Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) : Chantal Akerman ♥♥♥♥
(26/4/2023) นักวิจารณ์ต่างยกให้เป็นเอกฉันท์ “Masterpiece of the Feminine’ ด้วยความยาว 201 นาที ดำเนินไปอย่างเอื่อยๆเฉื่อยๆ (Slow Cinema) ด้วยวิธีการสุดเรียบง่าย (สไตล์ Minimalist) ไม่เกินสิบนาทีหลายคนคงได้หลับสนิท แต่ถ้าอดรนทนไปเรื่อยๆจะตระหนักถึงความทรงพลัง นำเสนอสิ่งที่มารดาต้องแบกภาระ เสียสละ กระทำซ้ำทุกวี่วันเพื่ออนาคตของบุตร
นับตั้งแต่ Alice Guy-Blaché ผู้กำกับหญิงคนแรก La Fée aux Choux (1896) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว], ตามมาด้วย Germaine Dulac สรรค์สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับสิทธิสตรีเรื่องแรก La souriante Madame Beudet (1923), พัฒนาการถือว่าเชื่องช้ายิ่งกว่าเต่าคลาน เพราะบรรดาโปรดิวเซอร์/นายทุนต่างไม่ใคร่สนใจผู้หญิงกับบทบาทเบื้องหลัง แต่ก็ยังพอพบเห็นอยู่ประปรายอย่าง Lois Weber, Lotte Reiniger, Leni Riefenstahl, Maya Daren, จนกระทั่งคลื่นลูกใหม่ Agnès Varda ซัดพา Cléo de 5 à 7 (1962) กลายเป็นเสาหลักไมล์เรื่องสำคัญ “First Masterpiece of the Feminine” และการมาถึงของ Chantal Akerman ปรับเปลี่ยนบทบาทผู้หญิงทำงานเบื้องหลังโดยสิ้นเชิง
Jeanne Dielman, 23 Commerce Quay, 1080 Brussels (1975) คือภาพยนตร์เรื่องแรกๆของโลกที่ทุกแผนกสำคัญๆ ควบคุมงานสร้างโดยผู้หญิงทั้งหมด ตั้งแต่โปรดิวเซอร์ Corinne Jénart & Evelyne Paul, กำกับ/เขียนบท Chantal Akerman, นำแสดงโดย Delphine Seyrig, ถ่ายภาพ Babette Mangolte, ออกแบบงานสร้าง Philippe Graff, แต่งหน้า-ทำผม Éliane Marcus, ตัดต่อ Patricia Canino ฯ แต่เพราะผู้กำกับ Akerman ไม่ใช่คนเลือกทีมงานด้วยตนเอง (มอบหมายหน้าที่โปรดิวเซอร์) บรรยากาศทำงานจึงไม่ค่อยน่าอภิรมณ์สักเท่าไหร่
I did it because I wanted to try working with women only. But it didn’t work that well. Not because they were women, but because I didn’t choose them. It was enough just to be a woman to work on my film. I was a bit lazy about that, and the shooting was awful. Not technically, but in terms of the atmosphere. And I think that’s what comes through on the screen: the atmosphere is awful. It was the result of my lack of will.
Chantal Akerman
ถึงอย่างนั้นโปรดักชั่นหญิงล้วน น่าจะคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Jeanne Dielman (1975) ได้รับการโหวต “Greatest Film of All-Times” ครั้งล่าสุดของนิตยสาร Sight & Sound: Critic’s Poll 2022 สามารถไต่ขึ้นอันดับหนึ่ง อย่างที่แทบไม่มีใครคาดคิดถึง ผสมอิทธิพลทศวรรษ 2010s ยุคสมัยแห่งสิทธิสตรี (Feminism) ความเสมอภาคเท่าเทียมทางเพศ ทำให้บรรดาผู้มีสิทธิ์เสียงทั้งหลายทุ่มเทคะแนนให้ภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างล้นหลาม ผลักตก Vertigo (1958) และ Citizen Kane (1941) ลงไปอันดับสอง-สาม
คำถามจึงบังเกิดขึ้นว่า Jeanne Dielman (1975) สมควรค่าแก่การติดอันดับหนึ่ง “Greatest Film of All-Times” หรือไม่? แม้ส่วนตัวจะรับรู้สึกว่าหนังขึ้นถึงจุดสูงสุดเร็วไปนิด รับอิทธิพลร่วมสมัยมากเกินไปหน่อย (คือถ้ารอบนี้ติด Top5 หรือ Top10 แล้วทศวรรษหน้าขึ้นอันดับหนึ่ง คงไม่ได้รับเสียงต่อต้านรุนแรงขนาดนี้) แต่ผมก็ไม่ติดใจอะไรเลยนะครับ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้มีดีพอจะไปถึงตำแหน่งนั้นจริงๆ … จากหลายๆบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้า หลายคนอาจเข้าใจว่าผมมีอคติต่อ Jeanne Dielman (1975) แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลยนะ ภาพรวมของการจัดอันดับครั้งนี้ต่างหากละ ที่ส่วนตัวมองว่าสูญเสียมนต์ขลัง ไม่หลงเหลือความน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่
ชื่อหนัง Jeanne Dielman, 23 Commerce Quay, 1080 Brussels คือที่อยู่ตัวละคร Jeanne Dielman แม้อาจไม่ใช่ที่อยู่จริงๆของมารดา Natalia Akerman แต่ถือว่าเป็นผลงานใกล้ตัว ใกล้หัวใจผู้กำกับ Chantal Akerman (อวตารตัวเองในคราบบุตรชาย) ทุกรายละเอียดแทบจะอุทิศให้เธอที่ฉันรักยิ่ง บุคคลสำคัญที่สุดในชีวิต
My mother was the main character of my life. I could never escape her. Everything I did, I did for her.
Chantal Akerman
ปล. มารดาของผู้กำกับ Akerman เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 2014 นั่นทำให้เธอจมปลักอยู่ในความทุกข์โศก ล้มป่วยซึมเศร้า หลังสารคดีเรื่องสุดท้ายออกฉาย No Home Movie (2015) (ส่วนใหญ่เป็นบทสัมภาษณ์พูดคุยกับมารดา ผ่านโปรแกรม Skype) ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตปลายปี ค.ศ. 2015
Chantal Anne Akerman (1950-2015) ศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติ Belgian เกิดที่ Brussels, Belgium ในครอบครัวชาว Jews อพยพจาก Poland รอดชีวิตจากเหตุการณ์ Holocaust, ตั้งแต่เด็กมีความสนิทสนมกับมารดา แม้มีความจุ้นจ้าน เจ้ากี้เจ้าการ แต่ก็ผลักดันให้บุตรสาวทำในสิ่งชื่นชอบ ไม่ใช่เร่งรีบแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย (Akerman (ต้อง)เขียนจดหมายหามารดาทุกๆสัปดาห์), ค้นพบความเป้าหมายชีวิตหลังรับชม Pierrot le Fou (1965) เกิดความมุ่งมั่นอยากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ เข้าศึกษายังสถาบัน Institut national supérieur des arts du spectacle et des techniques de diffusion (INSAS) แต่เพียงไม่ถึงเทอมลาออกมาทำหนังสั้น Saute ma ville (1968) ดำเนินเรื่องเกือบทั้งหมดในห้องครัว ช่วงแรกๆก็ดูเหมือนปกติ ไม่นานกลับเริ่มทำอะไรเพี้ยนๆพิศดาร (เธอให้คำนิยามโปรเจคนี้ว่า ‘Chaplin film’)
I could see myself in that movie. It opened up a whole new world to me. I had been living in Brussels until then, and it was like, ‘Oh my God, you can make a movie like that?’ It gave me a whole new freedom in my head. It really changed my life.
Chantal Akerman กล่าวถึง Pierrot le Fou (1965)
หลังเสร็จจากหนังสั้นเรื่องแรก เดินทางมุ่งสู่ New York, สหรัฐอเมริกา ทำให้มีโอกาสรับรู้จักผลงาน Avant-Garde ของผู้กำกับดังๆอย่าง Michael Snow, Yvonne Rainer, Marcel Hanoun, Jonas Mekas นั่นเองทำให้ Akerman ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ ความสนใจของตนเองต่อสื่อภาพยนตร์ นั่นคือการไม่ยึดติดกับรูปแบบ โครงสร้าง วิธีการนำเสนอ และที่สำคัญสุดคือพบเจอตากล้องขาประจำ Babette Mangolte ร่วมกันสรรค์สร้างสองหนังสั้น La chambre 1 & 2 (1972) ถ่ายทำแบบ Long-Take ด้วยการให้กล้องหมุน 360 องศา วนรอบอพาร์ทเม้นท์ พบเห็นสิ่งต่างๆวางเรียงราย กระจัดกระจาย ขณะที่ Akerman (เล่นเองกำกับเอง)นอนอยู่บนเตียง สลับเปลี่ยนท่วงท่าไปเรื่อยๆ จนประมาณวนรอบสาม กล้องจะหมุนกลับทิศทาง และบางสิ่งอย่างก็เริ่มผิดแผกแตกต่าง
สำหรับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Hotel Monterey (1973) ใช้เวลาถ่ายทำเพียงหนึ่งคืน! ด้วยการตั้งกล้องบันทึกภาพตั้งแต่ชั้นล่างจนถึงดาดฟ้า พบเห็นผู้คน โถงทางเดิน ภายนอก-ในห้องพัก ฯ นานแค่ไหนแล้วแต่สันชาติญาณของผู้กำกับ “the shots are exactly as long as I had the feeling of them inside myself”. ผลลัพท์ออกมาถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยละ ผู้ชมเกิดความซึมซับบรรยากาศของโรงแรมแห่งนี้
I want people to lose themselves in the frame and at the same time to be truly confronting the space.
จริงๆแล้ว Akerman ยังครุ่นคิดพัฒนาอีกโปรเจค Hanging Out Yonkers ต้องการบันทึกภาพเมือง Hudson Rivery ทำออกมาในลักษณะ ‘city symphony’ แต่ติดขัดเรื่องงบประมาณ ซึ่งเธอเองก็หางานอื่นทำไม่ได้ เลยตัดสินใจเดินทางกลับ Brussels เมื่อปี ค.ศ. 1973 ทำงานพิมพ์ดีด (Typist) อยู่นานหลายเดือนเพื่อเก็บหอมรอมริดมาใช้เป็นทุนสร้างภาพยนตร์ Je Tu Il Elle (1974) ถ่ายทำเสร็จสิ้นในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์!
แม้ว่า Je Tu Il Elle (1974) จะไม่เชิงประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่ก็ทำให้ชื่อของ Ackerman เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมแล้วจะมองหาโอกาส/งบประมาณในการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องถัดไป (ที่ไม่ใช่การต้องดิ้นรนทำงานหาเงินทุนสร้างด้วยตนเอง)
I felt ready to make a feature with more money, with more people, with more support. I felt like I had something to say and that I wanted to say it in a more constructed way.
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 60s รัฐบาลของเบลเยี่ยมได้จัดตั้งองค์กร Centre National de la Cinématographie (National Film Centre ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น The Wallonia-Brussels Federation Film Centre) ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture) เพื่อให้การส่งเสริมสนับสนุนวงการภาพยนตร์ รวมถึงมอบงบประมาณแก่โปรเจคที่มีความน่าสนใจ
ผกก. Akerman เล็งเห็นโอกาสในการยื่นของบประมาณ จึงทำการพัฒนาบทภาพยนตร์ The House with the Yellow Door ถูกตีกลับให้ปรับแก้อยู่หลายครั้ง ในที่สุดก็ได้รับการตอบอนุมัติทุนสร้าง $120,000 เหรียญ เสร็จแล้วโยนบทดังกล่าวทิ้งลงขยะโดยพลัน
I wanted to make a film that was structured like a rigorous regimen around food, around making the bed, around cleaning. The idea of routine was really important to me. The other thing that was important to me was the idea of buying sex in the afternoon, which is a very precise thing. I wanted to show this very precise and almost mathematical regimen, and then at the same time, this very different activity, which was buying sex.
ไม่ใช่ว่าผกก. Akerman ทำการพัฒนาภาพยนตร์เรื่องใหม่นะครับ บทของ The House with the Yellow Door ที่ส่งไปให้กับ Centre National de la Cinématographie คือต้นแบบคร่าวๆของ Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles แต่เต็มไปด้วยรายละเอียด โครงสร้าง บทสนทนา ซึ่งไม่ใช่แนวทางทำงานของเธอ
In my scripts there are often only a few lines of dialogue. I don’t like dialogue. I don’t like people to talk too much. I like to see things happening. I like people to feel things.
I like to write the action of the film, how the characters move, how they react to each other. I don’t write a lot of dialogue, I don’t write a lot of description of the characters’ emotions. I prefer to show those things through their actions and movements.
เกร็ด: ในบรรดาภาพยนตร์ของผกก. Akerman บอกว่าบทของ Jeanne Dielman (1975) คือเรื่องที่เธอโปรดปราน ภาคภูมิใจที่สุด “the best script I have ever written”.
เรื่องราวของหญิงหม้าย Jeanne Dielman (รับบทโดย Delphine Seyrig) อาศัยอยู่กับบุตรชายในอพาร์ทเม้นท์หลังหนึ่ง กิจวัตรประจำวันประกอบด้วยตระเตรียมอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู ออกไปเดินตลาด รับเลี้ยงดูแลเด็กข้างบ้าน และยามบ่ายๆเปิดประตูรับผู้ชายมาซื้อบริการ
วิถีชีวิตของ Jeanne Dielman ดำเนินไปตามกำหนดการอย่างเปะๆในวันแรก จนกระทั่งบ่ายวันที่สองโดยไม่รับรู้ตัวเริ่มทำอะไรผิดๆถูกๆ หลงลืมโน่นนี่นั่น ต้มมันจนขึ้นอืด บานปลายถึงวันที่สามตื่นเช้าตั้งแต่ยังไม่ฟ้าสราง ทำให้มีเวลาว่างไม่รู้จะทำอะไร นั่งครุ่นคิดกระวนกระวาย และสุดท้ายกระทำบางสิ่งอย่างไม่มีใครคาดคิดถึง
นำแสดงโดย Delphine Claire Beltiane Seyrig (1932 – 1990) นักแสดงสัญชาติ Lebanese เกิดที่ Beirut, Lebanon ครอบครัวอพยพหนีสงครามโลกครั้งที่สองสู่ New York ก่อนหวนกลับมาช่วงปลายทศวรรษ 40s, ด้วยความชื่นชอบหลงใหลด้านการแสดงตั้งแต่เด็ก เข้าศึกษายัง Comédie de Saint-Étienne ตามด้วย Centre Dramatique de l’Est และ Actors Studio (ที่ New York City), ภาพยนตร์เรื่องแรก Pull My Daisy (1958), โด่งดังจาก Last Year at Marienbad (1961), ผลงานเด่นๆ อาทิ Muriel (1963), Accident (1967), Stolen Kisses (1968), The Day of the Jackal (1973), India Song (1975) และ Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) ได้รับการกล่าวขวัญ ‘feminist figure’ แห่งฝรั่งเศส
รับบทมารดา Jeanne Dielman เมื่อครั้นยังสวยสาว เร่งรีบครองคู่แต่งงาน แต่สามีพลันด่วนเสียชีวิตจากไป เลยตัดสินใจทุ่มเทเสียสละตนเองให้บุตรชาย วันๆเต็มไปด้วยกิจวัตรรัดตัว แทบไม่หลงเหลือเวลาว่าง กระทั่งวันหนึ่งเมื่อลูกโตเป็นหนุ่ม พูดแสดงความสนใจเรื่องทางเพศ ทำให้เธอเกิดอาการว้าวุ่น กระวนกระวาย ทำอะไรๆผิดพลาดพลั้ง ราวกับโลกทั้งใบกำลังพังทลายลงมา
ผกก. Akerman มีความประทับใจ Seyring ตั้งแต่เมื่อครั้นรับชม Last Year at Marienbad (1961) จึงครุ่นคิดพัฒนาตัวละครนี้โดยภาพเธออยู่ในใจ แต่ตอนแรกติดต่อไปได้รับคำตอบปฏิเสธเพราะไม่อยากรับบทโสเภณี จนกระทั่งมีโอกาสอ่านบทและพูดคุยผู้กำกับ ภายหลังถึงยินยอมตอบตกลง
I realized that it was her strength that touched me. Her way of being a woman without being a caricature of a woman, without being a man either. She was something else. And the way she used her voice, her intelligence, and her body made me want to work with her.
Chantal Akerman
บทบาท Jeanne Dielman ไม่ได้มุ่งเน้นขายการแสดงที่สมจริง หรือถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกจากภายใน แต่คือท่วงท่าขยับขึ้นไหว กิจวัตร การกระทำ ภาษากาย (อิทธิพลสไตล์ Dreyer และ Bresson) ซึ่งจะเป็นไปตามคำชี้แนะนำของผู้กำกับ … ไม่ต่างจากหุ่นเชิดชัก/หุ่นยนต์ขยับตามคำสั่ง
You wait for a minute, you stand up, go to the balcony, wait for twenty-five seconds, come back, pick up the broom, and sit back down. You skim the stock and sit.
ตัวอย่างการกำกับของ Chantal Akerman
การขยับเคลื่อนไหวตามคำสั่งผู้กำกับ อาจดูผิดแปลก ฝืนธรรมชาติ แต่ประสบการณ์แสดงของ Seyrig ต้องชมเลยว่าสามารถกระทำตามได้อย่างลื่นไหล ต่อเนื่อง และมีความแม่นยำอย่างเปะๆ จนตัวละครดูไร้ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ร่วมกับกิจวัตรใดๆ กระทั่งช่วงท้ายเมื่อเกิดความสับสน กระวนกระวาย จู่ๆถึงจุดไคลน์แม็กซ์ขณะร่วมเพศสัมพันธ์ วินาทีนั้นก็ไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป
ในบทสัมภาษณ์ของ Seyrig กล่าวว่า Jeanne Dielman คือบทบาทเดียวในชีวิตที่ทำลายทุกสิ่งอย่างในตนเองจนแตกละเอียด แล้วต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆกว่าจะปะติดปะต่อกลับมาเป็นตัวของตนเอง อีกทั้งยังชื่นชมผกก. Akerman รู้สึกภาคภูมิใจที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยผู้หญิงที่รับรู้ตนเองว่ากำลังทำอะไร
Jeanne Dielman is the only film that truly broke me down into pieces. It took me months to recover. It was a very difficult film to make, but one of the most beautiful and interesting experiences I’ve ever had in cinema.
It is good that Jeanne Dielman was made by a woman, insofar as it’s a woman who could know what’s behind the closed door of a kitchen. Chantal Akerman is particularly good at that. She knows how to put her camera on objects, on hands, on things you do without noticing.
Delphine Seyrig
ถ่ายภาพโดย Babette Mangolte (เกิดปี 1941) ตากล้องสัญชาติฝรั่งเศส-อเมริกัน โตขึ้นเมื่อมีโอกาสรับชม Man with a Movie Camera (1929) ตัดสินใจแน่วแน่ต้องการเป็นตากล้องภาพยนตร์, เข้าศึกษาด้านการถ่ายภาพจาก L’École nationale supérieure Louis-Lumière (ชื่อย่อ ENS Louis-Lumière) แต่ไม่พึงพอใจวงการหนังฝรั่งเศสที่ยังกีดกันผู้หญิงทำงานเบื้องหลัง มุ่งหน้าสู่ New York สร้างสรรค์การถ่ายภาพแนวทดลองร่วมกับ Jonas Mekas, Stan Brakhage รับงานภาพยนตร์ประปราย ก่อนกลายเป็นขาประจำของ Chantal Akerman ร่วมงานกันตั้งแต่หนังสั้น La chambre 1 & 2 (1972), ภาพยนตร์ขนาดยาว Hotel Monterey (1973), Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) และ News from Home (1977)
ด้วยแนวคิดการถ่ายภาพสไตล์ ‘Minimalist’ หลายคนอาจคาดคิดว่าคงไม่มีรายละเอียดอะไรนอกจากตั้งกล้องทิ้งไว้เฉยๆ แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบเห็น
- ระดับความสูงของกล้อง ต่ำเตี้ยกว่าตัวละครเล็กน้อย เพราะนั่นคือความสูงจริงๆของผกก. Akerman เพื่อเทียบแทนมุมมองสายตาของเธอต่อภาพยนตร์เรื่องนี้
- ทุกช็อตฉากจะมีความสมมาตร ตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อสร้างสัมผัสเหมือนมีบางสิ่งอย่างห้อมล้อมรอบ ถูกควบคุมครอบงำโดยขนบกฎกรอบทางสังคม
- โทนสีหลักๆคือ เหลืองแก่–คราม–ทีล (Teal = สีเขียวนกเป็ดน้ำ) มีนักวิจารณ์ใช้คำเรียก ‘Flemish Color Palette’ คือเฉดสีที่ได้รับการพัฒนาโดยจิตรกรชาว Dutch & Belgian (มีคำเรียก Flemish) ในช่วงยุคสมัย Dutch Golden Age (ศตวรรษ 15-16)
เกร็ด: หนังได้แรงบันดาลใจหลายๆผลงานศิลปะของ Johannes Vermeer (1632-75) จิตรกรแห่งยุคสมัย Dutch Baroque (หรือ Dutch Golden Age) เลื่องชื่อกับภาพวาดภายในห้องพัก ริมหน้าต่าง แสงสว่างจากภายนอกสาดส่องเข้ามา ก็คล้ายๆภาพยนตร์เรื่องนี้ที่กว่า 90% ถ่ายทำในอพาร์ทเม้นท์
ผู้กำกับ Akerman อธิบายเหตุผลการถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ เพราะไม่ต้องการหั่นนักแสดงออกเป็นร้อยๆชิ้น เต็มไปด้วยรายละเอียดโน่นนี่นั่น เพียงความชัดเจน เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และยังทำให้ผู้ชมรับรู้ตำแหน่งแน่นอนของตัวละคร สามารถจับจ้อง สังเกตการกระทำ/ภาษากาย พบเห็นความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยได้โดยง่าย
To avoid cutting the woman in a hundred pieces, to avoid cutting the action in a hundred places, to look carefully and to be respectful. I would do it all again, and I would do it the same way.
Chantal Akerman
กิจวัตรในห้องครัว มื้ออาหารของตัวละคร มันมีนัยยะบางอย่างเคลือบแอบแฝงอยู่ด้วยนะครับ
- มื้ออาหารวันแรกเริ่มต้นจากเสิร์ฟซุป ตามด้วยมันต้มและเนื้อตุ๋น (มั้งนะ) ทั้งสามอย่างล้วนเป็นอาหารที่ต้องใช้ระยะเวลาในการทำ สะสมประสบการณ์ สื่อถึงกิจวัตรเหล่านี้ดำเนินมาอย่างยาวนาน
- วันที่สองพบเห็นทำคัทเลท (Cutlet) ด้วยการนำเนื้อหั่นบางๆมาชุบแป้ง ชุบไข่ หรือเคลือบขนมปังกรอบ ทิ้งไว้สักพักก่อนนำไปทอด, ด้วยขนาดของชิ้นเนื้อสามารถสื่อถึงความอ่อนแอเปราะบางของจิตใจ ตัวละครกำลังจะสูญเสียทุกสิ่งอย่างเคยสร้างมา
- ภายหลังเสร็จกามกิจยามบ่าย ตัวละครต้องเททิ้งมันต้ม สามารถสื่อถึงการปล่อยปละละเลย (ต้มนานเกินไป/ไม่ก็ใช้ไฟแรงเกินไป) จนทำให้มันต้ม/จิตใจมีความอ่อนแอเปราะบาง (นัยยะเดียวกับ Cutlet)
- วันที่สามพบเห็นทำมีตโลฟ (Meat Loaf) นำเอาเนื้อสัตว์บดมาคลุกส่วนผสมต่างๆ แล้วขึ้นรูปอาจทำเป็นก้อน แผ่นขนมปัง ก่อนนำไปทอดหรืออบ สามารถสื่อถึงสภาพจิตใจของตัวละครขณะนี้ เต็มไปด้วยความสับสน กระวนกระวาย (หลังสูญเสียกิจวัตรประจำวัน) เหมือนเนื้อสัตว์ที่กำลังถูกบดขยี้ให้แหลกละเอียด
นอกจากนี้ยังพบเห็นชงชา กาแฟ รับประทานขนมปัง ล้วนเป็นสัญลักษณ์(อาหารเช้า)ของการปลุกตื่น ให้มีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่บางอาจมองว่าการต้มน้ำ กรองกากชา-กาแฟ สามารถสะท้อนสภาพจิตใจตัวละคร กำลังมีความเร่งรีบ เร่าร้อนรน ก็ได้เช่นกัน
มารดาของผู้กำกับ Akerman ไม่ได้เคยเป็นโสเภณีนะครับ แต่หนังใช้อาชีพนี้ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงอิทธิพลบนเรือนร่างกายเพศหญิง ไม่แตกต่างจากวัตถุทางเพศ ‘object of desire’ ในสังคมชายเป็นใหญ่ (Patriarchal Society) อย่างฉากร่วมเพศสัมพันธ์ สังเกตว่าจะมีเพียงฝ่ายชายอยู่เบื้องบน มารดานอนลงเบื้องล่าง ไม่มีท่วงท่าทางอื่นใด (แสดงถึงบุรุษมีอิทธิพลเหนือกว่าสตรี)
ก่อนหน้านี้เหมือนว่ามารดาไม่เคยมีอารมณ์ร่วม หรือถึงจุดไคลน์แม็กซ์ระหว่างขายบริการ สามารถสื่อถึงความรู้สึกเก็บกดในฐานะมารดา ตระหนักถึงหน้าที่ ภาระรับผิดชอบต่อบุตรชาย เลยปฏิเสธปล่อยตัวกาย-ใจ ต้องทำทุกสิ่งอย่างภายใต้ขนบกฎกรอบ วิถีความเชื่อส่วนบุคคล
แต่การถึงจุดไคลน์แม็กซ์ในครั้งนี้ (คาดว่าน่าจะตั้งแต่ลูกค้าคนที่สอง แต่หนังแสดงให้ผู้ชมเห็นอย่างชัดเจนกับลูกค้าคนที่สาม) สื่อถึงการปลดปล่อยทางร่างกาย ชีวิตราวกับได้รับอิสรภาพ หลุดพ้นพันธนาการทุกสิ่งอย่าง แต่นั่นทำให้เธอรู้สึกเหมือนความผิดพลาด เลยตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่างต่อลูกค้าคนนี้
I think it’s very difficult for women, because society says you have to be a good mother, you have to be a good housewife, you have to be beautiful, you have to be this, you have to be that. You’re a woman, so you’re judged more harshly. And yet, you want to be free, you want to be yourself. You want to feel something.
Chantal Akerman
ช็อตสุดท้ายของหนัง 6-7 นาทีที่มารดานั่งสงบสติอารมณ์ ไม่รู้จะครุ่นคิดทำอะไร อยู่ในห้องมืดมิด เพียงแสงสีน้ำเงินจากภายนอก (ดูราวกับฝนกำลังตก) สาดส่องสลัวๆเข้ามา เป็นการให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ หายนะหรืออะไรจะบังเกิดขึ้นต่อจากนี้ มันอาจไม่ใช่การจบลงแบบโศกนาฎกรรมก็เป็นได้
I don’t think it’s a happy ending, but I don’t think it’s a tragic ending either. It’s an opening. The end of Jeanne Dielman is a door opening onto something else, which is very difficult to say what it is. It’s not the beginning of a revolution. It’s not the beginning of a change, but it’s a door that is open. So what I wanted to show is that there are moments in life when something is possible. And then it’s up to the viewer to decide what that is.
I didn’t want to make a film with a message or a conclusion. It’s more a question that I ask at the end. It’s up to each person to find their own answer to the question that the film raises. And the question is: what happens when someone who is not supposed to change, changes?
Chantal Akerman
ตัดต่อโดย Patricia Canino สัญชาติ Belgian สำเร็จการศึกษาจาก National Institute of Performing Arts, Brussels มีผลงานตัดต่อภาพยนตร์ อาทิ Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975), The Choice (1976) ฯ
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองมารดา Jeanne Dielman อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์ร่วมกับบุตรชาย ดำเนินกิจวัตรประจำวัน อาทิ ตระเตรียมอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู ออกไปเดินตลาด รับเลี้ยงดูแลเด็กข้างบ้าน และยามบ่ายๆเปิดประตูรับผู้ชายมาซื้อบริการ ในระยะเวลา 3 วัน 2 คืน แบ่งแยกด้วยประโยคข้อความ fin du premier jour (End of the first day) และ fin du deuxième jour (End of the second day)
การแบ่งองก์ของหนังทำได้อย่างตรงไปตรงมา สามวันก็คือสามองก์ ตรงตามสูตรสำเร็จ ‘Three-act structure’
- วันแรก, นำเสนอกิจวัตรประจำวันทั่วๆไปของมารดา ปัดกวาดเช็ดถู เปิดประตูรับผู้ชายมาซื้อบริการ รับประทานอาหารค่ำกับบุตรชาย และแยกย้ายเข้าห้องนอน
- วันสอง,
- ครึ่งวันแรกชีวิตยังดำเนินไปโดยปกติ เช้าปลุกตื่นบุตรชาย แวะเวียนไปจับจ่ายซื้อของ ตระเตรียมอาหารเย็น ช็อปปิ้งดื่มชา (จบครบรอบหนึ่งวันพอดิบดี)
- แต่หลังเสร็จจากรับงานลูกค้ายามบ่าย ครึ่งวันหลังกลับเริ่มพบเห็นความผิดปกติ หลงๆลืมๆ เดินวนไปวนมา ต้องแวะเวียนไปตลาดหาซื้อมัน รับประทานอาหารค่ำช้ากว่าปกติ และก่อนนอนบุตรชายสอบถามเรื่องเกี่ยวกับทางเพศ
- วันสาม, เช้าตื่นขึ้นก่อนเวลา แวะเวียนไปซื้อหาข้าวของก่อนร้านเปิด กลับมาตระเตรียมอาหารเย็น หลงเหลือเวลาว่างๆไม่รู้จะทำอะไร กระทั่งเปิดประตูรับผู้ชายมาซื้อบริการ จู่ๆบังเกิดอารมณ๋เลยตัดสินใจกระทำบางสิ่งอย่าง
ด้วยความที่หนังถ่ายทำแบบ ‘Long Take’ หลายคนจึงมองข้ามลีลาการตัดต่อ ครุ่นคิดว่าคงเพียงนำเอาฟุตเทจยาวๆมาปะติดแปะต่อกันเท่านั้น แต่สำหรับคนช่างสังเกตจะพบเห็นลักษณะบางอย่างดูละม้ายคล้าย ‘สไตล์ Ozu’ เมื่อมีการเดินจากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่ง มักเว้นว่างระยะเวลาหนึ่งก่อนพบเห็นตัวละครเข้า-ออกจากเฟรม (บางครั้งเฉพาะขณะเข้าฉาก, บางครั้งเฉพาะออกจากฉาก) ผมชอบเรียกว่าอารัมบท-ปัจฉิมบทของช็อต ซึ่งถือเป็นแนวคิดของ Formalism
นอกจากนี้ผมยังสังเกตว่าเวลา Jeanne Dielman อยู่ตัวคนเดียว มักพบเห็นเพียงหนึ่งช็อต-หนึ่งฉาก ไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนมุมกล้องภายในห้อง แต่เมื่อไหร่อยู่ร่วมกับบุตรชาย พูดคุยสนทนา รับประทานอาหาร หรือกิจกรรมก่อนเข้านอน มักมีการตัดสลับทิศทาง/มุมมอง (ฝั่งมารดา <> ฝั่งบุตรชาย) อยู่หลายต่อหลายครั้งทีเดียว
สำหรับเพลงประกอบมีลักษณะเป็น ‘diegetic music’ หนึ่งในบทเพลงดังจากวิทยุคือ Beethoven: Bagatelle No. 25 in A minor หรือที่ใครๆรู้จักในชื่อ Für Elise (1810) บทเพลงอุทิศให้กับหญิงสาวชื่อ Elise … ผกก. Akerman น่าจะเลือกบทเพลงนี้เพื่ออุทิศให้กับมารดา กระมังนะ
Jeanne Dielman, 23 quai du Commerce, 1080 Bruxelles (1975) นำเสนอเรื่องราวของมารดา ผู้ปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันอย่างเคร่งครัด ผูกมัดตนเองกับความเชื่อมั่นบางสิ่งอย่าง ไม่ต้องการให้เกิดความผิดพลาด คลาดเคลื่อน แต่อุบัติเหตุเป็นสิ่งไม่มีใครสามารถคาดคิดถึง
ก่อนอื่นเราควรตั้งคำถามให้ได้ก่อนว่ากิจวัตรประจำวัน สามารถสื่อถึงอะไร? ไม่ใช่แค่สิ่งที่ตัวละครกระทำอยู่ ตระเตรียมอาหาร ปัดกวาดเช็ดถู ออกไปเดินตลาด รับงาน บลาๆๆๆ แต่แฝงนัยยะถึงการกระทำบางสิ่งอย่างซ้ำไปซ้ำมา จนกลายเป็นวิถีชีวิต ขนบแบบแผน ค่านิยมทางสังคม กฎหมายบ้านเมือง สำหรับควบคุมครอบงำความครุ่นคิด-คำพูด-การกระทำ
มนุษย์จำเป็นต้องดำเนินชีวิตตามขนบกฎกรอบ ระเบียบแบบแผน ปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันหรือไม่? บางคนอาจตอบว่าไม่จำเป็น เพราะมันคือ’อิสรภาพ’ของตัวเรา ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ทำไป, แต่สำหรับบุคคลที่มีภาระรับผิดชอบ ครอบครัว-บุตรหลานให้ต้องเลี้ยงดูแล วิถีชีวิตดังกล่าวจักคือสิ่งมิอาจหลีกเลี่ยง เหมือนการวิ่งแข่งขัน ‘rat race’ หรือว่ายเวียนในวัฎฎะสังสาร
ในกรณีของเพศหญิง มันยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘สัญชาติญาณเพศแม่’ รวมถึงค่านิยมทางสังคมที่ถูกปลูกฝัง เสี้ยมสั่งสอนมาแต่โบราณกาล ‘สตรีคือช้างเท้าหลัง’ ทำให้พวกเธอต้องอุทิศตนเอง เสียสละทุกสิ่งอย่างให้สามีและบุตร-หลาน ถือเป็นหน้าที่ ภาระรับผิดชอบ ยุคสมัยเก่าก่อนจึงไม่ค่อยมีหญิงคนไหนสามารถดิ้นหลุดพ้นวิถีชีวิตดังกล่าว
With her second client she had an orgasm, that was what destroyed her order, there was no room for that in her life.
Chantal Akerman
จุดหมุนของหนังตามคำอธิบายของผกก. Akerman เกิดขึ้นระหว่างมารดาต้อนรับลูกค้าคนที่สอง แม้ไม่มีการถ่ายให้พบเห็นเหตุการณ์ในห้องนอน แต่สิ่งแรกที่เธอทำผิดพลาดคือลืมปิดฝาโถใส่เงิน (บางคนอาจบอกว่า ต้มมันนานเกินจนรับประทานไม่ได้) จากนั้นเดินวนไปวนมา ท่าทางรุกรี้รุกรน เต็มไปด้วยความสับสน เพราะลำดับของชีวิตได้ผิดแผกแปลกเปลี่ยนไป
จุดสุดยอดทางเพศ ‘Orgasm’ สามารถมองในเชิงสัญลักษณ์ถึงการปลดปล่อย อิสรภาพชีวิต จิตวิญญาณล่องลอยไป นั่นคือสิ่งตรงกันข้ามกับขนบกฎกรอบ ระเบียบแบบแผน กิจวัตรประจำวันที่มารดาพยายามธำรงรักษา ยึดถือปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ความสุขเล็กๆจึงทำให้จิตใจสั่นคลอน สูญเสียความเชื่อมั่น เกิดข้อคำถามกับตนเองว่าทุกสิ่งอย่างที่ทำอยู่ มันมีความถูกต้องเหมาะสมประการใด
นี่ไม่ใช่คำถามเชิงจริยธรรม เกี่ยวกับการเสียสละตนเองเพื่อครอบครัว-บุตรหลาน vs. กระทำสิ่งตอบสนอง(ตัณหา)ความต้องการส่วนตน, แต่คือลักษณะของสิทธิสตรี (Feminist) ระหว่างดำเนินชีวิตตามขนบกฎกรอบ ระเบียบแบบแผน กิจวัตรประจำวัน วิถีทางสังคมที่พยายามควบคุมครอบงำ vs. ปลดปล่อยตนเอง โหยหาอิสรภาพชีวิต ครุ่นคิดอยากทำอะไรก็ทำ
ผกก. Akerman สรรค์สร้าง Jeanne Dielman (1975) เพื่ออุทิศให้มารดา Natalia Akerman (เทียบแทนได้อย่างตรงไปตรงมา) ผู้เสียสละตนเองเพื่อครอบครัว เธอเป็นคนเจ้าระเบียบ จู้จี้จุกจิก จ้ำจี้จ้ำไช แม้ชอบพูดมาก แต่ไม่เคยแสดงออกความรัก อาจเพราะเคยพานผ่านเหตุการณ์ Holocaust ภายนอกจึงแสดงออกอย่างเข้มแข็งกระด้าง (การรักษาระยะห่าง ถือเป็นกลไกหนึ่งในการปกป้องตนเองจากเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต)
การเติบโตในครอบครัวที่ยึดถือมั่นหลักการความสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ทำให้ผกก. Akerman พยายามหาหนทางดิ้นหลบหนี พบเจอกับสื่อภาพยนตร์ ช่วงชีวิตหนึ่งออกเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา (แต่ยังต้องเขียนจดหมายส่งกลับทุกๆสัปดาห์) เพราะตระหนักความเป็นจริงว่า ไม่มีทางที่ใครจะดีเลิศประเสริฐศรีทุกสิ่งอย่าง
My mother was the perfect wife and the perfect mother, and when she stopped being that she stopped being anything. So I was raised in a world where there was no possibility of failure or even partial success, because if you fail in that one thing, you’re not good for anything. And I think I found my way by not being good for anything. It gave me freedom. My mother is in every shot of Jeanne Dielman, in every pan, in every movement.
ผมอ่านพบเจอเหตุผลหนึ่งในการสรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ แล้วอาจสร้างความประหลาดใจให้ใครหลายคน “I made this film for my mother. Because I couldn’t save her”. นี่ไม่ใช่ว่าขณะนั้นแม่ของผกก. Akerman ประสบอุบัติเหตุ ล้มป่วย หรือใกล้ตายนะครับ แต่คือเธอไม่สามารถช่วยเหลือมารดาให้ก้าวออกมาจากวังวนแห่งความสมบูรณ์แบบ … กล่าวคือในชีวิตจริง Natalia Akerman ยังคงดำเนินตามกิจวัตรของเธอ ไม่เคยมีเหตุการณ์อะไรทำให้ทุกสิ่งอย่างผิดแผกแปลกเปลี่ยนไป
นั่นแปลว่าผกก. Akerman สรรค์สร้าง Jeanne Dielman (1975) เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักถึงขนบกฎกรอบ ระเบียบแบบแผน วิถีทางสังคม กิจวัตรประจำวัน คือสิ่งที่สตรี (จะรวมถึงบุรุษด้วยก็ได้นะ) ไม่จำเป็นต้องดำเนินรอยตามอย่างเคร่งครัด เพราะมันจะบีบรัดจนมิอาจดิ้นหลุดพ้น สักวันหนึ่งอาจควบคุมตนเองไม่ได้ แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่งออกมา
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยัง Directors’ Fortnight เทศกาลหนังเมือง Cannes ด้วยระยะเวลาฉายที่เยิ่นยาวนานกว่าสามชั่วโมง พร้อมการดำเนินเรื่องอย่างเอื่อยเฉื่อยเชื่องชักชา จึงเต็มไปด้วยผู้ชมเดินเข้า-ออก ส่งเสียงพึมพัม งึมงัม แสดงสีหน้าเบื่อหน่าย เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ก็ก่ำๆกึ่งๆ แต่บางฉบับหนังสือพิมพ์กลับยกย่องว่า
It is the first masterpiece of the feminine in the history of the cinema. Women will make other films, of course. But this one is hers, incontestable proof.
นักวิจารณ์ Louis Marcorelles ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Les Nouvelles Littéraires
คำกล่าวนี้เองทำให้ Jeanne Dielman (1975) มีโอกาสออกเดินทางไปฉายตามหลากหลายเทศกาลหนังทั่วโลก แม้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายรับ แต่ค่อยๆได้รับการพูดกล่าวถึง พัฒนากลายเป็น Cult Classic และนักวิจารณ์รุ่นใหม่ยกย่องสรรเสริญเหนือกาลเวลา
Chantal Akerman’s ‘Jeanne Dielman’ is one of the great feminist films; not because it celebrates women, or portrays them positively, but because it insists on a woman’s right to choose—to be herself, and to live her life as she pleases. The movie is not ‘about’ feminism; it simply embodies it.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย Cinémathèque royale de Belgique ร่วมกับ Fondation Chantal Akerman คุณภาพ 2K ผ่านการตรวจอนุมัติโดยผู้กำกับ Akerman และตากล้อง Mangolte เสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 สามารหาซื้อ DVD/Blu-Ray และรับชมออนไลน์ทาง Criterion Channel
แม้ส่วนตัวจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการดำเนินเรื่องที่แสนเชื่องช้าน่าหลับ แต่ความชื่นชอบกลับค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละลำดับ เกิดแรงดึงดูดให้อยากรู้อยากเห็น อยากค้นหาว่าตอนจบจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ผลลัพท์ถือว่าคุ้มค่าและประสบความสำเร็จ … แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถอดรนทนได้ถึงจุดนั้น
ผมมีความสองจิตสองใจว่าจะจัด Jeanne Dielman (1975) ในลิส “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แม้สาสน์สาระสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของมารดา แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถอดรนทนสามชั่วโมง แล้วครุ่นคิดทำความเข้าใจหนังได้ด้วยตนเอง
และเมื่อเปรียบเทียบ Tokyo Story (1953) ที่มีความเรียบง่าย ตราตรึง เหมารวมถึงบิดา-มารดา (ไม่ใช่แค่แม่อย่างเดียว) นี่ก็ชัดเจนสำหรับผมมากๆว่าเรื่องไหนสมควรค่า ยอดเยี่ยมกว่า และอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลด้วยนะครับ
การติดอันดับหนึ่งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของ Jeanne Dielman (1975) ได้สร้างความสนอกสนใจให้คอหนังรุ่นใหม่ๆ เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน(ติดอันดับ)เสียด้วยซ้ำ จึงพยายามขวนขวายหารับชม ประเมินค่าผลงาน ถกเถียงว่าสมควรได้รับการยกย่องขนาดนี้ไหม เดี๋ยวรอคอยดูทศวรรษหน้า ยังสามารถยึดครองบัลลังก์ราชา นั่นต่างหากคือบทพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ ‘ตลอดกาล’ อย่างแท้จริง
จัดเรต PG ต่อการกระทำอันคาดไม่ถึงของแม่ตอนจบ
S&S ล่าสุดน่าเกลียดจริง บางเรื่องผมว่าควรติด แต่บางเรื่องมึงติดเพราะแค่เป็นหนังผู้หญิงหญิงและคนดำ.แค่ถูกยกย่องหน่อยมึงก็มาพยายามจะให้มันติดแล้ว บางเรื่องก็ใหม่และคุณภาพไม่ถึงอย่าง Get Out ยุคก่อนผมก็เห็นด้วยว่ารสนิยมค่อนข้างไปตะวันตกและผิวขาว แม้กระทั่งหนังศาสนาก็มีแต่ศาสนาคริสต์ที่ติด แต่หนังส่วนใหญ่มันก็ทรงอิทพลและดีจริง แต่มันก็มีข้อเสีย เช่น หนังผู้กำกับหญิงบางเรื่องก็ควรติดสูงกว่านี้เช่น Meshes of the Afternoon ล้ำกว่าหนังอเมริกายุค 40s ประมาณ 99% และ รสนิยมค่อนข้างไปฝั่งตะวันตกเกินเพราะคนโหวตมีแต่อเมริกันหรืออังกฤษที่นำโด่ง ส่วนฝั่งเอเชีย กับ อเมริกาใต้ รวมกันยังเทียบไม่ได้เลย หนังคนดำที่โหวตส่วนใหญ่ก็ในยุโรปหรืออเมริกา บางครั้งหนังที่ควรได้อาจไม่จำเป็นต้องทรงอิทธิพล อาจหมายถึงหนังที่มีเทคนิคลึกล้ำเหนือกาลเวลา ผมดูหนังมาและผมพบว่าหนังเอเชียหลายๆเรื่องสมควรติด top 100 กว่าหนัง อเมริกาบางเรื่องเสียด้วยซ้ำ