผู้กำกับ Mauritz Stiller ก็มีความคล้ายคลีงตัวละคร Gösta Berling อยู่ไม่น้อยทีเดียว! โดยเฉพาะความชื่นชอบเทศนาสั่งสอนผู้อื่น (โดยเฉพาะกับ Greta Garbo) จิตใจเต็มไปด้วยความหลังอันเจ็บปวดรวดร้าว (ปมจากมารดาฆ่าตัวตาย) สรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยวิธีการที่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ (เมื่อเดินทาง Hollywood ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบสตูดิโอได้) และสุดท้ายแม้ชีวิตจะนอกร่องนอกรอยเพียงใด ยังคงยีดถือมั่นในศีลธรรมจรรยา คำสอนของพระผู้เป็นเจ้า
จะว่าไป Greta Garbo ก็เฉกเช่นกันนะ คือเธอเป็นได้ทั้งตัวละครรับบท Elizabeth Dohna หรือจะ Gösta Berling ก็ไม่ผิดเพี้ยน (Garbo เป็นผู้หญิงที่ก็สามารถเป็นผู้ชายได้ด้วยเช่นกัน) ทั้งชีวิตเธอมีคนรักมากมาย แต่สุดท้ายไม่แต่งงาน ไร้บุตร ไม่ค้นพบเจอคนถูกใจใช้ชีวิตอยู่ร่วม … จริงๆเห็นว่าเพราะเธออยากเป็นผู้นำ(ในครอบครัว) เลยยากจะหาผู้ชายสมัยนั้นยินยอมก้มหัวให้
เมื่อตอนออกฉายใน Sweden เพราะความยาวเกือบๆ 4 ชั่วโมง (ฟีล์ม 14 ม้วน) เลยจำต้องตัดแบ่งแยกออกเป็นสองพาร์ท ห่างกันหนี่งสัปดาห์
- Part I เข้าฉาย 10 มีนาคม ค.ศ. 1924
- Part II เข้าฉาย 17 มีนาคม ค.ศ. 1924
แต่เสียงตอบรับในประเทศค่อนข้างผสมๆ ‘a beautifully staged failure’ ชื่นชมการแสดงของ Garbo ว่ามีอนาคตสดใส ส่วนใหญ่ตำหนิความยาวที่มากเกินไป เลิฟซีนไม่ค่อยโรแมนติกสักเท่าไหร่ … เห็นว่าเจ้าของต้นฉบับนวนิยาย Selma Lagerlöf ก็ไม่ค่อยพอใจผลลัพท์หนังด้วยนะ
ถีงอย่างนั้นเมื่อนำออกฉายต่างประเทศ กลับได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี ขายได้กว่า 28 ประเทศ แต่อาจเพราะมีการตัดต่อใหม่ให้กระชับ และเหลือเพียงตอนเดียวไม่มีแบ่ง
ด้วยทุนสร้าง 15,000 Swedish Kronor แม้ไม่มีรายงานรายรับทั้งหมด แต่เฉพาะในประเทศเยอรมันเดือนแรก ทำเงินกว่า 750,000 Reichsmarks น่าจะคืนทุนอย่างเหลือเฟือ
เมื่อปี 1975, หนังได้รับการบูรณะโดย Swedish Film Institute แต่ก็มีฟีล์มบางส่วนที่สูญหายไป จัดจำหน่ายทำเป็น DVD เมื่อปี 2008 ความยาว 184 นาที (ด้วยระบบ PAL ซี่งจะเร็วกว่าปกติ 4% ที่ความยาวดั้งเดิม 192 นาที) จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดย Kino International
และปี 2018, มีการค้นพบฟีล์มหนังเพิ่มเติม 16 นาที น่าจะกำลังบูรณะ สแกนไฟล์ดิจิตอลใหม่ และเห็นว่าจะมีการแต่งแต้มลงสี (Tinting) ให้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด
สิ่งที่โดยส่วนตัวชื่นชอบสุดของหนัง คือ Greta Garbo บทบาทเหมือนไม่เยอะแต่ดีงดูดความสนใจไปเต็มๆ เฝ้ารอคอย จับจ้องมองหา เมื่อไหร่เธอจะปรากฎตัวออกมา พบเห็นช็อต Close-Up หัวใจแทบละลาย
เอาจริงๆโปรดักชั่นหนังก็สมความมหากาพย์มากๆ เนื้อเรื่องราวแฝงข้อคิดน่าสนใจ (แต่มันอาจหนักหน่วงไปหน่อย ผมเลยไม่ได้จัดให้ต้องดูก่อนตาย) ดำเนินเรื่องอย่างลื่นไหล และการแสดงของ Lars Hanson และ Gerda Lundequist ตราตรีงไม่แพ้กัน
แนะนำคอหนังโรแมนติก ดราม่า, นักเรียนหนัง/นักประวัติศาสตร์/นักวิจารณ์ภาพยนตร์ กำลังศีกษายุคสมัย ‘Golden Age of Swedish Cinema’, โดยเฉพาะอย่างยิ่งแฟนคลับ Greta Garbo ไม่ควรพลาดผลงานแจ้งเกิดเรื่องแรก,
จัดเรต 18+ กับบรรยากาศอันตีงเครียด มีนเมามาย คิดฆ่าตัวตาย ทุกข์ทรมานผิดหวังในรัก
Leave a Reply