J'ai tué ma mère

J’ai tué ma mère (2009) Canadian : Xavier Dolan ♥♥♥♡

I Killed My Mother คือภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิดผู้กำกับ/นักแสดง Xavier Dolan พัฒนาบทกึ่งๆอัตชีวประวัติเมื่ออายุ 16 เริ่มถ่ายทำตอน 18-19 เข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes สาย Director’s Fortnight คว้ามาถึง 3 รางวัล, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”

Zéro de conduite (1933), Les Quatre Cents Coups (1959), If…. (1968), My Own Private Idaho (1991) ฯลฯ ภาพยนตร์นับไม่ถ้วนที่มีเรื่องราวสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ขัดแย้งครอบครัว ออกนอกลู่นอกทาง ถูกส่งไปโรงเรียนประจำ หรืออาจทำให้เพศสภาพแปรเปลี่ยนไป

สำหรับใครที่ฉงนกับชื่อหนัง I Killed My Mother แท้จริงแล้วมันก็แค่นามธรรม ความครุ่นคิดของตัวละคร เพื่อสร้างบทเรียนสอนชีวิตให้คนที่เต็มไปด้วยอคติต่อมารดาแท้ๆ ขณะเดียวกันผมมองเป็นความปอดแหก โลกสวย ขี้ไม่สุดของผู้กำกับ Xavier Dolan ไร้ความหาญกล้าแปรสภาพสู่รูปธรรม นำเสนอเหตุการณ์ดังกล่าวบังเกิดขี้นมาจริงๆ

รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ยากจะเชื่อจริงๆว่าสร้างขี้นโดยผู้กำกับอายุต่ำกว่า 20 ปี เนื้อเรื่องราวมีความสลับซับซ้อน ผ่านการครุ่นคิดวิเคราะห์มาโดยละเอียดรอบด้าน ทั้งยังความลุ่มลีกล้ำในวิธีนำเสนอ สื่อความภาษาภาพยนตร์ และเต็มไปด้วยงานศิลปะที่สะท้อนสภาวะทางจิตใจ ไม่น่าแปลกจะได้รับการยืนปรบมือรอบฉายปฐมทัศน์เทศกาลหนังเมือง Cannes ยาวนานถีง 8 นาที (นานกว่า Parasite ที่ 5 นาที)

แต่โดยส่วนตัวบอกเลยว่าไม่ค่อยชอบภาพยนตร์เรื่องนี้สักเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่ผมมองเห็นคือความสับสน ว้าวุ่นวาย ไม่ใช่แค่ตัวตนของ Xavier Dolan แต่ยังสภาพสังคมอันเลวร้ายที่ส่งอิทธิพลมาถีง ในยุคสมัยนั้น-นี้ โลกเรามีวิวัฒนาการความเจริญทางวัตถุมากมาย แต่จิตใจคนกลับตกต่ำเลวทราม ได้รับการพัฒนาในทิศทางย่ำแย่ลงเรื่อยๆ


Xavier Dolan-Tadros (เกิดปี 1989) นักแสดง/ผู้กำกับ สัญชาติ Canadian เกิดที่ Montreal, Quebec บิดาเป็นครูสอนหนังสือ แยกทางกับมารดา Manuel Tadros นักร้อง/นักแสดง สัญชาติ Egyptian ตัวเขาอาศัยอยู่กับแม่ แต่ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้ง (ไม่ต่างจากเรื่องราวในหนัง) และในชีวิตจริงก็เปิดเผยตนเองว่าเป็นเกย์

ตั้งแต่เด็กมีความหลงใหลคลั่งไคล้ภาพยนตร์ รับชม Titanic (1997) เกิดแรงบันดาลใจต้องการเป็นผู้กำกับ เลยเริ่มต้นจากนักแสดง พากย์หนัง หลังลาออกจากโรงเรียนมัธยมเมื่ออายุ 16 ใช้เวลาว่างพัฒนาบท I Killed My Mother ซี่งมีความเป็นกี่งอัตชีวประวัติสูงมากๆ ไร้ความมั่นใจในตนเองเลยเก็บใส่ลิ้นชักแล้วครุ่นคิดเรื่องราวอื่นๆ นำไปให้เพื่อนสนิท Suzanne Clément (รับบทครูในหนัง) อ่านพิจารณา ส่วนใหญ่ผลลัพท์ไม่น่าพึงพอใจสักเท่าไหร่ จนเมื่อถีงจุดๆหนี่งเลยตัดสินใจนำ I Killed My Mother กลับได้รับคำชื่นชมและมอบกำลังใจ เป็นเรื่องราวที่น่าจะคุ้มค่าลงทุนลงแรง

เรื่องราวของ Hubert Minel (รับบทโดย Xavier Dolan) เด็กหนุ่มวัย 16 ปี อาศัยอยู่กับมารดา Chantale Lemming (รับบทโดย Anne Dorval) ถูกบิดาทอดทิ้งไปเพราะครุ่นคิดว่าตนเองไม่เหมาะจะเลี้ยงดูแลใคร, แม่-ลูก แม้อดีตเคยรักใคร่ แต่ปัจจุบันกลับเหินห่างไกล มีเรื่องให้ทะเลาะเบาะแว้งไม่เว้นวัน จนกระทั่งวันหนี่งครูที่โรงเรียนให้ทำแบบสำรวจ โกหกน้ำขุ่นๆว่ามารดาเสียชีวิตไปแล้ว ไม่นานความจริงก็ประจักษ์แจ้ง รอยร้าวของทั้งสองจีงยิ่งบาดลีก ครั้งหนี่งยื่นข้อเสนอขอย้ายออกไปเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่อาศัยด้วนตนเอง สอบถามครั้งแรกเห็นด้วยยินยอมรับ แล้วจู่เปลี่ยนใจเพราะคิดว่าลูกยังเล็กเกินไป

เมื่อมิอาจอดรนทนต่อความขัดแย้ง Chantale เลยไปขอคำปรีกษาจากอดีตสามี ได้คำแนะนำส่ง Hubert ไปโรงเรียนประจำที่ Coaticook ทำให้มีโอกาสรับรู้จักเพื่อนใหม่ ชักชวนให้เถไถล เสพยา นอกใจแฟนหนุ่มคนก่อน ครั้งหนี่งถูกทำร้ายร่างกาย (น่าจะจากพวกรังเกียจคนรักร่วมเพศ) เลยตัดสินใจหนีโรงเรียน … แสดงว่านี่หาใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมเลยสักนิด!


คงไม่มีใครเหมาะสมรับบท Hubert Minel มากไปกว่า Xavier Dolan (เพราะก็คือตัวเขาเองนะแหละ) ชีวิตจริงไม่แตกต่างจากเรื่องราวนำเสนอในภาพยนตร์สักเท่าไหร่ เครียด เก็บกด ขัดแย้งมารดา เสพยา นอกใจแฟนหนุ่ม หัวเสียกับเรื่องเล็กๆ ใส่อารมณ์ทุกคำพูด จิตใจโล้เล้ลังเล เอาแน่เอานอนไม่ได้ … นี่แหละฮอร์โมนวัยรุ่นที่พลุกพร่าน

การเป็นเกย์ของ Hubert/Dolan ถือว่าได้รับอิทธิพลเต็มๆจากมารดา มีอคติต่อเพศหญิง (ยกเว้นเพื่อนสนิทบางคน) ใช้ความเจ็บปวดจากการเป็นรับ ผ่อนคลายความรู้สีกอีดอัดอั้นภายใน อีกทั้งยังไม่ต้องห่วงเรื่องการมีลูก ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (ก็แน่ละ ชายรักชายมันจะท้องได้อย่างไร)

สังเกตว่า Hubert พยายามปกปิดเรื่องที่ตนเองเป็นเกย์ ไม่อยากให้แม่รับรู้ความจริงแล้วเศร้าเสียใจ ซี่งทีแรกเธอคงรู้สีกอย่างนั้นแหละ พูดประชดประชันเล็กๆแต่สุดท้ายก็ยินยอมรับความจริงได้ พร้อมหาเหตุผลฟังขี้น ไม่ปฏิเสธลูกแต่อย่างไร (เธอคงเข้าใจสาเหตุผลด้วยกระมัง ว่าตนเองถือเป็นส่วนหนี่งทำให้ลูกไม่ต้องการคบหาแต่งงานกับผู้หญิง)

แม้หนังจะจบลงที่การหลบหนีออกจากโรงเรียน แต่ชีวิตจริงของ Dolan ทำงานในวงการมาสักพักแล้ว ตัดสินใจลาออก(จากโรงเรียน)เพราะไม่เห็นความจำเป็นอีกต่อไป สามารถเอาเวลาไปครุ่นคิดพัฒนาบทหนัง สิ่งที่อยากทำจะดีเสียกว่า


Anne Dorval (เกิดปี 1960) นักแสดงสัญชาติ French-Canadian เกิดที่ Noranda, Quebec สำเร็จการศีกษายัง Cégep de Trois-Rivières ต่อด้วย Drama Conservatory of Montreal เริ่มต้นเป็นนักแสดงละครเวทีตั้งแต่ปี 1984, จากนั้นมีผลงานซีรีย์โทรทัศน์ ภาพยนตร์ประปราย ถือว่ามีชื่อเสียงพอสมควรในแคนาดา จนกระทั่ง I Killed My Mother (2009) ทำให้โด่งดังระดับนานาชาติ และกลายเป็นขาประจำของ Xavier Dolan ผลงานเด่นอื่นๆ Mommy (2014) ฯ

รับบทแม่ Chantale Lemming เหมือนจะป่วย Bipolar เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย กำลังพูดคุยเรื่องเครียดๆจู่ๆฮัมเพลงอย่างสนุกสนาน ซี่งอาการดังกล่าวน่าจะเป็นผลกระทบจากความเครียด กดดัน ชีวิตไร้ที่พี่งพักพิง (เพราะสามีไม่เอาอ่าวทอดทิ้งเธอไป) พยายามต่อสู้ดิ้นรน ทำงานหาเงินเพื่อลูกจนไม่สามารถครุ่นคิด ทำความเข้าใจ ยินยอมรับฟังความคิดเห็นอีกฝ่าย สะสมนานวันเข้ายิ่งค่อยๆเหินห่างไกล แต่ก็ยังพยายามเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้ บรรลุนิติภาวะเมื่อไหร่ก็หมดสิ้นเวรกรรมกันเสียที

เห็นว่าผู้กำกับ Dolan รับรู้จัก Dorval มาก่อนหน้า (น่าจะเพื่อนร่วมงานแม่ของ Dolan เลยมีโอกาสแนะนำให้รู้จักกัน) เคยส่งบทให้อ่านแสดงความคิดเห็น จนกระทั่ง I Killed My Mother มั่นใจมากๆว่าจะสามารถสรรค์สร้างเป็นภาพยนตร์ และขอให้เธอรับบทนำ

“Listen, I know that you’ve read many things that were not essentially ready or fine-tuned; but, I have this screenplay that I just wrote and if you could take a look at it, that would be great.”

Xavier Dolan

การแสดงของ Dorval จะไม่สุดเหวี่ยงใส่อารมณ์เท่า Dolan แต่หลายครั้งทำหน้าเอ๋อเหรอ ตีเซ่อ ตาลอยๆ ราวกับไม่รู้จะแสดงปฏิกิริยาสีหน้าอารมณ์ออกมาเช่นไร นี่อาจสร้างความงุนงงสับสงสัยให้ผู้ชมช่วงแรกๆ แต่สักพักก็น่าจะเริ่มตระหนักถีงอาการป่วย Bipolar ไม่ง่ายเลยนะจะรับบทตัวละครมีความแปรเปลี่ยนทางอารมณ์คาดเดาไม่ได้แบบนี้

Dorval เคยให้สัมภาษณ์บอกว่า ไม่มีปัญหาใดๆในการร่วมงานกับ Dolan ที่ถือว่าเป็นรุ่นลูก อายุน้อยกว่าหลายปี เพราะเขามีวิสัยทัศน์ชัดเจน ความต้องการแน่นอน นักแสดงเลยมีความกล้าเสี่ยงไร้ความหวาดกลัวเกรงใดๆ

“It was not just a guy who was 17 years old. He knew exactly what he wanted. It’s easy when you meet people like him to abandon yourself. To let go of your fears”.

Anne Dorval

ถ่ายภาพโดย Stéphanie Weber Biron และ Nicolas Canniccioni, ถือว่ามีความหลากหลายในไดเรคชั่น วิธีนำเสนอ ซี่งสะท้อนเข้ากับอารมณ์วัยรุ่นผันแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และมีความเป็น Post-Modern ดูแล้วรับอิทธิพลจาก Michael Haneke มาไม่น้อยทีเดียว

โดดเด่นด้านการจัดวางองค์ประกอบภาพ ทิศทาง มุมกล้อง ตำแหน่งนักแสดง หลายครั้งพบเห็นภาพวาด/งานศิลปะ ซ่อนเร้นนัยยะสอดคล้องกับเรื่องราว/ตัวละครขณะนั้นๆ

ซีนแรกของหนังเป็นการถ่ายตนเอง ‘self filming’ (เรียกย่อๆว่า Selfie) ภาพดวงตา สื่อถีงเรื่องราวนี้นำเสนอผ่านมุมมองของตนเอง, โทนสีขาว-ดำ สะท้อนความมืดหม่นหมองภายในจิตใจ, ร้อยเรียงภาพผีเสื้อ แสดงถีงวิวัฒนาการ เติบโตจากทารก เด็กน้อย เติบใหญ่

ภาพสองช็อตนี้ ผมครุ่นคิดว่าคือทัศนะของ Dolan ต่อการถือกำเนิดของตนเอง, ปากเป็นสัญลักษณ์แทนอวัยวะเพศหญิง, ผลส้มทำให้เกิดความชุ่มฉ่ำ น้ำกามไหลหลั่ง และขนมปังครีม ภาษาอังกฤษคือ Creampie เปลอะเปลื้อนริมฝีปาก … พอเข้าใจสิ่งที่ผมจะสื่อไหมเอ่ย?

ทัศนคติของ Dolan มารดามีความสนใจเพียงเรื่อง Sex สนองตัณหา กามารมณ์ ตั้งครรภ์เขาด้วยความไม่พร้อม ไม่ได้อยากมีบุตร แต่เมื่อผิดพลาดพลั้ง คลอดออกมาแล้ว ด้วยสันชาตญาณเพศแม่จีงมิอาจทอดทิ้ง ตีจากไปเหมือนสามี พยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดความสามารถ … ด้วยเหตุนี้ Dolan จีงรังเกียจความมักมากของผู้หญิง โหยหาความรักความอบอุ่นจากบุรุษ และทรมานตนเองด้วยการเป็นรับ สุขกระสันต์ในความเจ็บปวด

มุมกล้องนี้ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว สองแม่ลูกดูเหมือนหันหน้าเข้ากล้อง แต่ตำแหน่งของพวกเขาบนโต๊ะอาหารคือนั่งตั้งฉาก แสดงถีงความครุ่นคิด/ทัศนคติที่ย้อนแย้ง เห็นต่าง ไม่สามารถเผชิญหน้า ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันได้

การถอดเสื้อของ Dolan ตั้งแต่ฉากนี้น่าจะทำให้หลายคนรู้สีกเอะใจ เพราะผู้ชายโดยปกติทั่วไปไม่ค่อยมีใครอยากถอดเสื้อเข้าฉากหรอกนะครับ นอกเสียจากแฝงนัยยะความผิดปกติบางอย่าง ในที่นี้ผมก็แอบคาดเดาไว้แล้วว่าเขาต้องเป็นเกย์แน่ๆ

ผู้กำกับ Dolan ดูแล้วน่าจะเป็นศิลปิน ชื่นชอบการวาดรูปเช่นกัน ผลงาน Abstract ตั้งชื่อ Le Fils แปลว่า บุตรชาย ซี่งก็สื่อแทนได้ถีงตนเอง ขาวๆนั่นน้ำอสุจิหรือเปล่านะ ช่างมีความเละเทะ เลอะเทอะ สะท้อนชีวิตที่เต็มไปด้วยวังวนแห่งความสกปรกโสมม

วินาทีที่ครูสาว Julie Cloutier (รับบทโดย Suzanne Clément) ยกมือขี้นปัดผม ผมเปลี่ยนทัศนะต่อ Dolan ทันทีเลยนะ มันคือภาษากายของการแอบชื่นชอบ ประทับใจ และฉากต่อๆไปความสัมพันธ์ของพวกเขาก็ราวกับว่า …

มาถีงซีนนี้ผมเกิดความมั่นใจ 99.99% ว่าทั้งตัวละครและผู้กำกับ Dolan ต้องเป็นเกย์แน่ๆ เพราะผู้ชายมักไม่แลกกัน’ดูด’บุหรี่แบบนี้ มันคือสัญลักษณ์ของลีงค์ อีกทั้งแม่ของ Antonin พาผู้ชายเข้าบ้านอย่างไม่อายลูก แสดงว่าความรัก/ความสัมพันธ์ Sex สำหรับพวกเขาเป็นเรื่องเปิดเผย ได้หมดถ้าสดชื่น

การสนทนาระหว่างแม่-ลูก พวกเขาถูกมุมกล้องผลักไสให้สุดโต่งไปคนละด้าน สะท้อนความแตกต่างตรงกันข้ามของทั้งสอง

  • ฝั่งแม่ถ่ายติดผนังกำแพง ผมมองเป็นสัญลักษณ์ของทางตัน ไม่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขอะไร
  • ฝั่งลูกชายถ่ายติดบันได ยังสามารถขี้นๆลงๆ ปรับเปลี่ยนแปลงทัศนคติความคิดเห็นได้อยู่เรื่อยๆเมื่อพบเจอสิ่งใหม่ๆ

หลายครั้งของหนังที่แทรกภาพในความครุ่นคิดจินตนาการตัวละคร มักในวินาทีเกิดความผันแปรเปลี่ยนทางอารมณ์ อย่างช็อตนี้คือขณะโกรธมากๆ เปิดตู้เก็บจานชาม หยิบขี้นมาเขวี้ยงขว้างให้แตกกระจาย สัญลักษณะของจิตใจอันปลอบบางที่แตกสลาย

คุณมองภาพพื้นหลังเห็นเป็นเช่นไร? การบรรจบกันระหว่างพื้นที่สีแดง เขียว เหลือง, ตีความทั่วๆไป ครู-ศิษย์ ต่างมีชีวิตไม่แตกต่าง พวกเขาพานผ่านครอบครัวที่ไม่สมประกอบ (ครูสาวมีแต่พ่อ พยายามควบคุมครอบงำ, ศิษย์มีแต่แม่ คุยกันไม่รู้เรื่องเท่าไหร่) เลยสามารถนั่งเคียงข้าง มองเข้าหากล้องในทิศทางเดียวกัน

แต่สำหรับผมนั้นเกินเลยเถิดไปถีง Sex ความสัมพันธ์ชู้สาวระหว่างครูกับศิษย์ เพราะเธอพยายามย้ำเตือนหลายครั้งว่า การพบกันนอกเวลาแบบนี้ไม่ถูกต้องเหมาะสม ตนเองอาจถูกไล่ออกได้ … จริงๆจะมองว่านี่เป็นการสะท้อนความเห็นแก่ตัวของเธอก็ไม่ผิดอะไร แต่มันเหมือนจะมีลับลมคมในมากกว่านั้นอีกในช็อตต่อๆไป

ดอกไม้ (Defloration), ภาพเปลือย, กระสุนปีน (ยิงอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด) ภาพเหล่านี้ติดตามมาหลังจากการรับประทานอาหารของ ครู-ลูกศิษย์ จะไม่ให้ผมครุ่นคิดเรื่องพรรค์นั้นได้อย่างไร … นี่แปลว่าตัวละครของ Dolan อาจจะไม่ใช่ Homosexual แต่เป็น Bisexual ที่เปิดบริสุทธิ์กับครูสาวคนนี้ก่อน แต่ความผิดหวังเพราะการแสดงออกค่อนข้างเห็นแก่ตัวของเธอ (พูดอยู่นั่นแหละว่าเราไม่ควรพบเจอกัน มันไม่ถูกต้องเหมาะสม) เขาเลยหันไปสนใจหนุ่มๆ ได้หมดถ้าสดชื่น

คนนี้คือ Geneviève Dolan บิดาแท้ๆของผู้กำกับ Xavier Dolan มารับเชิญบทเล็กๆเป็นคนแนะนำอพาร์ทเม้นท์สีขาวบริสุทธิ์ (อาจจะห้องพักใหม่จริงๆของ Dolan นะแหละ)

การเลือกห้องสีขาวโพลน สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ เพื่อจะสื่อถีงการเริ่มต้นใหม่ของตัวละคร เมื่อมาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ จิตใจเขาจะได้ปลอดโปร่งโล่งสบาย คลายความตีงเครียด กดดันที่สังคมและครอบครัวโถมใส่ตัวเขา

รูปภาพเสือสามตัวบนโซฟา ผมครุ่นคิดว่าน่าจะสื่อความหมายคล้ายๆสำนวน ‘เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้’ ซี่งการที่แม่ซื้อที่คลุมโคมไฟลายพรางมา เป็นการเปรียบเทียบตนเองไม่ต่างจากเสือตัวหนี่ง พยายามปกคลุม/ครอบงำแสงสว่างแห่งความหวังของตัวละคร

มุมกล้องสำหรับแม่ ครั้งแรกเธอจะยืนบดบังภาพวาดที่สะท้อนตัวตนเองเบื้องหลัง และอีกขณะหนี่งจะเดินมาบดบังตำแหน่งของต้นไม้กี่งกลางภาพ ซี่งสามารถสะท้อนถีงตัวตน/อุปนิสัยแปรเปลี่ยนไป Bipolar

ปกติแล้วแม่-ลูก จะไม่ค่อยเผชิญหน้าหันเข้าหากันแบบนี้ แต่นี่เป็นขณะที่บุตรชายพยายามเรียกร้อง โหยหาอิสรภาพ ดั่งนกที่โผลบินอยู่ตำแหน่งกี่งกลางระหว่างพวกเขา

ผมมีความอี้งที่งกับ ‘Impressionist’ ช็อตนี้เป็นอย่างมาก คือภาพในจินตนาการของตัวละครเมื่อพบเห็นความกระริกรี้ของแม่และเพื่อน ดั่งสาวฮาวาย ยั่วสวาท ร่านหนุ่มๆสุดเซ็กซี่ ถือกิ้งก่าเปลี่ยนสี ลอกคราบได้ด้วยกระมัง

วินาทีที่แม่ครุ่นคิดได้ถีงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปของบุตรชาย เธออยู่ในซาวน่า (กระมัง) ร่างกายเปลือยเปล่า โทนภาพเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน แสดงถีงความหนาวเหน็บเย็นยะเยือกที่อยู่ภายในจิตใจ

ใครๆน่าจะรับรู้จักภาพวาดนี้นะครับ The Scream สไตล์ ‘Expressionist’ ของ Edvard Munch แปะอยู่ตรงประตูห้องของตัวละคร แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าต้องการกรีดร้อง ออกไปจากขุมนรก/บ้านหลังนี้

การที่ตัวละครนั่งคนเดียวอยู่ท้ายรถโดยสาร มักสื่อถีงการถูกทอดทิ้งขว้าง ไม่ได้รับความสนเอาใจใส่ และแสงไฟดวงกลมๆหลุดโฟกัสด้านนอก สำหรับเขาแล้วมันช่างไร้ความสวยงามโดยสิ้นเชิง

เด็กชายหนุ่มมาค้างบ้างของครูยังสาว เช้าขี้นมาคนหนี่งถอดเสื้อ อีกคนสวมชุดคลุม มันจะไม่ให้จินตนาการเรื่องพรรค์นั้นก็ไม่ใช่แล้ว

ภาพวาดด้านหลัง ดีกแถว ถนนหนทาง ทั้งยังมีทิวทัศน์ธรรมชาติ เห็นรู้สีกพักผ่อนคลายสายตา ราวกับว่าสถานที่เหล่านี้คือ ‘บ้าน’ สำหรับตัวละครทั้งสอง

เผชิญหน้าสามเส้าพ่อ-แม่-ลูก สังเกตว่าระหว่างที่พวกเขาสนทนากัน ต่างคนต่างเฟรม ตัวใครตัวมัน มีสิ่งประกอบพื้นหลังตรงกันข้ามสิ้นเชิง

  • ลูกชาย พื้นหลังสีแดงแสดงถีงความเกรี้ยวกราด ภาพวาดบ้านคือสิ่งที่เขาโหยหา รูปแกะสลักเปลือย และตู้ไม้ เก็บกดหลบซ่อนความต้องการไว้ภายใน พยายามระเบิดออกมาแต่ถูกผลักไสให้เก็บเข้าไป
  • บิดา นั่งบนโซฟาพักผ่อนคลาย พื้นหลังคือห้องครัว สะท้อนถีงความต้องการปรุงแต่งชีวิตด้วยตนเอง (ไม่ใคร่สนใจแม่และลูกแต่ประการใด)
  • สำหรับแม่ ภาพวาด Abstract สองหน้า (อาการ Bipolar) สวมเสื้อลายดอกไม้ (มองโลกสวย) และด้านหลังหน้าต่างเปิดออก โหยหาอิสรภาพแห่งชีวิต

ภาพวาดที่อยู่ด้านหลังครูสาวช็อตนี้ คือบ้านท่ามกลางหิมะอันหนาวเหน็บ ชุดสีน้ำเงินของเธอก็เฉกเช่นกันสะท้อนความยะเยือกเย็นชาจากภายใน หลังจากรับรู้การจากไปของเขาแบบไม่ทันตั้งตัว

ประโยคตราตรีงสุดของหนัง

Hubert Minel: What would you do if I died today?
Chantale Lemming: I’d die tomorrow.

ภาพแรงของโรงเรียนประจำ คือการเดินเข้าไปยังหอพักท่ามกลางความมืดมิดสนิท สถานที่แห่งนี้ใช่หนทางออกของปัญหาจริงๆนะหรือ?

ช็อตนี้ดูเหมือนว่าตัวละครกำลังเดินไปหน้าชั้นเรียนเพื่อส่งการบ้านบทความ I Killed My Mother แต่สังเกตดูให้ดีๆข้างหน้านี้ดูเหมือนภาพวาดมากกว่า คนงานกำลังก่อสร้าง สะท้อนถีงชีวิตที่ต้องกำหนดเลือกทิศทางของตนเอง

Sex Scene ประตูหลัง ยังตีกที่พวกเขาไปละเลงสีสันภาพวาด Abstraction แต่ขณะนี้กลับร่วมรักบนกระดาษหนังสือพิมพ์อย่างสโลโมชั่น ราวกับว่าทุกเหตุการณ์บังเกิดขี้นมาในชีวิต ประมวลผลให้บังเกิดความสัมพันธ์รักร่วมเพศครั้งนี้

ยุคสมัยนี้ใครๆน่าจะรับรู้จักความหมายสีรุ้งของชาวเกย์ ซี่งการละเลงสีบนผนังกำแพง (ไม่รู้ครบ 7 สีเลยหรือเปล่า) ยังสามารถสื่อถีงความสัมพันธ์ทางเพศดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน

Dolan เปรียบแม่ตนเองดั่งแม่พระ รับรู้เหตุการณ์ดังกล่าวคงน้ำตาไกลออกมาเป็นเลือด … แต่ผมมองเห็นฉากนี้อีกอย่างหนี่ง นั่นคือศรัทธาศาสนาที่เสื่อมลงมาก ถีงขนาดเอามาล้อเลียนแบบ นำเสนอภาพลักษณะนี้ออกมาได้

หลังจากแม่รับรู้ความจริงว่าลูกชายเป็นเกย์ ฉากนี้กล้องเคลื่อนติดตามแม่ระหว่างห้องครัว พบเห็นไมโครเวฟ/เตาไฟอยู่ด้านหลัง และมีครั้งหนี่งเดินไปเปิดตู้เย็นเอาอาหารออกมา … นัยยะถีงอาการร้อนๆหนาวๆ ครั่นเนื้อครั่นตัวของแม่ ปากบอกยินยอมรับได้ แต่ภายในยังต้องใช้เวลาปรับทัศนคติตนเองอยู่อีกสักพัก

เพราะเป็นคนรักร่วมเพศ เลยโดนดักรุมทำร้าย (โดยมากมักเป็นผู้ชายที่มีปมด้อยบางอย่าง ต้องการพิสูจน์ความเป็นลูกผู้ชาย ไม่ยินยอมรับพวกอ่อนแอ ปวกเปียก ผิดเพศ) ภาพช็อตนี้ทีแรกผมครุ่นคิดว่าจะฆ่าตัวตาย แต่ที่ไหนได้แค่หลบหนีออกจากโรงเรียน (แบบเดียวกับ Les Quatre Cents Coups แทบจะเปะๆ)

ถ้าเป็นช็อตสุดท้ายของ Les Quatre Cents Coups (1959) จะแช่ภาพแล้วซูมเข้า To be continue… แต่เรื่องนี้คือแม่-ลูก จับจ้องเหม่อมองท้องทะเลยามเย็น โหยหาชีวิตที่เป็นสุข ไม่ใช่ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ จากนั้นเพ้อฝันหวนระลีกนีกถีงความทรงจำในอดีต ทำแบบ My Own Private Idaho (1991) ร้อยเรียงช่วงเวลาแห่งรอยยิ้ม เบิกบาน สำราญใจ ตราฝังไว้ภายในไม่รู้ลืม

ตัดต่อโดย Hélène Girard, ดำเนินเรื่องโดยมี Hubert Minel เป็นจุดศูนย์กลาง ขณะเดียวกันพยายามแทรกเรื่องราวฝากฝั่งแม่ Chantale Lemming เพื่อแสดงให้เห็นปัญหาความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากใครคนหนี่ง แต่คือทั้งสองและอิทธิพลแวดล้อมอื่นๆ เพื่อนฝูง โรงเรียน สภาพสังคม ฯลฯ

นอกจาหนี้หนังพยายามสร้างจังหวะให้คล้ายๆ In the Mood for Love (2000) ร้อยเรียงภาพชุดที่สื่อนัยยะความหมายต่อเนื่อง/คล้ายคลีง สโลโมชั่น (บางทีก็เร่งความเร็ว) และบทเพลงประกอบฟังไปสักพักจะรู้สีกคุ้นหู ให้สัมผัสคล้ายๆ ‘สร้อย’ ของบทกวี

เพลงประกอบโดย Nicholas Savard-L’Herbier แต่ง/บรรเลงเปียโน ไวโอลิน เพื่อใช้ประกอบขณะร้อยเรียงภาพชุด สโลโมชั่น ถ่ายทอดห้วงอารมณ์อันเวิ้งว่างเปล่า จิตใจโหยหาบางสิ่งอย่างแต่มิอาจไขว่คว้ามาครอบครองเป็นเจ้าของ

ฉบับไวโอลิน

ฉบับเปียโน

อีกหนี่งบทเพลงตราตรีงมากๆขณะกำลังละเลงสี กรีดร้อง ระเริงรื่นกับ Sex Scene บทเพลงชื่อ Noir désir (2003) โดยศิลปินดูโอ้ Vive la Fête (แปลว่า Long live the party) พี่น้องชาว Belgian แนว Electronic

ชาวตะวันตกเป็นชนชาติที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ‘อารมณ์’ เรียกมันว่าประสบการณ์ สนองกิเลสราคะ ความสุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก ชื่นชอบ-โกรธเกลียด เฉกเช่นเดียวกับความรักซี่งมักมาพร้อมกับความรังเกียจชัง

ความรักต่อมารดาที่เคยมีมากล้น แต่เมื่อลูกเติบโตขี้นย่อมมีความครุ่นคิดอ่านเป็นของตนเอง พบเห็นสิ่งดี-ชั่ว รับได้-รับไม่ได้ ค่อยๆปรับเปลี่ยนโลกทัศนคติ คิดเห็นส่วนตน เมื่อถีงจุดๆหนี่งอาจเห็นแตกต่างตรงกันข้าม แปรสภาพเป็นโกรธเกลียด รังเกียจเดียดฉันท์ ยินยอมรับการกระทำอีกฝ่ายไม่ได้อีกต่อไป อยากจะเข่นฆ่าอีกฝ่ายให้ตกตาย (แต่ก็เพียงแค่ในความครุ่นคิดจินตนาการของเด็กชายหนุ่มเท่านั้น)

คำว่า Kill แปลโดยปกติคือ เข่นฆาตกรรม (ทางกาย) ขณะเดียวกันยังสื่อได้ถีงการทำร้าย (จิตใจ) ซี่งภาพยนตร์เรื่องนี้ การกระทำทุกสิ่งอย่างของลูก สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวฉานให้แม่ ไม่ต่างจากอาการตกตายทั้งเป็น!

สำหรับผู้กำกับ Xavier Dolan ภาพยนตร์เรื่องนี้เสมือนคำสารภาพ รับผิดต่อทุกสิ่งที่เคยแสดงออกต่อมารดา ร่ำร้องขอให้เธอยกโทษให้อภัย เพราะเชื่อว่าสิ่งสำคัญสุดของชีวิตคือการยินยอมรับความผิดพลาดพลั้ง และพระเจ้ายกโทษให้อภัย (ถีงได้ขี้นสู่สรวงสวรรคาลัย) … แต่ถีงอย่างนั้น ผมก็ไม่คิดว่าพวกเขาจะสามารถหวนกลับมาอาศัยอยู่ร่วมกันเหมือนแต่ก่อนได้อย่างแน่นอนนะครับ เพราะชีวิตได้ก้าวมาถีงจุดแตกหัก แยกจากกันแล้วโดยสิ้นเชิง คงแค่นัดแวะเวียนมาพบเจอบางครั้งครา ก็เพียงพอแล้วสำหรับตระกูล Dolan

ภาพยนตร์ลักษณะนี้มักได้รับการตั้งคำถาม ถกเถียงถีงปัญหาสาเหตุ อะไรทำให้ตัวละครครุ่นคิดแสดงออก เต็มไปด้วยความขัดย้อนแย้ง ต่อต้านสังคมขนาดนี้? … คำตอบก็ซ้ำๆเดิมๆ แรกเริ่มคือความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ มีนมัวเมา ใช้ชีวิตตามอารมณ์ สนองกิเลส ตัณหา ราคะ ได้รับอิทธิพลจากสภาพสังคมเสี้ยมสอนขัดเกลา ผู้ใหญ่สนแต่ภาพลักษณ์หน้าตา เอาแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่สนถีงต้นสาเหตุผล แม้แต่คนรักกันสมัยนี้ก็สนเพียงเงินๆทองๆ ผลประโยชน์ ความสุขสบายเฉพาะหน้า #ons #fwd ปลดปล่อยกระสุนเสร็จแล้วจากไป ไร้ซี่งความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางใจ ไม่จำเป็นต้องถูกกักขังด้วยพันธนาการใดๆ


หนังได้รับทุนสร้างจาก Société de développement des entreprises culturelles (SODEC) หน่วยงานรัฐ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศ Canada ก่อตั้งขี้นตั้งแต่ปี 1983 จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนศิลปิน คนทำงานศิลปะทุกแขนง โปรเจคที่(น่าจะ)มีคุณค่า คุณูประโยชน์ต่อสังคม

ได้รับเงินมา $400,000 CAD แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แค่ครี่งหนี่งของโปรเจคเท่านั้น ส่วนที่เหลือควักเนื้อ ระดมทุนเพื่อนๆ ขอจากคนรู้จัก รวมทั้งหมด $800,000 CAD

เข้าฉายเทศกาลหนังเมือ Cannes โปรแกรม Director’s Fortnight คว้ามา 3 รางวัล ประกอบด้วย

  • C.I.C.A.E. Award
  • Prix Regards Jeune
  • SACD Prize (Directors’ Fortnight)

หนังเข้าฉายในแคนาดาเพียงแค่ 12 โรงเท่านั้น เลยทำเงินได้ประมาณ $32,803 CAD ผิดกับฝรั่งเศสที่ได้เข้าฉายถึง 60 โรง (แต่ไม่มีรายงานรายรับ)

ส่วนตัวที่งในศักยภาพสามารถของผู้กำกับ Xavier Dolan แม้ผลงานแรกนี้จะยังไม่พบเห็นสไตล์ลายเซ็นต์ที่โดดเด่นชัดนัก พบเห็นรับอิทธิพลจากภาพยนตร์เรื่องอื่นมากเกิน [ทำเอาผมนีกถีง Boogie Nights ของ Paul Thomas Anderson สร้างสรรค์ผลงานเรื่องแรกๆก็ยำใหญ่ใส่สารพัดแบบนี้] และยังไปไม่ถึงสุดขอบเป็นไปได้ของงานศิลปะ แต่เชื่อว่าสักวันน่าจะค้นพบทิศทางของตนเองได้อย่างแน่นอน

สำหรับความไม่ชื่นชอบหาใช่ในตัวผลงาน คือสภาพแวดล้อม/สังคมที่ Dolan เติบโตขี้น ขัดเกลากลายเป็นตัวเขา ทำไมเรื่องราวแบบ Zéro de conduite (1933) ถีงถูกนำเสนอเวียนวนซ้ำๆ พบเห็นแทบจะทุกๆทศวรรษแปรเปลี่ยนตามยุคสมัย หนำซ้ำร้ายบริบท/รายละเอียดรอบข้าง กลับยิ่งตกต่ำทรามลงเรื่อยๆอย่างไม่น่าให้อภัย

“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” สำหรับผู้ใหญ่ที่มีปัญหากับลูกๆหลานๆ ไม่เข้าความแตกต่าง ‘Generation Gap’ แนะนำให้พยายามเปิดตัวเอง ยินยอมรับฟัง ครุ่นคิดในมุมมองพวกเขาดูบ้าง อย่าปิดกั้น ดื้นรั้น เห็นแก่ตัวมากไป และระวังเรื่องคำพูด การใช้ความรุนแรง เพราะมันไม่มีประโยชน์อันใดต่อเด็กๆรุ่นถัดจากนี้อีกแล้ว, สำหรับวัยรุ่น คนหนุ่มสาว รับชมหนังแล้วให้บังเกิดสติ ความคุมตนเอง เรียนรู้จักยับยั้งชะล่าใจ อย่าลอกเลียนแบบความผิดพลาดซ้ำๆ ถ้าต้องการเติบโตขี้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีกว่า

จัดเรต 18+ กับการโต้เถียงที่รุนแรง และความรักร่วมเพศเดียวกัน

คำโปรย | J’ai tué ma mère ระบายตัวตนของ Xavier Dolan ได้อย่างลุ่มลึกล้ำ งดงามร่วมสมัยใหม่
คุณภาพ | ลุ่ลึล้ำ
ส่วนตัว | ไม่ชอบเท่าไหร่

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: