The Human Pyramid

The Human Pyramid (1961) French : Jean Rouch ♥♥♥♥

หลังจากหลายๆประเทศในแอฟริกาได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ หลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ผู้กำกับ Jean Rouch ทำการทดลองให้กลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน พวกเขาจะสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ยินยอมรับกันและกันได้หรือไม่?

การทดลองดังกล่าวของผกก. Jean Rouch ถือว่ามีความน่าสนใจอย่างมากๆ แต่วิธีการนำเสนอที่ไม่เชิงสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Drama หรือ Docu-Fiction) อาจสร้างความรู้สึกขัดย้อนแย้ง (Controversial) ให้ใครหลายคน

นั่นเพราะวิธีการของผกก. Rouch เริ่มต้นอ้างว่าให้อิสระนักแสดงในการดั้นสด (Improvised) โดยไม่เข้ามายุ่งย่ามก้าวก่ายใดๆ แต่ทิศทาง มุมกล้อง องค์ประกอบต่างๆ รวมถึงลีลาตัดต่อ และพากย์เสียงภายหลัง (Post-Synchronization) มันสังเกตได้ชัดเจนว่ามีการวางแผน ปรุงแต่ง ผ่านการครุ่นคิดมาโดยละเอียด … มันฟังดูไม่ขัดย้อนแย้งกันหรอกหรือ?

I want the racists to talk like racists. For a film on robbery, I’d ask someone to steal. But even if it’s a fake theft, I’d be an accomplice, even if I’m filming.

Jean Rouch

ระหว่างรับชมผมเองก็รู้สึกอึดอัด กระอักกระอ่วน เพราะรับรู้สึกได้ว่าทุกอย่างมันเฟค จอมปลอม หลอกหลวง คือถ้าตอนต้นเรื่องผกก. Rouch ไม่ยืนกรานว่ามอบอิสรภาพให้นักแสดงในการดั้นสด ทำออกมาเป็นภาพยนตร์ ‘fictional’ แบบทั่วๆไป มันคงไม่เกิดข้อขัดแย้งดังกล่าวให้ถกเถียงจนวุ่นวายใจ

แต่อย่างไรก็ดี The Human Pyramid (1961) เป็นสารคดี/ภาพยนตร์ที่ชักชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดค้นหาความเป็นไปได้ถึงวิวัฒนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน ซึ่งเมื่ออคติชาติพันธุ์เลือนลางจางหาย สุดท้ายแล้วพวกเขาจะสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งเดียวกันได้หรือไม่?


Jean Rouch (1917-2004) นักมานุษยวิทยา (Anthropologist) และผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Paris บิดาเป็นนักสำรวจ ทหารเรือ(ในช่วง WW1) พบเจอว่าที่ภรรยาระหว่างภารกิจขั้วโลกใต้ Antarctica, สำหรับบุตรชาย โตขึ้นร่ำเรียนวิศวกรรม École nationale des ponts et chaussées (National School of Bridges and Roads) จากนั้นได้รับมอบหมายให้ไปควบคุมงานก่อสร้างถนนหนทางยังประเทศ Niger ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่า มีแรงงานหลายสิบเสียชีวิต พบเห็นพิธีกรรมไล่ผีสาง ปัดเป่าความชั่วร้าย นั่นทำให้เขาเกิดความสนใจในชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnography)

หลังสงครามโลกครั้งที่สองเดินทางกลับฝรั่งเศส เข้าคอร์สเกี่ยวกับมานุษยวิทยา (Anthropologist) รวมถึงการถ่ายภาพยนตร์ ก่อนหวนกลับสู่ทวีปแอฟริกา ถ่ายทำสารคดีสั้นเรื่องแรกๆ Au pays des mages noirs (1947) แปลว่า In the Land of the Black Magi ได้รับการยกย่องเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ “father of Nigerien cinema”

ผลงานในยุคแรกๆของผกก. Rouch เพียงการบันทึกภาพวิถีชีวิต ผู้คน สภาพสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม นำเสนอออกมาในลักษณะ Ethnographic Film อาทิ In the Land of the Black Magi (1947), Initiation into Possession Dance (1949), จากนั้นจึงเริ่มครุ่นคิดมองหาแนวคิดอะไรใหม่ๆ ทำการผสมผสานเรื่องราวปรุงแต่งสร้างขึ้น Docu+Drama พัฒนากลายมาเป็น Ethno+Fiction (ส่วนผสมของ Ethnographic+Fiction) เริ่มต้นกับ The Mad Masters (1955), Mon, un noir (1958), La pyramide humaine (1961) ฯ

ช่วงระหว่างกันยายน ค.ศ. 1958 จนถึงตุลาคม ค.ศ. 1960 มีอาณานิคมฝรั่งเศส (French Colonial) ในทวีปแอฟริกาจำนวนถึง 15 ประเทศ ได้รับการปลดแอก ประกาศอิสรภาพ นั่นทำให้ผกก. Rouch เกิดความสนใจเดินทางสู่ Côte d’Ivoire (Ivory Coast) ตั้งใจจะบันทึกภาพปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนขาวกับชาวแอฟริกัน ณ โรงเรียนมัธยมปลายที่ Abidjan ก่อนค้นพบความผิดหวัง เพราะมันไม่เคยมีอะไรบังเกิดขึ้น “relations between black and white students virtually non-existent”

ด้วยเหตุนี้ผกก. Rouch จึงครุ่นคิดทำการทดลอง โดยนำเอาสองกลุ่มนักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันจำนวนสิบคน (ฝั่งละห้าคน) มาอาศัยอยู่ร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ให้อิสระพวกเขาการครุ่นคิด ดั้นสด สร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้น “Breaking the Ice” สารคดี/ภาพยนตร์เรื่องนี้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของทวีปแอฟริกัน

สำหรับชื่อสารคดี La Pyramide humaine แปลตรงตัว The Human Pyramid มาจากชื่อหนังสือ Les Dessous d’une vie ou la Pyramide humaine (1926) แปลว่า An Underbelly of Life or A Human Pyramid รวบรวมบทกวีของ Paul Éluard (1895-1952) สัญชาติฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว Surrealism และได้รับการยกย่องย่อง “The Poet of Freedom”

As a child I opened my arms to purity. ‘Twas but a flutter in my eternal skies. A loving heart beating in a subdued chest. In love with love I could not fall. The Light blinds me yet I save enough to watch the night nightly, all nights. All virgins differ. I only dream of one. Black-smocked she sits in the class before me. When she turns to ask me for an answer her innocent eyes so confuse me that in pity she slips her arms around my neck. Then she leaves and goes aboard a ship. We’re almost strangers. So young is she her kiss does not surprise me. When she is ill I hold her hand in mine til death, til I awake. I race to meet her, fearing to arrive after other thoughts have stolen me from myself. The world nearly ended and we didn’t know our love. Slowly and caressingly she searches for my lips. That night I thought to bring her to the day. ‘Tis ever the same vow, same youth, same eyes, same arms around my neck, same caress and revelation, but never the same woman. The cards say I shall meet her but until I know her, let us love Love.


ถ่ายภาพโดย Louis Miaille, Roger Morillière และ Jean Rouch ใช้กล้องขนาดเบา Kodachrome ฟีล์ม 16mm แลปสี Eastmancolor ที่สามารถแบกขึ้นบ่า เดินไปเดินมา ‘unchained camera’ ไม่มีอุปกรณ์บันทึกเสียง เมื่อได้ฟุตเทจเพียงพอเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ (Post-Production) ถึงให้นักแสดงพากย์เสียงทับ พร้อมกับบันทึกเสียงเพลงประกอบ (Post-Synchronization)

ถึงผกก. Rouch จะกล่าวอ้างว่าไม่ได้ครุ่นคิด สร้างเรื่องราวใดๆขึ้นมา ทั้งหมดเกิดจากการให้อิสระกลุ่มนักแสดงสมัครเล่นที่คัดเลือกมาอาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เวลาถ่ายทำจริงนั้นกลับพบเห็นทิศทาง มุมกล้อง จัดวางองค์ประกอบภาพ (ช่วงแรกๆมีการแบ่งแยกฝั่งนักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันออกจากกัน แต่พอพวกเราเริ่มสานสัมพันธ์จะสลับตำแหน่งที่นั่งโดยไม่แบ่งแยกสีผิว/ชาติพันธุ์) โดยเฉพาะการโคลสอัพใบหน้าตัวละคร ล้วนมีการวางแผนเป็นเรื่องเป็นราว เป็นมืออาชีพ บทพูดสนทนาก็เฉกเช่นเดียวกัน!

คนที่มีความเข้าใจในศาสตร์สารคดี น่าจะสังเกตเห็นความผิดปกติดังกล่าวไม่ยากเย็น แต่สำหรับผู้ชมทั่วไปอาจเพลิดเพลินกับเรื่องราวจนหลงลืมว่านี่ควรเป็น ‘สารคดี’ มันจัดวางองค์ประกอบ ถ่ายมุมกล้องแบบนั้นนี้ได้อย่างไรกัน?? ลักษณะดังกล่าวมีคำเรียก Docu+Fiction หรือ Docu+Drama หรือจะ Ethno+Fiction เป็นการผสมผสานการนำเสนอสไตล์สารคดี+ปรุงแต่งสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่ … ในปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าสไตล์ภาพยนตร์ลักษณะนี้ควรเรียกสารคดีจริงๆนะหรือ??

สำหรับสถานที่ถ่ายทำมีทั้งกรุง Paris, France พบเห็นประตูชัย Arc de Triomphe บนถนน Champs-Elysees และโรงเรียนมัธยมปลาย Lycée Français ณ Abidjan, Côte d’Ivoire (Ivory Coast)

แซว: ผมจับจ้องภาพช็อตนี้อยู่นาน ทำไมสถานที่พื้นหลังดูมักคุ้นยิ่งนัก ก่อนพบว่าถนนเส้นนี้มีคำเรียก “Champs-Elysées-shot New Wave” เป็นบริเวณที่บรรดาผู้กำกับรุ่น French New Wave ชื่นชอบถ่ายกันจัง เหมือนจะเริ่มต้นจาก Breathless (1960) ระหว่างสุดสวย Jean Seberg กำลังขายหนังสือพิมพ์ New York Herald Tribune

ตัดต่อโดย Marie-Josèphe Yoyotte (Love in Jamaica, The 400 Blows, Testament of Orpheus, Léon Morin, Priest) และ Geneviève Bastid

ในช่วงแรกๆที่ยังมีการแบ่งแยกกลุ่มนักเรียนคนขาว vs. ชาวแอฟริกัน การดำเนินเรื่องจะตัดสลับทั้งสองฟากฝั่งไปมา จนกระทั่งต่างฝ่ายต่างเริ่มเปิดใจ พูดคุย แลกเปลี่ยนกิจกรรม สานสัมพันธ์ จึงเกิดการรวมตัวผสมผสาน และเมื่ออ่านบทกวี La Pyramide humaine ครึ่งหลังนำเข้าสู่เรื่องราวความรักระหว่างชาติพันธุ์ อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ใช้กำลังรุนแรง และสมมติการกระทำอัตวินิบาต

  • อารัมบท, ผกก. Rouch อธิบายการทดลองของสารคดี คัดเลือกนักเรียนสองกลุ่มมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
  • เริ่มต้นสานสัมพันธ์
    • ช่วงแรกๆนักเรียนทั้งสองกลุ่มต่างแยกกันอยู่ ทำกิจกรรมฟากฝั่งของตนเอง ซุบซิบนินทาฟากฝั่งตรงข้าม
    • กระทั่งวันหนึ่งหลังคาบเรียน ฟากฝั่งคนขาวชักชวนเพื่อนผิวสีเข้าร่วมกิจกรรม เล่นกีตาร์ เตะฟุตบอล ซุบซิบนินทา
    • ความขัดแย้งบังเกิดขึ้นจากการที่ใครคนหนึ่งเรียกอีกฝ่ายด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ (เกี่ยวกับคำเรียกสรรพนาม Ju, Tu) จึงมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรับความเข้าใจ
    • ฟากฝั่งชาวแอฟริกันผิวสี ชักชวนนักเรียนคนขาวเข้าร่วมงานเต้นรำยามค่ำคืน
  • เรื่องราวความรักต่างชาติพันธุ์
    • วันหนึ่งในห้องเรียน ครูให้อ่านบทกวี La Pyramide humaine
    • นั่นทำให้ใครต่อใครตกหลุมรัก Nadine
      • เพื่อนผิวสีปั่นจักรยานเล่นด้วยกัน
      • เพื่อนคนขาวพาไปปิกนิคบนเรือร้าง
      • เพื่อนผิวสีอีกคนพาล่องเรือข้ามแม่น้ำ
      • เพื่อนคนขาวนักดนตรี พาไปยังอาคารร้าง สถานที่หลบซ่อนของตนเอง
    • แม้ว่า Nadine จะเห็นทุกคนเป็นเหมือนเพื่อน แต่หนุ่มๆไม่ว่าจะสีผิวอะไรต่างบังเกิดความหึงหวง ต้องการเอาชนะ จะได้ครองคู่แต่งงาน
    • เพื่อนทั้งคนขาวและชาวแอฟริกัน ต่างพยายามพูดเตือนสติ Nadine ให้เลือกใครสักคน แต่เธอกลับไม่เอาใครสักคน
  • โศกนาฎกรรม(สมมติ)
    • ในห้องเรียน เพื่อนๆต่างถกเถียงถึงอิสรภาพ/การปฏิวัติในแอฟริกา
    • รับชมฟุตเทจภาพยนตร์ร่วมกัน
    • ผองเพื่อนทั้งหมดมาเที่ยวเล่นยังบนเรือร้าง แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งตัดสินใจฆ่าตัวตายประชดรัก
    • เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทุกคนตกอยู่ในความหดหู่ สิ้นหวัง Nadine เลยตัดสินใจเดินทางกลับฝรั่งเศส
  • ปัจฉิมบท, จบลงด้วยคำบรรยายของผกก. Rouch

หลายคนอาจรู้สึกว่ามันเป็นความพิลึกพิลั่น เหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเป็นการทดลอง ปรุงแต่งสรรค์สร้างขึ้น แล้วไฉนยังต้องพูดบอกสมมติการกระทำอัตวินิบาต? เตือนสติผู้ชมที่อาจหลงลืมไปว่านี่สารคดี Docu-Fiction? ความตั้งใจของผกก. Rouch ดังคำบรรยายช่วงท้าย

No matter whether the story is plausible, no matter the camera or the mic, or the director or whether, a film was born or never existed. More important is what happened around the camera. Something did occor in the decors and childish, poetic loves and fake catastrophes.

Jean Rouch

ในส่วนของ Post-Production มีการบันทึกเสียงพากย์ เพลงประกอบ และเสียงประกอบ (Sound Effect) ไปพร้อมๆกันยังสตูดิโอที่กรุง Paris ด้วยข้อจำกัดของยุคสมัยนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้เสียงพูดตรงกับปากขยับ แต่นั่นคือความจงใจของผกก. Rouch เพื่อสร้างบรรยากาศ ‘dream-like’ ราวกับเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในความฝัน จินตนาการล่องลอย จับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่

สำหรับเพลงประกอบไม่มีเครดิต ก็มีทั้งการผิวปาก ร้อง-เล่นดนตรีสด (ระหว่างบันทึกเสียง) และเปิดจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ทั้งหมดถือเป็น ‘diegetic music’ ต้องได้ยินจากแหล่งกำเนิด (ยกเว้นระหว่าง Opening & Closing Credit)


ในอดีตคนขาวก็อยู่ส่วนคนขาว คนดำก็อยู่ส่วนคนดำ ความแตกต่างทางสีผิวทำให้เกิดการแบ่งแยก ความขัดแย้ง หวาดกลัวการมีปฏิสัมพันธ์ พวกคนขาวที่มีความเฉลียวฉลาด/เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงใช้วิธียึดครอบครอง ออกล่าอาณานิคม (Colonialism) สร้างสถานะนาย-บ่าว ข้าทาส คนรับใช้ ยกยอปอปั้นตนเองว่ามีความยิ่งใหญ่ สูงส่ง และปลูกฝังทัศนคติดังกล่าวสืบทอดส่งต่อลูกหลานเหลนโหลน ให้ดูถูกเหยียดหยามบุคคลชนชั้นต่ำต้อยด้อยค่ากว่าตน

สงครามโลกครั้งที่สองถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่ทำให้ความเจริญแพร่กระจายสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วโลก เมืองขยับขยาย คนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาระดับสูง ทำให้แนวคิดอาณานิคม (Colonialism) ค่อยๆเสื่อมถดถอย จนกระทั่งถูกล้มล้าง หลายๆประเทศสามารถปลดแอก ประกาศอิสรภาพ ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความเสมอภาคเท่าเทียม

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแม้บังเกิดขึ้นแล้วในหลายๆประเทศ แต่อคติต่อชาติพันธุ์ ความทรงจำต่อลัทธิอาณานิคม ยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ คนขาว-คนดำจึงยังคงแยกกันอยู่ ไม่ต้องสุงสิง คบค้าสมาคม ปรับตัวเข้าหาได้โดยทันที!

แม้เหตุการณ์ทั้งหมดในสารคดีเรื่องนี้จะเป็นการปรุงแต่ง สร้างขึ้นมา แต่ความตั้งใจของผกก. Rouch ต้องการให้เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคนขาวและชาวแอฟริกัน ทำการทดลองให้นักเรียนสองชาติพันธุ์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน จากเคยเหินห่าง หมางเมิง พอเริ่มเปิดใจกว้าง มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็น ย่อมสามารถยินยอมรับ ปรับตัว กลายเป็นเพื่อนสนิทสนม หลงลืมความขัดแย้งของบรรพบุรุษที่เคยสะสมมา

และที่สุดของวิวัฒนาการความสัมพันธ์ คือรักไร้พรมแดน ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างสีผิว เชื้อชาติ นั่นคือคนขาวตกหลุมรักสาวผิวสี …vice versa… ชาวแอฟริกันตกหลุมรักหนุ่มฝรั่งเศส อะไรก็สามารถบังเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น!

แม้ท้ายที่สุดอคติระหว่างชาติพันธุ์จะหมดสูญสิ้นไป เรื่องราวรักๆใคร่ๆของคนสอง-สาม-สี่ ย่อมสร้างความอิจฉาริษยา กลับนำไปสู่ความขัดแย้ง ใช้กำลังรุนแรง และอาจถึงขั้นโศกนาฎกรรม … หลายคนอาจมองว่าไคลน์แม็กซ์หลุดประเด็นไปไกล แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้บังเกิดขึ้นได้เมื่อวิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ดำเนินไปถึงจุดที่ไม่มีใครคำนึงถึงสีผิวของกันและกัน นั่นถือเป็นอุดมคติของความเสมอภาคเท่าเทียม

For those ten people, racism no longer means anything. The movie end but the story is not over.

Jean Rouch

ชื่อสารคดี The Human Pyramid อาจฟังดูสับสน ขัดย้อนแย้ง เพราะลักษณะของพีระมิดมักใช้ในการแบ่งแยกสถานะ ชนชั้น คล้ายๆห่วงโซ่อาหาร ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนขาวกับชาวแอฟริกันในยุคอาณานิคม (คนขาวอยู่เบื้องบน คนดำอยู่เบื้องล่าง) ไม่ได้มีความสอดคล้องเข้ากับวัตถุประสงค์ผู้สร้าง

แต่เท่าที่ลองพยายามสอบถาม AI มองว่า ‘Human Pyramid’ คือสัญลักษณ์ความสมัครสมาน สามัคคี เพราะบุคคลที่เป็นฐานเบื้องล่างต้องมีความแข็งแกร่ง เสียสละตนเองเพื่อให้พวกพ้องสามารถปีนป่าย ต่อตัวให้กลายเป็นรูปทรงพีระมิดที่มีความงดงาม … ตีความแบบนี้ก็พอฟังขึ้นระดับหนึ่ง สอดคล้องเข้ากับความพยายามทำให้นักเรียนคนขาวและชาวแอฟริกันบังเกิดมิตรภาพต่อกัน แต่ผมยังรู้สึกว่าเป็นชื่อที่ไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่


แม้สารคดีจะได้เสียงตอบรับอย่างดีในฝรั่งเศส (เป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดของผกก. Éric Rohmer) แต่กลับถูกทางการสั่งห้ามนำออกฉายในแทบทุก(อดีต)ประเทศอาณานิคมแอฟริกันที่พูดภาษาฝรั่งเศส (มีคำเรียก Francophone Africa) เพราะหวาดกลัวความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชาติพันธุ์ (Miscegenation) จะลุกลาม บานปลาย นั่นทำให้ความตั้งใจของผกก. Rouch แทบสูญสลาย

ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ 2K เมื่อปี ค.ศ. 2017 โดย Centre National du Cinema และ Les Films de la Pleidade สามารถหาซื้อ DVD (ไม่มี Blu-Ray) คอลเลคชั่น Eight Films by Jean Rouch ของค่าย Icarus Films ประกอบด้วย

  • Mammy Water (1955)
  • The Mad Masters (1956)
  • I, a Negro (1958)
  • The Human Pyramid (1961)
  • The Punishment (1962
  • The Lion Hunters (1965)
  • Jaguar (1967)
  • Little by Little (1969)

แม้ผลงานของผกก. Rouch จะมีความน่าสนใจอย่างมากๆ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นต่างให้กับผู้ชมไม่น้อย, ผมเองก็เฉกเช่นเดียวกัน อยากจะชื่นชอบ แต่วิธีการนำเสนอสร้างความอึดอัด กระอักกระอ่วน เอาว่าชอบครึ่ง-ไม่ชอบครึ่ง มันช่างสมกับความกึ่งสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Drama หรือ Docu-Fiction)

สำหรับคนที่ยังรู้สึกอคติต่อสารคดีเรื่องนี้ ไม่ชื่นชอบวิธีการนำเสนอ แนะนำให้ลองหา Chronique d’un été (1961) แปลว่า Chronicle of a Summer ผลงานชิ้นเอกของผกก. Rouch (ร่วมกำกับ Edgar Morin) ก็อาจสามารถทำความเข้าใจอะไรๆเพิ่มขึ้นได้อีกพอสมควร

จัดเรต 13+ กับเรื่องราวรักๆใคร่ๆ ฆ่าตัวตายเพราะรัก

คำโปรย | The Human Pyramid กึ่งสารคดี กึ่งเรื่องแต่ง (Docu-Fiction) นำเสนอวิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างคนขาว-ชาวแอฟริกัน ที่แม้เส้นแบ่งชาติพันธุ์เจือจางลง แต่ยังคงมีบางสิ่งทำให้มนุษย์เกิดความขัดแย้ง แยกจากกัน 
คุณภาพ | พีมิ
ส่วนตัว | ชอบครึ่งไม่ชอบครึ่ง

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: