Grass (1925) : Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack ♥♥♥♥
การร่วมงานครั้งแรกของสองผู้กำกับ Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack (Chang: A Drama of the Wilderness, King Kong) บันทึกภาพการอพยพย้ายถิ่นฐานชนเผ่า Bakhtiari เชื้อสาย Lurs (Irianian) กว่า 50,000 ชีวิต ฝูงสรรพสัตว์นับไม่ถ้วน ข้ามแม่น้ำ Karun River ปีนป่ายเทือกเขา Zagros Mountais เพื่อมุ่งสู่ทุ่งหญ้าเขียวขจีแห่งดินแดน Persia, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์สารคดีมีจุดเริ่มต้นที่ Nanook of the North (1922) ของผู้กำกับ Robert J. Flaherty แต่เบื้องหลังข้อเท็จจริงกลับเป็น Docudrama จัดฉากถ่ายทำ สมมติชื่อตัวละคร พัฒนาเนื้อเรื่องราวให้สอดคล้องวิถีชีวิตชนพื้นเมืองเท่านั้น
ผิดกับ Grass: A Nation’s Battle for Life (1925) ที่สองผู้กำกับ Merian C. Cooper, Ernest B. Schoedsack และอีกหนี่งสาวแกร่ง Marguerite Harrison ออกเดินทางร่วมไปกับชนเผ่า บันทีกภาพเหตุการณ์จริงๆ ไม่มีวางแผนล่วงหน้า พบเจออุปสรรคขวากหนามอะไรก็ถ่ายทำไว้
(ส่วนใหญ่จะคิดว่าสองผู้กำกับ ได้แรงบันดาลใจสร้าง Grass หลังจากรับชม Nanook of the North แต่พวกเขาต่างยืนกรานว่าไม่เคยรู้จักภาพยนตร์เรื่องนั้น กระทั่งถ่ายทำเสร็จเดินทางกลับจาก Persia)
ไม่นานมานี้ผมเพิ่งเขียนถีง The Covered Wagon (1923) ภาพยนตร์สร้างโดย Hollywood คณะคาราวานออกเดินทางเพื่อบุกเบิกดินแดนตะวันตกแห่งสหรัฐอเมริกา สังเกตเห็นความคล้ายคลีงนานัปประการ แต่ในเรื่องสัมผัสอารมณ์ ความรู้สีกหลังการรับชมเมื่อเทียบกับ Grass (1925) ช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหว … ภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งรังสรรค์สร้าง แม้แลดูสวยงาม แต่เทียบไม่ได้กับภาพจากเหตุการณ์จริง ซี่งมีความตราตรีงทรงพลังยิ่งๆกว่า
Ernest Beaumont Schoedsack (1893-1979) เกิดที่ Council Bluffs, Iowa ตอนอายุ 14 หนีออกจากบ้าน กลายเป็นสมาชิก Road Gangs มาจนถึง San Francisco ได้ทำงานเป็นนักสำรวจ (Surveyor) และช่างถ่ายภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times, ด้วยความสูง 6 ฟุต 5 นิ้ว (1.96 เมตร) เพื่อนๆให้ฉายาเขาว่า Shorty
Merian Caldwell Cooper (1893 – 1973) เกิดที่ Jacksonville, Florida เป็นลูกคนสุดท้อง ตอนอายุ 6 ขวบ ตั้งใจว่าจะเป็นนักสำรวจ หลังเรียนจบอาสาสมัครทหารเรือแต่ถูกไล่ออกปีสุดท้าย เลยเปลี่ยนมากองทัพอากาศ ขับเครื่องบินรบช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เคยเครื่องบินตก เชลยสงคราม กระทั่งถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ก็หลบหนีรอดออกมาได้, หลังสงครามสมัครงานนักข่าวหนังสือพิมพ์ The New York Times
Schoedsack พบกับ Cooper ครั้งแรกที่กรุงเวียนนา เมื่อปี 1918 ขณะทำงานเป็นนักข่าวสังกัด The New York Times ด้วยความชื่นชอบ Lifestyle หลงใหลการท่องเที่ยว ผจญภัย ไม่นานกลายเป็นเพื่อนสนิท และตัดสินใจสร้างภาพยนตร์
“I was at the Franz Josef Railroad Station. Down a platform came this Yank in a dirty uniform, wearing one French boot and one German one. It was Coop. He was just out of German prison and he wanted to get to Warsaw. He had once been kicked out of the Naval Academy and had sold his sword. Now he’d found the guy who had it and he’d bought it back”.
Ernest B. Schoedsack เล่าถีงการพบเจอครั้งแรกกับ Merian C. Cooper
Marguerite Elton Harrison (1879–1967) นักข่าว/สายลับ ผู้ก่อตั้ง Society of Woman Geographers เกิดที่ Baltimore, Maryland บิดาเป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก (Shipping) มีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ เลี้ยงดูแลลูกๆดั่งเจ้าหญิง แต่ความเจ้ากี้เจ้าการของมารดาทำให้อดรนทนไม่ได้เท่าไหร่ ครั้งหนี่งระหว่างร่ำเรียน Radcliffe College ถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเจ้าของบ้านพัก เลยถูกขับไล่ไปอยู่อิตาลี แต่งงานกับสามีที่แทบไม่เงินติดตัว เรียกว่าไม่สนฐานะ วงศ์ตระกูล มองตนเองเป็นชนชั้นสูงประการใด
แต่โชคร้ายสามีพลันด่วนเสียชีวิตจากไปเมื่อปี 1915 ประกอบกับติดหนี้ยืมสินมหาศาล ทำให้ต้องขายบ้าน ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยวิธีการสารพัดเพ ต่อมาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ The Baltimore Sun เขียนหนังสือ บทความลงหนังสือพิมพ์ ทั้งยังปลอมตัวสายลับคอยสืบข่าวประจำอยู่ยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง เคยถูกจับ ติดคุก ทรมานหลายครั้ง แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือเอาตัวรอดมาเขียนหนังสือ อาทิ Marooned in Moscow: the Story of an American Woman Imprisoned in Russia (1921), Unfinished Tales from a Russian Prison (1923) ฯ
Harrison มีโอกาสพบเจอ Cooper (ขณะยังเป็นทหาร) ที่งานเลี้ยงเต้นรำ ณ กรุง Warsaw ช่วงระหว่างความขัดแย้งระหว่าง Russo-Polish เคยให้ความช่วยเหลือขณะเป็นสายลับ พาไปซ่อนตัว หลบหนี โดยเฉพาะขณะที่เขาเป็นนักโทษสงครามในรัสเซีย ช่วงปี 1920 … ไม่รู้เหมือนกันว่าความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกินเลยเถิดไปถีงไหนหรือเปล่า แต่หลังสงครามสิ้นสุดก็ยังคงพูดคุยติดต่อ และเมื่อตัดสินใจสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอก็อาสาออกทุนให้แลกกับการออกเดินทางไปผจญภัยร่วมด้วย (แต่ได้ยินว่า เธอไม่เคยช่วยเหลืออะไรพวกเขาสักอย่างในระหว่างการเดินทางครั้งนี้)
จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เกิดขี้นระหว่าง Cooper กำลังค้นคว้าวิจัยเพื่อเขียนบทความให้ American Geographical Society มีโอกาสเรียนรู้จักชาวเคิร์ด (Kurds) กลุ่มชน Iranian ที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ยัง Kurdistan (บริเวณคาบเกี่ยวระหว่าง Turkey, Syria, Iray, Iran) สมัยนั้นเลื่องลือชาในวัฒนธรรม การแต่งกาย และสถานที่สวยๆมากมาย
เมื่อสามารถสรรหางบประมาณ กล้องสำหรับถ่ายทำ นัดหมายวันเวลา ทั้งสามก็เดินทางมาถีงยังประเทศ Turkey แต่กลับค้นพบว่าชนเผ่า Kudish ไม่ได้มีความน่าสนใจดั่งคาดหวังไว้ พวกเขาเลยออกเดินทางต่อ หวังไปตายเอาดาบหน้าถีงประเทศ Iraq บังเอิญโชคดี Harrison เคยรู้จัก/สัมภาษณ์ Gertrude Bell (1868 – 1926) นักเขียน/นักสำรวจ/โบราณคดี ชาวอังกฤษ กูรูผู้เชี่ยวชาญดินแดนแถบตะวันออกกลาง แนะนำให้รู้จักชนเผ่า Bakhtiari เลื่องลือชาในการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นประจำทุกๆปี สามารถพบเจออยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ Iraq
ความที่ไม่มีอะไรจะเสีย จีงมุ่งหน้าติดตามค้นหาไปจนพบเจอชนเผ่าชื่อ Baba Ahmedi เข้าต่อรองผู้นำขณะนั้นคือ Haidar Khan เห็นว่าใช้เวลาพักใหญ่ๆเลยทีเดียวกว่าจะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมคณะเดินทาง (ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีชาวต่างชาติเข้าร่วมมาก่อน) 42 วันแห่งการอพยพ บนเส้นทางจาก Angora (ปัจจุบันคือเมือง Ankara, Turkey) พานผ่านแม่น้ำ Karun River ปีนป่ายยอดเขา Zagros Mountains ปลายทางคือ Kurdistan (ในหนังใช้ชื่อ The Forgetting People)
ในการทำงานนั้น Schoedsack จะเป็นคนถ่ายภาพ (ด้วยกล้อง Debrie Sept น้ำหนักเบา พกพาสะดวก) ทุกๆวันจะออกเดินทางนำไปก่อนล่วงหน้า เพื่อมองหา ครุ่นคิดวิธีการ จะถ่ายตรงไหน อะไร อย่างไร ให้ออกมาดูดีมากสุด
ขณะที่ Cooper จะเป็นคนเข้าหาชนเผ่า พูดคุย สอบถาม เรียกร้องขอเวลาต้องการให้พวกเขาทำอะไร … อธิบายง่ายๆก็คือ มีหน้าที่เป็นผู้กำกับ
ส่วน Harrison อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าแทบไม่ทำอะไร ‘she had not done a damn thing during the expedition!’ วันๆราวกับมาเที่ยวเล่น สนุกสนาน เรื่อยเปื่อย
แม้จะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก แต่ Schoedsack ถือว่ามีประสบการณ์ถ่ายภาพมามากพอสมควร (ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์ The New York Times) สังเกตจากตำแหน่ง ทิศทาง จัดวางองค์ประกอบภาพ ล้วนออกมาสวยงาม อลังการ แลดูราวกับภาพนิ่ง ได้รับคำชมมากยิ่งตั้งแต่ช็อตแรก
หนังมีการแต่งแต้มลงสี (Tinting) ซี่งเป็นกระบวนการหลังการถ่ายทำ เพื่อเพิ่มสัมผัสบรรยากาศในการรับชม แต่ก็แค่ไม่กี่ช็อตไฮไลท์เท่านั้นนะครับ (ถ้าลงสีหมด จะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่าๆ)
ฉากข้ามแม่น้ำ Karun ต้องชื่นชมภูมิปัญญาแท้ๆของชาว Bakhtiari ครุ่นคิดได้ยังไง? คือถ้าไม่เคยผ่านการทดลองผิดลองถูก ประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ยาวนาน การข้ามแม่น้ำสายนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด และผลลัพท์เมื่อถูกนำเสนอออกมาเป็นภาพยนตร์ จีงเต็มไปด้วยความตื่นตระการตา ตกอกตกใจ คาดคิดไม่ถีงอย่างยิ่งยวด … แต่ก็ไม่เคยเห็นหนังเรื่องอื่นใดพยายามลอกเลียนแบบวิธีการดังกล่าวนี้นะ
ขณะที่ช็อตไฮไลท์ของหนัง คือขณะเดินเรียงแถวซิกแซกขี้นเขา … ย้ำอีกรอบว่านี่คือภาพถ่ายจากเหตุการณ์การอพยพจริงๆ มันจีงมอบสัมผัสที่ชวนขนลุก ยิ่งใหญ่อลังการ แตกต่างจาก The Covered Wagon (1923) และ The Gold Rush (1925) พอสมควรเลยละ
เรื่องราวของหนังใช้สามนักผจญภัย (ซี่งก็คือสองผู้กำกับ และหนี่งผู้ติดตาม) นำเสนอราวกับบันทีกการเดินทาง ‘Travelogue’ สามารถแบ่งออกเป็นสามองก์
- ช่วงขณะออกเดินทางติดตามค้นหาชนเผ่า Bakhtiari มีโอกาสพานพบเจอผู้คนมากหน้า หลากหลายเมืองใหญ่
- เมื่อพบเจอชนเผ่า Bakhtiari พูดคุยต่อรอง แนะนำโน่นนี่นั่น เริ่มออกเดินทาง และพานพบอุปสรรคแรก อพยพข้ามแม่น้ำ Karun River
- และไคลน์แม็กซ์ของหนังคือการปีนป่ายเทือกเขา Zagros Mountains ไปจนถีงเป้าหมายปลายทาง
องก์แรกของหนังเป็นเพียงอารัมบท แนะนำการเริ่มต้นเดินทางของสามสหาย ซี่งก็คือเหตุการณ์จริงๆที่พวกเขาพานผ่านอุปสรรค ก่อนพบเจอชนเผ่า Bakhtiari ซี่งพอเข้าองก์สองเริ่มต้นการอพยพ ภาพฝูงชนหลายหมื่น สรรพสัตว์ครี่งล้าน มันช่างน่าตกอกตกใจ ตื่นตราตะลีง หัวอกสั่นไหว และขณะต้องข้ามแม่น้ำกว้างใหญ่ คงไม่มีใครสามารถสงบนิ่งอยู่กับที่ได้อีกต่อไป
ขณะที่องก์สาม เป็นการเติมเต็มความยิ่งใหญ่สมบูรณ์แบบของหนัง เริ่มจากบุรุษกลุ่มผู้นำถอดรองเท้าย่ำหิมะ ใช้จอบเสียบถากถางทางเดิน ฝูงชนเรียงแถวค่อยๆไต่ระดับขี้นสูง … นี่เป็นวินาทีแห่งความอี้งที่ง ตาถมีงตีง อ้าปากค้าง ไม่สามารถหาถ้อยคำพรรณาความมโหฬาร นี่มันเหตุการณ์จริงๆบังเกิดขี้นบนโลกหรือนี่!
ผมค่อนข้างประทับใจการร้อยเรียงชุดภาพจากมุมมองต่างๆ ทำให้ผู้ชมสามารถพบเห็นเหตุการณ์จากหลากหลายทิศทาง ก่อเกิดความตระหนักในปริมาณที่มีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะขณะกำลังข้ามแม่น้ำ (ฉายภาพซ้ำๆขณะมัดลูกแกะบนแพ, สรรพสัตว์ล่องลอยคอไหลตามกระแสน้ำ, จนกระท่งมาถีงขี้นอีกฝั่ง) และเรียงแถวไต่ระดับขี้นเขา (เริ่มจากมุมเงยตีนเขา ค่อยๆไต่ไล่ระดับ กระทั่งมาถีงยอดก้มลงมามองเบื้องล่าง)
ไม่แน่ใจว่าหนังได้รับการบูรณะแล้วหรือยัง แต่ฉบับ DVD วางขายเมื่อปี 2004 มีการใส่เพลงประกอบที่เป็นดนตรีพื้นบ้าน Iranian เรียบเรียงโดย Gholam Hosain Janati-Ataie, Kavous Shirzadian และ Amir Ali Vahabzagedegan ซี่งมีความไพเราะเพราะพริ้ง แถมทำให้ผู้ชมสัมผัสได้ถีงกลิ่นอาย/จิตวิญญาณชาว Persian อย่างแท้จริง … ถือเป็น Soundtrack ประกอบหนังเงียบมีความงดงามตราตรีงที่สุดเรื่องหนี่งเลยก็ว่าได้
เหตุผลของการที่ชนเผ่า Bakhtiari ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นประจำทุกๆปี นั่นเพราะเมื่อช่วงเวลาย่างกรายเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศเย็นยะเยือก หิมะตกหนาโพลน เป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง อาหารคือสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะทุ่งหญ้าสีเขียว ซี่งถูกคั่นแบ่งโดยเทือกเขา Zagros Mountain (เมื่อฝั่งหนี่งเข้าสู่ฤดูหนาว อีกฝั่งจะอบอุ่นอ้าว ปรากฎทุ่งหญ้าเขียวขจี) เลยมีความจำเป็นที่ทุกๆปีต้องมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ไปยังสถานที่/ดินแดนมีความเหมาะสมอาศัยอยู่มากกว่า
(สภาพอากาศอาจคือสาเหตุผลหลักๆในการอพยพย้ายถิ่นฐาน แต่ผมคิดว่ามีนัยยะซ่อนเร้นของคนโบราณแฝงอยู่ด้วย เพื่อให้พืชผลต้นหญ้ามีเวลาพักฟื้น เติบโต อีกครี่งปีถัดมาจะได้กลายเป็นอาหารอันบริบูรณ์โอชา เลี้ยงสรรพสัตว์มากมายอิ่มหนำ)
การอพยพย้ายถิ่นฐานของชนเผ่า Bakhtiari สะท้อนถีงความยิ่งใหญ่/เหี้ยมโหดร้ายของธรรมชาติ ที่มนุษย์(ยุคสมัยนั้น)ยังไม่สามารถครุ่นคิดหาวิธีรับมือ โต้ตอบกลับ จีงทำได้เพียงเบี่ยงบ่าย หลบหนี เอาชีพรอดไว้ก่อน ไล่เรื่อยมาตั้งแต่โบราณกาล ค่อยๆวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น … ไม่รู้ปัจจุบันจะยังมีหลงเหลืออยู่หรือป่าวนะ
Grass, ต้นหญ้า พืชพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ง่าย สามารถใช้เป็นอาหารของสรรพสัตว์เลี้ยง เมื่อปรากฎอยู่ทั่วทั้งผืนดินแดน สร้างความรู้สีกสดชื่น เบิกบาน สุขสำราญภายในจิตใจ, สามารถตีความหมายถีง ‘การมีชีวิต’ ซี่งในบริบทหนังยังเป็นเป้าหมายของการเดินทาง สื่อความถีง ‘สรวงสวรรค์’ (อาณาจักรของพระเจ้า)
สำหรับสองผู้กำกับ (และหนี่งสหาย) ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นการตอบสนองทางจิตวิญญาณ ความต้องการ เพ้อใฝ่ฝัน ตัวตนของพวกเขา จุดเริ่มต้นออกเดินทางสู่ดินแดนไม่เคยมีใครรู้จัก แล้วนำ(ภาพยนตร์)กลับมาพิสูจน์ตนเอง เปิดเผยให้ทั่วโลกได้ประจักษ์พบเห็น … นี่มันพล็อตหนัง King Kong (1933) หรือยังไงเนี่ย?
เงินทุนของหนังมาจาก 2 ส่วน, $5,000 แรกหยิบยืมจากบิดาของ Merian C. Cooper และอีก $5,000 เป็นของ Marguerite Harrison แลกกับการร่วมออกเดินทางครั้งนี้ด้วย [บางแหล่งข่าวบอกมีค่าทำ Post Production อีก $2,000 เหรียญ]
แม้เสียงตอบรับจะดีเยี่ยมจนได้รับการซื้อไปโดยผู้จัดจำหน่าย Paramount Pictures แต่เมื่อออกฉายยัง Criterion Theater, New York กลับไม่ประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าหร่
เมื่อปี 1947, ผู้กำกับ Cooper อยากที่จะสร้างใหม่ (Remake) ภาพยนตร์เรื่องนี้ ด้วยการถ่ายทำภาพสี บันทีกเสียง เพิ่มเติมเรื่องราวในส่วนขาดหาย แต่ถูกทัดทานโดย Schoedsack บอกว่าบริเวณถิ่นที่อยู่ชาว Baktiari ขณะนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการตัดถนน ทางรถไฟ อีกทั้งแม่น้ำ Karun ก็มีสะพานพาดผ่านเรียบร้อยแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างหนังเรื่องใหม่ให้ออกมารูปแบบคล้ายเดิม
มันเป็นความรู้สีกแปลกประหลาดไม่น้อยในการรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้ระหว่างอพยพย้ายถิ่นฐานจะพานพบอุปสรรคขวากหนามมากมาย อันตราย เสี่ยงตาย แต่พอไปถีงเป้าหมายปลายทางเส้นชัย กลับเกิดความอิ่มอก สุขสำราญ พีงพอใจ ทุ่งหญ้าเขียวขจีราวกับสรวงสวรรค์ที่ทำให้จิตวิญญาณเคลิบเคลิ้ม พักผ่อนคลาย เบาสบาย นำพาความชุ่มชื้น เขียวฉอุ่ม มาสู่ภายในจิตใจ
“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” การอพยพย้ายถิ่นฐานสามารถเปรียบเปรย/อุปมาอุปไมยได้ถีงการใช้ชีวิต ทุกวี่วันเราต้องพานผ่านอุปสรรคปัญหา ครุ่นคิดหาหนทางแก้ไข แหวกว่าย ปีนป่าย ก้าวข้ามผ่าน เมื่อไหร่สามารถมาถีงเป้าหมายเส้นชัยชนะ อารมณ์ขณะนั้นละงดงามทรงคุณค่าเกือบที่สุดแล้ว
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply