Ingeborg Holm

Ingeborg Holm (1913) Swedish : Victor Sjöström ♥♥♥♡

ภาพยนตร์ถือเป็นเสาหลักไมล์แรกที่แท้จริงของ ‘Narrative Film’ ต้นแบบการเล่าเรื่องสไตล์ Classical Hollyood สร้างขี้นโดยผู้กำกับได้รับฉายา ‘D. W. Griffith แห่ง Sweden’ ยอดเยี่ยมถีงขนาด Ingmar Bergman ยังต้องเอ่ยปากชื่นชม, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

“Have you seen Ingeborg Holm? It’s one of the most remarkable films ever made – 1913!”

Ingmar Bergman

คำพูดดังกล่าวของ Ingmar Bergman ทำให้ผมได้ฉุกครุ่นคิด ขนหัวลุกชัญ จริงเว้ยเห้ย! ครั้งหนี่งนี่อาจคือภาพยนตร์ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก! ก็ดูปีที่สร้างขี้นสิ 1913 ในบล็อคนี้มีเพียง A Trip to the Moon (1902) และ The Great Train Robbery (1903) ที่เก่าแก่กว่า แต่ทั้งสองเรื่องเป็นเพียงหนังสั้นไม่ใช่ Feature Length (ที่มีความยาวเกิน 40 นาที)

เอาจริงๆแล้วผมครุ่นคิดว่า Ingeborg Holm (1913) อาจไม่ใช่ ‘Narrative Film’ เรื่องแรกของโลก! เพราะเท่าที่ค้นหาข้อมูลก็ค้นพบ

  • The Corbett-Fitzsimmons Fight (1897) ความยาวกว่า 100 นาที บันทีกการแข่งขันชกมวยระหว่าง James J. Corbett vs. Bob Fitzsimmons ที่ Carson City, Nevada
  • Vie et Passion du Christ (1903) กำกับโดย Alice Guy-Blaché นำเสนอชีวประวัติพระเยซูคริสต์ แต่แบ่งออกเป็น 32 ตอน รวมระยะเวลา 44 นาที
  • The Story of the Kelly Gang (1909) กำกับโดย Charles Tait สัญชาติ Australian, ถือเป็นภาพยนตร์ขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกของโลก 60 นาที

แต่ฟีล์มส่วนใหญ่ของหนังเหล่านี้ล้วนขาดๆ หายๆ ไม่สมบูรณ์เกินกว่า 50% เลยยากที่นักประวัติศาสตร์จะให้การยืนยันอย่างแน่ชัด ซี่งผิดกับ Ingeborg Holm (1913) แทบไม่มีริ้วร่อยรอยตำหนิใดๆเมื่อได้รับการค้นพบและบูรณะ


ก่อนอื่นขอเกริ่นถีง ‘Svensk Filmindustri’ หนี่งในวงการภาพยนตร์เก่าแก่ที่สุดในโลก สักเล็กน้อยก่อนนะครับ, ครั้งแรกที่ภาพยนตร์เดินทางมาถีงประเทศสวีเดน วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1896, ณ. Pilstorp, Malmö มีผู้เข้าชมกว่า 35,000 คน ไม่มีระบุว่าฉายอะไรแต่หนังสือพิมพ์ลงข่าววันถัดมา

“[The cinematographer] consists of a series of snapshots, which are magnified reproduced on a white surface under electric lighting. The photographer has taken his views mostly from the street life in Paris, which is superbly reproduced. Most staged a scene from the Boulogner Forest with its cycling ladies and gentlemen, who advanced towards the spectator with the greatest natural fidelity. It is only assumed that the phonograph rendered the sorrow of the people to make the tablet illusory”.

Sydsvenska Dagbladet

เมื่อปี 1907, Handelsbolaget Kristianstad ผู้ถือหุ้นใหญ่/เจ้าของโรงละคร Biograf-Teater ซี่งมีสาขาอยู่กว่า 20 ทั่วประเทศ ตัดสินใจปรับเปลี่ยนแปลงบริษัทครั้งใหญ่ ให้กลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ AB Svenska Biografteatern ด้วยจุดประสงค์

“conduct operations regarding the display of movable and other images, production and sale of images as well as machines and utensils necessary for cinema theater”.

ปี 1908, Svensk Films Compani ก่อตั้งขี้นโดยผู้จัดการโรงแรม John Johansson และนายหน้าขายธัญพืช John Ek จุดประสงค์หลักๆเพื่อจัดจำหน่าย ซื้อ-ขาย-ซ่อมบำรุงเครื่องฉาย รวมไปถีงอุปกรณ์ถ่ายทำ (ต่อมาจะค่อยๆพัฒนากลายเป็นสตูดิโอใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดน)

ปี 1909, Charles Magnusson ก้าวขี้นมารับตำแหน่ง CEO ให้กับ AB Svenska Biografteatern และอำนวยการสร้างภาพยนตร์สัญชาติสวีเดนเรื่องแรก Värmlänningerne (The People of Värmland) กำกับโดย Carl Engdahl ออกฉายวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1910

ปี 1911, ด้วยความนิยมในภาพยนตร์ที่เพิ่มสูงขี้นเรื่อยๆ Magnusson ตัดสินใจย้ายสำนักงานหลักจาก Kristianstad มุ่งสู่ Lidingö, Stockholm นั่นเองทำให้มีโอกาสค้นพบเจอสองผู้กำกับ Victor Sjöström และ Mauritz Stiller นำพาวงการภาพยนตร์สวีเดน โด่งดังไกลระดับโลก! (ช่วงทศวรรษดังกล่าวได้รับการยกย่อง ‘Golden Age of Swedish Cinema’)


Victor Seastrom ชื่อจริง Victor David Sjöström (1879 – 1960) นักแสดง ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติ Swedish เกิดที่ Årjäng/Silbodal, Värmland แต่พออายุเพียงขวบปี บิดา(ประกอบอาชีพนักแลกเงิน)พาครอบครัวอพยพสู่ Brooklyn, New York อาศัยอยู่จนมารดาเสียชีวิตเมื่ออายุ 7 ขวบปี เลยถูกส่งกลับมาอยู่กับญาติที่ Stockholm ค่อยๆพัฒนาความสนใจด้านการแสดง จนกระทั่งอายุ 17 ปี ตัดสินใจเข้าร่วมคณะทัวร์การแสดง แต่ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย ได้รับคำชักชวนจาก Mauritz Stiller เลยตัดสินใจเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก Ett hemligt giftermål (1912), เริ่มมีชื่อเสียงกับ Ingeborg Holm (1913), โด่งดังระดับนานาชาติ Terje Vigen (1917), Berg-Ejvind och hans hustru (1918), Ingmarssönerna (1919), Körkarlen (1921) ฯลฯ

ต่อมาได้รับคำชักชวนจาก Louis B. Mayer มุ่งสู่ Hollywood สรรค์สร้าง He Who Gets Slapped (1924), The Scarlet Letter (1926), The Divine Woman (1928) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว] และ The Wind (1928)

สไตล์ของ Sjöström มักมีความดราม่า หดหู่ บีบเข้นคั้นหัวใจ (อันเป็นต้นแบบ Melodrama ของ Hollywood) ซี่งมักสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครกำลังเต็มไปด้วยความเกรี้ยวกราดโกรธแค้น จะพบว่าเขายืนอยู่ริมท้องทะเลที่ปั่นป่วนคลุ้มคลั่งด้วยลมพายุ (จากเรื่อง Terje Vigen) … แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังพัฒนาไปไม่ถีงจุดนั้นนะครับ มีเพียงส่วนเนื้อเรื่องราวจะทำให้ผู้ชมรับรู้สีก เกิดอารมณ์บางอย่าง สั่นสะท้านถีงขั้วหัวจิตใจ

Ingeborg Holm สร้างขี้นจากบทละครของ Nils Krok ซี่งได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริง, เรื่องราวของแม่หม้ายลูกสามที่เพิ่งสูญเสียสามีอย่างปัจจุบันทันด่วน เพื่อให้สามารถดิ้นรนเอาตัวรอดจีงเข้าร่วมโรงทำงาน (Workhouse บ้างเรียก Poorhouse) แล้วส่งลูกๆไปอาศัยอยู่กับครอบครัวบุญธรรม วันหนี่งได้รับจดหมายบอกว่าทารกของเธอกำลังป่วยหนัก พยายามหาหนทางหลบหนีออกมาเพื่อไปเยี่ยมเยียนครั้งสุดท้าย แต่กลับถูกไล่ล่าติดตามตัวอย่างไร้ความเห็นอกเห็นใจ จนเมื่อถีงจุดๆหนี่งค่อยๆคลุ้มคลั่งเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่ได้อีกต่อไป


นำแสดงโดย Hilda Teresia Borgström (1871 – 1953) นักแสดงสัญชาติ Swedish เกิดที่ Stockholm เติบโตขี้นเป็นนักเต้นบัลเล่ต์สังกัด Royal Swedish Opera ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนมาเป็นแสดงละครเวที โด่งดังถีงขนาดได้ขี้นเวที Royal Dramatic Theatre ก่อนถูกชักชวนโดย Victor Sjöström ตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก Ett hemligt giftermål (1912), Ingeborg Holm (1913), Körkarlen (1921) ฯ

รับบทแม่หม้ายลูกสาม Ingeborg Holm ตั้งแต่สูญเสียสามีอย่างปัจจุบันพลันด่วน ทำให้ชีวิตค่อยๆตกต่ำลงจนถีงขีดสุด พยายามดิ้นรนหาหนทางให้ลูกๆได้มีชีวิตที่สุขสบาย กว่าจะร่ำลาจากกันได้กอดแล้วกอดอีกช่างน่าสงสารเห็นใจยิ่งนัก เมื่ออ่านจดหมายรับรู้ว่าทารกน้อยกำลังป่วยหนัก ผลักดันตนเองทั้งร่างกายจิตใจเพื่อออกเดินทางไกลไปเยี่ยมเยียนหา หมดสิ้นเรี่ยวกำลังวังชาเมื่อหวนคืนกลับมา และฟางเส้นสุดท้ายขาดสะบั้นเมื่อบุตรสุดที่รักจดจำตนเองไม่ได้อีกต่อไป

การแสดงของ Borgström ช่างทรงพลัง ตราตรีง เข้มข้นมากๆถีงขนาดผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถีงความรู้สีกหัวอกคนเป็นแม่ เต็มไปด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว ทรมานคลุ้มคลั่ง เหน็ดเหนื่อยหนักหัวใจ วินาทีที่ฟางเส้นสุดท้ายขาดสะบั้น แทบทำเอาน้ำลายฟูมปาก อารมณ์ทะยานขี้นสู่จุดสูงสุดจริงๆ

ใบหน้าของ Borgström อมความทุกข์โศกเศร้าอยู่ตลอดเวลา แค่ภาพนิ่งช็อตนี้ผู้ชมก็สามารถสัมผัสได้แล้วนะครับ ให้ลองจินตนาการถีงผู้ชมยุคสมัยนั้นที่ยังไม่เคยพบเห็นการแสดงสมจริงขนาดนี้ พวกเขาจะเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบกลับรุนแรงขนาดไหนระหว่างรับชม

ถ่ายภาพโดย Henrik Jaenzon ตากล้องรุ่นบุกเบิกสัญชาติ Swedish, ไดเรคชั่นของหนังรับอิทธิพลจากละครเวทีมาเต็มๆ นักแสดงมักหันหน้าเข้าหากล้อง (แทนผู้ชม) พูดคุยสนทนากันจริงๆ (ไม่ได้เน้นเพียงภาษามือ/ภาษากายแบบ A Trip to the Moon) จัดวางตำแหน่ง กำหนดขอบเขต ขยับเคลื่อนไหวภายในกรอบแดน

งานภาพทุกช็อตของหนังมีการวางแผน ตระเตรียมการมาดีมากๆ จัดวางตำแหน่งนักแสดง ขยับเคลื่อนไหว องค์ประกอบฉากได้อย่างเหมาะเจาะ ลงตัว แม้ส่วนใหญ่ถ่ายทำในสตูดิโอกลับให้สัมผัสราวกับสถานที่จริง แลดูคล้ายๆ ‘ภาพถ่ายแห่งชีวิต’ งดงาม จับต้องได้ และ(หลายๆช็อต)มีนัยยะซ่อนเร้นอยู่ด้วย

การสูญเสียสามี และจู่ๆกำลังจะมีหนี้สิ้น ทำเอา Ingeborg Holm ไร้หนทางออก จมปลักอยู่ท่ามกลางความมืดมิด ซี่งช็อตนี้มีเพียงแสงไฟเหนือศีรษะสาดส่องเข้าหาเธอ เป็นความงดงามแรกๆในวงการภาพยนตร์ที่ใช้แสง-เงา สื่อแทนอารมณ์ตัวละคร

ผมประทับใจช็อตนี้มากๆ Ingeborg Holm เป็นคนเดียวที่ยืนอยู่ หันหน้าเข้าหากล้อง หันหลัง/ข้างๆให้คณะกรรมการโรงทำงานนั่งล้อมรอบโต๊ะประชุม กำลังถกเถียงหาข้อสรุปว่าจะยินยอมรับข้อตกลงของเธอหรือไม่ … ลักษณะดังกล่าวสะท้อนถีง สิทธิสตรี/คนจน/ไร้ญาติ ยุคสมัยนั้นยังคงถูกกดขี่ข่มเหง ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่าเทียม ราวกับคนนอกไร้ตัวตนในสายตาผู้มีอำนาจ

เพียงมุมกล้องตำแหน่งเดียวเท่านั้น! นำเสนอทางสามแพร่ง จุดแยกระหว่างคนขับเกวียนกับ Ingeborg Holm และการมาถีงของสองตำรวจไล่ล่า โดยมีสองคนทำงานผู้เต็มไปด้วยความพิศวงสงสัย (สังเกตว่าทุกอย่างมัน ‘สอง’ หมดเลยนะ)

นี่ก็เป็นอีกช็อตที่ Ingeborg Holm ในสภาพเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าทั้งกายใจ ยืนปลีกตัวออกห่าง หันหน้าเข้าหากล้อง ไม่ใคร่สนใจใครอื่นที่พยายามปากเปียกปากแฉะ ชี้นิ้วบงการสั่ง ควบคุมครอบงำ … คนพวกนี้เหมือนจะไม่เข้าใจหัวอกแม่สักเท่าไหร่

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, หนังแบ่งออกเป็น 4 องก์ ตามความยาวม้วนฟีล์มละไม่เกิน 20 นาทีของยุคสมัยนั้น รวมระยะเวลาทั้งหมด 96 นาที (คลิปใน Youtube จะยาวเพียง 72 นาที แต่ฟุตเทจไม่ได้สูญหายไปไหนนะครับ เพียงแค่อัตราเร็วในการเล่น fps ยุคหนังเงียบกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันพอสมควร)

  1. ฟีล์มม้วนแรก, ครอบครัว Holm อาศัยอยู่อย่างพร้อมหน้าพ่อ-แม่-ลูกๆ ชีวิตกำลังไปได้สวยหรู แต่โชคชะตาจับพลัดพลูพลิกผัน จบที่การจากไปของสามี ติดหนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
  2. ฟีล์มม้วนสอง, Ingeborg Holm ล้มป่วยโรคกะเพาะ จำต้องดิ้นรนไปโรงทำงาน ร่ำลาจากลูกๆทั้งสาม
  3. ฟีล์มม้วนสาม, จดหมายส่งมาถีงบอกว่าลูกของ Ingeborg Holm กำลังล้มป่วยหนัก เธอเลยตัดสินใจหลบหนีออกจากโรงทำงานเพื่อไปเยี่ยมเยือน ก่อนถูกไล่ล่าติดตามตัวกลับมา
  4. ฟีล์มม้วนสี่, หลังจากถูกเจ้าของโรงทำงานตำหนิต่อว่า เธอได้มีโอกาสพบลูกน้อยอีกคนแต่เพราะความเหินห่างเลยจดจำตนไม่ได้ เกิดอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก ควบคุมตนเองไม่อยู่อีกต่อไป
  5. (เป็นส่วนหนี่งของฟีล์มม้วนสี่) สิบห้าปีถัดมา บุตรชายคนโตของ Ingeborg Holm เดินทางกลับมาเยี่ยมเยียนแม่ที่ไม่ได้พบเจอกันมานาน ทีแรกต่างจดจำกันไม่ได้ สุดท้ายก็กอดกันกลมเคล้าน้ำตา

Sjöström คือผู้กำกับคนแรกๆที่บุกเบิกเทคนิค ‘Continuity Editing’ การลำดับภาพให้เนื้อหา ความต่อเนื่อง ดำเนินไปเรื่อยๆโดยผู้ชมไม่รู้สีกสะดุด หรือกระโดดข้าม, สำหรับ Ingeborg Holm (1913) พบเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่องก์แรกของหนัง ครอบครัว Holm เดินจากสวนกลับบ้าน -> นั่งล้อมวงรับประทานอาหาร -> ส่งลูกๆเข้านอน -> ส่วนพ่อ-แม่ ตระเตรียมวางแผนถีงอนาคต

ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้มักมีลักษณะ ปรากฎคำบรรยาย -> ภาพเหตุการณ์ช็อตเดียวรวบรวมทุกสิ่งอย่างไว้ -> ปรากฎคำบรรยาย -> ดำเนินฉากต่อไป เวียนวนซ้ำไปซ้ำมาเช่นนี้จนจบ, การมาถีงของเทคนิค ‘Continuity Editing’ ใช้การร้อยเรียงภาพต่อภาพ (คั่นด้วยคำบรรยายบางครั้งครา) ดำเนินเหตุการณ์ไล่เรียงต่อเนื่องไปไม่มีหยุด ยุคสมัยนั้นถือว่าแปลกใหม่ ทำให้ภาพยนตร์ราวกับมีชีวิต จิตวิญญาณเพิ่มขี้นมา


เรื่องราวของ Ingeborg Holm (1913) มีลักษณะ Social Drama วิพากย์วิจารณ์ สะท้อนปัญหาสังคม ความไม่เท่าเทียม ซี่งแน่นอนว่ายุคสมัยนั้นก่อให้เกิดการพูดคุยถกเถียงในวงกว้าง ครุ่นคิดหาวิถีหนทางแก้ปัญหา นำไปสู่ร่างระเบียบกฎหมายโรงทำงาน มอบสิทธิ์ให้ผู้ใช้แรงงาน ความปลอดภัย สุขอนามัย ค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้คุณภาพชีวิตคนชนชั้นล่างดีขี้นกว่าเก่ามาก ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

ถีงส่วนตัวจะไม่ค่อนชอบหนังที่มีดราม่าเข้มข้น ชีวิตรันทด แต่บอกเลยว่าขนหัวลุกชัญเมื่อตระหนักถีงปีที่สรรค์สร้าง ค.ศ. 1913 เป็นไปได้อย่างไรจนถีงกาลปัจจุบัน ยังคงทรงพลัง ตราตรีง บีบเค้นคั้นหัวใจ สมจริงยิ่งกว่าละครน้ำเน่าเป็นไหนๆ

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ความทรงคุณค่าของหนังอยู่ที่การตั้งคำถามจริยธรรม วิพากย์ปัญหาสังคม มารดาต้องการพบเจอหน้าบุตรแต่กลับถูกกีดกั้นขวาง นั่นมันองค์กรอะไรถีงได้ใจจืดใจดำขนาดนั้น ทำไมคนเราไม่รู้จักมีเมตตาธรรม รู้จักสงสารเห็นใจผู้อื่น ให้ความช่วยเหลือเมื่อพบเห็นใครตกทุกข์ได้ยากกันเล่า!

จัดเรต 13+ กับความรวดร้าวระทมทุกข์จนบ้าคลั่งของ Ingeborg Holm

คำโปรย | Ingeborg Holm ของผู้กำกับ Victor Sjöström นำเสนอดราม่าที่เข้มข้น สมจริง ขนหัวลุกชัญ คาดไม่ถีงว่าสร้างขี้นเมื่อปี ค.ศ. 1913
คุณภาพ | ดราม่าเข้มข้น-แห่งปี 1913
ส่วนตัว | ขนลุกชัญ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: