King and Country (1964) : Joseph Losey ♥♥♥♥
ทหารนายหนึ่งถูกกุมจับข้อหาละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) ทนายพยายามแก้ต่างว่าเขามีอาการ ‘Shell Shock’ แต่ผู้พิพากษากลับมองว่าคือข้ออ้างข้างๆคูๆ สั่งตัดสินประหารชีวิตยิงเป้า เพื่อไม่ให้ใครอื่นเอาเป็นแบบอย่าง มันต้องลงโทษรุนแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?
ชื่อหนัง King and Country อ้างอิงจากสโลแกนในช่วงสงครามโลก(ครั้งที่หนึ่ง)ของประเทศอังกฤษ “For King and Country” หมายถึงการอุทิศตนเพื่อพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ ต่อสู้เอาชนะศัตรูที่มารุกราน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดตั้งคำถาม ถึงความคุ้มค่าในการเสียสละชีวิตเพื่ออุดมการณ์ดังกล่าว
เอาจริงๆเรื่องราวของ King and Country (1964) สามารถมองได้สองแง่มุมแตกต่างขั้วตรงข้าม
- ฟากฝั่งอนุรักษ์นิยม, ทหารนิยม, ชาตินิยม, มันมีความจำเป็นที่ต้องลงโทษนายทหารละทอดทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเป็นเยี่ยงอย่าง จนสร้างความสั่นคลอนให้กองทัพทั้งหมด กฎระเบียบคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อปกป้องผืนแผ่นดิน ประเทศชาติ (และพระมหากษัตริย์)
- ฟากฝั่งเสรีชน, ปัจเจกบุคคล, มนุษย์นิยม, เรื่องราวของหนังถือเป็นโศกนาฎกรรม อันเกิดจากความไม่ชอบธรรมทางกฎหมาย ความไร้มนุษยธรรมของบุคคลผู้มีอำนาจ สงครามคือสิ่งโฉดชั่วร้าย (ใจความ Anti-Wars) ความตายที่ไม่คุ้มค่า สกปรก ต่ำตม
นักวิจารณ์มักทำการเปรียบเทียบ King and Country (1964) ละม้ายคล้ายกับ Paths of Glory (1957) ของผู้กำกับ Stanley Kubrick ต่างพยายามแสดงให้เห็นถึงอิทธิพล/ผลกระทบจากสงคราม รวมถึงความคอรัปชั่น (Corruption) ไร้ซึ่งมนุษยธรรม (Inhumanity) กฎระเบียบคือเครื่องมือของบุคคลผู้มีอำนาจ เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ อุดมการณ์ส่วนตน … ความแตกต่างจะอยู่ที่ Paths of Glory จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของระบบ สถาบัน/กองทัพ, King and Country จะมุ่งเน้นจิตวิทยาตัวละคร ลงรายละเอียดถึงสภาพจิตใจรายบุคคล
แม้ว่า King and Country (1964) จะไม่ได้มีลีลานำเสนอ เทคนิคภาพยนตร์จัดจ้านเทียบเท่า แต่บอกเลยว่าผมชื่นชอบมากกว่า Paths of Glory (1957) เพราะมันตรงเข้าถึงจิตวิญญาณ มืดหมองหม่น รังเกียจขยะแขยง สั่นสะท้านทรวงใน
Joseph Walton Losey III (1909-84) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ La Crosse, Wisconsin เป็นเพื่อนร่วมชั้นมัธยม Nicholas Ray, เข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ Dartmount College ก่อนเปลี่ยนมาสาขาการละคอน จากนั้นเขียนบท/กำกับละครเวทีที่ New York City ตามด้วย Broadway เคยเดินทางสู่สหภาพโซเวียตช่วงปี ค.ศ. 1935 มีโอกาสร่ำเรียนภาพยนตร์จาก Sergei Eisenstein รวมถึงได้พบเจอ Bertolt Brecht และ Hanns Eisler, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, และกำกับหนังเรื่องแรก The Boy with Green Hair (1947)
ด้วยความสนิทสนมกับผู้คนฝั่งซ้าย เคยสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงร่วมงานสนิทสนม Bertolt Brecht และ Hanns Eisler ช่วงต้นทศวรรษ 50s จึงถูกแบน Blacklist จาก House Un-American Activities Committee (HUAC) ไม่มีเงิน ไม่งาน เลยต้องอพยพย้ายสู่กรุง London เมื่อปี ค.ศ. 1953 กำกับหนังอังกฤษเรื่องแรก The Sleeping Tiger (1954), สำหรับผลงานที่ทำให้กลายเป็นตำนานประกอบด้วย The Servant (1963), King and Country (1964), Accident (1967), The Go-Between (1971) และ Monsieur Klein (1976)
ต้นฉบับของ King & Country มาจากนวนิยาย Return to the Wood (1955) แต่งโดยนักเขียนชาวอังกฤษ James Lansdale Hodson (1891–1956) นำประสบการณ์จากเคยเป็นนักข่าว (War Correspondent) ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (แต่เรื่องราวมีพื้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) ได้รับการดัดแปลงละครเวทีเรื่อง Hamp (1964) บทโดย John Wilson, กำกับโดย Joan Littlewood ทำการแสดงรอบปฐมทัศน์ยัง Theatre Royal Stratford East วันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1964
(ขณะที่ต้นฉบับนวนิยาย Return to the Wood มีเรื่องราวเกี่ยวกับทหารหนีทหาร หลบซ่อนตัวในป่า แล้วพบเจอผองเพื่อนที่ต่างหลบหนีทหารด้วยกัน, บทละคร Hamp นำเพียงแรงบันดาลใจเกี่ยวการหนีทหาร มาสร้างเรื่องการพิจารณาไต่สวนคดีความบนชั้นศาล)
ผกก. Losey มีโอกาสรับชมละครเวที Hamp (1964) แล้วเกิดความสนใจในการดัดแปลงสร้างภาพยนตร์ อาจเพราะเรื่องราวการไต่สวน/พิพากษาบุคคลไม่ได้กระทำผิด มันสะท้อนกึกก้องกับตัวเขาเมื่อครั้งเคยขึ้นให้การกับ HUAC
I was immediately struck by the play’s powerful anti-war message, and by the way it exposed the dehumanizing effects of conflict on ordinary people. I knew right away that I wanted to bring this story to a wider audience through the medium of film, and to use cinema as a way to explore important social and political issues. The story of Private Hamp is a tragic and moving one, and it speaks to something deeply human in all of us. I hope that our film can do justice to this powerful and important story, and that it can help to raise awareness about the human cost of war.
Joseph Losey
ละครเวที Hamp (1964) เห็นว่ามีเพียงฉากเดียวเท่านั้น คือการไต่สวนคดีความบนศาลทหาร แต่การดัดแปลงภาพยนตร์สามารถเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นๆเข้าไป รวมถึงเทคนิคภาพยนตร์ ‘visual technique’ เพื่อให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์จากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเต็มๆ
I wanted to preserve the spirit of the play, but I also wanted to make it more cinematic. So I added some scenes and changed the structure a bit, but I tried to stay true to the core themes and ideas of the original.
In a play, you have one set and a limited number of characters. In a film, you can show different locations and use visual techniques to create a more immersive experience. But you also have to be careful not to lose the intimacy and intensity of the original material.
ดัดแปลงบทภาพยนตร์โดย Evan Jones
พื้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ. 1917 ณ สงครามสนามเพลาะ (Trench warfare) ที่ Passchendaele, German Empire เรื่องราวของนายทหาร Arthur Hamp (รับบทโดย Tom Courtenay) ถูกกล่าวหาว่าหลบหนีการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) กำลังจะต้องขึ้นศาลทหารไต่สวน โดยมี Captain Hargreaves (Dirk Bogarde) เป็นทนายให้การปกป้อง โดยใช้คำกล่าวอ้างอาการ ‘shell shock’ กระทำไปโดยไม่ได้รู้รับรู้ตัว
ถึงอย่างนั้นบรรดาผู้พิพากษากลับมองว่า นั่นคือข้ออ้างข้างๆคูๆ ฟังไม่ขึ้นสักเท่าไหร่ แต่ก็มีความประทับใจ Captain Hargreaves พยายามแก้ต่างให้จำเลยอย่างสุดความสามารถ เลยคาดโทษแค่จะติดคุกติดตาราง ถึงอย่างนั้นเบื้องบนกลับมีคำสั่งลงมาให้ตัดสินประหารชีวิตยิงเป้า เพื่อไม่ให้นายทหารคนอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
Sir Dirk Bogarde ชื่อจริง Derek Jules Gaspard Ulric Niven van den Bogaerde (1912-99) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ West Hampstead, London บิดามาเชื้อสาย Flemish ส่วนมารดาคือนักแสดงเชื้อสาย Scottish ส่งบุตรชายไปอาศัยอยู่ Glasgow ก่อนได้ทุนเข้าเรียนการแสดง Royal College of Arts แต่จบมาทำงานเป็นเด็กเสริฟชา ส่งของ สแตนอิน จนกระทั่งได้เป็นตัวประกอบสตูดิโอ Associated Talking Pictures, ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอาสาสมัคร Royal Corps of Signals ก่อนย้ายมาหน่วยข่าวกรอง Queen’s Royal Regiment (West Surrey) เป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกลุ่มแรกที่ปลดแอกค่ายกักกันนาซี Bergen-Belsen
The gates were opened, and then I realised that I was looking at Dante’s Inferno. And a girl came up who spoke English, because she recognised one of the badges, and she … her breasts were like, sort of, empty purses, she had no top on, and a pair of man’s pyjamas, you know, the prison pyjamas, and no hair… and all around us there were mountains of dead people, I mean mountains of them, and they were slushy, and they were slimy.
At 24, the age I was then, deep shock stays registered forever. An internal tattooing which is removable only by surgery, it cannot be conveniently sponged away by time.
Dirk Bogarde กล่าวถึงการปลดแอกค่ายกักกันนาซี Bergen-Belsen
หลังสงครามได้เซ็นสัญญา Rank Organisation โด่งดังกับ The Blue Lamp (1950), Doctor in the House (1954), ร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Joseph Losey ตั้งแต่ The Sleeping Tiger (1954), The Servant (1963), Modesty Blaise (1966), King and Country (1964), Accident (1967), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Song Without End (1960), Victim (1961), Darling (1965), The Damned (1969), Death in Venice (1971), A Bridge Too Far (1977) ฯลฯ
รับบท Captain Charles Hargreaves ได้รับมอบหมายให้เป็นทนายว่าความให้กับนายทหาร Arthur Hamp ถูกกล่าวหาว่าหลบหนีการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) หลังจากได้พูดคุยสนทนา ก็พยายามครุ่นคิดหาวิธีการเพื่อให้รอดพ้นโทษประหารชีวิต แต่สุดท้ายกลับไม่เป็นผลอะไร เพราะคำสั่งจากเบื้องบนมิอาจขัดขืน หลงเหลือเพียงความขมขื่น รวดร้าวระทมใจ
ผกก. Losey มีความสนิทสนมกับ Bogarde ร่วมงานกันมาแล้วหลายครั้ง รับรู้ว่าอีกฝ่ายเคยพานผ่านอะไรมา ซึ่งก็แนะนำให้เขานำเอาประสบการณ์เมื่อครั้นปลดแอกค่ายกักกันนาซี Bergen-Belsen มาปรับใช้ในการแสดงความรู้สึกของตัวละคร จนกลายเป็นบทบาทที่เจ้าตัวโปรดปรานอันดับหนึ่ง (แต่ผมครุ่นคิดว่า The Servant (1963) คือที่สุดด้านการแสดงของ Bogarde)
แม้ปากอ้างว่าทำตามหน้าที่ แต่ตัวละครของ Bogarde พยายามสรรพสรรหาข้ออ้าง กระทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือนายทหาร Hamp ให้รอดพ้นจากการถูกตัดสินโทษประหารชีวิต แต่เมื่อผลการพิพากษาไม่เป็นดั่งคาดหวัง ภายในรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างหน้าที่ vs. ความเป็นมนุษย์ เกิดอาการท้อแท้สิ้นหวัง หมดสิ้นเรี่ยวแรงพละกำลัง แถมยังต้อง(เป็นคนสุดท้าย)เหนี่ยวไก สุดท้ายจิตใจหลงเหลือเพียงความเวิ้งว่างเปล่า
Bogarde’s performance, which many consider to be one of his best, has an unequaled intensity and almost painful vulnerability. The hesitant, nervously smiling captain, who is virtually the only sane man in the world gone mad around him, is a difficult part to play without falling into parody or cliché, but Bogarde’s achievement is quite remarkable. He makes the character totally credible, by subtle indications of his physical and mental anguish, his gallows humor, his touching hesitancy, and his slow evolution from a mild eccentric into a self-sacrificing hero. No wonder the film’s coda showing his death was felt by many to be a terrible blow.
นักวิจารณ์ J. L. de Vries จากนิตยสาร Sight & Sound
Sir Thomas Daniel Courtenay (เกิดปี 1937) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Kingston upon Hull, East Riding of Yorkshire โตขึ้นร่ำเรียนภาษาอังกฤษยัง University College London แต่ไม่ทันสำเร็จการศึกษาเปลี่ยนมาด้านการละคอน Royal Academy of Dramatic Art (RADA) แล้วเริ่มมีผลงานละครเวที, ภาพยนตร์เรื่องแรก Private Potter (1962), โด่งดังจาก The Loneliness of the Long Distance Runner (1962), Billy Liar (1963), ผลงานเด่นๆ อาทิ King & Country (1964), Doctor Zhivago (1965), The Dresser (1983), 45 Years (2015) ฯลฯ
รับบท Private Arthur Hamp นายทหารผู้เต็มไปด้วยความสับสนในตนเอง หลังได้รับจดหมายนอกใจของภรรยา เพื่อนร่วมกองร้อยทั้งหมดถูกเข่นฆ่า เลยครุ่นคิดจะเดินทางกลับบ้าน ล่องลอยอยู่ตามสมรภูมิรบ จนถูกจับกุมตัวที่ Belguim แล้วส่งมาขึ้นศาลยัง Passchendaele, German Empire ไม่ได้เกิดความตระหนักด้วยซ้ำว่านั่นคือการหนีทหาร และอาจต้องรับโทษประหารชีวิต
I needed an actor who could be very young and very innocent, and Tom has that quality. He has an extraordinary face, and I knew that he could bring a lot of emotional depth to the role.
ผู้กำกับ Joseph Losey
แม้อายุย่างเข้า 25-26 แต่ใบหน้าของ Courtenay ยังดูหนุ่มแน่น รูปร่างผอมบาง ชอบทำตาลอยๆ พูดจาตะกุตะกัก เหมือนคนจิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว ผู้ชมสัมผัสได้ถึงความอ่อนไหว เปราะบาง เต็มไปด้วยความใสซื่อบริสุทธิ์ (ออกไปทางซื้อบื้อ) ไม่รับรู้ตนเองด้วยซ้ำว่ากำลังทำอะไรอยู่ ตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายขนาดไหน มาเกณฑ์ทหารเพราะถูกท้าทาย เพียงอารมณ์ชั่ววูบพาไป พอเผชิญหน้าโลกความจริงที่เหี้ยมโหดร้าย นั่นคือลักษณะอาการ ‘Shell Shock’ ที่ทางการสมัยนั้นปฏิเสธไม่ให้การยินยอมรับ
ช่วงแรกๆแม้ถูกควบคุมขัง ตัวละครยังพอมีกำลังใจเชื่อมั่นว่าจักสามารถเอาตัวรอด พานผ่านการพิจารณาคดีนี้ไปได้ แต่หลังจากคำพิพากษาตัดสินออกมา เขาก็ตกอยู่ในสภาพหมดสิ้นหวังอาลัย ถูกมอมเหล้าจนมึนเมามาย ไร้เรี่ยวแรงก้าวเดินไปรับโทษประหารชีวิต กลายเป็นเรื่องราวโศกนาฎกรรม
Tom Courtenay, who played the young man in The Loneliness of the Long Distance Runner, gives another magnificent performance here. Hamp is such a dense, well-conceived character that, as he moves toward his final, desperate act, the film has the force of tragedy. Courtenay convinces you that the things Hamp says are the things he thinks, and that he feels deeply about them. He doesn’t have to be a symbol of anything to move us. It’s just that he’s a vulnerable, likable young man who, as he’s pushed to the wall, begins to act unreasonably. Courtenay convincingly portrays an uneducated soldier who becomes the victim of the army’s inexplicable behavior. His speech, which is hesitant and often incoherent, is perhaps the most moving part of the film.
Pauline Kael
ถ่ายภาพโดย Denys Neil Coop (1920-81) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากเป็นลูกมือ Freddie Young, ควบคุมกล้อง (Camera Operator) เรื่อง The Fallen Idol (1948), The Third Man (1949), Lolita (1962), เริ่มได้รับเครดิตถ่ายภาพ A Kind of Loving (1962), โด่งดังกับ This Sporting Life (1963), Billy Liar (1963), King & Country (1964), Bunny Lake Is Missing (1965) และยังเป็นหนึ่งในทีม Visual Effect เรื่อง Superman (1978)
ทศวรรษ 60s เป็นช่วงที่ฟีล์มขาว-ดำ กำลังเสื่อมกระแสนิยมลงไป เหมาะสำหรับหนังทุนต่ำ หรืออย่างภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในสนามเพลาะ (Trenches) เปลอะเปลื้อนโคลนเลน สายฝนเปียกแฉะ แถมส่วนใหญ่ดำเนินเรื่องตอนกลางคืน สามารถสร้างบรรยากาศหดหู่ นำเสนอภาพความสิ้นหวัง สงครามคือหายนะ ไม่ต่างจากวันโลกาวินาศ
งานภาพของหนังเต็มไปด้วยรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ จากทิศทางมุมกล้อง จัดวางตำแหน่งตัวละคร การขยับเคลื่อนไหว บางครั้งสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลออกไป แต่แทบทั้งหมดสร้างฉากถ่ายทำยัง Shepperton Studios ณ Shepperton, Surrey ส่วนอนุสาวรีย์สงคราม Wars Memorial ถ่ายทำยัง Hyde Park Corner ณ Hyde Park, London
ภาพแรกของหนังคือประตูชัยเวลลิงตัน (Wellington Arch) เบื้องบนมีเทพีทรงราชรถม้าสี่ตัว (Quadriga) สัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ จงรักภักดี (ล้อกับเรื่องราวของหนังที่เกี่ยวกับนายทหารละทอดทิ้งภาระหน้าที่) อุทิศให้กับ King Edward VII (1841-1910, ครองราชย์ 1901-10) แกะสลักทองสัมฤทธิ์โดย Captain Adrian Jones เมื่อปี ค.ศ. 1912
The Quadriga surmounting this arch was presented to the nation as a mark of deepest loyalty and respect to his late revered Majesty Edward VII by Herbert First Baron Michelham of Hellingly KCVO.
Adrian Jones Sculp.
MCMXII (1912)
อารัมบทก่อนนำเข้าสู่ Opening Credit ถือเป็นลายเซ็นต์ผู้กำกับ Losey ที่มักถ่ายทำด้วยเทคนิค Long Take กล้องเคลื่อนเลื่อน ซูมเข้าซูมออก แพนนิ่งจากประตูชัยเวลลิงตัน มาถ่ายทำอนุสาวรีย์ต่างๆที่อยู่ภายในอาณาบริเวณ Hyde Park Corner พร้อมเสียงฮาร์โมนิก้าที่เต็มไปด้วยความโหยหวน คร่ำครวญ เศร้าโศกเสียใจ มองผิวเผินเหมือนเป็นการแสดงความเคารพ ยืนไว้อาลัยให้กับผู้สูญเสียชีวิตจากสงคราม แต่…
ภาพที่กล้องเคลื่อนเลื่อนถัดจากเทพีทรงราชรถม้าสี่ตัว นั่นคือบริเวณรองเท้ารูปปั้นผู้เสียชีวิต ราวกับต้องสื่อถึงความเสียสละของทหารหาญ มันเป็นสิ่งไม่น่าจะคุ้มค่ากับชัยชนะที่ได้รับมา
Here dead we lie
Because we did not choose
To live and shame the land
From which we sprung.Life, to be sure,
Is nothing much to lose,
But young men think it is,
And we were young.
บทกวี Here Dead We Lie (1917) ประพันธ์โดย A.E. Housman (1958-1936) นักกวีสัญชาติอังกฤษ เพื่ออุทิศให้กับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, สำหรับภาพถ่ายที่ร้อยเรียงประกอบบทกวี เห็นว่านำจาก Imperial War Museum, London
จากร้อยเรียงชุดภาพถ่ายสงคราม นำเข้าสู่เรื่องราวของหนังได้น่าขนลุกขนพองมากๆ สองช็อตนี้มีการจัดวางองค์ประกอบเหมือนเปะ แล้วทำการ Cross-Cutting เพื่อปักธงโชคชะตากรรมนายทหาร Hump บอกใบ้ว่ากำลังจะกลายเป็นโครงกระดูกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ผมขี้เกียจอธิบายรายละเอียด ‘Mise-en-scène’ ให้ไปลองสังเกตเอาเองแล้วกันว่า ทิศทางมุมกล้อง ตำแหน่งยืน-นั่ง ระยะใกล้-ไกล แฝงนัยยะซ่อนเร้นที่สอดคล้องหัวข้อสนทนาขณะนั้นเช่นไร
แต่มีสิ่งหนึ่งโคตรน่าสนใจของซีเควนซ์นี้ ไม่ใช่แค่ Captain Hargreaves สนทนากับนายทหาร Hump ในห้องคุมขัง สังเกตว่าภายนอกยังมีความคาคลั่ง ผู้คนเดินไปมาขวักไขว่ หรือมองออกไปไกลๆเดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่าง ราวกับนั่นคือความคาดหวังของตัวละคร เชื่อมั่นว่าตนเองจักได้รับปลดปล่อยหลังจากการไต่สวนพิจารณาคดีความ
ระหว่างการสนทนาในเรือนจำ จะมีขณะหนึ่ง(ยาวๆ)ที่นายทหาร Hamp นั่งอยู่ตำแหน่งนี้ ถ่ายมุมก้มลง พบเห็นช่องว่างตรงพื้นผนัง แต่กั้นขวางด้วยรั้วลวดหนาม มองออกไปคือแอ่งน้ำที่เต็มไปด้วยโคลนตม สามารถสื่อถึงจุดตกต่ำของชีวิต (ในสิ่งที่ตัวละครพยายามพูดเล่าออกมา) รู้สึกไม่ต่างจากตกตายทั้งเป็น พยายามดิ้นหลบหนีแต่ก็ไม่สามารถหลุดรอดพ้น
ขณะที่ภายนอกสนามเพลาะฝนกำลังตก พื้นดินเต็มไปด้วยโคลนเลย แต่ในห้องของผู้พัน (Colonel) กลับพบเห็นภาพวาดน่าจะสไตล์ Romanticism ต้นไม้ ขุนเขา ทิวทัศน์ธรรมชาติ รวมถึงกระท่อมหลังเล็กๆ ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าวาดโดยศิลปินใด แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นจิตรกรชาวอังกฤษอย่าง John Constable, William Turner, Thomas Gainsborough ฯ
นี่สามารถสื่อถึงความแตกต่าง การเลือกปฏิบัติ ระหว่างผู้บังคับบัญชาการ (Commissioned Officers) กับชนชั้นนายทหาร (Enlisted & Non-commissioned officers) ราวกับสวรรค์-นรก ฟ้า-เหว เลยก็ว่าได้!
ฉากในชั้นศาล ส่วนใหญ่มักถ่ายจากฟากฝั่งของบรรดาผู้บังคับบัญชา/ผู้พิพากษา ซึ่งสังเกตว่าพวกเขามักปกคลุมด้วยความมืดมิด ตรงกันข้ามกับฟากฝั่งนายทหาร/ผู้ต้องหา เต็มไปด้วยแสงสว่างเจิดจร้า และสายฝนตกลงมา (สามารถสื่อถึงบุคคลที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ กระทำสิ่งที่รั่วไหล/ขัดต่อกฎระเบียบข้อบังคับ)
เจ้าหนูผู้โชคร้าย หลังจากถูกจับได้ มันก็ประสบโชคชะตาไม่ต่างจากนายทหาร Hamp ซึ่งหนังใช้การเปรียบเทียบคู่ขนานระหว่างการไต่สวนคดีความ แทรกคั่นกับกลุ่มทหาร(ในสนามเพลาะ)กำลังล้อละเล่นกับเจ้าหนูตัวนี้ … ส่วนนัยยะการกระทำ เดี๋ยวผมจะอธิบายภายหลัง
ในช่วงแรกๆของการซักพยาน กล้องจะค่อนข้างรักษาระยะห่าง ถ่ายจากมุมกว้าง ตัดสลับภาพไป-มา เพื่อสื่อถึงความไม่ยี่หร่า(ของพยาน)ต่อโชคชะตากรรมนายทหาร Hamp จนกระทั่งมาถึงการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสุดท้ายของ Captain Hargreaves ส่วนใหญ่ถ่ายใบหน้าระยะประชิดใกล้ ‘Close-Up Shot’ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็น Long-Take ด้วยซ้ำนะ (แต่เห็นตัดต่ออยู่สอง-สามครั้งอย่างน่าเสียดาย)
นี่เป็นช็อตที่ผมรู้สึกว่าตราตรึงที่สุดของหนัง Captain Hargreaves เหมือนตระหนักถึงคำตัดสินไม่น่าจะออกมาดีแน่ๆ (ตอนนั้นยังไม่มีใครรับทราบคำพิพากษา) คำขอบคุณของ Hamp จึงกลายเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการยินยอมรับ พูดบอกว่านั่นคือหน้าที่ที่มันคงจะดีกว่าถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้น ภาพเบลอๆของแสงจากโคมไฟดูเลือนลางสื่อถึงความท้อแท้สิ้นหวัง ใบหน้าของเขาก็ปกคลุมด้วยความมืดมิดเช่นเดียวกัน (หลายช็อตในซีเควนซ์นี้ ใบหน้าของ Cap. Hargreaves ก็มืดมิดสนิทเลยนะ)
ช็อตที่นายทหาร Hamp รับรู้คำพิพากษาตัดสิน ก็ถ่ายแบบตรงๆง่ายๆ ใบหน้าตัวละครที่ไม่รู้จะแสดงปฏิกิริยาอะไรออกมา ครุ่นคิดคาดไม่ถึง ก่อนทรุดลงนั่งคุกเข่า สอบถามถึงวันเวลาตาย พรุ่งนี้เช้าก่อนรุ่งสาง ทำได้แค่เพียงเงียบงัน
สำหรับปฏิกิริยาของ Captain Hargreaves แสดงออกตรงกันข้ามกับนายทหาร Hamp หลังออกมาจากห้องขัง เดินวนไปวนมา ล้มลุกคลุกคลาน ตกหล่มโคลนตม แล้วบุกเข้าไปยังห้องของนายพัน (Colonel) สอบถามถึงคำพิพากษาตัดสิน ไม่ต้องการยินยอมรับผลลัพท์ เพราะความผิดพลาดของตนเองใช่ไม่?
มีอยู่หลายช็อตในห้องของผู้พัน ที่ถ่ายภาพสะท้อนในกระจกของ Captain Hargreaves หลังจากรับรู้ว่าเป็นคำสั่งจากเบื้องบน เขาก็รำพันบทกวีเสียดสี The Mock Turtle’s Song (1871) แต่งโดย Lewis Carroll (1832-98) นักเขียนชาวอังกฤษ
“Will you walk a little faster?” said a whiting to a snail.
“There’s a porpoise close behind us, and he’s treading on my tail.
See how eagerly the lobsters and the turtles all advance!
They are waiting on the shingle — will you come and join the dance?
Will you, won’t you, will you, won’t you, will you join the dance?
Will you, won’t you, will you, won’t you, won’t you join the dance?
ขณะที่นายพันพูดโต้ตอบด้วยอีกบทกวี Biography รวมอยู่ใน Salt-Water Ballads (1902) ประพันธ์โดย John Masefield (1878-1967) คีตกวีสัญชาติอังกฤษเช่นกัน
When I am buried, all my thoughts and adts
Will be reduced to lists of dates and facts,
And long before this wandering flesh is rotten
The dates which made me will be all forgotten;
And none will know the gleams upon the water,
The sunlight borrowed from the life of the daughter,
The heart that sang with me the days begotten.So let them pass, the little things of passion,
The idle talks, the looks, the touches, fashion,
Let them pass, too, the vengeful words and smarting;
What will remain, when the slow fire, starting
From out my body, eats like rust my spirit,
What will remain but bits of shell and merit,
And some of us in other hearts and fretting.O darling love, remember all the laughter,
And all the tears; and though I come not after
To make a story of our two who loved so,
I shall be with you when the sea-birds go
And the tide rises, and the wind is blowing
Fresh from the open, hear the gladness flowing
From all the things that we once loved together.
นายทหาร Hamp ทั้งโดนมอมเมา ปิดตา ตุปัดตุเป๋ไปมา เหล่านี้ก็คือสัญลักษณ์ความเป็น(นาย)ทหารในยุคสมัยนั้น ไร้เป้าหมาย ไร้อนาคต มองไม่เห็นทาง เพียงความตายข้างหน้า แถมยังถูกควบคุมครอบงำจากเบื้องบน ซึ่งระหว่างพิธีสารภาพบาป หลังจากดื่มไวน์ก็ว่าอ๊วกแตกอ๊วกแตน แสดงถึงอาการปฏิเสธต่อต้าน ยินยอมรับไม่ได้กับโชคชะตากรรม (นี่ไม่ใช่ลักษณะต่อต้านศาสนานะครับ แต่คือสัญลักษณ์แทนบุคคลผู้มีอำนาจเบื้องบนของกองทัพ)
ฉากการประหารชีวิตยิงเป้า มีการนำเสนอ ‘Point-of-View’ ผ่านกระบอกปืนทหารนายหนึ่ง (ซึ่งก็คือผองเพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับนายทหาร Hamp) ซึ่งจะค่อยๆเคลื่อนเลื่อน เบี่ยงเบนให้พลาดเป้าหมาย ต้องถือว่านี่เป็น ‘conscience shot’ ที่สามารถสร้างจิตสามัญสำนึกให้ผู้ชม ใครกันจะอยากเข่นฆ่าพวกพ้อง ผองเพื่อน ต่อให้อีกฝ่ายกระทำสิ่งผิดกฎหมาย แต่มันสมควรแก่ความตายเชียวหรือ?
สุดท้ายคนที่ปลิดชีพนายทหาร Hamp นั้นคือ Captain Hargreaves บุคคลที่พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อช่วยเหลือ ปกป้อง ต้องการให้รอดพ้นการถูกพิพากษาประหารชีวิต แต่เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสิน ก็แสดงความรับผิดชอบ ทั้งๆไม่ใช่ภาระรับผิดชอบ เพื่อสร้างจิตสามัญสำนึกให้แก่ผู้ชมเช่นเดียวกัน
Hargreaves does not want to do it, but he knows that if he does not, Hamp will be caught and shot by someone who has no emotional connection to him. So he reluctantly carries out the order to shoot him, showing the brutal and dehumanizing nature of war and the military justice system.
ตัดต่อโดย Reginald Mills (1912-90) สัญชาติอังกฤษ จากเคยเป็นผู้ช่วยตัดต่อของ David Lean หลังสงครามมีโอกาสร่วมงานกับ Powell & Pressburger เริ่มตั้งแต่ A Matter of Life and Death (1946), Black Narcissus (1947), เข้าชิง Oscar: Best Edited เรื่อง The Red Shoes (1948), The Tales of Hoffmann (1951), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ The Servant (1963), Romeo and Juliet (1968), Jesus of Nazareth (1977) ฯ
หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Captain Charles Hargreaves ตั้งแต่เดินทางมาถึงสนามเพลาะ Passchendaele ยามค่ำคืนพูดคุยกับ Private Arthur Hamp เพื่อเตรียมตัวก่อนวันรุ่งขึ้นจะมีการไต่สวนคดีความข้อหาหนีทหาร แล้วทำการตัดสินคำพิพากษาในเย็นวันนั้น และลงโทษประหารชีวิตยิงเป้าเช้าอีกวันถัดมา
- ค่ำคืนก่อนการไต่สวนคดีความ
- Captain Hargreaves เดินทางมาถึงสนามเพลาะ Passchendaele
- เข้าพูดคุยรับสอบถามเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับนายทหาร Hamp
- การไต่สวนคดีความ
- เช้าวันถัดมาก่อนการเริ่มต้นไต่สวนคดีความ
- ช่วงการไต่สวนคดีความ
- พยานคนที่หนึ่ง Corporal Hamilton คือผู้ควบคุมตัวนายทหาร Hamp
- พยานคนที่สอง Captain O’Sullivan นายแพทย์ผู้ไร้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย
- พยานคนที่สาม Lieutenant Jack Webb ผู้ดูแลกองร้อยของนายทหาร Hamp
- คำให้การของนายทหาร Hamp
- และสุนทรพจน์ปิดคดีของ Captain Hargreaves
- หลังการพิจารณาคดีความ เตรียมคำตัดสิน
- ผลการตัดสินในเย็นวันนั้น จนถึงการประหารชีวิตยิงเป้าเช้าวันถัดมา
- หลังจากรับทราบคำตัดสิน Captain Hargreaves แสดงอาการไม่พึงพอใจ ตรงเข้าไปสอบถามเห็นผลกับผู้บังคับบัญชา
- ค่ำคืนนั้นกลุ่มเพื่อนทหารเข้าไปมอมเหล้านายทหาร Hamp ก่อนทำพิธีสารภาพบาป
- เช้าวันถัดมายิงเป้าประหารชีวิต แต่กระสุนนัดท้ายกลับเป็นของ Captain Hargreaves
หลายครั้งที่จะมีการแทรกภาพนิ่ง-เคลื่อนไหว ระหว่างการพูดคุยสนทนา (Captain Hargreaves กับนายทหาร Hamp) รวมถึงขณะไต่สวนคดีความบนชั้นศาล จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมพบเห็นภาพเหตุการณ์ ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการสนทนาที่ยืดยาวนาน บางครั้งเคลือบแฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ โดยเฉพาะกลุ่มทหาร(ในสนามเพลาะ)กำลังทำกิจกรรบางอย่าง เพื่อสะท้อนความเป็นจริงที่ไม่มีใครกล้าพูดออกมา
- ช่วงระหว่างพยานคนที่หนึ่ง Corporal Hamilton
- นายทหารคนหนึ่งนำหนูตัวหนึ่งมากลั่นแกล้งเพื่อนทหารที่นอนหลับอยู่ มันกัดใบหูจนเลือดออก
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายทหาร Hamp อาจคือการถูกกลั่นแกล้งจากเบื้องบน
- กลุ่มนายทหารล้อมจับหนูตัวหนึ่งที่กำลังกินเครื่องในม้า
- ล้อกับการที่ Corporal Hamilton ควบคุมตัวนายทหาร Hamp
- นายทหารคนหนึ่งนำหนูตัวหนึ่งมากลั่นแกล้งเพื่อนทหารที่นอนหลับอยู่ มันกัดใบหูจนเลือดออก
- หลังจากพยานคนที่สอง Captain O’Sullivan
- กลุ่มนายทหารจับหนูขังไว้ในหมวกทหาร (ที่หุ้มด้วยลวดหนาม) แล้วพยายามสืบสวนสอบสวน แต่ไม่เห็นได้ยินพูดอะไร นอกจากคำเออออห่อหมกของผู้ซักถาม
- ล้อกับพฤติกรรมไม่ยี่หร่าอะไรคนไข้ของ Captain O’Sullivan เออออห่อหมกไปเองเสียทุกสิ่งอย่าง
- กลุ่มนายทหารจับหนูขังไว้ในหมวกทหาร (ที่หุ้มด้วยลวดหนาม) แล้วพยายามสืบสวนสอบสวน แต่ไม่เห็นได้ยินพูดอะไร นอกจากคำเออออห่อหมกของผู้ซักถาม
- หลังจากพยานคนที่สาม Lieutenant Jack Webb
- กลุ่มนายทหารพยายามเขวี้ยงขว้างก้อนหิน รุมประชาทัณฑ์ ก่อนเข่นฆาตกรรมเจ้าหนู
- สะท้อนคำตัดสินนายทหาร Hamp หลังจากโดนจับกุมตัว แทบไม่มีโอกาสรอดชีวิต ถูกรุมประณาม เพื่อไม่ให้ใครลอกเลียนแบบตาม
- กลุ่มนายทหารพยายามเขวี้ยงขว้างก้อนหิน รุมประชาทัณฑ์ ก่อนเข่นฆาตกรรมเจ้าหนู
หนังไม่เชิงว่ามีบทเพลงประกอบ ทั้งหมดคือ ‘Diegetic music’ ได้ยินเสียงเป่าฮาร์โมนิก้าโดย Lawrence Cecil Adler (1914-2001) สัญชาติอเมริกัน ซึ่งก็ถูก Blacklist จาก HCUA เลยย้ายมาปักหลักอาศัยอยู่อังกฤษ มีผลงานภาพยนตร์ อาทิ Touchez pas au grisbi (1954), The Hook (1963), King & Country (1964) ฯลฯ
เสียงฮาร์โมนิการ์ของ Adler มีความโหยหวน หลอกหลอน ร่วมสร้างบรรยากาศมืดหมองหม่น ปนความท้อแท้หมดสิ้นหวัง สอดคล้องเข้ากับเสียงหยาดฝน ภาพโคลนเลน สนามเพลาะปกคลุมด้วยความมืดมิด จิตวิญญาณล่องลองออกจากร่างกาย บทเพลงแห่งความตาย โศกนาฎกรรมสุดแสนเลวร้าย
King and Country (1964) นำเสนอเรื่องราวของนายทหารละทอดทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ (Desertion) ในยุคสมัยก่อนไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ล้วนมีความผิด ต้องถูกลงโทษทัณฑ์ นั่นคือการประหารชีวิต! เพราะถือเป็นการทรยศหักหลังต่อประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ … ราชาธิปไตยคือระบอบเผด็จการนะครับ ยุคสมัยก่อนจึงมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เด็ดขาด และไม่สนมนุษยธรรม
มองในแง่มุมหนึ่ง King and Country (1964) คือภาพยนตร์ที่สร้างความตระหนักถึงการเป็นทหาร จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งเบื้องบน ไม่สามารถละทอดทิ้งภาระหน้าที่ โดยเฉพาะการหลบหนีทหาร โทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิต เพราะความผิดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม ผลแพ้-ชนะในสงคราม ความน่าเชื่อถือของกองทัพ รวมถึงต้นแบบอย่างให้ใครอื่นลอกเลียนแบบตาม
แต่มุมมองผู้ชมสมัยใหม่ ทัศนคติของเสรีชน ย่อมเห็นถึงความไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม ไร้ซึ่งมนุษยธรรม พฤติกรรมเห็นแก่ตัว เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ใช้อำนาจในทางมิชอบ นี่ไม่ใช่แค่ใจความต่อต้านสงคราม (Anti-Wars) แต่ผมรู้สึกเหมารวมทั้งระบบ (Anti-Military) เลยด้วยซ้ำ!
สงครามยุคสมัยก่อน บุรุษที่ตัดสินใจอาสาสมัครทหาร ล้วนหลงคำชวนเชื่อ/โฆษณา ‘For King and Country’ ไม่เคยรับล่วงรู้อะไรใดๆ หรือตระเตรียมกาย-ใจต่อสิ่งกำลังจะประสบสบพบเจอ อุดมการณ์ที่เคยเอ่อล้นถูกปลุกตื่นขึ้นทันทีเมื่อเข้าสู่สนามรบ พบเห็นศพผู้เสียชีวิต มิตรสหายถูกเข่นฆ่า ระเบิดกระจุยกระจายต่อหน้าต่อตา ตระหนักได้เมื่อสายว่าฉันมาทำห่าเหวอะไรยังสถานที่แห่งนี้? เสียสละชีพเพื่อชาติและกษัตริย์ มันช่างเพ้อเจ้อไร้สาระทั้งเพ!
อาการ ‘shell shock’ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD)) เพิ่งเริ่มได้การวินิจฉัย พูดกล่าวถึงในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งหนึ่ง (นี่ไม่ได้แปลว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีผู้ป่วย ‘shell shock’ แต่การสงครามในช่วง WW1 มันมีความรุนแรง หายนะจากยุทโธปกรณ์ที่เลวร้ายกว่าสงครามยุคก่อนหน้าหลายเท่าตัว!) สังเกตจากความผิดปกติของทหารที่ได้รับบาดเจ็บหรือกลับจากสงคราม ยังคงแสดงอาการหวาดกลัว วิตกกังวล ไม่สามารถควบคุมตนเอง ร้ายแรงก็อาจเห็นภาพหลอน คลุ้มบ้าคลั่ง ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
มันไม่จำเป็นที่เราจะต้องวินิจฉัยว่านายทหาร Arthur Hamp มีอาการ ‘shell shock’ หรือไม่? นั่นคือเรื่องของจิตแพทย์ หรือใครอยากจะครุ่นคิดก็ตามสบาย แต่เป้าหมายของหนังอย่างที่อธิบายไปว่าพยายามแสดงให้ถึงความไม่ชอบธรรมของคำพิพากษา (ในมุมมองผู้ชมสมัยใหม่) มันเลวร้ายถึงขั้นต้องประหัดประหารชีวิตกันเชียวหรือ? ยุคสมัยนี้ไม่น่าจะทำแบบนั้นได้แล้ว … หรือเปล่า??
สำหรับผกก. Losey ตั้งแต่อพยพย้ายสู่อังกฤษ ก็พยายามสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่สะท้อนประสบการณ์อันเลวร้าย จากการถูกทรยศหักหลัง King and Country (1964) สามารถเปรียบเทียบถึงช่วงเวลาขึ้นศาลไต่สวนจาก HCUA และได้รับคำตัดสินที่ไม่เป็นธรรม Blacklist ทำให้เขามีสภาพตกตายทั้งเป็น ไร้เงิน ไร้งาน หดหู่สิ้นหวัง ใครกันจะไปอดรนทนไหว ไม่ต่างจากวันโลกาวินาศ
I was [in the United States] for about a month and there was no work in theatre, no work in radio, no work in education or advertising, and none in films, in anything. For one brief moment, I was going to do the Arthur Miller play The Crucible. Then they got scared because I had been named. So after a month of finding that there was no possible way in which I could make a living in this country, I left. I didn’t come back for twelve years…. I didn’t stay away for reasons of fear, it was just that I didn’t have any money. I didn’t have any work.
Josep Losey
แม้การถูก Hollywood Blacklist จะกลายเป็นปม ‘Trauma’ ฝังใจไม่รู้ลืมให้ผกก. Losey แต่ก็ปลุกตื่นให้เขาหวนกลับสู่โลกความเป็นจริง เลิกลุ่มหลงในเงินๆทองๆ สิ่งข้าวของ ปัจจัยภายนอก หรือรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่มี … ถ้าไม่เพราะต้องอพยพหลบหนีภัยสู่เกาะอังกฤษ ผกก. Losey อาจไม่ได้ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ พัฒนาสู่ศิลปิน (auteur) และกลายเป็นหนึ่งในโคตรผู้กำกับแห่ง British New Wave
Without it (ฺBlacklist) I would have three Cadillacs, two swimming pools and millions of dollars, and I’d be dead. It was terrifying, it was disgusting, but you can get trapped by money and complacency. A good shaking up never did anyone any harm.
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลหนังเมือง Venice เสียงตอบรับถือว่าดีเยี่ยม สามารถคว้ารางวัล Volpi Cup for Actor (Tom Courtenay) นอกจากนี้ช่วงปลายปียังได้เข้าชิง BAFTA Award อีกสี่สาขา
- Best British Film พ่ายให้กับ Dr. Strangelove (1964)
- Best British Actor (Tom Courtenay)
- Best British Art Direction, Black-and-White
- Best British Cinematography, Black-and-White
หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง เพียงบอกว่างบประมาณต่ำกว่า £100,000 แต่ด้วยไม่เป็นกระแสนิยม จึงไม่สามารถคืนทุนหรือทำกำไร, ปัจจุบันได้รับการบูรณะ คุณภาพ 2K โดย British Film Institute (BFI) แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 แต่สิทธิ์จัดจำหน่าย Blu-Ray/DVD ตกเป็นของค่าย VCI Video
ส่วนตัวมีความชื่นชอบ King and Country (1964) อย่างมากๆกว่า Paths of Glory (1957) เพราะหลายสิ่งอย่างมันจี้แทงใจดำ สั่นสะท้านทรวงใน สร้างความตระหนักถึงความเหี้ยมโหดร้ายของสงคราม ไม่ใช่แค่ศัตรูที่มารุกราน ยังความคอรัปชั่นภายใน ไร้ซึ่งมนุษยธรรม … แม้ผมพยายามอธิบายความสองแง่สองง่ามของหนัง แต่เชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะพบเห็นสาสน์ Anti-Wars และ Anti-Military อย่างชัดเจนกว่า
ด้วยความสองแง่สองง่ามของหนัง จึงเหมาะสำหรับบรรดานักเรียนนายร้อย ทหารเกณฑ์ ผู้บัญชาการ เปิดรับชมในกองฝึก เพื่อให้เกิดข้อคำถามถึงการมีชีวิต vs. เสียสละเพื่อประเทศชาติ, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา อะไรคือเส้นแบ่งบางๆระหว่างอาการ Cold Feet vs. Shell Shock, และโดยเฉพาะทนายความ ผู้พิพากษา มันต้องลงโทษรุนแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?
จัดเรต 18+ จากบรรยากาศตึงเครียด ความรุนแรง ทัศนคติเห็นต่าง ต่อต้านสงคราม (Anti-Wars)
Leave a Reply