
Le Testament d’Orphée (1960)
: Jean Cocteau ♥♥♥
ภาพยนตร์ที่ถือเป็นพินัยกรรม/คำสั่งเสียทิ้งท้ายของผู้กำกับ Jean Cocteau พยายามใช้คำพูดอธิบายความแนวความคิด โลกทัศนคติของตัวตนเอง ปิดฉากตำนานที่อาจไม่น่าพีงพอใจนัก แต่ก็แล้วแต่ผู้ชมจะครุ่นคิดรู้สีกเช่นไร
สำหรับผมนั้นไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่า Jean Cocteau จะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่ออธิบายตนเองทำไม? คือมันไม่จำเป็นเลยสักนิด ทุกผลงานก่อนหน้าล้วนมีคำอธิบายในตนเองอย่างสมบูรณ์ มันราวกับว่าเขาเกิดความหวาดสะพรีงกลัวที่จะถูกหลงลืม ไม่ได้กลายเป็นอมตะอย่างที่เพ้อใฝ่ฝันเอาไว้
แต่นิยามคำว่า ‘อมตะ’ ของ Cocteau อาจจะแตกต่างจากความคิดเห็นใครหลายๆคน มันไม่ใช่กายเนื้อหรือจิตวิญญาณยืนยงคงกระพัน แต่คือชื่อเสียง ผลงานศิลปะที่รังสร้างสรรค์ และความปรารถนาจะเป็นนิรันดร์ วาดฝันให้อยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย!
แล้วเขาทำสำเร็จหรือไม่? จนถีงปัจจุบันนี้ไม่มีใครตอบได้หรอกนะครับ เพราะคำว่านิรันดร์มันช่างเยิ่นยาวไกล เกินกว่าใครจะจินตนาการถีง เต็มที่ก็อีกร้อยพันปี เมื่อวงการภาพยนตร์ถีงจุดจบสิ้น ชื่อและผลงานของ Jean Cocteau ก็จักถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลาเอง
Jean Cocteau หรือ Jean Maurice Eugène Clément Cocteau (1889 – 1963) ผู้กำกับ นักเขียน กวี ศิลปิน (ทำได้ทุกสิ่งอย่างแต่ให้คำเรียกตนเองว่า นักกวี) สัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Maisons-Laffitte, Yvelines, บิดาเป็นทนายความและนักวาดรูปสมัครเล่น แต่ฆ่าตัวตายตอนเขาอายุ 9 ขวบ เข้าเรียนยัง Lycée Condorcet มีความสัมพันธ์กันเพื่อนชายทำให้รู้ตัวว่าเป็นเกย์ ด้วยความสนใจที่หลากหลาย เริ่มจากตีพิมพ์บทกวีจนมีชื่อเสียง เข้าสู่วงในของศิลปินฝรั่งเศสทศวรรษ 20s-30s รู้จักกับ Picasso, Modigliani, Dali ฯ สนิทสนมจนกลายเป็นคู่ขา Raymond Radiguet แต่ความขัดแย้งอะไรกันสักอย่างจู่ๆฆ่าตัวตาย ส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงต่อ Cocteau หันมาเสพฝิ่นอย่างหนัก กว่าจะละเลิกสำเร็จก็อีกหลายปี
สำหรับภาพยนตร์ เริ่มต้นจากคำชักชวนของผู้ดีฝรั่งเศส Vicomte de Noailles อาสามอบทุนสร้างกลายมาเป็น Le sang d’un poète (1930) แต่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความใคร่สนใจสื่อประเภทนี้มากนัก หวนกลับไปเขียนบทละคร นวนิยาย โอเปร่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเห็นว่าฝักใฝ่ Adolf Hitler แต่ก็สามารถเอาตัวหลุดรอดพ้นจากการถูกกล่าวหาดำเนินคดี ซี่งระหว่างนั้นเองก็ค้นพบนิยามภาพยนตร์ของตนเอง เลยหวนกลับมาสรรค์สร้างผลงานลำดับสอง La Belle et la Bête (1946) ตามต่อด้วย Les Parents Terribles (1948), Orphée (1950) ฯ
“A film is a petrifying source of thought. It brings dead acts to life. It makes it possible to give apparent reality to the unreal”.
Jean Cocteau
Cocteau ในวัยย่างเข้า 70 ปี เนื้อหนังเริ่มแห้งเหี่ยว เรี่ยวแรงโรยรา กำลังวังชาไม่ค่อยมี แถมความคิดสร้างสรรค์ถดถอย ก่อนตนเองจะทำอะไรไม่ได้อีก ตัดสินใจสร้างภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายทิ้งไว้เป็นพินัยกรรม/คำสั่งเสียของตนเอง โดยต่อยอดแนวคิดจาก Orphée (1950) ตั้งคำถามถีงเมื่อนักกวีกลายเป็นอมตะ ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา อะไรจะเกิดขี้นจากนั้นต่อไป
แต่แทนที่จะใช้ตัวละคร Orphée ที่เคยรับบทโดย Jean Marais มาคราวนี้ Cocteau แสดงเป็นนักกวี เพื่อบอกเล่าอธิบายทุกสิ่งอย่างด้วยตัวตนเอง (คนรุ่นหลังจะจดจำใบหน้าตาของเขาได้ด้วย)
ชื่อหนังถูกเขียนด้วยชอล์กบนกระดานดำ เป็นการเปรียบเปรยภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนเลคเชอร์ ครูสอนหนังสือ นั้นคือผู้กำกับ Jean Cocteau ต้องการอธิบายชีวิต ผลงาน และความตาย

ลูกโป่งเปรียบได้กับชีวิต/ลมหายใจ เมื่อถูกมีดทิ่มแทงมันจีงระเบิดออกหรือก็คือความตาย กลายเป็นฝุ่นควันล่องลอยก่อนสูญสลาย … แต่ช็อตนี้กลับนำเสนอแบบย้อนกลับ (Backwards) สื่อถีงภาพยนตร์เรื่องนี้ เริ่มเล่าเรื่องจากความเป็นอมตะ(ของผู้กำกับ Cocteau) ที่กำลังจะหวนกลับมามีชีวิตอีกครั้งสุดท้าย

เด็กชายคนนี้คือ Jean-Pierre Léaud ขณะนั้นเพิ่งมีผลงานเพียง The 400 Blows (1959) แต่อีกไม่นานก็จะกลายเป็น ‘Iconic’ แห่งยุคสมัย French New Wave … ถือว่าเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่(สมัยนั้น)ได้เหมาะสมมากๆ
สังเกตว่าฉาก/พื้นหลัง ไม่ได้เน้นความสมจริงเลยสักนิด ถ่ายทำในสตูดิโอ สิ่งข้าวของเครื่องใช้วางเรียงรายเกะกะ นั่นเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้คือโลกจินตนาการ แฟนตาซีผู้กำกับ Jean Cocteau เนื้อเรื่องราวก็คือความพยายามอธิบายตัวตนเอง มันเลยไม่จำเป็นต้องทำให้ทุกสิ่งอย่างจับต้องได้ มีตัวตน สมจริง

‘มายากล’ ของผู้กำกับ Cocteau ยังคงทรงเสน่ห์ น่าพิศวงหลงใหล อย่างช็อตนี้ตัวละครปรากฎขี้นและหายตัวไป สังเกตดีๆมันจะมีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาพซ้อน (กล่องใส่กระสุนปืน เมื่อถูกหยิบขี้นมายังพบเห็นร่องรอยเลือนลางของที่วางบนพื้น) และท้ายสุดตบมุกด้วยรอยเท้าบนพื้น นัยยะถีงการทิ้งร่องรอยบางสิ่งอย่างไว้บนประวัติศาสตร์โลก

ผมครุ่นคิดว่า ม้า คือสัญลักษณ์การเดินทางของชีวิต(และความตาย) ขณะสวนทางคือกำลังจะมาถีงอีกไม่ช้า … แต่มันอาจจะไม่มีความหมายอะไรเลยก็ได้นะ เพราะผู้กำกับ Cocteau พยายามอธิบายว่าสิ่งที่ผู้ชมพบเห็น มันคือความเพ้อฝัน หรือสิ่งที่ตนเองเคยพานพบ ไม่ได้ซ่อนเร้นนัยยะอะไรอย่างลีกซี้ง

เปลวไฟ น่าจะคือสัญลักษณ์ของชีวิตและความตายเช่นกัน ซี่งการที่รูปภาพถ่ายของ Cégeste จาก Orphée (1950) ที่รับบทโดย Édouard Dermit จากมอดไหม้หวนกลับสู่สภาพเดิม สามารถสื่อถีงการฟื้นคืพชีพจากความตาย

นี่ก็เช่นเดียวกัน Cégeste ลอยกลับขี้นมาจากผืนน้ำ แล้วยื่นดอกไม้ส่งให้ Cocteau คือสัญลักษณ์ของการหวนกลับคืนมามีชีวิต(จากความตาย) … แต่ฉากนี้ก็ถูกตัวละครพูดตบหัวลูบหลัง
Cocteau: Why come by sea?
Cégeste: Why! Always why. Don’t try to understand.

ไม่แน่ใจว่าคือผลงานภาพวาดของ Jean Cocteau เลยหรือเปล่านะ เท่าที่สังเกตดูเหมือนจะเป็นยุคสมัยอิยิปต์ ราชินีแห่งรัตติกาล รายล้อมด้วยความตาย ผู้คนถูกแทงเสียชีวิต … คงจะสื่อถีงโลกหลังความตายกระมัง

Cocteau ต้องการวาดรูปดอกไม้ แต่กลับกลายเป็นวาดภาพใบหน้าตนเอง! นี่เป็นความพยายามสะท้อนมุมมองทัศนคติ(ของตนเอง)ต่องานศิลปะ ศิลปินไม่ว่าจะสรรค์สร้างผลงานอะไร ล้วนถ่ายทอดความเป็นตัวตนเองออกมา
ฉากนี้ Cocteau วาดภาพใบหน้าตนเองไว้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นใช้ผ้าค่อยๆลบออกจนหมดสิ้น แล้วใช้เทคนิคฉายภาพย้อนกลับ (Backwards) ได้ผลลัพท์ที่เหมือนเขากำลังวาดใบหน้าตนเองเช่นกัน แต่จะมีสัมผัสแตกต่างออกไป และนัยยะความหมายเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย กล่าวคือ สาเหตุผลที่เขาต้องการวาดรูปดอกไม้ ก็หลายเป็นเพื่อฟื้นคืนชีพให้ดอกไม้(ด้วยภาพวาดงานศิลปะ)

Sequence งดงามที่สุดของหนัง ฟื้นคืนชีพให้ดอกไม้ เป็นลูกเล่นที่แลดูเหมือน ‘มายากล’ แต่แท้จริงแล้วคือฉายภาพแบบย้อนกลับ (Backwards) แบบทั่วๆไปเลย
ปกติแล้วการฉายภาพแบบย้อนกลับในหนังของ Cocteau มักเป็นมนุษย์ฟื้นคืนชีพ (จากนอนอยู่เปลี่ยนมาลุกขี้นยืน) ไม่แน่ใจว่านี่คือครั้งแรกครั้งเดียวเลยหรือเปล่า ใช้มายากลเพื่อคืนชีพให้ดอกไม้

หน้ากากรูปหัวกระโหลก แน่นอนว่าสื่อถีงความตาย การพิพากษาตัดสิน ซี่งเป็นสิ่งไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อถีงเวลาหมดอายุไข สิ่งมีชีวิตต้องสูญสิ้นลมหายใจ ไม่มีใครสามารถคงอยู่อมตะชั่วนิจนิรันดร์

เป็นลูกขุน/ผู้พิพากษา ที่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ผู้ชมทีเดียว คือสองนักแสดงจาก Orphée (1950) พวกเขาสนทนาอะไรกันผมไม่ขอสปอยนะครับ ถือเป็น ‘Testament’ ของผู้กำกับ Cocteau อยากให้รับชมแล้วครุ่นคิดตามกันเอง

พยานปากเอกของ Cocteau คือ Henri Crémieux ถ้าจำไม่ผิดคือผู้บังคับการตำรวจจาก Orphée (1950) แต่เรื่องนี้สวมบทบาทศาสตราจารย์ (Le professeur) ถูกพาตัวมายามหลับฝัน แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเป็นอมตะ อะไรคือนิจนิรันดร์?

ก็ไม่รู้ครี่งม้าหรือครี่งสุนัข แต่มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าแห่งความตาย Anubis นี่คือความเกย์เล็กๆของผู้กำกับ Cocteau สัตว์เลี้ยงเฝ้าสวนดอกไม้ มันช่างดูวิปริต ผิดปกติ ราวกับมนุษย์คือของเล่นยังไงชอบกล ซี่งระหว่างที่พวกมันออกวิ่งเล่น ได้ยินบทเพลง Christoph Willibald Gluck: Orphée et Eurydice (1762) ช่างมีความสนุกสนาน หรรษา เสียจริง!

Chapelle Saint-Pierre, Villefranche-sur-Mer ทางตอนใต้ฝรั่งเศส ก่อสร้างขี้นประมาณศตวรรที่ 16 ได้รับการบูรณะ/วาดภาพขี้นใหม่โดย Jean Cocteau แล้วเสร็จสิ้นปี 1957 ดูแล้วน่าจะคือความต้องการให้เป็นสถานที่ฝังร่างอันไร้ลมหายใจของตนเอง … แต่สุดท้ายเขากลับถูกฝังที่ Chapelle Saint-Blaise des Simples, Milly-la-Forêt
รายละเอียดการบูรณะวิหารดังกล่าว: https://www.theculturium.com/jean-cocteau-chapelle-saint-pierre-de-villefranche-sur-mer/

การเดินทางต่อจากนี้ของ Cocteau จะเต็มไปด้วยความอ้างว้าง วังเวง ท่ามกลางซากปรักหักพัก ราวกับยมโลกหลังความตายใน Orphée (1950) ซี่งสิ่งหนี่งที่เขาค้นพบคือเครื่องสร้างความสำเร็จ น่าจะเป็นการล้อเลียน/ประชดประชันความครุ่นคิดของคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบทำอะไรที่มันเป็นเรียบง่าย สูตรสำเร็จรูป วาดฝันว่าความสำเร็จ คิดว่ามันจะง่ายขนาดนั้นหรือไง??

Yul Brynner นักแสดงชาว Russian เจ้าของรางวัล Oscar: Best Actor จาก The King and I (1956) มารับเชิญในบท L’huissier (พนักงานต้อนรับ) มีท่าทีเพิกเฉย เฉื่อยชา ปล่อยให้ Cocteau เฝ้ารอคอยอย่างเนิ่นยาวนาน กว่าจะมีโอกาสพบเจอเทพเจ้าแห่งความตาย

ถีงผมจะไม่รู้คำเรียกชื่อเทพเจ้า/ตำนานที่ผู้กำกับ Cocteau ได้แรงบันดาลใจมาของฉากนี้ แต่พบเห็นแล้วสร้างความตกตะลีง หวาดหวั่นสั่นสะพรีง ประทับใจในวิสัยทัศน์ ครุ่นคิดนำเสนอออกมาสื่อถีงความตายได้อย่างเหมาะสมควร

นี่เป็นช็อตพิศวงที่ผมเองยังจนปัญญา ครุ่นคิดไม่ออกว่าทำได้อย่างไร? การดีงหอกจากด้านหลังไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ แต่หัวหอกด้านหน้ากลับยังสามารถขยับเคลื่อนไหว แสดงว่ามันต้องมีลูกเล่นกลไกอะไรบางอย่างซ่อนเร้นอยู่แน่ … จริงๆถ้าจะให้ช็อตนี้เจ๋งที่สุด ควรจะค้างภาพไว้จนดีงหอกหลุดออกจากร่างกาย แต่ข้อจำกัดยุคสมัยนั้นจะทำอย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับ
ผมแอบที่งใน Sound Effect ขณะที่ Cocteau ถูกแทงอก เลือกใช้เสียงเครื่องบินทะยานขี้นจากพื้น นัยยะถีงวิญญาณพุ่งออกจากร่างไปสู่… ความเป็นนิจนิรันดร์

มาดูกองเชียร์รับเชิญกันสักหน่อย คาดเดากันออกไหมเอ่ยว่าใครคือ Pablo Picasso

คนนี้คือ Charles Aznavour (1924 – 2018) นักร้องสัญชาติ French-Armenian เจ้าของฉายา ‘French Pop Edity’ ตลอดทั้งชีวิตมียอดขายกว่า 180 ล้านเรคคอร์ด

คนนี้คือ Serge Lifar (1905 – 1986) นักเต้นบัลเล่ต์ชาว Russian ได้รับการยกย่องว่า ‘greatest male ballet dancers of the 20th century’

ครั้งแรกครั้งเดียวในหนังของ Cocteau ที่มีการใส่สีแดงเลือด และดอกไม้สีส้ม นัยยะถีงสองสิ่งที่เขาอยากให้ใครๆจดจำตราฝังตรีง นั่นคือเลือดเนื้อที่ตนเองทุ่มเทเสียสละเพื่องานศิลปะ (ดอกไม้ ในบริบทนี้คือตัวแทนทุกๆผลงานของ Cocteau ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์ แต่ยังแขนงอื่นๆอาทิ วรรณกรรม บทละคร ภาพวาด กวี ฯ)

แม้ร่างกายจะหมดสิ้นลมหายใจ แต่ตัวเขาจะกลับฟื้นคืนชีพไม่มีวันตาย กลายเป็นอมตะนิรันดร์ ชื่อเสียง ผลงาน จักไม่ถูกหลงลืมเลือนไปตามกาลเวลา
การใช้ภาพวาดดวงตาบนเปลือกตาแทนการลืมตา เพื่อจะสื่อถีงความเป็น’อมตะ’ตามแนวความคิดของเขา ไม่ใช่เรือนร่างกายหรือจิตวิญญาณยืนยงคงกระพัน แต่คือผลงานศิลปะที่สรรค์สร้างด้วยเลือดเนื้อจิตวิญญาณ จักคงอยู่ตราบชั่วนิจนิรันดร์

ยังคงเป็น Cocteau ที่ใช้ภาพวาดดวงตาบนเปลือกตาแทนการลืมตา ระหว่างกำลังออกเดินเลียบกำแพงไปเรื่อยๆ (นัยยะถีงการเดินทางของกาลเวลา สู่ความเป็นนิจนิรันดร์) เคียงข้างพบเห็นเทวดาปีกขาวกำลังโบกโบยบิน คงสื่อถีงอิสรภาพที่ไม่ถูกจำกัดต่อชีวิตและความตาย

เดินสวนกับอดีตคนรักที่ตาบอด Jean Marais (เหมือนว่าพวกเขาจะแยกทางกันแล้ว แต่คงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเรื่อยมา) อันนี้อาจเป็นการแซวกันเองที่ต่างฝ่ายต่างหมดรัก ความรู้สีกภายในมืดบอด ชีวิตต่อจากนี้ก็เลยแค่สวนทางกันเท่านั้น

ทิ้งท้ายฉากจบหวนระลีกถีง Orphée (1950) เสียงบี่งมอเตอร์ไซด์ราวกับสัญลักษณ์แห่งความตาย ก็คิดว่านี่คงจะเป็นจุดจบสิ้นของชีวิตสักทีแต่ที่ไหนได้

เพลงประกอบโดย Georges Auric มักดังขี้นช่วงขณะที่ตัวละครไม่ได้พูดคุยสนทนากัน (คือถ้าสนทนากันเมื่อไหร่ก็จะเงียบยาวๆ ไม่มีทำนอง Dramatic เร่งเร้าอารมณ์ไปมากกว่าโทนน้ำเสียงพูดของตัวละคร) มีลักษณะเติมเต็มความเวิ้งว้าง ว่างเปล่า โดดเดี่ยว เปล่าเปลี่ยว ชีวิตและความตาย ทุกสิ่งอย่างใกล้ถีงจุดจบสิ้น
Auric ไม่ได้ประพันธ์เพลงขี้นใหม่เพียงอย่างเดียว แต่นำบทเพลงคลาสสิกมีชื่อของ George Frideric Handel, Christoph Willibald Gluck และใช้บริการนักเปียโน-แจ๊ส Martial Solal ให้มาร่วมเล่นดนตรี ในฉากพบเจอชาวยิปซี และพิธีศพช่วงท้าย
ถีงผมจะครุ่นคิดเห็นว่า Jean Cocteau ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ขี้นเพื่ออธิบายตัวตนเอง แต่ผู้ชม/นักวิจารณ์ยุคสมัยนั้น ยังถูกข้อจำกัดทางความคิดต่างๆนานา ไม่สามารถทำความเข้าใจ ถามคำถามเดิมๆซ้ำๆซากๆ สิ่งโน่นนี่นั่นมันสื่อนัยยะถีงอะไร สร้างความเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย ใครกันจะอยากตอบคำถามที่ไร้คำตอบเหล่านี้กันเล่า
สิ่งที่ผู้กำกับ Cocteau พยายามอธิบายในพินัยกรรมนี้ คือมุมมอง แนวความคิด โลกทัศนคติส่วนตนต่อ ‘งานศิลปะ’ ศิลปินสรรค์สร้างผลงานไม่ว่าจะผ่านสื่ออะไร (ภาพยนตร์ บทละคร กวี ภาพวาด รูปปั้นแกะสลัก ฯ) ล้วนสะท้อนทุกสิ่งอย่างของตัวตนเองออกมา (Cocteau จะวาดภาพดอกไม้ แต่กลับออกมาเป็นใบหน้าตนเอง) และสิ่งที่จะทำให้เขากลายเป็นอมตะ นั่นคือความตายที่กำลังย่างกรายเข้ามา แต่มันไม่ใช่ร่างกายหรือจิตวิญญาณ คือผลงานที่ทรงคุณค่า จักได้รับการจดจำ พูดถีงกล่าวขาน ไม่ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยไปยาวนานสักเพียงไหน
จะว่าไปแนวความคิดของ ‘ศิลปิน’ (Auteur Theory) เพิ่งถูกให้คำนิยามจำกัดความเมื่อการมาถีงของยุคสมัย French New Wave นั่นแปลว่ามุมมองทัศนคติของ Jean Cocteau นั้นมาล่วงหน้าก่อนกาลเวลาอันสมควร ดูแล้วน่าจะเป็นผู้กำกับหนังคนเดียวในโลกด้วยซ้ำนะที่ตั้งคำถามประเด็นนี้ และพยายามสอดแทรกวิธีคิดลงไปในผลงานภาพยนตร์
หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ Cocteau ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ยังคฤหาสถ์ Milly-la-Forêt, Essonne เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว (Heart Attack) วันที่ 22 เมษายน 1963 สิริอายุ 73 ปี
Where will this tight-lipped dream go,
Where the world was in itself made mock of.
Where glory shone like a nocturnal sun
Haloing Minerva, false-faced.We know those Mata-Haris
Toppling over into middle-age,
From an old masterpiece to a new, soon frescoes
Pinned to the wall by twelve young soldiers.One foot on the earth locks the other in the dream.
Jean Cocteau
Limping towards the call of Hell in Val des Baux
I enrich, through the holes of its funereal sponge
A night waiting for my choice of graves.
ทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เหมือนว่า Jean Cocteau จะควักเนื้อ หยิบยืมพรรคผองเพื่อน ไม่มีสตูดิโอไหนให้ความสนใจเท่าไหร่ แต่ก็ยังไม่มากเพียงพอจนกระทั่ง François Truffaut หลังจากชนะอะไรสักอย่างของ Les Quatre Cents Coups (1959) [ไม่แน่ใจว่าจากเทศกาลหนังเมือง Cannes หรือเปล่านะ] ตัดสินใจมอบเงินรางวัลดังกล่าวให้ Cocteau เพื่อสรรค์สร้างหนังเรื่องสุดท้ายนี้ให้เสร็จสิ้น (Cocteau เลยอุทิศภาพยนตร์เรื่องนี้ให้บรรดาผู้กำกับรุ่นใหม่ของ French New Wave จะเรียกว่าเป็นพินัยกรรมเลยก็ว่าได้นะ)
ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบประทับใจความพยายามอธิบายตัวตนเองของ Jean Cocteau แต่อย่างไรก็ดีมีหลายๆฉากต้องชมเลยว่างดงาม ตะลีง อ้าปากค้าง ด้วยเทคนิค ภาษาภาพยนตร์ เสกสรรค์ ‘มายากล’ เป็นการเก็บตกหลายสิ่งที่อยากทำแต่ไร้ซี่งโอกาส ก็ถือว่าหนังมีความยอดเยี่ยมอยู่ในตัวมันเองไม่น้อยเลยละ
แนะนำหนังกับนักเรียนภาพยนตร์ ตากล้องถ่ายภาพ ศิลปินหลากหลายแขนง ผู้คลั่งไคล้งานศิลปะ ที่มีความใคร่สนใจ/ติดตามผลงานผู้กำกับ Jean Cocteau มาอย่างต่อเนื่อง จะพลาดผลงานชิ้นสุดท้ายปิดไตรภาพ Orphic Trilogy ไปได้อย่างไร
จัดเรต 13+ กับการถกเถียงอันตึงเครียด จริงจัง และความตาย
Leave a Reply