if...

if… (1968) British : Lindsay Anderson ♥♥♥♥

บรรยากาศความตึงเครียดในโรงเรียน ไม่เพียงสะท้อนขนบวิถีทางสังคมของประเทศอังกฤษ ยังเหมารวมถึงสถานการณ์โลกในทศวรรษสงครามเย็น สร้างความอึดอัดอั้นคับข้องใจให้กับ Malcolm McDowell และผองเพื่อน เหมือนระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลัง รอคอยวันจะทำลายทุกสิ่งอย่างขว้างหน้า, คว้ารางวัล Palme d’Or และ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

ถ้า… (If—) บทกวีของ Rudyard Kipling เขียนขึ้นประมาณปี 1895 ตีพิมพ์รวมเล่มใน Rewards and Fairies (1910)

If you can keep your head when all about you
Are losing theirs and blaming it on you,
If you can trust yourself when all men doubt you,
But make allowance for their doubting too;
If you can wait and not be tired by waiting,
Or being lied about, don’t deal in lies,
Or being hated, don’t give way to hating,
And yet don’t look too good, nor talk too wise:

If you can dream—and not make dreams your master;
If you can think—and not make thoughts your aim;
If you can meet with Triumph and Disaster
And treat those two impostors just the same;
If you can bear to hear the truth you’ve spoken
Twisted by knaves to make a trap for fools,
Or watch the things you gave your life to, broken,
And stoop and build ’em up with worn-out tools:

If you can make one heap of all your winnings
And risk it on one turn of pitch-and-toss,
And lose, and start again at your beginnings
And never breathe a word about your loss;
If you can force your heart and nerve and sinew
To serve your turn long after they are gone,
And so hold on when there is nothing in you
Except the Will which says to them: “Hold on!”

If you can talk with crowds and keep your virtue,
Or walk with Kings—nor lose the common touch,
If neither foes nor loving friends can hurt you,
If all men count with you, but none too much;
If you can fill the unforgiving minute
With sixty seconds’ worth of distance run,
Yours is the Earth and everything that’s in it,
And—which is more—you’ll be a Man, my son!

ผมคงไม่แปลบทกวีที่คือเหตุผลของชื่อหนังเรื่องนี้ แต่จะกล่าวถึงใจความ ‘ถ้าคุณสามารถเพ้อฝัน และนั่นไม่ใช่ถูกใครครอบงำ คุณคือเจ้านายของตนเอง’ ในสังคมที่เต็มไปด้วยเจ้าขุนมูลนาย วางอำนาจบาดใหญ่กดขี่ข่มเขง นั่นเป็นสาเหตุผลให้วัยรุ่นหนุ่มสาวคนใต้สังกัด กล้าที่จะตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่าง เพื่อสนองความเพ้อฝันจินตนาการสูงสุดของตนเอง

ถ้าคุณยังไม่เคยผ่านตากับ if… แนะนำให้หา Zero for Conduct (1933) ของผู้กำกับ Jean Vigo มารับชมดูก่อน [ค้นเจอได้ใน Youtube] แล้วจะพบเห็นความคล้ายคลึงกันประมาณ 80% ซึ่งสองเจ้าของบทภาพยนตร์เรื่องนี้บอกมิได้ตั้งใจให้คล้ายคลึงขนาดนั้น ส่วนใหญ่เขียนขึ้นจากประสบการณ์ความทรงจำของตนเอง นั่นก็แปลว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้ พบเจอได้บ่อยครั้งในชีวิตจริง!

ผมมีโอกาสที่จะรับชม Zero for Conduct มาก่อนหน้านี้ ทำให้ระหว่างดู if… พบเห็นสิ่งคล้ายคลึงนานัปการ แต่แปลกที่ไม่หัวเสียหงุดหงิดคับข้องใจสักเท่าไหร่ คงเพราะความกลมกลืนลื่นไหลเป็นธรรมชาติ ผิดกับผลงานของผู้กำกับ Jean Vigo ที่เป็นแนว Surrealist ทำความเข้าใจยากยิ่งพอสมควร และตอนจบของหนังเรื่องนี้ต้องบอกว่าไม่ได้มากันเล่นๆ รุนแรงกว่าประมาณร้อยพันเท่าได้

Lindsay Gordon Anderson (1923 – 1994) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Bangalore, British India หลังจากพ่อ-แม่หย่าร้าง เดินทางกลับอังกฤษปี 1926 เข้าโรงเรียนประจำ Cheltenham College รู้จักสนิทสนมกับเพื่อนนักเขียน Gavin Lambert สอบได้ทุน Wadham College ของ University of Oxford สมัครเป็นทหารสงครามโลกครั้งที่ 2 สังกัด 60th King’s Royal Rifle Groups ทำงานเป็น Cryptographer ให้หน่วยข่าวกรอง ประจำอยู่กรุง Delhi เสร็จแล้วกลับมาเรียนต่อปริญญาโทภาษาอังกฤษ จบออกมาร่วมก่อตั้งทำงานเป็นนักวิจารณ์นิตยสาร Sequence เคยเขียนบทความลง Sight and Sound, New Statesman ฯ

Anderson ถือได้เป็น ‘François Truffaut ของประเทศอังกฤษ’ เคยเขียนบทความลงนิตยสาร Sight and Sound เรื่อง Stand Up, Stand Up โจมตีนักวิจารณ์ร่วมสมัยนั้นที่มัวแต่สนใจแต่รูปธรรมภายนอก หาได้สนใจเนื้อในสาระที่อยู่ภายในศิลปะภาพยนตร์นั้นๆ [คือสำหรับ Truffaut เคยเขียนบทความลักษณะคล้ายๆกันนี้ลง Cahiers du cinéma วิพากย์ถึงผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ น้อยคนจะสามารถจำแนกเรียกได้ว่าเป็น ‘ศิลปิน’]

ก็ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงจุดอดรนทนต่อไปไม่ได้แล้ว ผันตัวมาเป็นผู้สร้างเสียเอง เริ่มจากมีผลงานสารคดีขนาดสั้น ฉายโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ ปลายทศวรรษ 50s สู่วงการละครเวที กำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก This Sporting Life (1963), กลายเป็นตำนานกับ Mick Travis Trilogy ประกอบด้วย if… (1968), O Lucky Man! (1973) และ Britannia Hospital (1982) ทั้งหมดนำแสดงโดยลูกรัก Malcolm McDowell [ที่ก็ไม่ต่างอะไรกับ Jean-Pierre Léaud เรียกได้ว่าคือลูกบุญธรรมของ Truffaut]

จุดเริ่มต้นของ if… เกิดจาก David Sherwin ร่วมกับ John Wowlett พัฒนาบทภาพยนตร์ชื่อ Crusader เขียนขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตตนเองที่โรงเรียนประจำ Tonbridge School นำโปรเจคไปพูดคุย Seth Hold คิดว่าตัวเองมือไม่ถึงเลยอาสาหาผู้กำกับให้ ตอนแรกติดต่อ Nicholas Ray ที่โด่งดังจาก Rebel Without a Cause (1955) ซึ่งก็แสดงความสนใจ แต่ไม่นานกลับแตกเข้าพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล จำต้องมองหาคนใหม่ถึงมือของ Lindsay Anderson

หลังจากอ่านบท Anderson มีการปรับแก้ไขพอสมควรให้เข้ากับวิสัยทัศน์ความทรงจำ เปลี่ยนมาใช้โรงเรียนเก่าของตนเอง Cheltenham College เพราะ Tonbridge School ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำหลัก

เรื่องราวของ Mick Travis (รับบทโดย Malcolm McDowell) และผองเพื่อน Wallace (รับบทโดย Richard Warwick) กับ Johnny (รับบทโดย David Wood) นักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง (น่าจะอยู่ ม.5) มักถูกจับตามองโดยรุ่นพี่ (ม.6) ที่เต็มไปด้วยความเข้มงวดกวดขัน เรื่องมากเย็นชารุนแรงเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ใช่ไร้ซึ่งเหตุผลประกอบ เพราะพวกเขากลุ่มนี้มักชอบทำอะไรนอกรีตนอกรอย ขัดแย้งต่อระเบียบกฎเกณฑ์ของโรงเรียนอยู่เสมอ

นำแสดงโดย Malcolm McDowell ชื่อจริง Malcolm John Taylor (เกิดปี 1974) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Horsforth, West Riding of Yorkshire ในครอบครัวชนชั้นทำงาน (Working Class) เติบโตขึ้นที่ Liverpool (กลายเป็นแฟนฟุตบอลตัวยง) ถูกส่งเข้าเรียนประจำตั้งแต่อายุ 11 ที่นั่นโดนเพื่อนๆกลั่นแกล้งจนเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว โตขึ้นเข้าเรียนการแสดง London Academy of Music and Dramatic Art จนได้เป็นตัวประกอบของ Royal Shakespeare Company ไม่ทันไรไปเข้าตาผู้กำกับ Lindsay Anderson ชักชวนมารับบทนำใน If… (1968)

รับบท Michael Arnold ‘Mick’ Travis วัยรุ่นหนุ่มที่มีความหัวขบถ ต่อต้านสังคม ‘Anti-Establishment’ อดรนทนไม่ได้เมื่อถูกอาจารย์/รุ่นพี่ ปฏิบัติต่อตนเองและผองเพื่อนอย่างรุนแรงเผด็จการ จนเมื่อถึงจุดๆหนึ่งมิสามารถอดรนทนต่อไปไหวอีกแล้ว เลยร่วมกันวางแผนแก้แค้นเอาคืนโดยไม่สนใครจะเป็นใคร คนรู้จักไม่รู้จักเหมาหมดคือความชั่วร้าย

ส่วนตัวชื่นชอบการแสดงของ McDowell เรื่องนี้มากกว่า A Clockwork Orange เสียอีกนะ เพราะมิติของ Alex DeLarge คืออัปลักษณ์ชั่วร้ายจากภายใน กลั่นออกมาเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดหรือรู้สำนึกตัวเอง ขณะที่เรื่องนี้มันมีช่วงเวลาก่อนหน้าจะไปถึงจุดนั้น แรกๆก็ยังดูเหมือนวัยรุ่นปกติทั่วไป ใบหน้าละอ่อนเยาว์ จุดเปลี่ยนคือหลังจากถูกเฆี่ยนจนร่ำไห้ สีหน้าแสดงความเจ็บปวดรวดร้าวทรมานอย่างสุดๆ เหตุการณ์ถัดๆมาเลยสามารถเข้าใจได้ว่า นั่นเป็นจุดแตกหักของตัวละครจริงๆ

เกร็ด: Guy Fawkes (1570 – 1606) บุคคลผู้กลายเป็นตำนานจากความล้มเหลวของแผนระเบิดดินปืน (Gunpowder Plot) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1605 ต้องการที่จะระเบิดทำลาย Westminster Palace ตึกรัฐสภาของประเทศอังกฤษระหว่างการเปิดสมัยประชุม แต่กลับถูกเปิดโปงจับได้แขวนคอเสียก่อน ซึ่งภาพลักษณ์ของชายคนนี้มักสวมผ้าคลุมสีดำปกปิดใบหน้าแท้จริงของตนเอง เหมือนกับ Travis ช็อตนี้ไม่มีผิดเพี้ยน

ถ่ายภาพโดย Miroslav Ondříček ตากล้องสัญชาติ Czech ขาประจำของผู้กำกับ Miloš Forman ผลงานเด่น อาทิ The Fireman’s Ball (1967), if… (1968), Ragtime (1980), Amadeus (1984) ฯ

นักวิจารณ์หลายคนพยายามทำความเข้าใจ ทำไมหนังถึงมีการสลับไปมาระหว่างภาพสี-ขาวดำ อาทิ เพื่อสะท้อนถึงอารมณ์ของเรื่องราวขณะนั้น ให้เกิดการแยกแยะระหว่างเหตุการณ์จริง-ความฝันแฟนตาซี ฯ ภายหลังได้รับความกระจ่างแจ้ง McDowell บรรยายไว้ใน Commentary ของหนัง

“They first shot the scenes in the school chapel in monochrome because they had to use natural light that came in through the big stained-glass window, requiring high-speed film. The high-speed color stock they tested was very grainy and the constantly-shifting color values due to the angle of the light through the stained glass made it impossible to color-correct, as well. So they decided to shoot those scenes in monochrome, and, when he saw the dailies, Anderson liked the way that it ‘broke up the surface of the film’, and decided to insert other monochrome scenes more or less at random, to help disorient the viewer as the film slipped from realism to fantasy”.

สรุปก็คือ เกิดปัญหาตอนล้างฟีล์มฉากในโบสถ์ เพราะต้องใช้แสงจากธรรมชาติล้วนๆ ผลลัพท์เลยออกมาหม่นๆสักหน่อย และด้วยระยะเวลาได้รับอนุญาตมีจำกัด เลยทำการถ่ายภาพขาว-ดำ เก็บไว้ด้วยเพื่อใช้อ้างอิงโทนสี แต่เมื่อ Anderson พบเห็นฟุตเทจดังกล่าวกลับเกิดความชื่นชอบประทับใจ เหมือนว่ามันสามารถสลับเรื่องราวไปมาระหว่างความจริง <> ความฝัน เลยเลือกถ่ายทำหลายๆฉากตามใจอยาก ด้วยฟีล์มขาวดำเสียเลย

หนึ่งในฉากที่ได้รับอิทธิพลมาเต็มๆจาก Zero of Conduct คือการยืนกลับหัวกลับหาง จากอาจารย์ที่เดินเหมือน Charlie Chaplin กลายมาเป็นเด็กชาย Biles ผู้ทำอะไรผิดตลอด เลยถูกกลั่นแกล้งจับห้อยหัวลงชักโครก นัยยะสื่อถึง ความไม่สามารถกระทำตามระเบียบแบบแผนตามที่สังคมกำหนดไว้

เรื่องราวของ Biles สะท้อนเข้า Mike Travis ที่มักถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ/คนหมู่มาก ต่างแค่วัยวุฒิเท่านั้นเองกระมัง

นี่คือฉาก Sex Scene อันบันลือลั่นชาย-ชาย ที่ทั้งสองคนมิได้แม้แต่จะสัมผัสแตะต้องตัว แค่จับจ้องมองตา ก็สามารถครุ่นคิดตีความไปในลักษณะเช่นนั้น!

ชายสองคนนี้คือ Wallace ขณะกำลังเตรียมตัวห้อยโหนหมุนตัวยิมนาสติก และเด็กชาย Bobby Philips ถูกครูพละสั่งให้กลับมาสวมเสื้อกันหนาวแต่งตัว ประเด็นก็คือวินาทีที่ทั้งสองสบตาราวกับจะกลืนกินซึ่งกันและกัน ภาพตัดสลับไปมาระหว่างที่
– Bobby กำลังสวมใส่เสื้อโค้ทอย่างสโลโมชั่น (เข้าใจคำว่า ‘สวมใส่’ ไหมเอ่ย?)
– Wallace กำลังเหวี่ยงตัวโยกขึ้น-โยกลง บนบาร์โหน (สังเกตว่าจะหันหลังให้กล้องแทบจะตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เห็นใบหน้านักแสดงแทน แต่ก็สื่อได้ถึงการหันประตูหลังให้)

ไคลน์แม็กซ์คือ Bobby สวมเสร็จ และ Wallace กระโดดหมุนตัวลงสู่พื้น ซึ่งเมื่อเรื่องราวดำเนินต่อไปอีกสักพัก จะมีช็อตที่พวกเขาทั้งสองนอนหลับร่วมกันอยู่บนเตียง ไม่ได้มีภาพกอดจูบ Love Scene แต่ทั้งหมดนี้สามารถสื่อได้ถึง Sex ก็คล้ายๆหนังของ Astaire-Rogers ที่ใช้การร้องเล่นเต้นรำกันอย่างงดงามชดช้อย ไม่ต่างอะไรกับการมี Sex ร่วมรัก

Christine Noonan รับบทหญิงสาวนิรนาม พบเห็นครั้งแรกทำงานเป็นสาวเสิร์ฟขายกาแฟในร้าน Coffee Shop
– วินาทีที่ Johnny วางที่รองลงบนแก้ว เป็นการบอกถึงสิ่งเกิดขึ้นถัดไปคือความเพ้อฝันแฟนตาซีของ Rick Travis จินตนาการเห็นหญิงสาวทำตัวเหมือนเสือไล่ฟัดกัด ถอดเสื้อผ้าร่วมรักกันบนพื้น
– ถัดมา Rick Travis หยิบที่รองแก้วออก นั่นคือความเป็นจริงที่หญิงสาวนิรนามพูดบอกว่า ตนเองตกหลุมรัก Johnny

Rick คงชื่นชอบหญิงสาวคนนี้มากๆเลยสินะ ครั้งหนึ่งมองเธอผ่านกล้องส่องโทรทรรศน์ ราวกับดวงดาวบนฟากฟ้าที่ต้องการไขว่คว้ามาครอบครอง แต่ก็รับรู้ว่าคงไม่สมหวัง (คือยังเห็นเพื่อนสำคัญกว่าเลยไม่ขโมยแย่งชิง พร้อมหลีกทางให้ได้) ช่วงท้ายเธอปรากฎตัวอีกครั้งในฐานะอีกหนึ่งผู้ร่วมขบวนการ ระเบิดความอัดอั้นออกมาทำลายล้างทุกสิ่งอย่าง

การลงทัณฑ์ในโรงพละ ให้กางแขนสองข้างวางคู่ขนานกับไม้ หันหลังให้แล้วใช้ไม้เรียววิ่งมาทุบตีอย่างเต็มกำลังสุดเหวี่ยง แค่สามสี่ครั้งยังพอรับได้ แต่เฉพาะกับ Rick Travis ความหลากจำกลายสภาพเป็นเก็บกดคับข้องแค้น หลั่งน้ำตาออกมาไม่ใช่แค่เจ็บกาย แต่สั่นสะเทือนรวดร้าวถึงภายใน

ว่ากันว่านี่คือฉากที่ทำให้ Stanley Kubrick ใคร่สนใจเลือก Malcolm McDowell มานำแสดงใน A Clockwork Orange (1971) แต่ไม่ใช่ตอนที่เขาร้องไห้นะครับ ขณะเปิดประตูเดินเข้ามาด้วยรอยกระยิ่มยิ้ม แค่โดนเฆี่ยนไม่กี่ทีทำอะไรฉันไม่ได้หรอก

ให้ข้อสังเกตอีกนิดกับห้องรอถูกเฆี่ยน-ในห้องถูกเฆี่ยน มุมกล้องจะเลือกทิศทางมองเห็นประตูในตำแหน่งตรงกันข้าม สะท้องถึงอะไรๆที่มีสองฝากฝั่ง ถูก-ผิด ดี-ชั่ว เหมาะสม-ไม่เหมาะสม ความจริง-เพ้อฝัน ฯ

วิชาทหาร สำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (จบ ม.6) คือการซักซ้อมเตรียมพร้อมทางกาย เผื่อว่าเมื่อเรียนจบตัดสินใจสมัครทหาร จะได้รับรู้เบื้องต้นว่าจะได้พบเจอกับอะไรบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกิจกรรมนี้ก็เพียงความบันเทิงขบขัน เทียบไม่ได้กับโลกความจริงใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน โหดร้ายกว่านั้นเยอะ

ความน่าขบขันชวนให้พิศวงของฉากนี้ บาทหลวงถูก Mick Travis ยิงตายหรือแสร้งเล่น? ผู้กำกับ Anderson คงจงใจให้เกิดความคลุมเคลือ จริง-ฝัน หลังจากนี้จะมีลุกขึ้นจากโลงศพ ก็เอาเป็นว่ายังไม่มีใครตายจริงในฉากนี้ แค่ซักซ้อมก่อนเฉยๆ (ตามคอนเซ็ปของวิชาทหาร)

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังครูใหญ่ในงานวันก่อตั้ง คือประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโรงเรียน/ประเทศแห่งนี้ นักรบสวมชุดเกราะจากยุคกลาง, นายพลทหารสวมชุดเต็มยศ, บาทหลวงผู้นำศาสนา และใครอื่นอีกนับไม่ถ้วน พวกเขาทั้งหลายกำลังถูกสั่นคลอนจากควันไฟที่กำลังค่อยๆโพยพุ่งออกมา จนทุกคนเกิดความแตกตื่นตระหนกจนต้องรีบเผ่นออกมาภายนอก

นี่เป็นการตอบโต้ขั้นแรกของ Mick Travis และผองเพื่อน เพื่อจะบอกว่าสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับเขา ล้วนมีประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์จากบรรดาผู้นำที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้

ผมไม่อยากสปอยตอนจบ แต่จะบอกว่าติดใจป้าคนนี้เหลือเกิน แก่ปูนนี้แล้วยังไม่หวาดกลัวตาย หยิบปืนกลขึ้นมากราดยิงพร้อมด่าทอ Bastard! เรียกว่าความรุนแรง/การตอบโต้ มันถูกปลูกฝังมาบรรพบุรุษตั้งแต่ไหนต่อไหนแล้ว

เพิ่มเติมให้ว่าหนังเรื่อง Zero for Conduct ก็จบลงลักษณะนี้คล้ายๆกัน (แค่ว่าไม่รุนแรงมากคลั่งเท่า) เมื่อความอึดอัดอั้นถึงขีดสุด ระเบิดเวลามันเลยเริ่มทำหน้าที่ของมัน ด้วยการปะทุทำลายทุกสิ่งอย่างขวางหน้า โดยไม่สามารถแยกแยะดี-ชั่ว ถูก-ผิด เหมาะสมไม่เหมาะสม ฯ

ตัดต่อโดย David Gladwell สัญชาติอังกฤษ ขาประจำของ Anderson, เรื่องราวไม่ถือว่าดำเนินไปในมุมมองตัวละครหนึ่งใด แต่หลักๆก็คือ Mick Travis ผู้มักเป็นศูนย์กลางของการถูกลงทัณฑ์

ใช้ Title Card แบ่งเรื่องราวออกเป็น 8 ตอน ประกอบด้วย
– College House … Return
– College ‘Once again assembled…’
– Term Time
– Ritual and Romance
– Discipline
– Resistance
– Forth to War
– Crusade (สงครามศักดิ์สิทธิ์ ที่อ้างศาสนาคือสาเหตุของการต่อสู้ขัดแย้ง)

การแบ่งเรื่องราวออกเป็นบทๆนี้ ช่วยให้ผู้ชมสามารถคาดเดา เตรียมพร้อมรับมือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นวิวัฒนาการของเรื่องราวและตัวละคร โดยเฉพาะ Discipline -> Resistance ทำให้รู้สึกว่ามันต้องมีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้นถัดไปแน่ๆ แล้วก็เป็นจริงกับ Forth to War และ Crusade

ไฮไลท์ของการตัดต่อคือไคลน์แม็กซ์ Crusade มีการตัดสลับไปมาระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นบนลานกับหลังคา ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีๆจะไม่มีช็อตที่เห็นกลุ่มแก๊งค์ทั้ง 4 อยู่ร่วมกันเลย ต่างจับจ้องเฉพาะมุมใครมุมมัน (คงจะไม่มีคิวถ่ายพร้อมกัน เลยต้องใช้การตัดต่อหลอกเลี่ยงเอา)

และช็อตจบของหนังที่อาจต้องใช้การสังเกตกันสักหน่อย ภาพจับจ้องใบหน้าของ Mick Travis ดำเนินไปข้างหน้าสักแปปจากนั้นถอยหลัง (Reverse Shot) -> เคลื่อนกลับไปข้างหน้าแล้วถอยหลังซ้ำอีกรอบ ค่อยตัดภาพดำเฟดขึ้นเครดิต, นัยยะสื่อถึงการเกิดขึ้นเวียนวนซ้ำแล้วซ้ำอีกของเหตุการณ์ลักษณะ เป็นอะไรที่ไม่รู้จบ สุดท้ายก็ได้แต่คั่งค้างคาไว้ ไร้ซึ่งวิธีการรับมือหรือแก้ปัญหาใดๆจากทุกภาคส่วนของสังคม (กล่าวโทษว่าเป็นที่ความผิดของตัวเด็กเอง ไม่รับรู้สนใจอะไรอื่นทั้งสิ้น)

เพลงประกอบโดย Marc Wilkinson สัญชาติ Australian ไปร่ำเรียนวิชาที่ New York จบมาทำงานอยู่อังกฤษ พอรีไทร์อาศัยอยู่ฝรั่งเศส ผลงานเด่นๆ อาทิ If…. (1968), The Royal Hunt of the Sun (1969), The Mango Tree (1977), The Bell (1982) ฯ

เริ่มต้น Opening Credit คาดว่าคือเพลงประจำโรงเรียน (ที่ไม่เอ่ยชื่อโรงเรียน) ขับร้องประสานเสียงในโบสถ์พร้อมด้วยบรรเลงออร์แกน เนื้อร้องเทิดทูนความสำคัญของการเรียนหนังสือ ทำให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังไม่ทันเครดิตจะจบลง เสียงเกรี๊ยวกร้าวของเด็กๆ และอีกบทเพลงทำนองหลอนๆสั่นสะพรึง นี่สะท้อนถึงความมีเงื่อนงำบางอย่างกำลังคืบคลานเข้ามา

ไฮไลท์ของบทเพลงคือฉากยิมนาสติก ด้วยสัมผัสแห่งความเพ้อฝันหวาน ราวกับกำลังล่องลอยอยู่ท่ามกลางดวงดารา เคลิบเคลิ้มหลงใหลหลับฝัน ชีวิตได้เติมเต็มความสุขบางอย่างที่มิอาจไขว่คว้ามาครอบครอง

อัลบัม Missa Luba (1958) ประพันธ์โดย Father Guido Haazen บาทหลวงนิกาย Franciscan สัญชาติ Belgium เป็นแนว Latin Mass ขับร้องประสานเสียงในสไตล์พื้นบ้านของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, ที่นำมาใช้ในหนังฉากใน Coffee Shop ชื่อ Sanctus (แปลว่า Soul, จิตวิญญาณ) ขับร้องโดย Les Troubadours du Roi Baudouin

แนวคิดของอนาธิปไตย (Anarchism) คือปรัชญาการเมืองซึ่งถือว่า ‘รัฐเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา’ ไม่มีความจำเป็นและให้โทษแก่ประชาชน คัดค้านผู้มีอำนาจหรือองค์การลำดับขั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ สนับสนุนสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจ ไม่มีลำดับชั้นหัวหน้า-ลูกน้อง เรียกว่าเสรีภาพของปัจเจกชน

เมื่อเปรียบเทียบสิ่งต่างๆของหนังในระดับมหภาค โรงเรียน=ประเทศชาติ, เด็กนักเรียน=ประชาชน, หัวหน้านักเรียน=ผู้นำชุมชนท้องถิ่น, ครูอาจารย์=รัฐบาลบริหารประเทศ, ครูใหญ่=นายกรัฐมนตรี/ประธานาธิบดี

ปัญหาของ Mick Travis เกิดจากความไม่พึงพอใจต่อผู้มีอำนาจทั้งหลายที่พยายามกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบตนเองและผองเพื่อน สะสมความโกรธเกลียดเคียดแค้น เจ็บปวดทุกข์ทรมาน ปะทุระเบิดออกเพื่อทำลายล้างระบอบ เหมารวมทุกสิ่งอย่างให้ล่มจมดับสูญสิ้นพังทลาย

สิ่งที่ Lindsay Anderson แตกต่างจาก Jean Vigo คือเขามิได้ฝักใฝ่ฝ่าย Anachist รุนแรงเด่นขนาดนั้น สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้พุ่งเป้าไปที่นำเสนอปัญหาวัยรุ่น และโจมตีความล้าหลังของประเทศอังกฤษในเรื่องอภิสิทธิ์ชนชั้นสูง

ว่าไปประเทศอังกฤษ ก็คล้ายๆเมืองไทย บุคคลเกิดในชนชั้นสูงฐานะร่ำรวย มักดูถูกแคลนผู้มีความต่ำต้อยด้อยกว่า หลายครั้งพยายามใช้อำนาจบาดใหญ่ควบคุมครอบงำ เล่นพรรคพวกพ้องเพื่อสนองผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง มันอยู่ที่จิตใจของคนใต้สังกัดจะมีความอดรนทน ประณีประณอมก้มหัวยอมความมากน้อยแค่ไหน (บ้านเมืองเราเป็นชาวพุทธ ธรรมะธัมโมรักสันติ เลยมักจะให้อภัย ปล่อยเป็นเรื่องกฎแห่งกรรมตามทันคนชั่วพวกนั้นเอง) ซึ่งชาวตะวันตกก็แน่ละ ของแบบนี้น้อยนักที่ใครจะกลั้นไว้ไหว

ระดับความรุนแรงที่ Mick Travis ปะทุระเบิดออกมา ในบริบทนี้น่าจะถือว่าเสียสติแตกแล้วละ ไร้ซึ่งสามัญจิตสำนึก แยกแยะผิดชอบดีชั่ว กระทำสิ่งต่างๆเหล่านี้สนองความพึงพอใจส่วนตน โต้ตอบกลับในลักษณะเหมารวมที่สังคมไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคล และโดยเฉพาะบางคนที่ยื่นข้อเสนอหน้าเข้ามาบอกให้ประณีประณอม นั่นไม่ใช่จุดที่พวกเขาอยากรับฟังอีกต่อไปแล้ว

“ถ้า…” สังคม/ประเทศชาติ/โลกของเรา ยังดำเนินไปในลักษณะแบบนี้อยู่ ผู้มีอำนาจแสดงความบาดใหญ่ กดขี่ข่มเหงบุคคลชนชั้นต่ำต้อยกว่า เมื่อนั่นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ จักยังคงเวียนวนหวนกลับมาเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาไม่มีวันสิ้นสุด

ด้วยทุนสร้าง $500,000 เหรียญ ในอังกฤษเหมือนว่าจะไม่ค่อยทำเงินสักเท่าไหร่ ฉายในอเมริกาทำเงินได้ $2.3 ล้านเหรียญ คงจะคืนทุนได้อยู่, เข้าชิง BAFTA Award สองสาขา
– Best Director
– Best Screenplay

ตามด้วยส่งฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ปีถัดมา คว้ารางวัล Palme d’Or และเข้าชิง Golden Globe Award: Best Foreign Language Film พ่ายให้กับ Oh! What a Lovely War (1969)

ระหว่าง Zero for Conduct กับ if… ถึงเรื่องแรกจะมีความลึกล้ำซับซ้อน แต่เรื่องหลังถือว่าโดดเด่นกว่าในทุกๆแขนง ตั้งแต่การแสดงของ Malcolm McDowell, ภาพถ่ายสุดแนวของ Miroslav Ondrícek และไดเรคชั่นของผู้กำกับ Lindsay Anderson เรียกได้ว่าคือภาพยนตร์ Masterpiece ของประเทศอังกฤษ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แนะนำกับผู้ใหญ่ทุกท่าน ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาเสมอไป บางครั้งรังแต่จะสร้างระเบิดเวลาให้เกิดขึ้น เมื่อมันปะทุออกมาทุกสิ่งอย่างก็สายเกินแก้ไปแล้วเสมอ

สิ่งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ พยากรณ์/อธิบายหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ผมขอที่จะไม่ยกสักตัวอย่างเลยนะครับ เห็นข่าวแทบจะทุกๆปีในหลายๆประเทศ (ขอให้มันอย่าได้เกิดขึ้นในเมืองไทยขึ้นสักคราวเดียว!)

แนะนำคอหนังดราม่าวัยรุ่น สะท้อนขนบวิถีของชาวอังกฤษ, ครู-อาจารย์ นักสังคมสงเคราะห์ ลดการปลูกฝังความรุนแรงต่อเด็ก, รู้จักผู้กำกับ Lindsay Anderson และนักแสดงนำ Malcolm McDowell ไม่ควรพลาด

จัดเรต 15+ กับระเบิดเวลาและความรุนแรงที่เกิดขึ้น

TAGLINE | “ถึง if… จะคือการตั้งคำถามในความฝันของผู้กำกับ Lindsay Anderson แต่โลกความเป็นจริง ก็มีเด็กวัยรุ่นมากมายที่กลายเป็นแบบ Malcolm McDowell”
QUALITY | RARE-GENDARY
MY SCORE | LIKE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: