Lifeboat (1944) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♡
ครั้งแรกของผู้กำกับ Alfred Hitchcock นำเสนอเรื่องราวในพื้นที่จำกัด (Limited Setting) ถ่ายทำบนเรือชูชีพ หลังถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat แต่เมื่อมีทหารเยอรมันคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะทำอะไรยังไงกับชายคนนี้ดี?
เอาจริงๆแล้วคำว่าพื้นที่จำกัด ‘Limited Setting’ มันก็แค่คำโปรย โฆษณา เพราะตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกๆของผกก. Hitchcock ล้วนถ่ายทำในสตูดิโอ โรงถ่ายเล็กๆไม่กี่ตารางวา เพียงกองสองเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ บันทึกภาพทิวทัศน์สองข้างทาง แล้วนำกลับมาฉายด้วยเครื่อง Rear Projection … กล่าวคือแทบทุกผลงานของผกก. Hitchcock ล้วนถ่ายทำในสตูดิโอที่มีพื้นที่จำกัด!
แค่ว่า Lifeboat (1944) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสถานที่ดำเนินเรื่องเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น! นั่นคือบนเรือชูชีพ ล่องลอยคอกลางมหาสมุทรแอตแลนติก โสตประสาทผู้ชมจึงรับรู้ถึงข้อจำกัด ความแออัด พื้นที่คับแคบ กลายเป็นต้นแบบภาพยนตร์ Rope (1948), Dial M for Murder (1954) และ Rear Window (1954)
การสร้างภาพยนตร์ที่มีสถานที่ดำเนินเรื่องเพียงหนึ่งเดียว ฟังดูง่าย ไม่น่าจะใช้ทุนมากมาย แต่ทว่าผกก. Hitchcock กลับสร้างความท้าทาย เลือกที่จะถ่ายทำบนเรือเท่านั้น! … แค่ครุ่นคิดก็ปวดหัวแล้วละ เพราะเรือบนพื้นน้ำย่อมต้องโคลงเคลงไปมา ไหนจะคลื่นลม ฟ้าฝน แถมกล้องสมัยนั้นยังมีขนาดใหญ่ยักษ์ และห้ามโดนน้ำอย่างเด็ดขาด!
แม้แนวคิดของหนังจะมีความน่าสนใจ แต่ทว่าปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผกก. Hitchcock โดนโจมตีอย่างหนัก เพราะยุคสมัยนั้นยังอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การนำเสนอตัวละครชาวเยอรมันในแง่ดี จึงก่อให้ประเด็นขัดแย้ง (Controversy) … ผลลัพท์ทำให้หนังขาดทุนย่อยยับ แถมยังถูกสั่งห้ามส่งออกฉายต่างประเทศ
Sir Alfred Joseph Hitchcock (1899-1980) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Suspense’ เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่ Leytonstone, Essex ครอบครัวเปิดกิจการร้านขายของชำ (grocery shop) ช่วงวัยเด็กมีความสนใจภูมิศาสตร์ แผนที่ ขบวนรถไฟ ใฝ่ฝันอยากเป็นวิศวกร เข้าศึกษาภาคค่ำยัง London County Council School of Engineering and Navigation แต่พอบิดาเสียชีวิต เลยต้องแบ่งเวลามาทำงานเสมียนบริษัทโทรเลข Henley Telegraph and Cable Company, หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มมีความสนใจด้านการเขียน กลายเป็นบรรณาธิการรุ่นก่อตั้ง The Henley Telegraph ก่อนย้ายมาแผนกโฆษณา ทำให้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ ‘Motion Picture’ เกิดความชื่นชอบหลงใหล Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang
ต่อมายื่นใบสมัครเข้าทำงานสตูดิโอ Famous Players–Lasky เปิดสาขาใหม่ที่ London เริ่มจากเป็นนักออกแบบ Title Card, ร่วมเขียนบท, ออกแบบศิลป์, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้ช่วยตัดต่อ ฯ เรียนรู้งานแทบจะทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่ผู้ช่วยผู้กำกับ Woman to Woman (1923), ได้รับโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Pleasure Garden (1925), แจ้งเกิดกับ The Lodger: A Story of the London Fog (1927), ผลงานโดดเด่นในยุคแรกๆ อาทิ Blackmail (1929), The Man Who Knew Too Much (1934), The 39 Steps (1935), The Lady Vanishes (1938) ฯ
ผกก. Hitchcock เซ็นสัญญา(ทาส)กับโปรดิวเซอร์ David O. Selznick เมื่อปี ค.ศ. 1939 เดินทางมาสรรค์สร้างภาพยนตร์ Hollywood เรื่องแรก Rebecca (1940) แต่ทั้งสองเต็มไปด้วยขัดแย้ง แนวทางทำงานที่แตกต่าง แม้ยังติดสัญญากันอยู่ Selznick กลับปล่อยให้ Hitchcock ถูกหยิบยืมโดยโปรดิวเซอร์/สตูดิโออื่น
หนึ่งในนั้นก็คือโปรดิวเซอร์ Darryl F. Zanuck แห่งสตูดิโอ 20th Century Fox ขอหยิบยืมผกก. Hitchcock ให้มาสรรค์สร้างภาพยนตร์จำนวนสองเรื่อง (แต่ความล้มเหลวของ Lifeboat พวกเขาเลยไม่มีโอกาสร่วมงานกันอีก)
ในตอนแรกผกก. Hitchcock เสนอแนะโปรเจคเกี่ยวกับเรือชูชีพ (Lifeboat) ประกอบด้วยนักแสดงชายล้วน (All-Male Cast) มอบหมายให้นักเขียน A.J. Cronin, James Hilton และเคยพยายามติดต่อ Ernest Hemingway ให้มาช่วยขัดเกลาบทหนัง แต่เหมือนว่าจะไม่ได้ผลตอบรับใดๆ
เกร็ด: ก่อนที่ผกก. Hitchcock จะเซ็นสัญญา(ทาส)กับโปรดิวเซอร์ Selznick เคยเสนอแนะโปรเจค Titanic แต่ยุคสมัยนั้นยังเต็มไปด้วยข้อจำกัด จึงไม่มีโอกาสพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างจริงจัง นั่นอาจคือจุดเริ่มต้น ความสนใจของ Lifeboat ได้เลยกระมัง
บทหนังเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจากนักเขียน John Steinbeck (1902-68) เจ้าของรางวัล Pulitzer Prize จากนวนิยาย The Grapes of Wrath ในตอนแรกได้รับการติดต่อให้ช่วยพัฒนาบทหนัง ไปๆมาๆกลับเขียนออกมาในรูปแบบนวนิยาย ตั้งใจจะตีพิมพ์รวมเล่ม และขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไปพร้อมกัน … สุดท้ายได้แค่เงินค่าลิขสิทธิ์ $50,000 เหรียญ เพราะบรรณาธิการมองว่าคุณภาพของนวนิยายต่ำเกินไป
จากบท ‘Treatment’ ของ Steinbeck ส่งต่อให้นักเขียน MacKinlay Kantor ทำงานอยู่สองสัปดาห์ แต่ผลลัพท์ออกมาไม่ดีเท่าไหร่ เลยเปลี่ยนมาเป็นนักเขียน Jo Swerling (1897-1964) ทำการดัดแปลงบทภาพยนตร์ และผ่านการปรับปรุงแก้ไขเล็กๆน้อยๆโดย Alma Reville (ภรรยาผกก. Hitchcock), MacKinlay Kantor, Patricia Collinge, Albert Mannheimer, Marian Spitzer และ Ben Hecht มาช่วยครุ่นคิดตอนจบใหม่
I had assigned John Steinbeck to the screenplay, but his treatment was incomplete and so I brought in MacKinlay Kantor, who worked on it for two weeks. I didn’t care for what he had written at all. He said, “Well, that’s the best I can do.” I thanked him for his efforts and hired another writer, Jo Swerling, who had worked on several films for Frank Capra. When the screenplay was completed and I was ready to shoot, I discovered that the narrative was rather shapeless. So I went over it again, trying to give a dramatic form to each of the sequences.
Alfred Hitchcock
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เรือโดยสารถูกโจมตีโดยเรือดำน้ำ Nazi U-boat จนอับปางลง บรรดาผู้รอดชีวิตต่างตะเกียกตะกายขึ้นเรือชูชีพ (Lifeboat) ประกอบด้วย
- Constance “Connie” Porter (รับบทโดย Tallulah Bankhead) นักหนังสือพิมพ์ มีความไฮโซ เย่อหยิ่ง มองโศกนาฎกรรมคือข่าวใหญ่ ต้องการบันทึกภาพ ตีพิมพ์รายละเอียด แต่สิ่งของมีค่าหลายอย่างมักถูกใครบางคน/อุบัติเหตุบางอย่างพลัดตกน้ำ มักวางตนเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นแค่เพียงเปลือกภายนอก
- ถ้าไม่นับบทรับเชิญ Stage Door Canteen (1943) ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Bankhead คือ Faithless (1932) เพราะเธอให้ความสำคัญกับละคอนเวทีมากกว่า ถึงกระนั้นกลับยังได้รับค่าตัวสูงถึง $75,000 เหรียญ น่าจะถือเป็น ‘Top Billing’ ด้วยกระมัง
- ระหว่างเข้าฉากพายุเปียกปอน Bankhead ล้มป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) ทำให้ต้องหยุดกองถ่ายหลายวัน หลังอาการหายดีผกก. Hitchcock ซื้อลูกสุนัขเป็นของขวัญ พร้อมตั้งชื่อว่า Hitchcock
- Kapitan Willi (รับบทโดย Walter Slezak) ชายชาว German ในตอนแรกอ้างว่าเป็นช่างเครื่อง แต่พบเห็นบาดแผลติดเชื้อของ Gus Smith บอกว่าชีวิตจริงเป็นแพทย์ อาสาให้ความช่วยเหลือผ่าตัด/ตัดขา ไปๆมาๆเฉลยว่าแท้จริงแล้วคือกปิตัน ฉกฉวยโอกาสยามเกิดพายุฝนฟ้าคลั่ง แอบกักตุนอาหาร เครื่องดื่ม กลายเป็นคนคุมหางเสือ กำหนดทิศทางสู่น่านน้ำ Nazi Germany
- John Kovac (รับบทโดย John Hodiak) ลูกเรือในห้องเครื่อง เต็มไปด้วยความเย่อหยิ่ง ทะนงตน หลงตัวเอง ละม้ายคล้าย Connie แต่มีทัศนคติแตกต่างตรงกันข้าม เป็นคนสุดโต่ง หัวรุนแรง ต้องการกำจัดทหารเยอรมันให้พ้นภัยทาง เพื่อจักได้ขึ้นเป็นผู้นำ (ถือว่ามียศสูงสุดในเรือชูชีพ) ถึงอย่างนั้นชายคนนี้กลับไม่ได้มีศักยภาพ ความสามารถอันใด พึ่งพาอะไรไม่ได้สักสิ่งอย่าง
- Gus Smith (รับบทโดย William Bendix) ชายผู้โชคร้าย ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ขา ในตอนแรกแสดงความเห็นว่าควรเข่นฆ่าทหารเยอรมัน แต่พออีกฝ่ายบอกเป็นแพทย์ อาสาให้ความช่วยเหลือผ่าตัด/ตัดขา จึงยินยอมนับถือในความมีมนุษยธรรม ถึงกระนั้น…
- Charles J. “Ritt” Rittenhouse Jr. (รับบทโดย Henry Hull) นักอุตสาหกรรมผู้มีฐานะมั่งคั่ง สนิทสนมกับ Connie ตั้งแต่ก่อนเรือล่ม พอมาอยู่บนเรือชูชีพ กลายเป็นผู้วางแผนจัดการเสบียง และแบ่งหน้าที่ตามความสามารถของแต่ละคน
- Mrs. Higley (รับบทโดย Heather Angel) เพราะสูญเสียทารกน้อย ทำให้สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว แสดงอาการ ‘Shell Shock’ ไม่สามารถยินยอมรับสภาพเป็นจริง จึงถูกจับมัดกับเก้าอี้ แล้วใครสักคนผลักเธอจมน้ำตาย
- Stanley “Sparks” Garrett (รับบทโดย Hume Cronyn) นักวิทยุ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำทาง ควบคุมหางเสือ แต่พอเกิดเหตุพายุฝนฟ้าคลั่ง สูญเสียหน้าที่ดังกล่าวให้กับ Kapitan Willi
- Alice MacKenzie (รับบทโดย Mary Anderson) นางพยาบาลสาว ช่วยปฐมพยาบาล Gus Smith แม้เธอมีชายคนรัก แต่ค้นพบว่าอีกฝ่ายแต่งงานมีครอบครัว ยามค่ำคืนนั่งสนทนา เปิดใจกับ Sparks พอพวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์เฉียดเป็นเฉียดตาย ตัดสินใจตอบตกลงแต่งงาน
- Joe Spencer (รับบทโดย Canada Lee) ชายผิวสีผู้พยายามวางตัวเป็นกลาง ไม่ขอแสดงความเห็นคิด เพียงปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่ รับหน้าที่เป็นคนเป่าขลุ่ยช่วงครึ่งแรก ก่อนส่งต่อให้ Ritt ภายหลังพายุฝนฟ้าคลั่ง
- ทั้งๆที่ผกก. Hitchcock อนุญาตให้ Spencer เขียนบทพูดของตนเอง แต่นี่เป็นอีกตัวละครที่โดนโจมตีอยู่ไม่น้อย เพราะนำเสนอตัวละครชายผิวสีในลักษณะ ‘black stereotype’
ผกก. Hitchcock จงใจเลือกนักแสดงที่ไม่ได้มีชื่อเสียงในวงการภาพยนตร์นัก ส่วนใหญ่คัดมาจากฟากฝั่งละคอนเวที เพราะพวกเขาต่างมีประสบการณ์แสดงในสถานที่คับแคบ (บนเวที) สามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ และไม่ต้องการให้ใครโดดเด่นกว่าใคร … แต่สุดท้ายแล้ว Tallulah Bankhead, Walter Slezak และ John Hodiak ก็ยังโดดเด่นขึ้นมา
มีนักวิจารณ์บางคนแสดงความคิดเห็นถึง Lifeboat (1944) ว่าไม่แตกต่างจากละคอนเวที เอาจริงๆแค่ทีมนักแสดง (Ensemble Cast) ก็ชัดเจนมากๆแล้วละ แต่ความหมายแท้จริงของ ‘ละคอนเวที’ มันลุ่มลึกล้ำกว่านั้น
Lifeboat is eminently theatrical, but not because it is dialogue-heavy and confined to a single set. Its theatricality lies in the fact that it is entirely an arrangement in which the audience does not, as it should, seem outside of the event, but is the main person in the boat… The event that is supposed to be taking place falls away from conviction at every point and for this reason: it simply is not taking place in a lifeboat in the middle of the ocean but right in front of you on a stage… The characters are no longer driven and provoked by the situation but by the audience.
นักวิจารณ์ Manny Farber จากหนังสือพิมพ์ The New Republic
ถ่ายภาพโดย Glen MacWilliams (1898-1984) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ California เข้าสู่วงการตั้งแต่ยุคหนังเงียบ ผลงานเด่นๆ อาทิ Oliver Twist (1922), Lazybones (1925), The Front Page (1931), King Solomon’s Mines (1937), Lifeboat (1944) ฯ
เกร็ด: ในตอนแรกติดต่อตากล้อง Arthur C. Miller (How Green Was My Valley, The Song of Bernadette, Anna and the King of Siam) แต่ทำงานเพียงสองสัปดาห์เกิดอาการล้มป่วย ขอถอนตัวออกไป แล้วได้ Glen MacWilliams เข้ามาแทนที่
ด้วยความแนบเนียน สมจริงของการถ่ายทำ อาจทำให้หลายคนไม่เชื่อว่าหนังทั้งเรื่องถ่ายทำในแท้งน้ำของสตูดิโอ 20th Century Fox ระหว่างเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 เห็นว่าใช้เรือทั้งหมด 4 ลำ มีเต็มลำสองลำ และครึ่งลำอีกสองลำ
The production utilized four lifeboats; one for rehearsals, one for the studio’s water tanks and two separate boats (cut in half) for close-ups and long shots.
ถ้าไม่นับภาพแรกของหนังที่กล้องค่อยๆเคลื่อนไหล(เหนือน้ำ)จากเรืออับปางสู่เรือชูชีพ ทุกช็อตฉากล้วนถ่ายทำบนเรือ จากตำแหน่งต่างๆที่ครุ่นคิดวางแผน วาดภาพ Storyboard ตระเตรียมการไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่ายทำ ซึ่งเกินกว่า 80% ล้วนเป็นภาพระยะใกล้ (Close-Up หรือ Semi-Close Shots)
That’s right, it was a challenge, but it was also because I wanted to prove a theory I had then. Analyzing the psychological pictures that were being turned out, it seemed to me that, visually, eighty percent of the footage was shot in close-ups or semiclose shots. Most likely it wasn’t a conscious thing with most of the directors, but rather an instinctive need to come closer to the action. In a sense this treatment was an anticipation of what was to become the television technique.
Alfred Hitchcock
แต่ความยุ่งยากของหนังไม่ใช่ทิศทาง มุมกล้อง กลับคือเรือบนพื้นน้ำมีความโคลงเคลงอยู่ตลอดเวลา (ทำเอานักแสดงหลายคนหน้ามืด วิงเวียน เมาเรือ ล้มป่วยสารพัดโรค) บางวันแดดออก เมฆครึ้ม หมอกควัน ค่ำคืนมืดมิด ส่วนไฮไลท์ต้องยกให้ตอนฝนฟ้าคะนอง (ลมฝนสร้างไม่ยาก แต่สภาพคนบนเรือนี่สิ เปียกปอน ล้มป่วย ได้รับบาดเจ็บ รุนแรงสุดก็คือกระดูกร้าว)
หลังจาก Opening Credit กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนไหลจากเรือกำลังจมลง พานผ่านวัตถุสิ่งของต่างๆกำลังล่องลอยผ่านไป แต่ละอย่างสามารถเปรียบเทียบแทนตัวละคร/ผู้รอดชีวิตบนเรือชูชีพ ผมขอไม่ลงรายละเอียดว่าอะไรคือตัวแทนใคร มีคนเฉลยให้แล้วในคอมเมนต์ด้านล่าง
หนึ่งในลูกเล่นที่สร้างความประหลาดใจให้ผมอย่างมากๆ หลังจากให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มหนึ่งขึ้นจากน้ำ Ritt ตรงเข้าไปพูดคุยกับ Connie จากนั้นกล้องเคลื่อนเลื่อนมายังอีกกลุ่มคนที่กำลังปฐมพยาบาล Gus Smith ทั้งสองกลุ่มทำเหมือนไม่ได้สนใจกันและกัน
ตอนแรกผมมองถึงการแบ่งแยกสถานะชนชั้นทางสังคม คนสองกลุ่มโดยปกติจะไม่สุงสิง ยุ่งเกี่ยว ให้ความช่วยเหลือกันสักเท่าไหร่ (Connie กับ Kovac เกิดความขัดแย้งกันตั้งแต่แรกพบเจอ)
- Ritt คือนักธุรกิจ ขณะที่ Connie ทำงานสื่อหนังสือพิมพ์ ต่างถือว่าเป็น Upper-Middle Class
- คนอื่นๆคือกะลาสี ช่างเครื่อง คนงาน นางพยาบาล ล้วนจัดเป็น Working Class
แต่หลังจากรับชมหนังไปเรื่อยๆ ผมก็ตระหนักว่าภาพนี้ต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกของผู้คน (มากกว่าจะสะท้อนสถานะชนชั้นทางสังคม) แทนที่ในสถานการณ์เช่นนี้จะให้ความช่วยเหลือกันและกัน บางคนเพิกเฉย บางคนวางตัวเป็นกลาง บางคนครุ่นคิดเห็นต่าง … แต่เรายังสามารถมองอีกมุมว่า มีถึง 4 คนกำลังให้ความช่วยเหลือ Gus Smith ถ้าเพิ่มไปอีกสองมันจะยุ่งวุ่นวาย ไม่จำเป็นสักเท่าไหร่
ระหว่างการพูดคุย ถกเถียง จะทำอะไรยังไงกับทหารเยอรมัน? ภาพแรกเป็นการแสดง ‘จุดยืน’ ของแต่ละตัวละคร ก่อนแบ่งแยกให้เห็นว่าใครอยู่ฟากฝั่งไหน มีทัศนคติ คิดเห็นเช่นไร
- Kapitan Willi คือจำเลยที่ถูกกล่าวหา เคียงข้างด้วย Connie (คนแปล) และ Spark (เปรียบดั่งทนาย) ทั้งสองต่างช่วงแก้ต่าง ไม่ได้เข้าข้าง แต่แสดงความคิดเห็นว่าเราไม่ควรด่วนตัดสินอะไรทั้งนั้น ทุกสิ่งอย่างต้องดำเนินไปตามหลักกฎหมาย
- Kovac และ Gus คือบุคคลไม่เห็นด้วย ต่อต้าน ต้องการขับไล่/เข่นฆ่าทหารเยอรมันให้พ้นภัยทาง
- Ritt, Alice และ Mrs. Higley ถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่รู้อิโน่อิเหน่ แม้ได้รับผลกระทบจากสงคราม แต่ก็พร้อมยินยอมรับฟังการตัดสินของเสียงข้างมาก
- ชายผิวสี Joe ไม่รู้ไม่สน ไม่ขอแสดงความคิดเห็น หรือเลือกข้างฝั่งฝ่ายไหน
ในตอนแรก ผกก. Hitchcock วางแผนถ่ายทำด้วยฟีล์มสี Technicolor และนักแสดงชายล้วน (ถ้าเป็นเช่นนั้นคงได้รับข้อครหาไม่ต่างจาก 12 Angry Men) แต่ผมคาดเดาว่าเหตุผลที่เป็นมาเป็นหนังขาว-ดำ นั่นเพราะผลลัพท์ภาพสี ถ่ายออกมาดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าไหร่ (เนื่องจากท้องฟ้าเกิดจากภาพวาดบนฉาก มันจะมีความแนบเนียนกว่าเมื่อถ่ายด้วยฟีล์มขาว-ดำ)
ด้วยเหตุนี้ยามเย็น พระอาทิตย์ใกล้ตกดิน จึงมีการถ่ายภาพย้อนแสง ตัวละครปกคลุมด้วยเงามืด ซึ่งยังสามารถสื่อถึงช่วงเวลาแห่งการไว้อาลัย ต่อจากนี้คงไม่พบเจอผู้รอดชีวิตอีกต่อไป
ผกก. Hitchcock ครุ่นคิดที่จะล่องลอยคอเป็นศพผ่านเรือชูชีพ แต่ถ้าทำเช่นนั้นจริงคงสร้างความยุ่งยากวุ่นวายเกินไป ก่อนได้แรงบันดาลใจจากตนเองที่เคยลดน้ำหนักสำเร็จอยู่ครั้งหนึ่ง เลยทำออกมาเป็นโฆษณายาลดน้ำหนัก Reduco โพสท่าก่อน-หลัง
Usually I playa passer-by, but you can’t have a passer-by out on the ocean. I thought of being a dead body floating past the lifeboat, but I was afraid I’d sink. I couldn’t play one of the nine survivors, since each had to be played by a competent performer. Finally, I hit on a good idea. At the time, I was on a strenuous diet, painfully working my way from three hundred to two hundred pounds. So I decided to immortalize my loss and get my bit part by posing for “before” and “after” pictures. These photographs were used in a news paper ad for an imaginary drug, Reduco, and the viewers saw them-and me-when William Bendix opened an old newspaper we had put in the boat. The role was a great hit. I was literally submerged by letters from fat people who wanted to know where and how they could get Reduco.
Alfred Hitchcock
การตัดขาของ Gus Smith เพื่อทำลายสิ่งที่จักกลายเป็นภัยคุกคามชีวิตในอนาคต นี่สามารถสื่อถึง Kapitan Willi ตั้งคำถามกับผู้ชมตั้งแต่ตอนนี้เลยว่า เราควรที่จะกำจัด ขับไล่ ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม บุคคลอาจเป็นภัยคุกคามในอนาคต หรือชาวนากับงูเห่า (ที่อาจหวนกลับมาแว้งกัดเจ้าของ)
ในหลายๆสถานการณ์ การตัดไฟตั้งแต่ต้นลมเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่เมื่อเป็นเรื่องชีวิตมนุษย์ ความเป็นความตาย นั่นไม่ใช่สิ่งที่ควรตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่ว เหมารวมชาวเยอรมันว่ามีความโฉดชั่วร้าย ถึงในอนาคตเขาจักกลายเป็นเช่นนั้น ก็ไม่ควรเอาข้ออ้างมาแก้ต่าง นี่หาใช่เรื่องผิดพลาด เราทำดีที่สุดแล้วในสถานการณ์ขณะนั้น
หลายๆผลงานของผกก. Hitchcock จะมีบางสิ่งอย่างเกี่ยวกับห้องน้ำ รอยสัก ตัวย่อ B.M. มาจากคำว่า Bowel Movement ซึ่งเป็นความพยายามเสียดสีล้อเลียน Joseph Breen แห่ง Hays Code ที่พยายาม “cleansing of films” กำจัดทำลายสิ่งสกปรกในสื่อภาพยนตร์
[Joseph] Breen goes to the bathroom every morning. He does not deny that he does so or that there is such a place as the bathroom, but he feels that neither his actions nor the bathroom are fit subjects for screen entertainment.
นักเขียน Val Lewton หนึ่งในผู้ริเริ่มกลุ่มเคลื่อนไหว B.M.
แซว: เมื่อตอนที่ Connie สอบถามถึงรอยสัก B.M. เธอกำลังทาลิปสติกด้วยท่าทางยั่วเย้ายวน … เข้าใจนัยยะที่ซ่อนเร้นนี้ไหมเอ่ย?
Ritt เล่นโป๊กเกอร์กับ Kovac แต่พ่ายแพ้ทุกตา (น่าจะโดนโกงแน่ๆ) จนกระทั่งครั้งสุดท้ายได้ไพ่ Four of a Kind (ไพ่แต้มเท่ากันสี่ใบ) ยังไงต้องชนะแน่! แต่ดันถูกลมพัด ปลิดปลิว หายวับไปกับตา ทุกสิ่งอย่างสร้างมาพลันสูญสลาย
สะท้อนเข้ากับ Kapitan Willi ที่เต็มไปด้วยเล่ห์กล จนกระทั่งผลักดัน Gus ให้ลอยละล่องไปกับสายน้ำ สร้างความไม่พึงพอใจให้ใครต่อใคร ตรงเข้าไปทุบตี กระทำร้าย จนกระทั่งตกตาย ทำให้ทุกแผนการพลันสูญสลาย ตกอยู่ในความสิ้นหวัง
การเข่นฆ่า Kapitan Willi อาจฟังดูสมควรแก่อารมณ์ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุและผล เพราะทำให้สมาชิกบนเรือชูชีพมีสภาพเหม่อล่องลอย ไร้เรี่ยวแรง ตกอยู่ในความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะไม่มีใครสามารถนำทาง ไร้เป้าหมาย เพียงเฝ้ารอคอยความตาย
จนกระทั่ง Connie สร้างความหวังด้วยการเสียสละสร้อยข้อมือเป็นเหยื่อล่อปลามาติดกัปดัก ฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่กลับสามารถตกปลาได้สำเร็จ ถึงอย่างนั้นระหว่างกำลังฉุดกระชากลากดึง พอใครคนหนึ่งพบเห็นเรือรบ ทุกคนต่างทอดทิ้งสิ่งกระทำอยู่ ปลดปล่อยเบ็ด แถมทำให้เธอสูญเสียสร้อยข้อมือดังกล่าว … ซีเควนซ์นี้แสดงให้เห็นถึงสันชาตญาณ/สันดานมนุษย์ ที่มักสนเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า (เหมือนการเข่นฆ่า Kapitan Willi โดยไม่คิดหน้าคิดหลัง เพียงตอบสนองอารมณ์โดยอ้างความชอบธรรม) ไม่เคยครุ่นคิดเผื่อถึงอนาคต ผลลัพท์เลยอาจทำให้สูญเสียทุกสิ่งอย่าง
ตอนจบของหนังเมื่อเรือชูชีพตกทหารเยอรมันขึ้นมานายหนึ่ง แล้วจู่ๆชักปืนขึ้นมาข่มขู่ ทำให้ทุกคนต่างได้ข้อสรุปโดยเอกฉันท์ว่า ขาข้างนี้ต้องถูกตัดทิ้ง ไม่สมควรให้ความช่วยเหลือ หรือรู้สึกสงสารเห็นใจ … แต่นั่นใช่การคำตอบถูกต้องหรือไม่?
ในบริบทสงคราม มุมมองผู้ชมยุคสมัยนั้น ย่อมเห็นพ้องต้องกัน เหมารวมพวกเยอรมันไม่ใช่คนดี ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะให้ความช่วยเหลือ ไว้ชีวิต, แต่ผู้ชมสมัยใหม่ย่อมรับรู้ว่านี่ไม่ใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสม เราไม่ควรตัดสินคนแค่เพียงเปลือยภายนอก หรือพฤติกรรมแสดงออก ต่อให้หมอนี่เป็นคนโฉดชั่วร้าย เรายังควรสำแดงมนุษยธรรม หาหนทางออกที่ไม่ใช่ศาลเตี้ย เข่นฆ่าแกง เลียนแบบพวก Nazi Germany
ตัดต่อโดย Dorothy Spencer (1909-2002) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Covington, Kentucky ตั้งแต่อายุ 15 เข้าทำงานแผนกตัดต่อสตูดิโอ Fox เป็นผู้ช่วยตัดต่อ Louis Loeffler และ Irene Morra ก่อนได้รับโอกาสขึ้นมาเป็นร่วมตัดต่อกับ Otho Lovering ภาพยนตร์ Stagecoach (1939), Foreign Correspondent (1940), ฉายเดี่ยวกับ To Be or Not to Be (1942), Heaven Can Wait (1943), Lifeboat (1943), A Royal Scandal (1945), My Darling Clementine (1946), Cleopatra (1963), Earthquake (1974) ฯ
แม้หนังเริ่มต้นจาก Connie บนเรือชูชีพ ทะยอยให้ความช่วยเหลือ พบเจอผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เรืออับปาง แต่หนังไม่ได้จำเพาะเจาะจง ใครคือพระเอก-นางเอก พยายามทำให้ทุกตัวละครโดดเด่นพอๆกัน (ถึงอย่างนั้นผู้ชมย่อมรับรู้ได้อยู่ดี ว่าใครมีบทบาทมากน้อยกว่ากัน)
- แนะนำตัวละคร
- เริ่มจากภาพเรืออับปาง กล้องเคลื่อนเลื่อนไปยังเรือชูชีพ พบเจอกับ Connie กำลังถ่ายรูป ให้ความช่วยเหลือ John Kovac
- จากนั้นผู้รอดชีวิตคนอื่นๆก็ทะยอยได้รับความช่วยเหลือตามลำดับ
- กระทั่งการมาถึงของนายทหารเยอรมัน จึงเกิดการโต้ถกเถียงว่าจะทำอะไรยังไงกับหมอนี่ดี?
- ยามค่ำคืน Mrs. Higley หลังสูญเสียทารกน้อย เกิดอาการเสียสติ ไม่สามารถควบคุมตนเอง ถูกจับมัดเก้าอี้ ก่อนสูญหายไปกับมหาสมุทร
- ย่นย่อโครงสร้างทางสังคม
- Ritt แบ่งหน้าที่ให้สมาชิกบนเรือ จากนั้นถกเถียงถึงเส้นทางสู่ Bermuda
- Kapitan Willi ผ่าตัดขาให้กับ Gus Smith
- หลังการผ่าตัด นั่งพูดคุย เล่นไพ่ พร่ำเพ้อชีวิต
- ค่ำคืนนั้น Alice รำพันความรักท่ามกลางแสงจันทร์กับ Sparks
- ตัวตนแท้จริงของ Kapitan Willi
- ระหว่างเผชิญหน้าพายุฝนฟ้าคะนอง จำเป็นต้องช่วยกันทิ้งเสบียง สัมภาระ
- นั่นทำให้ใครต่อใครหมดสิ้นเรี่ยวแรง เว้นเสียแต่ง Kapitan Willi กลายเป็นผู้ควบคุมหางเสือ กำหนดทิศทางของเรือ มุ่งสู่น่านน้ำ Germany
- เพราะรับรู้ว่า Gus คงไม่รอด Kapitan Willi จึงตัดสินใจผลักตกน้ำ สร้างความไม่พึงพอใจให้ Kovac ตรงเข้าไปเข่นฆ่าอีกฝ่าย
- เรือที่ไร้หางเสือ
- ความตายของ Kapitan Willi ทำให้ทุกคนตกอยู่ในความสิ้นหวัง ไม่รู้จะทำอะไรยังไงต่อไป
- ระหว่างตกปลา พบเห็นเรือรบ พยายามขอความช่วยเหลือ แต่ระหว่างทางกลับถูกโจมตีจนเรืออับปาง
- ให้ความช่วยเหลือทหารเยอรมันคนหนึ่ง มาพร้อมกับปืน ทุกคนต่างลงความเห็น …
เนื่องด้วยผกก. Hitchcock มองว่าเรื่องราวเกิดขึ้นกลางมหาสมุทร จะได้ยินเสียงเพลงออร์เคสตราล่องลอยมาจากไหน? “Where would the orchestra come from?” ด้วยเหตุนี้นอกจาก Opening-Closing Credit ประพันธ์โดย Hugo Wilhelm Friedhofer (The Best Years of Our Lives, Ace in the Hole, An Affair to Remember) และเสียงขลุ่ยเป่าโดยตัวละคร Joe & Ritt (ในลักษณะของ ‘diegetic music’) จึงไม่มีเพลงประกอบอื่นใด
แซว: เมื่อตอนผกก. Hitchcock พูดคุยความตั้งใจว่าจะไม่ใช้เพลงประกอบใดๆ นักแต่งเพลง Hugo Friedhofer ทำการโต้ตอบกลับ “Where would the cameras come from?”
ถึงหนังไม่มีการใช้เพลงประกอบ แต่ถ้าคุณตั้งใจรับฟังเสียงประกอบ (Sound Effect) ตลอดทั้งเรื่องจะได้ยินเสียงคลื่นซัดกระทบเรือเบาๆ พยายามสร้างสัมผัสธรรมชาติ ให้เกิดความสมจริง (Realist) ค่อยๆไต่ไล่ระดับเมื่อลมพายุ ฝนฟ้าคะนองคืบคลานเข้ามา … จะว่าไปเสียงคลื่นซัดกระทบเรือ เรียกว่าออร์เคสตราก็ได้กระมัง
Lifeboat (1944) นำเสนอจุลภาคของชาวโลก (ยุโรป+สหรัฐอเมริกา) ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายชนชั้น สถานะทางสังคม เมื่อมาอาศัยอยู่ร่วมในเรือชูชีพ ล่องลอยคอกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ต่างฝ่ายต่างสำแดงความเห็นแก่ตัว สนเพียงประโยชน์ส่วนตน ทั้งๆทุกคนล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือหาหนทางรอดกลับขึ้นฝั่ง แต่กลับไร้ซึ่งความสมัครสมานสามัคคี ชีวิตดำเนินไปอย่างไร้เป้าหมาย
นักวิจารณ์ส่วนใหญ่มักมองความโดดเด่นเกินหน้าเกินตาของตัวละครชาวเยอรมัน Kapitan Willi มีความเฉียวฉลาด เก่งกาจ ทักษะสามารถเหนือกว่าผู้อื่นใด (เป็นทั้งหมอผ่าตัด นักร้องเสียงดี สามารถควบคุมหางเสือ รับรู้ทิศทางดำเนินไป แถมยังพูดได้หลายภาษา) นี่เหมือนเป็นการยกย่องสรรเสริญพวกนาซี ดีกว่าพวกพ้องตนเอง
แต่นั่นหาใช่ความตั้งใจผกก. Hitchcock เลยสักนิด! สิ่งที่เขาต้องการนำเสนอผ่านตัวละครชาวเยอรมัน คือบุคคลเต็มไปด้วยเล่ห์เพทุบาย ลับลมคมใน สามารถฉกฉวยโอกาส ใช้ประโยชน์จากความเห็นแก่ตัวของพวกประชาธิปไตย ไร้ความปรองดอง สมัครสมานสามัคคี เขาจึงเข้าควบคุมหางเสือ กำหนดทิศทางเดินเรือไปยังเป้าหมาย/เส้นทางของตนเอง
We wanted to show that at that moment there were two world forces confronting each other, the democracies and the Nazis, and while the democracies were completely disorganized, all of the Germans were clearly headed in the same direction. So here was a statement telling the democracies to put their differences aside temporarily and to gather their forces to concentrate on the common enemy, whose strength was precisely derived from a spirit of unity and of determination.
Alfred Hitchcock
ถ้าคุณสามารถทำความเข้าใจมุมมองของผกก. Hitchcock จะตระหนักว่า Lifeboat (1944) คือภาพยนตร์ชวนเชื่อ สร้างขึ้นเพื่อให้เรียกร้องให้ฟากฝั่งสัมพันธมิตร (Allied Powers) บังเกิดความปรองดอง สมานฉันท์ หันหน้าเข้าหากัน ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมกันต่อสู้ จัดการศัตรูผู้มารุกราน … ไม่ใช่เหมือนอย่างที่สหรัฐอเมริกาเคยเพิกเฉยสงครามมาหลายปี (เพิ่งตัดสินใจเข้าร่วมหลังเหตุการโจมตี Pearl Harbor วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941)
I felt the need to make a little contribution to the war effort, and I was both overweight and overage for military service. I knew that if I did nothing I’d regret it for the rest of my life; it was important for me to do something and also to get right into the atmosphere of war.
ด้วยความตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเป็นหนังชวนเชื่อให้ฝั่งฝ่ายสัมพันธมิตร จึงออกแบบตัวละครชาวเยอรมัน Kapitan Willi ให้มีความโฉดชั่วร้าย เต็มไปด้วยเล่ห์เพทุบาย ไม่ต่างจากงูเห่าที่เมื่อสบโอกาสก็พร้อมแว้งกัด ควรกำจัดให้สิ้นซาก ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ตัดขาข้างที่ติดเชื้อทิ้งเสีย เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหา อันตรายต่อชีวิต
แนวคิดดังกล่าวอาจฟังดูเหมาะสมในช่วงสงคราม ภาพยนตร์แนวชวนเชื่อ แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานผ่าน การเหมารวมชาวเยอรมันว่ามีความโฉดชั่วร้ายเป็นทัศนคติที่ผิดมหันต์! มองโลกด้านเดียวเกินไป! เราไม่ควรด่วนตัดสินคนที่เปลือกภายนอก หรือพฤติกรรมแสดงออก ต่อให้เป็นบุคคลอันตราย โฉดชั่วร้าย ก็ยังสมควรสำแดงมนุษยธรรมออกมา … คือถ้าทำการโต้ตอบด้วยอารมณ์ ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ การกระทำนั้นจักทำให้เราสูญเสียความเป็นมนุษย์โดยพลัน!
ด้วยทุนสร้าง $1.59 ล้านเหรียญ แม้เสียงตอบรับด้านเทคนิคจะค่อนข้างดี แต่คำติฉินเกี่ยวกับตัวละครสัญชาติเยอรมัน สร้างความขัดแย้ง (Controversy) หนังเลยทำรายรับได้แค่ประมาณ $1 ล้านเหรียญ แถมถูกห้ามฉายต่างประเทศ (เพราะยังอยู่ในช่วงสงครามโลก) ก็เลยขาดทุนย่อยยับ
อาจเพราะประเด็นขัดแย้ง (Controversy) เลยทำให้หนังเข้าชิง Oscar แค่สามสาขา! หลุดโผภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี (ปีนั้นเหลือเข้าชิงแค่ 5 เรื่อง) และสาขาที่เข้าชิงก็ไม่ได้มีลุ้นรางวัลอะไร
- Best Director
- Best Original Motion Picture Story
- Best Cinematography, Black-and-White
ปัจจุบันหนังยังไร้ข่าวคราวการบูรณะ แถมสตูดิโอ 20th Century Fox ก็ถูกซื้อกิจการไปโดย Walt Disney เลยยังไม่รับรู้โชคชะตากรรม แต่มีสองคอลเลคชั่นสะสมที่น่าสนใจ
- 20th Century Fox Home Video จัดจำหน่าย DVD เมื่อปี ค.ศ. 2005
- Eureka Entertainment (Masters of Cinema) ทำการสแกนใหม่ HD Digital Transfer จัดจำหน่าย Blu-Ray + DVD เมื่อปี ค.ศ. 2012
- Kino Lorber ไม่มีระบุคุณภาพ แต่คาดว่าคือ HD Digital Transfer จัดจำหน่าย Blu-Ray เมื่อปี ค.ศ. 2017
แผ่น Blu-Ray ของ Eureka และ Kino Lorber ต่างมีของแถมคล้ายๆกัน Commentary, สารคดี The Making of Lifeboat, บทสัมภาษณ์ Hitchcock/Truffaut แต่ทว่าของค่าย Eureka เพิ่มเติมสองหนังสั้นชวนเชื่อ Bon Voyage (1944), Aventure Malgache (1944) ที่สร้างโดยผกก. Hitchcock เผื่อจะมีใครสนใจ
แม้ผมจะชื่นชอบในอัจฉริยภาพ วิสัยทัศน์ หลงใหลการถ่ายภาพในพื้นที่จำกัด แต่น่าเสียดายที่เรื่องราว ‘ชวนเชื่อ’ มันมีข้อจำกัดของเวลา รับชมในปัจจุบันจึงเกิดความขัดแย้ง ครุ่นคิดเห็นต่าง เราไม่ควรตัดสินคนแค่เพียงเปลือกภายนอก เหมารวมชาวเยอรมันว่าโฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย ต้องเข่นฆ่าให้ตกตาย … เป็นแนวคิดที่เฉิ่มเฉย ล้าหลังตามกาลเวลา
จัดเรต 13+ กับหายนะ ความตาย ทัศนคติแบ่งขั้วตรงข้าม
นึกว่าแอดจะเขียนถึงช่วง Opening ที่กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลเหนือน้ำจากเรืออับปางสู่เรือชูชีพ แล้วผ่านสิ่… Read more »
งงกับระบบคอมเม้นต์อันนี้ พิมพ์ข้อความ พิมพ์ตัวเลขอะไรอยู่ดีๆ พอกดโพสต์ปุ๊บ เปลี่ยนตัวเลขอะไรไม่รู้มั่วไปหมด แถมพอกด Edit เข้าไปแก้ไข นอกจากจะแก้ไม่ได้ ยังกลายเป็นปุ่ม Edit หายแทน แถมปุ่มลบคอมเม้นต์ก็ไม่มี จะโพสต์ใหม่แบบปรับปรุงความเห็นก็ไม่ได้ ดันขึ้นว่าความเห็นซ้ำอีก อะไรไม่รู้วุ่นวายไปหมด
*****แก้ไขปัญหาตัวเลข***** นึกว่าแอดจะเขียนถึงช่วง Opening ที่กล้องค่อยๆเคลื่อนไหลเหนือน้ำจากเรืออับ… Read more »