Luis Buñuel
“Nothing would disgust me more morally than winning an Oscar.”
Luis Buñuel สวมวิกใส่แว่นดำถ่ายรูปคู่กับรางวัล Oscar จากเรื่อง Le Charme discret de la bourgeoisie (1972)

Luis Buñuel’s Favorite Films

รวบรวมภาพยนตร์เรื่องโปรดของโคตรผู้กำกับ Luis Buñuel ที่เป็นแรงบันดาลใจ รสนิยมและมีอิทธิพลแทรกอยู่ในผลงานต่างๆ ลองตรวจสอบกันดูเลยว่า คุณรู้จักหนังโปรดของเขากี่เรื่อง?

Luis Buñuel Portolés (1900 – 1983) สัญชาติ Spanish เกิดที่ Calanda, Aragon เป็นบุตรคนโตมีน้องหกคน, เมื่อตอนอายุได้สี่ขวบครึ่ง ครอบครัวอพยพย้ายสู่ Zaragoza ถิ่นที่อยู่อาศัยของคนมีฐานะ ถูกส่งไปศีกษาร่ำเรียนเป็นบาทหลวงยัง Colegio del Salvador แต่หลังจากได้พานพบเห็นอะไรบางอย่าง จึงหมดสิ้นเสื่อมศรัทธาในศาสนา, พออายุสิบหกเข้าเรียนต่อ University of Madrid แรกเริ่มคณะเกษตร เปลี่ยนมาวิศวะ สุดท้ายคือปรัชญา ระหว่างนั้นมีโอกาสสนิทสนมชิดเชื้อ Salvador Dalí และนักกวี Federico García Lorca สามสหายรวมกลุ่มตั้งชื่อ La Generación del 27

We liked each other instantly. Although we seemed to have little in common—I was a redneck from Aragon, and he an elegant Andalusian—we spent most of our time together… We used to sit on the grass in the evenings behind the Residenci, and he would read me his poems. He read slowly and beautifully, and through him I began to discover a wholly new world.

Luis Buñuel

ความสนใจในภาพยนตร์ของ Buñuel เริ่มตั้งแต่มื่อมีโอกาสรับชม Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang เกิดความใคร่รู้ใคร่สนใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการมาถึง Death ราวกับบางสิ่งอย่างดังกึกก้องอยู่ภายใน เลยต้องการอุทิศตนเองให้ภาพยนตร์

DestinyWhen I saw Destiny (1921), I suddenly knew that I, too, wanted to make movies. It wasn’t the three stories themselves that moved moved me so much, but the main episode–the arrival of the man in the black hat, whom I instantly recognized as Death, in a Flemish village, and the scene in the cemetery. Something about this film spoke to something deep in me; it clarified my life and my vision of the world.หลังรับชมภาพยนตร์นี้ทำให้ผมตั้งใจว่าต่อจากนี้จะอุทิศตนให้กับวงการภาพยนตร์

เมื่อปี 1925, Buñuel ตัดสินใจมุ่งสู่กรุง Paris (ยุคสมัยนั้นถือเป็นเมืองหลวงงานศิลปะ วงการภาพยนตร์ก็เช่นกัน) แรกเริ่มได้เป็นเลขานุการ International Society of Intellectual Cooperation หมดเวลาและเงินไปกับภาพยนตร์และโรงละคร (3 ครั้งต่อวัน) นั่นเองทำให้มีโอกาสพบเจอศิลปินมากมาย พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อมาตัดสินใจเข้าโรงเรียนสอนภาพยนตร์ที่ก่อตั้งโดย Jean Epstein มีโอกาสทำงานเป็นผู้ช่วย Mauprat (1926), La chute de la maison Usher (1928) นอกจากนี้ยังมี La Sirène des Tropiques (1927) ของผู้กำกับ Mario Nalpas และเคยรับบทตัวประกอบเล็กๆ Carmen (1926) ของผู้กำกับ Jacques Feyder

เมื่อถีงจุดๆหนี่งในชีวิต Buñuel เกิดความเบื่อหน่ายในวิสัยทัศน์ ความครุ่นคิด แนวทางการทำงานของ Epstein ที่ทุกสิ่งอย่างต้องมีเหตุมีผล ที่มาที่ไป ไม่ปล่อยให้โอกาสบังเกิดขี้น เหตุนี้เลยบอกปัดปฏิเสธไม่ยอมเป็นผู้ช่วย Abel Gance (อาจารย์ของ Epstein) สรรค์สร้างภาพยนตร์ Napoléon (1927) เลยถูกโต้เถียงกลับอย่างรุนแรง

How can a little asshole like you dare to talk that way about a great director like Gance? You seem rather surrealist. Beware of surrealists, they are crazy people.

Jean Epstein

หลังแยกจาก Epstein ได้ทำงานเป็นนักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ La Gaceta Literaria และ Les Cahiers d’Art ครั้งหนี่งมีโอกาสพบเจอเพื่อนเก่า Salvador Dalí พากันไปพูดคุยแลกเปลี่ยน เล่าเรื่องความฝันของตนเองให้ฟัง, เริ่มจาก Buñuel ในคืนพระจันทร์เต็มดวง ก้อนเมฆเคลื่อนตัดพาดผ่านดวงจันทร์ ช่างดูเหมือนใบมีดโกนกรีดผ่านดวงตา, ส่วน Dalí ฝันเห็นมือข้างหนึ่งเต็มไปด้วยมดคลานออกมา, เมื่อได้ยินเช่นนั้น Buñuel รู้สึกเนื้อเต้นอย่างรุนแรง เลยชักชวน Dalí ให้มาร่วมสรรค์สร้างภาพยนตร์ด้วยกัน Un Chien Andalou (1929)

Luis Buñuel เป็นคนกรีดตา Un Chien Andalou (1929)

ช่วงชีวิตของ Buñuel ไปๆมาๆระหว่างฝรั่งเศส, สเปน, เม็กซิโก เคยอาศัยอยู่ Hollywood ช่วงขณะหนึ่งแต่ปฏิเสธสรรค์สร้างผลงานที่ต้องคอยปฏิบัติตามคำสั่งใคร เรื่องผลงานไม่มีอะไรต้องพิสูจน์ กวาดรางวัลมาแทบทุกสถาบัน

  • Los olvidados (1950) คว้ารางวัล Best Director จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
  • Robinson Crusoe (1954) คว้ารางวัล Ariel Award: Golden Ariel [ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของประเทศ Mexico]
  • Nazarín (1959) คว้ารางวัล International Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
  • Viridiana (1961) คว้ารางวัล Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
  • El ángel exterminador (1962) คว้ารางวัล FIPRESCI Prize จากเทศกาลหนังเมือง Cannes
  • Simón del desierto (1965) คว้ารางวัล Grand Prize จากเทศกาลหนังเมือง Venice
  • Belle de jour (1967) คว้ารางวัล Golden Lion จากเทศกาลหนังเมือง Venice
  • La Voie Lactée (1969) คว้ารางวัล Interfilm Award จากเทศกาลหนังเมือง Berlin
  • Le charme discret de la bourgeoisie (1972) คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

เกร็ด: Luis Buñuel สามารถพูดภาษา Spanish และ French ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ไม่เคยและไม่คิดจะเรียน-พูดภาษาอังกฤษสักครั้งเดียว

สำหรับสิบภาพยนตร์เรื่องโปรดของ Luis Buñuel นำจากนิตยสาร Cinematheque Belgique ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี 1952 ไล่เรียงตามลำดับความชื่นชอบ ดังต่อไปนี้

I love the films of both von Strohiem and Sternberg.ผลงานของ Buñuel ช่วงระหว่างอยู่ Mexico หลายๆเรื่องเป็นแนวอาชญากรรม ล้วนได้รับอิทธิพลจาก Underworld (1927)
The Gold RushI adore Fritz Lang’s early films, Buster Keaton, the Marx Brothers.บ่อยครั้งในหนังของ Buñuel มักมีตัวละครที่พยายาม ‘ซื้อ’ ใจผู้อื่น แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ หรือต้องมีเหตุชั่วร้ายบางอย่างติดตามมา

นอกจากเรื่องนี้ Buñuel ก็ยังโปรดปราน Greed (1925) และ The Treasure of the Sierra Madre (1948)
Bicycle ThievesI knew de Sica well and especially liked Shoeshine, Umberto D, and The Bicycle Thief, where he succeeded in making a machine the star of the movie.ผมรู้จัก de Sica เป็นอย่างดี ผลงานของเขาโดดเด่นมากๆที่ทำให้วัตถุ สิ่งข้าวของ กลายเป็นพระเอกของหนัง
Battleship PotemkinBuñuel เคยคาดหวังว่ารอบปฐมทัศน์ของ Un Chien Andalou (1929) จะบังเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ Battleship Potemkin (1925) ตระเตรียมก้อนหินใส่กระเป๋า แต่พอหนังจบกลับเงียบสงัด ไม่มีความรุนแรงใดๆ
portrait of jenniea mysterious, poetical, and largely misunderstood work.ภาพยนตร์ที่มีความลึกลับ งดงามดั่งบทกวี
Cavalcadeno comment
Flaherty’s White Shadows of the South Seas, which I thought infinitely superior to his Tabuผมรู้สึกว่า Buñuel เข้าใจผิดคิดว่าทั้ง White Shadows of the South Seas (1928) และ Tabu (1930) คือผลงานของ Robert J. Flaherty จริงอยู่พี่แกมีส่วนร่วม แต่ก็ถอนตัวไม่นานหลังเริ่มการถ่ายทำ ถูกตัดเครดิตทิ้งทั้งสองเรื่อง

White Shadows of the South Seas นำเสนอความต้องการควบคุมครอบงำชนพื้นเมืองของคนขาว ซึ่งสะท้อนอคติของ Buñuel ได้เป็นอย่างดี
[a] delicious collection of English horror stories.รวมรวมเรื่องสั้นแนว Horror ที่พอนำมาผสมคลุกเคล้า ราวกับความฝันร้าย

แซว: นี่ถ้า Buñuel มีชีวิตทันรับชม Mulholland Drive (2001) ก็น่าจะกลายเป็นหนึ่งในหนังเรื่องโปรดแน่ๆ
L'age d'Orความฝันของ Buñuel ที่อยากสรรค์สร้างผลงานได้ปฏิกิริยาตอบรับแบบเดียวกับ Battleship Potemkin (1925) ได้สำเร็จลุล่วงจาก L’Age d’Or (1930) มันเลยน่าจะเป็นความภาคภูมิใจส่วนตัว ถึงขนาดจัดให้เป็นหนังเรื่องโปรดปรานสุดในชีวิต
ตอนผมพบเห็นการถูกล่ามโซ่ตรวนของพระเอก ทำให้ระลึกนึกถึง Un Chien Andalou (1929) โดยไม่รู้ตัว

ภายหลังปี 1971 มีอีกบทสัมภาษณ์ที่ผมพบเจอ กล่าวถึงอีกหนึ่งหนังเรื่องโปรดใหม่ เพิ่มได้รับชมไม่นานมานี้ นั่นคือ

A Clockwork OrangeA Clockwork Orange is my current favorite. I was very predisposed against the film. After seeing it, I realize it is the only movie about what the modern world really means.หลังรับชมภาพยนตร์นี้ทำให้ผมตระหนักว่าโลกยุคสมัยใหม่ (Modern World) กำลังจักกลายเป็นเช่นไร

และผมไปขุดคุ้ยเพิ่มเติมจากหนังสืออัตชีวประวัติ Mon Dernier Soupir (1982) แปลว่า My Last Sigh มีการกล่าวถึงผู้กำกับ/หนังโปรดอีกหลายเรื่อง แต่ขอนำมาเฉพาะที่เอ่ยชื่อนะครับ (ไว้มีโอกาส ค่อยกลับมาเติมให้เต็มนะครับ)

  • Paths of Glory (1957) กำกับโดย Stanley Kubruck
  • La Strada (1954), Le notti di Cabiria (1957), La Dolce Vita (1960), Roma (1972) กำกับโดย Federico Fellini
    • Buñuel รู้สึกเสียดายที่ยังไม่เคยได้รับชม I Vitelloni (1953)
  • La Grande Bouffe (1973) กำกับโดย Marco Ferreri
    • “a tragedy of the flesh and a monument to hedonism”
  • La Grande Illusion (1937), La règle du jeu (1939) กำกับโดย Jean Renoir
  • Goupi Mainsrouges (1943) กำกับโดย Jacques Becker
  • Forbidden Games (1952) กำกับโดย René Clément
  • The Saragossa Manuscript (1965) กำกับโดย Wojciech Has
    • Buñuel รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ถึง 3 รอบติดๆ (บอกว่าเป็นสถิติสูงสุดของตนเอง) ถึงขนาดขอให้โปรดิวเซอร์ช่วยซื้อมาฉาย Mexico แลกกับการถือครองลิขสิทธิ์ Simón del desierto (1965)
  • Persona (1966) กำกับโดย Ingmar Bergman
  • Shoeshine (1946), Umberto D. (1952) กำกับโดย Vittorio De Sica
  • Manon (1949) กำกับโดย Henri-Georges Clouzot
  • L’Atalante (1934) กำกับโดย Jean Vigo
  • La caza (1966), La prima Angélica (1974) กำกับโดย Carlos Saura
    • Buñuel รู้จัก/สนิทสนมผู้กำกับ Saura มานานมากๆ และยังได้ไปรับเชิญ Llanto por un bandido (1964)
  • The Treasure of the Sierra Madre (1948) กำกับโดย John Huston
    • Huston หลังจากมีโอกาสรับชม Nazarín (1959) กลายเป็นตัวตั้งตัวตีให้หนังได้เข้าร่วมเทศกาลหนังเมือง Cannes

ในหนังสืออัตชีวประวัติ Mon Dernier Soupir (1982) ยังมีกล่าวถึงเรื่องที่ไม่ชอบด้วยนะครับ

  • Fellini’s Casanova (1976) กำกับโดย Federico Fellini
    • เดินออกตั้งแต่หนังยังไม่จบ
  • From Here to Eternity (1953) กำกับโดย Fred Zinnemann
    • I detested From Here to Eternity, which seemed to me little more than a militaristic and xenophobic melodrama.
  • Rome, Open City (1945) กำกับโดย Roberto Rossellini
    • I detested Rossellini’s Open City; the scene with the tortured priest in one room and the German officer drinking champagne with a woman in his lap in the other seemed both facile and tactless.

ปล. สังเกตว่าบรรดาหนังโปรดของ Buñuel ไม่มีจากฝั่งเอเชียเลยสักเรื่อง (ไม่นับรวม Battleship Potemkin (1925)) ซึ่งผมก็รู้สึกไม่แปลกใจสักเท่าไหร่ เพราะเขาหาใช่คนที่ใช้ชีวิตบนพื้นฐานความเชื่อ อุดมการณ์ มีความเป็นปัจเจกบุคคล และดินแดนตะวันออกมันไกลเกินกว่าที่เขาจะไปเยี่ยมเยือน

Buñuel เคยครุ่นคิดจะรีไทร์เลิกสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เสร็จจาก Tristana (1970) สภาพร่างกายเริ่มย่ำแย่ มีปัญหาด้านการได้ยิน (หูหนวก) แต่ก็ถูกโน้มน้าว ลวงล่อหลอก ชักจูงจมูกโดยผองเพื่อนคนสนิท โปรดิวเซอร์ สรรหาอะไรก็ไม่รู้มากระตุ้นความสนใจเรื่อยไป จนกระทั่งผลงานเรื่องสุดท้าย Cet obscur objet du désir (1977) เพราะไม่อยากหมดลมหายใจขณะยังมีโปรเจคค้างๆคาๆสร้างไม่เสร็จ เลยตัดใจเพียงพอแล้ว เอาเวลาเขียนหนังสือ ‘Testament’ พินัยกรรมของตนเอง

I’m not afraid of death. I’m afraid of dying alone in a hotel room, with my bags open and a shooting script on the night table. I must know whose fingers will close my eyes.

Luis Buñuel

สัปดาห์สุดท้ายในชีวิตของ Buñuel อาศัยในโรงพยาบาลที่ Mexico City พบเจอเพื่อนเก่าๆ สนทนาเทววิทยากับบาทหลวงคณะเยซูอิต Julián Pablo Fernández จากไปอย่างสงบด้วยโรคเบาหวานแทรกซ้อน วันที่ 29 กรกฎาคม 1983 สิริอายุ 83 ปี

Luis waited for death for a long time, like a good Spaniard, and when he died he was ready. His relationship with death was like that one has with a woman. He felt the love, hate, tenderness, ironical detachment of a long relationship, and he didn’t want to miss the last encounter, the moment of union. “I hope I will die alive,” he told me. At the end it was as he had wished. His last words were ‘I’m dying’.

Jean-Claude Carrière

อิทธิพลของ Luis Buñuel ต่อวงการภาพยนตร์ถือว่ามากล้นเหนือคณา ไม่ใช่แค่ผู้ริเริ่มต้นกลุ่มการเคลื่อนไหว Surrealism แต่ยังพัฒนาการสู่เรื่องราวที่จับต้องได้ สิ่งสัญลักษณ์ ราวกับความเพ้อฝัน เป็นนักปฏิวัติผู้ทรงคุณธรรม ตั้งคำถามทุกสิ่งอย่างเกี่ยววิถีความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี กฎกรอบทางสังคม โดยเฉพาะสะท้อนเสียดสีการเมือง และสันชาตญาณมนุษย์ได้อย่างแสบกระสันต์

A few great directors have the ability to draw us into their dream world, into their personalities and obsessions and fascinate us with them for a short time. This is the highest level of escapism the movies can provide for us – just as our elementary identification with a hero or a heroine was the lowest.

นักวิจารณ์ Roger Ebert กล่าวถึง Tristana (1970)

ย่อหน้าสุดท้ายในหนังสืออัตชีวประวัติ Mon Dernier Soupir (1982) ยังคงไม่ทิ้งลาย Surrealist ขอไม่แปลนะครับ จะได้ไม่รู้สึกเสียอรรถรสในการอ่าน

“Only one regret. I hate to leave while there’s so much going on. It’s like quitting in the middle of a serial. I doubt there was so much curiosity about the world after death in the past, since in those days the world didn’t change quite so rapidly or so much. Frankly, despite my horror of the press, I’d love to rise from the grave every ten years or so and go buy a few newspapers. Ghostly pale, sliding silently along the walls, my papers under my arm, I’d return to the cementery and read about all the diasters in the world before falling back to sleep, safe and secure in my tomb”.

Luis Buñuel

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: