Hairspray (1988) : John Waters ♥♥♥♡
สนุกสนานไปกับกิจกรรมเต้นรำ ไม่ว่าไซส์ไหน สีผิวอะไร ชัยชนะของ Tracy Turnblad (รับบทโดย Ricki Lake) จุดประกายการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม เฉลิมฉลองการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration)
ผมมีความสนอกสนใจ Hairspray (1988) มาตั้งแต่ตอนเขียนถึงหนังเพลงเมื่อหลายปีก่อน รวมถึงความประทับใจจากเคยรับชมฉบับสร้างใหม่ Hairspray (2007) ตอนนั้นโคตรฉงนสงสัยว่าทำไม John Travolta ต้องแต่งหญิง อวบอ้วน สะดีดสะดิ้ง (แต่ก็ต้องชมว่าแสดงออกมาได้อย่างสมจริง)
ระหว่างค้นหาข้อมูลเพื่อเขียนถึง Pink Flamingos (1972) ผมแอบตกตะลึงว่าทำไมผกก. John Waters ที่เลื่องชื่อในรสนิยม ‘bad taste’ สรรค์สร้างหนังใต้ดิน (Underground film) ถึงมีโอกาสกำกับหนังเพลงสุดฮิตอย่าง Hairspray (1988) แถมได้รับกระแสคัลต์ติดตามมาอีกต่างหาก?
แต่หลังจากรับชมหลายๆผลงานของผกก. Waters ตั้งแต่ ‘Trash Trilogy’ มาจนถึง Polyester (1981) ก็ทำให้ผมมองเห็นวิวัฒนาการ เข้าใจความต้องการที่ไม่ได้อยากสรรค์สร้างหนังแนวเดียวกันไปจนวันตาย! Hairspray (1988) จึงพยายามทำออกมาให้เป็นภาพยนตร์เข้าถึงง่าย ไร้มลพิษภัย รับชมได้ทุกเพศวัย หวนระลึกความทรงจำสมัยเด็ก ลุกขึ้นมาสนุกสนานโยกเต้น และเฉลิมฉลองการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration)
แม้หนังจะดูสนุกสนาน โยกเต้นสุดมันส์ แต่ผมรู้สึกว่าจำนวนบทเพลงมีมากเกิน (ในอัลบัมมีอยู่ 12 เพลง แต่ใช้จริงจำนวน 28 เพลง!) ทำให้เรื่องราวไม่ค่อยคืบหน้า ขาดความต่อเนื่องลื่นไหล 90 นาทียังรู้สึกว่าเยิ่นยาวนานไป … ในส่วนนี้รู้สึกว่าฉบับสร้างใหม่ Hairspray (2007) ทำออกมาได้กลมกล่อมลงตัวกว่า
John Samuel Waters Jr. (เกิดปี 1946) ศิลปิน นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ได้รับการเลี้ยงดูแบบ Roman Catholic แต่ตั้งแต่รับชม Lili (1953) เกิดความหลงใหลหุ่นเชิดสไตล์ Punch and Judy (ที่ชอบใช้ความรุนแรง), วัยเด็กสนิทสนมกับ Glenn Milstead (หรือ Divine) หลังได้รับของขวัญวันเกิด กล้อง 8mm จากคุณยาย ร่วมกันถ่ายทำหนังสั้น Hag in a Black Leather Jacket (1964), ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Mondo Trasho (1969), ตามด้วย Multiple Maniacs (1970)
Waters (และผองเพื่อน) ชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง เล่นยา มั่วกาม รสนิยมรักร่วมเพศ (เป็นเกย์เปิดเผย) กระทำสิ่งนอกรีตนอกรอย ไม่สนห่าเหวอะไรใคร หลงใหลวัฒนธรรม Counter-Cultural (ทำในสิ่งต่อต้านจารีตสังคม) กำไรจากภาพยนตร์หมดไปกับสิ่งอบายมุขทั้งหลาย
แซว: ผกก. Waters มีสองเอกลักษณ์ติดตัว คือชอบไว้หนวดดินสอ (เหมือนเอาดินสอมาขีดเป็นหนวด) และกิริยาท่าทางมีคำเรียกว่า ‘Camp Personality’ ไม่ต่างจากตัวละครในภาพยนตร์ ดูดัดจริต โอเว่อวังอลังการ
We are polar opposites when it comes to our politics, religious beliefs. But that’s what I loved about the whole trip. It was two people able to agree to disagree and still move on and have a great time. I think that’s what America’s all about.
John Waters
ความสนใจของ Waters ต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอด้านมืดของมนุษย์ มีความสกปรกโสมม ต่ำตม อาจม ท้าทายขนบกฎกรอบสังคม โดยรับอิทธิพลจากผู้กำกับหนังใต้ดินอย่าง Kenneth Anger, Andy Warhol, Mike & George Kuchar ฯ
To me, bad taste is what entertainment is all about. If someone vomits watching one of my films, it’s like getting a standing ovation. But one must remember that there is such a thing as good-bad taste and bad-bad taste. It’s easy to disgust someone; I could make a ninety-minute film of someone getting their limbs hacked off, but this would only be bad-bad taste and not very stylish or original. To understand bad taste, one must have very good taste. Good-bad taste can be creatively nauseating but must, at the same time, appeal to the especially twisted sense of humor, which is anything but universal.
ผกก. Waters ได้แรงบันดาลใจ White Lipstick (ชื่อโปรเจคก่อนเปลี่ยนเป็น Hairspray) จากเหตุการณ์จริงเคยเกิดขึ้นใน Baltimore, Maryland ช่วงทศวรรษ 50s-60s ถือเป็นรัฐที่สนับสนุนการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration) อันดับต้นๆของสหรัฐอเมริกา … แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีกลุ่มคนต่อต้านนะครับ
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดในรายการเต้นรำท้องถิ่น The Buddy Deane Show จัดโดย Winston ‘Buddy’ Deane (1924–2003) ฉายทางช่อง WJZ-TV (Channel 13) ระหว่างปี ค.ศ. 1957-64 ออกอากาศวันละสองชั่วโมงครึ่ง หกวันต่อสัปดาห์ (เป็นรายการท้องถิ่นได้รับความนิยมที่สุดในสหรัฐอเมริกา!) ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจากคนหนุ่ม-สาว ทั้งผิวขาว-ดำ โดยจัดวันหนึ่งให้กับ ‘Negro Day’ แต่อีกห้าวันที่เหลือถูกเจ้าของสถานีสั่งห้ามออกอากาศคนผิวสี!
ด้วยความสำเร็จเล็กๆของ Polyester (1981) ทำให้โปรดิวเซอร์ Robert Shaye ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ New Line Cinema มีความไว้เนื้อเชื่อใจผกก. Waters ให้การอนุมัติโปรเจคทุนสร้างหลักล้าน Hairspray (1988) เพราะเชื่อว่าหนังเพลงที่มีฉากเต้นเจ๋งๆกำลังมาแรง และกระแสนิยมเคยฮิตของ The Buddy Deane Show น่าจะช่วยให้หนังประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
เกร็ด: หนังเพลงที่มีฉากเต้นเจ๋งๆ กำลังได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ 70s-80s เริ่มจาก Saturday Night Fever (1977), Grease (1978), Fame (1980), Flashdance (1983), Footloose (1984), Dirty Dancing (1987) ฯ
เมื่อปี ค.ศ. 1962 ณ Baltimore, Maryland เรื่องราวของเด็กสาวร่างท้วม Tracy Turnblad (รับบทโดย Ricki Lake) มีความเพ้อใฝ่ฝันอยากเป็นนักเต้นออกรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show วันหนึ่งหลังจากแสดงความสามารถเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับเลือกจากคณะกรรมการ ‘The Committee’ สร้างความอิจฉาริษยาให้ Amber Von Tussle (รับบทโดย Colleen Fitzpatrick) คู่แข่งอันดับหนึ่ง หมายมั่นปั้นมือ พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะ
Tracy มีเพื่อนสนิท Penny Pingleton แม้ไม่ได้มีความสามารถด้านการเต้น แต่ตกหลุมรักเพื่อนชายผิวสี Seaweed J. Stubbs เลยถูกต่อต้านจากครอบครัว แสดงความรังเกียจเดียดฉันท์ (Racism) นั่นทำให้สองสาวร่วมสนับสนุนการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration) เป็นเหตุให้ถูกโจมตีจาก Amber (ที่ก็รังเกียจคนผิวสี) จนเกือบพลาดโอกาสคว้ารางวัล Miss Auto Show 1963
Ricki Pamela Lake (เกิดปี 1968) นักแสดง/ผู้จัดรายการโทรทัศน์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Hastings-on-Hudson, New York ในครอบครัวเชื้อสาย Jewish ระหว่างกำลังเข้าศึกษา Ithaca College มาทดสอบหน้ากล้อง Hairspray (1988) ได้รับเลือกบทบาท Tracy Turnblad แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที
รับบทสาวอวบ Tracy Turnblad มีความเพ้อใฝ่ฝันอยากเป็นนักเต้นออกรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show หลังจากแสดงความสามารถ พิสูจน์ตนเอง จนได้รับเลือกออกรายการโทรทัศน์ โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นตัวแทนวัยรุ่นหนุ่ม-สาว ไม่ว่าไซส์ไหน สีผิวอะไร ตราบมีความพยายาม มุ่งมั่น ตั้งใจจริง สักวันต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
นักแสดงวัยรุ่นแทบทั้งหมดในหนัง ล้วนได้รับคัดเลือกจากความสามารถด้านการเต้นรำ สำหรับ Lake แม้รูปร่างอวบอ้วน แต่ยังสามารถออกท่วงท่าได้อย่างคล่องแคล่ว พริ้วไหว ดูเป็นธรรมชาติ (รูปร่างหน้าตาละม้ายคล้าย Divine อย่างมากๆ) และด้วยสายตามุ่งมั่น ชวนฝัน ไม่หวาดหวั่นกลัวเกรงอะไร สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวละคร สามารถเป็นตัวแทนวัยรุ่นหนุ่ม-สาวยุคสมัยนั้นได้จริงๆ
ความสำเร็จของ Hairspray (1988) ทำให้เธอมีงานแสดงติดต่อเข้ามามากมาย ก่อนผันตัวกลายเป็นผู้จัดรายการทอล์คโชว์ Ricki Lake (1993-2004) และ The Ricki Lake Show (2012-13) ถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยละ!
เมื่อปี ค.ศ. 2020, Lake ได้โพสภาพลงสื่อสังคมออนไลน์ ให้เห็นว่าเธอกำลังประสบปัญหาผมร่วง อันเนื่องจากสภาวะซึมเศร้า ลดน้ำหนัก ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการใช้สารเคมีย้อมผมเมื่อตอนวัยรุ่น “I went from Hairspray to Hairless” รู้สึกอับอาย เคยครุ่นคิดสั้นอยากจะฆ่าตัวตาย แต่พอนึกถึงคำแนะนำของ Divine ทำให้ปัจจุบัน “I am liberated. I am free. I am releasing and letting go. I am brave. I am beautiful. I am love”
เกร็ด: Ricki Lake เล่าว่ามีเพียงชุดเดียวจากภาพยนตร์ Hairspray (1988) ที่เธอสามารถเก็บกลับมาจากกองถ่าย ในฉากระหว่างถ่ายทำโฆษณา Hefty Hideaway
This dress has been in a bag for 34 years. This is my original dress that I model, I wear it in the Hefty Hideaway… It changed my entire life, it opened every door for me. John Waters also mentored me in a way [that] I think I stayed pretty humble and grounded through these years.
Ricki Lake
Divine ชื่อจริง Harris Glenn Milstead (1945-88) นักร้อง/นักแสดงชาย สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Baltimore, Maryland ในครอบครัวชนชั้นกลาง (Upper Middle-class) ได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามใจจนร่างกายอวบอ้วน เลยมักถูกเพื่อนๆกลั่นแกล้ง ล้อเลียน (Body Shaming) ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง, พออายุ 15 ระหว่างทำงานพาร์ทไทม์ร้านดอกไม้ ค้นพบรสนิยมชื่นชอบแต่งหญิง (Drag) โปรดปรานนักแสดง Elizabeth Taylor, ด้วยความสนิทสนม John Waters มาตั้งแต่เด็ก ได้รับการชักนำพาเขาสู่แวดวง Counter-Cultural รวมถึงตั้งชื่อ Divine (นำจากตัวละครในหนังสือ Our Lady of the Flowers (1943))
รับบท Edna Turnblad มารดาของ Tracy มอบความรัก ความอบอุ่น บางครั้งอาจมีเข้มงวดกวดขันอยู่บ้าง แต่พร้อมให้การสนับสนุน ช่วยเหลือผลักดัน ได้ทำในสิ่งที่ชื่นชอบ เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน
และอีกบทบาท Arvin Hodgepile เจ้าของสถานีโทรทัศน์ ผู้มีความรังเกียจเดียดฉันท์คนผิวสี (Racism) ต่อต้านการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Segregation) พยายามบีบบังคับไม่ให้รายการ The Corny Collins Show ออกอากาศนักเต้นคนดำ แต่สุดท้ายก็มิอาจต้านทานการเปลี่ยนแปลงของสังคม
เกร็ด: ความตั้งใจดั้งเดิมของผกก. John Waters อยากให้ Divine รับบททั้งมารดาและบุตรสาว Edna & Tracy Turnblad แต่โปรดิวเซอร์ไม่เห็นชอบสักเท่าไหร่ อายุอานามของเธอขณะนั้น 40+ ก็เกินวัยไปมากแล้วด้วย
นี่คือผลงานการแสดงเรื่องสุดท้ายของ Divine ก่อนเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Attack) เพียงสามสัปดาห์หลังหนังออกฉาย (ระหว่างกำลังออกทัวร์โปรโมทหนังอยู่พอดี) แต่ผมค่อนข้างรู้สึกเสียดาย เพราะเป็นสองบทบาทสมทบที่ไม่ได้โดดเด่นอะไร (เมื่อเทียบกับหลายๆผลงานก่อนหน้า), Edna เป็นมารดาที่ใครต่อใครรักใคร่ ตรงกันข้ามกับ Arvin คือตัวละครที่ใครต่อใครรังเกียจชัง เลยได้เสียงชื่นชมจากการเล่นสองบทบาทขั้วตรงข้าม … และอาจเพราะคือบทบาทสุดท้ายของ ‘Drag Queen’ ผู้กลายเป็นตำนานแห่งยุคสมัยด้วยกระมัง
เอาจริงๆ Divine ก็มีความสามารถด้านการร้อง-เล่น-เต้น โดดเด่นไม่แพ้ใคร แต่น่าเสียดายไม่มีฉากที่เธอลุกขึ้นมาโยกเต้น ยกเว้นตอนจบนิดๆหน่อยๆ (เห็นว่าติดสัญญากับค่ายเพลง Sire Record เลยไม่สามารถมีส่วนร่วมใดๆ) … ผมคุ้นๆว่าฉบับสร้างใหม่ Hairspray (2007) พบเห็นหลายฉากที่ John Travolta (ตัวตายตัวแทนของ Divine) ลุกขึ้นมาร้อง-เล่น-เต้น เพิ่มความสนุกสนานเร้าใจ (Travolta โด่งดังจากการเป็นนักเต้นมาตั้งแต่ Saturday Night Fever (1977), Grease (1978) ฯ)
เกร็ด: ไม่ใช่แค่บทบาท Edna Turnblad แต่ยังคือนักแสดง Divine ที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวละคร Ursula the Sea Witch ตัวร้ายจากอนิเมชั่น The Little Mermaid (1989) รวมถึงฉบับภาพยนตร์ The Little Mermaid (2023) รับบทโดย Melissa McCarthy ก็เคยให้สัมภาษณ์ชื่นชม รับอิทธิพลจากหม่อมแม่เช่นเดียวกัน
ถ่ายภาพโดย David Insley จากเคยเป็นผู้ช่วยตากล้อง Female Trouble (1974), Desperate Living (1977), ได้รับโอกาสจากผกก. John Waters ถ่ายทำภาพยนตร์ Polyester (1981), Hairspray (1988), Cry-Baby (1990) ฯ
ด้วยความที่เป็นหนังวัยรุ่น งานภาพมีความสว่าง สีสันสดใส เต็มไปด้วยชีวิตชีวา แตกต่างจาก Polyester (1981) ที่ใช้กล้อง Hand-Held ภาพออกมาสั่นๆ (สะท้อนถึงวิกฤตครอบครัวที่กำลังแตกร้าว), Hairspray (1988) ด้วยงบประมาณสูงขึ้น จึงสามารถใช้เครน ราง ดอลลี่ ทำให้งานภาพมีความลื่นไหล (แต่มันก็ดูปลอมๆไปเสียทุกสิ่งอย่าง)
ไม่รู้เป็นเฉพาะผมหรือเปล่านะ, แม้ว่าเรื่องราวของหนังพยายามผลักดันให้ตัวละคร Tracy Turnblad มีความโดดเด่น เก่งกาจในลีลาท่าเต้น แต่งานภาพของหนังกลับไม่ทำให้เธอเฉิดฉายสักเท่าไหร่ ดูกลมกลืนเข้ากับพื้นหลัง/ใครต่อใครรอบข้าง (เพียงไซส์ของเธอที่สังเกตเห็นได้เด่นชัดเจน)
โปรดักชั่นถ่ายทำช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ค.ศ. 1987 และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ไม่ใช่แค่ถ่ายทำใน(บ้านเกิดผกก. Waters) Baltimore, Maryland แต่ยัง Allentown, Pennsylvania
- โรงเรียน Perry Hall High School ตั้งยู่ Perry Hall, Maryland
- สวนสนุก Dorney Park & Wildwater Kingdom ตั้งอยู่ Allentown, Pennsylvania
หลายคนอาจไม่ชอบขี้หน้า Amber Von Tussle (รับบทโดย Colleen Fitzpatrick) ทำตัวราวกับเจ้าหญิง มีความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตัวเอง ครุ่นคิดว่าเก่ง ดื้อรั้นเอาแต่ใจ ชอบทำตัวหัวสูง แถมยังแสดงพฤติกรรมรังเกียจคนดำ (Racism)
แต่สังเกตจากห้องนอนสีชมพูที่เต็มไปด้วยรูปวาด ตุ๊กตา (ชวนให้นึกถึงบาร์บี้ขึ้นมา) แถมถูกมารดาบีบบังคับให้ฝึกซ้อมเต้นรำ ชี้นิ้วสั่งให้ทำโน่นนี่นั่น เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเธอได้รับการปลูกฝัง เสี้ยมสอนสั่ง ถูกครอบครัวควบคุมครอบงำมาตั้งแต่เด็ก มันจึงไม่ใช่ความโฉดชั่วร้ายของเธอเพียงคนเดียว แต่รวมถึงสภาพแวดล้อมเติบโตขึ้นมาด้วย!
เอาจริงๆผมไม่รับรู้จักทั้ง Beatnik cat (รับบทโดย Ric Ocasek นักร้อง/นักกีตาร์วง The Cars) และ Beatnik chick (รับบทโดย Pia Zadora นักร้อง/นักแสดงเด็ก) แต่พบเจอเกร็ดหนังว่าผกก. Waters ตอนแรกต้องการให้ Pia Zadora รับบท Amber Von Tussle แต่เธอคิวงานไม่ว่าง เลยชักชวนมารับเชิญถ่ายทำฉากนี้สองวัน แค่นี้แหละ!
ผกก. John Waters รับเชิญในบทนักจิตวิทยา Dr. Fredrickson แต่ดูเหมือนหมอปลอมเสียงมากกว่า (Quack Psychiatrist) พยายามจะสะกดจิต Penny Pingleton ให้เลิกคบหาแฟนหนุ่มผิวสี (เพราะครอบครัวต่อต้านการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Segregation))
Wilbur, it’s the times. They’re a-changing. Something’s blowing in the wind.
Edna Turnblad
คำกล่าวของ Edna หลายคนน่าจะคาดเดาได้ว่าเป็นการอ้างอิงถึงบทเพลง Blowin’ In The Wind (1962) ของ Bob Dylan ยุคสมัยนั้นกำลังอยู่ในกระแสนิยมพอดิบดี!
ผมละยอมใจกับมารดาของ Amber ชื่อว่า Velma Von Tussle (รับบทโดย Debbie Harry) สวมใส่วิกผมทรงสูงเหมือนแจกัน เพื่อสามารถแอบยัดระเบิดเวลา ถ้าบุตรสาวพ่ายแพ้งานประกวด Miss Auto Show ก็จะจุดชนวนใส่ Tracy Turnblad แต่ความอุตสาหะได้หวนย้อนกลับหาตนเอง ไม่รู้ลืมหรืออุบัติเหตุ จู่ๆระเบิดเกิดทำงาน กลายเป็นจรวดพุ่งตกใส่ศีรษะ Amber แทนมงกุฎดอกไม้ผู้ชนะ
นอกจากเพื่อความตลกขบขัน วิกผมยังล้อกับชื่อหนัง Hairspray (ใช้สเปรย์ตกแต่งทรงผมให้ดูเว่อวังอลังการ) และความสูงส่งของมันแฝงนัยยะความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตนเอง ครุ่นคิดว่าฉันยิ่งใหญ่เหนือใคร แต่สุดท้ายความฝันก็พังทลาย ทุกสิ่งอย่างสูญสลายไปในพริบตา
ตัดต่อโดย Janice Hampton, หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองเด็กสาววัยรุ่น Tracy Turnblad มีความเพ้อฝันอยากออกรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show หลังแสดงความสามารถด้านการเต้นให้เป็นที่ประจักษ์ ได้รับโอกาสเติมเต็มความใฝ่ฝัน พานผ่านอุปสรรคขวากหนาม แต่ด้วยความมุ่งมั่น ไม่ยินยอมรับความพ่ายแพ้ ในที่สุดสามารถชนะรางวัล Miss Auto Show 1963
- อารัมบท, แนะนำรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show
- Opening Credit ตระเตรียมตัวก่อนเริ่มจัดรายการ The Corny Collins Show
- Edna และเพื่อนสนิท Penny รับชมรายการ The Corny Collins Show จากหน้าจอโทรทัศน์
- ดำเนินตามความฝัน
- แนะนำตัวละคร Amber (คู่แข่งคนสำคัญของ Edna)
- Edna และ Penny เดินทางไปร่วมงานเต้นรำ แล้ว Edna กลายเป็นผู้ชนะประจำวัน
- Edna เดินทางไปออดิชั่น แล้วได้รับเลือกให้เข้าร่วมรายการ The Corny Collins Show
- Edna ออกรายการ The Corny Collins Show มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที
- อุปสรรคขวากหนาม เรียนรู้จักโลกกว้าง
- Edna โดนเพื่อนกลั่นแกล้ง ถูกครูที่โรงเรียนบูลลี่
- Edna และผองเพื่อนเดินทางไปยังย่านคนผิวสี แม้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี แต่ครอบครัวของ Penny กลับไม่ยินยอมรับ แสดงความรังเกียจเดียดฉันท์ ถึงขนาดว่าจ้างนักจิตวิทยามาล้างสมองบุตรสาว
- Edna และ Penny ร่วมประท้วงกับเพื่อนผิวสีที่ไม่อนุญาตให้เข้ารายการ The Corny Collins Show
- เกิดความวุ่นวายระหว่างจัดรายการ The Corny Collins Show ยังสวนสนุก Tilted Acres ทำให้ Edna ถูกจับกุมคุมขัง
- เฉลิมฉลองชัยชนะการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration)
- เกิดเหตุการณ์ประท้วง เรียกร้องให้ปล่อยตัว Edna ออกจากเรือนจำ
- งานประกาศผู้ชนะ Miss Auto Show 1963
ก่อนหน้านี้ผลงานของผกก. Waters จะไม่มีการลำดับตัดต่อที่ซับซ้อนนัก แต่อาจเพราะ Hairspray (1988) คือหนังเพลงวัยรุ่น จึงจำเป็นต้องใช้ลูกเล่นตัดต่อ เก็บรายละเอียดระหว่างการเต้นรำ สลับภาพมุมกว้าง-ท่าทางตัวละคร-ลีลาขยับแขนขา เพื่อสร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ ชักชวนให้ลุกขึ้นมาโยกตาม
ในส่วนของเพลงประกอบ แทบทั้งหมดนำจากบทเพลงฮิตช่วงต้นทศวรรษ 60s อาทิ The Madison Time, Mam Didn’t Lie, Town Without Pity, Shake a Tail Feather, The Buy, You’ll Lose a Good Thing, I Wish I Were a Princes, Nothing Takes the Place of You ฯลฯ ซึ่งจะมีเนื้อคำร้องสอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆ ส่วนท่วงทำนองจะเน้นความสนุกสนาน Rock & Roll ไม่ก็ Rhythm & Blues สำหรับลุกขึ้นโยกเต้น เริงระบำ
แต่จะมีหนึ่งเพลงที่เขียนขึ้นใหม่ชื่อว่า Hairspray แต่งโดย Rachel Sweet & Willa Bassen & Anthony Battaglia, ขับร้องโดย Rachel Sweet และช่วงต้นบทเพลงจะได้ยินเสียงของ Debbie Harry โต้ตอบกับ Sweet ในท่อน “Hey, girl, what you doing over there?” โดย Harry ร้องตอบว่า “Can’t you see? I’m spraying my hair!”
Hey girl, whatchu doin’ over there?
Can’t you see? I’m sprayin’ my hair!Let me tell you ’bout the latest craze
Mama’s hopin’ that it’s just a phase, but I know
It’s gonna last forever
You gotta see the way it keeps my hair together
I gave my dollar to the drugstore man
I bought that magic potion in a twelve ounce can
Now I know, when I make the scene
They’re gonna stop and wonder who’s that beauty queen, nowWell, Mama told me not to use it
(Hairspray) Well, if I don’t, I’m gonna lose it
(Hairspray) Gimme, gimme control
Hairspray, it’s got stand-up soulWhen the band is playin’ loud and fast
I duck around the corner, give it one more blast
(What a gas!) Ooh! I got an inspiration
Doin’ the hairspray all over the nationMama told me not to use it
(Hairspray) But if I don’t, I’m gonna lose it
(Hairspray) I’m gonna rat my hair
They’ll be doin’ the hairspray everywhereYou shake it, you shake that can
Teasin’ up your hair with the other hand
Then you aim it, you squeeze it, press your finger down
You’ll be doin’ the hairspray all over townHey girl, I have a dream when I close my eyes
I wish my hair was ten-feet high!Oh-oh-oh-oh-oh
(Hairspray) Oh-oh-oh-oh-oh-oh
(Hairspray) Oh-oh, ohWell, Mama told me not to use it, now
(Hairspray) But if I don’t, I’m gonna lose it
(Hairspray) Just gimme, gimme control
Oh-woah, woah-oh-oh-ohWell, Mama told me not to use it, now
(Hairspray) But if I don’t, I’m gonna lose it
(Hairspray) Just gimme, gimme control
Oh-woah, woah-oh-oh-oh
(Hairspray)
ปล. น่าเสียดายที่ทั้งฉบับละครเพลง ค.ศ. 2002 และภาพยนตร์สร้างใหม่ ค.ศ. 2007 ไม่ได้มีการนำบทเพลงใดๆจากต้นฉบับ ค.ศ. 1988 แม้แต่ Hairspray ก็คนละบทเพลงกับ (It’s) Hairspray
ผมนั่งดูหลายๆคลิปจากรายการ The Buddy Deane Show (ที่เป็นต้นแบบ The Corny Collins Show) ก็พบว่ายุคสมัยนั้นไม่ได้เต้นกันอย่างบ้าระห่ำ ออกท่วงท่ากันอย่างสุดเหวี่ยงเมื่อเทียบกับภาพยนตร์ (ดูจากคลิปนี้ที่ทำการเปรียบเทียบ บทเพลงเดียวกันแต่พบเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัด)
นั่นเพราะยุคสมัยนั้น กิจกรรมเต้นรำออกท่าทาง Rock & Roll ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ให้การยินยอมรับ โดยเฉพาะกับบุตรสาว/สตรีเพศ เพราะมันดูประเจิดประเจ้อ ไม่เรียบร้อย ขัดต่อค่านิยมสังคมและศีลธรรมอันดีงาม (หญิงสาวต้องเรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้)
บทเพลงแจ้งเกิด Tracy Turnblad เต้นเข้าตา Motormouth Maybelle Stubbs จนได้รับชัยชนะ และโอกาสออดิชั่นเข้าร่วมรายการ The Corny Collins Show ชื่อว่า Pony Time (1960) แต่งโดย Don Covay & John Berry, ขับร้อง-เต้นโดย Chubby Checker
It’s pony time, get up
Boogety, boogety, boogety shoo…Hey now let’s party with the union hall,
It’s pony time when ya hear this call,
So get with it,
Don’t quit it,
Get up.Do the pony with your partner,
With a big boss line,
Well anyway ya do it,
You’re gonna look real fine,
So get with it,
Don’t quit it,
Get up.Now ya turn to the left when I say gee,
You turn to the right when I say haw,
Now gee, ya ya baby,
Now haw, ya oh baby, oh baby, pretty baby,
Do it baby, oh baby, oh baby,
Boogety, boogety, boogety, boogety shoo.Gonna see little Suzie, who lives next door,
She’s doin’ the pony, she’s takin’ the floor,
Eeea ah, so get with it, don’t quit it, come on,
Boogety, boogety, boogety, boogety shoo.Do the pony with your pardner,
Oh in a big boss line,
But anyway you do it,
You’re gonna look just fine,
So get with, Don’t quit it,
Come on.EeeaaahNow you turn to the left when I say gee,
You turn to the right when I say haw,
Now gee, ya ya little baby,
Now haw, ya oh baby, oh baby, pretty baby,
Do it baby, oh baby, oh baby,
Boogety, boogety, boogety, boogety shoo.
บทเพลงที่ Tracy Turnblad เต้นออกอากาศรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show ครั้งแรกคือ You’ll Lose a Good Thing (1962) แนว Rhythm & Blues, แต่งโดย Barbara Lynn Ozen, ขับร้องโดย Barbara Lynn, เคยติดอันดับสูงสุดที่ 8 ชาร์ท US Billboard Hot 100
If you should lose me
Oh, yeah, you’ll lose a good thing
If you should lose me
Oh, yeah, you’ll lose a good thingYou know I love you
Do anything for you
Just don’t mistreat me
And I’ll be good to you‘Cause if you should lose me
Oh, yeah, you’ll lose a good thingI’m givin’ you one more chance
For you to do right
If you’ll only straighen up
We’ll have a good life‘Cause if you should lose me
Oh, yeah, you’ll lose a good thingThis is my last time
Not asking any more
If you don’t do right
I’m gonna march outta that doorAnd if you don’t believe me
Just try it, daddy
And you’ll lose a good thing
บทเพลงที่ผมชื่นชอบสุดในหนัง Nothing Takes the Place of You (1967) แต่ง/ขับร้องโดย Toussaint McCall ซึ่งรับเชิญมาปรากฎตัว พร้อมขับร้องบทเพลงนี้ด้วย
I moved your picture
From my walls
And I replaced them
Both large and small
And each new day
Finds me so blue
Nothing
Takes the place of youI read your letters one by one
And I still love you
When it’s all said and done
And oh, my darling I’m so blue
Because nothing
Oh nothing
Takes the place of youI, I write this letter
It’s raining on my window pane
I, I feel the need of you
Because without you
Nothing seems the sameSo I’ll wait
Until you’re home
Again I love you
But I’m all alone
And oh my darling
I’m so blue
Because nothing
Oh, but nothing takes the place of you
หลายคนอาจรับรู้สึกว่า สองบทเพลงโชว์ในงานประกวด Miss Auto Show 1963 มันช่างพิลึกพิลั่น ดูไม่สมศักดิ์ศรีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศสักเท่าไหร่ แต่ใครเคยพานผ่านภาพยนตร์ ผกก. Waters น่าจะเข้าใจว่านั่นคือรสนิยม ‘bad taste’ แทนที่จะนำเสนอภาพน่ารังเกียจขยะแขยง (เพราะนี่เป็นหนังกระแสหลัก) ปรับเปลี่ยนมาใช้บทเพลงแมง แมลงสาป แล้วแสดงออกท่าทางกระโดดโลดเต้น ปัดสวะออกจากตัว
- Amber เต้นบทเพลง The Roach (1961) แต่งโดย Alonzo B. Willis & Kathy Vanetoulis, ขับร้องโดย Gene and Wendell
- Tracy สวมชุดชมพูลายแมลงสาป เต้นบทเพลง The Bug (1958) แต่งโดย Jerry Dallman & Milton Grant, ขับร้องโดย Jerry Dallman and The Knightcaps
ทั้งสองบทเพลงเป็นการโต้ตอบฟากฝั่งขั้วตรงข้าม Amber ให้คำนิยาม Tracy ว่าเป็นแมงสาป เลยได้รับการโต้ตอบกลับว่าเธอก็ไม่ต่างจากแมง แมลง สะท้อนทัศนคติกลุ่มคนเห็นด้วย-เห็นต่างต่อการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration vs. Racial Segregation)
ผมเลือกบทเพลง The Bug ของนางเอกมาก็แล้วกัน ท่าเต้นปัดสวะเริงระบำออกมาได้อย่างเว่อวังอลังการ เพื่อสื่อถึงการต่อต้านพวกไม่เห็นด้วยต่อการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์
Everybody’s jumpin’, movin’ around
Nobody’s standin’ still, keepin’ their ground
You can’t tell what’ll happen when they pass it around
And it’s the bugYou got it, you got it, you’re all on your own
Somehow it seems better when you do it alone
No fair talkin’, once it’s been told
That it’s the bugWell, c’mon, baby, let’s do the bug
Mmm, c’mon, baby, and give me a hug
C’mon, baby, my turn’s long due
I wanna bug, bug a hole in my shoeWell, real bugs bug me, no matter what size
Spiders, mosquitos, grasshoppers and flies
But this kind of bug really takes the prize
It’s that ol’ bugWell, everybody’s jumpin’, movin’ around
Nobody’s standin’ still, keepin’ their ground
You can’t tell what’ll happen when thеy pass it around
And it’s the bug
เรื่องราวของ Hairspray (1988) นำเสนอการค้นพบตัวตนเองของวัยรุ่นหนุ่ม-สาว Tracy Turnblad แม้รูปร่างอวบอ้วน ไซส์ใหญ่ ไม่ถือว่าสวยตามมาตรฐานผู้ใด แต่มีความเพ้อใฝ่ฝัน อยากออกรายการโทรทัศน์ The Corny Collins Show มุ่งมั่นทุ่มเท ฝึกฝนการเต้น แสดงความสามารถออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนาม ในที่สุดสามารถคว้ารางวัล Miss Auto Show 1963 ประสบความสำเร็จสมดั่งใจหวัง
ด้วยรูปร่างอวบอ้วน ไซส์ใหญ่ของ Tracy Turnblad ทำให้เธอกลายเป็นขวัญใจคนหนุ่ม-สาว ชาวผิวสี รวมถึงคนที่ไม่ได้มีความสวย-หล่อ แต่ใช้ความสามารถด้านการเต้น พิสูจน์ตนเองจนได้รับการยอมรับ ชนะใจใครต่อใครมากมาย … ถือเป็นการทำลายกฎกรอบความคิดคนยุคสมัยนั้น ว่ามีแต่หญิงสาวสวย หุ่นดี ผิวขาว ถึงประสบความสำเร็จในวงการบันเทิง
ยุคสมัยนั้นการเต้นรำออกท่วงท่า Rock & Roll ยังเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ โดยเฉพาะสตรีเพศ เพราะมีความประเจิดประเจ้อ ดูไม่เรียบร้อย (อิสตรีต้องเหมือนผ้าพับไว้) รายการโทรทัศน์ที่ทำให้คนหนุ่ม-สาว กล้าพูด-กล้าทำ-กล้าแสดงออก จึงถูกต่อต้านจากคนรุ่นเก่า หัวโบราณ อนุรักษ์นิยม … Hairspray (1988) เป็นภาพยนตร์ของคนหัวก้าวหน้า เสรีนิยม เชื่อในอิสรภาพส่วนบุคคล
คู่ขนานไปกับการเรียกร้องสิทธิคนผิวสี เพื่อให้เกิดการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration) ซึ่ง Maryland เป็นหนึ่งในรัฐที่ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ทศวรรษนั้นก็ยังมีคนบางกลุ่มพยายามต่อต้านขัดขืน ไม่สามารถยินยอมรับ แสดงความรังเกียจเดียดฉันท์ (Racism) สุดท้ายแล้วคนพรรค์นั้นก็มักพ่ายแพ้ภัยตนเอง
ตอนจบของหนัง ผมจึงมองชัยชนะของ Tracy Turnblad (เหนือ Amber Von Tussle) เปรียบดั่งเฉลิมฉลองการรวมตัวของทุกชนชาติพันธุ์ (Racial Integration) นี่เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันสมัยนั้นยังโล้เล้ลังเล สองจิตสองใจ แต่ผกก. Waters แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนออกนอกหน้า
สำหรับผกก. Waters (และ Divine) ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นการรื้อฟื้นความหลัง หวนระลึกความทรงจำ ช่วงเวลาวัยรุ่นเคยพานผ่าน แต่กาลเวลาทำให้ทุกสิ่งอย่างผันแปรเปลี่ยนไป โลกใบนั้นได้สูญสิ้นสลาย เลยต้องการจัดเก็บมันไว้ใน ‘Time Capsule’ ให้คนรุ่นหลังมีโอกาสชื่นเชยชม
เกร็ด: สเปรย์ฉีดผม (Hairspray) เริ่มต้นได้รับความนิยมช่วงทศวรรษ 50s-60s ว่ากันว่าน่าจะเพราะทรงผมปอมปาร์ดัวร์ (Pompadour) ของ Elvis Presley จุดกระแสให้วัยรุ่นหนุ่มสาวสมัยนั้น หันมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม สามารถขึ้นรูป อยู่ทรงสวย เป็นหน้าเป็นตา สง่าราศี เกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง
ด้วยความเป็นวัยรุ่นแห่งทศวรรษ 50s-60s ผกก. Waters เลยรับรู้สิ่งที่ตนเอง/ใครต่อใครชื่นชอบหลงใหล เข้าใจยุคสมัยแห่งการอวดสวยอวดหล่อ สาวๆชอบทาลิปสติกขาว (White Lipstick), จัดแต่งทรงผมเว่อวังอลังการ (Hairspray) ฯ ชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ Hairspray (1988) สามารถใช้แทนคำเรียกกระแสนิยม เทรนด์แฟชั่น วัยรุ่นยุคสมัยนั้น
และการใช้สเปรย์ฉีดผม จัดแต่งให้ขึ้นรูปอยู่ทรง เป็นเพียงการอวดสวยอวดหล่อ ให้เกิดความพึงพอใจ รู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง แต่สิ่งเหล่านี้มันก็แค่การสร้างภาพภายนอก จอมปลอมหลอกลวง (ลักษณะอาการหลงตนเอง, Narcissism) หาได้สะท้อนตัวตน ธาตุแท้จริง จิตวิญญาณที่อยู่ภายใน
ฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนัง Sundance Film Festival ซึ่งผกก. Waters มีโอกาสเข้าร่วมพูดคุยกับผู้ชม อธิบายว่างบประมาณส่วนใหญ่ของหนังหมดไปกับค่าลิขสิทธิ์บทเพลง (เมื่อตอนทำหนังใต้ดิน แทบไม่เคยจ่ายสักแดงเดียว)
ด้วยทุนสร้าง $2.7 ล้านเหรียญ เสียงตอบรับดียอดเยี่ยมเยี่ยม สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $8.27 ล้านเหรียญ ถือว่าประสบความสำเร็จกลางๆ แต่เมื่อทำเป็น VHS, LaserDisc ได้รับกระแสคัลต์ (Cult Following) ยอดขายถล่มทลาย
นอกจากนี้ยังหนังยังเข้าชิง Film Independent Spirit Awards จำนวน 6 สาขา
- Best Feature
- Best Director
- Best Female Lead (Ricki Lake)
- Best Supporting Male (Divine)
- Best Supporting Female (Debbie Harry)
- Best Screenplay
กระแสนิยมถล่มทลายของหนัง ทำให้ได้รับดัดแปลงเป็นละครเพลง Broadway เมื่อปี ค.ศ. 2002 ประสบความสำเร็จล้นหลามเช่นกัน สามารถคว้ามา 8 รางวัล Tony Awards รวมถึง Best Musical
และฉบับสร้างใหม่ (Remake) Hairspray (2007) กำกับโดย Adam Shankman, รวมทีมนักแสดงดังๆอย่าง John Travolta, Michelle Pfeiffer, Christopher Walken, Amanda Bynes, James Marsden, Brittany Snow, Queen Latifah, Zac Efron, Elijah Kelley, Allison Janney และ Nikki Blonsky รับบท Tracy Turnblad, ด้วยทุนสร้าง $75 ล้านเหรียญ รายรับทั่วโลก $203.5 ล้านเหรียญ
แม้หนังยังไม่ได้รับการบูรณะ แต่ฟีล์มต้นฉบับจัดเก็บในคลังของ Warner Bros. นำมาสแกนใหม่ 2K เมื่อปี ค.ศ. 2014 คุณภาพถือว่าดียอดเยี่ยม พร้อมเบื้องหลัง Special Feature มากมายเต็มไปหมด … น่าจะทำแพ็คคู่ฉบับ 1988 & 2007 ออกมาขายด้วยกันนะ
ส่วนตัวชื่นชอบหนังนะ การเคลือบแฝงประเด็น ‘Racial Integration’ สะท้อนตัวตน/รสนิยมผกก. Waters ได้อย่างชัดเจน! แต่แอบรู้สึกว่าฉบับสร้างใหม่ Hairspray (2007) ทำออกมาได้ลื่นไหล กลมกล่อม ลงตัวกว่า และเสียดายหม่อมแม่ Divine ผลงานสุดท้ายกลับไม่ได้เจิดจรัสฉายเท่าที่ควร (John Travolta ยังเคารพคารวะบทบาทนี้ ขโมยซีนได้โดดเด่นกว่า)
จัดเรต pg กับประเด็นเหยียดผิว (Racism)
Leave a Reply