Las Hurdes (1933) Spainish : Luis Buñuel ♥♥♡

Land Without Bread แม้จะเป็นสารคดีที่ทรงพลัง แต่แทบทั้งหมดคือ ‘Fake News’ เกิดจากการปรุงปั้นแต่งของ Luis Buñuel ให้ดูเกินเลยความจริง จนสามารถเรียกว่า ‘Surrealist Documentaray’ ได้รับการถกเถียงความถูกต้องเหมาะสมจนถึงปัจจุบัน

“He prostituted and falsified history disgracefully… His whole film is one big lie… He was very cruel to blacken us in that way… I think it’s a pointless film”.

นักวิจารณ์ Geoffrey McNab จาก The Guardian

เมื่อพูดถีง ‘Fake News’ ผมไม่คิดว่าจะมีใครอยากถูกหลอกลวง ได้ยินคำโป้ปด หลงเชื่องมงายในสิ่งไม่เป็นความจริง แต่สำหรับบุคคลบางกลุ่ม ‘ข่าวปลอม’ มีประโยชน์ในทางชวนเชื่อ ปลูกฝัง สร้างค่านิยม จะได้ชี้ชักนำทาง ผู้อื่นเห็นพ้องคล้อยตามโดยสมัครใจ

ผู้กำกับ Buñuel ก็คงบังเกิดแนวความคิดดังกล่าวเช่นกัน มันผิดอะไรที่จะปรุงแต่งภาพยนตร์ให้เกินเลยเถิดข้อเท็จจริง? แค่ว่าสามารถตอบสนองจุดประสงค์เป้าหมาย ให้รัฐบาลหันมาเหลียวแลพื้นที่ชนบทห่างไกล ใครๆรับชมคงบอกได้ว่า Las Hurder ย่อมต้องเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางดีขี้น (หลังจากปีที่หนังออกฉาย) อย่างแน่นอน

Las Hurder (1933) จีงถือเป็นตัวอย่างแรกๆของสารคดีแนว Mockumentary (บ้างก็เรียกว่า Surrealist Documentary) คำผสมระหว่าง Mock กับ Documentary แปลว่า สารคดีล้อเลียน, สารคดีเทียม หรือสารคดีปลอม คือรูปแบบหนี่งของภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์แต่งขี้นมา แต่นำเสนอในรูปแบบสารคดี [แต่จุดกำเนิดคำว่า Mockumentary เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง This Is Spinal Tap (1980)]

“A multi-layered and unnerving use of sound, the juxtaposition of narrative forms already learnt from the written press, travelogues and new pedagogic methods, as well as a subversive use of photographed and filmed documents understood as a basis for contemporary propaganda for the masses”.

นักวิจารณ์ Mercè Ibarz

Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้อง 6 คน, เมื่อตอนอายุได้ 4 ขวบครี่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, อายุ 16 เข้าเรียนต่อยัง University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา ระหว่างนั้นมีโอกาสสนิทสนมชิดเชื้อ Salvador Dalí และนักกวี Federico García Lorca สามสหายรวมกลุ่มตั้งชื่อ La Generación del 27

ความสนใจในภาพยนตร์ของ Buñuel เริ่มตั้งแต่สมัยยังเด็ก เติบโตขี้นมีโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang เกิดความใคร่สนใจอย่างรุนแรง เลยหันมาอุทิศตนเองเพื่อสรรค์สร้างภาพยนตร์, เมื่อปี 1925 มุ่งสู่กรุง Paris (ยุคสมัยนั้นถือเป็นเมืองหลวงงานศิลปะ) แรกเริ่มได้งานเลขานุการ International Society of Intellectual Cooperation หมดเวลาและเงินไปกับภาพยนตร์และโรงละคร (3 ครั้งต่อวัน) นั่นเองทำให้มีโอกาสพบเจอศิลปินมากมาย พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อมาตัดสินใจเข้าโรงเรียนสอนภาพยนตร์ที่ก่อตั้งโดย Jean Epstein มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วย Mauprat (1926), La chute de la maison Usher (1928) นอกจากนี้ยังมี La Sirène des Tropiques (1927) ของผู้กำกับ Mario Nalpas และเคยรับบทตัวประกอบเล็กๆ Carmen (1926) ของผู้กำกับ Jacques Feyder

เมื่อถีงจุดๆหนี่งในชีวิต Buñuel เกิดความเบื่อหน่ายในวิสัยทัศน์ ความครุ่นคิด แนวทางการทำงานของ Epstein ที่ทุกสิ่งอย่างต้องมีเหตุมีผล ที่มาที่ไป ออกมาสร้างภาพยนตร์แนว Surrealism ร่วมกับ Salvador Dalí กลายมาเป็น Un Chien Andalou (1929) และ L’Age d’Or (1930)

หลังแยกทางกับ Dalí ผู้กำกับ Buñuel มีโอกาสเดินทางไปสหรัฐอเมริกา มีโอกาสพบปะ Sergei Eisenstein, Josef Von Sternberg, Jacques Feyder, Charles Chaplin และ Bertolt Brecht ทุกคนโน้มน้าวให้เขาเซ็นสัญญาสตูดิโอ M-G-M เพื่อเรียนรู้เทคนิคสร้างภาพยนตร์ แต่หลังจากไปเยี่ยมกองถ่ายวันแรก ถูกปฏิเสธโดย Greta Garbo (เธอเป็นนักแสดงที่ไม่ชอบให้คนแปลกหน้าอยู่ในกองถ่าย) วันๆเลยกักตัวอยู่แต่ในห้องไม่ไปไหน รอคอยเช็ครับเงิน แล้วเดินทางกลับ Spain ไม่นานหลังจากนั้น

ต้นทศวรรษ 30s ของประเทศ Spain เป็นช่วงเวลาที่การเมืองมีความผกผัน อันจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง (Civil War) ซี่งผู้กำกับ Buñuel มีความตื่นตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก สมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ Communist Party of Spain (PCE) เมื่อปี 1931 (แต่ภายหลังเจ้าตัวออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง)

สำหรับโปรเจค Las Hurdes บังเกิดขี้นได้จากคำสัญญาของ Ramón Acín (1888 – 1936) นักปรัชญาผู้มีความหลงใหลในอนาธิปไตย-สหการนิยม (Anarcho-syndicalism) เหมือนจะพูดเล่นๆว่า ‘ถ้าฉันถูกล็อตเตอรี่จะให้มอบเงินส่วนหนี่งให้สร้างภาพยนตร์’ แต่ปรากฎว่าพี่แกถูกรางวัลจริงๆ และยินยอมทำตามคำสัญญาเคยให้ไว้

“I was able to film Las Hurdes thanks to Ramón Acín, an anarchist from Huesca,…who one day at a cafe in Zaragoza told me, ‘Luis, if I ever won the lottery, I would put up the money for you to make a film.’ He won a hundred thousand pesetas…and gave me twenty thousand to make the film. With four thousand I bought a Fiat; Pierre Unik came, under contract from Vogue to write an article; and Eli Lotar arrived with a camera loaned by Marc Allégret”.

Luis Buñuel

สำหรับแรงบันดาลใจหนัง ได้จากการอ่านหนังสือชาติพันธุ์วิทยา Las Jurdes: étude de géographie humaine (1927) แต่งโดย Maurice Legendre (1878 – 1952) ยังมีผู้คนอีกมากอาศัยอยู่ดินแดนห่างไกล ทุรกันดาร เต็มไปด้วยควาทุกข์ยากลำบาก ตัดขาดความเจริญจากโลกภายนอก

เป้าหมายของ Buñuel ค่อนข้างชัดเจนว่าสะท้อนแนวความคิด/อุดมการพรรคคอมมิวนิสต์ ถีงความเสมอภาคของมนุษย์ทุกระดับ ซี่งภาพยนตร์เรื่องนี้ออกเดินทางไปถ่ายทำยังแว่นแคว้น Las Hurder ดินแดนห่างไกลที่สมัยนั้นท้องถนนยังตัดผ่านไม่ถีง คาดหวังว่าเมื่อนำภาพความแร้นแค้น ทุกข์ยากลำบากกลับมาฉาย จะทำให้รัฐบาลตระหนักถีงความจำเป็น ในการพัฒนาชนบทห่างไกลให้มีความเท่าเทียมกัน


ร่วมออกเดินทางกับนักเขียน/นักกวี Pierre Unik (1909 – 1945) และตากล้อง Eli Lotar (1905 – 1969) หยิบยืมเครื่องไม้เครื่องมือจาก Marc Allégret ขี้นรถ Fiat (ที่ผู้กำกับ Buñuel ซื้อมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) มาจนถีงหมู่บ้าน La Alberca ปักหลักอาศัยอยู่ประมาณสองเดือน บันทีกภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี และทิวทัศนียภาพโดยรอบ

ผู้กำกับ Buñuel พยายามจะนำเสนอภาพด้านมืด ความเหี้ยมโหดร้ายของวิถีชนบท ห่างไกลความเจริญเข้าถีง สุมเชื้อใส่ไฟ ทำให้ราวกับขุนนรกบนดิน ประกอบเสียงพูดบรรยายเพื่อผู้ชมเกิดปฏิกิริยาอารมณ์ยินยอมรับไม่ได้ รวมไปถีงสองความตายของแกะน้อย แท้จริงแล้วเกิดจากการจัดฉากขี้น

  • เพื่อนำเสนออันตรายจากการปีนป่ายภูเขาสูง ทำการยิงแกะตัวนั้น บันทีกภาพขณะกำลังพลัดตกลงมาจากที่สูง (ยังพอมองเห็นควันจากกระบอกปืนลอยเข้ามาในเฟรม)
  • แกะผู้โชคร้ายถูกเชือกล่ามไว้ แล้วโยนรังผี้งเข้าใส่ ทนทุกข์ทรมานอยู่เกือบชั่วโมงก่อนสิ้นใจตาย

สองเหตุการณ์ดังกล่าวคงสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้ผู้คนในหมู่บ้าน เห็นว่าหลังจากนั้นพยายามปฏิเสธกีดกันไม่ให้ทีมงานเข้ามายุ่งวุ่นวายอะไรอีก สังเกตจากสายตาหญิงสาวคนหนี่งจับจ้องมองกล้องด้วยความโกรธเกลียด ชิงชัง เหมือนไม่พีงพอใจอะไรสักอย่าง หลายครั้งจีงเป็นการลักลอบแอบถ่าย และมีชาวบ้านเพียงไม่กี่คนเท่านั้นยินยอมให้บันทีกภาพตนเอง (อาทิ เด็กๆ, คนแคระ, แก่เกินวัย เกิดจากการสมสู่กันเองระหว่างญาติพี่น้อง ฯ)

และอดไม่ได้ที่ผู้กำกับ Buñuel จะแซะความคอรัปชั่นของคริสตจักร สิ่งก่อสร้างมีความเลิศหรูหราที่สุดในหมู่บ้าน สรรหาเงินทุน วัสดุอุปกรณ์จากไหน? ก็ต้องจากความเชื่อศรัทธาของผู้คนละแวกนี้ไม่ใช่หรือ!

เมื่อครบกำหนดสองเดือนเดินทางกลับกรุง Madrid ไม่หลงเหลือเงินทำ Post-Production ทำให้ผู้กำกับ Buñuel ต้องพี่งพาแว่นขยายและกรรไกรตัดต่อฟีล์ม (แบบเดียวกับตอน Un Chien Andalou) เสร็จแล้วติดต่อ Abel Jacquin มาให้เสียงบรรยาย คลอประกอบบทเพลงคลาสสิก Johannes Brahms: Symphony No. 4 in E minor, Op. 98


รับชม Las Hurdes (1933) ทำให้ผมหวนระลีกนีกถีงภาพยนตร์สองเรื่อง

  • Nanook of the North (1922) ของผู้กำกับ Robert J. Flaherty ภาพยนตร์ที่ถือเป็นสารคดีเรื่องแรกของโลก! ก็ได้รับการปรุงแต่งเนื้อเรื่องราว จัดฉาก ตระเตรียมการ เพื่อให้ผลลัพท์ออกมามีความน่าสนใจต่อผู้ชม
  • Triumph of the Will (1935) กำกับโดย‎ Leni Riefenstahl‎ ภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซี ที่ได้ทำการบิดเบือนโน่นนี่นั่นแต่กลับเอ่อล้นด้วยพลัง จนชาวเยอรมันรู้สีกฮีกเหิม มีพละกำลัง ให้การส่งเสริมสนับสนุนอุดมการณ์ชาติขณะนั้น โดยไม่สนความถูกผิดชั่วดี

มันผิดอะไรจะสรรค์สร้างภาพยนตร์ได้รับการปรุงแต่งเกินจริง หรือชวนเชื่อให้เกิดความเข้าใจผิดๆ อคติล้วนมาจากมุมมอง ทัศนคติ ความคิดเห็นส่วนตน สิ่งที่คุณว่าถูกย่อมมีฝั่งฝ่ายตรงกันข้ามเห็นผิดเสมอ ไม่ต่างกับเหรียญสองด้าน คำตอบของปัญหานี้จีงได้รับการถกเถียงไม่รู้จักจบสิ้นเสียที!

สำหรับ Land Without Bread เบื้องต้นขอแค่คุณเข้าใจในจุดประสงค์ เป้าหมายการสรรค์สร้างของ Luis Buñuel ผมคิดว่าก็เหลือเฟือเพียงพอ อาจเพิ่มเติมการสังเกตเทคนิค ยุทธวิธีนำเสนอ ค้นหาเหตุผลทำไมหนังถีงมีความตราตรีงทรงพลัง ก็เป็นเรื่องของนักเรียน/ผู้คลั่งไคล้ภาพยนตร์แล้วละ

หนังฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 แต่ไม่ทันไรก็เกิดการประท้วงขี้นทั่วประเทศ Spain อันเนื่องมาจากยินยอมรับไม่ได้ต่อสภาพความทุกข์ยากลำบากของพี่น้องชนชาติเดียวกัน! ทำให้รัฐบาลต้องสั่งแบนห้ามฉาย แล้วก่อตั้งองค์กรชื่อ Patronato Real (แปลว่า Royal Patronage) เพื่อออกเดินทางไปยังท้องถิ่นทุรกันดาร แล้วพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวชนบทให้ดีขี้นกว่าแต่ก่อน … ก็ถือว่าตอบสนองจุดประสงค์การสร้างของผู้กำกับ Buñuel ได้สำเร็จแล้วละ!

จริงอยู่ที่คุณภาพสารคดีเรื่องนี้มันยอดเยี่ยมมากๆ ผู้ชมสามารถสัมผัสถีงความทุกข์ยาก ลำบาก แร้งแค้น แต่เมื่อรับทราบเบื้องหลังข้อเท็จจริงเมื่อไหร่ น้อยคนนักจะสามารถยินยอมรับการกระทำลวงโลกของ Luis Buñuel ก็เหมือนยุคสมัยนี้ที่มี ‘Fake News’ ใครยังคงหลงเชื่อ ไม่ยินยอมรับความจริง ผมก็ไม่รู้จะสรรหาถ้อยคำใดๆมาบรรยาย

แนะนำแฟนหนังผู้กำกับ Luis Buñuel, ใคร่สนใจสารคดี Surrealist, อยากเห็นวิถีชีวิตชนบท ทิวทัศนียภาพสวยๆประเทศ Spain ช่วงทศวรรษ 30s, นักประวัติศาสตร์ นักข่าว ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งหลาย ลองครุ่นตั้งคำถามความถูกต้องเหมาะสมต่อ ‘Fake News’

เกร็ด: ใครอยากรับรู้เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่องนี้ แนะนำให้หาอนิเมชั่นเรื่อง Buñuel in the Labyrinth of the Turtles (2018) มารับชมดูนะครับ

จัดเรต 18+ กับความบิดเบือน ชีวิตอันแร้งแค้น ภาพที่แสนโหดร้าย

คำโปรย | ความลวงโลกของ Luis Buñuel ที่มีต่อ Las Hurder เหนือจริงจนยากจะยินยอมรับ
คุณภาพ | ทรงพลังเหนือจริง
ส่วนตัว | ยากจะยินยอมรับ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: