The Planets

The Planets

Holst: The Planets

เทียบกับวงการภาพยนตร์ คงต้องเรียกความยิ่งใหญ่ของบทเพลง The Planets, Op. 32 ประพันธ์โดยคีตกวีสัญชาติอังกฤษ Gustav Holst ว่าระดับ ‘Symphonic Blockbuster’ เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ปี 1918 ประกอบด้วย 7 Movement พรรณาถึง 7 ดาวเคราะห์ของระบบสุริยะขณะนั้น

  • Mars, the Bringer of War
  • Venus, the Bringer of Peace
  • Mercury, the Winged Messenger
  • Jupiter, the Bringer of Jollity
  • Saturn, the Bringer of Old Age
  • Uranus, the Magician
  • Neptune, the Mystic

Gustav Theodore Holst (1874 – 1934) คีตกวีสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Cheltenham, Gloucestershire
– ปู่ทวด Matthias Holst (1767-1854) มีเชื้อสาย German เป็นนักแต่งเพลง สอนดนตรี Harp ให้กับราชวงศ์ Imperial Russian Court
– ปู่ Gustavus Holst (1799-1871) คงต้องการหนีจากร่มเงาปู่ทวด เลยอพยพย้ายมาอยู่อังกฤษ เป็นนักแต่งเพลงและครูสอน Harp เช่นกัน
– พ่อ Adolph Holst (1846-1901) ชื่นชอบเล่นออร์แกน ผู้ควบคุมวงคอรัส สังกัด All Saints’ Church, Cheltenham
– มีน้องชายร่วมสายเลือด Emil Holst ต่อมาใช้ชื่อ Ernest Cossart มุ่งสู่วงการละครเวที West End ประสบความสำเร็จพอสมควร และเคยแสดงหนัง Hollywood อยู่ปริมาณหนึ่ง

ช่วงชีวิตวัยเด็กของ Gustav Holst เริ่มต้นจากเรียนเปียโน(ชอบมาก) ไวโอลิน(ไม่ชอบเท่าไหร่) ป่วยเป็นโรคหอบหืดเลยหัดเล่นทรัมโบนด้วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการ(ให้ปอดแข็งแรงขึ้น) โตขึ้นประพันธ์เพลงเปียโน ออร์แกน ขับร้อง ซิมโฟนี่ชิ้นแรกปี 1892 อิทธิพลหลักๆรับจาก Felix Mendelssohn, Frédéric Chopin, Edvard Grieg, Arthur Sullivan (แต่งานเพลงออกไปสไตล์ Richard Wagner และ Richard Strauss)

พ่อ Adolph พยายามผลักดันให้ลูกชายเป็นนักเปียโน แต่เขากลับเป็นคน Over-sensitive แถมชอบทำตาเบลอๆลอยๆเหมือนคนไร้วิญญาณ (จริงๆคือสายตาสั้น ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าต้องพาไปตัดแว่น) คอนเสิร์ตแรกที่พ่อ-ลูก คู่นี้แสดงร่วมคือ Brahms: Hungarian Dances

ปี 1892, Gustav Holst ได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ Operetta เรื่อง Lansdown Castle, or The Sorcerer of Tewkesbury เปิดการแสดงที่ Cheltenham Corn Exchange ได้รับเสียงตอบรับดีล้นหลาม เลยตัดสินใจส่งใบสมัครขอทุนการศึกษายัง Royal College of Music แม้ปีนั้นจะไม่ได้ทุนแต่ก็ได้รับโอกาสศึกษาต่อ หาเงินเรียนด้วยการเล่นทรัมโบนโดยมี Richard Strauss เป็นคอนดักเตอร์

ดิ้นรนไปเรื่อยๆจนเรียบจบ ทำงานเป็นนักดนตรี ประพันธ์บทเพลง ประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง จนกระทั่งประมาณปี 1913 ได้รับฟังเรื่องเล่าจากเพื่อนนักเขียน/กวีชื่อดัง Clifford Bax เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้ายามค่ำคืน แนะนำดาวทั้ง 7 ของระบบสุริยะ และหลักการทางโหราศาสตร์ที่เชื่อว่าดาวแต่ละดวงมีพลัง อารมณ์ แนวคิด ความเชื่อบางอย่างซ่อนเร้นอยู่

คิดเล่นๆสนุกสนานแต่ไปๆมาๆกลับเริ่มจริงๆจัง นำเรื่องราวแนวคิดจากหนังสือ What is the Horoscope and How is it Cast (1902) เขียนโดย Alan Leo ผู้ได้รับการยกย่องว่าคือ ‘the father of modern astrology’ มาเป็นแรงบันดาลใจ

ในตอนแรกตั้งชื่อว่า Seven Pieces for Large Orchestra (ได้แรงบันดาลใจชื่อจาก Arnold Schoenberg: Five Pieces for Orchestra) เริ่มต้นเขียนเพลงขึ้นจากเปียโนสองตัว ยกเว้นท่อนของ Neptune พิเศษโดยเฉพาะกับออร์แกน (เพราะเป็นดาวเคราะห์ห่างไกลโลกสุดขนาดนั้น และเสียงออร์แกนฟังดูเหินห่างยาวไกลที่สุด) ต่อจากนั้นใช้เวลาเป็นปีๆเพื่อเรียบเรียงเป็นออเครสต้าเต็มวง เปลี่ยนชื่อเป็น The Planets Suite รอบปฐมทัศน์ ณ Queen’s Hall, London กำกับวงโดย Adrian Boult วันที่ 29 กันยายน 1918 (สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1) ได้รับเสียงตอบรับดีเยี่ยม ประสบความล้นหลามโดยทันที

Mars, the Bringer of War เริ่มต้นด้วยพลังแห่งความเกรี้ยวกราดโกรธ ลางร้าง ไม่ใช่เรื่องดีแน่ เสียงกลองรัวเป็นจังหวะเร่งเร้าเหมือนเสียงย้ำฝีเท้า กรีธาทัพเข้าสู่ท้องสนามรบ ตรงกับชื่อ ‘God of War’ ของชาวโรมัน ขนลุกขนพองทุกทีที่ได้ฟัง

Venus, the Bringer of Peace ตรงข้ามกับดาวเคราะห์สีแดง ย่อมคือดาวศุกร์สีน้ำเงิน ท่วงทำนองเบาๆ เชื่องช้า ล่องลอย มอบสัมผัสที่ผ่อนคลาย เรียบง่าย งดงามด้วย Harps, Flutes และโซโล่ไวโอลิน แทนความงามของเทพีแห่งความรัก ณ อาณาจักรโรมัน

Mercury, the Winged Messenger ท่วงทำนองอันเหลาะแหละ หยองแย่ง เหมือน Bugs Bunny กระโดดโลดเต้น วิ่งเล่นลัลล้าไปมา ตรงกับความเป็นดาวเคราะห์น้องคนเล็ก เทพเจ้านำสาร หมุนรวดเร็วจี๋รอบวงโคจรพระอาทิตย์ (เป็นท่อนสั้นสุดของ Suite นี้ด้วยนะ)

Jupiter, the Bringer of Jollity การจะได้เข้าเฝ้าพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ ‘Majestic’ ที่สุดในน่านฟ้าระบบสุริยะ นำมาซึ่งความลิงโลด ตื่นเต้น ดีใจที่สุดในชีวิต เมื่อฉาบลงราวกับถึงเวลาพระองค์กำลังเสด็จลงพระที่นั่ง เงียบสงัดชั่วครู่หนึ่ง จากนั้นเสียงเครื่องเป่าลมทุ้มต่ำดังขึ้น แสดงถึงน้ำพระทัยที่แผ่ปกคลุมมาถึง ประสานต่อด้วยเครื่องสายให้เกิดความซาบซึ้ง ระยับวิจิตรตระการตา อยากเงยหน้าขึ้นสักครามาเชยชมพระบารมี

Saturn, the Bringer of Old Age เทพโรมันแห่งการเกษตร ตัวแทนคนรุ่นเก่าที่ปัจจุบันเมื่อสูงวัยเริ่มมีความเชื่อช้า โรยรา ใกล้ถึงจุดจบแห่งชีวิต เต็มไปด้วยความหวาดสะพรึงกลัว อนาคตอันมืดหมองหม่น แต่สุดท้ายแล้ว (เมื่อระฆังดังขึ้น) นั่นก็คือสัจธรรม มิอาจหลีกหนีพ้นจุดจบแห่งโชคชะตาลงได้

โลกหลังความตาย ในมุมมองของบทเพลงนี้ มันอาจไม่ได้เลวร้ายดั่งที่ใครๆครุ่นคาดคิดหวังกัน เพราะการตาย=การเกิด ชีวิตเบื้องหน้าอาจสงบสุขยอดเยี่ยมกว่าปัจจุบันก็เป็นได้

Uranus, the Magician นักมายากล ผู้เต็มเปี่ยมด้วยลูกเล่นลีลาแพรวพราว เบื้องนอกดูเหมือนไม่มีอะไรเท่าไหร่ แต่สิ่งที่อยู่ภายในกลับยิ่งใหญ่เอ่อล้น ค่อยๆเปิดเผยแสดงตัวตนออกมาทีละเล็กละน้อย สะกดจิตทุกผู้คนให้ตะลึงงัน เงียบสงัด จากนั้นทำบางสิ่งอย่าง … (ให้สมชื่อดาวมฤตยู)

Neptune, the Mystic เริ่มต้นด้วยเสียง Harp ประสานสอดคล้องออร์แกนอย่างนุ่มนวล บอบบาง มอบความรู้สึกเหมือนฝันอันห่างไกล ราวกับชีวิตลมหายใจค่อยๆเจือจางหาย ทุกสิ่งอย่างถูกลบลืมเลือนลางไปตามกาลเวลา และเมื่อเสียงคอรัสดังขึ้น บางสิ่งอย่างที่มองไม่เห็นด้วยตาแต่สัมผัสรับได้ว่ามีอยู่พานผ่านเข้ามา ช่างเป็นดวงที่เต็มไปด้วยความลึกลับพิศวงยิ่งนัก

สรุปโดยย่อของทั้ง 7 ท่อน อารมณ์ประมาณนี้

  • Mars: รุนแรง เกรี้ยวกราดโกรธ
  • Venus: นุ่มนวล สงบงาม
  • Mercury: รวดเร็ว เร่าร้อน
  • Jupiter: เฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่
  • Saturn: หดหู่ น่าสะพรึง
  • Uranus: มหัศจรรย์ ว้าวุ่นวาย
  • Neptune: ลึกลับ ห่างไกลโพ้น

การตีความบทเพลงนี้ นอกจากเรื่องอารมณ์ที่นำเสนอไปแล้ว มองจากยุคสมัยของการประพันธ์นั้น ครุ่นคิดตามแล้วจะขนหัวลุก สะท้อนเข้ากับสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เลยนะนั่นนะ

  • The Bringer of War ถ่ายทอดสัมผัสทางอารมณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1
  • The Bringer of Peace เมื่อสงครามจบ ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขสันติจึงถือกำเนิดขึ้น
  • The Winged Messenger ข่าวสารแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก
  • The Bringer of Jollity นำรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ดีใจอย่างสุดๆเมื่อสงครามสิ้นลง
  • The Bringer of Old Age การสิ้นสุดของสงคราม ถือเป็นจุดเปลี่ยนของยุคสมัย อดีตกำลังค่อยๆร่วงโรยลาลับไป
  • Uranus, the Magician โลกต่อไปย่อมเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ จากการเปลี่ยนแปลง
  • Neptune, the Mystic และไกลกว่านั้นคือความลึกลับที่ไม่มีใครสามารถบ่งบอกได้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ในบรรดาวาทยากรที่สามารถเรียบร้อยเรียง ตีความ ถ่ายทอดอารมณ์ของ The Planets ออกมาได้อย่างดงาม ยิ่งใหญ่ทรงพลัง สมบูรณ์แบบที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น Herbert von Karajan สัญชาติออสเตรีย ผู้ขึ้นเรื่องการใส่อารมณ์อันเกรี้ยวกราดรุนแรงลงไปขณะกำกับวง! ซึ่ง Record นี้ ท่อน Mars คือการบันทึกเสียงที่เจ้าตัวเคยบอกว่าชื่นชอบมากสุดๆ แม้หลายคนอาจรู้สึกทะแม่งๆด้วยความหน่วงเชื่องช้ากว่า Tempo ปกติ แต่ผมกลับขนหัวลุกซู่ทุกครั้งที่ได้ฟัง นี่อาจเป็นผลงาน Masterpiece ของ Karajan เลยนะเนี่ย

การตีความใหม่ของ The Planets ฉบับที่มีความน่าสนใจโคตรๆเลยก็คือ Isao Tomita ด้วยเครื่องสังเคราะห์เสียง จะนำพาคุณไปสู่โลกอนาคตอัน … ลองฟังดูเองแล้วกันนะครับ ว่าจะลึกล้ำพิศดารสักเพียงไหน

The Planets คือผลงาน Orchestral Suite ประสบความสำเร็จสูงสุดของ Gustav Holst แต่เจ้าตัวเหมือนจะไม่ค่อยแคร์มันเท่าไหร่ (ประมาณว่าเพลงนี้โด่งดังเกินไป จนคนส่วนใหญ่ไม่สนใจผลงานอื่นของตนเองเท่าที่ควร) สำหรับท่อนโปรดของผู้แต่งคือ Saturn และเมื่อตอนนักดาราศาสตร์ค้นพบดาวมฤตยู Pluto เมื่อปี 1930 มีคนไปสอบถาม Holst จะแต่งต่อไหม? ส่ายหัวปฏิเสธไม่สนใจ (ปัจจุบัน Pluto หลุดจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะไปแล้วนะครับ กลายเป็นว่า The Planets ยังคงเป็น Orchestra แห่ง Solar System สมบูรณ์ที่สุดอยู่ดี)

ประเด็นคือ Leonard Bernstein เมื่อปี 1972 ทำการตีความ The Planets ในรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งประพันธ์เพิ่มเติม Pluto, the Unpredictable เผื่อใครสนใจอยากฟังนำมาฝากทิ้งท้าย มันแบบว่า Avant-Garde สุดๆไปเลยนะ

สำหรับภาพยนตร์มีชื่อหน่อย ที่ได้รับแรงบันดาลใจ หรือนำ The Planets ไปใช้ประกอบ อาทิ
– The Imperial March ของ Star Wars (1977) ผู้แต่ง John Williams ให้สัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจจากท่อน Mars
– The Right Stuff (1983) รับอิทธิพลจาก Mars, Jupiter, Neptune
– สารคดี The Planets (1983)
– Gladiator (2000) ประพันธ์โดย Hans Zimmer มีทำนองคล้ายคลึงกับ Mars จนขนาดถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์จาก Holst Foundation
– The Curse of the Were-Rabbit (2005) ได้ยินท่อน Mars
– Hellboy II: The Golden Army (2008) ได้ยินท่อน Mars
– Knowing (2009) ได้ยินท่อน Jupiter
– The Boss Baby (2017) ได้ยินท่อน Mars

จริงๆผมจดจำไม่ได้แล้วว่าเคยฟัง The Planets ครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่ระหว่างเขียนบทความ The Right Stuff (1983) ระลึกได้ถึง Orchestra ชิ้นนี้ นำมาเปิดฟังเพื่อสร้างบรรยากาศ แค่ท่อนแรก Mars ก็ทำให้ขนลุกขนพองจนเกิดความตั้งใจอยากเขียนบทความนี้ขึ้นมา

ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบท่อนไหนของบทเพลงนี้มากเป็นพิเศษ แต่ถ้าให้ไล่เรียงคงประมาณ Mars > Saturn > Jupiter > Venus > Neptune > Uranus > Mercury

TAGLINE | “The Planets ของ Gustav Holst คือ Orchestra ที่ยิ่งใหญ่สุดแห่งระบบสุริยะ!”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: