Listen to Britain (1942) : Humphrey Jennings, Stewart McAllister ♥♥♥♥♥
โดยปกติแล้วภาพยนตร์ชวนเชื่อ (Propaganda) มักพยายามโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) กลับทำออกมาในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’ งดงามวิจิตรศิลป์
แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงความลุ่มลึกล้ำของ Listen to Britain (1942) เพราะหนังตัดทิ้งเสียงบรรยาย เพียงคำเกริ่นนำที่บอกใบ้อย่างไม่จำเป็นสักเท่าไหร่ ตลอดทั้งเรื่องเป็นการร้อยเรียงชุดภาพกิจวัตรในรอบหนึ่งวันของชาวอังกฤษ ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แค่นั้นเอง!
ทั้งๆไม่มีภาพการต่อสู้ ทำสงคราม คนเป็น-คนตาย ทรัพย์สินเสียหาย หรือการพูดโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ยกยอปอปั้นตนเอง เช่นนั้นแล้วมันจัดเข้าพวกหนังชวนเชื่อได้อย่างไร? นั่นเพราะ Listen to Britain (1942) บันทึกภาพความเข้มแข็งแกร่ง สมัครสมานสามัคคีของชาวอังกฤษ (เหมือนดั่งการบรรเลงออร์เคสตรา) พวกเขาดำเนินชีวิตกันอย่างปกติสุข ทั้งๆการสู้รบสงครามยังคงคุกรุ่น นั่นคือพลังแห่งการชวนเชื่อ แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่ไม่หวาดกลัวเกรงต่อการถูกบุกรุกราน
ให้ตายเถอะ!!! ผมรับชมหนังเรื่องนี้ไปประมาณ 4-5 รอบ กว่าจะมีความเข้าใจเพียงพอในการเขียนบทความนี้ (มันเป็นหนังสั้นความยาว 19 นาที เลยสามารถให้เวลาได้อย่างเต็มที่) คือมันแทบเป็นไปไม่ได้ถ้าจู่ๆหยิบหนังเรื่องนี้ขึ้นมาดูแล้วจะสามารถทำความเข้าใจทุกสิ่งอย่าง … จัดความยากระดับ Veteran
ซึ่งวิธีการที่ทำให้ผมเข้าใจหนังได้มากขึ้น ก็คือสรรหาผลงานเรื่องอื่นๆของผู้กำกับ Humphrey Jennings จริงๆมีเป็นสิบๆเรื่องแต่แนะนำไฮไลท์สองหนังสั้นที่หาได้จาก Youtube ประกอบด้วย London Can Take It! (1940) และ Words for Battle (1941) เพิ่มเติมอีกเรื่องคือภาคสี่ของ Why We Fight (1942-45) ที่ชื่อว่า The Battle of Britain (1943) เพราะทั้งสามเรื่องนี้จะทำคุณเข้าใจในศักยภาพของชาวอังกฤษ สภาพจิตวิทยา และวิธีการที่พวกเขาโต้ตอบกลับนาซีเยอรมัน
ระหว่างอ่านบทความนี้แนะนำให้รับฟัง Mozart: Piano Concerto No. 17 in G major, KV. 453 (1784) น่าเสียดายที่ผมไม่สามารถหาฉบับบันทึกเสียงของ (Dame) Myra Hess ก็เลยเอาวาทยากร/นักเปียโนระดับ Maestro อย่าง Leonard Bernstein มาให้ลิ้มลองกันดู
Frank Humphrey Sinkler Jennings (1907-50) จิตรกร ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Walberswick, Suffolk บิดาทำงานสถาปนิก ส่วนมารดาเป็นจิตรกร ส่งต่อความชื่นชอบให้บุตรชาย ใช้เวลาว่างหลังเรียนสาขาภาษาอังกฤษ Pembroke College, Cambridge ในการวาดรูป เขียนแบบ ลุ่มหลงใหล Surrealist ทำงานเป็นนักออกแบบโรงละคร (Theatre Designer) แล้วเข้าร่วม GPO Film Unit สรรค์สร้างหนังสั้น จนกระทั่งการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง โด่งดังจากการกำกับภาพยนตร์ชวนเชื่อ
Jennings คือหนึ่งในศิลปิน Surrelist เคยเดินทางไปฝรั่งเศส ตีสนิทกับ André Breton, Salvador Dalí แล้วนำกลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าวเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษ 1936 Surrealist Exhibition ณ กรุง London, จากนั้นร่วมกับ Charles Madge และ Tom Harrisson ก่อตั้งองค์กรชื่อว่า Mass-Observation เมื่อปี ค.ศ. 1937 จุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมชาวอังกฤษ ด้วยการสังเกต สอดแนม จดบันทึกกิจวัตรประจำวันที่ดูไร้สาระ อย่างผู้คนเดินผ่านไป-มา เวลาข้ามถนนนิยมก้าวเท้าซ้ายหรือขวา? นั่งอยู่ในผับบาร์ มองหาตำแหน่งที่ฝ่ายชายนิยมสัมผัสแตะต้องหญิงสาวระหว่างเต้นรำ ฯลฯ
Mass-Observation อาจฟังดูเป็นกิจกรรมไร้สาระ แต่นั่นทำให้ Jennings ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า Surrealist ในชีวิตประจำวัน! นำมาพัฒนาเป็นหนังสั้นสร้างชื่อ Spare Time (1939), การมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็นำเอารายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่สังเกตเห็น มาพัฒนาเป็น London Can Take It! (1940), The Heart of Britain (1941), Words for Battle (1941), Listen to Britain (1942) ฯลฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิถีของชาวอังกฤษ เมื่อต้องเผชิญหน้าแรงกดดันจากสงคราม
เกร็ด: ผู้กำกับ Lindsay Anderson ให้การยกย่อง Humphrey Jennings ว่า “the only real poet that British cinema has yet produced”.
การมาถึงของสงครามโลกครั้งสอง GPO Film Unit ได้ถูกผนวกรวมกับกระทรวงสารสนเทศ (Ministry of Information) กลายเป็น Crown Film Unit เมื่อปี ค.ศ. 1940 และมอบหมายให้บรรดาผู้กำกับในสังกัด เริ่มสรรค์สร้างภาพยนตร์/หนังสั้นแนวชวนเชื่อ
ภาพยนตร์ชวนเชื่อที่ใครต่อใครนิยมสรรค์สร้างในยุคสมัยนั้น ล้วนมีลักษณะโน้มน้าว เสียดสี ชี้ชักนำ ใส่ร้ายอีกฝั่งฝ่าย ไม่ก็ยกยอปอปั้นตนเอง พบเห็นเกลื่อนกลาดเต็มตลาดทั่วไป นั่นสร้างความเบื่อหน่ายให้ผู้กำกับ Jennings เลยครุ่นคิดมองหาวิถีทางอื่น ทำในสิ่งที่ใครต่อใครบอกว่าไม่น่าเป็นได้!
Poetry and propaganda come together in the myth of the people’s war.
Humphrey Jennings
จุดขายของผู้กำกับ Jennings คือความช่างสังเกตวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันของผู้คน องค์กร Mass-Observation ทำให้เขาค้นพบว่าชาวอังกฤษดูไม่ค่อยวิตกกังวลต่อสงครามมากนัก ยังคงทำหน้าที่ของตนเอง ไม่หวาดกลัวเกรงอะไรทั้งนั้น นั่นแสดงถึงความเข้มแข็งของจิตใจ รวมถึงความสมัครสมานสามัคคี นี่คือ ‘ตำนาน’ ของอังกฤษเลยก็ว่าได้! … กลายมาเป็นหนังสั้น London Can Take It! (1940) บันทึกกิจวัตรหนึ่งวัน บ่าย-ค่ำ-เช้า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเหตุการณ์อะไร ชาวอังกฤษย่อมสามารถต่อสู้ฟันฝ่า ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนี้ไปได้
Words for Battle (1941) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญของผู้กำกับ Jennings ที่ทำการทดลองเปลี่ยนเสียงบรรยาย (Voice-Over) แทนที่จะพูดถ้อยคำโน้มน้าว ชี้ชักนำผู้คน กลายมาเป็น(ผู้บรรยาย) Laurence Olivier อ่านออกเสียงร้อยกรอง ให้สอดคล้องจองกับชุดภาพในลักษณะ ‘กวีภาพยนตร์’
และเมื่อมาถึง Listen to Britain (1942) ผู้กำกับ Jennings ตัดสินใจละทอดทิ้ง ‘voice of God’ ที่มักคอยชี้ชักนำทางผู้ชม หลงเหลือเพียงสรรพเสียง ‘Sound Effect’ มอบอิสระในการได้ยินด้วยหู มองเห็นด้วยตา ครุ่นคิดหาคำตอบด้วยตนเองว่า สิ่งที่รับชมอยู่นี้สื่อความหมายถึงอะไรยังไง
เกร็ด: ในเครดิตขึ้นว่า Humphrey Jennings ร่วมกำกับ Stewart McAllister แต่คนหลังจริงๆแล้วคือนักตัดต่อเสียง ซึ่งมีความสำคัญต่อหนังมากๆ พวกเขาร่วมงานกันอย่างใกล้ชิด โต้ถกเถียงในทุกๆรายละเอียด จนท้ายสุด Jennings ถึงขนาดมอบเครดิตร่วมกำกับให้!
ถ่ายภาพโดย H.E. Fowle (1915-1995) ตากล้องในสังกัด Crown Film Unit ร่วมงานผู้กำกับ Humphrey Jennings ตั้งแต่ Spring Offensive (1940), London Can Take It! (1940), The Heart of Britain (1941), Listen to Britain (1942), The Silent Village (1943) ฯลฯ
งานภาพของหนังอาจไม่ได้มีเทคนิคอะไรหวือหวา ส่วนใหญ่กล้องแทบไม่ขยับเคลื่อนไหว เพียงแพนนิ่งบางครั้งครา แต่โดดเด่นมากๆคือองค์ประกอบภาพ ทิศทางมุมกล้อง ออกเดินทางไปทั่วกรุง London จับเก็บภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันผู้คน ไม่มีใครเป็นนักแสดง พวกเขาเพียงกระทำสิ่งที่กำลังกระทำอยู่เท่านั้นเอง
Leonard Walter Brockington (1888-1966) ทนายความ ข้าราชการพลเรือน ประธานคนแรกของสถานีโทรทัศน์ Canadian Broadcasting Corporation (CBC) เป็นตัวแทนบุคคลผู้เต็มไปด้วยความหวาดกังวล (Nervous Civil Servant) กล่าวด้วยน้ำเสียงกระตือรือล้น เพื่อให้ผู้ชมชาวอเมริกันเข้าใจเนื้อหาสาระของภาพยนตร์เรื่องนี้
I am a Canadian. I have been listening to Britain. I have heard the sound of her life by day and by night. Many years ago, a great American, speaking of Britain, said that in the storm of battle and conflict, she had a secret rigour and a pulse like a cannon. In the great sound picture that is here presented, you too will hear that heart beating. For blended together in one great symphony is the music of Britain at war. The evening hymn of the lark, the roar of the Spitfires, the dancers in the great ballroom at Blackpool, the clank of machinery and shunting trains. Soldiers of Canada holding in memory, in proud memory, their home on the range. The BBC sending truth on its journey around the world. The trumpet call of freedom, the war song of a great people. The first sure notes of the march of victory, as you, and I, listen to Britain.
Leonard Brockington
ผมไม่เคยตั้งใจรับฟังคำกล่าวของ Brockington เพราะครุ่นคิดว่ามันคงไม่ได้สลักสำคัญอะไร ไม่ได้ตระหนักว่ามันคือคำบอกใบ้สาสน์สาระของหนังด้วยซ้ำ! เพิ่งมารับรู้เอาตอนเริ่มเขียนบทความนี้ก็แบบ WTF แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงความไม่จำเป็น ไม่ต้องไปสนใจ ก็สามารถค้นพบเจอข้อสรุปได้เช่นเดียวกัน … ถ้าใครจนปัญญาจริงๆก็ลองตั้งใจฟังดูนะครับ
สำหรับคนที่รู้สึกมักคุ้นแต่นึกไม่ว่าออกว่าใคร บุคคลตรงกลางภาพแรกคือ Queen Elizabeth II ขณะนั้นยังเป็น Princess Elizabeth of York, ซ้ายมือน่าจะพลอากาศเอก Hugh Dowding แห่ง Royal Air Force, ส่วนขวามือไม่แน่ใจว่าคือใคร (แต่ไม่น่าจะใช่ Prince Phillip หรอกนะ), ส่วนภาพสองคือ Princess Margaret พระขนิษฐา(น้องสาว)ของ Queen Elizabeth II
ช่วงยามบ่าย สถานที่สุดท้ายของหนัง ถ่ายทำยังโรงงานผลิตรถถัง คนงานกำลังถลุงเหล็ก พบเห็นเปลวไฟร้อนๆ ปล่องควันโพยพุ่ง สามารถสื่อถึงขวัญกำลังใจของชาวอังกฤษ ยังคงลุกโชติช่วงชัชวาลย์ แม้ถูกศัตรูเข้ามาบุกรุกราน ก็ไม่เคยมอดดับลง
ตัดต่อโดย Humphrey Jennings ร่วมกับ Stewart McAllister (1914-62) ทั้งสองร่วมงานกันตั้งแต่ London Can Take It! (1940), The Heart of Britain (1941), Words for Battle (1941), Listen to Britain (1942), Fires Were Started (1943), The Silent Village (1943), A Diary for Timothy (1945) ฯลฯ
หนังใช้กรุง London เป็นจุดศูนย์กลาง แล้วทำการร้อยเรียงปะติดปะต่อภาพวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวันชาวอังกฤษ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มองผิวเผินเหมือนจะมีแค่นั้น แต่ถ้าใครช่างสังเกตลีลาตัดต่อ จะพบเห็นเทคนิค Fade-In และ Fade-Out ซึ่งสามารถใช้แบ่งแยกแยะเรื่องราวออกช่วงเวลาหนึ่งวัน
- อารัมบท, คำกล่าวของ Leonard Brockington (เฉพาะฉบับออกฉายต่างประเทศ)
- ยามเย็น
- ชาวชนบทกำลังเกี่ยวกับพืชผลผลิต พบเห็นเครื่องบินรบ RAF พานผ่านน่านฟ้า
- ทหารนั่งอยู่ริมชายหาด เหม่อมองพระอาทิตย์กำลังใกล้ตกดิน
- เข้ามาในเมืองพบเห็นผู้คนกำลังเต้นรำอย่างครื้นเครง
- ทหารริมชายหาด เตรียมความพร้อมก่อนพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้า
- ค่ำคืน
- ผู้คนเดินทางไปยังสถานที่หลบภัย
- รถไฟเคลื่อนเข้ามาจอดเทียบชานชาลา
- ทหารหาญในขบวนรถไฟ ร้องเพลง เล่นกีตาร์ พูดคุยสนทนา
- รถไฟเคลื่อนออกจากชานชาลา
- ดึกดื่น
- เครื่องบินรบ RAF กำลังเตรียมตัวออกไปเผชิญหน้าศัตรู
- สาวๆนั่งรับฟังการแสดงขับร้องโซปราโน บรรเลงเปียโน ในสถานีฉุกเฉิน (Ambulance Station)
- รุ่งอรุณ
- ร้อยเรียงทิวทัศน์ยามเช้า พระอาทิตย์กำลังโผล่ขึ้นขอบฟ้า
- ผู้คนเดินทางไปทำงาน
- เด็กๆวิ่งเล่นสนุกสนาน
- สาวๆทำงานในโรงงาน
- พักกลางวัน
- รับประทานอาหารกลางวัน
- รับชมการแสดงของ Flanagan and Allen ให้กับชนชั้นทำงาน
- รับชมการแสดงออร์เคสตรา และเปียโนคอนแชร์โตของ Myra Hess ให้กับ Queen Elizabeth II และชนชั้นสูง ณ National Gallery
- ร้อยเรียงภาพพิพิธภัณฑ์สงคราม War Exhibition
- ยามบ่าย
- หมดเวลาพักก็หวนกลับมาทำงาน โรงถลุงเหล็ก ผลิตรถถัง
- ภาพการเดินสวนสนาม ทหารอังกฤษกำลังมุ่งหน้าสู่สนามรบ
- ปิดท้ายด้วยการร้อยเรียงภาพปล่องควัน พืชผลทางการเกษตร และท้องฟากฟ้ากรุง London
ด้วยความที่หนังไม่มีเสียงบรรยาย (Voice-Over) ผู้ชมจึงต้องคอยสังเกตวิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะลีลาการตัดต่ออย่าง ‘Montage’ หรือ ‘Match Cut’ เปรียบเทียบสองภาพ สองเหตุการณ์ที่ดูแตกต่าง แต่อาจมีบางสิ่งอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ ยกตัวอย่างที่น่าจะเห็นภาพชัดสุดๆก็คือ หมวกนิรภัยและศีรษะของสาวๆ (ยามดึกดื่น สาวๆกำลังรับฟังการแสดงดนตรีระหว่างรอคอยเหตุการณ์ฉุกเฉิน) พวกเธอไม่หวาดกลัวอันตรายกันเลยหรือไร?
สำหรับเพลงประกอบ ทั้งหมดล้วนเป็น ‘diegetic music’ บันทึกสดจากสถานที่จริงๆ วงดนตรี ร้อง-เล่นกีตาร์ เดี่ยวเปียโน ขับร้องประสานเสียง วงออร์เคสตรา ซึ่งจะผสมผสานเข้ากับเสียงธรรมชาติ และตัดกับเสียงที่ไม่เป็นธรรมชาติ (อย่างรถรา เครื่องจักร โรงงานอุตสาหกรรม ฯ) เพื่อให้ผู้ชมสดับฟังเสียงของประเทศอังกฤษ ‘Listen to Britain’
ระหว่างรับชม ผมไม่ได้รับรู้ถึงความสำคัญของแต่ละบทเพลงในหนัง จนพอเริ่มหาข้อมูลก็ทำให้ตระหนักว่าไม่ใช่การสุ่มเลือก แต่คือบทเพลงที่คนสมัยนั้นรับรู้จัก มักคุ้นเคย ได้รับความนิยม และสามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับทุกคน พานผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายของสงครามโลก
Beer Barrel Polka (1927) แต่งทำนองโดย Jaromír Vejvoda นักดนตรีชาว Czech เป็นบทเพลงแนว Polka สำหรับการนั่งดื่ม (drinking song) มักได้ยินตามผับบาร์ กิจกรรมเต้นลีลาศ แพร่หลายอย่างกว้างขวางช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะในหมู่ทหารชาวอังกฤษ ได้รับการบันทึกเสียงโดย The Andrews Sisters, Glen Miller Orchestra, Benny Goodman, Bobby Vinton, Bille Holiday และโดยเฉพาะ Joe Patek ขายอัลบัมได้กว่าล้านก็อบปี้
เกร็ด: Beer Barrel Polka เป็นหนึ่งในบทเพลงที่ถูกบรรเลงวัน VE Day (Victory in Europe Day) 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ทำการแสดงโดย Humphrey Lyttelton หน้าพระราชวัง Buckingham Palace และเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ BBC
ทหารแคนาดาในขบวนรถไฟ กำลังเล่นกีตาร์ ขับร้องบทเพลง Home on the Range แนว Cowboy Song/Western Folk Song หนึ่งในเพลงชาติอย่างไม่เป็นทางการของ American West นำจากบทกวี My Western Home แต่งโดย Dr. Brewster M. Highley แห่ง Smith Country, Kansas ประมาณปี ค.ศ. 1872-73 (กลายเป็นบทเพลงประจำรัฐ Kansas โดยปริยาย)
ท่วงทำนอง และคำร้องบทเพลงนี้ สร้างความรู้สึกครุ่นคิดถึงบ้าน เหมาะสำหรับทหารหาญที่ต้องออกเดินทางไกล เพื่อเข้าร่วมสู้รบสงคราม ปกป้องผืนแผ่นดินบ้านเกิด ไม่ยินยอมให้ศัตรูไหนมารุกราน
Oh, give me a home where the buffalo roam,
Where the deer and the antelope play,
Where seldom is heard a discouraging word
And the skies are not cloudy all day.Home, home on the range,
Where the deer and the antelope play;
Where seldom is heard a discouraging word
And the skies are not cloudy all day.Where the air is so pure, the zephyrs so free,
The breezes so balmy and light,
That I would not exchange my home on the range
For all of the cities so bright.The red man was pressed from this part of the West,
He’s likely no more to return
To the banks of Red River where seldom if ever
Their flickering camp-fires burn.How often at night when the heavens are bright
With the light from the glittering stars,
Have I stood here amazed and asked as I gazed
If their glory exceeds that of ours.Oh, I love these wild flowers in this dear land of ours,
The curlew I love to hear scream,
And I love the white rocks and the antelope flocks
That graze on the mountain-tops green.Oh, give me a land where the bright diamond sand
Flows leisurely down the stream;
Where the graceful white swan goes gliding along
Like a maid in a heavenly dream.Then I would not exchange my home on the range,
Where the deer and the antelope play;
Where seldom is heard a discouraging word
And the skies are not cloudy all day.
ปล. ผมลองหาบทเพลงนี้จากหลากหลายศิลปิน แล้วก็พบว่า Roy Rogers ที่ไม่ได้ร้องตามเนื้อร้อง แต่รู้สึกว่ามีความไพเราะที่สุดแล้ว ก็เลยนำเอาคลิปนี้มาให้รับฟัง
Round the Back of the Arches (1932) ขับร้องโดยคู่หูคอมเมเดี้ยน (Singing & Comedy) Flanagan and Allen ประกอบด้วย Bud Flanagan (1896-68) และ Chesney Allen (1894-82) โด่งดังในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษ 30s-40s โดยเฉพาะช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
บทเพลงรำพันถึงความทรงจำในอดีต ซุ้มประตูที่ Sunnyside Lane พบเห็นท้องฟ้าคราม พระอาทิตย์สาดทอแสงสว่าง ขณะที่เนื้อคำร้องกล่าวถึงการออกเดินทางจากบ้านเกิด แต่ผู้ฟังสมัยนั้นสามารถเปรียบเทียบกับการมาถึงของสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำให้ทุกสิ่งอย่างในประเทศอังกฤษปรับเปลี่ยนแปลงไป
Round the back of the arches, Down in Sunnyside Lane
Where the black of the arches never seems to remain
That’s where I used to be as happy as a multi-millionaire
Everybody there a jolly good palRound the back of the grey skies, there’s a lining of blue
There’s a crack in the grey skies for the sun to come through
And when the storm clouds all roll over I shall meet old pals again
Round the back of the arches down in Sunnyside Lane.I’m a guy who’s never going to roam again
Once I leave the old home town
By and by I’ll see my little home again
Then I’m going to settle downRound the back of the arches, Down in Sunnyside Lane
Where the black of the arches never seems to remain
That’s where I used to be as happy as a multi-millionaire
Everybody there a jolly good palRound the back of the grey skies, there’s a lining of blue
There’s a crack in the grey skies for the sun to come through
And when the storm clouds all roll over I shall meet old pals again
Round the back of the arches down in Sunnyside Lane.
สำหรับ Mozart: Piano Concerto No. 17 in G major, KV. 453 (1784) ทำการแสดงโดย The Orchestra of the Central Band H.M. Royal Air Force ณ The National Gallery, London กำกับวงโดย R. P. O’Donnell และบรรเลงเปียโนโดย (Dame) Myra Hess
ออร์เคสตรา คือวงดนตรีที่ทำการประสานเครื่องดนตรีหลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถสื่อถึงความสมัครสมานฉันท์ ร่วมแรงร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาวอังกฤษ ในการเผชิญหน้าช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก
ผมไม่คิดว่าหนังมีโอกาสเลือกบทเพลงนี้หรอกนะ น่าจะเป็นคอนเสิร์ตที่เตรียมการแสดงไว้อยู่แล้ว แต่ท่วงทำนองสไตล์ Mozart เต็มไปด้วยความสนุกสนานครื้นเครง สามารถสร้างบรรยากาศเบาสบาย ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสงคราม แสดงถึงความเข้มแข็งแกร่งของชาวอังกฤษ ไม่มีสิ่งใดสามารถทำลายจิตวิญญาณพวกเขาลงได้!
สำหรับคนที่ไม่เคยรับล่วงรู้อะไรสักสิ่งอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมค่อนข้างเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดน่าจะเกิดความหวาดระแวงอยู่นิดๆ เมื่อพบเห็นเครื่องบินลิบๆ ทหารเดินสวนสนาม รถถังวิ่งบนท้องถนน ฯ โดยเฉพาะระหว่างกำลังรับฟังเพลงคลาสสิกเพราะๆ แล้วเสียงเคาะเหล็ก เครื่องจักรทำงาน ดังแทรกขึ้นมาอย่างน่ารำคาญ เหล่านี้แสดงถึงความไม่เป็นปกติ (เสียงที่ไม่เป็นธรรมชาติ) ที่พบเห็นในวิถีประจำวัน แต่ผู้คนกลับยังดำเนินชีวิตราวกับเหมือนไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น … ได้อย่างไรกัน???
Listen to Britain (1942) ทำการร้อยเรียงภาพและเสียงของประเทศอังกฤษ ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คนยังคงใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ไร้ซึ่งความหวาดระแวง วิตกกังวล เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพกองกำลังรักษาดินแดน Home Guard (ชื่อเดิมคืออาสาสมัครรักษาดินแดน Local Defence Volunteers, LDV) และกองทัพอากาศ RAF (Royal Air Force) ว่าจักสามารถขับไล่ศัตรูผู้มารุกราน
ประเทศอังกฤษ มีภูมิทัศน์ที่เป็นเกาะ ห้อมล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงและทะเลลึก การจะบุกรุกรานต้องเริ่มจากโจมตีทางอากาศ เพื่อหาโอกาสเข้ายึดครอบครองเมืองท่าริมชายฝั่ง ถ้าทำไม่สำเร็จก็ไม่มีวันยกพลขึ้นบก! ซึ่งทุกครั้งล้วนถูกตอบโต้โดย Home Guard และ RAF จนทำได้เพียงทิ้งระเบิด และต่อสู้ทางอากาศยาน
เมื่อทหารนาซีไม่สามารถยกพลขึ้นบกได้สำเร็จสักที จึงพยายามเล่นเกมจิตวิทยา ด้วยการโจมตีเฉพาะตอนกลางคืนไม่ให้ได้หลับได้นอน และทิ้งระเบิดตามหัวเมืองใหญ่ๆทำลายขวัญกำลังใจ แต่ทั้งหมดทั้งมวลกลับไม่ทำให้ชาวอังกฤษเกิดความหวาดวิตกกังวลอะไร … ใครเคยรับชม London Can Take It! (1940) ก็อาจขำกลิ้งกับภาพผู้คนนอนหลับสบาย ท่ามกลางเสียงระเบิดยามค่ำคืน ครุ่นคิดเสียว่ามันคือการบรรเลงของวงดนตรีออร์เคสตรา
ความจริงเป็นเช่นนั้นไหมผมก็ไม่รู้เหมือนกัน? แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามสร้างตำนานลือเล่าขาน (Mythology) ชวนให้ผู้ชมเกิดความเชื่อว่า ชาวอังกฤษมีจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง พร้อมเผชิญหน้านาซีเยอรมันอย่างไม่หวาดกลัวเกรง นี่คือลักษณะของ ‘propaganda’ ที่หลายคนก็อาจยังคงเกาหัวว่ามันชวนเชื่อยังไง?
สำหรับชาวอังกฤษ (ยุคสมัยนั้น) เมื่อรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้จะเกิดความตระหนักถึงวิถีชีวิต(ของตนเอง)ภายใต้บรรยากาศสงคราม แม้เต็มไปด้วยแรงกดดันที่ถาโถมลงมา แต่ขณะเดียวกันก็รู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย เพราะหนังชวนเชื่อว่าทุกคนยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดกำลังสามารถ พร้อมเผชิญหน้าศัตรูผู้มารุกราน ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงรวมใจเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน ไม่มีอะไรให้ต้องหวาดวิตกกังวล
ชาวต่างชาติยุคสมัยนั้นคงเกิดความฉงนกับชนชาวอังกฤษ พวกเขาใช้ชีวิตภายใต้แรงกดดันสงครามเช่นนั้นได้อย่างไร เลยตั้งใจสดับรับฟัง จนบังเกิดความชวนเชื่อมั่น น้อมนำวิถีทางดังกล่าวมาสร้างขวัญกำลังใจ ให้เกิดความเข้มแข็งแกร่งกับตนเอง!
ขณะที่ Triumph of the Will (1935) เป็นภาพยนตร์ชวนเชื่อที่เอ่อล้นด้วยพลัง ดั่งเปลวเพลิงเร่าร้อนแรง, Listen to Britain (1942) ราวกับน้ำเย็น (calm voice) ที่สร้างความสงบ ผาสุข ผ่อนคลายจิตวิญญาณ
เมื่อตอนเข้าฉายในประเทศอังกฤษ แม้ถูกคาดหมายว่าคงไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ แต่กลับได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างล้นหลาม เพราะสามารถเข้าถึงสิ่งที่หนังนำเสนออกมา ขนาดว่ามีการส่งเสียง โยกศีรษะ ปรบมือ กระทืบเท้าตามจังหวะเสียงเพลง
All sorts of audiences felt it to be a distillation and also a magnification of their own experiences on the home front. This was especially true of factory audiences. I remember one show in a factory in the Midlands where about 800 workers clapped and stamped approval.
โปรดิวเซอร์ Helen de Mouilpied
ด้วยความหวาดกังวลว่าผู้ชมต่างชาติ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) จะไม่สามารถทำความเข้าใจหนัง จึงมีการเพิ่มเติมอารัมบท คำกล่าวของ Leonard Brockington เพื่อเป็นการบอกใบ้สิ่งที่กำลังนำเสนอ แม้นักวิจารณ์ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่จำเป็นนัก ผลลัพท์ทำให้ Listen to Britain (1942) กลายเป็นหนึ่งใน 25 เรื่องที่ได้เข้าชิง Oscar: Best Documentary Feature Film น่าเสียดายไม่สามารถคว้ารางวัลกลับมา (เพราะเป็นปีแรกของสาขานี้ จึงมีภาพยนตร์ถึง 4 เรื่องที่คว้ารางวัล!)
กาลเวลาอาจทำให้ผลงานของผกก. Jennings ถูกลืมเลือนไป แต่ก็ยังคงอยู่ในใจของนักวิจารณ์/ผู้กำกับมากมาย ได้รับการจัดอันดับ …
- Sight & Sound: Critic’s Poll 2012 ติดอันดับ 183 (ร่วม)
- TIMEOUT: The 100 Best British Films ติดอันดับ 42
ผลงานของผู้กำกับ Humphrey Jennings (น่าจะ)ทุกเรื่องได้รับการบูรณะคุณภาพ 2K โดย British Film Institute (BFI) สามารถหาซื้อ DVD/Blu-Ray รวมอยู่ในคอลเลคชั่น The Complete Humphrey Jennings มีทั้งหมด 3 Volume หรือจะหารับชมได้ทาง BFI Player (เว็บไซด์สตรีมมิ่งของ BFI)
นอกจากนี้ หลายๆผลงานของผกก. Jennings ยังสามารถหารับชมได้ทาง Youtube, Archive.org แต่เป็นฉบับก่อนการบูรณะ คุณภาพตามมีตามเกิด แต่สำหรับ Listen to Britain (1942) ผมชี้เป้าคุณภาพ HD ให้ที่ Bilibili.com
ตอนรับชมรอบแรกบอกเลยว่าดูไม่รู้เรื่อง แต่ผมมีความประทับใจการแสดงออร์เคสตราอย่างมากๆ, รอบสองเริ่มสังเกตรายละเอียด ครุ่นคิดหาความสัมพันธ์กับสงคราม, ก่อนจะรับชมรอบสาม ตัดสินใจไปหาผลงานเก่าๆของผู้กำกับ Jennings จนเกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง ค่อยๆเกิดความชื่นชอบหลงใหล, รอบสี่-ห้า กลายเป็นหนังโปรดโดยไม่รับรู้ตัว!
แม้ว่า Listen to Britain (1942) จะสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจให้เป็นหนังชวนเชื่อ แต่ผมค้นพบว่ามันมีความเป็นสากลกว่านั้น นำเสนอจิตวิญญาณอันเข้มแข็งแกร่ง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่น่าหวาดสะพรึงกลัว พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ท่ามกลางความกดดันที่ถาโถมลงมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก … พอตระหนักถึงความเข้าใจนี้ ก็ทำให้ผมโปรดปรานหนังโดยทันที!
ปล. เมื่อสมัยเรียนหนังสือ ผมไม่ค่อยชื่นชอบบทกวีในวิชาภาษาไทยสักเท่าไหร่ ยุ่งยาก ซับซ้อน ใช้คำโบร่ำราณ แต่หลังจากทำบล็อคนี้สักพักใหญ่ๆ เคยลองหวนกลับไปอ่านโคลงโลกนิติ แล้วพบความชื่นชอบหลงใหลอย่างมากๆ มันอาจเพราะเมื่อเราเข้าใจศาสตร์หนึ่ง ย่อมสามารถต่อยอดไปยังอีกศิลป์หนึ่งได้กระมัง
แนะนำคอหนัง Art House ชื่นชอบการครุ่นคิดวิเคราะห์ กำลังศึกษาประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่สอง และผู้สนใจใน ‘กวีภาพยนตร์’ ท้าทายศักยภาพในการเชยชมผลงานศิลปะขั้นสูง (High-Art)
จัดเรตทั่วไป แต่เด็กๆคงดูไม่รู้เรื่อง
Leave a Reply