The Wind Rises

The Wind Rises (2013) Japanese : Hayao Miyazaki ♥♥♥♡

มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญหน้าสายลม มรสุม ทั้งลูกเล็ก-ใหญ่ บางคนเลือกปล่อยตัวปล่อยใจล่องลอยไป แต่สำหรับผู้กำกับ Hayao Miyazaki ทั้งชีวิตพยายามพุ่งชน ต่อต้าน ย่างก้าวเดินไปข้างหน้า เฉกเช่นเดียวกับ Jirô Horikoshi วิศวกรออกแบบเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi A6M (Zero Fighter) ทั้งรู้ต้องถูกนำไปใช้ในสงคราม เข่นฆ่าคนตายนับไม่ถ้วน ขณะเดียวกันนั่นคือความเพ้อฝันใฝ่ ได้มีโอกาสสรรค์สร้างเครื่องบินโลกจดจำ

“Le vent se lève!… Il faut tenter de vivre!”
“The wind is rising!… We must try to live!”

Paul Valéry (1871-1945) ในหนังสือรวมบทกวี Le Cimetière Marin (1920) แปลว่า The Graveyard By The Sea

งานศิลปะไม่มีถูก-ผิด ดี-ชั่ว ก็เหมือนการออกแบบสรรค์สร้างอาวุธ รถถัง เครื่องบินรบ หรือแม้แต่ระเบิดปรมาณู มันขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ หรือทำลายล้างวอดวายจนกลายเป็นหายนะ

The Wind Rises (2013) เป็นผลงานที่ทั้งอยากสร้าง และไม่อยากสร้างของ Hayao Miyazaki เริ่มต้นด้วยลังเล สองจิตสองใจ แทบทุกวันต้องบ่นพร่ำกับโปรดิวเซอร์/เพื่อนร่วมงาน เพราะเจ้าเครื่องบิน Zero Fighter เป็นทั้งหายนะและความภาคภูมิใจของชาวญี่ปุ่น

“How do you depict a character, admittedly passionate about aviation, but also indirectly responsible for the deaths of tens of thousands of people during World War II?”

Hayao Miyazaki

ช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง Zero Fighter เป็นเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงมากๆ ทั้งขนาดเล็ก คล่องแคล่วว่องไว แถมยังพิสัยไกล สามารถช่วงชิงความเป็นต่อ สร้างปัญหาให้กองทัพพันธมิตรนับครั้งไม่ถ้วน แต่เมื่อสงครามดำเนินไป กองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงกว่า (เพราะมีทั้งทรัพยากร วิศวกร และเทคโนโลยีก้าวล้ำกว่า) เมื่อมิอาจต่อกรศัตรู ชาวญี่ปุ่นเลยครุ่นคิดยุทธวิธี ‘kamikaze attacks’ โจมตีแบบพลีชีพ ขับเครื่องติดระเบิดพุ่งเข้าชนเรือรบ ไม่มีอะไรจะสูญเสียอีกต่อไป

แน่นอนว่าการสร้างภาพยนตร์/อนิเมชั่นเกี่ยวกับ Zero Fighter ย่อมต้องถูกวิพากย์วิจารณ์จากสังคม(โดยเฉพาะพวกคลั่งชาติในญี่ปุ่น) ไม่ว่าในเชิงยกย่องหรือต่อต้าน แต่สำหรับผู้กำกับ Miyazaki เมื่อเขาได้ค้นพบเป้าหมาย ความตั้งใจอันแน่วแน่ นี่คือผลงานกี่งๆอัตชีวประวัติของตนเอง มันเลยไม่มีความจำเป็นต้องนำเสนอภาพสงคราม การต่อสู้รบ หายนะบังเกิดขี้นหลังจากนั้น แค่ Jirô Horikoshi ได้เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน สรรค์สร้างเครื่องบินลำนี้ได้สำเร็จ ก็เหลือเฟือเพียงพอแล้ว

เกร็ด: ในปีเดียวกับที่ The Wind Rises (2013) ออกฉาย เป็นความโคตรบังเอิญที่มีภาพยนตร์อีกเรื่อง The Eternal Zero (2013) เกี่ยวกับปฏิบัติการ Kamikaze ของ Zero Fighter เข้าโรงช่วงปลายปี แถมคว้ารางวัล Japan Academy Film Prize: Best Film เสียด้วยนะ!


Hayao Miyazaki (เกิดปี 1940) ผู้กำกับสร้างอนิเมชั่น สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Bunkyō, Tokyo, มีพี่น้อง 4 คน บิดาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตเครื่องบิน Miyazaki Airplane ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนอายุ 4-5 ขวบต้องอพยพหนีระเบิดจาก Tokyo ไปยัง Utsunomiya, Kanuma โชคดีเอาตัวรอดมาได้, ประมาณปี 1947 แม่ป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบเนื่องมาจากวัณโรค ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลหลายปี, ตั้งแต่เด็กมีความฝันต้องการเป็นนักวาดการ์ตูน รับอิทธิพลจาก Tetsuji Fukushima, Soji Yamakawa และ Osamu Tezuka แต่หลังจากรับชมอนิเมชั่นเรื่อง Panda and the Magic Serpent (1958) เกิดตกหลุมรักนางเอกอย่างรุนแรง เลยเบี่ยงเบนความสนใจไปทางนี้

หลังเรียนจบมหาลัย สมัครงานเป็น In-Between Artist กับ Toei Animation มีส่วนร่วมโปรเจค Doggie March (1963), Wolf Boy Ken (1963) ต่อมากลายเป็น Chief Animator, Concept Artist, Scene Designer ถูกดึงตัวไปสตูดิโอ A-Pro ร่วมกับ Isao Takahata สร้างซีรีย์ Lupin the Third (1971), ฉายเดี่ยว Future Boy Conan (1978), ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรก The Castle of Cagliostro (1979) ซึ่งเป็นการต่อยอดจาก Lupin III, ดิ้นรนด้วยตนเองอยู่พักใหญ่จนมีโอกาสสร้าง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984) ได้รับการยกย่องไม่ใช่แค่อนิเมชั่น แต่คือหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมที่สุดของของประเทศญี่ปุ่น, จากนั้นร่วมกับ Isao Takahata และ Toshio Suzuki ก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli ผลงานเรื่องแรก Laputa: Castle in the Sky (1986)

หลังเสร็จจาก Ponyo (2008) ผู้กำกับ Miyazaki ไม่ได้ประกาศรีไทร์ (คือก่อนหน้านี้ประกาศมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ก็หวนกลับมาทุกที) ช่วงระหว่างมองหาโปรเจคถัดไป สรรค์สร้างอนิเมะขนาดสั้นถีง 3 เรื่อง Mr. Dough and the Egg Princess (2010), Treasure Hunting (2011) และเขียนบท A Sumo Wrestler’s Tail (2010) สำหรับฉาย Ghibli Museum จากนั้นมีส่วนร่วมดัดแปลง/เขียนบท สองอนิเมะขนาดยาว The Secret World of Arrietty (2010) และ From Up on Poppy Hill (2011)

เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ Miyazaki เกิดความอยากจะสร้างภาคต่อ Ponyo (2008) แต่ถูกโปรดิวเซอร์ Toshio Suzuki โน้มน้าวให้ดัดแปลงมังงะเรื่องล่าสุด Kaze Tachinu เพิ่งตีพิมพ์ลงนิตยสารรายเดือน Model Graphix ระหว่างเมษายน 2009 ถีงมกราคม 2020 (หยุดพักตอนหนี่ง ฉบับเดือนตุลาคม) ซี่งเจ้าตัวส่ายหัว ปฏิเสธเสียงขันแข็ง

“For me, drawing this manga is just a hobby. Making a movie about it is simply out of the question. Entertainment must be made for children. We must not make a film that is only intended for an adult audience”.

Hayao Miyazaki

แต่ทั้งโปรดิวเซอร์ Suzuki และทีมงานในสตูดิโอ Ghibli ต่างพยายามพูดคุยโน้มน้าว เผื่อว่าสักวันจะสามารถปรับเปลี่ยนใจ ซี่งเหตุผลจริงๆทำให้ Miyazaki ดัดแปลงมังงะเรื่องนี้ เพราะไปพบเจอคำกล่าวประโยคหนี่งในสมุดบันทึกของ Jirô Horikoshi ต่อการออกแบบสรรค์สร้างเครื่องบินขับไล่ Zero Fighter

“All I wanted to do was to make something beautiful”.

Jirô Horikoshi

สำหรับมังงะ Kaze Tachinu คือส่วนผสมจากสองแรงบันดาลใจ

  • ชีวประวัติของ Jirô Horikoshi (1903–1982) วิศวกรออกแบบเครื่องบินขับไล่ Mitsubishi A6M หรือที่รู้จักในชื่อ Zero Fighter
  • นวนิยาย Kaze Tachinu (1936-37) แต่งโดย Tatsuo Hori (1905-53) เป็นเรื่องราวอัตชีวประวัติของผู้เขียน นำเสนออาการป่วยวัณโรคของภรรยา Setsuko (ภรรยาของ Hori ชื่อจริงคือ Ayako Yano) เพิ่งแต่งงานไม่ทันถีงปี พักรักษาตัวอยู่ยังศูนย์บำบัด (Sanatorium) เมือง Nagato และเสียชีวิตไม่นานต่อจากนั้น, ส่วนชื่อตัวละครในมังงะ/อนิเมะ Naoko Satomi นำมาจากอีกผลงานของ Hori เรื่อง Naoko (1941)

“I read (Tatsuo Hori novels) when I was young, but it didn’t really come to my mind. I found it at an antiquarian bookstore and happened to read it again. After reading it repeatedly, I realized that Utsukushii Mura (Beautiful Village, 1933) and Kaze Tachinu were wonderful”.

Hayao Miyazaki

แม้ว่าเรื่องราวส่วนใหญ่ในมังงะ(และอนิเมะ) จะอ้างอิงจากชีวประวัติของ Jirô Horikoshi เรียนจบวิศวะการบิน Tokyo Imperial University, ทำงานบริษัท Mitsubishi ภายใต้หัวหน้า Kurokawa รวมไปถีงทัศนคติต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) แต่รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิต พื้นหลังครอบครัว และอุปนิสัย ล้วนถูกปรับปรุงแต่งขี้นใหม่ (ให้สะท้อนความเป็น Miyazaki) อาทิ Jirô ไม่มีน้องสาวแต่มีพี่ชาย, ตัวจริงไม่ชอบสูบบุหรี่, ภรรยาร่างกายแข็งแรง มิได้เจ็บป่วยวัณโรค หรือต้องรักษาตัวยังศูนย์บำบัด ฯลฯ

มังงะ Kaze Tachinu

“Why am I making a film about the inventor of the Zero fighter plane? That’s the answer I need to find… One thing is for sure, I don’t want to do the same as before. At my age, this is the moment when I want to do something more technically difficult, which may be less obvious for the public to accept. That’s how old directors are”.

Hayao Miyazaki

สไตล์การทำงานของ Miyazaki จะไม่มีบทหรือ Storyboard พัฒนาจนเสร็จสิ้นล่วงหน้า เรื่องราวจักปรับเปลี่ยนแปลงตามโปรดักชั่นดำเนินไป ซึ่งระหว่างกำลังตระเตรียมงานสร้าง (Pre-Production) บังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเมือง Tōhoku วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2011 นั่นเองทำมีการเพิ่มเติม Sequence แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ Great Kantô Earthquake เมื่อปี ค.ศ. 1923 สะท้อนสิ่งบังเกิดขี้น(ระหว่างโปรดักชั่น)ในโลกความจริง

ช่วงระหว่างโปรดักชั่นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2012 ทีแรกไม่มีใครทราบว่าทำไม Miyazaki ถึงปิดประตูขังตนเองอยู่ในห้องทำงาน ปฏิเสธออกมาจนกระทั่งสองวันหลัง ค่อยรับรู้ว่ามีอาการป่วย ไม่ค่อยสบาย โปรดิวเซอร์ Suzuki แนะนำให้ไปหาหมอ แต่เขากลับปฏิเสธบอกว่าเสียเวลา

“Even if I die, I have to leave all my e-konte (Storyboard). Otherwise, it’s a little shameful”.

นั่นเองคือจุดเริ่มต้นของคำพูดเล่นๆแต่จริงจังว่า ขอแค่ Miyazaki วาดภาพ Storyboard เสร็จสิ้น ต่อให้เสียชีวิตจากไปก็จะมีใครสักคนสานต่องานให้จนเสร็จสรรพ

แซว: คนแรกที่พูดบอกประโยคนี้กับ Miyazaki ก็คือ Hideaki Anno

“If you disappear, at least finish your e-konte and I will finish the film”.

Hideaki Anno

ว่ากันว่าอีกเหตุผลที่ Miyazaki มีความกระตือรือร้น และดื้อรั้นขนาดนั้น เพราะเพื่อนสนิท Isao Takahata ในสภาพอิดๆออดๆ กำลังสรรค์สร้างอีกโปรเจคควบคู่ไปด้วยกัน The Tale of the Princess Kaguya (2013) ไม่อยากยอมแพ้ และไม่ขอตกตายไปก่อนสร้างผลงานเรื่องนี้เสร็จสรรพ!

ปัญหาใหญ่ของอนิเมะที่ Miyazaki ยังครุ่นคิดไม่ตกสักที คือข้อสรุปตอนจบ โดยเฉพาะความรู้สึกของ Jirô เมื่อรับรู้ว่าเครื่องบินที่สรรค์สร้างออกแบบ ถูกนำไปใช้ในการสงคราม เข่นฆ่าผู้คนบาดเจ็บล้มตายนับไม่ถ้วน

“What final should we write? What satisfactory end should the film end with, beyond the completion of this plane? From the beginning, I knew it would not be easy. But this is really difficult”.

Hayao Miyazaki

สุดสัปดาห์หนึ่งช่วงปลายปี 2012, Miyazaki และภรรยา มีโอกาสเยี่ยมชมนิทรรศการภาพถ่ายที่ Tama Zenshôen National Sanatorium สถานที่พักรักษาตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อน (Leprosy) ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1909 สมัยก่อนยังไม่ใครรู้ว่านี่คือโรคไม่ติดต่อ เมื่อพบผู้ป่วยปรากฎอาการ จักต้องถูกแยกตัว ขับไล่ออกจากชุมชนโดยทันที ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตก็สุดแสนย่ำแย่ รันทด อดๆอยากๆ เพราะไม่มีใครใคร่สนใจให้ความช่วยเหลือแม้แต่น้อย

LINK: https://www.japanvisitor.com/japan-museums/hansensdiseasemuseum

ระหว่างเดินทางกลับบ้านทั้งสองไม่มีคำพูดสนทนาใดๆ แต่จิตใจของ Miyazaki เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง

“For the people of that time, war was not a choice. It was like that. In other words, it’s like now. Every era knows upheavals, but even with that, one must live fully. With each upheaval in an era, everyone’s dreams are perverted. The questions do not necessarily find answers. But despite life’s obstacles, you still have to live with strength”.

นั่นเองทำให้ Miyazaki ค้นพบสิ่งที่เขากำลังครุ่นคิดหา มันไม่มีความจำเป็นต้องนำเสนอภาพสงคราม การต่อสู้ หรือเหตุการณ์หลังสำเร็จสร้างเครื่องบิน Zero Fighter หันเหความสนใจมายังเรื่องราวความรักระหว่าง Jirô กับ Naoko นำเสนอคู่ขนานกันไปเพื่อสร้างสัมพันธ์บางอย่างให้เรื่องราว


ในห้วงเวลาที่จักรวรรดิญี่ปุ่น กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของชาติ ตลอดจนแสนยานุภาพทางการทหารให้ทัดเทียมมหาอำนาจตะวันตก เมื่อปี ค.ศ. 1918 เด็กชาย Jirô กำลังเพ้อใฝ่ฝัน โตขึ้นอยากเป็นนักบิน แต่กลับประสบปัญหาสายตาสั้น หลังมีโอกาสอ่านนิตยสารเกี่ยวกับการบินเล่มหนึ่ง รับรู้จักนักออกแบบสร้างเครื่องบินชาวอิตาลีผู้โด่งดัง Count Giovanni Battista Caproni ในความฝันพูดบอกกับตนว่า ถึงแม้ไม่อาจขับเครื่องบิน แต่ก็สามารถกลายเป็นวิศวกร นักออกแบบสรรค์สร้าง มีความเท่ห์กว่าเป็นไหนๆ

ห้าปีต่อมา ชายหนุ่ม Jirô ขณะกำลังโดยสารรถไฟ ไปร่ำเรียนวิศวกรรมการบิน มหาวิทยาลัย Tokyo Imperial University พบเจอเด็กสาว Naoko มาพร้อมกับคนรับใช้ โดยไม่รู้ตัวตกหลุมรักแรกพบ แต่เมื่อกำลังใกล้ถึงกรุง Tokyo บังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้รถไฟหยุดนิ่ง ผู้คนต่างรีบร้อนหลบหนีเอาชีวิตรอดอย่างอลม่าน เขาเข้าไปช่วยเหลือและนำพาเธอไปส่งถึงบ้าน แล้วจากมาอย่างเท่ห์ๆโดยไม่ทิ้งชื่อเสียงเรียงนาม

หลังเรียนจบ Jirô ร่วมกับเพื่อนสนิท Kiro Honjo เข้าทำงานโรงงานอากาศยาน บริษัท Mitsubishi อยู่ในทีมวิศวกรออกแบบเครื่องบิน ภายใต้หัวหน้า Kurokawa กำลังพัฒนาต้นแบบเครื่องบิน Falcon แต่ระหว่างการทดสอบเกิดปัญหาผิดพลาด ตกลงสู่พื้นจนเสียหายย่อยยับ โครงการดังกล่าวจึงถูกระงับ หัวหน้าเลยส่งเด็กหนุ่มทั้งสองไปดูงานบริษัท Junkers ณ สาธารณรัฐไวมาร์ (ชื่อเรียกประเทศเยอรมัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงการเรืองอำนาจของนาซี) ซึ่งสามารถผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่สร้างจากโลหะได้สำเร็จแล้ว

ค.ศ. 1932 หลังเข้าทำงานได้ห้าปี Jirô เลื่อนขั้นขึ้นมารับตำแหน่งหัวหน้าทีมวิศวกร ออกแบบเครื่องบินรบประจำการในกองทัพเรือ โดยต้นแบบลำแรก 1MF10 เป็นที่น่าผิดหวังทำให้ต้องล้มเลิกโครงการ เขาเลยถือโอกาสไปพักผ่อน หาแรงบันดาลใจใหม่ยัง Hotel Kusakaru ที่นั่นบังเอิญพบเจอ Naoko โตเป็นสาวแล้ว (บิดาเป็นเจ้าของรีสอร์ทแห่งนี้) ชื่นชอบการวาดรูป และยังจดจำเขาได้เป็นอย่างดี พวกเขาค่อยๆสานสัมพันธ์ ตกหลุมรัก โดยมี Castorp เพื่อนชาวเยอรมันเป็นสักขีพยาน แต่ถึงอย่างนั้นเธอกลับป่วยวัณโรค ร่างกายอิดๆออดๆ โดยปกติแล้วมิสมควรครองคู่แต่งงาน … ช่างมันประไร! คนรักกันไม่มีสิ่งใดสามารถกีดกั้นขวาง

เมื่อกลับมาที่โรงงาน Jirô เริ่มต้นออกแบบเครื่องบิน A5M อย่างหลบๆซ่อนๆ มีเจ้าหน้าที่หน่วยสืบสวนอาชญากรมาติดตามตัวโดยไม่ทราบเหตุผล ขณะเดียวกันอาการป่วยของ Naoko ค่อยๆทรุดหนักจนต้องไปรักษาตัวยังสถานบำบัด แต่ทั้งคู่ก็ยังเป็นแรงผลักดัน กำลังใจต่อกัน กระทั่งตัดสินใจแต่งงานโดยมีหัวหน้า Kurokawa เป็นผู้ทำพิธีให้ และท้ายสุดเมื่อถึงวันทดสอบการบิน เธอก็จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับคืน


สำหรับนักพากย์บทบาท Jirô ในอุดมคติของ Miyazaki ต้องมีน้ำเสียงใหญ่ๆ เหมือนคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม มีความรู้ ทรงภูมิ เปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นใจในตนเอง

“Jiro doesn’t speak much because he’s brilliant. When you’re like him, you don’t talk unnecessarily. He is therefore economical in words, but it is not because he is introverted. He’s a complex person”.

Hayao Miyazaki

ในวงการนักพากย์ ไม่มีน้ำเสียงใครให้ความรู้สีกนั้นแก่ Miyazaki โปรดิวเซอร์ Suzuki เลยพูดในทำนองว่า ไม่ลอง Hideaki Anno ดูบ้างละ

“Maybe we can turn to someone who doesn’t come from the dubbing world? Like (Hideaki) Anno, for example. It would be interesting to do a test with him”.

Toshio Suzuki

แม้ปฏิกิริยาแรกของ Miyazaki จะไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ แต่ไปๆมาๆก็เริ่มครุ่นคิดจริงจัง สองวันให้หลังเรียกตัว Anno ให้มาทดสอบเสียง เกิดความเชื่อมั่นโดยทันที

“It’s good. That’s it. There aren’t many people who have that kind of voice. Accept, I beg of you”.

Hayao Miyazaki

ปฏิกิริยาของ Anno คือจนปัญญา ตนเองไม่ใช่นักพากย์ ไร้ประสบการณ์ด้านนี้ แต่เมื่อได้รับการชักชวนจากหัวหน้าเก่า/ไอดอลประจำใจ มีหรือจะกล้าบอกปัดปฏิเสธ

“He gave me a big smile like I hadn’t seen in a long time, and he told me he wanted me to do Jiro. I knew I had no more choice!”

Hideaki Anno

Hideaki Anno (เกิดปี 1960) ผู้กำกับ อนิเมเตอร์สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ube, Yamaguchi วัยเด็กเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อนสักเท่าไหร่ แต่ลุ่มหลงใหลในมังงะ อนิเมะ ซีรีย์ฉายโทรทัศน์ เรียกได้ว่าเป็น Otaku, เติบโตขึ้นได้เข้าเรียนต่อ Osaka University of Arts ระหว่างนั้นรับงานอนิเมเตอร์ The Super Dimension Fortress Macross (1982–83) แต่นั่นทำให้ชีวิตยุ่งมากจนถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย, แพ็กกระเป๋ามุ่งสู่ Tokyo สมัครเข้าทำงาน Studio Ghibli ผลงานประทับใจ Hayao Miyazaki กลายเป็นผู้วาด God Warrior เรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), ต่อมาร่วมก่อตั้งสตูดิโอ Gainax ทำงานเป็น Animation Director เรื่อง Royal Space Force: The Wings of Honneamise (1987), ก้าวสู่ตำแหน่งผู้กำกับ Gunbuster (1988), Nadia: The Secret of Blue Water (1990–1991), กลายเป็นตำนานแฟนไชร์ Neon Genesis Evangelion

ให้เสียง Jirô Horikoshi เกิดในครอบครัวมีฐานะ ตั้งแต่เด็กชื่นชอบการเพ้อฝัน(กลางวัน) โตขึ้นอยากเป็นนักบินแต่ประสบปัญหาสายตา เลยเปลี่ยนมาสู่เส้นทางวิศวกรออกแบบ โดยมี Count Caproni คือแรงบันดาลใจ ทุ่มเทมุ่งมั่น ไม่สนสิ่งอื่นใดระหว่างการเดินทาง นั่นรวมไปถึงเรื่องของความรัก ตั้งแต่แรกพบเจอ Naoko ก็ยังคงจดจำมิรู้ลืม

อุปนิสัยของ Jirô เป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ตรงไปตรงมา พูดน้อยแต่เรื่องมีสาระ มากด้วยอารมณ์ขันเฉพาะตัว (ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจ) ชื่นชอบทำอะไรแปลกๆ รับประทานอาหารซ้ำๆ ทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อไล่ล่าติดตามความฝัน แม้ต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง ก็ไม่เคยย่นย่อท้อแท้อุปสรรคขวากหนาม

เกร็ด: ฉบับภาษาอังกฤษ ให้เสียงโดย Joseph Gordon-Levitt

Anno ไม่ได้ทำการปรุงแต่ง บีบดัด แต่ใช้น้ำเสียงตนเองล้วนๆ แทบไม่การปรับเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งนั่นเป็นสิ่ง Miyazaki ต้องการมากที่สุดแล้ว ผลลัพท์ออกมาเป็นธรรมชาติ ตัวละครดูเฉลียวฉลาด ทรงภูมิ กิริยามารยาทผู้ดีมีการศึกษา ทั่งยังมาดเท่ห์ ทรงเสน่ห์ (หนุ่มใหญ่) ชวนให้สาวๆหลงใหล

ตัวละคร Jirô ถือว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Anno ในฐานะผู้กำกับ/วิศวกร พวกเขาต่างต้องทำงานหนัก ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค สรรค์สร้างความฝันให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง อนิเมะ/เครื่องบิน ไม่ได้มีความแตกต่างกัน(ในเชิงนามธรรม)

“For the recording sessions, I kept my natural voice. Miya-san was happy with it, and it made me feel that my approach to the character was the right one. Creating animation and films, or creating airplanes may give a different result for the finished product, but I am convinced that these two professions to which we are fully dedicated, Jirô like myself, is to give shape to dreams, to make them come true. I felt very close to Jirô, to what he experiences on a daily basis in that aspect”.

ไม่ใช่เรื่องยากจะทำความเข้าใจว่า ตัวละครนี้คือตัวแทนผู้กำกับ Hayao Miyazaki ตั้งแต่รูปลักษณ์สมัยตนเองยังหนุ่มๆ สวมแว่นตาหนาเตอะ เดินหลังตรง ทุกย่างก้าวเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น สวมใส่สูทแทบจะชุดเดิมตลอดเวลา เมื่อใดแรงลมมาปะทะ พยายามผลักดันตนเองให้ก้าวเดินไปข้างหน้า

ขณะที่อุปนิสัยใจคอ ความเท่ห์ของตัวละคร นั่นคืออุดมคติที่ Miyazaki ครุ่นคิดว่าตนเองเป็น/อยากเป็น (ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้นจริง) ผมมีความประทับใจฉากเล็กๆอย่าง ตอนยังเด็กเข้าไปหักห้ามอันธพาล ลุกที่ให้ผู้หญิงบนรถไฟนั่ง หรือตอนแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ช่วยเหลือสาวใช้ของ Naoko แล้วไม่บอกชื่อเสียงเรียงนาม ใครเคยรับชมผลงานของปู่แกมาหลายเรื่อง นั่นคือเหตุการณ์พบเห็นบ่อยมากๆ

แต่มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจรู้สึกกระด้างใจ คำสารภาพชื่นชอบ Naoko ตั้งแต่แรกพบ ไม่ใช่ว่าขณะนั้นเธอยังเป็นเด็กอยู่หรอกรึ? (เราอาจมองว่าขณะนั้น Jirô ก็ยังไม่อายุมากเท่าไหร่ ความสัมพันธ์ก็ยังมิได้เริ่มต้นขึ้น) นี่สะท้อนรสนิยม ‘รักเด็กหญิง’ ไม่เชิงว่าเป็น Pedophilia ใครเคยรับชมสารคดี The Kingdom of Dreams and Madness (2013) จะรับรู้ว่าในชีวิตจริง Miyazaki ต้องมีสาวคนโปรดในทุกๆโปรดักชั่น ปฏิบัติต่อเธอดีเกินกว่าใครคนอื่นๆ แต่เขาก็พยายามรักษาระยะห่าง ไม่เคยเกินเลยเถิดไปมากกว่านั้น … ในสตูดิโอเค้ามองว่าเป็นเรื่องน่ารักๆของ Miyazaki แต่มุมคนนอกและค่านิยมสังคมสมัยใหม่ นั่นอาจเป็นพฤติกรรมไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่

Miori Takimoto (เกิดปี 1991) นักแสดง นักร้อง สัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tottori เข้าสู่วงการจากเป็นสมาชิกวง SweetS ออกอัลบัมแรกเมื่อปี 2003 ระหว่างนั้นทำงานเป็นโมเดลิ่ง ถ่ายโฆษณา จนกระทั่งสามปีให้หลังวงแตก เลยหันมาสนใจด้านการแสดง เริ่มจากเล่น Music Video สมทบซีรีย์ ภาพยนตร์ โด่งดังจากซีรีย์ Ikemen desu ne (2009)

ให้เสียง Naoko Satomi จากเด็กหญิงใสซื่อบริสุทธิ์ เมื่อได้พบเจอวีรบุรุษเหตุการณ์แผ่นดินไหว บังเกิดความชื่นชอบ ตกหลุมรักใคร่ โหยหาต้องการพบเจออีกสักครั้ง แต่เพราะร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยอิดๆออดๆ ป่วยวัณโรคสมัยนั้นยังรักษาไม่หาย ถีงแม้ครอบครัวฐานะร่ำรวยก็มิอาจช่วยเหลืออะไรได้

โชคชะตานำพาให้เธอมีโอกาสพบเจอ Jirô เมื่อขณะพักอาศัยอยู่ยัง Hotel Kusakaru (ของบิดา) หลังจากเรียนรู้จัก สานสัมพันธ์ ยิ่งบังเกิดความรักใคร่สนิทสนม ต้องการแต่งงานครองคู่ พร้อมเป็นช้างเท้าหลังส่งเสริมสนับสนุน ให้เขาสามารถออกแบบสรรค์สร้างเครื่องบินสำเร็จสมหวังดั่งใจ โดยไม่สนว่าร่างกายตนเองจักเป็นเช่นไร

เกร็ด: ฉบับภาษาอังกฤษ ให้เสียงโดย Emily Blunt

รูปลักษณ์ภายนอกตัวละครนี้ คงเป็นที่มักคุ้นของแฟนๆอนิเมะสตูดิโอ Ghibli แต่สังเกตดีๆจักพบความแตกต่างเล็กๆน้อยๆ นั่นเพราะเรื่องอื่นๆนางเอกจะต้องเป็นคนเข้มแข็งแกร่งทั้งภายนอก-ใน ร่างกาย-จิตใจ แต่เรื่องนี้ Naoko กลับล้มป่วยวัณโรค มีความเปราะบาง แทบจะปลิดปลิวไปตามสายลม ถึงอย่างนั้นเรากลับแทบไม่เคยพบเห็นสภาพอ่อนแอของเธอเลย พยายามทำตัวปกติ/เข้มแข็งต่อหน้า Jirô และภายในจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยพละพลัง ไม่มีอะไรสั่นคลอนความเชื่อมั่น ถึงตัวตายขอให้เขาสามารถเติมเต็มความเพ้อฝัน

น้ำเสียงของ Takimoto มีความนุ่มนวล อ่อนแออยู่นิดๆ แต่เมื่อไหร่พูดอย่างจริงจัง จักเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นเกินร้อย ไม่มีอะไรสามารถมาสั่นคลอน เปลี่ยนแปลงความตั้งใจของเธอได้ … นี่เช่นกันแตกต่างจากนางเอกคนอื่นๆ ที่แทบไม่มีความอ่อนแอเจือปนในน้ำเสียง นั่นทำให้ Naoko เป็นตัวละครมีมิติ จับต้องได้ แลดูเป็นมนุษย์ธรรมดาๆทั่วไปมากกว่าใครอื่น

แซว: เอาจริงๆผมขัดใจกับทรงผมตอนโตมากๆ มันดูบวบๆบวมๆ ทำให้ตัวละครดูจืดชืด ไร้ชีวิตชีวา (แต่เราอาจมองว่า นั่นสะท้อนอาการป่วยของเธอ ทรงผมทำให้ดูอ่อนแอ เปราะบาง ขาดความกระชับกระเองในการดำรงชีวิต)

Hidetoshi Nishijima (เกิดปี 1971) นักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Tokyo เข้าสู่วงการจากแสดงซีรีย์ Hagure Keiji Junjōha (1992), เริ่มได้รับการจดจำ Asunaro Hakusho (1993) ประกบคู่กับ Takuya Kimura, ส่วนภาพยนตร์เด่นๆ อาทิ License to Live (1998), Dolls (2002), Cut (2011) ฯ

ให้เสียง Kiro Honjo เพื่อนสนิท/คู่แข่ง/กระบอกเสียงของ Jirô เรียนจบจากที่เดียวกัน เข้าทำงานบริษัทเดียวกัน เติบโตและยังได้เป็นหัวหน้าวิศวกรออกแบบพร้อมๆกันอีก แต่พฤติกรรมแสดงออกกลับแตกต่างตรงกันข้าม เป็นคนพูดมาก เรื่อยเปื่อย แสดงออกอย่างเคร่งเครียด จริงจัง สูบบุหรี่หนัก (กว่า Jirô) และดูเหมือนพวก nihilist เป็นคนไม่เชื่ออะไรสักอย่างนอกจากพบเห็นด้วยตาตนเอง

เกร็ด: ฉบับภาษาอังกฤษ ให้เสียงโดย John Krasinski (สามีของ Emily Blunt)

นี่เป็นตัวละครที่มีความจำเป็นมากๆของอนิเมะ เพราะการที่ Jirô เป็นนักฝัน (Dreamer) ทำให้ดูล่องลอย ห่างไกล จับต้องไม่ได้ Kiro Honjo คือบุคคลผู้ฉุดเขาลงมาสู่ภาคพื้นดิน กระบอกเสียงพูดแทนทุกความรู้สีกนีกคิด แตกต่างตรงกันข้าม แต่เติมเต็มกันและกันได้อย่างสมบูรณ์

ดูเหมือนว่า Nishijima ทำงานหนักกว่าใครในการพากย์เสียงตัวละครนี้ เฉพาะบทของเขาน่าจะมากกว่าประโยคพูดของคนอื่นๆรวมกันเสียอีก หลายครั้งเต็มไปด้วยความเร่งรีบ ร้อนรน ทั้งภาพและเสียงทำให้ผู้ชมเข้าใจสภาพความเป็นจริงของยุคสมัยนั้น (เพราะความที่ Jirô มีโลกส่วนตัวสูงมากๆ เลยไม่สามารถอ้างอิง/เทียบเหตุการณ์พื้นหลังที่กำลังดำเนินไปอยู่ขณะนั้นได้) ฉากเด่นชัดคือตอนไปดูงานสาธารณรัฐไวมาร์ (ประเทศเยอรมัน) ขณะที่ Jirô เคลิบเคลิ้มดื่มด่ำไปกับเครื่องบินแห่งความฝัน Kiro Honjo เครียดแทบบ้าคลั่ง ทำอย่างไรให้เครื่องบินญี่ปุ่น สามารถทัดเทียมเท่านานาอารยะ

เกร็ด: Kiro Honjo (1901-90) เป็นบุคคลมีตัวตนจริงๆในประวัติศาสตร์ เรียนจบจาก University of Tokyo ทำงานบริษัท Mitsubishi เป็นหัวหน้าวิศวกรออกแบบเครื่องบิน G3M และ G4M สำหรับทิ้งระเบิด (Bomber) หลังสงครามโลก เปลี่ยนมาออกแบบเครื่องบินพาณิชย์ จักรยาน และเครื่องร่อน

Steve M. Alpert (เกิดปี 1950) ชาวอเมริกัน เกิดที่ Connecticut ด้วยความชื่อชอบภาพยนตร์ของ Akira Kurosawa และ Yasujiro Ozu หลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น หลังเรียนจบจาก Columbia University มุ่งสู่กรุง Tokyo ทำงานบริษัท Citibank Japan ตามด้วย CFO บริษัท Walt Disney Company Japan, ช่วงปี 1996 ย้ายมาสังกัด Tokuma International นั่นเองทำให้เขาเป็นผู้ดูแลธุรกิจต่างประเทศของสตูดิโอ Ghibli สนิทสนมกับ Toshio Suzuki และ Hayao Miyazaki ติดตามไปเป็นล่ามแปลภาษาทุกครั้งออกเดินทางต่างประเทศ

ด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ ทำให้ Alpert จำใจต้องจากลาสตูดิโอ Ghibli เมื่อปี 2011 แต่ความสนิทสนมชิดเชื้อ ผู้กำกับ Miyazaki เลยตัดสินใจสร้างตัวละคร Castorp และลากพาตัวกลับมาให้เสียงพากย์อีกต่างหาก!

ชายแปลกหน้าชาวเยอรมัน จู่ๆก็เข้ามาพูดคุยทักทาย Jirô ระหว่างพักอาศัยอยู่ยัง Hotel Kusakaru เล่าถึงสถานการณ์ที่เยอรมัน นาซีกำลังเรืองอำนาจ Junker กำลังประสบปัญหา ขณะเดียวกันเขามีโอกาสพบเห็นความสัมพันธ์โรแมนติกระหว่าง Jirô กับ Naoko ทำให้จิตใจชุ่มชื่น เป็นสุข อำนวยอวยพรให้ทั้งสองครองคู่รัก ก่อนหายตัวไปอย่างลีกลับชั่วนิรันดร์

เกร็ด: Alpert สามารถพูดคล่องแคล่ว 3 ภาษา อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น แต่แปลกที่อนิเมะฉบับเสียงภาษาอังกฤษ กลับเลือกใช้บริการ Werner Herzog ผู้กำกับชาวเยอรมัน เสียอย่างนั้น!

เกร็ด2: ตัวละครนี้ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยาย Der Zauberberg (1924) แปลว่า The Magic Mountain แต่งโดย Thomas Mann (1875-1955) นักเขียนชาวเยอรมัน เจ้าของผลงานชื่อดัง Death in Venice (1912), สำหรับ The Magic Mountain พระเอกชื่อ Hans Castorp ครั้งหนี่งออกเดินทางไปเยี่ยมญาติป่วยวัณโรคที่ศูนย์บำบัดเมือง Davos, ติดเทือกเขา Swiss Alps ประเทศ Switzerland แต่ระหว่างพักอาศัยที่นั่น เขาป่วยเป็นอะไรสักอย่าง (เหมือนจะไม่ใช่วัณโรค) ทำให้ต้องพักรักษาตัวอยู่นานถีง 7 ปี กลับลงมาพอดิบดีเกิดสงครามโลกครั้งที่หนี่ง

นี่ถือเป็นตัวละครสร้างสีสัน รอยยิ้ม ความทรงจำให้อนิเมะ ขณะเดียวกันผมมองความสัมพันธ์คู่ขนานกับ Count Caproni คอยชี้นำอุดมการณ์ในความฝัน(ของ Jirô) ขณะที่ Castrop พบเจอตัวจริง พูดคุยให้คำแนะนำเกี่ยวกับชีวิต ความรัก ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคปัญหา

เกร็ด3: Alpert ได้เขียนหนังสือ/Memoirs ฉบับภาษาญี่ปุ่น I’m Gaijin. –The Man Who Sold Ghibli To The World (2015) แปลเป็นอังกฤษ Sharing a House with the Never-Ending Man: 15 Years at Studio Ghibli (2020) เล่าประสบการณ์ ความทรงจำไม่รู้ลืม เมื่อครั้นทำงานอยู่สตูดิโอ Ghibli

Mansai Nomura หรือ Takeshi Nomura (เกิดปี 1966) นักแสดงภาพยนตร์/ละครเวที Kyogen เข้าสู่วงการแสดงตั้งอายุ 3 ขวบ รับบทเด็กชายตาบอดเป่าฟลุตเรื่อง Ran (1985), ประสบความสำเร็จมากมายกับ Onmyoji (2001), The Floating Castle (2012), แสดงเป็น Godzilla (Motion Capture) เรื่อง Shin Godzilla (2016)

ให้เสียง Count Giovanni Battista Caproni วิศวกรออกแบบเครื่องบิน สัญชาติอิตาเลี่ยน พบเห็นครั้งแรกบนนิตยสาร Aviation ที่ Jirô ยืมมาจากที่โรงเรียน หลังจากนั้นก็ปรากฎตัวอยู่ในความฝัน ราวกับ ‘spirit guide’ คอยให้คำแนะนำ พูดคุยปรึกษา ตั้งคำถามในเชิงปรัชญา และมักพาขี้นเครื่องบินที่ออกแบบ เดินบนปีกที่ในชีวิตไม่สามารถทำได้ และตอนจบชักชวนมาที่บ้าน จิบไวน์สักแก้ว ก่อนทุกสิ่งอย่างสิ้นสุดลง

น้ำเสียงของ Nomura มีความหนักแน่น แน่วแน่ มั่นคง เหมือนบุคคลผู้พานผ่านอะไรๆมามาก สามารถให้คำชี้แนะนำ ตั้งคำถาม คอยช่วยส่งเสริม ผลักดัน เป็นกำลังใจ และทุกครั้งต้องขี้นด้วยประโยค nippon shonen (Japanese boy) ฟังดูเย่อหยิ่งทะนง แต่ก็เป็นการย้ำเตือนสติ จนกว่าเราสามารถเติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน ก็ไม่ต่างอะไรกับเด็กน้อยคนหนี่งเท่านั้น

โปรดักชั่นของอนิเมะเริ่มต้นเดือนกรกฎาคม 2011 ทีมงานกว่า 200 คน ส่วนใหญ่ยังคงวาดด้วยมือ (Tradition Animation) จำนวน 160,000 ภาพ ประกอบ CGI อีกเล็กๆน้อยๆ รวมระยะเวลาทำงานเกือบๆ 2 ปี (เฉพาะในส่วนทำอนิเมชั่น 1 ปี 3 เดือน)

ความถนัดของ Miyazaki คือการสรรค์สร้าง ‘ภาพ’ บรรเจิดด้วยความคิดสร้างสรรค์ แต่เนื้อเรื่องราวของ The Wind Rises อ้างอิงเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ มันเลยไม่ค่อยมีฉากที่จุดขายดังกล่าวนัก วิธีแก้ปัญหาหนี่งก็คือแทรก Sequence ในความฝัน (สะท้อนกับการเป็นนักฝัน/Dreamer ของทั้ง Jirô และ Miyazaki) เต็มไปด้วยการแสดงออกที่เหนือธรรมชาติ ไม่สามารถกระทำได้บนโลกความจริง (อาทิ เดินบนปีกเครื่องบิน) และทุกครั้งมาพร้อมกับ Count Giovanni Battista Caproni ผู้เปรียบเสมือน ‘spirit guide’ ให้คำแนะนำทางจิตวิญญาณในช่วงเวลาคับขัน/จุดเปลี่ยนชีวิต

แซว: แต่เครื่องบินทุกลำของ Count Caproni ได้รับการออกแบบสร้างขี้นจริงๆนะครับ

แม้แต่ลำนี้ที่หลายคนอาจรู้สึกว่า ไม่น่ามีจริง แต่ Caproni ก็สร้างมันขึ้นมาจริงๆนะครับ ตั้งชื่อว่า Caproni Ca.60 วางแผนบรรทุกผู้โดยสาร 100 คน เครื่องยนต์ 8 ตัว x 400 แรงม้า พร้อมสามชุดปีก รับน้ำหนักสูงสุด 26 ตัน (เฉพาะเครื่องบิน 14 ตัน) ควรสามารถทำความเร็วสูงสุด 130 km/h ระยะทาง 610 กิโลเมตร, แต่การทดสอบบินเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1921 แค่เพียงลอยเหนือน้ำไม่กี่วินาทีก็พังทลายแทบไม่เหลือชิ้นดี เศษซากหลงเหลือได้รับการจัดแสดงยัง Gianni Caproni Museum of Aeronautics.

“one of the most extraordinary aircraft ever built.”

ใครสักคนหนึ่งกล่าวถึง Caproni Ca.60

ความฝันแรงของอนิเมะ เมื่อครั้ง Jirô ยังเป็นเด็กชาย ถ้าคุณสังเกตดีๆระหว่างการเดินทาง จะพบรายละเอียดเชิงสัญลักษณ์ถึงหลายๆผลงานก่อนหน้า อาทิ

  • พระอาทิตย์สาดส่องแสง ขับไล่ความมืดมิด Laputa (1986)
  • บินลอดใต้สะพาน Porco Rosso (1992)
  • โบกมือทักทายคนทำงานโรงอาบน้ำ Spirited Away (2001)
  • ตัวประหลาดๆสีดำ (ทิ้งระเบิด) โผล่จากฟากฟ้า Howl’s Moving Castle (2004)

ควบคุมงานศิลป์ (Art Director) โดย Yôji Takeshige (เกิดปี 1964, ที่ Philadelphia) หลังเรียนจบจาก Tama Art University ได้รับโอกาสทำงานสตูดิโอ Ghibli เริ่มจากวาดภาพพื้นหลัง (Background Art) แล้วไต่เต้าขึ้นมาเป็น Art Director

ลงสีโดย Michiyo Yasuda (1939 – 2016) นักออกแบบ Color Designer รุ่นพี่ เพื่อนสนิท รู้จักกับ Miyazaki และ Takahata มาตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ Toei Animation ก่อนติดตามมายังสตูดิโอ Ghibli ร่วมงานกันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก หลังเสร็จจาก Ponyo (2008) ก็ว่าจะเกษียณกลับไปพักผ่อนที่บ้าน แต่ก็หวนกลับมาทิ้งทาย The Wind Rises (2013)

คนที่เคยรับชมผลงานอื่นๆของ Miyazaki ย่อมบังเกิดความมักคุ้นเคยในรายละเอียด ลายเส้นและสีสัน มีความสดใส มอบสัมผัสผ่อนคลาย เน้นความกลมกลืนมากกว่าโดดเด่นฉูดฉาด ซึ่งสำหรับ The Wind Rises เพิ่มเติมคือความละมุ่นไม เพราะเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะก้อนเมฆมีมิติ(ทั้งการวาดและลงสี)ที่หลากหลาย สวยงาม สมจริง แทบจะจับต้องได้

ปล. ก้อนเมฆทุกก้อนในอนิเมะ ล้วนสะท้องห้วงอารมณ์/ความรู้สึกของตัวละครในฉากๆนั้นออกมาด้วยนะครับ

Hotel Kusakaru คือสถานที่ที่มีอยู่จริง ตั้งอยู่เมือง Karuizawa, จังหวัด Nagano ซึ่งผู้กำกับ Miyazaki เคยไปอาศัยพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว คิดเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับผู้ป่วย/ร่างกายอ่อนแอ และบริเวณใกล้ๆกันยังมี Forest of Karuizawa สถานที่หวนกลับมาพบเจอระหว่าง Jirô และ Naoko

“I was spending time in Oiwake (Karuizawa, Nagano Prefecture). I think spending that cold winter in Oiwake was more than just for the body (of those who got sick)”.

Hayao Miyazaki

เกร็ด: ที่ Karuizawa ยังมีอนุสาวรีย์/Memorial ของ Tatsuo Hori อยู่ใกล้ๆแถวนั้น

ยุคสมัยนั้น วัณโรคยังไม่ยารักษาหาย หนึ่งในวิธีการที่คนพอมีเงินนิยมกัน คือ Open-Air Therapy ให้ผู้ป่วยพักอาศัยอยู่กับธรรมชาติ ใกล้ขุนเขา อากาศเย็นสบาย หนึ่งในสถานที่เลื่องชื่อของญี่ปุ่นก็คือ Fujimi Kogen Sanatorium ตั้งอยู่เมือง Karuizawa, จังหวัด Nagano เทือกเขาในภาพไม่รู้เหมือนกันว่าคือ Gonge, Aka หรือ Tengu (ไม่ใช่เทือกเขา Fuji นะครับ ลูกนั้นต้องตระหง่านไม่มีเทือกอื่นอยู่ใกล้ๆ)

กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) และออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย Kitarō Kōsaka (เกิดปี 1962, ที่ Kanagawa) ด้วยความชื่นชอบ Future Boy Conan หลังเรียนจบมัธยม ตัดสินใจเริ่มต้นทำงานสายอนิเมะทันที เริ่มจาก Oh! Production เป็น sub-contractor ให้กับ Hayao Miyazaki และ Isao Takahata ซึ่งเมื่อทั้งสองก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli จึงลากพาตัวมาร่วมงาน

ความท้าทายที่ Miyazaki สื่อสารกับลูกทีมตั้งแต่เริ่มต้นโปรดักชั่น คือรายละเอียดของฝูงชน แม้บุคคลนั้นปรากฎเพียงเสี้ยววินาที ควรต้องทำให้มีชีวิต/ตัวตน ไม่ใช่แค่วาดส่งๆใครก็ได้

“The characters who make up the crowd around the main characters are not just anyone. These are characters who have their own existence within the film. You should not animate them just any way, but really bring them to life.”

Hayao Miyazaki

ขณะที่ไฮไลท์ในส่วนอนิเมชั่น อาจไม่เหนือจินตนาการเท่าสึนามิของ Ponyo (2008) แต่ต้องถือว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่นี้ สร้างความตื่นตาตื่นใจ ครุ่นคิดสร้างสรรค์ออกมาได้ยังไง งดงามระดับวิจิตรศิลป์ … เอาจริงๆอนิเมชั่นของ Sequence นี้ มีแนวคิดต่อยอดมาจากสึนามิของ Ponyo (2008) ใช้การแบ่งเลเยอร์ออกเป็นชั้นๆ แล้วลำดับการเคลื่อนไหวแบบลูกระนาด จากหลังมาหน้า ก็แค่นั้นเองแหละ

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ Great Kantō Earthquake ค.ศ. 1923 ถือเป็นหมุดหมายการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของญี่ปุ่น เพราะเหตุการณ์ไฟไหม้ติดตามมา ทำให้หนังสือ เอกสารราชการ (รวมทั้งฟีล์มภาพยนตร์) ประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ก่อนหน้า มอดไหม้สูญสลายแทบหมดสิ้น และความย่อยยับเยินของกรุง Tokyo ทำให้ทุกสิ่งอย่างต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ทั้งหมด

แม้การทดสอบเครื่องบิน Mitsubishi A5M จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่วินาทีดังกล่าว Jirô กลับหันไปมองทางอื่น (ดังภาพ) ราวกับว่าสิ่งที่เขาสนใจจริงๆได้แปรเปลี่ยนไป แล้วเขามองหาอะไร? วินาทีก่อนหน้านี้ Jirô สัมผัสถึงสายลมพัดแรง ราวกับตระหนักได้ว่า Naoko พลัดพรากจากไปแล้วชั่วนิรันดร์ นั่นทำให้แทนที่จะยินดีปรีดา (กับความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินต้นแบบ) กลับรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว ทุกข์ทรมานภายใน อารมณ์ขัดแย้งดังกล่าวคือคำตอบที่ Miyazaki ครุ่นคิดมานานว่าจะนำเสนอตอนจบเช่นไร

“What final should we write? What satisfactory end should the film end with, beyond the completion of this plane?”

Hayao Miyazaki

สิ่งหลงเหลือในความฝันของ Jirô คือซากปรักพักพังของเครื่องบิน กระจัดกระจายอยู่เต็มท้องทุ่งเขียวขจี สะท้อนสิ่งบังเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และชักชวนให้ผู้ชบครุ่นคิด ตั้งคำถาม ทั้งหมดที่ตัวละครสรรค์สร้างมาก ก็เพื่อ Kingdom of Dreams แห่งนี้นะหรือ? มันคุ้มค่าอย่างไรกัน?

ในตอนแรก Miyazaki เขียนบทพูดสุดท้าย(ในความฝัน)ของ Naoko ว่า Kite แปลว่า Come along เพื่อสะท้อนว่าเขาได้ทำตามความฝันสำเร็จแล้ว ต่อจากนี้ไม่มีอะไรต้องพิสูจน์อีกต่อไป ถึงเวลาพักผ่อน อาศัยอยู่อย่างสงบสุข (และตายจากไป) แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น Ikite แปลว่า Live On เพื่อส่งมอบพลัง กำลังใจ ให้เขาที่ยังมีชีวิต ไม่หมดสิ้นหวังกับสิ่งบังเกิดขึ้น

ตัดต่อโดย Takeshi Seyama (เกิดปี 1944, ที่ Tokyo) ขาประจำของ Miyazaki ร่วมงานกันตั้งแต่สมัยทำซีรีย์อยู่ Toei Animation นอกจากนี้ยังเคยร่วมงาน Katsuhiro Otomo และ Satoshi Kon ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Akira (1988), Whisper of the Heart (1995), Tokyo Godfather (2003), Steamboy (2004), Paprika (2006) ฯลฯ

ดำเนินเรื่องผ่านการเดินทางชีวิต และความฝันของ Jirô Horikoshi เริ่มต้นตั้งแต่ยังเด็กอยากเป็นนักบิน แต่ตระหนักความข้อบกพร่องทางร่างกาย เลยค้นพบเป้าหมายใหม่วิศวกรสร้างเครื่องบิน ค่อยๆเรียนรู้ เติบโต สะสมประสบการณ์ เมื่อได้รับโอกาสทำตามความฝัน ครั้งแรกพบความล้มเหลว เลือกถอยหลังแค่ก้าวหนี่งเพื่อพุ่งทะยานสู่ความสำเร็จ

Sewuence ความฝันส่วนใหญ่มักปรากฎ Count Giovanni Battista Caproni อยู่ร่วมกับ Jirô ด้วยเสมอๆ ยกเว้นจินตนาการภาพเครื่องทดสอบ ซึ่งภาพปรากฎมักซ้อนทับกับโลกความจริง ราวกับคำนวณสมการ/ความเป็นไปได้ในหัวสมอง ว่าลำนั้นจักสามารถทะยานขึ้นจากพื้นได้หรือเปล่า

ผมแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4+1 องก์

  • ช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ตระหนักถีงความฝัน ค้นพบเป้าหมาย ร่างกายเติบโต จนกระทั่งสำเร็จการศีกษา
  • สะสมประสบการณ์ เข้าทำงานบริษัท Mitsubishi ได้รับโอกาสศีกษาดูงานสาธารณรัฐไวมาร์ และกลับมาพัฒนาโปรเจคของตนเอง
  • เรียนรู้จากข้อผิดพลาด ความล้มเหลวจากการทดสอบ ทำให้ Jirô ต้องก้าวถอยหลัง ใช้เวลาพักผ่อนเพื่อค้นหาตนเอง และพบเจอหญิงคนรัก
  • ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อม ทั้งการออกแบบสรรค์สร้าง Zero Fight, ความรักกับ Naoko และการแต่งงาน
  • ปัจฉิมบท สิ่งหลงเหลือในความฝันและการร่ำลา

การเริ่มต้นและสิ้นสุดด้วยฉากในความฝัน สะท้อนสิ่งที่เป็นแรงผลักดันในการดำรงชีวิต/สรรค์สร้างผลงานอนิเมะของผู้กำกับ Miyazaki เขาต้องการแค่เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน อะไรอย่างอื่นมากน้อยกว่านั้น คือสิทธิ์ผู้ชมในการครุ่นคิดตีความ


เพลงประกอบโดย Joe Hisaishi ชื่อจริง Mamoru Fujisawa (เกิดปี 1950) นักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่น เกิดที่ Nakano, Nagano ค้นพบความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก อายุ 4 ขวบ เริ่มเรียนไวโอลินยัง Violin School Suzuki Shinichi, โตขี้นเลือกสาขาแต่งเพลง (Music Compostion) ที่ Kunitachi College of Music, สไตล์ถนัดคือ Minimalist, Experimental Electronic, European Classical และ Japanese Classical มีผลงานอนิเมะเรื่องแรกๆ First Human Giatrus (1974-76), ก่อนเป็นที่รู้จักในวงกว้างจาก Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), และโด่งดังระดับโลกเมื่อทำเพลงประกอบ 1998 Winter Paralympics

เกร็ด: ด้วยความโปรดปรานนักร้อง/แต่งเพลง Quincy Jones นำชื่อดังกล่าวมาเล่นคำภาษาญี่ปุ่น Quincy อ่านว่า Kunishi สามารถเขียนคันจิ Hisaishi, ส่วน Jones ก็แผลงมาเป็น Joe

สำหรับ The Wind Rises เพราะถูกตีความว่าคือผลงานสุดท้ายของ Miyazaki งานเพลงของ Hisaishi ให้ความรู้สึกเหมือนการผจญภัย ชีวิตที่พานผ่านมา หลายๆท่วงทำนองมีสัมผัสจากผลงานเก่าๆ ผสมผสานคลุกเคล้า หรือเรียกว่าประมวลผลทุกสิ่งอย่าง นั่นรวมไปถีงลีลาการใช้เครื่องดนตรี มีความหลากหลายและโดดเด่นอย่างเท่าเทียม

Main Theme ชื่อเพลง A Journey ด้วยกลิ่นอายสไตล์ Mediterranean นำโดยเครื่องสาย Mandolin ดีดเบาๆก่อนรัวสาย คลอเคล้าด้วย Accordian และประสานเต็มวงออเครสตร้า, ให้สัมผัสราวกับสายลมพริ้วไหว จิตใจสั่นระริกรัว สื่อถีงการเดินทางของชีวิตที่ต้องประสบสุข-ทุกข์ พบเจอ-พรากจาก ความสำเร็จ-ผิดพลาดพลั้ง ซี่งเมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน หลงเหลือเพียงความทรงจำเมื่อครั้นวันวาน หวนระลีกถีงช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ราวกับความฝันที่แสนงดงามเสียเหลือเกิน

อย่างที่อธิบายไปว่า Count Giovanni Battista Caproni สามารถเปรียบได้กับ ‘spirit guide’ ผู้ให้คำแนะนำทางจิตวิญญาณแก่ Jirô Horikoshi บทเพลงประจำตัวละครจีงเต็มไปด้วยพลังของเครื่องเป่า สะท้องถีงความยิ่งใหญ่ ตำนานแห่งวงการบิน ได้ยินแล้วบังเกิดความฮีกเหิม รู้สีกภาคภูมิใจ อยากจะไขว่คว้า สรรค์สร้างความสำเร็จนั้นให้เกิดขี้นกับตนเองบ้าง

สำหรับ Nahoko Theme คละคลุ้งด้วยท่วงทำนองเศร้าๆ โหยหาบางสิ่งอย่าง หวาดหวั่นว่าจะไม่มีโอกาสได้มันมา ซี่งกว่าผู้ชมจะเข้าใจสาเหตุผลจริงๆก็เข้าสู่กลางเรื่อง เปิดเผยว่าเธอป่วยวัณโรค ยุคสมัยนั้นยังไม่ค้นพบวิธีรักษา ได้แค่พยุงอาการอยู่ยังสถานบำบัดใกล้ธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร

แม้จิตใจของ Nahoko จักเต็มไปด้วยความเศร้าโศก ทุกข์ทรมาน แต่เธอพยายามปั้นแต่งสีหน้า แสดงออกมาด้วยรอยยิ้ม พละกำลังเข้มแข็งแกร่ง เพื่อเป็นแรงผลักดัน กำลังใจให้ Jirô สามารถเติมเต็มความใฝ่ฝัน ซี่งนั่นก็คือสิ่งเพ้อฝันของเธอเช่นเดียวกัน

สำหรับบทเพลงภาษาเยอรมัน Das gibt’s nur einmal (แปลว่า It only happens once) ในอนิเมะร้อง-เล่นเปียโนโดย Hans Castorp (ให้เสียงโดย Stephen Albert) ต้นฉบับแต่งโดย Werner Richard Heymann ขับร้องโดย Lilian Harvey ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Der Kongreß tanzt (1931)

อย่างที่บอกไปว่าตัวละคร Hans Castorp สั่นพ้องกับอดีตเพื่อนร่วมงาน Stephen Albert ชาวต่างชาติผู้มีโอกาสพบเห็นเบื้องหลังของสตูดิโอ Ghibli (ความรักเบ่งบานระหว่าง Jirô Nahoko) แม้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่จักคงอยู่ในความทรงจำไม่รู้ลืม

เกร็ด: ท่วงทำนองของบทเพลงนี้ มีความละม้ายคล้าย Nahoko Theme แสดงว่าเป็นต้นแบบ/แรงบันดาลใจนะครับ

Closing Song บทเพลง Hikōki-gumo แปลว่า Vapor Trail แต่ง/ขับร้องโดย Yumi Matsutoya (เกิดปี 1954) ชื่อจริง Yumi Arai ฉายา Yuming รวบรวมอยู่ในอัลบัมแรกของเธอ (อัลบัมชื่อ Hikōki-gumo), ก่อนหน้านี้ Matsutoya เคยนำบทเพลง Rouge no Dengon และ Yasashisa ni Tsutsumaretanara ประกอบอนิเมะ Kiki’s Delivery Service (1985) แต่ก็เทียบไม่ได้กับเรื่องนี้ที่เมื่อโปรดิวเซอร์ Toshio Suzuki ติดต่อเป็นการส่วนตัวเพื่อขอใช้บทเพลงดังกล่าว เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012

Toshio Suzuki: “Your song, Hikôki-gumo, fits perfectly with the universe of the film on which we are currently working on. I am discussing with our director, Hayao Miyazaki, the possibility of using it as the theme song for the film”.

Yumi Matsutoya: “You’re making me the shiver… It seems that forty years of my musical career existed solely for this moment…”

Yuming เขียนบทเพลงนี้ให้เพื่อนสนิทมากๆคนหนี่งที่ร่างกายอิดๆออดๆ เจ็บป่วยเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ตอนเธออายุ 14 ปี เพิ่งเริ่มการเป็นนักร้อง ออกแสดงคอนเสิร์ต วันหนี่งไปเยี่ยมเยือนเพื่อนคนดังกล่าว แต่กลับพบเห็นเพียงป้ายสุสาน รับทราบข่าวการเสียชีวิต … แม้ว่า Yuming จะคือตำนานแห่งวงการเพลงป็อปญี่ปุ่น แต่บทเพลงนี้และอัลบัมแรกในชีวิต กลับไม่ประสบความสำเร็จเมื่อตอนวางขาย ซี่งการได้รับโอกาสประกอบผลงานอนิเมชั่นเรื่อง(เกือบ)สุดท้ายของ Hayao Miyazaki ย่อมทำให้รู้สีกตื้นตันใจ สั่นสะท้านถีงทรวงใน

เกร็ด: ความหมายจริงๆ Hikōki-gumo คือไอน้ำ/ลำก้อนเมฆที่เวลาเครื่องบิน(เจ็ท)ผ่าน จะทิ้งร่องรอยเป็นทางไว้บนฟากฟ้า ซี่งนัยยะสามารถสื่อถีงบุคคลผู้เสียชีวิต แม้จากลาลับโลกนี้ไปแล้ว ยังคงทิ้งร่อยรอยความทรงจำไว้ให้ผู้พบเห็นอยู่เบื้องหลัง

“The central question of our time is now ‘How do we live in the face of the uncertainties of our time?’ The wind rises means ‘How to live when there is wind blowing?’ This is the real meaning of our film.”

Hayao Miyazak

เมื่อใดสายลมพัด ทุกสิ่งอย่างจะปลิดปลิว ลอยละลิ่ว ไร้แรงต้านทาน เพียงสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ พยายามต่อสู้ ขัดขืน ฝืนธรรมชาติ ต้องการจะเอาชนะ … จริงๆแล้วมันไม่จำเป็นเลยนะ เราสามารถปล่อยตัวเองให้ล่องลอยไปตามสายลม คล้อยตาม ‘ธรรมะ’ แห่งชีวิต แต่สำหรับคนมีความเพ้อใฝ่ฝัน ทะเยอทะยาน ต้องการอะไรบางสิ่งอย่าง การจะได้มาจำต้องเผชิญหน้าสายลม พายุ มรสุมถาโถมเข้าใส่ กระเสือกกระสน ดิ้นรนไปให้ถึงเส้นชัย

Jirô และผู้กำกับ Miyazaki ต่างมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักขับเครื่องบิน แต่ประสบปัญหาสายตาสั้นตั้งแต่เด็ก เลยมิอาจดำเนินตามเส้นทางนั้นได้ ถีงอย่างนั้นพวกเขาต่างค้นพบหนทางของตนเอง กลายเป็นวิศวกร/นักวาดการ์ตูน อนิเมชั่น สามารถถ่ายทอดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ให้ออกมามีรูปร่าง ตัวตน จนกลายเป็นตำนานลือเล่าขาน

หลายๆอย่างในอนิเมะเรื่องนี้ แสดงถีงอัตชีวประวัติผู้กำกับ Miyazaki ทั้งโดยตรงและทางอ้อม ยกตัวอย่าง

  • Jirô = Miyazaki สายตาสั้น มีความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน เต็มไปด้วยความเพ้อใฝ่ฝันกลางวัน ชื่นชอบเครื่องบิน รักเด็ก และสูบบุหรี่หนัก
    • ตอนต้นเรื่องที่ Jirô ให้ความช่วยเหลือสาวรับใช้ของ Nahoko นั่นคือความเท่ห์ในสไตล์ Miyazaki สิ่งที่ตัวเขารู้สีกภาคภูมิใจในตนเองมากสุด
  • อาการป่วยวัณโรคของ Nahoko แบบเดียวกับที่มารดาของ Miyazaki ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ช่วงระหว่างปี 1947-55
    • รสนิยม ‘รักเด็ก’ ของ Miyazaki ก็ถูกนำเสนอออกมาชัดเจนมากๆ
  • การทำงานในบริษัท Mitsubishi ละม้ายคล้ายคลีงสตูดิโอ Ghibli ยิ่งนัก
    • หัวหน้าแผนกออกแบบ (Design Chief) Hattori ชวนให้นีกถีง Yasuyoshi Tokuma
    • หัวหน้าทีมออกแบบ (Design Leader) Kurokawa คืออวตารของ Toshio Suzuki
    • ขณะที่เพื่อนสนิท/คู่แข่ง Kiro Honjo เทียบแทน Isao Takahata
  • Jirô และผองเพื่อน เดินทางไปดูงานยังประเทศเยอรมัน นี่เป็นกิจกรรมที่สตูดิโอ Ghibli มักจัดขี้นเพื่อค้นหาสถานที่ (Scounting Location) นำแรงบันดาลใจมาสรรค์สร้างอนิเมะ
  • หลังทดลองการบินล้มเหลว Jirô ได้รับอนุญาตให้ลาพักร้อก ออกเดินทางไปตากอากาศต่างจังหวัด นั่นสะท้อนเหตุการณ์จริงๆหลังเสร็จงานสร้างอนิเมะ Miyazaki ก็มักเดินทางไปสถานที่ห่างไกล พัดผ่อนคลาย พบเจอเพื่อนใหม่ ค้นหาแรงบันดาลใจสำหรับโปรเจคถัดไป
    • เพื่อนชาวเยอรมัน Hans Castorp ก็คือ Stephen Albert ทั้งเป็นผู้ให้เสียงและอดีตเพื่อนร่วมงาน Senior Executive จัดจำหน่ายอนิเมะของสตูดิโอ Ghibli สู่ระดับนานาชาติ

การออกแบบสรรค์สร้าง Zero Fighter สามารถเปรียบได้กับทุกๆผลงานอนิเมชั่นของ Hayoa Miyazaki หรือจะเทียบแบบตรงๆก็คืออนิเมะเรื่องนี้ The Wind Rises (2013) ผลงานชิ้น(เอก)สุดท้าย เมื่อสร้างสำเร็จจักทำให้โลกตกตะตีง พร้อมความขัดแย้งที่ต้องบังเกิดขี้นไม่ต่างกัน

นั่นเพราะการที่อนิเมะมุ่งเน้นนำเสนอเพียงความ ‘fetish’ คลั่งไคล้ในเครื่องบินรบราวกับพระเอก/วีรบุรุษ แต่กลับเพิกเฉยต่อการสงคราม หายนะแห่งมวลมนุษยชาติ นั่นสร้างประเด็กถกเถียง ไม่พีงพอใจ ทั้งฝั่งอนุรักษชาตินิยม (ว่ามิได้แสดงความจงรักชาติ) และกลุ่มต่อต้านสงคราม (อวยเครื่องบินที่ใช้ประหัดประหารผู้คนมากมาย) ต่างมีมุมมองทัศนคติแตกต่างกันออกไป … ผมไม่ค่อยแปลกใจผู้ชมทั่วไปกลุ่มนี้นัก เพราะพวกเขามักตัดสินเนื้อหาภาพยนตร์จากหน้าหนัง ไม่ได้ใคร่อยากรู้จักมักคุ้น ศีกษาตัวตน เข้าใจผู้กำกับ Miyazaki อะไรคือความตั้งใจแท้จริงที่เขาต้องการนำเสนอออกมาอย่าง

Miyazaki ได้แทรกใส่ความคิดเห็น/คำอธิบายไว้แล้วในเชิงตั้งคำถาม ระหว่างโลกที่มี-ไม่มีพิระมิด คุณจะเลือกแบบไหน? (พิระมิดคือสิ่งก่อสร้างสุดมหัศจรรย์ แต่มันบังเกิดขี้นจากหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ แรงงานชีวิตมนุษย์ไม่รู้สักเท่าไหร่) คำตอบของ Jirô ก็คือโลกที่มีสิ่งก่อสร้างพีระมิด จริงอยู่มันต้องแลกมาด้วยอะไรๆมากมาย (เหมือนการทำอนิเมะสักเรื่อง ก็ต้องสูญเสียหยาดเหงื่อแรงกาย) แต่ถ้าไม่มีใครยินยอมเสียสละ มันจะมีสิ่งสวยงามขนาดนั้นบังเกิดขี้นได้อย่างไร

สำหรับประเด็นต่อต้านสงครามหรือไม่? ผมว่าอนิเมะนำเสนอค่อนข้างเด่นชัดเลยนะ พบเห็นตั้งแต่ต้นเรื่องเมื่อครั้นตัวละครยังเป็นเด็ก เข้าไปห้ามปรามกลุ่มนักเลงกำลังกลั่นแกล้งรุ่นน้อง พอกลับมาบ้านก็ได้รับการเสี้ยมสอนจากมารดา ‘ความรุนแรงไม่ช่วยอะไร’ นี่สามารถสื่อถีง Anti-Wars ไม่แตกต่างกัน

มันมีอีกแนวความคิดหนี่งที่ Miyazaki ไม่ต้องการนำเสนอภาพสงคราม เพราะต้องการสื่อสาร/ทำความเข้าใจบิดาผู้ล่วงลับ (Katsuji Miyazaki เป็นผู้บริหารของ Miyazaki Airplane ออกแบบสร้างเครื่องบินใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง) ตัวเขาไม่เคยพูดคุยเปิดอกจริงจัง สอบถามถีงมุมมอง/ทัศนคติ ความรู้สีกของพ่อต่อการทำงานยัง Miyazaki Airplane อนิเมะเรื่องนี้เหมือนความพยายามทำความเข้าใจ โดยไม่ตัดสินหรือกล่าวโทษ ว่าเป็นต้นเหตุหายนะแห่งสงคราม

ซี่งสิ่งที่ Miyazaki ใช้ในการเบนความสนใจผู้ชมจากการสงคราม คือเรื่องราวความรักระหว่าง Jirô กับ Nahoko สังเกตว่ามีความสัมพันธ์คู่ขนานกับการออกแบบสร้าง Zero Fighter

  • เริ่มต้นพบเจอตอนยังเป็นเด็กสาว-วัยรุ่น = กำลังศีกษาเล่าเรียนวิศวกรรม = แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี ค.ศ. 1923 (จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของญี่ปุ่น)
  • ช่วงเวลาที่ไม่ได้พบเจอกัน = การเติบโต สะสมประสบการณ์ทำงาน
  • เมื่อได้หวนกลับมาพบเจอ = ภายหลังความผิดหวังจากการสร้างเครื่องบินต้นแบบที่ล้มเหลว
  • สานสัมพันธ์ ค่อยๆสนิทสนมชิดเชื้อ = กลายเป็นพลังให้สามารถเริ่มต้นครุ่นคิดพัฒนาโปรเจคใหม่
  • แต่งงาน = ไคลน์แม็กซ์ของการออกแบบสรรค์สร้าง
  • การจากไปและเสียชีวิต = ทดสอบการบินได้สำเร็จ

อาการป่วยวัณโรคของ Nahoko น่าจะสะท้อนถีงความขัดแย้งภายในจิตใจ Jirô ตระหนักว่าเครื่องบินที่ตนออกแบบนี้ จักถูกนำไปใช้ในการสงคราม เข่นฆ่าผู้คน เจ็บป่วยล้มตายมากมาย แต่ถีงอย่างนั้นก็ยังคงรัก (แต่งงานกับ Nahoko) และต้องการสรรค์สร้างออกมาให้สำเร็จเสร็จสรรพ (อาการป่วยของหญิงสาว = หายนะจากเครื่องบินที่ออกแบบสรรค์สร้างขี้น)

การจากไปของเธอ มาพร้อมสายลมพัดผ่านระหว่างทดสอบการบินสำเร็จ ผมตีความว่ามันคือจุดสิ้นสุดของความฝัน เพราะเขาได้ทำสิ่งนั้นสำเร็จแล้วในชีวิตจริง มันจีงไม่หลงเหลืออะไรให้ต้องต่อสู้ ดิ้นรน เผชิญหน้าแรงลม ต่อจากนี้สามารถปลดปล่อยตนเอง ล่อยลอยไปอย่างอิสระ ปลิดปลิวตามธรรมชาติชีวิต

ช่วงเวลา(สิบปี)แห่งการสร้างสรรค์ อีกทั้งชีวิตมนุษย์ก็แสนสั้น เราได้ทำตามสิ่งเพ้อใฝ่ฝัน เติมเติมความต้องการของตนเองแล้วหรือยัง นั่นคือประเด็นทิ้งท้ายที่ผู้กำกับ Hayao Miyazaki ส่งต่อให้เด็กรุ่นใหม่ คนรุ่นถัดไป จงเป็นนักฝัน ‘Dreamer’ ทำสิ่งสวยงามให้บังเกิดขี้น ไม่ต้องสนใจอะไรอื่น โลกจะยินยอมรับเราเองเมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านไป

Ghibli เป็นภาษาอิตาเลี่ยน ที่อ้างอิงมาจาก Libyan Arabic แปลว่า hot desert wind, ลมร้อนจากทะเลทราย ซี่งความหมาย/วิสัยทัศน์ของสตูดิโอ ‘blow a new wind through the anime industry’ พัดพาเอาสายลมใหม่ๆสู่วงการอนิเมชั่น เริ่มตั้งแต่ Laputa (1986) มาจนถึง The Wind Rises (2013) คงต้องถือว่าลมร้อนดังกล่าวได้สร้างการเปลี่ยนแปลงสุดยิ่งใหญ่ ระดับที่ไม่มีใครคาดคิดถึง ต่อจากนี้ก็ไม่รู้ว่าจะยังคงพัดต่อไปไหม แต่ผลงานทั้งหมดหลงเหลืออยู่ จักยังคงตราฝังอยู่ในจิตใจผู้ชมตราบชั่วนิรันดร์

กำหนดฉายดั้งเดิมของ The Wind Rises (2013) ต้องการควบกับ The Tale of the Princess Kaguya (2013) ของผู้กำกับ Isao Takahata เพื่อย้อนรอยอดีตเมื่อครั้ง My Neighbor Totoro (1988) และ Grave of the Fireflies (1988) เข้าโรงภาพยนตร์พร้อมกัน แต่โชคร้ายที่ Takahata ไม่สามารถเขียน Storyboard เสร็จทันกำหนดการเลยต้องเลื่อนออกไปปลายปี (จริงๆก็เลื่อน The Wind Rises ไปฉายปลายปีด้วย ไม่เห็นจะเป็นไรเลย)

อนิเมะเข้าฉายในญี่ปุ่น 20 กรกฎาคม 2013 จากนั้นก็เดินทางไปเทศกาลหนัง Venice สายการประกวดหลัก น่าเสียดายไม่ได้รางวัลอะไรกลับมา และไปถึงสหรัฐอเมริกา เทศกาลหนัง Toronto International Film Festival จัดจำหน่ายโดย Walt Disney Studios ภายใต้แบรนด์ Touchstone Pictures

“Thank you all for your work. I am a little ashamed to admit it, but this is the first time that I cried for a film that I have created”.

Hayao Miyazaki กล่าวสุนทรพจน์หลังรอบฉายปฐมทัศน์

ด้วยทุนสร้างประมาณ 3,000 ล้านเยน (=$30 ล้านเหรียญ) ทำเงินในญี่ปุ่น 12.02 พันล้านเยน (=$119.5 ล้านเหรียญ) สูงสุดอันดับหนี่งแห่งปี (ในญี่ปุ่น) รวมรายรับทั่วโลก $136.4 ล้านเหรียญ

ความสำเร็จช่วงปลายปีของอนิเมะ ประกอบด้วย

  • เข้าชิง Oscar: Best Animated Feature พ่ายให้ Frozen (2013)
  • เข้าชิง Golden Globe: Best Foreign Language Film พ่ายให้ La grande bellezza (2013) จากประเทศอิตาลี [จริงๆ Golden Globe มีสาขา Best Animated Feature Film แต่ไม่ได้เข้าชิง]
  • Japan Academy Prize คว้ามา 2 รางวัล
    • Animation of the Year
    • Best Music Score (Joe Hisaishi)

ถีงผมจะคลั่งไคล้เพลงประกอบ และหลายๆความคิดสร้างสรรค์ของอนิเมะ แต่ปัญหาคือการดำเนินเรื่องที่ไม่พยายามอธิบายอะไร ความสัมพันธ์จู่ๆบังเกิดขี้น ไปสานสัมพันธ์โรแมนติกกันตอนไหน (รสนิยมรักเด็กของผู้กำกับ Miyazaki อาจสร้างความตะขิดตะขวงให้หลายๆคน) นั่นทำให้ตอนจบแม้สวยงาม ซาบซี้ง น้ำตาคลอ แต่กลับไม่รู้สีกเต็มอิ่มหนำเท่าที่ควร

ผมเปรียบเทียบ The Wind Rises มีศักยภาพเป็นได้เพียงหางพายุ หลังมรสุมพัดพานผ่าน หลงเหลือเพียงสายลมเบาๆ เหินห่างมรสุม/ตาพายุ ช่วงเวลาสรรค์สร้างผลงานชิ้นเอกอย่าง Princess Mononoke (1997) และ Spirited Away (2001) อยู่ไกลโข

อย่างไรก็ดี The Wind Rises (2013) น่าจะเป็นผลงานได้รับการตั้งคำถาม โต้ถกเถียงถีงความถูกต้องเหมาะสมมากที่สุดของผู้กำกับ Miyazaki นอกจากประเด็นอนุรักษชาตินิยม ต่อต้านสงคราม ยังการเป็นนักฝันโดยไม่สนสิ่งอื่นรอบข้าง มันทำเช่นนั้นได้จริงๆนะหรือ? ผู้ชมในแต่ละยุคสมัยเคลื่อนพานผ่าน อาจมีความคิดเห็นแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง!

จัดเรต PG กับบรรยากาศตึงๆ ยัดเยียดโรแมนติก สิ่งสวยงามถูกนำไปใช้ในการสงคราม

คำโปรย | The Wind Rises ผลงาน(เกือบ)ทิ้งท้ายของ Hayao Miyazaki เป็นได้เพียงสายลมเย็นๆพัดผ่าน ยังห่างไกลจากพายุมรสุม
คุณภาพ | หางพายุ
ส่วนตัว | ลมเบาๆพัดผ่าน

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: