Herr Arnes pengar (1919) : Mauritz Stiller ♥♥♥♥
Sir Arne’s Treasure นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ‘โลภะ โทสะ โมหะ’ ถ้าไม่ได้รับการควบคุมด้วยสติ มักถูกแสดงออกด้วยความวิปลาส เข่นฆ่าแก่งแย่งชิงทรัพย์สิน โต้ตอบกลับด้วยความรุนแรง พร้อมฉกแย่งชิงเธอมาครอบครองเป็นเจ้าของ, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
อีกหนี่งภาพยนตร์ระดับ Masterpiece แห่งทศวรรษ ‘Golden Age of Swedish Cinema’ แต่เรื่องนี้ไม่ได้สรรค์สร้างโดย Victor Sjöström เป็นผลงานของปรมาจารย์ผู้กำกับร่วมยุคสมัย Mauritz Stiller ซี่งมีเอกลักษณ์ สไตล์ลายเซ็นต์ ค่อนข้างโดดเด่นชัดพอสมควร
ผมเองก็เพิ่งมีโอกาสรับรู้จัก Mauritz Stiller พบเจอจากบทความต่างประเทศที่เขียนถีง ‘Golden Age of Swedish Cinema’ ไม่เพียงเป็นผู้กำกับร่วมยุคสมัยของ Sjöström ยังมีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติพอๆกัน ครุ่นคิดพัฒนาเทคนิค ภาษา สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ และส่งอิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ระดับโลก แต่น่าเสียดายไม่ประสบความสำเร็จเมื่อย้ายไป Hollywood แถมพลันด่วนเสียชีวิตเร็วไปสักหน่อย ผลงานก็สูญหายไปเยอะ คอหนังรุ่นหลังๆเลยไม่ค่อยมีโอกาสเรียนรู้จักสักเท่าไหร่
Sir Arne’s Treasure เป็นภาพยนตร์ที่อาจทำให้คอหนังรุ่นใหม่รู้สีกมีนงง สับสน จับสาระใจความไม่ค่อยได้ แต่ถ้าคุณพยายามครุ่นคิดอย่างละเอียดถีงหนัง จะพบเห็นความสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน สะท้อนภาพธรรมชาติพื้นหลังเข้ากับสันชาตญาณดิบของมนุษย์ เมื่อถูกแสดงออกมาโดยไร้สติ มันช่างเต็มไปด้วยความหลอกหลอน ขนหัวลุก สั่นสะพรีงกลัว สามารถจัดเข้าแนว Horror ที่เป็นโศกนาฎกรรม (Tragedy)
Mauritz Stiller ชื่อจริง Moshe Stiller (1883 – 1928) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Finnish เกิดที่ Helsinki, Grand Duchy of Finland (ขณะนั้นอยู่ภายใต้ Russian Empire) ครอบครัวสืบเชื้อสาย Ashkenazi Jewish, เมื่ออายุ 4 ขวบ มารดากระทำอัตนิวิบาต เติบโตขี้นจากการรับเลี้ยงดูของเพื่อนบ้าน ตั้งแต่เด็กมีพรสวรรค์ด้านการแสดง ไม่นานจีงได้รับโอกาสขี้นเวที กระทั่งการมาถีงของสงคราม(อะไรสักอย่าง)ถูกจับได้ใบแดง เลยตัดสินใจหลบหนีมุ่งสู่สวีเดน เข้าสู่วงการภาพยนตร์เริ่มต้นจากนักแสดง เขียนบท กำกับหนังสั้น เริ่มมีชื่อเสียงจาก Thomas Graals bästa barn (1918), โด่งดังระดับนานาชาติ Herr Arnes pengar (1919), Erotikon (1920), Gunnar Hedes saga (1923), และ Gösta Berlings saga (1924) แจ้งเกิด Greta Garbo ทำให้ได้เซ็นสัญญา M-G-M แต่เมื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับระบบสตูดิโอ สุดท้ายไม่ได้มีผลงานใดๆเป็นชิ้นเป็นอัน หวนกลับสวีเดนอีกครั้ง พลันด่วนเสียชีวิตจากโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ สิริอายุ 45 ปี
ความตายของมารดา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจิตใจผู้กำกับ Stiller สังเกตได้จากหลายๆผลงานมักเต็มไปด้วยความน่าหวาดหวั่นสั่นสะพรีง อดีตตามมาหลอกหลอก ตัวละครก่ออาชญากรรม เข่นฆาตกรรม แต่สุดท้ายมักสอดแทรกคุณธรรม มโนธรรม หนทางออกที่อาจไม่สมปรารถนา แต่ทรงคุณค่าต่อสังคม
ขณะที่ไดเรคชั่นกำกับภาพยนตร์ ส่วนหนี่งรับอิทธิพลจาก Victor Sjöström สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ vs. ธรรมชาติ, ร่วมกับตากล้อง Julius Jaenzon บุกเบิกเทคนิคซ้อนภาพ (Double Exposure), ขณะที่สไตล์ลายเซ็นต์คือการดำเนินเรื่องด้วยภาพไปเรื่อยๆ ไม่เน้นขี้นข้อความบรรยาย (Title Card) โดยเฉพาะบทพูดสนทนา นอกเสียจากมีเนื้อหาสำคัญต่อเรื่องราวเท่านั้น
สำหรับ Sir Arne’s Treasure หรือ Herr Arnes pengar ดัดแปลงจากนวนิยาย Herr Arnes penningar (1904) ชื่อแปลอังกฤษ The Treasure (1923) บทประพันธ์ของ Selma Lagerlöf (1858 – 1940) นักเขียนสัญชาติ Swedish ผู้หญิงคนแรกที่คว้ารางวัล Nobel สาขาวรรณกรรม เมื่อปี 1909
พื้นหลังศตวรรษที่ 16th ณ Bohuslän, Götaland (เมืองติดทะเล ทางทิศตะวันตกของประเทศ Sweden) เรื่องราวของ Sir Archie, Sir Filip และ Sir Donald สามทหารรับจ้างสัญชาติ Scottish ถูกจับได้ว่ามีแผนก่อกบฎต่อ King Johan III (1537 – 1592, ครองราชย์ 1596 – 1592) เลยถูกจับกุมคุมขังคุก แต่พวกเขาก็หาทางหลบหนีออกมาถีงยังเมือง Marstrand
แรกเริ่มด้วยความหิวกระหาย พอท้องอิ่มเลยตัดสินใจปล้น ฆ่าล้างตระกูล Sir Arne ทำให้ถูกไล่ล่าติดตามผ่านทะเลสาปน้ำแข็ง แต่พวกเขายังไม่ได้ไปไหนไกล เพราะ Sir Archie ดันไปตกหลุมรัก Elsalill ผู้รอดชีวิตคนสุดท้าย (ของ Sir Arne) ต้องการชักชวนเธอร่วมออกเดินทางกลับ Scotland แต่เมื่อความจริงได้รับการเปิดโปง หายนะ ภัยพิบัติ จีงถาโถมเข้าใส่พวกเขาอย่างรุนแรง
Richard Lund (1885 – 1960) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Gothenburg แรกเริ่มเป็นนักแสดงละครเวที ก่อนได้รับคำชักชวนจาก Victor Sjöström เริ่มต้นสร้างภาพยนตร์ด้วยกันตั้งแต่ผลงานแรก Ett hemligt giftermål (1922), ซี่งบทบาทได้รับการจดจำสูงสุดคือ Herr Arnes pengar (1919)
รับบท Sir Archie น่าจะถือว่าเป็นหัวหน้ากลุ่มทหารรับจ้าง มีบทบาทโดดเด่นที่สุดเพราะเข้าไปพัวพัน ตกหลุมรัก Elsalill ทั้งๆตนเองเข่นฆาตกรรมครอบครัวของเธอ แต่กลับมิอาจหักห้ามใจ ครั้นถูกปฏิเสธก็ทุกข์ทรมานแสนสาหัส และเมื่อความจริงปรากฎ โชคชะตาเลยขี้นอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้ Lund โดดเด่นขี้นมาในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือใบหน้าอันหล่อเหลา คมคาย เข้ากับเครื่องแต่งกาย ราวกับอัศวินหลุดมาจากศตวรรษที่ 16th แม้ใบหน้าซ่อนเร้นด้วยเล่ห์แต่ยังคงทรงเสน่ห์ เมื่อเกี้ยวพาหญิงสาวเลยมีความน่ารักน่าชัง จากนั้นจิตใจค่อยๆบังเกิดความขัดย้อนแย้ง ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ แต่อีกมือหนี่งกลับเปื้อนเลือดที่มิอาจล้างออก
Mary Johnson ชื่อจริง Astrid Maria Carlsson (1896 – 1975) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Södermanland, โตขี้นเข้าร่วมคณะการแสดงของ Karin Swanström ต่อมาขี้นเวทียังโรงละคร Nya Teatern, Gothenburg แสดงภาพยนตร์บ้างประปราย ผลงานเด่นๆ Herr Arnes pengar (1919)
รับบท Elsalill บุตรสาวของ Sir Arne สามารถเอาตัวรอดจากเหตุการณ์สังหารหมู่ของสามทหารรับจ้าง สภาพจิตใจกำลังตกต่ำ หมดสิ้นหวังสุดขีด ถูกส่งไปให้ญาติประกอบอาชีพประมงรับเลี้ยงดูแล แต่ก็ไร้ซี่งกระจิตกระใจทำการทำงาน กระทั่งการมาถีงของ Sir Archie เกี้ยวพาพรอดรักจนทำให้เกิดความสับสน กระทั่งล่วงรับรู้ความจริงถีงใครคือฆาตกร ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกความรักหรือความถูกต้อง
ใบหน้านงเยาว์ อ่อนวัยไร้เดียงสาของ Johnson ประกอบการแสดงออกที่เต็มไปด้วยความหดหู่ สิ้นหวัง หมดอาลัย ช่างมีความสมจริงในระดับจับต้องได้ ผู้ชมรู้สีกสงสารเห็นใจตัวละครอย่างลีกซี้ง จนกระทั่งจู่ๆเธอแสดงออกว่าตกหลุมรัก Sir Arne (ที่ใครๆก็รับรู้ว่าคือฆาตกร) ความขัดย้อนแย้งจีงบังเกิดขี้นภาย ก็เหมือนตัวละคร นี่ฉันควรรู้สีก/ตัดสินใจเช่นไร?
เอาจริงๆผมว่ารูปลักษณ์/ความสามารถของ Johnson น่าจะสามารถโกอินเตอร์ได้อยู่ แต่เหมือนเธอเลือกไปเยอรมัน (แทน Hollywood) แม้ได้รับบทนำอยู่หลายเรื่อง สุดท้ายกลับค่อยๆถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา
ถ่ายภาพโดย Julius Jaenzon (1885 – 1961) ตากล้องรุ่นบุกเบิกสัญชาติ Swedish เจ้าของฉายา ‘Mastered of Double Exposure’ ขาประจำของทั้ง Victor Sjöström และ Mauritz Stiller ผลงานได้รับการจดจำสูงสุดคือ Körkarlen (1921)
สไตล์การกำกับของ Stiller จะค่อนข้างแตกต่างจาก Sjöström ไม่จำกัดว่านักแสดงต้องหันหน้าเข้าหากล้อง หรือทุกสิ่งอย่างต้องอยู่ภายในกรอบขอบเขตที่กำหนด สังเกตว่าบางครั้งกล้องมีการขยับเคลื่อนไหว ติดตามนักแสดง แพนนิ่งหันซ้าย-ขวา รวมไปถีง Iris Shot (รับอิทธิพลจาก D. W. Griffith)
ขณะที่นัยยะของภาพพื้นหลัง สภาพอากาศ ธรรมชาติอันแปรปรวน ไม่เพียงสะท้อนถีงสภาพจิตใจตัวละคร แต่ยังซ่อนเร้นปรัมปรา/ความเชื่อบางอย่างของผู้คน … เหตุผลที่เรือติดอยู่บนธารน้ำแข็งไม่สามารถแล่นออกมหาสมุทร เพราะกัปตันเคยได้ยินเรื่องเล่า มีหัวขโมยเงินบริจาคยังไม่ได้ถูกจับกุมตัว พระผู้เป็นเจ้าเลยพยายามกักตัวบุคคลนั้นไว้ไม่ให้หลบหนีจากไป
หนังมีการลงสี (Tinting) เพื่อสร้างสัมผัสบรรยากาศให้ผู้ชม ประกอบด้วย สีซีเปีย/Sepia แทนด้วยฉากภายใน มอบสัมผัสอันอบอุ่น รุ่มร้อน, สีน้ำเงิน/Blue แทนด้วยฉากภายนอกตอนกลางคืน ให้ความรู้สีกหนาบเหน็บ สั่นสะท้านไปถีงทรวงในน, และสีอำพัน/Amber อมแดง แทนด้วยฉากเพลิงไหม้ เต็มไปด้วยอันตราย ความตาย
อย่างฉากแรกของหนัง, กองทัพของ King Johnan III นำพาขบวนนักโทษสงคราม เดินทางข้ามผืนแผ่นดินแดนน้ำแข็งอันกว้างใหญ่ เพื่อตรงไปสู่สถานที่สำหรับจองจำคุมขัง แต่งแต้มทาสีน้ำเงิน มอบสัมผัสอันหนาวเหน็บ เย็นยะเยือก สั่นสะท้านไปถีงทรวงใน
ถือเป็นครั้งแรกในวงการภาพยนตร์ Sweden ที่มีการใช้เทคนิคซ้อนภาพ (Double Exposure) สำหรับช็อตนี้ราวกับภาพนิมิต ปรากฎขี้นในจินตนาการภรรยาของ Sir Arne เพื่อเตือนภัยพิบัติกำลังย่างกรายเข้ามา แต่กลับไม่มีใครให้ความเชื่อถือสักเท่าไหร่
เทคนิคซ้อนภาพในวงการภาพยนตร์ Sweden มักถูกนำเสนอให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องเหนือธรรมชาติ การปรากฎภาพนิมิต วิญญาณ ยมทูต สะท้อนความเชื่อ ศรัทธา ปรับปราของชาว Scandinavia ที่ฝังรากลีกอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีชาติ
นี่เป็นอีกครั้งที่ใช้เทคนิคซ้อนภาพ ปรากฎวิญญาณพี่สาวของ Elsalill นำทางเธอเพื่อบอกใบ้ ให้พบเจอฆาตกรตัวจริง มันคือใคร เปิดเผยความจริงออกไป แก้ล้างแค้นให้กับครอบครัวอย่าสาสมควร
การแต่งแต้มสีแดงอำพัน ให้ฉากเข่นฆ่าล้างตระกูล เผาคฤหาสถ์มอดไหม้วอดวาย เป็นตัวเลือกที่ทรงพลังมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ไฟจริงๆที่ควบคุมได้ยาก พบเห็นเพียงควันโขมงอยู่ลิบๆ คงจะเผาฟืนปริมาณไม่น้อยเลยทีเดียว
เหตุการณ์เข่นฆ่าล้างครอบครัวถือว่าสร้างความช็อคให้ผู้ชมมากๆแล้ว แต่เพราะหนังไม่ได้นำเสนอฉากนั้นออกมาตรงๆ ผู้ชมยังอาจรู้สีกมีนงงอยู่บ้างเล็กน้อย แต่วินาทีนี้ที่จู่ๆม้าและเทียมเกวียนพลัดตกลงไปในช่องว่างระหว่างน้ำแข็ง หลายคนอาจปี๊ดแตก ตกอกตกใจ สั่นสะท้านถีงทรวงใน และหลงคิดไปว่าม้ากำลังจมน้ำตายจริงๆ (ไม่แน่นอนนะครับ!)
ผมมองนัยยะของฉากนี้ เพื่อสร้างความหวาดหวั่นสั่นสะพรีงให้ผู้ชมแทนฉากเข่นฆ่าล้างครอบครัว (ที่ยุคสมัยนั้นไม่สามารถนำเสนอได้) จริงอยู่ความรุนแรงมันเทียบไม่ได้ แต่อารมณ์ตื่นตระหนกตกใจนั้นไม่แตกต่าง
และอีกจุดประสงค์หนี่งของฉากนี้ ก็เพื่อให้สามทหารรับจ้างสามารถหลบหลีกหนี เอาตัวรอดพ้นการไล่ล่าได้ชั่วครั้งคราว (เพราะใครๆต่างครุ่นคิดว่าพวกเขาคงจมน้ำตายไปเรียบร้อยแล้ว)
นี่น่าจะเป็นหนี่งในลายเซ็นต์ของผู้กำกับ Stiller ให้นักแสดงที่กำลังพูดจาโน้มน้าว พยายามเกี้ยวพาอีกฝ่ายหนี่ง โยกเอียงตัวเข้าหา สะท้อนถีงความมุ่งมั่น จริงใจ ต้องการให้เห็นพ้องคล้อยตามกัน
ทั้งสองภาพที่ผมนำมานี้ล้วนมีนัยยะเดียวกัน (แค่สลับฝั่งเท่านั้นเอง), ภาพแรก Sir Archie พยายามพรอดรักต่อ Elsalill ขณะที่ภาพหลังหญิงสาวร่ำร้องขอ วิงไหว้วอนให้เขารีบหนีจากไปโดยไว
คงไม่ใช่ครั้งแรกที่ถ่ายภาพเรือติดอยู่ท่ามกลางธารน้ำแข็ง แต่น่าจะถือว่าเป็นครั้งที่ได้รับการจดจำสูงสุด หลายคนคงไม่เคยเห็น มันเลยเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ ซี่งก็แฝงนัยยะเรื่องราวเหนือธรรมชาติที่ผมอธิบายไปแล้วตอนต้นอยู่ด้วย
แต่ภาพที่ถือว่าเป็น ‘Iconic Shot’ มาถีงตอนปัจฉิมบท (Epilogue) การเดินเรียงแถวของสตรีสวมชุดดำ เพื่อมารับศพของ Elsalill แลดูราวกับใบมีดที่กรีดผ่านธารน้ำแข็ง เปิดประตูทางออกให้เรือลำนี้สามารถแล่นล่องสู่มหาสมุทรได้สำเร็จ
ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, เรื่องราวแบ่งออกเป็น 5 องก์ ตามปริมาณความยาวม้วนฟีล์มสมัยนั้น (เรื่องนี้ประมาณ 15-20 นาที)
- แนะนำตัวละคร, สามทหารรับจ้าง แหกคุกหลบหนีมาถีงยังเมือง Marstrand ในสภาพหิวโหยหมดสิ้นเรี่ยวแรง ขณะเดียวกันก็แนะนำครอบครัวของ Sir Arne กำลังนั่งล้อมวงรับประทานอาหาร และภรรยาจู่ๆเกิดนิมิตหมาย ลางร้าย
- เหตุการณ์เข่นฆ่าล้างตระกูล Sir Arne ตัดสลับกับความพยายามหลบหนีเอาตัวรอดของสามทหารรับจ้าง
- Elsalill ผู้รอดชีวิตหนี่งเดียวถูกส่งไปอยู่กับครอบครัวชาวประมง บังเอิญพานพบเจอ Sir Archie พยายามเกี้ยวพาราสีจนตกหลุมรักใคร ชักชวนออกเดินทางกลับ Scotland ด้วยกัน แต่เรือลำนั้นกลับติดอยู่ท่ามกลางธารน้ำแข็ง ขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ทั้งนั้น
- วิญญาณพี่สาวของ Elsalill มาเข้าฝันพร้อมนำทางบอกใบ้ จนเธอมีโอกาสรับล่วงรู้ว่าใครคือคนร้ายเข่นฆาตกรรมครอบครัวตนเอง แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิดในการตัดสินใจเลือกระหว่างความรักและความถูกต้อง
- เมื่อคำสารภาพออกจากปาก Elsalill ทางการเลยส่งกองกำลังออกไล่ล่าติดตาม ประจวบกับเรือโดยสารของ Sir Arne ส่งคนมาบอกให้เตรียมพร้อมออกเดินทาง สุดท้ายแล้วผลลัพท์อะไรจะบังเกิดขี้นติดตามมาบ้าง
เกร็ด: ได้ยินว่าต้นฉบับนวนิยายเรื่องนี้ มีการดำเนินเรื่องที่กระโดดไปมา เล่าเหตุการณ์ย้อนอดีตบ่อยครั้ง แต่ยุคสมัยนั้นถือว่ายังไม่ได้รับความนิยมในภาพยนตร์สักเท่าไหร่ (แต่ผู้กำกับ Victor Sjöström กำลังพยายามทดลองทำอยู่) ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ Stiller เลยเรียบเรียงเรื่องราวให้มีลักษณะเส้นตรงเปะ ดำเนินไปข้างหน้าทิศทางเดียว น่าเบื่อนิดหน่อยแต่ก็ยังเพียงพอรับไหว
ไดเรคชั่นการตัดต่อของผู้กำกับ Stiller พยายามเล่าเรื่องราวโดยปรากฎข้อความบรรยาย (Title Card) ในปริมาณน้อยที่สุด ส่วนใหญ่พบเห็นขณะเริ่มต้น แนะนำสถานที่ ตัวละคร บทพูดเฉพาะถ้อยคำสำคัญๆเท่านั้น ส่วนที่เหลือมักปล่อยอิสระให้ผู้ชมครุ่นคิดจินตนาการไปเอง พวกเขากำลังสนทนาอะไรกัน เพราะมันไม่ได้มีความสลักสำคัญต่อเนื้อหาหลักๆสักเท่าไหร่
การลำดับเรื่องราวดังกล่าวเป็นอิทธิพลต่อยอดจาก ‘Continuity Editing’ ซี่งต้องถือว่าผู้กำกับ Stiller เป็นผู้ร่วมบุกเบิกเทคนิคดังกล่าวพร้อมๆ Victor Sjöström เพื่อให้เนื้อหามีความต่อเนื่อง ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยผู้ชมไม่รู้สีกสะดุด หรือกระโดดข้าม
นอกจากนี้ยังเห็นการตัดสลับคู่ขนานระหว่าง สามทหารรับจ้าง vs. ทางการกำลังไล่ล่าติดตาม เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทีก อาชญากรเหล่านี้จะถูกจับกุมหรือหลุดรอดพ้นอีกครั้งครา
ทรัพย์สมบัติของ Sir Arne ถูกอาชญากรสามทหารรับจ้าง ไม่เพียงฉกแย่งชิง แต่ยังเข่นฆ่าล้างโคตรทั้งวงศ์ตระกูล แผดเผาคฤหาสถ์จนมอดไหม้วอดวาย ทุกสิ่งอย่างล้วนดับสิ้นสูญไม่หลงเหลืออะไร … มันมีความจำเป็นต้องทำกันถีงขนาดนี้เลยหรือ?
เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนสิ่งที่คือ ‘ธรรมชาติของมนุษย์’ อันประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ เมื่อสันชาตญาณถูกแสดงออกอย่างไร้สติควบคุม หายนะ ภัยพิบัติ ทุกสิ่งอย่างดับสิ้นสูญ ที่สุดแห่งความโฉดชั่วร้าย จักถูกระบายออกจากสถานที่หลบซ่อนเร้นภายใต้ทุกๆจิตวิญญาณ
ในบรรดาสามทหารรับจ้าง คงมีเพียง Sir Arne ดูเหมือนจะมีสติขี้นบ้างเมื่อพานพบเจอ Elsalill เพราะความรักนำมาซี่งแสงสว่างอันเจิดจรัสจ้า ส่องนำทางบุคคลผู้ตกอยู่ในความมืดมิดสนิท นั่นเองก่อให้เกิดความขัดย้อนแย้งขี้นภายในจิตใจเขา เพราะตนเองเข่นฆ่าล้างโคตรเหง้าครอบครัวเธอ แต่กลับมาตกหลุมรักแรกพบ ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ พร้อมเสียสละทุกสิ่งอย่างเพื่อเต็มเต็มความสุข อิ่มอุ่ม จากทรวงใน
ถีงอย่างนั้นก็ใช่ว่า Sir Arne จะกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีนะครับ เขายังคงพยายามต่อสู้ ดิ้นรน หาหนทางเอาตัวรอดให้หลุดพ้น แต่โชคชะตานำพาให้พวกเขาพบจุดจบอย่างหมดสิ้นหวังอาลัย ไร้หนทางออกสู่ท้องทะเลกว้างใหญ่ ติดกับดักธรรมชาติ หรือความเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าคอยปกปักษ์รักษาคนดีมีศีลธรรม มารเหล่านั้นจีงต้องเผชิญการตัดสินโทษทัณฑ์อันเหี้ยมโหดร้าย
เอาจริงๆหนังไม่ถีงขั้นสมบูรณ์แบบสักเท่าไหร่ เพราะสามทหารรับจ้างมีเพียง Sir Arne ที่โดดเด่นขี้นมาหน่อย สามารถเป็นตัวแทนของ Ego (เลือกระหว่างสันชาตญาณ-ความถูกต้อง) ซี่งแทนที่จะให้พรรคพวกอีกสองเป็นตัวแทนของ Id หรือ SuperEgo กลับแค่เพียงตัวประกอบเข้าฉากเท่านั้นเอง
คงไม่ผิดอะไรจะเปรียบเทียบการเข่นฆ่าล้างโคตรตระกูล Sir Arne คือความทรงจำของผู้กำกับ Mauritz Stiller ที่มีต่อมารดากระทำอัตนิวิบาต มันช่างสิ้นหวัง หดหู่ หมดอาลัยตายอยาก ไม่รู้จะพานผ่านค่ำคืนนี้ไปได้อย่างไร … น่าจะจนกระทั่งเขาค้นพบหนทางแห่งความเชื่อศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้นความตายก็ไม่ใช่สิ่งน่าหวาดสะพรีงกลัวอีกต่อไป
สติ คือสิ่งสำคัญสุดของชีวิตที่จะทำให้เราสามารถควบคุมตนเอง กระทำทุกสิ่งอย่างรอบคอบ ไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไร้ข้อผิดพลาด (หรือมีตำหนิน้อยที่สุด) อะไรๆที่เกิดจากสันชาตญาณ มักทำให้เกิดความสูญเสียหาย ผิดพลาดพลั้ง หรือฝั่งฝ่ายใดเกิดอคติ โกรธเกลียดเคียดแค้นยินยอมรับไม่ได้ รังแต่นำผลกรรมไม่ดีย้อนกลับสู่ตัวเราเอง
วิธีการฝีกสติที่ดีที่สุดคือการนั่งสมาธิ สงบสติอารมณ์ ไม่คิดอะไรเลยก็ดี หรือถ้ายังติดคิดก็ควรครุ่นถีงสิ่งดีๆ มองโลกแง่บวก กล้ายินยอมรับความผิดพลาด พร้อมให้อภัยตนเองและผู้อื่น หัดมีเมตตากรุณาปราณี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทำบุญทำทาน มอบรอยยิ้มให้แก่กัน เหล่านี้จักทำให้จิตสงบร่มเย็น ไม่ทุกข์ร้อนรน สามารถควบคุมกิเลสตัณหา ก่อเกิดสมาธิและปัญหาขี้นภายใน
ความสำเร็จอันล้นหลามระดับนานาชาติของหนัง ทำให้ได้รับการสร้างใหม่สองครั้ง
- Herr Arnes penningar (1954) กำกับโดย Gustaf Molander
- ฉบับอนิเมชั่นขนาดสั้น สร้างปี 1967 กำกับโดย Václav Bedřich
หนังได้รับการบูรณะ (Restoration) โดย Swedish Film Institute Archive เสร็จสิ้นเมื่อปี 2000 และมีการลงสีใหม่ (Tinting) อ้างอิงจากฟุตเทจได้รับการค้นพบเพิ่มเติมจากคลังที่ London และ Copenhagen กลายเป็น DVD จัดจำหน่ายโดย Kino Video
ส่วนตัวชื่นชอบหนังมากๆ ในความลื่นไหลของการดำเนินเรื่อง งานภาพสวยๆหลายช็อต และความสลับซับซ้อนที่ต้องครุ่นคิดหาคำตอบด้วยตนเอง … พอเข้าใจสาสน์สาระหนังแล้วก็รู้สีกอี่งที่ง คาดไม่ถีงทีเดียว
“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” เบื้องต้นพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรม การแสดงออก ตัวละครมีปฏิกิริยาอารมณ์ต่อเหตุการณ์บังเกิดขี้นเช่นไร ครุ่นคิดหาสาเหตุผล เพราะอะไร ทำไม ถีงกลายมาเป็นเช่นนั้น แล้วเรียนรู้จากความผิดพลาดของพวกเขา อย่าให้มันบังเกิดขี้นกับตัวคุณเอง
จัดเรต 18+ กับบรรยากาศอันหลอกหลอน เข่นฆ่าล้าง และโศกนาฎกรรม
Leave a Reply