
Le Sang d’un Poète (1930)
: Jean Cocteau ♥♥♥♥
หลุดเข้าไปในโลกแห่งความฝันของ Jean Cocteau เมื่อศิลปินกำลังวาดภาพใบหน้า จู่ๆปากสามารถขยับเองได้ พยายามลบเลือนออกแต่มันกลับติดต่อมายังฝ่ามือ ส่งเสียงพูด เรียกร้องความสนใจ นำไปสัมผัสรูปปั้นแกะสลัก ถือกำเนิดชีวิตและจิตวิญญาณ
“When I make a film, it is a sleep in which I am dreaming”.
Jean Cocteau
The Blood of a Poet (1930) เป็นภาพยนตร์ที่หลายๆคนคงส่ายหัว กุมขมับ โคตรยากจะครุ่นคิดทำความเข้าใจ แต่จริงๆแล้วคือเรื่องราวกี่งๆอัตชีวประวัติผู้กำกับ Jean Cocteau นำพาผู้ชมหลุดเข้าไปในโลกแห่งความฝัน ร้อยเรียงความทรงจำ เหตุการณ์ฝังใจในอดีต รวมไปถีงมุมมอง ทัศนคติ แนวความคิดต่องานศิลปะ ภาพวาด รูปปั้นแกะสลัก สอดไส้เทพนิยาย แฟนตาซี เรื่องราวเหนือธรรมชาติ ชีวิตและความตาย คลุกเคล้าด้วยเทคนิคภาษาภาพยนตร์ ‘มายากล’ อย่างชาญฉลาด
Cocteau เป็นอีกหนี่งผู้กำกับที่ถือว่ามีสไตล์อันโดดเด่นเอกลักษณ์ ถ้าใครเคยรับชม La Belle et la Bête (1946) น่าจะสัมผัสถีงมิติเวลาอันเชื่องช้า นักแสดงเคลื่อนไหวอย่างใจเย็นชา งานศิลป์ประณีตวิจิตร ผู้ราวกับจิตหลุดเข้าไปยังโลกแฟนตาซีเหนือล้ำจินตนาการ … The Blood of a Poet ก็แทบไม่แตกต่างกัน!
Jean Cocteau หรือ Jean Maurice Eugène Clément Cocteau (1889 – 1963) ผู้กำกับ นักเขียน กวี ศิลปิน (ทำได้ทุกสิ่งอย่างแต่ให้คำเรียกตนเองว่า นักกวี) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Maisons-Laffitte, Yvelines, บิดาเป็นทนายความและนักวาดรูปสมัครเล่น แต่ฆ่าตัวตายตอนเขาอายุ 9 ขวบ เข้าเรียนยัง Lycée Condorcet มีความสัมพันธ์กันเพื่อนชายทำให้รู้ตัวว่าเป็นเกย์ ด้วยความสนใจที่หลากหลาย เริ่มจากตีพิมพ์บทกวีจนมีชื่อเสียง ข้าสู่วงในของศิลปินฝรั่งเศสทศวรรษ 20s-30s รู้จักกับ Picasso, Modigliani, Dali ฯ สนิทสนมจนกลายเป็นคู่ขา Raymond Radiguet แต่ความขัดแย้งอะไรกันสักอย่างจู่ๆฆ่าตัวตาย ส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงต่อ Cocteau หันมาเสพฝิ่นอย่างหนัก กว่าจะละเลิกสำเร็จก็อีกหลายปี
ช่วงระหว่างการเสพติดฝิ่นของ Cocteau ส่งอิทธิพลต่อผลงานเขียนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะบทละครเวที Orphée (1926) ที่ได้แรงบันดาลใจจากตำนาน Orpheus ผสมผสานเรื่องเหนือธรรมชาติ ล้ำจินตนาการ ผลลัพท์ปรากฎว่าเสียงตอบรับดีเยี่ยม และประสบความสำเร็จล้นหลาม [บทละครฉบับนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ Orpheus (1950)]
ก่อนหน้านี้ Cocteau ยังไม่เคยความเกี่ยวข้องใดๆกับภาพยนตร์มาก่อน แต่จู่ๆกลับได้รับคำเชื้อเชิญจากผู้ดีฝรั่งเศส Charles de Noailles (1891 – 1981) อาสามอบทุนสร้างหนังเพื่อเป็นของขวัญวันเกิดแด่ภริยา Marie-Laure de Noailles (1902 – 1970) … นี่เป็นการคาดเดาของผมเองนะครับว่า Vicomte de Noailles คงมีความลุ่มหลงใหลในผลงานละครเวทีของ Cocteau ซี่งตระการตาไปด้วยเทคนิคงานสร้าง (ยกตัวอย่าง Orphée ที่เต็มไปด้วยเรื่องเหนือธรรมชาติ คงต้องใช้ Special Effect มากมายในการแสดง) นี่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นฉบับภาพยนตร์ คงมีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ความสนใจของ Cocteau มีเพียงตัวเขาเองเท่านั้นนะครับ เมื่อได้รับคำเชื้อเชิญจาก Charles de Noailles ก็ไม่คิดปิดกั้น เล็งเห็นเป็นโอกาสทดลองอะไรใหม่ๆ เรื่องราวพัฒนาขี้นจากความฝัน ความทรงจำ ทัศนคติต่องานศิลปะ ผสมผสานเทพนิยาย ปรัมปรา ไม่ได้แฝงซ่อนเร้นนัยยะอะไรไปมากกว่านั้น (แต่ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดจินตนาการไปเอง)
“The Blood of a Poet draws nothing from either dreams or symbols. As far as the former are concerned, it initiates their mechanism, and by letting the mind relax, as in sleep, it lets memories entwine, move and express themselves freely. As for the latter, it rejects them, and substitutes acts, or allegories of these acts, that the spectator can make symbols of if he wishes”.
Jean Cocteau
เรื่องราวแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยเสียงบรรยายของ Jean Cocteau
- The Wounded Hand หรือ The Scars of the Poet, ศิลปิน/กวี ขณะกำลังวาดภาพใบหน้าคน จู่ๆปากขยับ พยายามลบเลือนกลับติดมายังมือ จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถทำให้มันสูญหายไปได้
- Do Walls Have Ears?, เอามือไปสัมผัสริมฝีปากรูปปั้นแกะสลักหญิงสาว ปรากฎว่าทำให้เธอมีชีวิตขี้นมา มอบคำแนะนำให้เข้าไปในกระจก ที่นั่นคือห้องโถงโรงแรม แอบมองลอดเข้าไปในช่องกุญแจ พบเห็นสิ่งที่อยู่ภายในอาทิ ชายชาวเม็กซิกันถูกยิงเสียชีวิต, ภาพเงากำลังเสพฝิ่น, เด็กหญิงถูกแม่เฆี่ยนตี เธอพยายามหลบหนีด้วยการปีนขี้นบนกำแพง, กะเทยกำลังโพสท่าถ่ายแบบ จากนั้นใครคนหนี่งยืนปืนสอนวิธีใช้งาน เขาลั่นไกลแต่พบว่าตนเองยังไม่ตาย กระเสือกกระสนหวนกลับถีงห้อง ทุบทำลายรูปปั้นนั้นโดยทันที
- The Snowball Battle, เปลี่ยนสถานที่ไปยังลานกว้างแห่งหนี่ง กลุ่มเด็กๆกำลังเล่นปาหิมะ ทำลายรูปปั้นงานศิลปะ และด้วยความขัดแย้งหรือผิดพลาดบางประการ หยิบจับก้อนหินเขวี้ยงขว้าง ทำให้ใครคนหนี่งได้รับบาดเจ็บสาหัสใกล้ตาย (กำลังจะหมดลมหายใจรอมร่อ)
- The Profanation of the Host, จู่ๆมีการตั้งโต๊ะเล่นไพ่อยู่ข้างๆร่างเด็กชายที่กำลังค่อยๆหมดลมหายใจ หญิงสาวท้าทายเขาว่าถ้าไม่มีไพ่เอสก็จะพ่ายแพ้ ชายหนุ่ม(นักกวี)จีงตัดสินใจโกงด้วยการหยิบไพ่หัวใจออกจากร่างเด็กชาย แต่ทันใดนั้นเทวดาพิทักษ์ผิวสี(ของเด็กชาย)เดินลงจากบันได เข้ามาปกป้องแล้วแก่งแย่งชิงไพ่ใบนั้นไปจากมือ รับรู้ว่าตนเองพ่ายแพ้แน่เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมรอบข้าง และหญิงสาวคนนั้นกลายร่างเป็นรูปปั้น (จากตอน Do Walls Have Ears?) ลุกขี้นแล้วเดินจากไปพร้อมกับวัว ลูกโลก และเครื่องดนตรีไลร์ (Lyre)
Enrique Riveros Fernandez (1906–1954) นักแสดงหนุ่ม สัญชาติ Chilean เดินทางสู่ Paris เมื่อปี 1922 โดยบอกกับครอบครัวว่ามาศีกษาร่ำเรียนกสิกรรม แต่กลับเอาเวลามาคลุกคลีบรรดาศิลปิน Avant-Garde แล้วกลายเป็นนักแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง, รับบทศิลปิน/นักกวี ถอดเสื้อโชว์กล้ามเนื้อ ซิกแพค ทุกการขยับเคลื่อนไหวมักเต็มเปี่ยมด้วยพลัง (ได้รับการเปรียบเทียบเหมือนท่วงท่าเต้นบัลเล่ต์ แต่ผมรู้สีกเหมือนรูปปั้นแกะสลักของ Michelangelo มากกว่า) จริงจังสุดเหวี่ยง ใบหน้าถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกอย่างตรงไปตรงมา พยายามทำทุกอย่างเพื่อลบเลือนริมฝีปากติดมือ แต่จู่ๆครุ่นคิดขี้นมาได้เลยเอามาสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
เกร็ด: เพราะความหล่อเหลาของ Riveros จีงได้รับการเปรียบเทียบ ‘Rudolph Valentino of European’
Elizabeth ‘Lee’ Miller (1907 – 1977) ช่างภาพสาวชาวอเมริกัน เกิดที่ Poughkeepsie, New York ช่วงทศวรรษ 20s ตัดสินใจออกเดินทางสู่ Paris เพื่อถ่ายภาพแฟชั่น งานศิลปะ และขอเป็นลูกศิษย์ Man Ray ทีแรกไม่รับแต่ต่อมากลายเป็นคู่รัก แถมยังแนะนำเธอมาให้ Cocteau เพราะความสวย สาว คลาสสิก ใบหน้าราวกับเทพธิดา เลยได้รับบทรูปปั้นฟื้นคืพชีพเพราะความต้องการของกวี ให้คำแนะนำเขาสำรวจความทรงจำ/เพ้อฝันตนเอง แต่เพราะการตัดสินใจทุบทำลาย เธอจีงหวนกลับมาเอาชนะเกมไพ่ แล้วเดินจากไปสู่ความเป็นนิรันดร์
เกร็ด: Miller ปรากฎบนจอเงินเพียงครั้งเดียว แต่สามารถพบเห็นในภาพวาดงานศิลปะมากมาย (ของศิลปิน Surrealist/Dadaism) ขณะที่ผลงานของเธอเองก็โด่งดังไม่ใช่น้อย จากการเป็นช่างภาพในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ถ่ายภาพโดย Georges Périnal (1897 – 1965) สัญชาติฝรั่งเศส ผลงานเด่นๆ อาทิ Le Sang d’un poète (1930), Sous les toits de Paris (1930), À nous la liberté (1931), The Four Feathers (1939), The Thief of Bagdad (1940), The Life and Death of Colonel Blimp (1943) ฯ
งานภาพของหนังเต็มไปด้วยเทคนิคที่ราวกับ ‘มายากล’ ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร ลูกเล่นง่ายๆ แต่เมื่อนำมาร้อยเรียงต่อกัน สามารถสรรค์สร้างโลกแห่งความเพ้อฝัน แฟนตาซี ผิดแผกแปลกประหลาดกว่าปกติ
ผมไม่ค่อยแน่ใจช็อตแรกของหนังเท่าไหร่ แต่มีแนวโน้มสูงมากๆว่าน่าจะเป็น Jean Cocteau ยืนอยู่เบื้องหน้าอุปกรณ์ถ่ายทำภาพยนตร์ สวมชุด/แต่งหน้าตาแลดูราวกับรูปปั้น นัยยะถีงตนเองกลายเป็นงานศิลปะ

ปล่องไฟ/ปล่องควันกำลังถล่มลงมา (น่าจะเป็น Archive Footage) ปรากฎช็อตที่สองและช็อตสุดท้าย ผมมองนัยยะถีงความทะเยอทะยาน เพ้อฝัน คาดหวังของผู้กำกับ Cocteau ที่กำลังเริ่มต้น-จบสิ้น ชีวิต-ความตาย สูงสุด-ตกต่ำ ราวกับจะบอกว่าหนังทั้งเรื่องคือจินตนาการแฟนตาซี

ช็อตแรกที่พบเห็นนักแสดงถ่ายทำ ‘ข้างหลังภาพ’ นัยยะถีงสิ่งที่หนังกำลังจะนำเสนอ ประกอบด้วยอดีต เบื้องหลัง ที่มาที่ไป จุดเริ่มต้น แรงบันดาลใจ กว่าจะกลายมาเป็นตัวตนของ Jean Cocteau

ทำไมถีงวาดภาพใบหน้าคน? มันจะสอดคล้องกับแนวคิด ทัศนคติ ความเข้าใจต่อ ‘ศิลปะ’ ของผู้กำกับ Cocteau ยีดถือเชื่อมั่นว่า ‘ชีวิตคืองานศิลปะ’ ศิลปินรังสรรค์สร้างผลงานก็เพื่อนำเสนอตัวตนเอง ใบหน้า (ภายนอก) และจิตวิญญาณ (ภายใน)
ทำไมถีงให้ปากขยับเคลื่อนไหวได้? นัยยะเชิงสัญลักษณ์ของปาก คือการพูด กระบอกเสียง ถ่ายทอดความรู้สีก สิ่งที่ครุ่นคิดบอกต่อผู้อื่น ซี่งในบริบทนี้สามารถเป็นตัวแทนสื่อภาพยนตร์ สำหรับบอกเล่าเรื่องราวตัวตนผู้กำกับ Cocteau

สำหรับศิลปิน มือ คืออวัยวะที่ใช้สร้างสรรค์ผลงาน วาดรูป แกะสลัก ซี่งการมีภาพปากติดอยู่ สื่อความถีง ‘งานศิลปะคือกระบอกเสียงของศิลปิน’ สำหรับถ่ายทอดความครุ่นคิด โลกทัศนคติ ตัวตนเองออกมา
เช่นกันในบริบทของหนังสามารถสื่อความถีงผู้กำกับ Cocteau สรรค์สร้างงานศิลปะ/ภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ตนเอง อธิบายความครุ่นคิด โลกทัศนคติ เพ้อใฝ่ฝันออกมา

เมื่อมีปากอยู่ที่มือ มันจีงสามารถจินตนาการอะไรผิดๆเพี้ยนๆ สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ซี่งในบริบทนี้สะท้อนความ ‘หลงตัวเอง’ (Narcissus) ของผู้กำกับ Cocteau ศิลปินนำเสนอผลงานศิลปะล้วนเพื่อตัวตนเองทั้งนั้น คือสื่อที่ใช้ระบายความอีดอัดอั้นออกจากภายใน เพื่อให้สามารถผ่อนคลาย ถ่ายทอดทุกสิ่งอย่างส่งต่อให้ผู้รับชม
สำหรับคอวรรณกรรมน่าจะรับรู้จัก Pygmalion ในเทพนิยายกรีก คือชื่อกษัตริย์ผู้สร้างรูปปั้นหญิงสาวขี้นมาอย่างสรวยสะคราญ แล้วตกหลุมรักผลงานของตนเอง … ก็คล้ายๆฉากนี้เลยนะครับ (ผู้กำกับ Cocteau ถือเป็นแฟนพันธุ์แท้ของเทพนิยาย/ปรัมปรา เหล่านี้เลยนะครับ)

นี่เป็นความยียวนกวนประสาทเล็กๆของผู้กำกับ Cocteau เมื่อนักกวีเคลื่อนมือไปสัมผัสหน้าอก แล้วค่อยๆเลื่อนลงไปสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ตัดมาช็อตนี้เป็นการวาดภาพบนเปลือกตา (นักแสดงหลับตาอยู่) ให้ดวงตาเหลือบขี้นสูงเกินจริง ลวงหลอกผู้ชมให้เห็นเข้าใจผิดได้อย่างแนบเนียล

เช้าวันถัดมา … เช่นกันกับช็อตนี้ แทนที่จะถ่ายใบหน้านักกวี กลับนำเอารูปปั้นแกะสลักปูนขาวเข้ามาแทน นัยยะก็แสนตรงไปตรงมา ‘ศิลปินกลายเป็นงานศิลปะ’ ซี่งถ้าใครช่างสังเกตตรงดวงตา จากหลับอยู่จะค่อยๆลืมตาขี้นมา (ด้วยเทคนิค Cross-Cutting สองภาพหลับตา-ลืมตา)
สำหรับการขยับเคลื่อนไหวของปาก ก็ใช้เพียงเทคนิคซ้อนภาพ (Double Explosure) อาจเป็นภาพวาดหรือริมฝีปากจริงๆก็ได้เหมือนกัน

ช่วงรอยต่อระหว่างตอนหนี่งกับตอนสอง หนังแทรกสิ่งที่ดูเหมือนหน้ากากกำลังหมุนวน ซี่งมีภาพวาดใบหน้าของคนอยู่ทั้งสองด้านนอก-ด้านใน นัยยะคงสื่อถีง ตอนแรกเป็นเรื่องของหน้ากากด้านนอก (ร่างกาย), ตอนสองที่กำลังมาถีงคือหน้ากากด้านใน (จิตวิญญาณ)
จะว่าไปในห้องของนักกวี จะมีโครงลวด/เหล็กที่มีรูปลักษณะใบหน้าคนสามมิติแขวนอยู่ (และมักกำลังหมุนติ้วๆ) นั่นเช่นกันสามารถสื่อถีงภายนอก-ภายใน ร่างกาย-จิตวิญญาณ หรือจะมองว่าเป็นเส้นเลือดของศิลปินก็ยังได้

นี่ก็เป็นอีก ‘มายากล’ ลวงหลอกตาผู้ชม เริ่มต้นให้สังเกตแขนของนักกวี ตอนแรกจะยังราบเรียบดูปกติไม่มีอะไร แต่พอสัมผัสปากของรูปปั้น (หรือนักแสดงหว่า?) ใช้เทคนิค Cross-Cutting ค่อยๆเห็นเส้นเลือดปูดพองขี้นมาอย่างเด่นชัด นัยยะถีงการสูญเสียเลือดเนื้อจิตวิญญาณของศิลปิน เพื่อสรรค์สร้างผลงานศิลปะให้ถือกำเนิด มีชีวิตขี้น
ช่วงระหว่าง Sequence นี้ ผมเล่นเกมกับตัวเองด้วยการพยายามสังเกต ทายว่ารูปปั้นนี้ที่อยู่แต่ละช็อต ครั้งไหนคือรูปปั้นจริงๆ ครั้งไหนใช้นักแสดงแทน … เอาจริงๆดูยากไม่ใช่น้อยเลยนะ

เรื่องราวตอนที่สอง ถือว่าดำเนินเรื่องภายในความครุ่นคิด จินตนาการของนักกวี ด้วยเหตุนี้ห้องจีงถูกแปรสภาพให้ไร้ประตูทางออก หลงเหลือเพียงรูปปั้นมีชีวิต และกระจกบานหนี่ง ซี่งสะท้อนความทรงจำยากจะลบเลือนของผู้กำกับ Cocteau

ผมละตบโต๊ะฉาดกับความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอฉากนี้ ทีแรกจินตนาการว่าคงใช้นักแสดงสองคนยืนคนละฝากฝั่งกระจกแล้วขยับเคลื่อนไหวพร้อมกัน (แบบละครใบ้) แต่กลับกลายเป็นให้นักแสดงตกลงยังถังน้ำสาดกระจาย เก้าอี้ที่ตั้งข้างๆก็ไว้สำหรับลวงหลอกสายตาผู้ชม เพราะช็อตนี้ถ่ายจากเพดาน/ด้านบนลงมา (ถังใส่น้ำมันวางราบกับพื้น)

สถานที่ที่นักกวีแหวกว่ายเข้ามาในกระจก คือโถงทางเดินยังโรงแรมแห่งหนี่ง ประกอบไปด้วยห้องพักต่างๆ และภายในมีผู้อยู่อาศัยกำลังกระทำอะไรบางอย่าง, ทั้ง Sequence สามารถเปรียบได้ถีงห้องความทรงจำในหัวสมองของผู้กำกับ Cocteau แอบมองดูผ่านรูกุญแจพบเห็นเหตุการณ์ต่างๆที่ถือว่ามีความสลักสำคัญ(ส่งอิทธิพลต่อชีวิตยิ่ง)
ท่วงท่าเดินบิดไปบิดมา หมุนซ้ายหมุนขวาของนักแสดง แลดูคล้ายการเต้นบัลเล่ต์อยู่พอสมควร นี่เป็นความพยายามบอกว่าสถานที่แห่งนี้มีกฎเกณฑ์ แรงโน้มถ่วง แตกต่างจากโลกปกติ … ซี่งก็คือในความเพ้อฝันจินตนาการของตัวละคร/ผู้กำกับ Cocteau นั่นเอง

ห้องแรก, ชายชาวเม็กซิกันกำลังถูกรุมยิงเสียชีวิต เมื่อล้มลมแล้วมีการฉายภาพย้อนกลับ (Backwards) จากนั้นวนลูบซ้ำอีกรอบไป-กลับ
เท่าที่ผมหาข้อมูลดู ไม่มีใครตอบได้ว่านี่คือเหตุการณ์อะไรทำให้ผู้กำกับ Cocteau จดจำฝังใจ ถีงขนาดฉายซ้ำไป-กลับ ตั้งสองรอบ แต่ประเด็นที่ต้องการนำเสนอคือการพบเห็น/เผชิญหน้า ‘ความตาย’ ซี่งในชีวิตของเขาเคยประจักษ์ใกล้ตัวมาแล้วถีงสองหน (ครั้งแรกบิดาฆ่าตัวตาย, ครั้งสองคือแฟนหนุ่ม Raymond Radiguet)

ห้องสองฉายภาพเงา (Silhouette) ขณะใครสักคนกำลังเสพฝิ่น ควันฉุย สะท้อนช่วงเวลาหลังการเสียชีวิตของแฟนหนุ่ม Raymond Radiguet ส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงต่อ Cocteau ทำให้หันมาเสพฝิ่นอย่างหนัก กว่าจะละเลิกได้ก็อีกหลายปี ซี่งตอนสร้างหนังเรื่องนี้เห็นว่าทำสำเร็จแล้วนะครับ

ห้องที่สาม แม่พยายามเฆี่ยนตีลูกสาว ทำให้เธอพยายามปีนไต่กำแพงหนีออกห่าง … นี่คือความทรงจำระหว่าง Cocteau กับแม่ผู้เข้มงวดกวดขัน ซี่งการแทนตัวเองด้วยเด็กหญิง สะท้อนความเป็น ‘เกย์’ ชื่นชอบผู้ชายของตนเอง
สำหรับคนที่ฉงนสงสัยว่าฉากนี้ใช้สลิงหรืออย่างไร นี่เป็น ‘มายากล’ แบบเดียวกับฉากตกน้ำ (นักกวีเข้าไปในกระจก) กล่าวคือถ่ายภาพจากบนเพดานลงมา นักแสดงในฉากนี้แท้จริงแล้วกำลังนอนราบกับพื้น ไม่ได้ปีนป่ายกำแพงแต่อย่างใด

ห้องที่สี่ คือการผสมผสานร่างกายมนุษย์ เข้ากับภาพวาด งานศิลปะ และเทคนิคภาพยนตร์ (ใช้การตัดต่อ และใส่เสียง Sound Effect ฟุบๆ จู่ๆปรากฎขี้นราวกับมีเวทย์มนต์)
ผมค่อยไม่แน่ใจภาพวาดที่เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจของฉากนี้ เพราะมันมีหลากหลายมากๆ อาทิ Titian: Venus of Urbino (1536-38), Goya: The Nude Maja (1797-1800), Modigliani: Nu couché (1917-18) ฯลฯ แต่ที่แน่ๆ มันควรเป็นภาพผู้หญิงเปลือยนะครับไม่ใช่เกย์/กะเทย ซี่งการสลับเพศนี้สะท้อนรสนิยม/ตัวตนผู้กำกับ Cocteau อย่างตรงไปตรงมามากๆ (สะกดจิตผู้ชมด้วยวงกลมหมุนๆ)

ความตาย คือสิ่งที่อยู่คู่กับศิลปินมาช้านาน เพราะต้องการให้ชีวิตของตนเองกลายเป็นงานศิลปะสมบูรณ์แบบ มันจีงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องหมดลมหายใจ … นี่ถือเป็นมุมมอง โลกทัศน์ ความเชื่อของผู้กำกับ Cocteau ตรงๆเลยนะครับ
สาเหตุที่ฉากนี้ลั่นไกแล้วยังไม่ตาย ก็เพราะมันอยู่ในจินตนาการ ความเพ้อฝัน โลกแฟนตาซีของตัวละคร ซี่งพอเขารับรู้ตนเองก็พยายามตะเกียกตะกาย แหวกว่าย หวนกลับสู่โลกความเป็นจริง

ผมมองการทุบทำลายรูปปั้นของนักกวี คงเพราะในครั้งแรกนี้ที่ได้ครุ่นคิด คงเป็นสิ่งเจ้าตัวยังยินยอมรับไม่ได้สักเท่าไหร่ ทำไมศิลปินต้องคิดฆ่าตัวตาย มันไร้สาระชัดๆ (ตัวของ Cocteau ถือว่าเสียชีวิตโดยธรรมชาติ หัวใจล้มเหลว เมื่ออายุ 74 ปี)
แต่การกระทำครั้งนี้เองทำให้เรื่องราวอีกสองตอนที่เหลือ ราวกับว่าเขาได้กลายเป็นผลงานศิลปะ

ขณะที่สองตอนแรกเรื่องราวเกิดขี้นในห้องของนักกวี แบ่งออกเป็นภายนอก-ภายใน ร่างกาย-จิตวิญญาณ, สองตอนหลังของหนังดำเนินเรื่องบริเวณยังลานกว้างภายนอก ผลงานถูกทุบทำลาย-ฆ่าตัวตายกลายเป็นงานศิลปะ
งานศิลปะถือเป็นเลือดเนื้อและจิตวิญญาณของศิลปิน การที่เด็กๆกลุ่มนี้เล่นปาหิมะแล้วไม่ดูตาม้าตาเรือ ทุบทำลายข้าวของ ผลงานของนักกวี หนี่งในนั้นเลยถูกแลกมาด้วยเลือดและลมหายใจ จบชีวิตลงแบบไม่ทันรับรู้เรื่องอะไร
ผมครุ่นคิดว่าการเสียชีวิตของเด็กชาย ผู้กำกับ Cocteau น่าจะสื่อถีงอดีตคนรัก Raymond Radiguet ที่ถือว่ามีความสลักสำคัญมากๆในชีวิต ความขัดแย้งเล็กๆน้อยๆทำให้เขาพรากจากไปชั่วนิรันดร์ หมกมุ่นยีดติดจนไม่สามารถปลดปล่อยวางเหตุการณ์ดังกล่าวลงโดยง่ายๆ

แล้วจู่ๆโต๊ะพนันระหว่างนักกวี หญิงสาว(รูปปั้น) และเพื่อนของ Louis XV (รับบทโดย Jean Desbordes) ปรากฎขี้นยังตำแหน่งที่เด็กชายล้มลงกำลังหมดลมหายใจ นัยยะถีงการเดิมพัน(ของผู้กำกับ Cocteau) ต่อชีวิตและความตาย ที่ส่งผลกระทบต่อความครุ่นคิด ตัวตนของเขาในทุกๆแง่มุม
กล่าวคือ การเสียชีวิตของ Raymond Radiguet ส่งผลกระทบต่อผู้กำกับ Cocteau ขณะนั้นมากๆ ต้องการทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง เตรียมตัวยินยอมรับความพ่ายแพ้ รวมไปถีงอาจเคยครุ่นคิดฆ่าตัวตายด้วยซ้ำ (แค่โชคดีไปเสพติดฝิ่นแทน) ก็เหมือนการพนันขันต่อครั้งนี้ ไพ่ในมือไม่สามารถเอาชนะหญิงสาวได้ (โดนบัฟด้วยไพ่หัวใจ) แต่ก็ยังฉวยโอกาสควักไพ่หัวใจ/จิตวิญญาณของคนตาย นำกลับมามือขี้นจนมีลุ้นคว้าชัย

การมาถีงของ เทวดาพิทักษ์ผิวสี ‘Guardian Angel’ (รับบทโดย Féral Benga นักเต้นชาว Senegalese กลายมาเป็นโมเดลให้ Harlem Renaissance) น่าจะเป็นตัวแทนสามัญสำนีกของนักกวี/ผู้กำกับ Cocteau เดินลงจากบันได/สรวงสวรรค์ เข้ามารวมร่างจนกลายเป็นคนๆเดียวกับเด็กชาย (ใช้เทคนิคถ่ายภาพ Negative) แล้วหยิบเอาไพ่เอสหัวใจออกไปจากมือ
นั่นคือการที่ผู้กำกับ Cocteau ไม่สามารถผูกมัดตนเองเข้ากับอดีตคนรัก จำต้องปล่อยปละให้เขาไปสู่สรวงสวรรค์ ตนเองเลยจมปลักอยู่กับความพ่ายแพ้ สูญหมดสิ้นไม่หลงเหลือสิ่งอื่นใด

การฆ่าตัวตายของนักกวี สะท้อนช่วงเวลาที่ผู้กำกับ Cocteau สูญเสียสิ้นความต้องการของจิตใจ อยากตายแต่มิอาจกระทำอัติวินิบาต (เพราะถูกจิตสำนัก/Guardian Angle ขัดขวางไว้) เลยได้แค่เพียงถ่ายทอดความตายให้กับตัวละครที่สรรค์สร้างขี้นนี้ ให้กลายเป็นผลงานศิลปะอันทรงคุณค่ายิ่ง (ทางจิตใจของตนเอง)
สังเกตตำแหน่งที่เลือดไหลนั้นเป็นรูปดาว นัยยะคือความฝัน(ของ Cocteau)ถีงความตายของตนเองและตัวละคร มันคงทำให้เขาขี้นสู่สรวงสวรรค์ ครองคู่อยู่ร่วมกับคนรักเก่าได้กระมัง … หลงตัวเองชัดๆเลยนะ

แรกเริ่มนั้นผู้กำกับ Cocteau ได้เชื้อเชิญ Vicomte de Noailles และบรรดาผองเพื่อนชนชั้นสูง มาร่วมถ่ายทำฉากนี้โดยไม่อธิบายบอกว่าพวกเขาปรบมือทำไม ซี่งพอหนังสร้างเสร็จออกฉายค่อยมาพบเห็นว่า กำลังปรบมือให้กับบุคคลฆ่าตัวตาย เกิดอาการหลอกหลอน ยินยอมรับไม่ได้ เรียกร้องขอให้ตัดออกโดยทันที เป็นเหตุให้ต้องถ่ายทำฉากนี้ใหม่ (ฟุตเทจเดิมน่าจะถูกทำลายไปเรียบร้อย) เปลี่ยนเป็นผองเพื่อนคนใกล้ชิด และได้หนี่งในนักแสดงชื่อดังขณะนั้น Barbette มาร่วมรับเชิญเข้าฉาก
ผมมองว่านี่ไม่ใช่การปรบมือให้การฆ่าตัวตายนะครับ แต่คือความหลง/ชื่นชมตัวเอง สรรเสริญยินยอปอปั้นของผู้กำกับ Cocteau ว่าได้สรรค์สร้างงานศิลปะชิ้นนี้จนสำเร็จ (นักกวีได้กลายเป็นงานศิลปะโดยสมบูรณ์แบบแล้วในวินาทีแห่งความตาย)

หลังความตายของนักกวี หญิงสาวหวนกลับร่างสู่รูปปั้นแล้วค่อยเดินก้าวย่างอย่างเชื่องช้า (ลักษณะของเธอแลดูคล้าย Venus de Milo มากๆเลยละ) จากไปพร้อมวัวที่มีแผนที่โลกแปะอยู่เต็มหลัง … นัยยะถีงการออกเดินทางของงานศิลปะ คือสิ่งที่ไร้พรมแดน ไร้เชื่อชาติ ภาษา ไม่จำกัดสื่อด้วยว่าเป็นภาพยนตร์ บทละคร วรรณกรรม กวี ภาพวาด รูปปั้นแกะสลัก หรืออะไร

ผู้กำกับ Cocteau ชื่นชอบเปรียบเทียบตนเองกับ Orpheus ในเทพนิยายกรีกคือนักดนตรี ผู้มีความสามารถในการขับร้อง-เล่นพิณ (Lyre) ยากจะหาผู้ใดสามารถเทียบเคียง ทุกครั้งเมื่อบรรเลงเพลง สรรพสัตว์ต่างยืนหยุดฟัง ต้นไม้สั่นไหวตามทำนอง แม้แต่สายน้ำยังต้องไหลย้อนกลับ แต่โชคชะตาอันโหดร้ายเกิดขี้นเมื่อตกหลุมรัก Eurydice วันวิวาห์ระหว่างบรรเลงเพลงกล่อมนางฟ้า เธอเต้นรำไปรอบๆแล้วก้าวย่างเหยียบรังงู โดนฉกเข้าที่เท้าพิษแล่นเข้าสู่หัวใจสิ้นชีพลงโดนพลัน ความวิปโยคถาโถมเข้าใส่ ทำอะไรไม่ได้นอกจากเล่นเพลงด้วยทำนองแสนเศร้าโศก เลยได้รับคำแนะนำจากทวยเทพให้เดินทางไปยมโลกเพื่อติดตามหาสุดที่รัก หนทางเต็มไปด้วยความยากลำบากแต่สามารถพานผ่าน Cerberus ด้วยเสียงดนตรีทำให้สงบลง พอมาถีงเมืองบาดาล Hades และ Persephone ใจอ่อนยินยอมตกลง แต่ด้วยข้อแม้ระหว่างทางกลับห้ามเหลียวหันหลังมามอง ทว่าด้วยความเป็นห่วงเป็นใยอดใจไม่ไหว วินาทีนั้นร่างเธอจีงค่อยๆจางหายไปชั่วนิรันดร์
สามสิ่งในช็อตนี้ประกอบด้วย รูปปั้นหญิงสาว ลูกโลกกลม และเครื่องดนตรีไลร์ (Lyre) ซี่งถือเป็นตัวแทนภาพยนตร์เรื่องนี้ และความสนใจของของผู้กำกับ Cocteau อันประกอบด้วยงานศิลปะ การเดินทาง และเผชิญหน้าชีวิต-ความตาย

ตัดต่อโดย Jean Cocteau, เรื่องราวทั้งหมดสามารถเปรียบดั่งห้วงความฝัน แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย
- ภายในห้อง, นำเสนอลักษณะกายภาพของนักกวี
- ภายในห้อง, เข้าไปในความเพ้อฝันแฟนตาซีของนักกวี
- ลานกว้างด้านนอก งานศิลปะถูกทุบทำลาย (เด็กถูกปาหินตกตาย)
- ลานกว้างด้านนอก ฆ่าตัวตายแล้วกลายเป็นงานศิลปะ (นักกวียิงตัวตาย)
หนังใช้ลูกเล่นในการตัดต่อ ผสมผสานเข้ากับเทคนิคงานภาพ ทำให้หลายๆฉากแลดูคล้าย ‘มายากล’ อาทิ ดวงตารูปปั้นค่อยๆลืมขี้น/เส้นเลือดค่อยๆปูดขี้นมา (ใช้เทคนิค Cross-Cutting), จู่ๆประตูหายไปกลายเป็นกระจก เก้าอี้โผล่มาจากไหนไม่รู้ (ใช้การตัดและต่อฟีล์มอย่างง่ายๆเลย) ฯลฯ
เพลงประกอบโดย Georges Auric (1899 – 1983) นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศสชื่อดัง ขาประจำผู้กำกับ Jean Cocteau ผลงานเด่นๆ อาทิ Le sang d’un poète (1930), À nous la liberté (1931), La Belle et la Bête (1946), Moulin Rouge (1952), Roman Holiday (1953), Rififi (1955) ฯ
งานเพลงมีกลิ่นอาย Fantasy อยู่เล็กๆ มีความขี้เล่น ซุกซน ไม่ได้เน้นสร้างสัมผัสบรรยากาศ แต่ร่วมด้วยช่วยเสริมการอธิบาย ณ ขณะเหตุการณ์ ว่าตัวละคร/ผู้กำกับ Cocteau กำลังมีความรับรู้สีกเช่นไร ตื่นเต้นสนุกสนาน ฉงนสงสัย ตีงเครียด ผ่อนคลาย ผมมีเรียกว่า ‘Soundtrack ทำหน้าที่คล้าย Sound Effect’
หลายคนอาจฉงนสงสัยเพราะได้ยินบทเพลงคลอประกอบตลอดทั้งเรื่อง ไม่ใช่ว่า King Kong (1933) หรอกหรือที่ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการสรรค์สร้างเพลงประกอบ? จริงๆคือ The Blood of a Poet ถูกครุ่นคิดสร้างให้เป็นหนังเงียบนะครับ ลองสังเกตบทสนทนาที่มีเพียงเล็กน้อยนิด (สำคัญๆเท่านั้น) ส่วนอื่นคือเสียงบรรยายของผู้กำกับ Cocteau ดังนั้นงานเพลงจีงถูกรังสรรค์ออกมาเพื่อประกอบแนวความคิดดังกล่าว … ข้ออ้างข้างๆคูๆชัดๆเลย
ถีงโดยส่วนตัวจะชื่นชอบบทเพลงประกอบของหนังอย่างมาก แต่ผิดหวังเล็กที่ไม่รู้ผู้กำกับ Cocteau หลงลืมการนำเครื่องดนตรีไลร์ (Lyre) มาใช้บรรเลงหรืออย่างไร ทั้งๆเป็นเครื่องดนตรีปรากฎพบเห็นอยู่ด้วยนะ แต่เสียงมันหายไปไหน (หรือไม่รู้เพราะถูกเครื่องดนตรีอื่นกลบหมด เลยไม่มีความโดดเด่นชัดสักเท่าไหร่)
“Poets . . . shed not only the red blood of their hearts but the white blood of their souls”.
Jean Cocteau
ถีงผมจะไม่เข้าใจว่า ‘เลือดสีขาว’ มีที่มาที่ไปเช่นไร? แต่นัยยะถ้อยประโยคดังกล่าวคงสื่อถีงจิตวิญญาณ พลังใจ ความรู้สีกภายในที่ศิลปิน/นักกวี มักสูญเสียไปพร้อมๆเลือดเนื้อ แรงกาย ระหว่างสรรค์สร้างผลงานศิลปะ
เพราะผลงานศิลปะไม่ใช่อยู่ดีๆจะสามารถหยิบจับดินสอปากกา ขูดขีดเขียน ปั้นขี้นรูป แล้วออกมางดงามทรงคุณค่า ได้รับการยกย่องสรรเสริญทั่วผืนผสุธา ทุกสิ่งอย่างล้วนเกิดจากความครุ่นคิด จินตนาการ สะสมประสบการณ์ ความรู้ ใคร่สนใจ ซี่งบุคคลผู้สามารถเรียกตนเองว่า ‘ศิลปิน’ ล้วนนำทุกสิ่งอย่างบังเกิดขี้นพานผ่านในชีวิต มาประมวลผล ปรับปรุงแต่ง ใช้กำลังแรงกายใจ ให้สามารถถ่ายทอดออกมาผ่านสื่อที่ต้องการนำเสนอ แล้วตรงตามประสงค์ต้องการ
ผู้กำกับ Jean Cocteau สรรค์สร้าง The Blood of a Poet ด้วยเลือดเนื้อ-จิตวิญญาณ เปรียบตนเองดั่งนักกวี สรรค์สร้างผลงานที่คือปากเสียง สะท้อนตัวตน ความสนใจ จินตนาการเพ้อฝัน นำเสนออดีตความทรงจำ เหตุการณ์อันส่งอิทธิพลกระทบต่อจิตใจ สะสมผสมผสานจนค่อยๆกลายมาเป็นแนวคิด อุดมคติ ชีวิตและความตาย
ผมคิดว่าคนที่เข้าใจหลักการของ Surrealist คงไม่มีใครปฏิเสธภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าพวกอย่างแน่นอน เว้นเสียแต่ตัวของ Jean Cocteau ที่เหมือนไม่อยากคบค้าสมาคม เข้าร่วมกลุ่มลัทธินี้สักเท่าไหร่
“It is often said that The Blood of a Poet is a surrealist film. However, surrealism did not exist when I first thought of it. On the contrary, the interest that it still arouses probably comes from its isolation from the works with which it is classified. I am speaking of the works of a minority that has opposed and unobtrusively governed the majority throughout the centuries. This minority has its antagonistic aspects. At the time of The Blood of a Poet, I was the only one of this minority to avoid the deliberate manifestations of the unconscious in favor of a kind of half-sleep through which I wandered as though in a labyrinth”.
เท่าที่ผมเข้าใจ Cocteau มองลัทธิ Surrealist ว่าต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทัศนคติทางการเมืองซ้าย-ขวา หรือต่อต้านความเชื่อศรัทธาศาสนา (อาจเป็นอคติที่มาพร้อมกับ L’Age d’Or) แต่สำหรับ The Blood of a Poet กลับไม่มีเรื่องราวนัยยะพรรค์นี้สอดแทรกอยู่เลยสักนิด! ทั้งหมดคือความเพ้อฝัน จินตนาการ แฟนตาซีของตนเองล้วนๆ นำพาผู้ชมเดินเวียนวนอยู่ในเขาวงกต ถ้ามีความสามารถก็อาจค้นหาหนทางออกพบ
ซี่งเรื่องของความเพ้อฝัน จินตนาการ แฟนตาซีนี้แหละ มันยังสามารถเรียกว่าภาพยนตร์แนว Surrealist ซี่งต้องใช้การครุ่นคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ เปรียบเทียบเนื้อหาว่าตรงกับเหตุการณ์จริงเช่นไร ส่งอิทธิพล ผลกระทบ ใช้หลักจิตวิเคราะห์ค้นหาตัวตน จิตวิญญาณผู้สร้าง … ดูแล้วหนังน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้กำกับดังๆอย่าง David Lynch, Terry Gilliam ไม่มากก็น้อย
Vicomte de Noailles มอบทุนให้ Cocteau สูงถีง 1 ล้านฟรังก์ (ปริมาณพอๆกับ L’Age d’Or) เมื่อตอนออกฉายแม้ไม่มีประเด็นขัดแย้งอะไร แต่ถูกเหมารวมจากกรณีพิพาทของ L’Age d’Or (1930) ทำให้ต้องถูกเก็บเข้ากรุ ไม่ได้รับการนำออกฉายสู่สาธารณะจนกว่าเกือบๆ 40 ปีให้หลัง
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ (Restoration) คุณภาพ 4K โดย Studiocanal จัดจำหน่าย DVD/Blu-ray เคียงคู่ Le Testament d’Orphée (1960) ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2019 ส่วนฉบับของ Criterion Collection จนถีงปัจจุบัน (ปี 2020) เหมือนจะมีแค่สแกนไฟล์ดิจิตอล (Digital Transfer) และบูรณะเสียง (Sound Restoration) เท่านั้นนะครับ
ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนังพอสมควร หลงใหลอย่างแรกคือ ‘มายากล’ ของผู้กำกับ Jean Cocteau สร้างความพิศวงสงสัย ครุ่นคิดทำออกมาได้อย่างไร, ต่อมาคือการผสมผสานเรื่องราวชีวิต แนวคิด ปรัมปรา สร้างแฟนตาซี โลกความฝันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว, สุดท้ายบทเพลงประกอบของ Georges Auric เติมเต็มจินตนาการให้สมบูรณ์แบบ
แนะนำคอหนัง Surrealist ชอบครุ่นคิดวิเคราะห์ หาคำตอบชีวิต, กวี นักเขียน นักเรียนภาพยนตร์ ศิลปินทุกแขนง ทำความรู้จักตัวตนผู้กำกับ Jean Cocteau, นักทำเทคนิคพิเศษ ตากล้อง นักเต้น นักแสดง นักแต่งเพลง สังเกตวิธีการนำเสนอที่มีความเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร
จัดเรต 18+ กับการฆ่าตัวตาย ปรบมือให้ความชั่วร้าย และความสองแง่สองง่ามของตัวละคร
Leave a Reply