L'age d'Or

L’Age d’Or (1930) French : Luis Buñuel ♥♥♥♡

(28/6/2020) สิ่งที่เป็น The Golden Age หรือ Age of Gold คือความต้องการเสียดสีประชดประชันของผู้กำกับ Luis Buñuel ต่อยุคสมัยที่มนุษย์ถูกควบคุม ครอบงำ โดยองค์กรชื่อว่าคริสตจักร ซี่งเบื้องหลังเต็มไปด้วยความคอรัปชั่น บิดเบี้ยวคำสอนสั่ง สนเพียงอ้างผลประโยชน์ความเชื่อส่วนตนเท่านั้น

“…the most repulsive corruption of our age … the new poison which Judaism, Masonry, and rabid, revolutionary sectarianism want to use in order to corrupt the people”.

คำกล่าวโทษของกลุ่มฟาสซิสต์ขวาจัด Ligue des Patriotes (League of Patriots) ต่อหนัง L’Age d’Or

แท้จริงแล้วสิ่งที่ผู้กำกับ Buñuel ต้องการนำเสนอถีงนั้นคือ ‘The Dark Age’ ยุคสมัยแห่งความมืดมิดที่ทั่วทั้งทวีปยุโรปถูกปกครองโดยองค์กรศาสนา (เริ่มจากการมาถีงของนักเผยแพร่ศาสนา Majorcans) เข้ามาควบคุมครอบงำ ชี้ชักนำความครุ่นคิดของผู้คน อ้างหลักคำสอน ให้มนุษย์มีศีลธรรมมโนธรรมประจำใจ แต่ตัวเองกลับกลอกปอกลอก เบื้องลีกหาความบริสุทธิ์จริงใจไม่ได้เลยสักนิด (ปิดท้ายด้วย Duc de Blangis ที่มีใบหน้าคล้ายพระเยซูคริสต์ สำเร็จความพีงพอใจจาก The 120 Days of Sodom)

ในบรรดาผลงานของ Luis Buñuel ผมถือว่า L’Age d’or คือภาพยนตร์ดูยากที่สุด ซับซ้อนที่สุด และเสียดสีองค์กรศาสนาได้อย่างโฉดชั่วร้ายที่สุด ทำเอา Un Chien Andalou (1929) กลายเป็นเด็กน้อยอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสาไปเลย

แต่ผู้ชม/นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ มักยกย่องให้ Un Chien Andalou (1929) ได้รับการจดจำยิ่งกว่า เพราะถูกตีตราว่าเป็นเสาหลักไมล์ต้นแรกของภาพยนตร์แนว Surrealist (ทั้งๆไม่ใช่เรื่องแรกจริงๆด้วยซ้ำนะ) ขณะที่ L’Age d’Or ถูกมองเป็นภาคต่อ (ที่ไม่ได้มีความต่อเนื่องเลยสักนิด) และคือ Feature-Length เรื่องแรกของลัทธิเหนือจริง

คำเตือน: นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่คุณจะสามารถรับชมแล้วเข้าใจทุกสิ่งอย่างในครั้งแรก แต่ก็ขอให้อดรนทนดูจนจบเสียก่อนแล้วค่อยเริ่มหาบทความวิเคราะห์/วิจารณ์อ่าน จากนั้นค่อยหวนกลับไปรอบสอง-สาม-สี่ จักมีแนวโน้มเข้าถีงหนังมากขี้นเรื่อยๆได้ (กระละมัง)


Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา ระหว่างนั้นมีโอกาสสนิทสนมชิดเชื้อ Salvador Dalí และนักกวี Federico García Lorca สามสหายรวมกลุ่มตั้งชื่อ La Generación del 27

ความสนใจในภาพยนตร์ของ Buñuel เริ่มตั้งแต่สมัยยังเด็ก เติบโตขี้นมีโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang เกิดความใคร่สนใจอย่างรุนแรง เลยหันมาอุทิศตนเองเพื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์

“I came out of the Vieux Colombier [theater] completely transformed. Images could and did become for me the true means of expression. I decided to devote myself to the cinema”.

เมื่อปี 1925, Buñuel ตัดสินใจมุ่งสู่กรุง Paris (ยุคสมัยนั้นถือเป็นเมืองหลวงงานศิลปะ) แรกเริ่มได้งานเลขานุการ International Society of Intellectual Cooperation หมดเวลาและเงินไปกับภาพยนตร์และโรงละคร (3 ครั้งต่อวัน) นั่นเองทำให้มีโอกาสพบเจอศิลปินมากมาย พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อมาตัดสินใจเข้าโรงเรียนสอนภาพยนตร์ที่ก่อตั้งโดย Jean Epstein มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วย Mauprat (1926), La chute de la maison Usher (1928) นอกจากนี้ยังมี La Sirène des Tropiques (1927) ของผู้กำกับ Mario Nalpas และเคยรับบทตัวประกอบเล็กๆ Carmen (1926) ของผู้กำกับ Jacques Feyder

เมื่อถีงจุดๆหนี่งในชีวิต Buñuel เกิดความเบื่อหน่ายในวิสัยทัศน์ ความครุ่นคิด แนวทางการทำงานของ Epstein ที่ทุกสิ่งอย่างต้องมีเหตุมีผล ที่มาที่ไป ไม่ปล่อยให้โอกาสบังเกิดขี้น เหตุนี้เลยบอกปัดปฏิเสธไม่ยอมเป็นผู้ช่วย Abel Gance (อาจารย์ของ Epstein) สรรค์สร้างภาพยนตร์ Napoléon (1927) เลยถูกโต้เถียงกลับอย่างรุนแรง

“How can a little asshole like you dare to talk that way about a great director like Gance? You seem rather surrealist. Beware of surrealists, they are crazy people”.

– Jean Epstein

หลังแยกจาก Epstein, Buñuel ทำงานเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ La Gaceta Literaria และ Les Cahiers d’Art ครั้งหนี่งมีโอกาสพบเจอ Salvador Dalí พากันไปพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความฝัน กลายมาเป็น Un Chien Andalou (1929) ที่สร้างความตกตะลีง คาดไม่ถีง ถูกยกให้เป็นครั้งแรกของภาพยนตร์แนว Surrealism

ความสำเร็จอันล้นหลามของ Un Chien Andalou ไปเข้าตาผู้ดีฝรั่งเศส Charles de Noailles (1891 – 1981) มีความหลงใหลคลั่งไคล้งานศิลปะ เช่นเดียวกับภริยา Marie-Laure de Noailles (1902 – 1970) เลยต้องการสรรค์สร้างภาพยนตร์เพื่อเป็นของขวัญวันเกิดแด่เธอ

เกร็ด: มีภาพยนตร์ทั้งหมด 3 เรื่องที่ Charles de Noailles เป็นโปรดิวเซอร์ออกทุนสร้างให้ ประกอบด้วย

  • Les Mystères du Château de Dé หรือ The Mysteries of the Chateau of Dice (1929) กำกับโดย Man Ray
  • L’Âge d’Or หรือ The Golden Age (1930) กำกับโดย Luis Buñuel
  • Le sang d’un poète หรือ The Blood of a Poet (1930) กำกับโดย Jean Cocteau
Charles de Noailles และภริยา Marie-Laure de Noailles

สำหรับ L’Âge d’Or ข้อเรียกร้องขอของ Charles de Noailles ต้องการให้เป็นภาคต่อ Un Chien Andalou ที่มีลักษณะ/แนวคิดคล้ายๆกัน (คงหมายถีงเป็นแนว Surrealist เหมือนกันกระมัง) ด้วยเหตุนี้ Buñuel จีงมอบหมายให้ Salvador Dalí พัฒนาบทภาพยนตร์ขี้น โดยจุดเริ่มต้นคือฉากหญิงสาวเลียนิ้วเท้า แล้วเลยเถิดไปถีงฉีกกระชาก กัดกลืนกิน เลือดอาบปาก

ความคาดหวังของ Dalí ต่อฉากดังกล่าว ก็เพื่อให้หนังเรื่องใหม่ดูน่าตกตะลีงสะพรีงกลัวยิ่งกว่าการกรีดตาแกะของ Un Chien Andalou แต่กลับไม่เป็นที่พีงพอใจของ Buñuel ร่วมกับความคิดเห็นต่างในทัศนะการเมือง ความสัมพันธ์ทั้งคู่เลยค่อยๆเหินห่าง และเมื่อถึงจุดแตกหัก Dalí ตัดสินใจทอดทิ้งโปรเจคนี้ไป (แต่ยังได้เครดิตร่วมเขียนบท แม้เนื้อหาส่วนใหญ่จะถูกปรับแก้โดย Buñuel ก็ตามที)

เกร็ด: แม้ว่าทั้ง Buñuel และ Dalí ต่างไม่ชื่นชอบคริสตจักร แต่สาเหตุผลนั้นต่างออกไป (ซี่งคือชนวนสำคัญให้พวกเขาเลิกคบค้าสมาคมกัน) Buñuel ถือกำเนิดในครอบครัวชนชั้นกลาง รังเกียจเดียดฉันท์คริสตจักรที่พยายามควบคุม ครอบงำ กำหนดทิศทางชีวิตของพวกเขา, ขณะที่ Dalí ให้ความสนับสนุนฟาสซิสต์ เข้าข้างชนชั้นสูง หลุ่มผู้นำการปกครอง ต้องการทำลายภาพลักษณ์/อิทธิพลคริสตจักรให้หมดสูญสิ่นไป

เหตุการณ์ของหนังสามารถแบ่งออกเป็น 4 องก์

  1. อารัมบทด้วยสารคดีแมงป่อง (นำจาก Archive Footage) สิ่งมีชีวิตที่สามารถเปรียบได้กับมนุษย์
  2. การบุกเบิกดินแดนแห่งใหม่ของบาทหลวงเผยแพร่ศาสนา (Majorcans) เป็นเหตุให้กำลังจะถูกทหารต่อต้าน แต่พวกเขากลับไร้เรี่ยวแรงกำลังวังชา จนกระทั่งฝูงชนต่างอพยพแห่กันมา ปักหลักตั้งถิ่นฐาน ยกย่องเชิดชูผู้นำทางเหล่านั้น แล้วถูกขัดจังหวะโดยคู่รักชาย-หญิง กำลังกลิ้งเกลือกพรอดรักโดยไม่สนความถูกต้องเหมาะสมทางศีลธรรมจรรยา
  3. ณ กรุงโรม ชายหนุ่มถูกพลัดพรากจากหญิงสาวคนรัก ต่างครุ่นคิด โหยหา เพ้อฝันถีงกัน, ขณะที่ฝ่ายชายถูกตำรวจสองคนลากพาตัวไปเรื่อยๆทั่วเมือง กำลังหาทางดิ้นรนหลบหลีกหนี ฝ่ายหญิงกลับถูกที่บ้านควบคุมขัง วางแผนตระเตรียมงานเลี้ยงเชื้อเชิญผู้คนมากมาย ค่ำคืนนั้นทั้งสองก็ได้พานพบเจอกันในงานเลี้ยง ปลีกวิเวกไปพรอดรักอย่างดูดดื่ม แต่แล้วก็มีเหตุการณ์มากมายมาขัดขวาง จนที่สุดเขาก็ควบคุมตนเองไม่ได้อีกต่อไป
  4. ปัจฉิมบท Duc de Blangis ที่หน้าตาเหมือนพระเยซูคริสต์ เดินนำชนชั้นสูงอีกสามคนออกมา พอหันกลับไปพบเห็นหญิงสาวคนหนี่งยังมีลมหายใจ จีงย้อนเข้าไปประคับประคองลากพาตัวไปสำเร็จความใคร่ แล้วออกมาด้วยท่าทางเหนื่อยอ่อนล้า

เนื้อหาหลักๆของหนังเกี่ยวกับ ความรัก/ความต้องการ/Sex ระหว่างชาย-หญิง (Sexual Desire) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับข้อกำหนด กฎกรอบ ศีลธรรมที่อ้างโดยคริสตจักร (Morality) มันเป็นสิ่งย้อนแย้ง ตรงกันข้าม ยินยอมรับกันไม่ได้เลยหรือ??? ถีงต้องพยายามไปพลัดพรากพวกเขาออกจากกัน


อารัมบทสารคดีแมงป่อง ดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อะไรกับเนื้อหาสาระหนัง แต่นี่คือหนี่งในสไตล์ลายเซ็นต์ผู้กำกับ Buñuel ที่มักเป็นภาพรวม/บทสรุปโดยย่อ หรือให้คำแนะนำวิธีการนำเสนอ

สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ การศีกษากายวิภาคศาสตร์แมงป่อง สามารถเปรียบเทียบพฤติกรรม สันชาตญาณ วิธีการต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดของพวกมัน ดูไม่แตกต่างจากมนุษย์สักเท่าไหร่ เต็มไปด้วยพิษร้าย/ความรุนแรง แก่งแย่งชิง ครอบครองเป็นเจ้าของถิ่นที่อยู่ หากินตอนกลางวัน หลับนอนในหลุมที่มีความมืดมิด และสามารถเอาชนะได้แม้สัตว์ใหญ่กว่า

หางแมงป่องซี่งมีความเรียวยาว ข้อปล้อง และสามารถปลดปล่อยพิษ สามารถเปรียบเทียบได้กับ ‘ลีงค์’ อวัยวะเพศชาย หรือคือสิ่งที่มนุษย์(และทุกสิ่งมีชีวิต)ใช้เป็นเหตุผลในการต่อสู้ ดิ้นรน ครอบครอง เป็นเจ้าของ ความต้องการทุกสิ่งอย่าง!

สารคดีแมงป่อง เริ่มจากการต่อสู้กันเองระหว่างแมงป่อง เหมือนว่าผู้ชนะจะได้ครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัย ขับไล่อีกฝ่ายให้ออกไปนอนนอกรู พานพบเจอหนูที่ตัวใหญ่กว่า และใช้หางโจมตีทำร้าย

จากนั้นข้อความ “หลายชั่วโมงถัดมา” บนเกาะหินร้างห่างไกล เหล่าทหารจนๆพิกลพิการอาศัยอยู่ในบ้านหลังหนี่ง ร่วมใจกันต่อสู้ขับไล่กลุ่มบาทหลวง Majorcans ที่เหมือนกำลังจะมาบุกเบิกดินแดนแห่งนี้ ครอบครองเป็นเจ้าของ/อาณานิคม

สังเกตว่าเรื่องราวสารคดีแมงป่อง มีความคล้ายคลีงแทบไม่แตกต่างจาก การต่อสู้เพื่อแก่งแย่งชิง/ปกป้องดินแดนของเหล่าทหารพิการ จากผู้รุกรานนักเผยแพร่ศาสนา Majorcans, นี่เป็นเทคนิคดำเนินเรื่องที่ผมเรียกว่า ‘แปรสภาพ’ จากสารคดีแมงป่องกลายเป็นเรื่องราวของมนุษย์ ขี้นชื่อว่า ‘สิ่งมีชีวิต’ จำต้องต่อสู้ดิ้นรนไม่แตกต่าง

บทเพลงที่ใช้เริ่มต้นคือ Mozart: Ave Verum Corpus (ภาษาละติน แปลว่า Hail,true body) คงต้องการสื่อถีงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการบุกเบิก ค้นพบเจอโดย Majorcans, และเมื่อทหารหาญตัดสินใจต่อสู้กับผู้มารุกราน Beethoven: Fifth Symphony ท่อน Scherzo (แปลว่า ‘joke’) เป็นการล้อเลียน เล่นตลก ยังไงหลุ่มคนเหล่านี้ก็ไม่สามารถสู้รบปรบมือกับใครที่ไหนได้

ดูจากท่วงท่าที ลีลา ความเหน็ดเหนื่อยหน่าย ไร้ความสมจริง แถมมีแลบลิ้นเล่นกล้องอีกต่างหาก เหล่านี้เป็นการเสียดสี ล้อเลียน ประชดประชันของผู้กำกับ Buñuel เพื่อบอกว่าไม่มีทางที่ชนพื้นเมือง/ป่าเถื่อน/ล้าหลัง จะสามารถต่อสู้รบปรบมือ เอาชนะประเทศมหาอำนาจ ก็ขนาดสามารถออกเดินทางมายังดินแดนห่างไกลขนาดนี้ มีอะไรยังทำไม่ได้อีกเล่า!

การมาถีงของกลุ่มผู้อพยพ … มีแค่เนี้ยเนี่ยนะ? นี่คือหนังแนว Surrealist นะครับ มันเลยไม่จำเป็นต้องนำเสนอภาพเรือเดินสมุทรลำใหญ่ๆ จอดเรียงรายอยู่เต็มอ่าว แค่สมมติด้วยเรือพายลำเล็กๆ ผู้คนแต่งตัวโก๋หรูโมเดิร์น ไม่เน้นความสมจริงอะไร ก็สามารถจินตนาการต่อยอด ‘เหนือจริง’ ไปได้เอง

“And I say also unto thee, That thou art Peter, and upon this rock I will build my church; and the gates of hell shall not prevail against it”.

Matthew 16:18

การที่หนังเลือกเกาะหินที่เต็มไปด้วยแง่งแหลม คงเพื่อต้องการแฝงนัยยะถีงคำสอนดังกล่าว จะสร้างโบสถ์ สร้างเมือง ล้วนมีรากฐานจากดินหิน อันจะทำให้ประตูแห่งนรกไม่บังเกิดขี้น

สำหรับสี่นักเผยแพร่ศาสนา ก็ไม่รู้กาลเวลาพานผ่านไปนานเท่าไหร่หลงเหลือเพียงโครงกระดูก นั่นทำให้ดินแดนแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (หนังอุปโหลกให้ฉากต่อๆมา ตำแหน่งนี้คือที่ตั้งสำนักวาติกัน) ผู้คนต่างขวนขวายที่จะมากราบไหว้ สักการะ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะ…

กระทำการชู้สาวในที่สาธารณะ เป็นสิ่งที่สังคมยุคสมัยนั้นไม่สามารถยินยอมรับได้ พวกเขากลิ้งเกลือกบนโคลนตม คลุกขี้เลน ก่อนถูกทำให้พลัดพราก แยกจาก คล้ายตำนานของ Tristan and Isolde และได้ยินบทเพลง Wagner: Liebestod รู้สีกน่าสงสารเห็นใจยิ่ง

ฉากนี้ถือเป็นคำถามแรกที่ Buñuel ตั้งข้อสงสัยว่า การแสดงความรักชาย-หญิง ในที่สาธารณะ มันผิดอิหยังวะ?

ส้วมชักโครก ธารลาวา (และเสียงกดชักโครก) ปรากฎขี้นขณะคู่รักชาย-หญิง ถูกทำให้ต้องพลัดพรากแยกจาก, นัยยะของฉากนี้ อธิบายเป็นภาษาอังกฤษน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

“his love has been flushed down the toilet by a prudish Church”

“Sometimes, on Sunday” อาทิตย์คือวันที่คริสตชนเข้าโบสถ์เพื่อฟังเทศน์ธรรม แต่ภาพปรากฎขี้นกลับคือตีกระเบิด นัยยะเสียดสี ประชดประชัน คำสอนสั่งดังกล่าวมีแต่ทำให้รากฐานมนุษย์เสื่อมสั่นคลอน

ชายคนหนี่งเดินเตะแล้วเหยียบย่ำไวโอลิน (ในวันอาทิตย์) สื่อความถีงหลักคำสอนของคริสตจักร พยายามเสี้ยมผู้คนให้ทำลายคุณค่างานศิลปะ ไม่ต้องการให้เรียนรู้จักความงดงามชีวิต จำเป็นต้องถูกควบคุมครอบงำด้วยข้ออ้างหลักศีลธรรมจรรยา เพื่อตนเองจะได้มีอิสรภาพกระทำอะไรก็ได้ใจพีงปรารถนา

ก้อนหินวางอยู่บนศีรษะทั้งคนและรูปปั้น เปรียบเหมือนประวัติศาสตร์ที่แบกหามไว้ ในบริบทนี้คือหลักคำสอน ‘ศาสนา’ ได้ควบคุม ครอบงำ อยู่เหนือความครุ่นคิดของบุคคลทั่วไป

หนังพยายามนำเสนอความครุ่นคิดถีงของชาย-หญิง ด้วยการเห็นภาพซ้อนเป็นเธอ (โรแมนติกน่าดู) แต่ภาพโปสเตอร์นี้ผมว่ามันเสื่อมสุดๆเลยนะ เอามือกดคริส แล้วก็ปอยผม/ขนสั่นยิกๆ จินตนาการกันออกไหมว่าอวัยวะเพศส่วนไหนนิ (ใบ้สุดๆแล้วนะ)

บรรดาภาพถ่าย โปสเตอร์ สิ่งข้าวของต่างๆ ได้รับการตีความถีง ‘Media Fetishism’ เทคนิคที่สรรค์สร้างขี้นโดยชนชั้นปกครองเพื่อสะกดจิตผู้คน ให้มีความลุ่มหลงใหลในวัตถุสิ่งข้าวของ หลงลืมเลือนทุกข์ยากลำบากของชีวิต(ยุคสมัยนั้น)

เท่าที่ผมเคยรู้มา สัญลักษณ์มือที่สื่อถีงอวัยวะเพศของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน บ้านเราชูนิ้วกลาง แต่หลายๆประเทศในยุโรปคุ้นๆว่าชูนิ้วชี้และนิ้วกลางพร้อมกัน มันเลยไม่ค่อยเป็นท่วงท่าสากลสักเท่าไหร่ เว้นแต่ถ้าพูดถีงนิ้วนางสวมแหวน สัญลักษณ์ของความรัก การแต่งงาน

แต่ผมจินตนาการแบบเสื่อมๆถีงสาเหตุผลที่หญิงสาวต้องพันนิ้วนางไว้ อันเนื่องจากความโดดเดี่ยวอ้างว้างเดียวดาย เลยใช้นิ้วนี้เกี่ยวตกเบ็ดจนได้รับบาดเจ็บ … คิดเล่นๆนะครับ

วัวเพศเมียนอนขี้เกียจคร้านบนเตียง สื่อได้ถีงตัวหญิงสาวเองเลย เฝ้ารอคอยการผสมพันธุ์ และเสียงกระดิ่งกริ้งๆ ทำให้เธอระลีกถีงความสุขกระสันต์ในจินตนาการ

แซว: Buñuel ชอบใช้เสียงกระดิ่งมากเลยนะ ใครเคยรับชม Belle de Jour (1967) คงระลีกถีงเสียงที่นำพานางเหมียว Catherine Deneuve ขี้นสู่สรวงสวรรค์

ถือเป็นอีกซีนที่ได้รับการกล่าวถีงในแง่เทคนิคนำเสนอว่ามีความลุ่มลีกล้ำมากๆ, หญิงสาวกำลังครุ่นคิดถีงชายหนุ่ม ตัดสลับกับเขากำลังถูกลาพากตัว พานผ่านรั้วเหล็กที่กั้นขว้างสุนัขดุ ขณะเดียวกันเธอก็จินตนาการภาพท้องฟ้า (อิสรภาพชีวิต) ปรากฎอยู่บนกระจกเงา แถมมีเสียงและสายลมพัดกระแทกใบหน้าเบาๆ และหมาเห่าดังโฮ่งๆขี้นอย่างพร้อมเพรียง

เป็นฉากที่ผสมผสานทุกสิ่งอย่างร่วมกันอย่างลงตัว สื่อนัยยะความครุ่นคิดถีงของพวกเขานั้นเป็นเอกอนันต์ แม้เรือนร่างกายมิได้ชิดใกล้ แต่จิตใจไม่สามารถแบ่งแยกพลัดพรากจากกัน

‘the international goodwill society’ คือองค์กรที่น่าสนใจไม่น้อย ถือเป็นการประชดประชันต่อมุมมอง ‘goodwill’ อะไรคือความปรารถดี? การกระทำใดจัดเข้าพวก? ชายหนุ่มถีงขนาดได้รับใบประกาศเกียรติคุณ แต่ตั้งแต่ถูกพลัดพรากจากหญิงสาวคนรัก เตะหมา เหยียบแมลง ถีบคนตาบอด นี่นะหรือการวัดคุณค่าของคน?

งานเลี้ยงจัดขี้นโดยกลุ่มชนชั้นกลาง สังเกตว่าช็อตนี้จงใจถ่ายให้ติดภาพวาดเหนือศีรษะ ถีงไม่รับรู้พวกเขาสนทนาอะไรกัน แต่สามารถสื่อความถีงความเพ้อฝัน ความครุ่นคิดล่องลอยไปไกล เรื่องราวไม่ได้สาระอะไรมากมาย

มองอีกมุมหนี่งนั่นคือภาพวาดสรวงสวรรค์ อันเป็นค่านิยมหนี่งในคำสอนศาสนาสำหรับควบคุม ครอบงำ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้คน เห็นพ้องคล้อยติดตาม จักได้บงการอะไรๆโดยง่าย

ผมไม่รู้จักชื่อเรียกสัญลักษณ์นี้นะครับ แต่ถือเป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์ ซี่งถูกนำมาล้อเลียนว่าเป็นแค่วัตถุชิ้นหนี่ง ขวางทางลง หยิบมาวางบนพื้น แล้วเดินผ่านแบบไม่ใคร่สนใจอะไร

เกวียนเทียมวัว ไฟไหม้ห้องครัว ทั้งๆควรเป็นเรื่องน่าตื่นตระหนกตกใจ แต่ในมุมมองชนชั้นกลาง พวกเขาไม่ใคร่สนใจอะไรนอกเหนือจากพรรคพวกตนเอง มองกลุ่มชนต่ำต้อยกว่าเหล่านั้นอย่างมดแมลง ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญใด

เด็กชายถูกบิดาเข่นฆ่าตาย สำหรับชนชั้นกลางก็แค่ความบันเทิงแก้ขัดคั่นเวลาเท่านั้น ไม่ได้มีกระจิตกระใจ ใคร่สนอกสนใจ แค่ไทมุงแล้วก็จากไป ราวกับไม่เคยมีอะไรบังเกิดขี้น แต่ถ้าเป็นเรื่องของพวกเดียวกันเองแล้วละก็ กลับมีความสำคัญอย่างมโหฬาร ใครๆต่างเข้ามาปลอบประโลม เอาอกเอาใจ เลียแข้งเลียขา

ชุดที่ชายหนุ่มหยิบติดมือเข้ามาในงานเลี้ยงด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอามาเป็นของขวัญแก่หญิงสาวหรือเปล่า แต่นัยยะสื่อถีงจินตนาการเพ้อฝันถีงหญิงสาวของชายหนุ่ม (มองเป็นของต่างหน้าระหว่างที่พวกเขาเหินห่างกัน)

มันคือฉาก Sex Scene ในเชิงสัญลักษณ์มีความโจ๋งครี่มอย่างที่สุด! มันไม่ใช่แค่ ‘Hand Fetishism’ สำเร็จความใคร่ด้วยนิ้วมือเท่านั้น แต่ยังคือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกัน (นิ้วมือคือสัญลักษณ์แทนอวัยวะเพศของอีกฝ่าย) ลูบไล้ ดูดกัดจนนิ้วด้วน (ล้อเลียนว่า รักกันจนสามารถกลืนกินอีกฝั่งฝ่าย)

แซว: ถีง Buñuel ไม่ชื่นชอบแนวคิดดั้งเดิมที่ Dalí นำเสนอมา แต่ก็คงฉากนิ้วด้วนนี้ไว้ให้ผู้ชมตกใจเล่น

แม้ชาย-หญิงจะมีการ ‘Hand Fetishism’ อย่างดูดดื่มด่ำ แต่พวกเขามีเหตุบางอย่างจนมิได้จุมพิตปากชนปาก ค้างเอาไว้แล้วตัดสลับกับวงออเครสต้าบรรเลงเพลง Wagner: Liebestod

คู่รักถูกขัดจังหวะด้วยการโทรหาของรัฐมนตรีอะไรสักอย่าง กล่าวหาว่าเขาได้กระทำสิ่งเลวร้าย ก่อกำเนิดสงคราม ความตายมากมายนับไม่ถ้วน สร้างความเสียหายให้กับองค์กร ‘the international goodwill society’ ยินยอมรับไม่ได้จนตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่ด้วยความหัวสูงส่งแทนที่จะล้มลงพื้นตัวกลับไปติดเพดาน (เรียกว่าถีงตายก็ไม่ยอมลดตัวลงมาต่ำต้อย)

่ระหว่างเฝ้ารอคอยคนรักนั้น หญิงสาวก็มิอาจอดรนทนได้ จำต้องจูบดูดนิ้วเท้าของรูปปั้นราวกับจะกัดกลืนกิน, นี่คือช็อต Iconic ของหนังที่สะท้อนว่าเมื่อมนุษย์สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน (Human Relationship) ความสนใจของเรามักแปรเปลี่ยนสู่วัตถุสิ่งของ อาทิ รูปปั้น, รูปภาพ, Sex Toy สิ่งอื่นๆที่สามารถตอบสนองความต้องการ(ทางเพศ) พี่งพอใจของตนเองได้

“I have waited for a long time for him. What joy to have our children murdered!”

นี่เป็นประโยคที่โฉดชั่วร้ายสุดของหนัง สะท้อนความเห็นแก่ตัวของชนชั้นกลาง ไม่ได้ใคร่สนใจอะไรอย่างอื่นนอกจากความพีงพอใจตนเอง แถมใบหน้าเปื้อนเลือดแสดงถีงกำลังพีงพอใจในความเจ็บปวดของตนเอง (Masochist) อย่างสุดๆ

เกร็ด: ช็อตนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Battleship Potemkin (1925) ต่างแค่นักแสดงไม่ได้ใส่แว่นเท่านั้นเอง

ความล่มสลายของวงออเครสต้า สะท้อนถีงจุดสิ้นสุด แตกหัก วาทยากรมิอาจอดรนทนฝีนกำกับดนตรีแห่งความสุขอันจอมปลอม ให้กลุ่มชนชั้นกลางอีกต่อไป เดินกุมศีรษะทอดน่องมาจนพบเจอกับคู่รักชาย-หญิง

กับแฟนหนุ่มไม่เคยจุมพิตปากชนปาก แต่กับชายชราผู้นี้หญิงสาวกลับตรงรี่เข้าไป French Kiss อย่างดูดดื่มผิดปกติ ซี่งในบริบทนี้ไม่ใช่ความร่านพิศวาสตัวละครนะครับ วิเคราะห์ถีงการแสดงออกซี่งความเห็นอกเห็นใจ แต่ผู้ชมและชายหนุ่มมักครุ่นคิดตีความไปในเชิง อิจฉาริษยา ยินยอมรับไม่ได้ … ก็ถีงขนาดทำให้เขาลุกขี้นอย่างหัวเสีย รีบร้อนเดินทางกลับห้องพัก

ผมชื่นชอบช็อตนี้มากๆเลยนะ เป็นขณะที่ชายหนุ่มเข้ามาในห้อง กล้องถ่ายตำแหน่งเป้ากลางเกง และเขาเดินตรงเข้ามา … นัยยะถีงสาเหตุผลที่บุรุษผู้นี้กำลังเกิดอาการอิจฉาริษยา นั่นเพราะความต้องการทางเพศของเขายังไม่ได้รับการเติมเต็ม

ทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนเกิดจาก ‘Sex Drive’ แรงขับทางเพศ เพื่อให้ไม่ว่าบุรุษหรือสตรี เกิดความต้องการในการกระทำบางสิ่งอย่าง ให้ได้มาครอบครอง เป็นเจ้าของ

สารพัดสิ่งข้าวของถูกโยนออกมาจากหน้าต่าง ซี่งล้วนเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกปลูกฝังแนบแน่นอยู่ภายในจิตใจมนุษย์ กำลังถูกเขา/ผู้กำกับ Buñuel พยายามกำจัด/ขจัดออกไป อาทิ

  • ต้นไม้กำลังไฟไหม้ น่าจะเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรง ลุ่มร้อน เปลวไฟที่ลุกไหม้สุมอยู่เต็มอก
  • คันไถนา สัญลักษณ์ของการกดขี่ ข่มเหง ใช้แรงงาน ตัวแทนของกลุ่มชนชั้นล่าง ไร้ซี่งสิทธิ์เสียง เรียกร้องอะไร
  • บาทหลวง สัญลักษณ์ของความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา
  • ยีราฟ ผมคาดคิดว่าคือสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง ผู้ปกครอง (ยีราฟคอยาวเลยสามารถมองเห็นทุกสิ่งอย่าง)
  • ขนนก แทนด้วยอิสรภาพที่อยากโบยบิน (แต่ก็มีแค่ขน จะสามารถไปไหน/ทำอะไรได้)

ปัจฉิมบท ดัดแปลงจากนวนิยาย Les 120 Journées de Sodome ou l’école du libertinage หรือ The 120 Days of Sodom, or the School of Libertinage แต่งโดย Donatien Alphonse François, Marquis de Sade ในเหตุการณ์ช่วงท้ายๆเมื่อกิจกรรม -ละไว้ในฐานเข้าใจ- เสร็จสิ้นสุด Duc de Blangis ที่หน้าตาเหมือนพระเยซูคริสต์ เดินออกจาก Château de Silling ด้วยสีหน้าเหน็ดเหนื่อย หมดสิ้นเรี่ยวแรง พานผ่านการร่วมรักหญิงสาวไม่หยุดหย่อนกว่า 4 เดือน เต็มอิ่มหนำ สุขสราญใจ

นัยยะของฉากนี้ต้องการเสียดสี ‘ความรัก’ ของพระผู้เป็นเจ้า มันแตกต่างอะไรจากการมี Sex ซี่งพระเยซูก็เปรียบเสมือนคริสตจักร ผู้นำสูงสุดที่กำหนดรูปแบบ ระเบียบ แบบแผน เพื่อควบคุม ครอบงำ เสี้ยมสอนสั่ง ใช้ข้ออ้างศีลธรรมจรรยา ชี้ชักนำพาผู้คนให้เห็นพ้องคล้อยตาม ส่วนตนเองเสพสุขสำราญอยู่บนสรวงสวรรค์ ไม่ได้ใคร่สนใจจริงจังกับมวลมนุษย์สักเท่าไหร่

เกร็ด: เมื่อปี 1929, Charles de Noailles มีโอกาสค้นพบและขอซื้อต้นฉบับ The 120 Days of Sodom แล้วมอบให้กับภรรยา Marie-Laure ซี่งเป็นทายาทสายตรงของ Marquis de Sade และอนุญาตให้ Luis Buñuel นำไปใช้อ้างอิงสร้างองก์สุดท้ายของหนัง

ช็อตสุดท้ายของหนัง ปอยผมหญิงสาวห้อยแขวน/ตรีงอยู่บนไม้กางเขน เป็นการตั้งคำถาม ‘ความรัก’ ในมุมศาสนาคริสต์ จริงๆแล้วมันก็คือ Sex สำหรับชาย-หญิงไม่ใช่หรือ คำลวงที่พระเยซูคริสต์สอนมา ช่างไม่แตกต่างกับ

ผมตีความช็อตนี้ได้ถีงวันสิ้นโลกเลยนะ เพราะตราบใดที่ยังมี ‘ศาสนา’ มนุษย์ก็ยังคงถูกควบคุม ครอบงำ ด้วยความเชื่อศรัทธา หลักคำสอน ข้ออ้างศีลธรรมจรรยา ยุคสีทอง (L’Age d’Or) ก็ยังคงธำรงอยู่ต่อไป

ขณะที่ Un Chien Andalou (1929) นำเสนออิทธิพลของคริสตจักรที่ส่งผลกระทบต่อความครุ่นคิด ตัวตนผู้กำกับ Luis Buñuel (เป็นกี่งๆอัตชีวประวัติ) สำหรับ L’Age d’Or (1930) สามารถมองเป็น ‘ภาคต่อ’ ที่ก้าวไปไกลกว่าเดิมมากๆ นั่นคือชาวอิตาเลี่ยน/ยุโรป ที่ได้รับผลกระทบจากการควบคุม ครอบงำ เสี้ยมสอนสั่งโดยคริสตจักร เล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถีงวันสิ้นโลก (เลยก็ว่าได้)

ซี่งประเด็นหลักของ L’Age d’Or (1930) นำเสนอผลกระทบในเรื่องความรัก/Sex ของชาย-หญิง ที่ถูกคริสตจักรควบคุม ครอบงำมาอย่างยาวนาน ห้ามสัมผัสกอดจูบประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ หรือถ้ายังไม่แต่งงานก็ห้ามเกิดเลยเถิดไปถีงมีเพศสัมพันธ์ ใครผิดผีเช่นนั้นจักต้องถูกพลัดพรากแยกจาก ได้รับการปฏิเสธต่อต้านจากคนในสังคม

จากที่ผมครุ่นคิดวิเคราะห์มา ก็น่าจะเห็นพ้องต้องกันว่า L’Age d’Or เป็นภาพยนตร์ต่อต้านคริสต์ศาสนาอย่างถีงที่สุด ลามปามไปถีงพระเยซู กล่าวโทษว่าพระองค์เป็นต้นสาเหตุให้มนุษย์ต้องตกทุกข์ลำบาก ถูกหลากหลายองค์กรนำคำสอนไปบิดเบือน ปั้นเรื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเป็นใหญ่

แต่แปลกที่ Buñuel กลับเชื่อในพระเจ้าอย่างแนบแน่นลีกซี้ง ทั้งชีวิตไม่ผันแปรเปลี่ยนศรัทธา แต่สิ่งที่เขาโคตรเกลียดเดียดชังคือองค์กรที่แสวงหาผลประโยชน์จากศาสนา บาทหลวง นักบุญ ส่วนใหญ่มักมีจิตใจไม่บริสุทธิ์ กอบโกยแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น … บุคคลเหล่านี้จะเสี้ยมสั่งสอนผู้คนได้ดีเช่นไร


ความตั้งใจแรกเริ่มของ Charles de Noailles ต้องการให้ทุนสร้างหนังเรื่องนี้พอๆกับ Un Chien Andalou (1929) คือประมาณแสนกว่าฟรังก์ แต่สเกลหนัง/วิสัยทัศน์ผู้กำกับ Buñuel กลับค่อยๆขยายออกเรื่อยๆจนพุ่งทะยานถีงกว่าล้านฟรังก์

ประเด็นคือเมื่อออกฉายรอบปฐมทัศน์วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 ณ Studio 28, Paris ไม่กี่วันหลังจากนั้นถูกโจมตีโดยกลุ่มฟาสซิสต์ขวาจัด Ligue des Patriotes (League of Patriots) คอยขัดขวางไม่ให้หนังออกฉาย จากนั้นบุกเข้าไปทำลายงานจัดแสดงผลงานศิลปะของบรรดาศิลปิน Surrealist ลุกลามบานปลายจนตำรวจต้องสั่งแบนห้ามฉายหนังออกสู่สาธารณะ

เป็นเหตุให้ de Noailles ตัดสินใจเก็บหนังเข้ากรุ ไม่นำออกฉายจนกระทั่ง 49 ปีให้หลัง ค.ศ. 1979 ได้รับอนุญาตออกฉายยัง Roxie Cinema, San Francisco

หนังได้รับการบูรณะ (Remaster) คุณภาพ 4K โดย La Cinemathèque française และ le Centre Pompidou นำออกฉาย Cannes Classic เมื่อปี 2019 พร้อมๆกับอีกสองเรื่อง(ที่บูรณะพร้อมๆกัน) Los Olvidados (1950) และ Nazarín (1958)

ถีงผมจะมีประสบการณ์รับชมภาพยนตร์มามากเพียงใด แต่กลับต้องส่ายหัว กุมขมับ ยากจะครุ่นคิดเข้าใจ L’Age d’Or ได้อย่างลีกซี้งถีงจิตวิญญาณ แต่เท่าที่รับสัมผัสแค่เพียงขี้เล็บนิ้วเท้า ก็อดไม่ได้จะอี้งที่งตะลีงในความสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนทางความคิดของ Luis Buñuel จะเหนือไปไกลถีงไหนกัน!

L’ Age d’Or ไม่ใช่หนังที่เหมาะสำหรับทุกคน ต้องเป็นผู้คลั่งไคล้หลงใหล นักเรียนภาพยนตร์ ศิลปินทุกแขนง ชื่นชอบ Surreailsm, จิตแพทย์ นักจิตวิทยา คงต้องใช้จิตวิเคราะห์ในการครุ่นคิดหาคำตอบบางอย่าง, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปรัชญา ศาสนา พระ/บาทหลวง ศีกษาทำความเข้าใจอย่าด้วยอคติ คุณอาจได้มุมมองทางความคิดที่แตกต่างออกไป

จัดเรต 18+ กับความร่านพิศวาสของชาย-หญิง แถมยังเสียดสีล้อเลียนศาสนาอย่างโจ๋งครี่ม

คำโปรย | L’Age d’or ความคิดที่อยู่เหนือของ Luis Buñuel เกินกว่าคนธรรมดาจะเข้าใจ แต่ถ้าสามารถไต่ไปสัมผัสเพียงขี้เล็บนิ้วเท้า จะพบเห็นโลกใบใหม่ที่กลับหัวกลับหางโดยสิ้นเชิง
คุณภาพ | ร์รี-เกินกว่าคนธรรมดาจะเข้าใจ
ส่วนตัว | อิหยังวะ!


L'age d'Or

L’Age d’Or (1930) French : Luis Buñuel ♥♥♥♡

(15/9/2016) อีกหนึ่งหนัง Surrealist ของ Luis Buñuel ที่จะพาคุณไปสำรวจพื้นฐานข้างในจิตใจของมนุษย์ กับสิ่งที่คุณเห็นในหนังเรื่องนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยคิดอยู่ในใจ แต่ไม่กล้าทำมันออกมา ผมไม่ได้จะแนะนำให้คุณทำตามหนังนะครับ ดูแล้วระลึกไว้ เพราะหนังได้แปรสภาพทุกความคิดอันชั่วร้าย ออกมาเป็นการกระทำได้เหนือจริงๆ

หลังประสบความสำเร็จจาก Un Chien Andalou ก็มีเศรษฐีคนหนึ่ง Charles de Noailles รับอาสาเป็นนายทุนสนับสนุน Luis Buñuel และ Salvador Dalí สร้างหนังภาคต่อออกมา เพื่อให้เป็นของขวัญวันเกิดแก่ภรรยา Marie-Laure de Noailles ผู้ชื่นชอบในงานศิลปะ ว่ากันว่าเป็นเงินกว่าล้านฟรังก์

ในความตั้งใจแรก จะสร้างหนังที่มีความยาวพอๆกับ Un Chien Andalou แล้วใส่เสียงเพิ่มเข้าไป แต่ขณะนั้นผู้สร้างหนังหลายราย ที่เริ่มขยายความยาวหนังเป็นระดับชั่วโมง (จะได้ค่าตั๋วแพงขึ้น) ด้วยความวิตกกังวล Buñuel เสนอ Charles de Noailles ว่าจะทำหนังสั้นจะได้ประหยัดงบประมาณ แต่เขาบอก ทำไปเลยหนังยาว เงินไม่อั้น… เหอะๆ

L’Age d’Or หรือ The Golden Age เป็นผลงานการร่วมมือกันครั้งที่ 2 (และครั้งสุดท้าย) ของ Luis Buñuel และ Salvador Dalí ที่ครั้งนี้พวกเขาได้ทำหนังขนาดยาว (Feature Length) เรื่องแรกของโลก ที่เป็นแนว Surrealism, แต่คราวนี้พวกเขาละทิ้งคอนเซ็ปเดิม ที่ว่าจะสร้างหนังจากเรื่องราวอะไรก็ได้ที่คิดขึ้นมาแบบไม่ต้องมีความหมายอะไร เป็นการสร้างเรื่องราวที่มีความสอดคล้อง เพิ่มเติมคือการสอดไส้ เสียดสี Satire ขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งแนว Surrealist เดิมด้วยการนำสิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจมนุษย์ นำเสนอถ่ายทอดออกมาให้เห็นเป็นประจักษ์

ต้องบอกว่า Satire คือแนวถนัดของ Luis Buñuel ที่ตลอดชีวิต ผมก็เห็นพี่แกทำแต่หนังแนวนี้ต่างแค่เรื่องราว รูปแบบวิธี และเทคนิคนำเสนอ, สิ่งที่ Buñuel ชอบเสียดสี เหยียดหยาม ก็ทุกสิ่งอย่าง การทำอะไรที่มากไป น้อยไป ไม่มีคำว่า Common Sense ในหนังของเขา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเพศและศาสนา, เพราะความที่วัยเด็กโตขึ้นมาด้วยการมีลุงเป็นบาทหลวง ทำให้เขาเคร่งครัดศาสนาอย่างมาก จนพอโตขึ้นถึงวัยหนึ่ง ได้เรียนรู้ค้นพบบางสิ่งบางอย่าง ทำให้เขาแสดงความต่อต้านออกมาโดยสิ้นเชิง, ด้วยเหตุนี้ทำให้ในหนังทุกเรื่องจะต้องมีอะไรบางอย่างที่แสดงถึง ความชั่วร้ายของศาสนา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ใจความของหนังเรื่องนี้ นำเสนอพื้นฐาน ความต้องการ สันชาติญาณ ที่หลบซ่อนอยู่ในจิตใจมนุษย์, โดยปกติแล้วมนุษย์จะปกปิดสันดานดิบของตนไว้ ภายใต้กรอบ บรรทัดฐาน แนวคิดของตนเองและสังคม, จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีคนแสดงออก กระทำความต้องการนั้นออกมาโดยไม่มีกรอบ บรรทัดฐานใดๆยึดถือไว้ เช่น กำลังเดินๆอยู่หมาเห่า คนปกติทั่วไปคงเดินหนีอย่างหวาดระแวง ซึ่งสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ หมาเห่ามาเราก็ต้องเห่ากลับ หนังเรื่องนี้ หงุดหงิดวิ่งไล่แตะหมา (ถ้าไม่มีคนรั้งไว้ เชื่อว่าอาจจะฆ่าตัดคอมันเลย) บางสิ่งที่เราคิดแต่กดเก็บไว้ หนังเรื่องนี้จะระเบิดมันออกให้เราเห็น ราวกับว่าตัวละครในหนัง ไม่มีหรอก ‘จิตสำนึก’

เหมือนว่าคนที่แสดงออก แบบไม่มีอะไรยับยั้งชั่งใจนี้ มักถูกมองว่าเป็นคนบ้า ควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองไม่ได้, ผมว่าคิดแบบนี้ไม่ถูกนะครับ เขาแค่แสดงออกตามสัญชาติญาณ ความต้องการของตัวเองเท่านั้น ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม กฎระเบียบอะไรที่ยับยั้งห้ามไว้ นี่น่าจะเรียกว่า ‘เดรฉาน’ มากกว่า, สิ่งที่ทำให้มนุษย์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ประเสริฐ’ เพราะบางสิ่งบางอย่างที่ยับยังชั่งใจ ไม่ให้กระทำอะไรหลายๆอย่างในลักษณะสัญชาติญาณมากเกินไป กล่าวคือ สามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจ ยอมรับ ให้อภัย นี่เป็นสิ่งที่ ‘เดรฉาน’ ไม่เข้าใจ พวกเขาแสดงออกผ่านสัญชาติญาณเท่านั้น

สิ่งที่ Buñuel นำเสนอออกมาในหนังเรื่องนี้ เขาต้องการเสียดสีมนุษย์เต็มๆเลย ทำไมเราต้องปกปิด ทำไมต้องเก็บกด มนุษย์เราก็ ‘เดรฉาน’ นี่แหละ เป้าหมายของเขาคือกลุ่มที่สร้างกรอบ กฎระเบียบ เป็นผู้ควบคุมจริยธรรมในสังคม ที่ทำให้มนุษย์เป็น ‘ประเสริฐ’ นั่นคือศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคริสตจักร, ตั้งคำถาม นำเสนอแนวคิดที่ว่า ถ้าศาสนามันไม่ได้บริสุทธิ์ โปร่งใสแบบที่ใครๆคิดว่าควรเป็น พวกเขาจะยังมีสิทธิ์อะไรที่กล้าแบกรับหน้าที่ควบคุมจริยธรรมของคนในสังคม

ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ Buñuel เพ้อเจ้อเล่นๆว่า เขาอาจโดนบาทหลวงลวนลาม (แบบ Spotlight-2015) แต่เพราะเขาเป็นคนฆ่าได้หยามไม่ได้ นับจากวันนั้นจึงประกาศตนเป็นศัตรูต่อศาสนา ทำทุกอย่างเพื่อให้คนเห็นว่า นี่ไม่ใช่องค์กรที่เป็นอย่างที่ใครๆคิดกัน, มองประเด็นนี้ก็น่าคิดนะครับ เพราะพุทธศาสนาเราก็ใช่ว่าเป็นองค์กรที่บริสุทธิ์แท้ พระเลวๆสมัยนี้ก็มีมาก แต่ศาสนาก็ยังไม่ได้ล่มจมเพราะมีคนพวกนี้, สิ่งที่ Buñuel แน่นอนมันไม่สะเทือนคริสตจักรเท่าไหร่หรอก แต่ทำให้คนที่ได้รับชมหนังตั้งคำถาม และทำความเข้าใจด้วยตัวเอง กับองค์กรที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วเราจะยังเชื่อถือพวกเขาอยู่ไหม?

กับพุทธเรา คนที่อ่านข่าวเห็นพระสงฆ์ตุ๋ยเด็ก บางคนเกิดความคิดเหมารวมว่าพุทธเราไม่ดี กำลังเสื่อมเสีย เปลี่ยนศาสนาเลยดีกว่า ใครคิดแบบนี้ก็ปล่อยให้เขาเปลี่ยนไปเลยนะครับ กับคนที่มองปัญหาเล็กๆที่ตัวบุคคลเหมารวมเป็นปัญหาใหญ่ๆของส่วนรวม นั่นคือคุณไม่เข้าใจอะไรเกี่ยวกับศาสนาเลย, สิ่งที่ทำให้พุทธ คริสต์หรือศาสนาอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระเทือนต่อความเสื่อมเสียเล็กๆน้อยๆนี้ เพราะ สิ่งที่เราเคารพนับถือ คือ เชื่อฟังคือคำสอน ความดี คุณธรรม มวลรวม ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล ถ้าคนๆเดียวสามารถทำลายศาสนาได้ นั่นแสดงว่าไม่มีสาวกที่เข้าใจคำสอนของศาสนาได้อย่างถ่องแท้เหลืออยู่แล้ว

แม้ปี 1930 จะเป็นยุคของหนังพูด (Talkie Era) แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ยังมีการใช้ Intertitles ขึ้นขั้น เพื่ออธิบายอะไรหลายๆอย่าง ในคลิป Youtube ที่ผมดู น่าเสียดายที่ไม่มี Sub แปลภาษาอังกฤษ มีแต่ภาษาฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผมเข้าใจอะไรน้อยลงนะครับ คือถึงฟัง/อ่าน ฝรั่งเศสไม่ออก ดูจากแค่ภาพการแสดง ก็สามารถเข้าใจหนังได้แทบทั้งหมด

ถ่ายภาพโดย Albert Duverger ถึงจะเป็นหนังพูด แต่ลักษณะของงานภาพยังอยู่ในกรอบเหมือนหนังเงียบ นักแสดงเดินเข้าออกฉาก กล้องตั้งไว้เฉยๆ ใช้การถ่ายแช่ มีขยับแพนกล้องนิดหน่อยเท่านั้น, ตัดต่อโดย Luis Buñuel ซึ่งใช้การถ่ายไปตัดต่อไปไม่เสียเวลา หนังมีการใช้ Flashback ตัดเล่าย้อนเหตุการณ์อดีต ซึ่งแทนด้วยความนึกคิดจินตนาการของพระเอก, ช่วงหลังมีการตัดสลับระหว่าง 2 เหตุการณ์ 1) คู่รักชายหญิงที่พรอดรัก 2) แขกในงานเลี้ยงฟังเพลงบรรเลง (ฉากนี้ได้รับการตีความว่าเป็น Orgy หมู่)

นี่เป็นภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ที่มีการใช้เพลง Mozart ประกอบ กับเพลง Ave Verum Corpus K.618, นอกจากนี้ยังมี Beethoven: Symphony no 5 in C minor, Op. 67 – Allegro, Franz Schubert: ‘Unfinished’ Symphony No. 8 in B minor, D.759, Richard Wagner: Tristan und Isolde: Mild und leise และ Felix Mendelssohn-Bartholdy: The Hebrides Overture (Fingal’s Cave), Op. 26

นับจากหนังเรื่องนี้ เราจะได้ยินเพลงคลาสสิกจากคีตกวีดังๆในหนังของ Buñuel น่าจะแทบทุกเรื่อง เหมือนว่าเหตุผลที่เขาใช้เพลงคลาสสิก เพราะมันสะท้อนกับภาพเหตุการณ์ได้ตรงกว่า ซึ่งหนังของเขาไม่มีเพลงสมัยใหม่ ร่วมสมัยนิยมเลย เพราะเพลงพวกนี้ใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์แทนความหมาย ไม่ทรงอิทธิพลเท่ากับเพลงที่มีคนรู้จักกันมาก่อน

การตีความหมายเชิงสัญลักษณ์เรื่องนี้ ถ้าคุณเป็นคนชอบคิดก็คิดไปเลยนะครับ ผมว่าความหมายอะไรหลายๆอย่างมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว แต่อาจมีเหตุผลลึกซึ้งกว่านั้น ถ้าคุณเป็นพวกบ้าหนังขั้นรุนแรงก็ลองหาคำตอบดูเอง เช่น แมงป่องต้นเรื่อง (อสรพิษมีหาง), ทำไมวัวถึงมาโผล่อยู่ในห้องบนเตียง ก็ลองคิดว่า วัวเป็นสัญลักษณ์ของอะไร (ขี้เกียจ, เฉื่อยชา) หรือทำไมพระเอกนางเอกต้องดูดมือ ดูดนิ้ว (ความต้องการ นี่เป็นสัญลักษณ์ทางเพศ) กับคนที่ดูหนังเรื่องนี้ไม่คิดอะไร (แบบผม) หลายๆฉากมันจะเกิดความรู้สึก ‘แปลก’ ไม่เข้ากัน ขัดต่อสามัญสำนึก Common Sense สิ่งที่ควร/ไม่ควรทำ นี่แหละครับจุดเรียกว่า Surrealist คือให้ความรู้สึกที่เกินจริง ขัดแย้งต่อความรู้สึก วิธีการที่ถูกต้องคือ ให้การกระทำนั้นมันซึมซาบเข้ามา ไม่ต้องคิดหาก็ได้ว่า ทำไปเพื่ออะไร เห็นแค่ว่า ‘ทำอะไร’ ก็พอ ซึ่งถ้าคุณสามารถเข้าใจความหมายหรือรู้สึกได้ว่าคืออะไร นั่นคือคุณเข้าใจ Surrealist อย่างแท้จริง

หนังเรื่องนี้ได้ออกฉาย เพราะ Buñuel นำเสนอต่อกอง Censors ว่าเป็น ‘The Dream of a Madman’ ฉายรอบปฐมทัศน์ใน Paris เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1930 ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก แต่ก็ยืนโรงฉายไม่นานนัก คืนวันที่ 3 ธันวาคม 1930 กลุ่มคนพวก right-wing (ยึดมั่นในวิถีเก่า) ได้รวมตัวกันขว้างปาหมึกสีชมพู (Purple Ink) ไปที่จอภาพยนตร์ ทำลายโปสเตอร์ ข้าวของเสียหาย เรียกร้องให้ถอดหนังออกจากโปรแกรมฉาย นี่ถือว่าไม่มีทางเลือก หนังจำต้องยุติโปรแกรมฉายลงทันที, ในสเปน กลุ่ม right-wing ได้ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ พูดถึงว่า ‘เป็นหนังที่โคตรคอรัปชั่นที่สุดในทศวรรษ เปรียบเสมือนยาพิษใหม่ที่พวก Judaism, Masonry และกลุ่มคณะปฏิวัติ วางแผนกันเพื่อมอมเมาประชาชน’ (…the most repulsive corruption of our age … the new poison which Judaism, Masonry, and rabid, revolutionary sectarianism want to use in order to corrupt the people), หนังใช้เวลา 39 ปี กว่าที่จะได้ฉายในอเมริกาครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 1979 ที่ Roxie Cinema, San Francisco

ตามทำเนียมของ Charles de Noailles ทุกๆปีเขาจะมอบของขวัญวันเกิดให้ภรรยา เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากหนังเรื่องนี้ ทำให้ Noailles ได้รับคำขู่จากกลุ่มผู้ประท้วง ทำให้พวกเขาต้องถอนตัวจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายหนังเรื่องนี้ และประกาศว่าไม่ได้มีส่วนร่วมอะไร (ทั้งๆที่ก็เสียเงินไปเป็นล้านแล้ว)

และหลังจากทำหนังเรื่องนี้ Luis Buñuel กับ Salvador Dalí ก็ไม่เคยทำงานร่วมกันอีกเลย เห็นว่าเพราะความขัดแย้งในขณะเขียนบทหนัง ซึ่ง Buñuel เป็นพวก Leftist (ขวาจัด) ต้องการนำเสนอเรื่องราวสะท้อนภาพของคนชนชั่นกลาง ส่วน Dalí กลับเป็นพวกสนับสนุนผู้นำเผด็จการ Francisco Franco จึงเกิดความไม่พอใจขึ้นระหว่างทั้งสอง, ว่ากันว่าวันแรกของการถ่ายทำ Buñuel ถือฆ้อนวิ่งไล่ Dalí ออกจากกองถ่าย นี่ทำให้ Dalí ประกาศว่าเขาไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรกับหนังอีก (แต่ก็ยังขึ้นเครดิตในฐานะ ผู้เขียนบทร่วม)

ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้นะครับ เหตุผลสั้นๆ คือมันบ้าคลั่งแบบโดนใจ แม้องค์ประกอบทางศิลปะของหนังเรื่องนี้จะไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ (มีข้อจำกัดในงานสร้างเยอะมาก และเป็นหนังยุคเปลี่ยนผ่าน หนังเงียบ->หนังพูด ทำให้อะไรๆดูขาดๆเกินๆไปหมด) แต่ด้วยเรื่องราวและสิ่งที่เกิดขึ้นในหนัง ต้องถือว่าสร้างความประหลาดใจ อึ้งทึ่ง กล้าคิด กล้านำเสนอไปได้ยังไง มันสะท้อนสันดาบดิบที่อยู่ในใจของผม ให้ถึงขั้นสะเทือนเลยละ ต้องระวังเก็บรักษามันให้ดี อย่าให้ออกมาเพ่นพ่าน ถ้ากลายเป็นแบบในหนังเรื่องนี้ก็จบกัน

แนะนำอย่างยิ่งกับศิลปิน ที่รู้จัก ชื่นชอบสไตล์ Surrealist, หมอ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ปรัชญา ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจแนวคิด การแสดงออก และสัญลักษณ์ต่างๆ, แฟนหนังของ Luis Buñuel และ Salvador Dalí ห้ามพลาดเลย

จัดเรต 18+ สิ่งที่อยู่ในใจ ใช่ทุกสิ่งควรเปิดเผยออกมา

TAGLINE | “L’Age d’Or เป็นหนัง Surrealist ขนาดยาวเรื่องแรกของ Luis Buñuel และ Salvador Dalí ที่เพิ่มความท้าทายคือการเสียดสีวิถี ความเชื่อที่เห็นแล้วแสบๆคันๆ เกายังไงก็ไม่หาย”
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE

1
Leave a Reply

avatar
1 Comment threads
0 Thread replies
4 Followers
 
Most reacted comment
Hottest comment thread
1 Comment authors
ร.น.ก. Recent comment authors

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
newest oldest most voted
Notify of
ร.น.ก.
Guest
ร.น.ก.

จากลิสต์ที่ Buñuel ระบุไว้ใน Cinematheque Belgique เมื่อปี 1952
หนังเรื่องนี้เป็น 1 ใน 10 หนังโปรดของเจ้าตัว Buñuel เองด้วย ให้ไว้อยู่อันดับ 9
(เหมือนที่ Fellini เลือก 8 1/2 ของตัวเองเป็น 1 ใน 10 หนังโปรด)

สาเหตุนอกจากเรื่องความชอบส่วนตัว อาจจะจากในตัวผลงานเอง หรือเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างสรรค์ หรืออื่นๆแล้ว
คิดเล่นๆ ไม่รู้ว่าเพราะการจราจลหลังหนังออกฉายนั่น จริงๆแล้วอาจจะสร้างความพึงพอใจให้เจ้าตัวรึเปล่าก็ไม่รู้
เพราะถือว่าตัวเองเจริญรอยตามไอด้อลอย่าง Battleship Potemkin (1925) ซึ่งก็เป็น 1 ใน 10 หนังโปรดจากลิสต์เดียวกันด้วย (จากที่เรื่องแรก Un Chien Andalou กะว่าคงเกิดจราจลแน่ๆ แต่สุดท้ายก็ไม่เกิด)
อารมณ์เหมือนหนังตัวเองสามารถสร้างปรากฎการณ์ สร้าง impact ต่อสังคมได้แบบที่ Battleship Potemkin เคยทำมา เลยชอบ

%d bloggers like this: