La Région Centrale (1971) : Michael Snow ♥♥♥♥
นำกล้องติดตั้งบนแขนจักรกล สามารถเคลื่อนหมุนรอบทุกทิศทาง ตั้งไว้กลางทิวทัศน์ธรรมชาติไร้ผู้คน แล้วทดลองบันทึกภาพความยาว 3 ชั่วโมงอาจดูน่าเบื่อหน่าย แต่บางคนคงเพลิดเพลินกับความเป็นไปได้ไม่รู้จบ
ทีแรกผมไม่ได้ตั้งใจจะเขียนผลงานอื่นของผกก. Snow แต่ก็ด้อมๆมองๆ La Région Centrale (1971) อ่านพบเจอว่าถ่ายทำโดยใช้เพียงแขนจักรกล ตั้งโปรแกรมให้สามารถขยับเคลื่อนไหว รู้สึกว่าน่าสนใจเลยลองหามารับชม
นั่งดูไปประมาณห้านาทีพบเห็นแต่ภาพพื้นแผ่นดินก็แทบหมดสิ้นความสนใจ เลยทดลองเร่งความเร็ว x2, x3 ผ่านไปสักพักเมื่อพบเห็นทิวทัศน์ที่ค่อยๆเปิดเผยออกมา ก็เริ่มเกิดความฉงนสงสัย อดรนทนต่อไปเรื่อยๆทำให้ตระหนักถึงการทดลอง (Experimental) พยายามนำเสนอทุกความเป็นไปได้ของการเคลื่อนหมุนกล้อง Panning, Tilting, Whiping, เร่ง-หน่วงความเร็ว, โยก-เหวี่ยงซ้าย-ขวา บน-ล่าง เฉียงขึ้น-ลง ผสมผสานทั้งสามแกน x-y-z
เมื่อผมเริ่มเข้าใจวิธีการของหนัง พยายามนำเสนอความเป็นไปได้ไม่รู้จบของการเคลื่อนหมุนกล้อง โดยไม่รู้ตัวทำให้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ อิทธิพลต่อวงการภาพยนตร์ ว่ากันตามตรงถือเป็นผลงานยิ่งใหญ่เทียบเท่า Man with a Movie Camera (1929) แต่เชื่อว่าผู้ชมทั่วไปคงไม่มีโอกาสเข้าถึง
เมื่อตอน Wavelength (1967) ผมเคยกล่าวถึงแนวหนังโครงสร้าง ‘structural film’ คือการสำรวจความเป็นไปได้ ท้าทายขีดจำกัดสื่อภาพยนตร์ ด้วยเทคนิค วิธีการแตกต่างจากเรื่องเล่าปกติทั่วไป อาทิ ตั้งกล้องเพียงตำแหน่งเดียว (Fixed Position) องค์ประกอบภาพเดียว (Fixed Framing) ฉายวนซ้ำไปซ้ำมา (Repetition) และใช้ระยะเวลายาวนาน (Minimal Editing)
La Région Centrale (1971) หรือ The Central Region ถือเป็นโคตรหนังทดลองอีกเรื่องสามารถจัดเข้าพวก ‘structural film’ เพราะทำให้ผู้ชมสามารถตระหนักถึง ’โครงสร้าง’ วิธีการดำเนินเรื่องที่ชัดเจนตั้งแต่แรก จากนั้นใช้ประสาทสัมผัส ความช่างสังเกตรายละเอียด นำมาขบครุ่นคิดวิเคราะห์ เพื่อเปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ประสบการณ์ไม่ซ้ำแบบใคร “cinema of the mind rather than the eye”.
ปล. บางคนอาจสงสัยว่า La Région Centrale (1971) กล้องเคลื่อนหมุนไปรอบๆทิศทางไม่ใช่หรือ? แต่อย่าลืมว่าตำแหน่งของกล้องยังคง ‘Fixed Position’ อยู่ที่เดิมตลอดระยะเวลาสามชั่วโมง ไม่ได้มีการขยับเคลื่อนย้ายไปไหน
Michael James Aleck Snow (1928-2023) ศิลปิน/ผู้กำกับภาพยนตร์ Avant-Garde สัญชาติ Canadian เกิดที่ Toronto, Ontario บิดาเป็นวิศวกรโยธา ประสบอุบัติเหตุทำให้ตาบอดตอนบุตรชายอายุเพียง 5 ขวบ นั่นทำให้เขามีความสนใจเรื่องเสียง เล่นดนตรี Jazz โตขึ้นยังค้นพบความชื่นชอบวาดรูป แกะสลัก เลยเข้าศึกษาศิลปะ Upper Canada College ตามด้วย Ontario College of Art (ปัจจุบันคือ Ontario College of Art & Design University), จบออกมาทำงานบริษัทออกแบบ ‘graphic design’ แต่พบว่านั่นไม่สิ่งที่อยากทำสักเท่าไหร่ จนกระทั่งมีโอกาสออกท่องเที่ยวยุโรป คลั่งไคล้ผลงานของ Paul Klee กลับมาได้งานบริษัทอนิเมชั่น Graphic Associates กำกับหนังสั้นทดลองเรื่องแรก A to Z (1956)
My paintings are done by a filmmaker, sculpture by a musician, films by a painter, music by a filmmaker, paintings by a sculptor, sculpture by a filmmaker, films by a musician, music by a sculptor … sometimes they all work together. Also, many of my paintings have been done by a painter, sculpture by a sculptor, films by a filmmaker, music by a musician. There is a tendency towards purity in all of these media as separate endeavours.
Michael Snow
นอกจากศิลปิน จิตรกร แกะสลัก และนักดนตรี Snow ยังต้องการสำรวจความเป็นไปได้ของสื่อภาพยนตร์ ไม่ใช่ในแง่ของการเล่าเรื่อง (Storytelling) แต่คือการผสมผสานระหว่างภาพและเสียง เพื่อให้เกิดปรากฎการณ์บางอย่าง ท้าทายขอบเขตจำกัด ค้นพบรูปแบบใหม่ของสิ่งที่ต้องการนำเสนอออกมา
I’m interested in film as a medium, and in pushing the medium as far as it can go. I’m not interested in telling stories or in creating characters or plotlines. I’m interested in exploring the formal qualities of the medium – the way that light and sound can create meaning and emotion in the absence of narrative. For me, experimental film is a way of exploring the boundaries of cinema and discovering new forms of expression.
I wanted to create something that would make the viewer think about their own perceptions and the nature of the medium itself.
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964, ผกก. Snow มีความครุ่นคิดสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวทดลอง เกี่ยวกับการขยับเคลื่อนกล้องในทุกๆทิศทาง ทุกความเป็นไปได้ “in every direction and on every plane of a speare”. มีอยู่สามผลงานเด่นๆที่ตอบสนองแนวความคิดดังกล่าว
- Wavelength (1967)
- กล้องค่อยๆเคลื่อนเข้าหา (Zooming) ถ่ายจากภาพระยะไกลสู่ระยะประชิดใกล้
- Standard Time (1967)
- กล้องแพนนิ่ง 360 องศาภายในอพาร์ทเม้นท์ เดี๋ยวช้า-เร็ว เดี๋ยวเปลี่ยนทิศทาง เดี๋ยวขึ้น-ลง
- <—> หรือ Back and Forth (1969)
- กล้องทำการแพนนิ่งสลับไปมาซ้าย-ขวา บน-ล่าง ทั้งจากภายนอก-ในห้อง
เป้าหมายสูงสุดของผกก. Snow ต้องการสร้าง’อิสรภาพ’ให้กับการถ่ายภาพ จึงพยายามศึกษาค้นคว้า มองหาอุปกรณ์ เครื่องยนต์กลไก สิ่งที่สามารถขยับเคลื่อนไหวโดยไม่มีมนุษย์ควบคุม และสามารถติดตั้งกล้อง บันทึกภาพจากทุกทิศทาง 360 องศา
ได้รับทุนสนับสนุนจาก Canadian Film Development Corporation ร่วมกับ Famous Players of Canada มอบเงิน $28,000 เหรียญ สำหรับพัฒนาแขนจักรกล (Robotic Arm) ตั้งชื่อว่า Camera Activating Machine (CAM) สามารถติดตั้งกล้อง Arriflex 16mm และขยับเคลื่อนหมุนรอบได้ทุกทิศทาง … ประดิษฐ์โดย Pierre Abbeloos วิศวกรของ National Film Board of Canada
สำหรับสถานที่สำหรับติดตั้งกล้องถ่ายทำนั้น ผกก. Snow ไม่ต้องการบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน เดินไปเดินมา พยายามสรรหาทิวทัศน์ธรรมชาติ ภูเขา ลำเนาไพร มีความงดงาม ลึกลับ รับชมแล้วเพลิดเพลินสายตา ก่อนตัดสินใจเลือกบนยอดเขา Canadian Shield อยู่ห่างทางตอนเหนือ Sept-Îles, Quebec ต้องใช้เฮลิคอปเตอร์เดินทางประมาณ 160 กิโลเมตร (100 ไมล์) ปักหลักตั้งแคมป์ระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน ค.ศ. 1970
I wanted to make the movie more sort of “existential.” I wanted the spectator to be the sole center of all these circles. It had to be a place where you can see a long way and you can’t see anything manmade. It has something to do with a certain kind of singleness or remoteness that each spectator can have by seeing the film. And also, I think I wanted to say that wildness should be left as wild as possible, as long as there is some left.
Michael Snow
สมาชิกที่ร่วมออกเดินทางสู่ยอดเขา Canadian Shield ประกอบด้วย ผกก. Snow, แฟนสาว Joyce Wieland (รับหน้าที่เป็นแม่ครัว), วิศวกรผู้ออกแบบแขนจักรกล Pierre Abbeloos และนักเทคนิค Bernard Goussard (ดูแลในส่วน Camera Operator) เวลาถ่ายทำพวกเขาจะหลบซ่อนอยู่ตามโขดหิน ตั้งค่ายพักแรมอยู่ห่างไปไม่ไกลมากนัก
ตำแหน่งที่ตั้งกล้อง สังเกตว่าอยู่ไม่ห่างไกลจากบริเวณหน้าผา ทำให้พบเห็นทะเลสาปเบื้องล่าง เทือกเขาห่างไกล แต่บริเวณนั้นก็แทบไม่มีต้นไม้ขวางหูขวางตา เพียงโขดหิน ต้นหญ้า ผืนดินและท้องฟากฟ้า
It was at the edge of a slope. I tried to find a place where I could get various things to happen, one which, when you go around, would be wider here and lower there; to be able to play sky against grounds.
ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีสมัยนั้น การควบคุมแขนกลให้ขยับเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติจึงมีความยุ่งยากพอสมควร Abbeloos ออกแบบไว้สองวิธีการ
- พัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษา FORTRAN อ่านข้อมูลจากเครื่องเล่นเทป (Sound Tapes) ซึ่งผ่านการโค้ดดิ้งให้สามารถขยับเคลื่อนไหวตามทิศทางกำหนดไว้
- ผกก. Snow ยืนกรานว่าไม่ได้มีการใช้สมการคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยเหลือประการใด
- (ในกรณีฉุกเฉิน) สามารถใช้รีโมทคอลโทรล (Remote Control) มีทั้งหมด 4 คำสั่ง เคลื่อนแนวนอน (Horizontal) แนวดิ่ง (Vertical) หมุนวน (Rotation) ซูมมิ่ง (Zooming) ทั้งยังสามารถกำหนดความเร็ว (ช้า-กลาง-เร็ว) รวมถึงออกหลายๆคำสั่งได้พร้อมกัน
หนังได้ฟุตเทจถ่ายทำทั้งหมด 6 ชั่วโมง นำกลับมา Post-Production ยัง Nova Scotia College of Art and Design ด้วยการตัดออกครึ่งหนึ่ง หลงเหลือจำนวน 17 คัท (เฉลี่ยคัทละ 11-12 นาที) ซึ่งยังสามารถแบ่งออกประมาณ 10 ส่วน (Segment) โดยใช้ตัวอักษร X คาดพื้นดำ คั่นแบ่งแยกลีลาการเคลื่อนหมุนกล้อง
Those crosses sort of bracket each suite of movement. … Different possibilities and different speeds. You may have the same movement happening again but at a different speed. Or you may have a combination of, say, just the vertical with the rotation but at the different set of speeds. So it’s like a variation system thing, but it doesn’t progress by any kind of additive method. But it builds. It gets to a certain level, for instance, during the dawn sequence. The tempo remains fairly similar, and then it gradually speeds up at the end to its most extreme.
ในบรรดาสิบกว่าส่วนของหนัง จะมีที่น่าสนใจจริงๆก็คือเริ่มต้น-สิ้นสุด
- ซีเควนซ์เริ่มต้น กล้องจะเริ่มถ่ายจากภาคพื้นดิน ค่อยๆขยับหมุนวนรอบ พร้อมๆขยับเงยขึ้นทีละนิด ประมาณสิบกว่านาทีก็จะเริ่มพบเห็นทิวทัศน์ลิบๆ แต่กล้องยังเงยขึ้นไปเรื่อยๆจนกระทั่งเห็นแต่ก้อนเมฆ ท้องฟ้าฟากฟ้า
- ผมมองซีเควนซ์นี้คือการอารัมบท ด้วยการบันทึกภาพทุกสิ่งอย่าง ทุกทิศทางในทรงกลมสามมิติ
- ซีเควนซ์สุดท้าย จะเป็นการผสมผสานทุกสิ่งอย่างเข้าด้วยกัน
- เริ่มต้นให้กล้องหมุนวน (Rotation) 360 องศา
- ผสมด้วยหมุนแนวนอน (Horizontal) 360 องศา จะเริ่มพบเห็นภาพดูราวกับกลายเป็นวงกลม
- แล้วก็หมุนแนวตั้ง (Vertical) 360 องศา เมื่อความเร็วถึงจุดสูงสุด ภาพพบเห็นจะหลงเหลือเพียงท้องฟ้า-ผืนดิน เคลื่อนผ่านหน้ากล้องสลับไปมาอย่างรวดเร็ว
- ก่อนตัดจบด้วยภาพพื้นหลังขาวโพลน สื่อถึงประสาทสัมผัส(ทางสายตา)ของมนุษย์ เกินกว่าจะรับรู้ มองเห็น
นอกจากนี้ระหว่างรับชม มักมีเสียงดังติ๊ดๆ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า beep beep) ได้ยินทุกครั้งเวลาปรับเปลี่ยนทิศทางขยับเคลื่อนกล้อง แต่นั่นไม่ใช่เสียงบันทึกจากสถานที่จริง (Sound-on-Film) เป็นสิ่งที่ผกก. Snow เพิ่มเข้ามาภายหลังถ่ายทำ (Post-Production) เพื่อให้ผู้ชมเกิดความตระหนักว่านั่นคือเสียงสัญญาณไฟฟ้าของแขนจักรกล
You can understand them in different ways: as orders to the machine, or… I was, I guess, trying to cover the sound space in the same way as the visual space. It goes from very high to very low. It’s also very very quiet. It’s like a nervous system. It’s like a consciousness present in this place that is totally wild. The image that you see, the place is distant and wild.
La Région Centrale is a film about the landscape, but it’s also a film about the camera. It’s about the way the camera sees the landscape, and the way the landscape sees the camera. It’s about the relationship between the two.
The film is also about time. It’s about the way time passes, and the way we perceive time. It’s about the way time can be manipulated, and the way it can be experienced.
La Région Centrale is a film about the human experience. It’s about the way we see the world, and the way we experience it. It’s about the way we are both part of the world, and separate from it.
ทั้งสามประโยคที่ผมนำมานี้ ล้วนจากบทสัมภาษณ์ผกก. Snow ต่างคราว ต่างวาระ ต่างความคิดเห็น ครั้งหนึ่งพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพถ่ายกับทิวทัศน์ธรรมชาติ, อีกครั้งกล่าวถึงสัมผัสเกี่ยวกับเวลา, อีกครั้งบอกว่าขึ้นอยู่กับมุมมองประสบการณ์ชีวิต ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นการมอบอิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิดวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ พบเห็น-เข้าใจอะไร ล้วนไม่มีคำตอบถูกผิด!
ความเข้าใจของผมเองจะสอดคล้องกับอีกบทสัมภาษณ์หนึ่ง
The robotic arm was a way for me to free the camera from the human eye.
จุดประสงค์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการนำเสนอทุกความเป็นไปได้ของการถ่ายภาพ ซึ่งสามารถสื่อถึง ‘อิสรภาพชีวิต’ ภายใต้ขอบเขตจำกัดของความเป็นมนุษย์ เหมือนกล้องตั้งอยู่กับที่ ไม่สามารถขยับเคลื่อนย้าย แต่สามารถทำทุกสิ่งอย่างได้เต็มศักยภาพถึงขีดสุด
กล้อง Camera Activating Machine (CAM) หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ แม้ไม่ได้ถูกนำไปใช้งานอะไรต่อ แต่ผมมองว่ามันคือต้นแบบ (Prototype) สู่การพัฒนากล้อง 360 องศา ถ่ายทำได้รอบทิศทาง หรืออย่าง Google Street View ใช้รถที่มีการติดตั้งกล้อง ขับไปถ่ายไปบนท้องถนน … หลายคนอาจไม่เข้าใจประโยชน์ของ Street View แต่ผมบอกเลยว่าเป็นนวัตกรรมที่เปิดมุมมองโลกทัศน์อย่างมากๆ ทำให้เราพบเห็นสถานที่ที่ในชีวิตนี้อาจไม่มีวันไปย่ำเหยียบ ทั้งยังสามารถเอาไว้ใช้สำรวจเส้นทาง/เป้าหมายก่อนออกเดินทางได้ด้วยนะครับ!
ยุคสมัยนั้น (ทศวรรษ 70s) อาจยังดูห่างไกลจากการที่หุ่นยนต์ จักรกล คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาท ความเฉลียวฉลาด ทำสิ่งต่างๆด้วยตัวมันเอง แต่ผกก. Snow ก็มีความเชื่อว่าถ้า ‘Machine’ สามารถถ่ายทำภาพยนตร์(ด้วยตัวมันเอง) ผลลัพท์คงจะออกมาประมาณ La Région Centrale (1971) … ปัจจุบันนี้การมาถึงของ Artificial Intelligence (AI) โดยเฉพาะ ChatGPT มันสามารถพัฒนาต่อยอด สร้างภาพวาด เขียนบทหนัง อนาคตเราคงพบเห็น ‘virtual movie’ อย่างแน่แท้
หนังฉายรอบปฐมทัศน์ยัง National Gallery of Canada พร้อมจัดนิทรรศการแสดงกล้อง CAM แถมตั้งโปรแกรม 30 นาทีสำหรับถ่ายทำผู้คนเดินผ่านไปมา กลายเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องชื่อว่า De La (1972)
เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ถือว่าค่อนข้างดี แม้จะมีบ่นเรื่องระยะเวลา ไร้ซึ่งเนื้อหา สามชั่วโมงอันน่าเบื่อหน่าย แต่คนที่สามารถทำความเข้าใจหนังทดลอง (Experimental) ต่างยกย่องสรรเสริญ ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นเอกของผกก. Snow
La Région Centrale is a film that defies easy description. It is a film that is both visually stunning and intellectually challenging. It is a film that will stay with you long after you have seen it.
Vincent Canby นักวิจารณ์จาก The New York Times
La Région Centrale is a film that is both abstract and concrete. It is a film that is both about the natural world and the human mind. It is a film that is both about the past and the future. It is a film that is both about the known and the unknown.
นักวิจารณ์ David Thomson
La Région Centrale is a film that is both lyrical and meditative. It is a film that is both playful and serious. It is a film that is both beautiful and mysterious. It is a film that is both challenging and rewarding.
นักวิจารณ์ Jonathan Rosenbaum
La Région Centrale is a film that is both a work of art and a work of science. It is a film that is both a meditation on the natural world and a meditation on the human mind. It is a film that is both a celebration of life and a contemplation of death. It is a film that is both a beginning and an end.
นักวิจารณ์ J. Hoberman
(ผมจงใจอ้างอิงถ้อยคำจากนักวิจารณ์หลายสำนัก เพื่อแสดงให้เห็นถึงการตีความที่หลากหลาย แตกต่างแต่ละม้ายคล้าย เฉกเช่นเดียวกับบทสัมภาษณ์ผกก. Snow ที่ยกมาก่อนหน้า)
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะโดย Canadian Film Centre ร่วมกับ National Film Board of Canada ด้วยทุนจากรัฐบาล Canada ร่วมกับ Canada Council for the Arts และ Ontario Arts Council จัดเต็มคุณภาพ 4K ได้รับการตรวจอนุมัติโดยผกก. Snow ออกฉายยังเทศกาล Toronto International Film Festival เมื่อปี ค.ศ. 2019
แม้หนังจะยาวถึง 3 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณสามารถพานผ่านสิบนาทีแรก ทำความเข้าใจแนวคิด วัตถุประสงค์ของผู้สร้าง ก็ไม่แน่ว่าอาจอดรนทนดูจนจบ ด้วยความเพลิดเพลินผ่อนคลาย … แบบเดียวกับการรับชม Empire (1965) แปดชั่วโมง ใครมีเวลาว่างก็ลองดูนะครับ เตรียมขนมกับแกล้ม ลองสิว่าใครจะมึนเมาก่อนกัน
จัดเรตทั่วไป แต่อาจสร้างความวิงเวียนกับการถ่ายภาพที่ฉวัดเฉวียน
Leave a Reply