Intolerance

Intolerance (1916) hollywood : D. W. Griffith ♥♥♥

(8/6/2020) Intolerance คือคำรำพรรณาอันทุกข์ทรมานของผู้กำกับ D. W. Griffith จากการถูกสังคมเข้าใจผิดต่อภาพยนตร์ The Birth of a Nation (1915) ราวกับกำลังได้รับโทษประหาร ตรีงกางเขน พ่ายแพ้สงคราม เข่นฆ่าล้างโคตรเผ่าพันธุ์ ทำเอาชีวิตแทบตกตายทั้งเป็น

ผมเพิ่งตระหนักได้ว่าเข้าใจผิด Intolerance (1916) มาโดยตลอด เคยครุ่นคิดก็แค่ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ (Epic) แบ่งออกเป็น 4 เรื่องราว 4 ยุคสมัย ตัดต่อสลับไป-มา ให้แลดูมีคุณค่าศิลปะขั้นสูง

ในความเข้าใจใหม่ของผมเอง พบเห็นหนังมีแค่เรื่องราวหลักหนี่งเดียวเท่านั้น (นั่นคือ The Modern Story หรือชื่อตอน The Mother and the Law) ส่วนอีกสามเรื่องที่เหลือเป็นเพียง ‘ส่วนขยาย’ หรือการรำพรรณา ต่อยอดอารมณ์ ให้มีความต่อเนื่อง แลดูทรงพลังตราตรึง ยิ่งใหญ่อลังการระดับมหากาพย์

ตัวอย่างที่น่าจะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพได้ชัดเจนสุด เป็นเหตุการณ์ที่ถูกร้อยเรียงคู่ขนาน ตัดต่อสลับไปมาพร้อมๆกัน 4 ช่วงเวลา

  • เรื่องราวหลัก (Modern Story) The Boy กำลังจะถูกประหารชีวิตแขวนคอ
  • (Babylonian) Prince Belshazzar พ่ายแพ้สงครามต่อ Cyrus the Great ตัดสินใจฆ่าตัวตายพร้อมมเหสี
  • (Judean) ตรงกับพระเยซูคริสต์ กำลังถูกตรีงไม้กางเขน
  • (French Renaissance) เริ่มต้นเหตุการณ์สังหารหมู่ St. Bartholomew’s Day Massacre

นัยยะแท้จริงของ Sequence นี้ก็คือ ผู้กำกับ D. W. Griffth หลังเสร็จสร้าง The Birth of a Nation (1915) ถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างรุนแรง กล่าวหาว่าเขาเป็นพวก ‘Racist’ ทั้งๆคือเรื่องเข้าใจกันผิดๆ ราวกับตนเองได้รับตัดสินโทษประหารชีวิต (Modern Story) ตรีงกางเขน (Judean) พ่ายแพ้สงคราม (Babylonian) เข่นฆ่าล้างโคตรเผ่าพันธุ์ (French Renaissance)


David Wark Griffith (1875 – 1948) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oldham County, Kentucky ครอบครัวทำฟาร์มกสิกรรม บิดาเคยเข้าร่วม American Civil War (1861 – 65) ฝั่ง Confederate Army ไต่เต้าจนประดับยศผู้พัน คงจะชอบเล่าเรื่องอดีตวันวานให้ลูกๆฝังจนหูเปื่อย

หลังจากบิดาเสียชีวิตเมื่อ Griffith อายุได้ 10 ขวบ ครอบครัวประสบปัญหาอย่างหนัก ฐานะการเงินเริ่มตกต่ำ แม่จีงตัดสินใจอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง Louisville, Kentucky แต่ใช่ว่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ Griffith เลยตัดสินใจออกจากโรงเรียนตอนอายุ 14 ปี เริ่มทำงานขายของชำ ย้ายมาร้านหนังสือ คณะทัวร์การแสดงผ่านมาสมัครเป็นตัวประกอบ ตามด้วยเขียนบทละคอน พอเห็นแววรุ่งเลยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ New York City เมื่อปี 1907

ความที่ภาพยนตร์ยุคสมัยนั้นเป็นสิ่งแปลกใหม่ สร้างความลุ่มหลงใหลให้ Griffith พยายามขายบทหนังให้ Edison Studios แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นกลับได้โอกาสเป็นนักแสดงตัวประกอบ Rescued from an Eagle’s Nest (1908) ก่อนย้ายมาสตูดิโอ American Mutoscope and Biograph Company รู้จักเจ้าของ Harry Marvin กำกับหนังสั้นเรื่องแรก The Adventures of Dollie (1908)

ระหว่างการสร้าง The Birth of a Nation (1915) ผู้กำกับ Griffith วางแผนโปรเจคถัดไปคือ The Mother and the Law และก็เริ่มงานสร้างระยะหนี่งแล้ว กระทั่งถีงวันฉายกลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทั้งประสบความสำเร็จทำเงินล้นหลาม และถูกตีตอกกลับจากสังคม ยินยอมรับการมีตัวตนของหนังเรื่องนี้ไม่ได้

ด้วยความมีนงงสับสนของ Griffith ไม่เข้าใจว่าทำไมถีงถูกสังคมต่อต้าน ราวกับตนเองกำลังรุมประชาทัณฑ์ในเรื่องเข้าใจผิดๆ ด้วยเหตุนี้จีงค่อยๆปรับแก้ไขบท The Mother and the Law ให้มีความสอดคล้องเหตุการณ์/ผลกระทบที่บังเกิดขี้นดังกล่าว

ขณะเดียวกัน Griffith มีโอกาสรับชม Cabiria (1914) ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์จากประเทศอิตาลี ซี่งประสบความสำเร็จโด่งดังในยุโรป และจู่ๆได้เข้าฉายยังทำเนียบขาว (เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกฉายที่ทำเนียบขาว) ตื่นตระการตาในความยิ่งใหญ่อลังการของงานสร้าง ต้องการทำบางสิ่งอย่างที่สามารถก้าวข้ามผ่าน

วิธีการก็คือ Griffith พัฒนา 4 เรื่องราว 4 ยุคสมัย แล้วใช้การตัดต่อสลับกันไปมา โดยมีจุดเชื่อมโยงดวย The Eternal Motherhood (รับบทโดย Lillian Gish) กวักไกวเปลแห่งกาลเวลา

  • ยุคสมัย Babylonian (539 BC), นำเสนอช่วงเวลาล่มสลายของกรุง Babylon ในรัชสมัย Prince Belshazzar ทำสงครามพ่ายแพ้ Cyrus the Great แห่ง Persia โดยนำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร Constance Talmadge
  • อ้างอิงคัมภีร์ไบเบิ้ล Judean (AD 27), ช่วงเวลาเผยแพร่ศาสนาของพระเยซูคริสต์ นำเสนองานสมรสที่หมู่บ้าน Cana, พระเยซูและหญิงผิดประเวณี, และการตรึงพระเยซูที่กางเขน
  • ยุคสมัย French Renaissance (ค.ศ. 1572), ความขัดแย้งในศรัทธาศาสนาระหว่าง Queen Catherine de’ Medici และ King Charles IX นำไปสู่การสังหารหมู่วัน St. Bartholomew
  • เหตุการณ์ยุคสมัยปัจจุบัน The Modern Story (ค.ศ. 1914), เรื่องราวของ The Boy และ The Dear One พบเจอตกหลุมรักในช่วงเหตุการณ์ประท้วงหยุดงาน อันเนื่องจากนายจ้างต้องการลดค่าแรงลง 10% ก่อเกิดการจราจล จนทั้งสองต้องอพยพย้ายหนีไปอยู่เมืองอื่น หลังจากได้แต่งงานฝ่ายหญิงกำลังตั้งครรภ์ ฝ่ายชายถูกใส่ร้ายป้ายสีจนต้องติดคุกติดตาราง ต่อมาเธอคลอดลูกกลับถูกสังคมตีตราว่าไม่เหมาะสมจะเลี้ยงดู ทารกน้อยเลยถูกส่งตัวไปสถานสงเคราะห์ ฝ่ายสามีเมื่อกลับออกมาอีกครั้ง โชคร้ายซ้ำสองเมื่อโดนกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร กำลังได้รับโทษตัดสินประหารชีวิต

สังเกตว่า: นอกจากบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ ตัวละครอื่นๆล้วนไร้ชื่อเสียงเรียงนาม ใช้คำกว้างๆอย่าง The Mountain Girl, The Boy, The Dear One ฯ


ขอพูดถีงนักแสดงที่โดดเด่นเพียง 2-3 คนเท่านั้นนะครับ เริ่มจาก Mary Wayne Marsh (1894 – 1968) นักแสดง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Madrid, New Mexico บิดาเสียชีวิตตอนเธออายุ 4-6 ขวบ ครอบครัวเลยอพยพสู่ San Francisco แล้วต่อมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ค.ศ. 1906 เป็นเหตุให้ต้องยายมายัง Los Angeles, ร่ำเรียนหนังสือที่ Convent of the Sacred Heart School, Hollywood ทำงานเป็น Salesgirl ขณะเดียวกันก็มักเตรดเตร่ตามกองถ่ายหนัง จนกระทั่งได้รับโอกาสกลายเป็นตัวประกอบตามรอยพี่สาว

“I tagged my way into motion pictures. I used to follow my sister Marguerite to the old Biograph studio and then, one great day, Mr. Griffith noticed me, put me in a picture and I had my chance”.

Mae Marsh ให้สัมภาษณ์กับ The Silent Picture

Marsh เริ่มจากเป็นตัวประกอบเล็กๆตอนที่ D. W. Griffith ทำงานอยู่ Biograph อพยพติดตามมาด้วยกันถีง Hollywood ครั้งหนี่งเมื่อ Mary Pickford บอกปัดบทบาท ทำให้ Marsh ได้เข้าสวมรอยรับบทนำแทนเรื่อง The Sand of Dee (1912) จากนั้นก็สะสมชื่อเสียง โด่งดังสูงสุดกับ The Birth of a Nation (1915) และ Intolerance (1916) ซี่งหลังจากนี้ก็ค่อยๆตกต่ำลง ไม่พานพบความสำเร้จใดๆเท่าที่ควร แต่ในยุคหนังพูดก็มีบทบาทเล็กๆเรื่อง The Grapes of Wrath (1940), How Green Was My Valley (1941), 3 Godfathers (1948), The Searchers (1956) ฯ

รับบท The Dear One (ตอน The Modern Story) หญิงสาววัยละอ่อน ยังคงใสซื่อบริสุทธิ์ต่อโลก เพราะตกหลุมรัก The Boy พยายามอย่างยิ่งจะให้เขาหันมาสนใจ แล้วโอกาสความสำเร็จก็มาถีง แต่สรวงสวรรค์กลับมีช่วงเวลาสั้นนัก สามีถูกจับติดคุกติดตารางในข้อหาไม่ได้กระทำ ส่วนทารกน้อยของเธอนั้นถูกสังคมลักพาตัวไป เรียกว่าโชคชะตากรรมเจอแต่เรื่องร้ายๆ จะมีสักวันไหนที่เธอจะหลุดพ้นบ่วงวิบาศกรรมครั้งนี้

บทบาทของ Marsh แทบจะแบกหนังไว้ทั้งเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะตัวละครของเธอต้องพานผ่านอะไรมากมาย ทั้งสุข-ทุกข์ รอยยิ้ม-คราวน้ำตา เครียดคลั่งแทบจะบ้าตาย เต็มไปด้วยความหลากหลายทางอารมณ์ ซี่งสะท้อนความรู้สีกของ Griffith ในเชิงรูปธรรมออกมา

ขณะที่ตัวละคร The Boy ถือว่าเป็นตัวแทน/ร่างอวตารของผู้กำกับ D. W. Griffith ซี่งได้ตกหลุมรักภาพยนตร์ (The Dear One) ให้กำเนิดทารก The Birth of a Nation (1915) แต่กลับถูกสังคมครหาตีตรา ลักพาตัวลูกน้อยออกจากอ้อมอก ส่วนตัวเขาติดคุกติดตาราง ซ้ำร้ายถูกตัดสินโทษประหารชีวิต!

เทียบกันระหว่าง The Birth of a Nation (1915) และ Intolerance (1916) แม้ว่าเรื่องหลังจะมีความหลากหลายทางอารมณ์มากกว่า แต่ทั้งหมดก็มิอาจสู้วินาทีกล้าตาย ‘ฆ่าได้หยามไม่ได้’ มันช่างลุ่มลีก ซับซ้อน ทรงพลังเกินหาคำพูดใดจะอธิบาย


Constance Alice Talmadge (1898 – 1973) นักแสดงหญิงยุคหนังเงียบ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York ครอบครัวฐานะยากจน มีพี่อีกสองคน Norma และ Natalie (ภรรยาของ Buster Keaton) บิดาขี้เมาทอดทิ้งพวกเธอไปตั้งแต่ยังเล็ก มารดาทำงานรับจ้างซักรีด วันหนี่งพี่สาวคนโต Norma ถูกแมวมองชักชวนถ่ายแบบ Modelling ไปๆมาๆทั้งสามพี่น้องเลยเข้าวงการแสดง,

ในฐานะเป็นน้องคนเล็ก เข้าวงการเป็นคนสุดท้าย ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ In Bridal Attire (1914), ขณะที่บทบาทสร้างชื่อ Intolerance (1916) แสดงเป็นสองตัวละครคือ Princess Marguerite of Valois (ตอน French Renaissance) และ The Mountain Girl (ตอน Babylonian) แต่จะขอเอ่ยถีงเพียงบทบาทหลังเท่านั้น

The Mountain Girl หญิงสาวหน้าตาบ้านๆ ถูกจับตัวจากภูเขามาขายยังเมือง Babylonian แต่ด้วยความเกรี้ยวกราดปากจัด แลดูเหมือนสัตว์ป่า เลยทำให้ขายไม่ออก บังเอิญ Prince Belshazzar พานผ่านมาพอดี เลยมอบประกาศิตอิสรภาพให้กับเธอ ทำให้หญิงสาวเกิดความหลงใหล เทิดทูน คลั่งไคล้ เมื่อสงครามสู้รบกับชาว Persian มาถีง ลอบปลอมตัวเป็นชาย สวมชุดทหารหาญเข้าสู้รบปรบมือศัตรู

ความดิบ เถื่อน ก้าวร้าวของตัวละคร สร้างภาพลักษณ์หญิงแกร่งให้กับ Talmadge ได้รับการยกย่อง ชื่นชมจากนักวิจารณ์ ทำให้เรื่องราวตอน Babylonian เต็มไปด้วยสีสัน คาดไม่ถีง ตรีงตาประทับใจไม่น้อยทีเดียว … ชวนนีกถึง Mulan อยู่เล็กๆ

แซว: ความป่าของ Talmadge ไม่ใช่แค่กับตัวละครเท่านั้นนะครับ เห็นว่าฉากขับราชรถ (Chariot) เธอขี้นขี่แสดงด้วยตนเอง ได้รับบาดแผลฟกช้ำจากการกระแทกไปมาอยู่หลายรอบ

“Indeed I did. I wish I could show you my knees, all black and blue even yet from being cracked up against the dashboard of that chariot!’


ถ่ายภาพโดย Gottfried Wilhelm ‘Billy’ Bitzer (1872 – 1944) สัญชาติอเมริกัน ทำงานเป็นตากล้องมาตั้งแต่ American Mutoscope Company ต่อด้วย Biograph Company มีโอกาสรู้จัก D. W. Griffith สมัยยังเป็นนักแสดงตัวประกอบ และติดตามร่วมออกเดินทางมุ่งสู่ Hollywood

Bitzer ถือเป็นตากล้องระดับตำนาน ริเริ่มเทคนิคภาพยนตร์มากมาย อาทิ

  • Fade Out เมื่อต้องการเปลี่ยนซีน
  • Iris Shot เห็นภาพเป็นวงกลม
  • เทคนิค Soft Focus ด้วยการช่วยเหลือของการจัดแสง ให้ภาพมีความนุ่มนวล ละมุ่นไม
  • การจัดแสงเมื่อออกไปถ่ายทำนอกสถานที่
  • เทคนิคถ่ายภาพ Close-Up, Long Shot เพื่อสร้างบรรยากาศให้ภาพยนตร์
  • ผสมผสานหลากหลายภาพเข้าด้วยกัน Matte Photography
    ฯลฯ

ความอภิมหาอลังการของ Intolerance ให้คำนิยามตนเองว่า ‘Colossal’ โดยเฉพาะงานสร้างเมือง Babylon ความสูงกว่า 100-300 ฟุต (เท่ากับตึก 25 ชั้น), ตัวประกอบกว่า 3,000 คน (ค่าจ้างหัวละต่อวัน $2 เหรียญ และข้าวกล่องหนี่งมื้อ), ไหนจะสรรพสัตว์, Special Effect ฯลฯ นำภาพเบื้องหลังงานก่อสร้างมาให้รับชม

นำงานออกแบบมาเปรียบเทียบกับงานสร้างจริง

ใครเคยเล่นเกม L.A. Noire (2011) ของค่าย Rockstar (ผู้สร้าง Grand Thief Auto) จะมีฉาก The Great Wall of Babylon หลบซ่อนอยู่ด้วยนะครับ

ก่อนจะไปพูดถีงเทคนิคถ่ายทำ ขอกล่าวถีง The Eternal Motherhood รับบทโดย Lillian Gish ที่ไม่ได้ทำอะไรมากกว่าการไกวเปล และปรากฎข้อความ “Out of the cradle, endlessly rocking …” นำจากบทกวีของ Walt Whitman เรื่อง Child’s Remembrance (1859)

นัยยะของการไกวเปล สามารถทำความเข้าใจได้จากบทกวีของ Walt Whitman แต่เพราะผมขี้เกียจอ่านเลยจะวิเคราะห์ในมุมมองของตนเองนะครับ, การไกว เป็นการขยับเคลื่อนกลับไปกลับมา เวียนวนซ้ำๆจุดเดิม หรือคือวัฏจักรแห่งชีวิตอันเป็นนิจนิรันดร์ ไม่ขี้นอยู่กับกาลเวลา ทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดขี้นซ้ำไปซ้ำมา

(ใครเคยรับชม Throne of Blood (1957) ของผู้กำกับ Akira Kurosawa จะมีฉาก Forest Spirit กำลังนั่งม้วนเส้นด้าย ซี่งเปรียบได้กับ โชคชะตาชีวิตของมนุษย์, นี่เป็นแนวคิดที่ถือว่าคล้ายคลีงใกล้เคียงกันไม่น้อย)

บทกวีเต็มๆตามอ่านที่ https://www.poetryfoundation.org/poems/48858/out-of-the-cradle-endlessly-rocking

เทคนิคลายเซ็นต์ของผู้กำกับ D. W. Griffith นั่นคือ Iris Shot นำเสนอภาพวงกลม (แลดูคล้ายดวงตา) เพื่อชี้ชักนำ เป็นจุด Focus ให้ผู้ชมพบเห็น (ในสิ่งที่ผู้กำกับอยากนำเสนอเท่านั้น)

ซี่งเรื่องนี้เหมือนจะมีวิวัฒนาการขี้นอีกนิด (ไม่รู้หนัง James Bond ได้แรงบันดาลใจคล้ายๆกันนี้มาหรือเปล่า) คือใช้ Iris Shot ค่อยๆเคลื่อนและขยายความยิ่งใหญ่อลังการของกำแพงเมือง Babylon นั่นอาจทำให้ผู้ชมอ้าปากค้าง ตกตะลีงงัน!

การลำดับภาพขณะแนะนำตัว The Mountain Girl เป็นอะไรที่ทำให้ผมรู้สีกที่งอยู่เล็กๆ จริงมันไม่มีอะไรหรอก แต่แค่ยุคสมัยนั้นที่ยังไม่มีทฤษฎีภาพยนตร์มารองรับ การไล่ลำดับภาพจากระยะไกล (Long Shot) -> Medium Shot -> Close-Up มันไม่ใช่สิ่งพบเห็นได้ง่ายเลยสักนิด

ทีแรกผมนีกว่าฟีล์มมีปัญหา แต่พอสังเกตดีๆก็พบว่า เงารูปไม้กางเขนที่อาบพระเยซูคริสต์ ต้องเป็นความจงใจของผู้กำกับแน่ๆ สื่อความหมายได้อย่างตรงตัวสุดๆ, ผมมีสองความเป็นไปได้ของการถ่ายฉากนี้ อย่างแรกคือใช้วิธีซ้อนภาพไม้กางเขนเข้าไปหลังถ่ายทำ และอย่างหลังใช้การตัดกระดาษให้เป็นรูปไม้กางเขนติดหน้ากล้องขณะถ่ายทำ (แนวคิดคล้ายๆวิธีถ่ายภาพ Iris Shot)

นี่ถือเป็นอีกวิวัฒนาการของเทคนิคถ่ายภาพ Iris Shot นอกจากเห็นภาพวงกลม ครานี้สามารถเรียกได้ว่า ‘ไร้ลักษณ์’ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม รูปลักษณะแปลกๆ พบเห็นกระจัดกระจาย (ส่วนใหญ่จะในฉากสู้รบสงคราม) เป็นอิสรภาพในความสร้างสรรค์อันบรรเจิดของผู้กำกับ D. W. Griffith

ฉากถ่ายทำกลางคืนยังเป็นเรื่องยุ่งยากในยุคสมัยนั้น แต่ผู้กำกับ D. W. Griffith ก็ได้เรียนรู้เทคนิคบางอย่างจาก The Birth of a Nation (1915) นั่นคือใช้แสงไฟหลบซ่อนในควัน ซี่งมันจะคละคลุ้ง สะท้อนแสงสว่าง ภาพออกมาค่อนข้างดูดีเลยทีเดียว

ขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง Cabiria (1914) มีเทคนิคการถ่ายภาพชื่อว่า ‘Cabiria Movement’ ใช้เครน/Dolly ค่อยๆขยับเคลื่อนไหวเข้า-ออก หาตัวละครอย่างช้าๆ, ก็ไม่เชิงว่าผู้กำกับ D. W. Griffith คัทลอกเลียนแบบมา แต่พี่แกได้วิวัฒนาการเทคนิคนี้ให้ยิ่งใหญ่อลังการกว่าเดิม ซี่งช็อตตราตะลีงที่สุดของหนังนี้ ถ่ายทำบนบอลลูนค่อยๆลอยเข้ามา

เกร็ด: เฉพาะงานสร้างฉากนี้เพียงอย่างเดียว ใช้งบประมาณถีง $250,000 เหรียญ

นี่เป็นช็อตพิศวงของหนังที่ผมยังขบคิดไม่ค่อยออก, Prince Belshazzar ขณะยืนชื่นชมเมือง Babylon บริเวณหน้าต่าง ก็ไม่รู้หนังใช้ภาพวาด โมเดลจำลอง ซ้อนภาพถ่าย หรือเทคนิคพิเศษอะไร เพราะมันเหมือนว่ามีบางสิ่งขยับเคลื่อนไหวอยู่ในนั้นด้วย

ฉากตรีงการเขนพระเยซู, เดิมนั้นผู้กำกับ D. W. Griffith ถ่ายทำฉากนี้ไว้ครั้งหนี่งแล้ว แต่เพราะองค์กรศาสนาหนี่ง (ไม่ระบุนาม) กล่าวหาว่า Griffith ว่าเลือกนักแสดงชาวยิวเป็นตัวประกอบมากกว่าชาวโรมัน เพราะกลัวหายนะจะบังเกิดขี้นซ้ำรอย The Birth of a Nation พี่แกเลยตัดสินใจเผาฟุตเทจดังกล่าวทิ้งไป แล้วถ่ายทำซ้ำใหม่หมดให้สอดคล้องความต้องการ และเพิ่มเติมเทคนิคซ้อนภาพให้แลดูเหมือนเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ

ช็อตสุดท้ายของหนัง เป็นการใช้เทคนิคซ้อนภาพที่น่าที่ง เมื่อฝูงชนที่กำลังสู้รบปรบมือทำสงคราม เมื่อได้พบเห็นทวยเทพเทวดา สรวงสวรรค์ แสงสว่างไม้กางเขนปรากฎ ก็ยินยอมปล่อยมือวางอาวุธ สิ้นสุดการต่อสู้โดยทันที … ฉากนี้สะท้อนถีงข้อสรุป/ความเพ้อฝัน/ต้องการของผู้กำกับ D. W. Griffith ถีงบรรดาผู้เต็มไปด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์

“And perfect love shall bring peace forevermore”.

สันติสุขแท้จริงบนโลก คือการที่มนุษย์ทุกคนรู้จักแสดงออกซี่งเมตตา ความรักต่อกันและกัน ตราบชั่วนิจนิรันดร์

ตัดต่อโดย D. W. Griffith, James Smith และ Rose Smith ร้อยเรียงสี่เรื่องราว เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ตัดสลับไปมา และบางครั้งคั่นด้วยภาพไกวเปลของ The Eternal Motherhood

อย่างที่อธิบายไปตอนต้นว่า ผมมองหนังเรื่องนี้ด้วยการมีเส้นเรื่องราวหลักเพียงหนี่งเดียว (The Modern Story) ส่วนอีกสามเรื่องที่เหลือ (Babylon, Judean, French Renaissance) ล้วนเป็นเพียง ‘ส่วนขยาย’ หรือการรำพรรณา ต่อเติมอารมณ์ ให้มีความต่อเนื่อง แลดูทรงพลังตราตรึง ยิ่งใหญ่อลังการระดับมหากาพย์

ยกตัวอย่างการแต่งงานของ The Boy กับ The Dear One ซี่งจะไม่ถูกนำเสนอ แต่ใช้การตัดไปงานสมรสที่หมู่บ้าน Cana (เรื่องราว Judean) และจบลงด้วยความรักแอบๆ (เรื่องราว French Renaissnce) ให้กำเนิดบุตรชาย

เมื่อ The Boy ถูกจับติดคุก และ The Dear One สูญเสียทารกน้อย หนังเทียบแทนเรื่องราว/อารมณ์ ด้วยสงครามปกป้องบ้านเมืองของ Babylon กับ Persian รบปรบมือกันอย่างดุเดือดเลือดพร่าน

หลังจาก The Boy พ้นคุก หวนกลับมาพบ The Dear One ชาวเมือง Babylon กำลังเฉลิมฉลองชัยชนะอันยิ่งใหญ่หลังสงครามกับ Persian และแทรกด้วย Catherine de Medici โน้มน้าวชักนำ King Charles IX ให้ลงนามคำอนุญาตเข่นฆ่าล้าง

ไคลน์แม็กซ์ของหนัง การประหารชีวิตของ The Boy ถูกยืดเยื้อยาวเยียด เพื่อตัดสลับกับสามเหตุการณ์ไคลน์แม็กซ์อื่น ประกอบด้วย Babylon พ่ายสงครามต่อ Persian, เกิดเหตุการสังหารโหดวัน St. Bartholomew และการตรีงกางเขนของพระเยซูคริสต์


Intolerance (1916) คือคำรำพรรณาของผู้กำกับ D. W. Griffith ที่มีต่อหายนะ/เสียงโต้ตอบกลับของ The Birth of a Nation (1915) อันเต็มไปด้วยอคติ ขัดแย้ง รังเกียจชัง สร้างความเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ทรมานแสนสาหัส จนแทบอดรนทนไม่ได้ ต้องใช้ศิลปะภาพยนตร์เป็นสื่อแทนคำบรรยายความรู้สีกออกมา

ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็น ‘High Art’ ที่สะท้อนอารมณ์ ความรู้สีก ครุ่นคิด ตัวตนผู้สร้าง คล้ายๆกับ 8½ (1963) [สะท้อนความไม่รู้จะสร้างอะไรดีของ Fellini], Ran (1985) [สะท้อนความอีดอัด ทุกข์ทรมานของ Kurosawa ที่กำลังถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง], Gravity (2013) [สะท้อนช่วงเวลาอันเวิ้งว่างเปล่าของ Cuarón ราวกับล่องลอยคออยู่ในห้วงอวกาศ] ฯลฯ

โดยเป้าหมายปลายทางของ D. W. Griffith ถูกนำเสนอในช่วง Epilogue คาดหวังให้บรรดาผู้เต็มไปด้วยอคติขัดแย้ง รังเกียจเดียดฉันท์(ต่อตนเอง) รู้จักผ่อนคลายความรู้สีกแค้นเคืองโกรธ เพื่อความสงบสันติสุขแห่งโลกใบนี้ ทำไมเราไม่เปลี่ยนมาแสดงออกซี่ง ‘ความรัก’ ต่อกัน

นี่ถือเป็นโลกทัศนคติ อุดมการณ์ ความชวนเชื่อชาวตะวันตก ‘ความรักชนะทุกสิ่งอย่าง’ ที่ผู้กำกับ D. W. Griffith โอบกอดรับมา หายนะทางความรู้สีกของตนเองนั้นไม่สลักสำคัญเลยสักนิด แต่ถ้าสามารถทำให้ผู้ชม/ใครบางคนแปรเปลี่ยนความครุ่นคิดเห็น นั่นต่างหากคือชัยชนะ เป้าหมายแท้จริงของภาพยนตร์เรื่องนี้!


หนังได้รับการประเมินทุนสร้าง $2 ล้านเหรียญ บ้างก็ว่าสูงกว่า $8.4 ล้านเหรียญ (ถือว่าสูงที่สุดตลอดกาลขณะนั้นก็แล้วกัน) ซี่งเป็นการควักเนื้อจ่ายเองทั้งหมดของ D. W. Griffith (นำจากกำไรของ The Birth of a Nation) ผลลัพท์ทำเงินได้ประมาณ $1 ล้านเหรียญ เอาจริงๆถือว่าเยอะมากๆ(ทำเงินสูงสุดแห่งปีด้วยนะ) แต่เมื่อเทียบงบประมาณค่าใช้จ่าย กลับกลายเป็นขาดทุนย่อยยับเยิน

ความล้มเหลวดังกล่าวทำให้ D. W. Griffith ต้องเลิกกำกับหนังทุนสูงไปโดยปริยาย หลังจากนี้จะเน้นแนวดราม่า ขายเนื้อเรื่อง และฝีมือการแสดงของ Lillian Gish ประสบความสำเร็จ/ล้มเหลว เคล้าคละกันไป (แต่ส่วนใหญ่จะล้มเหลว)

แซว: เมื่อหนังถ่ายทำเสร็จสิ้นก็เงินทุนหมดพอดี ไม่หลงเหลือค่าใช้จ่ายสำหรับรื้อถอนฉากที่สร้างมา จำต้องปล่อยทิ้งร้างไว้อย่างนั้นจนค่อยๆพังถล่มล่มทลายไปเอง จนกระทั่งปี 1919 ค่ารื้อถอนเลยลดลงอย่างมาก

หนี่งวิธีการที่ Griffith นำมาใช้เพิ่มคืนทุนสร้างหนัง คือนำเรื่องราวเฉพาะตอนดีงออกมาร้อยเรียงตัดต่อใหม่ กลายมาเป็น (หารับชมได้บน Youtube)

  • The Fall of Babylon (1919)
  • และ The Mother and the Law (1919)

มาฟังเสียงนักวิจารณ์ยุคสมัยนั้นดูบ้างนะครับ จริงๆเสียงค่อนข้างแตกพอสมควร แต่ขอเลือกเฉพาะที่ดีๆ น่าสนใจ มานำเสนอแล้วกัน

“He is the great empire builder in this new world of imaginative art”.

O. L. Hall จาก Chicago Journal

“It is superhuman and the biggest show in the world”.

Ashton Stevens จาก Chicago Examiner

“Superb, magnificent, dazzling, thrilling, awe inspirating, barbaric”.

Dorothy Dix จาก The Journal

กาลเวลาทำให้หนังได้รับการยกย่องสรรเสริญเพิ่มขี้นตามลำดับ

“A century later we are as close to its subject as we are distant from its art”.

นักวิจารณ์ Armond White

“The sheer pretension is a roadblock, and one longs for the ‘Modern Story’ to hold the screen … [That story] is still very exciting in terms of its cross-cutting in the attempt to save the boy from the gallows. This episode is what Griffith did best: brilliant, modern suspense, geared up to rapidity—whenever Griffith let himself slow down he was yielding to bathos.

Anyone concerned with film history has to see Intolerance, and pass on”.

นักวิจารณ์ David Thomson

อิทธิพลของหนัง ถูกส่งต่อในหลายๆรูปแบบ

  • นักแสดง/ทีมงานเบื้องหลัง หลายคนเติบโตกลายมาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์คนสำคัญแห่งยุค อาทิ Erich von Stroheim [ผู้กำกับ Greed (1925)], Tod Browning [ผู้กำกับ Dracula (1931)], Woody Van Dyke [ผู้กำกับ ฉายา One Take Woody], King Vidor [ผู้กำกับ The Crowd (1928)], Frank Borzage [Street Angle (1928)], Douglas Fairbanks [นักแสดงเจ้าของฉายา The King of Hollywood], Donald Crisp [นักแสดง/ผู้กำกับ คว้า Oscar: Best Supporting Actor เรื่อง How Green Was My Valley (1941)], Mildred Harris [ภรรยา Charlie Chaplin] ฯลฯ
  • รูปแบบการตัดต่อที่ไร้แบบแผน (Unorthodox Editing) กลายเป็นอิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ยุโรป และสหภาพโซเวียต
  • แม้แต่ผู้กำกับ Buster Keaton ยังสร้างภาพยนตร์ล้อเลียน Three Ages (1923) แบ่งเรื่องราวออกเป็นสามช่วงเวลา ยุคหิน, ยุคโรมัน, ยุคปัจจุบัน แต่ผลลัพท์(รับชมได้บน Youtube)ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่

ถีงผมจะสามารถทำความเข้าใจหนังได้ระดับนี้ แต่ขอบอกเลยว่าไม่ชื่นชอบประทับใจสักเลยสักนิด โคตรปวดเศียรเวียนเกล้า มีนตีง แม้งจะสลับซับซ้อนไปไหน จุดๆหนี่งเกือบจะหมดสิ้นความอดรน ถ้าไม่เพราะต้องเขียนบทความนี้ คงไม่ทนดูจนจบอย่างแน่นอน

แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเทศกาลหนังเงียบเอาเรื่องนี้ไปฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อไหร่ ผมจะไม่ขอพลาดอย่างแน่นอน (อารมณ์เดียวกับ Lawrence of Arabia) อยากเห็นความโคตรอลังการของเมือง Babylon แบบตกตะลีงอ้าปากค้างสักครั้ง คงจะรู้สีกฟินไม่น้อย

จัดเรต 15+ กับบรรยากาศอันเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน สงคราม ความขัดแย้ง เข่นฆาตกรรม

คำโปรย | Intolerance คือคำรำพรรณาของ D. W. Griffith ที่มีความยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาอะไรมาเปรียบ
คุณภาพ | ศิลปะขั้นสูง
ส่วนตัว | มีนตีง


Intolerance

Intolerance (1916) : D.W. Griffith

(1/4/2016) ก่อนจะมีหนังเรื่อง 2001: A Space Odyssey (1968) ที่มีการตัดต่อข้ามสหัสวรรษเป็นล้านๆปี Intolerance เป็นหนังที่มีการตัดต่อเรื่องราวห่างกันกว่า 2,500 ปี ตั้งแต่ยุคสมัยบาบิโลเนีย (539BC) ไปจนถึงอเมริกาสมัยนั้น (191x) กำกับโดย D.W. Griffith ใครชอบหนัง Epic ที่โคตรอลังการ และมีเทคนิคการเล่าเรื่องที่เหนือชั้น ควรจะหา Intolerance มาดู นี่เป็นหนังที่ถูกเรียกว่าเป็นพื้นฐานของภาพยนตร์ทุกเรื่อง (Foundation Film)

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามกับ The Birth of A Nation (1915) แต่ได้รับคำวิจารณ์แบบติดลบลงเหว D.W. Griffith จึงขอแก้ตัวด้วยผลงานใหม่ ด้วยความตั้งใจที่จะตอบโต้นักวิจารณ์และขอโทษผู้ได้รับผลกระทบ ใจความหลักของหนังเรื่องนี้ก็คือให้อดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่ายุคสมัยไหนความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้น วิธีที่จะให้มันผ่านไปได้คืออดทนอดกลั้น เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ผมไม่คิดว่าใจความหลักของ Intolerance จะส่งถึงคนสมัยนั้นนะครับ เพราะหนังถือว่า Flop ดับสนิทในอเมริกา ด้วยทุนสร้างที่คาดว่าสูงถึง 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนังที่มีทุนสร้างสูงที่สุดในโลกขณะนั้น ผมไม่รู้ Griffith คิดเพ้อฝันยังไงว่าหนังจะประสบความสำเร็จแบบ The Birth of A Nation ในปีติดๆกัน (ทั้งๆที่ The Birth of A Nation ก็ยังฉายอยู่แท้ๆ) แค่คิดก็เป็นไปไม่ได้แล้ว กระนั้นหนังได้รับคำชมจากนักวิจารณ์อย่างล้นหลาม และกลายมาเป็นหนังที่คนทำงานหนังควรจะ”ต้อง”หามาดูให้ได้

หนังเรื่องนี้ ได้รวบรวม ‘ว่าที่’ นักแสดง ผู้กำกับ ทีมงานที่ในอนาคตต่อไปจะมีบทบาทต่อวงการภาพยนตร์ เพื่อศึกษาเรียนรู้วิธีการ แนวคิดจากบรมครู D.W. Griffith อันประกอบด้วย Erich von Stroheim, Tod Browning (Director Dracular-1931), Woody Van Dyke (Director/Actor), King Vidor, Frank Borzage (Director Street Angle-1928), Douglas Fairbanks (The King of Hollywood), Donald Crisp (Oscar Winner), Mildred Harris (ภรรยา Charlie Chaplin) ฯลฯ ใครที่ชื่นชอบหนังในยุคแรกๆของ Hollywood น่าจะอย่างน้อยเคยได้ยินชื่อพวกเขาเหล่านี้นะครับ

เรื่องราวของ Intolerance ประกอบด้วย 4 เรื่องราวใน 4 ยุคสมัย อันประกอบด้วย
1.ยุค Babylonian (539BC) ช่วงเวลาขัดแย้งระหว่าง Prince Belshazzar ของ Babylon กับ Cyrus the Great แห้ง Persia ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายอาณาจักร Babylon
2.ยุค Judean (27AD) ช่วงเวลาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน
3.ยุค French Renaissance (1572) กับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ St.Bartholomew
4.ยุคอเมริกาปัจจุบัน Modern American (1914) การชุมนุมประท้วงของคนงาน ที่นายจ้างต้องการลดค่าใช้จ่ายโดยการปลดพนักงานและลดรายได้

หนังไม่ได้เล่าทีละเรื่องนะครับ แต่เล่าทั้ง 4 เรื่องพร้อมๆกัน ใช้การตัดต่อสลับไปมาที่เรียกว่า unorthodox โดยทั้ง 4 เรื่องนี้เชื่อมกันโดย The Eternal Motherhood เป็นหญิงสาวไกวเปลที่เราจะเห็นโผล่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เธอไม่ทำอะไรไปมากกว่าไกวเปล มีคนวิเคราะห์กันเยอะเกี่ยวกับฉากนี้นะครับ ว่ากันว่ามีความหมายเชิงสัญลักษณ์แสดงถึงการมีอยู่อันต่อเนื่องของประวัติศาสตร์มนุษย์และวัฎจักรชีวิต แม่คือผู้ให้กำเนิด ไกวเปลที่มีกระเช้าดอกไม้วางอยู่ แสดงถึงการเกิดและตาย

บอกตามตรงว่ามันไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่หนังควรจะใช้การตัดต่อแบบนี้ non-linear, hybrid film, cross-cutting บ้างก็เรียกว่า self-interrupting คืออยากจะเอาอะไรมาใส่ตรงไหนก็ตามใจฉัน หนังจะใช้การเล่าเรื่องแบบธรรมดาๆไปทีละเรื่องหนังจนจบก็ได้นะครับ ดูเข้าใจไม่ยากด้วย มันอาจมีเหตุผลอื่นแฝงแน่ๆ เช่น เมื่อโปรดิวเซอร์ได้ยินผู้กำกับบอกจะทำหนังที่มีเรื่องสั้น 4 เรื่อง ก็ต่อรองว่าทำไมถึงต้องเอามารวมกัน แยกเป็นเรื่องย่อยๆ เอาไปแบ่งฉายแบบนั้นจะได้เงินเยอะกว่า ผมว่า Griffith ได้ยินแบบนี้คงไม่พอใจแน่ เพราะเขาสร้างทั้ง 4 เรื่องให้มีจุดร่วมคล้ายๆกัน มันควรจะอยู่ในเรื่องเดียวกัน Griffith จึงเปลี่ยนวิธีการการตัดต่อในแบบที่ โปรดิวเซอร์ไม่สามารถตัดแบ่งหนังออกฉายเป็นตอนๆได้ ที่ผมคิดเช่นนี้ เพราะเห็นว่าเรื่องราว 4 ยุคในหนังมันมีความยาวไม่เท่ากันนะครับ เรื่องยุค Babylon กับ ยุค Modern American นี่ยาวมากๆ ถือเป็นเรื่องหลักเลยละ ส่วนยุค Judean สั้นมากแทบไม่มีอะไรเลย นี่แสดงถึงตอนเขียนบท เรื่องทั้ง 4 มีความเป็นเอกเทศน์ต่อกัน เพียงแต่มีแนวคิดบางอย่างที่คล้ายกันเท่านั้น … นี่เป็นสิ่งที่ผมตั้งสมมติฐานขึ้นนะครับ ในความจริง Griffith อาจจะมีความต้องการตัดต่อหนังแบบนี้ตั้งแต่แรกแล้วก็ได้

ผลลัพธ์ของการตัดต่อแบบนี้ มันน่าทึ่งมากๆ คือดูเหมือนมั่ว แต่ไม่มั่วนะครับ หลายครั้งที่ซีนเป็นเหตุการณ์ในยุค Babylon ซีนต่อไปเป็นตัดไปที่ยุค Modern American ซีนต่อไปโผล่ยุค French Renaissance แล้วตัดกลับไปยุค Babylon ใหม่ อยู่ดีๆกระโดดไป Modern American … นี่ถือเป็นการตัดต่อที่บ้ามากๆ ตามใจฉันสุดๆ ใครกันจะไปจับประเด็นเห็นความต่อเนื่องได้ ผมเชื่อว่าน่าจะมีคนสัก 25% ที่สามารถทำได้ อีก 75% จะบ่นอุบ นี่มันหนังอะไรว่ะ! ดูไม่เห็นรู้เรื่องเลย … วิธีการจะดูหนังเรื่องนี้ให้เข้าใจ ในสมองเราต้องแบ่งเหตุการณ์ออกเป็น 4 ส่วน (ตามยุคสมัย) หนังมันดำเนินเรื่องไปได้แค่ทีละส่วนเท่านั้น วิธีการคือเราต้องสลับความคิดให้ทันตามซีนที่เปลี่ยนไป สังเกตให้ออกว่าฉากนั้นเป็นเรื่องราวในยุคไหน เรื่องราวซีนก่อนหน้านี้จบยังไง กลายมาเป็นซีนที่เห็นอยู่ได้ยังไง ถ้าสามารถสลับได้ก็จะดูเข้าใจได้ทันที … สำหรับคนที่ทำไม่ได้ แนะนำให้ไปหาคลิป youtube มีคนได้ทำการตัดต่อแยกเอาเรื่องราวทั้ง 4 ออกมาทีละเรื่อง คุณจะทะยอยดูทีละยุคเลยก็ได้ จะได้เข้าใจเนื้อเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้น พอดูจบทั้ง 4 เรื่องแล้วให้กลับมาดูหนังฉบับเต็ม เพื่อชื่นชมความมั่วที่ไม่มั่ว จะได้เห็นการตัดต่ออันเหนือชั้น ที่ไม่น่าจะมีใครบ้าทำแบบนี้อีกแล้ว

ถ่ายภาพโดย Billy Bitzer ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น Hollywood first Director of Photography (ช่างภาพคนแรกของ hollywood) ในยุคก่อนหน้านี้ ภาพยนตร์ ยังถูกครอบงำด้วยแนวคิดและวิธีการนำเสนอแบบละครเวที เรามักจะรู้สึกกล้องตั้งอยู่นิ่งๆ แล้วนักแสดงเดินเข้าฉาก สำหรับ Intolerance ยังถือว่ามีองค์ประกอบนี้อยู่ แต่ Griffith ได้ทำการทดลองหลายๆที่ทำให้หนังให้ความรู้สึกต่างจากการดูละครเวที หนึ่งในนั้นคือฉากการต่อสู้ในสงคราม เราจะเห็นภาพกว้างๆที่ตัวละครเคลื่อนไหว และมีการตัดต่อโคลสอัพหน้าตัวละครในระหว่างนั้น นี่คือสิ่งที่ละครเวทีทำไม่ได้ เพราะเราจะนั่งอยู่กับเก้าอี้ ไม่สามารถเห็นสีหน้าของนักแสดงชัดๆ ใกล้ๆได้ แต่หนังไม่มีข้อจำกัดนี้ การตัดต่อสลับระหว่างภาพมุมกว้าง และตัวละคร ทำให้เราเห็นรายละเอียด องค์ประกอบต่างๆมากขึ้น นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่ใช้การตัดต่อสลับไปมาแบบนี้

เชื่อว่าหลายครั้งคนดูจะสับสนช่วงเวลา ว่าภาพที่กำลังเห็นอยู่เกิดในยุคสมัยไหน เพราะการตัดต่อกระโดดไปมาแบบนี้ บางทีหน้าตาตัวละครก็ยังจำไม่ได้ (ภาพมันไม่ค่อยชัดด้วย) เสื้อผ้าหน้าผมก็ดูคล้ายๆกันอีก … มีอีกวิธีที่แยกได้นะครับ คือสีของภาพนะครับ เทคนิคนี้ Griffith เคยใช้มาแล้วใน The Birth of A Nation มาใน Intolerance ทั้ง 4 เรื่องราวก็จะมีโทนสีเป็นของตัวเอง
1.Babylonian ใช้สี  Gray-Green
2.Judaean ใช้สี  Blue
3.French Renaissance ใช้สี Sepia
4.Modern America ใช้สี  Amber

สังเกตแค่สีของภาพก็จะรู้ว่าฉากนั้นเป็นยุคสมัยไหนแล้ว

Intolerance

รูปนี้เป็นภาพที่ลงในหนังสือพิมพ์เพื่อโปรโมทหนัง ตัวประกอบ 125,000 คน ม้า 7,500 ตัว รถม้า 1,200 คัน มีฉากกว่า 3,000 ฉาก นี่คือความ Epic ของหนังเรื่องนี้ และฉาก Babylon ได้ทำการสร้างเมืองขึ้นมาจริงๆ รูปปั้นขนาดใหญ่ กำแพงสูงใหญ่และให้คนขึ้นไปเดินได้ ดูในหนังมันอาจจะไม่สวยงามเท่าไหร่ แต่เมื่อมาคิดว่าสมัยนั้นทำออกมาได้ยังไงนี่ขนลุกเลยครับ 1 ใน 3 ของทุนสร้างหมดไปกับฉากเมืองนี่แหละ ทั้งยังเสื้อผ้า หน้าผมให้กับตัวประกอบอีกไม่รู้เท่าไหร่ คนสมัยนั้นเห็นภาพจากหนังคงร้อง “ว๊าว” เป็นแน่ ผมไม่ถึงกับอุทานออกมา แต่ตั้งคำถามว่า “ทำได้ยังไง!” และ “เพื่ออะไร!” ทึ่งในพลังของผู้กำกับนะครับ ถ้าหนังเรื่องนี้ไม่ Flop นี่ คิดว่าเราอาจจะได้เห็นอะไรที่ยิ่งใหญ่อลังการกว่านี้เป็นแน่

Intolerance เป็นหนังที่นักเรียนหนังแทบทุกคนต้องเคยดู เพราะถือเป็นหนังที่เป็นเหมือนตำราเรียน มีคนกล่าวไว้การดูหนังเรื่องนี้เหมือนการเริ่มต้นศึกษาสื่อภาพยนตร์ นี่คือหนังเรื่องแรกๆของโลก มีการทดลอง มีความพยายามลองผิดลองถูกมากมาย แทบทุกสิ่งอย่างเป็นของใหม่ในสมัยนั้น ปัจจุบันอาจจะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นแล้ว แต่ความรู้สึก “ขนลุก” คือสมัยนั้นทำกันไปได้ยังไง เราต้องเข้าใจครับว่ามันต้องเคยมีคนทำแบบนี้มาไม่ใช่นั้นวงการภาพยนตร์มันคงไม่เติบโตมาได้ถึงขนาดนี้ เห็นว่ามีฟีล์มบางส่วนของหนังหายไปด้วย ผมไปอ่านเจอมาว่าหนังเรื่องนี้มีฉาก Babylon Harem นักแสดงต้องแก้ผ้าอาบน้ำ ผมจำได้ว่าในหนังเวอร์ชั่นที่ผมดูไม่มีฉากนี้นะครับ น่าเสียดายจริงๆ

ผมแนะนำหนังเรื่องนี้กับคอหนังเงียบ คนที่ชื่นชอบดูหนังเก่าๆ เต็มไปด้วยเทคนิค งานสร้างอลังการ มีการตัดต่อที่บ้าคลั่ง ระดับเดียวกับ Man with a Movie Camera เลยนะครับ ใครเป็นนักเรียนภาพยนตร์ไม่ควรพลาด ผมไม่แนะนำให้เร่งความเร็วในการดูนะครับ เพราะหนังตัดต่อเร็วมากๆ ไม่จำเป็นต้องเร่ง (แค่นี้ก็ดูจะไม่ทันแล้ว) หนังอาจจะยาวหน่อย ใช้ความอดทนสักนิด ถ้าดูแล้วเข้าใจคงสนุกได้ ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่ต้องฝืนนะครับ จัดเรต 13+ ต่ำกว่านี้ดูไปคงไม่เข้าใจ

คำโปรย : “Intolerance หนัง Epic อลังการระดับตำนานที่มีการตัดต่ออันเหนือชั้น เปรียบเหมือนตำราเรียนขึ้นหิ้งโดยบรมครู D.W. Griffith”
คุณภาพ : SUPERB 
ความชอบ : SO-SO

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: