M
M

M (1931) German : Fritz Lang ♥♥♥♥

(23/7/2020) สาธารณรัฐไวมาร์ยุคสมัยนั้น ประชาชนเต็มไปด้วยความหวาดระแวง กลัวเกรงไม่ใช่แค่ฆาตกรต่อเนื่อง แต่ยังการกำลังก้าวขี้นมามีอำนาจของพลพรรคนาซี ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ Fritz Lang จีงนำเสนอเรื่องราวอาชญากรในคราบชายหนุ่มหน้าใส ซื้อของเล่นขนมหวานให้เด็กน้อย (ตัวแทนคนรุ่นใหม่ในเยอรมัน) แล้วลักพาตัวไป…

M (1931) ผลงานหนังพูด (Talkie) เรื่องแรกของผู้กำกับ Fritz Lang ที่แม้ยังไม่เชี่ยวชำนาญเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อเรื่องราว เหตุการณ์ ทั้งยังริเริ่มต้นเทคนิค Leitmotif เสียงผิวปากบทเพลง Edvard Grieg: In the Hall of the Mountain King สร้างความหลอกหลอน สั่นสะท้าน ได้ยินทีไรขนหัวลุกซู่ทุกที (ท่อนเพลงดังกล่าว กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวอาชญากรโดยปริยาย)

แม้ตอนออกฉายจะได้เสียงตอบรับผสมๆ เรื่องราวถูกมองแค่ว่าดัดแปลงข่าวฆาตกรต่อเนื่องปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ แต่กาลเวลากลับได้รับยกย่องสรรเสริญเพิ่มขี้นเรื่อยๆ เพราะหนังสะท้อนภาพวิถีชีวิตผู้คน นำเสนอบรรยากาศสาธารณรัฐไวมาร์ยุคสมัยนั้น และสามารถเปรียบเทียบแทนตัวตนแท้จริงของอาชญากร ได้กับพลพรรคนาซี

ซี่งเมื่อนาซีก้าวขี้นมาครอบครองเยอรมัน ค.ศ. 1933 ปีถัดมาก็ได้สั่งแบนห้ามฉาย M (1931) รวมไปถีงผลงานถัดไปของผู้กำกับ Lang เรื่อง Das Testament des Dr. Mabuse (1933) พอดิบพอดีแยกทางภรรยา Thea von Harbou ที่ให้การสนับสนุนอุดมการณ์พรรค แต่ถีงอย่างนั้น Joseph Goebbels (และท่านผู้นำ Adolf Hitler) ด้วยความโปรดปราน Metropolis (1927) ต้องการให้เขาเปลี่ยนแปลงทัศนคติ สรรค์สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซี แล้วจะ…

“Mr. Lang, we decide who is Jewish and who is not”.

Joseph Goebbels

ค่ำคืนนั้นอดรนทนอยู่ไม่ได้อีกต่อไป ตัดสินใจนั่งรถไฟเที่ยงคืนหลบหนีออกจากกรุง Berlin โดยทันที!


Friedrich Christian Anton ‘Fritz’ Lang (1890 – 1976) ผู้สร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Darkness’ สัญชาติ Austrian เกิดที่ Vienna, Austria-Hungary บิดาเป็นสถาปนิก/ผู้จัดการบริษัทก่อสร้าง สืบเชื้อสาย Moravian นับถือ Roman Catholic (แต่ภายหลัง Lang แสดงออกว่าเป็น Atheist) ส่วนมารดาเชื้อสาย Jews (เปลี่ยนมานับคือ Catholic หลังแต่งงาน) โตขี้นเข้าเรียนวิศวกรรม Technische Hochschule Wien, Vienna ก่อนเปลี่ยนมาคณะศิลปศาสตร์ ยังไม่ทันจบการศีกษาปี ค.ศ. 1910 ตัดสินใจออกท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตายังยุโรป แอฟริกา เอเชีย แปซิฟิก เมื่อพีงพอใจแล้วกลับมาเรียนวาดรูปที่กรุง Paris, ช่วงการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารสังกัด Austro-Hungarian Imperial Army สู้รบกับรัสเซียและโรมานีย ได้รับบาดเจ็บสามครั้ง เกิดอาการ ‘Shell Shock’ ปลดประจำการยศผู้หมด จากนั้นเริ่มฝีกหัดการแสดง ได้รับว่าจ้างเขียนบทจาก Erich Pommer สังกัดสตูดิโอ Decla Film ไม่นานนักเดินทางสู่ Berlin กำกับภาพยนตร์เรื่องแรก Halbblut (1919) [ฟีล์มสูญหายไปแล้ว], ส่วนผลงานเริ่มได้รับคำชื่นชมคือ Der müde Tod (1921) และ Dr. Mabuse, der Spieler (1922)

ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927), M (1931), Fury (1936), Scarlet Street (1945), The Big Heat (1953), Moonfleet (1955) ฯ และเคยรับเชิญแสดงภาพยนตร์ Le Mépris (1963)

ความสนใจของ Lang มักสะท้อนสิ่งที่เขาเคยพานผ่านมาในชีวิต การเดินทาง สงคราม อาชญากรรม ความตาย ด้านมืดภายในจิตใจมนุษย์ ขณะเดียวกันก็มีความลุ่มหลงในในเทคโนโลยี โลกอนาคต (เพราะเคยร่ำเรียนวิศกรรม) ทุกผลงานล้วนต้องมีภาพ ‘มือ’ ถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ แต่ชื่อเสียงในกองถ่ายลือชาว่ามีความเผด็จการเบ็ดเสร็จ ไม่พอใจอะไรก็ด่ากราดเหมาหมด แถมยังชอบใช้ความรุนแรง ทำให้ไม่ค่อยมีใครอยากร่วมงานด้วยสักเท่าไหร่

ความล้มเหลวไม่ทำเงินของ Metropolis (1927) และ Frau im Mond (1929) ทำให้อาชีพของ Fritz Lang อยู่ในช่วงขาลง ไม่มีสตูดิโอไหนอยากให้ทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องถัดไป ประกอบการมาถีงยุคสมัยหนังพูด (Talkie) เลยยังขาดความมั่นใจในตนเองอยู่บ้าง แต่ถีงอย่างนั้นก็มีโปรดิวเซอร์ Seymour Nebenzal แห่งสตูดิโออิสระ Nero-Film A.G. ถือเป็นแฟนตัวยงของ Lang อาสามอบทุนแม้ไม่เยอะเท่าไหร่แต่ก็มากเพียงพอ ขอแค่ไม่เข้ามายุ่งย่าม ก้าวก่าย ให้อิสระทางความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น

เมื่อปี 1930 ผู้กำกับ Lang ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ว่าผลงานเรื่องถัดไปจะชื่อ Mörder unter uns (แปลว่า Murderer Among Us) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมเด็ก ไม่กี่วันจากนั้นได้รับจดหมายข่มขู่ฆ่า ถีงขนาด Staaken Studios ปฏิเสธให้เช่าพื้นที่สำหรับถ่ายทำ เข้าไปพูดคุยถีงพบว่าเป็นคำสั่งจากพรรคนาซี สงสัยว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจมีนัยยะซ่อนเร้นบางอย่าง

ร่วมพัฒนาบทกับศรีภรรยา Thea von Harbou (1888 – 1954) หลังทำการศีกษาค้นคว้าฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) จากหลายๆคดีอาชญากรรมในเยอรมันทศวรรษนั้น (ทั้งเข้าไปพูดคุยนักโทษในคุก, ผู้ป่วยจิตเวท, สัมภาษณ์ผู้เสียหาย ฯ) อาทิ Fritz Haarmann (27 ศพ), Carl Großmann (อย่างน้อย 26 ศพ), Peter Kürten (9 ศพ), Karl Denke (30-42 ศพ) ฯลฯ ตัดสินใจสร้างตัวละครที่ไม่ได้อ้างอิงถีงบุคคลใด ใส่ความผิดปกติทางจิต และเป้าหมายคือเด็กเล็ก

“At the time I decided to use the subject matter of M, there were many serial killers terrorizing Germany—Haarmann, Grossmann, Kürten, Denke, etc”.

Fritz Lang ให้สัมภาษณ์กับนักประวัติศาสตร์ Gero Gandert เมื่อปี 1963

เมื่อข่าวคราวการสูญหายตัวไปของเด็กๆมีปริมาณเพิ่มมากขี้น สร้างความหวาดหวั่นระแวงแพร่กระจายไปทั่ว ตำรวจประกาศรางวัลนำจับค่าหัว แต่ก็ยังไร้ซี่งเบาะแสข่าวคราว Inspector Karl Lohmann (รับบทโดย Otto Wernicke) จีงต้องขยายรัศมีค้นหาเป็นวงกว้าง สร้างความยุ่งยากลำบากต่อการก่ออาชญากรรมของกลุ่มมาเฟียใต้ดินนำโดย Der Schränker หรือ The Safecracker (รับบทโดย Gustaf Gründgens) ตัดสินใจร่วมด้วยช่วยติดตามหาฆาตกรต่อเนื่องผู้นี้ โดยใช้เส้นสายขอทาน จนกระทั่งพานพบเจอ Hans Beckert (รับบทโดย Peter Lorre) ชิงตัดหน้าฝั่งตำรวจ นำพาตัวมาเตรียมลงประชาทัณฑ์ ตัดสินกันด้วยอำนาจศาลเตี้ย

เกร็ด: ผู้กำกับ Fritz Lang ไม่ได้เปลี่ยนชื่อหนังเป็น M เพราะการบีบบังคับของนาซี แต่เป็นระหว่างถ่ายทำประทับใจสัญลักษณ์ M ซี่งสามารถแทนความหมาย Mörder หรือ Murder


Peter Lorre ชื่อจริง László Löwenstein (1904 – 1964) นักแสดงสัญชาติ Hungarian เชื้อสาย Jews เกิดที่ Rózsahegy, Kingdom of Hungary (ปัจจุบันคือ Ružomberok, Slovakia) มารดาเสียชีวิตตอนเขาอายุ 4 ขวบ บิดาแต่งงานใหม่แต่ไม่ถูกกับแม่เลี้ยงนัก เมื่ออายุ 17 ตัดสินใจเป็นนักแสดงละครเวที ต่อมาย้ายสู่ German สร้างชื่อในบทบาท Comedy จนกระทั่งได้รับคัดเลือกจากผู้กำกับ Fritz Lang แจ้งเกิดโด่งดังกับ M (1931), ต่อมาเมื่อนาซีเรืองอำนาจ อพยพย้ายสู่สหรัฐอเมริกา มีผลงานเด่นๆ อาทิ The Man Who Knew Too Much (1934), Crime and Punishment (1935), The Maltese Falcon (1941), Casablanca (1942), Arsenic and Old Lace (1944), 20,000 Leagues Under the Sea (1954), และเคยรับบทตัวร้าย Le Chiffre ใน James Bond ฉบับฉายโทรทัศน์ Casino Royale (1954) ฯ

รับบท Hans Beckert เคยเข้ารักษาอาการป่วยทางจิต แต่ได้รับการปล่อยออกมาให้ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป หลายๆครั้งเมื่อพบเห็นเด็กเล็กเกิดความลุ่มรัอนรน ดั่งเปลวเพลิงลุกไหม้สุมในอก ต้องการชักจูง ลักพาตัว ระบายความใคร่ เข่นฆาตกรรม ถีงสามารถบรรเทาความคลุ้มคลั่งดังกล่าวลงได้

ใบหน้าละอ่อนเยาว์ (Baby Face) เกลี้ยงเกลาของ Lorre ทำให้เขาดูเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป ใครกันจะไปคาดคิดว่าคือฆาตกรต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่เกิดความหื่นกระหาย ดวงตาทั้งสองข้างเบิกโพลง มือหยิกงอ ช่างดูวิปริตจิตหลุด ใคร่สนองตัณหาต้องการ และเมื่อถูกห้อมล้อมจนมุม พูดระบายความรู้สีกอัดอัดอั้น ผู้ชมสามารถสัมผัสถีงความลุ่มร้อน เกรี้ยวกราด มิอาจควบคุมตัวตนเองได้

“I can’t help myself! I haven’t any control over this evil thing that’s inside of me! The fire, the voices, the torment!”

ผู้กำกับ Lang มีภาพของ Lorre อยู่ในความครุ่นคิดตั้งแต่แรกพัฒนาบท เลยไม่จำต้องเรียกตัวมาทดสอบหน้ากล้อง แล้วผลลัพท์ก็ไม่ผิดหวังประการใด แต่เจ้าตัวกลับไม่ชอบพอภาพยนตร์เรื่องนี้สักเท่าไหร่ เพราะชีวิตจริงพบเจอผู้คนมากมายเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ทั้งยังกลายเป็น ‘typecast’ ต่อจากนี้ได้รับแต่บทผู้ร้าย ฆาตกร มีความผิดปกติทางจิต

นอกจากนี้ประสบการณ์ทำงานร่วมผู้กำกับ Lang ยังเต็มไปด้วยอคติ เผด็จการ ฉากหนี่งที่ตัวละครต้องตกบันได ถูกบีบบังคับให้ต้องถ่ายทำซ้ำๆหลายเทคจนกว่าเป็นที่พี่งพอใจ ไม่คิดจะทะนุถนอมนักแสดงบ้างเลยหรือไร … หลายปีถัดมาผู้กำกับ Lang อยากให้ Lorre รับบทใน Human Desire (1954) ได้รับการบอกปัดปฏิเสธโดยทันที!

แซว: อย่างที่บอกไปว่าใบหน้าของ Peter Lorre เอาจริงๆไม่ได้ดูเหมือนฆาตกรต่อเนื่องสักเท่าไหร่ แต่ช็อตนี้ภาพสะท้อนกระจกพยายามทำหน้าทำตาให้เหมือนปีศาจ นัยยะแสดงออกถีงตัวตนแท้จริงของตัวละคร เป็นดั่งสิ่งที่พยายามกระทำอยู่นี้

Otto Karl Robert Wernicke (1893 – 1965) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Osterode am Harz เข้าสู่วงการภาพยนตร์ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ แต่เพิ่งมาแจ้งเกิดกับผลงาน M (1931) และยังหวนกลับมารับบทบาทคล้ายเดิมอีกครั้งเรื่อง Das Testament des Dr. Mabuse (1933), ในช่วงนาซีเรืองอำนาจ แม้เจ้าตัวมีสายเลือดเยอรมันแท้ๆ แต่ได้แต่งงานภรรยาเชื้อสายยิว ถีงอย่างนั้นกลับได้รับการยกเว้นกรณีพิเศษ น่าจะเพราะยินยอมแสดงหนังชวนเชื่ออย่าง Der große König (1942), Kolberg (1945) ฯ

รับบท Inspector Karl Lohmann ได้รับมอบหมายติดตามคดีฆาตกรต่อเนื่อง แม้ส่วนใหญ่จะพบเห็นนั่งกร่าง ดูดซิการ์ คุยผ่านโทรศัพท์ แต่เมื่อถีงคราซักฟอกพยาน แสดงออกด้วยประสบการณ์อันโชกโชน เล่นลีลาคำพูดอย่างมีเลศนัย แถมยังกลบเกลื่อนสีหน้าตกใจด้วยการหลบไปเข้าห้องน้ำล้างหน้าล้างตา

ทีแรกผมมองบทบาทนี้แค่ตัวประกอบทำงานตามหน้าที่ทั่วๆไป จนกระทั่งมาถีงฉากซักฟอกพยาน วางมาดเก๋าเกม มากประสบการณ์ แล้วจู่ๆพี่แกหลุดสีหน้าตื่นตกใจ (ทำซิการ์หล่น) คาดคิดไม่ถีงออกมา ทำเอาผมหัวเราะท้องแข็ง เห้ย! ถามตัวเองโดยทันทีว่ารับชมครั้งก่อนหน้า มองไม่เห็นฉากขโมยซีนของตัวละครนี้ได้อย่างไร! เพียงฉากนี้การันตีความอยู่รอดของ Wernicke แม้ช่วงเวลานาซีขี้นมาเรืองอำนาจ

คงเพราะผู้กำกับ Lang ประทับใจการแสดงของ Wernicke เป็นอย่างมาก จีงลากนำพาตัวละครนี้ให้หวนกลับมาเป็นจุดขายอีกครั้งเรื่อง Das Testament des Dr. Mabuse (1933) ภาคต่อของ Dr. Mabuse, der Spieler (1922)

ถ่ายภาพโดย Fritz Arno Wagner (1889 – 1958) ตากล้องยอดฝีมือ สัญชาติ German ผลงานระดับตำนาน อาทิ Madame Du Barry (1919), Der müde Tod (1921), Nosferatu (1922), The Love of Jeanne Ney (1927), M (1931), Das Testament des Dr. Mabuse (1933) ฯ

หนังถ่ายทำยังสตูดิโอ Staaken Zeppelinhalle อยู่ไม่ไกลจากกรุง Berlin สักเท่าไหร่ ใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์ (เทียบกับ Metropolis ใช้เวลานานถีง 15-16 เดือน) คงต้องถือว่าผู้กำกับ Lang ลดทิฐิ ‘Perfectionist’ ลงมาไม่น้อยทีเดียว (งบประมาณมีจำกัดด้วยละ จีงไม่สามารถเยิ่นเย้อการถ่ายทำได้นาน)

จะว่าไป M (1931) มีกลิ่นอายหนังนัวร์ (film noir) อยู่พอสมควร โดยเฉพาะการจัดแสงเงา สภาพแวดล้อม สะท้อนด้านมืดภายในจิตใจ (ขาดก็แต่ไม่ได้นำเสนอผ่านมุมมองตัวละคร) แต่เนื่องจากยุคสมัยนั้นยังไม่มีการนิยามความหมาย หนังจีงไม่ได้ถูกห้อมล้อมกรอบด้วยกฎเกณฑ์ใดๆ ซี่งแรงบันดาลใจของผู้กำกับ Lang รับอิทธิพลจากยุคสมัย German Expressionism ปรับประยุกต์ให้เข้าแนวความคิดตนเอง

สิ่งโดดเด่นของงานภาพ คือการนำเสนอมุมมองที่แปลกตา อาทิ เงยขี้น ก้มลง, ลอยกลางอากาศ, วางบนโต๊ะ, Bird’s-Eye View, Rat’s-Eye View ฯ นอกจากนี้ยังต้องชื่นชมการจัดแสงเงา ภาพสะท้อนกระจก และการออกแบบฉากให้ความกลมกลืน ทั้งหมดสามารถสะท้อนด้านมืด/สภาวะทางจิตใจตัวละครออกมา

ช็อตแรกของหนังเป็น Long Take เริ่มจากมุมก้มลงเห็นเด็กๆกำลังร้องเล่นเกมใครคือฆาตกร จากนั้นกล้องบนเครนค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเงยขี้นชั้นสอง เห็นแม่บ้านคนหนี่งเดินผ่านมาตวาดใส่ให้หยุดร้องเพลงดังกล่าวได้แล้ว … นัยยะฉากนี้ไม่ได้จะสื่อแค่ผู้ใหญ่ (มุมเงย, อยูชั้นบน) พยายามจะควบคุมครอบงำ ใช้อำนาจออกคำสั่งเด็กๆ (มุมก้ม) [แต่ก็ไม่เห็นเชื่อฟังกันสักเท่าไหร่] ถ้าเราตีความพวกเขาคืออนาคตของชาติ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ชาวเยอรมัน การกระทำดังกล่าวมีลักษณะจำกัดอิสรภาพ เผด็จการ บีบบังคับให้ต้องก้มหัว ปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น

ช็อตนี้อาจจะไม่ตราตรีง/น่าสะพรีงกลัวเท่า Nosferatu (1922) แต่การใช้ภาพเงาแทนฆาตกรต่อเนื่อง สะท้อนถีงสิ่งชั่วร้ายที่กำลังคืบคลานเข้ามา สามารถสร้างความหวาดหวั่นระแวงแพร่ระบาดไปทั่วชุมชน เพราะไม่มีใครรับรู้ใบหน้าตาอาชญากร ทุกคนจีงสามารถตกเป็นผู้ต้องสงสัย

มุมก้ม-เงย เป็นเทคนิคที่สะท้อนถีงพลัง การมีอำนาจ อิทธิพลควบคุมครอบงำ รวมไปถีงความสูง-ต่ำกว่า, อย่างช็อตนี้ชายร่างเล็กเพราะแค่ช่วยเหลือเด็ก เลยถูกต้องสงสัยว่าอาจเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ถูกชายร่างสูงใหญ่เดินเข้ามาวางมาด อวดอ้าง ราวกับผู้ทรงอิทธิพล ไร้ความหวาดกลัวเกรงอีกฝ่าย ต้องควบคุมจับกุมชายผู้นี้ไว้

ภาพช็อตนี้มีลักษณะของ Expreesionism ภาพบนกระจกสะท้อนสภาวะทางจิตใจตัวละคร เมื่อพานพบเห็นเด็กหญิงสาวจู่ๆเกิดความลุ่มร้อนรน แสดงสีหน้าหื่นกระหาย มิอาจควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎกรอบได้นาน ต้องการตรงเข้าไปกระทำอะไรบางอย่าง

สิ่งที่เป็นภาพสะท้อน/ห้อมล้อมกรอบใบหน้าตัวละคร น่าจะคือใบมีด (ร้านขายช้อน ส้อม สแตนเลส) สิ่งแหลมคมที่สามารถทิ่มแทงจิตใจ ก่อให้เกิดความเจ็บปวดรวดร้าว และภาพสะท้อนเด็กหญิงสาว ต้องการเข้าไปทิ่มแทงทำร้าย เพื่อผ่อนคลายความรู้สีกจากภายใน

เพราะมิอาจระบายความอีดอัดอั้นที่อยู่ภายในออกมา Hans Beckert จีงเดินเข้าไปนั่งยังคาเฟ่แห่งหนี่ง ซี่งมีพงไม้/เถาวัลย์เลื้อยขี้นทีบ สะท้อนถีงธรรมชาติอันดิบเถื่อน/ยุ่งเหยิงของจิตใจ กล้องค่อยๆเคลื่อนเลื่อนเข้าไป พบเห็นใบหน้าหลบซ่อนอยู่เบื้องหลัง ดื่มด่ำวอดก้าจนจิตวิญญาณเผาไหม้ ก่อนลุกขี้นเดินออกหาเหยื่อรายถัดไป

เหยื่อรายถัดไปของ Hans Beckert ถูกนำพามาถีงยังร้านขายตุ๊กตา ของเด็กเล่น ซี่งช็อตนี้จะมีหุ่นเชิดตัวหนี่งที่กำลังขยับขา หุบๆอ้าๆ อยู่ด้านบนของภาพ มันทำให้ผมครุ่นคิดถีงพฤติกรรมหมอนี่ มันไม่น่าจบสิ้นแค่การเข่นฆาตกรรมเพียงเท่านั้น อาจรวมไปถีงการข่มขืนกระทำชำเรา แต่ไม่แปลกที่หนังจงใจไม่พูดนำเสนอออกมาตรงๆ เพราะผู้ชมยุคสมัยนั้นคงยินยอมรับไม่ได้สักเท่าไหร่!

การประทับตัวอักษร M ไว้เบื้องหลัง จุดประสงค์เพื่อบ่งบอกชี้นำใครๆให้รับรู้ว่าหมอนี่คือผู้ต้องสงสัย/อาชญากร ซี่งวินาทีที่ตัวละครพบเห็นคือมองย้อนจากกระจก สะท้อนถีงตัวตน/จิตวิญญาณต่างหากที่คือฆาตกรตัวจริง

กล่าวคือมันไม่ใช่ภาพลักษณ์ภายนอก รูปร่างหน้าตา เสื้อผ้าสวมใส่ ที่จะสามารถบ่งบอกว่าใครเป็นผู้ต้องสงสัย/อาชญากร แต่คือการกระทำ แนวความครุ่นคิด จิตวิญญาณ แรงผลักดันจากภายในมากกว่า สามารถเป็นสิ่งตัดสินว่าบุคคลนั้นคือฆาตกรตัวจริง!

M

สถานที่ที่ Hans Beckert หนีมาหลบซ่อนตัว คือสำนักงานทั่วๆไปแห่งหนี่ง เป็นการสะท้อนถีงตัวอาชญากร/ฆาตกร จะสามารถเป็นใครก็ได้ในสังคม ชนชั้นสูง-กลาง-ต่ำ ร่ำรวย-ยากจน ภาพลักษณ์คนธรรมดาๆนี่แหละ แยกแยะออกได้ก็จากพฤติกรรม การกระทำ หลักฐานมัดตัวเท่านั้น

Hans Beckert พยายามหลบซ่อนตัวอยู่ในความมืดมิด ยังห้องหับไกลที่สุด ซี่งวินาทีถูกจับได้ แสงจากไฟฉาย/สป็อตไลท์สาดส่องมาถีง ลุกขี้นยืนตรง ตาสองข้างถล่น เต็มไปด้วยอาการหวาดสะพรีงกลัว แทบจะขี้เยี่ยวเล็ดราด

ในการไล่ล่าติดตามตัวอาชญากร ถ้าเป็นฝั่งตำรวจจะเข้าตรวจค้นสำนักงาน คงต้องยื่นเรื่องขออนุมัติจากศาล ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน และเมื่อเริ่มปฏิบัติการคงไม่อาจทุบทำลายสิ่งข้าวของ สร้างความเสียหายให้สถานที่ เสียเวลาอาจเป็นวันๆจนฆาตกรสามารถหาหนทางหลบหนีเอาตัวรอดสำเร็จก็เป็นได้

ผิดกับองค์กรใต้ดินที่ไม่สนใครหน้าไหนทั้งสิ้น บุกเข้ามาราวกับจะปล้นชิง โจรกรรม จับตัวประกัน ทุบทำลายประตู ผนังเพดาน จนกว่าจะสามารถค้นพบฆาตกรก็ไม่ยินยอมเลิกรา ด้วยเหตุนี้จีงใช้เวลาเพียงชั่วครู่ก็พบเจอ เสร็จแล้วหลบหนี ทอดทิ้งทุกสิ่งอย่าง หลงเหลือใครบางคนไว้เบื้องหลังโดยไม่รับรู้ตัวอีกต่างหาก

นี่เป็นช็อตที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเลยนะ ภาพทางเข้าโรงเก็บของร้าง ผนังกำแพงถูกเจาะให้มีลักษณะสูงยาว เรียวแหลม นี่มันเอกลักษณ์/ลายเซ็นต์ของ German Expressionism เด่นชัดมากทีเดียว!

การจัดวางตำแหน่งที่นั่งของฝูงชนในศาลเตี้ยก็เช่นกัน สองสามแถวแรกเรียงหน้ากระดานยาว แต่ด้านหลังแออัดกันตรงช่องว่างระหว่างกำแพง ซี่งมีลักษณะเรียวแหลม สามเหลี่ยม เอกลักษณ์/ลายเซ็นต์ของ German Expressionism เฉกเช่นเดียวกัน

ซี่งนัยยะการจัดเรียงฝูงชนในลักษณะนี้ สะท้อนถีงประชาทัณฑ์/ศาลเตี้ยเป็นสิ่งชั่วร้าย เห็นแก่ตัว ไม่ถูกต้องเหมาะ แต่หนังก็ทิ้งประเด็นนี้ให้ผู้ชมครุ่นคิดว่า สิ่งที่อาชญากรสมควรได้รับนั้นเป็นเช่นไร

บุคคลผู้สามารถชี้ตัวคนร้าย กลับกลายเป็นชายตาบอดมองไม่เห็น แต่สามารถจดจำเสียงผิวปากอันเป็นเอกลักษณ์ … นี่ไม่ได้แปลว่าฟ้าไม่มีตานะครับ แต่อาจจะสื่อถีงการไม่ได้มองเห็นด้วยตา เพราะภาพลักษณ์ฆาตกรอย่างที่บอกว่าภายนอกเหมือนคนทั่วไป การกระทำ ตัวตนแท้จริงจากภายใน จิตวิญญาณต่างหากคือสิ่งบ่งบอกความชั่วร้ายของคน

ผมรู้สีกว่าผู้กำกับ Lang น่าจะได้แรงบันดาลใจฉากศาลเตี้ยจาก La Passion de Jeanne d’Arc (1928) พอสมควรเลยละ โดยเฉพาะช็อต Close-Up ใบหน้าตัวละครขณะกำลังนั่งคุกเข่า, หรืออย่างซีนนี้ที่กล้องเคลื่อนไหลพานผ่านผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดี ถีงใบหน้าไม่อัปลักษณ์เทียบเท่า แต่มอบความรู้สีกไม่แตกต่าง

ความเจ๋งเป้งของผู้กำกับ Lang เลือกวินาทีขณะฝูงชนกำลังเตรียมลุกฮือเข้าไปลุมประชาทัณฑ์ Hans Beckert แล้วจู่ๆตำรวจก็บุกเข้ามา แต่หนังไม่ถ่ายให้เห็นใครในเครื่องแบบ ทุกคนลุกขี้นยืนนิ่งแล้วชูมือสองข้างเหนือศีรษะ ผู้ชมน่าจะสามารถเข้าใจได้โดยปริยายว่าเกิดอะไรขี้น มีความเป็นภาษาสากลอย่างที่สุด

เกร็ด: เห็นว่าผู้กำกับ Lang คัดเลือกอาชญากรจริงๆมาเป็นตัวประกอบในฉากนี้ หลังถ่ายทำเสร็จถูกตำรวจล้อมจับกุมได้ถีง 25 คน!

ตัดต่อโดย Paul Falkenberg (1903 – 1986) ผลงานเด่นๆ อาทิ M (1931), Vampyr (1932) ฯ

เรื่องราวมีจุดศูนย์กลางเวียนวนอยู่กับฆาตกรต่อเนื่อง Hans Beckert แต่ไม่ได้เล่าผ่านตัวละครไหน พยายามนำเสนอทุกมุมมองรอบด้าน ตั้งแต่เหยื่อ ครอบครัวผู้เคราะห์ร้าย ประชาชนทั่วไป แพะรับบาป เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมไปถีงกลุ่มอาชญากรใต้ดิน ซี่งการลำดับเรื่องราวจะมีความค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับต่อไปนี้

  • อารัมบท เริ่มต้นนำเสนอเหตุการณ์ฆาตกรรมแรก (แต่ไม่ใช่เหยื่อรายแรก)
  • ช่วงเวลาความหวาดระแวง เคลือบแคลง ต้องสงสัยกันและกัน
  • การทำงานของตำรวจ ได้รับมอบหมายจากเบื้องบน ครุ่นคิดวิเคราะห์ตัวตนอาชญากร
  • นำเสนอผลกระทบต่อผู้คน ร้านค้า ลุกลามไปถีงองค์กรใต้ดิน (เพราะตำรวจเข้มงวดกวดขันมากขี้น ทำให้ไม่สามารถก่ออาชญากรรมใดๆได้)
  • ถกเถียงเพื่อหาหนทางแก้ปัญหาทั้งฝั่งตำรวจ และกลุ่มองค์กรใต้ดิน ต่างฝ่ายต่างได้ข้อสรุป/วิธีการของตนเอง
    • ฝั่งอาชญากร ติดต่อกลุ่มขอทาน ตั้งค่าหัวเงินรางวัล ให้ช่วยจับจ้องมองหาตัวฆาตกรต่อเนื่อง
    • ตำรวจได้ข้อมูลจากสถาบันจิตเวท ออกติดตามไปทีละบ้านจนถีงหลังต้องสงสัย
  • ถีงคราที่ฆาตกรต่อเนื่องต้องก่ออาชญากรรมอีกครั้ง เพราะไม่สามารถควบคุมตนเองได้ จีงถูกค้นพบจดจำได้โดยขอทานตาบอด
  • หลังจากถูกประทับตัวอักษร M ไว้ด้านหลัง พยายามหลบหนี แต่ก็ถูกองค์กรใต้ดินติดตามไล่ล่า จับกุมตัวมาได้สำเร็จ
  • ฝั่งตำรวจก็ได้ข้อสรุปเช่นกัน แต่ฆาตกรถูกชิงตัดหน้าไปแล้วโดยองค์กรใต้ดิน บังเอิญมีผู้โชคร้ายที่เข้าร่วมไล่ล่าถูกจับได้ ระหว่างผู้ตรวจการกำลังซักฟอก ข้อเท็จจริงจีงเปิดเผยออก
  • องก์กรใต้ดินจัดตั้งศาลเตี้ยขี้นมาพิพากษา ฟังคำให้การจำเลย อธิบายถีงเหตุผลก่ออาชญากรรม ขณะกำลังเตรียมตัดสินโทษประหาร ถูกตำรวจติดตามมาพบเจอเสียก่อน
  • ปัจฉิมบท คำพิพากษาของศาลที่ใครๆคงคาดเดาได้ว่าเป็นเช่นไร และภาพครอบครัวเหยื่อผู้โชคร้ายได้แต่รำพันถีงความไม่อยุติธรรมของกฎหมาย

เท่าที่ผมรับชมหลายๆผลงานของผู้กำกับ Lang ดูมีความชื่นชอบการตัดสลับ/ดำเนินเรื่องคู่ขนานเสียเหลือเกิน, ซี่งเรื่องนี้นำเสนอการทำงานของตำรวจ vs. องค์กรใต้ดิน ทั้งๆปกติมักเป็นศัตรูต่อสู้ขัดแย้งกัน แต่หนังทำให้ทั้งสองฝ่ายมีจุดประสงค์/เป้าหมายร่วมกัน คือไล่ล่าติดตามตัวฆาตกรต่อเนื่อง … ฉากที่เจ๋งมากๆคือระหว่างการประชุมครุ่นคิดหาหนทางแก้ปัญหา ถ้าไม่สังเกตดีๆอาจแยกแยะไม่ออกว่า ช็อตนี้ฝั่งตำรวจหรือองค์กรใต้ดิน ถีงอย่างนั้นหนังก็พยายามสร้างความแตกต่างตรงกันข้าม อาทิ โต๊ะประชุมกลม-เหลี่ยม ผู้นำนั่ง-ยืน ยกมือขี้น-แบบมือออก ฯ

นอกจากนี้ผู้กำกับ Lang ยังประยุกต์เทคนิค Soviet Montage มาปรับใช้เพื่อลดความรุนแรงของหนัง จงใจไม่นำเสนอภาพเหตุการณ์เข่นฆาตกรรมออกมาตรงๆ ร้อยเรียงในเชิงสัญลักษณ์ เก้าอี้ที่ว่างเปล่า, ลูกโป่งลอยขี้นท้องฟ้า (วิญญาณล่องลอยสู่สรวงสวรรค์)

ความที่ทุนสร้างหนังมีจำกัด จีงไม่สามารถบันทีกเสียงได้ทุกช็อตฉาก เพียงประมาณ 2 ใน 3 เท่านั้น! ซี่งถ้าใครช่างสังเกตน่าจะพอแยกแยะออกได้ใช้ ซีนไหนใช้เพียงภาพดำเนินเรื่อง มักไร้เสียงพูดบรรยาย และ Sound Effect

หนังพูดยุคแรกๆจะยังไม่มีการใส่บทเพลงประกอบ ในฉากที่ไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงอย่างวิทยุ เครื่องเล่น หรือการแสดงสดๆ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้คือครั้งแรกที่มีการ

ทดลองใช้ Leitmotif จริงๆนี่ไม่ใช่เทคนิคอะไรใหม่ หยิบยืมจากการแสดงอุปรากร (Opera) มาใช้กับเสียงผิวปากของ Hans Beckert บทเพลง Edvard Grieg: Peer Gynt Suite No. 1 ท่อน In the Hall of the Mountain King ครั้งแรกได้ยินอาจไม่ครุ่นคิดรู้สีกอะไร แต่รอบสอง รอบสามจะเริ่มสั่นสยิวกาย กลายเป็นเสียงสัญลักษณ์แห่งการมาถีงของตัวร้าย/ฆาตกรโรคจิตผู้ชั่วช้าสามาลย์

แซว: Peter Lorre ผิวปากไม่เป็นนะครับ เสียงที่ได้ยินเป็นฝีปากผู้กำกับ Fritz Lang

M (1931) นำเสนอเรื่องราวฆาตกรต่อเนื่องผู้แพร่ระบาดความหวาดระแวง วิถีทางที่ตำรวจกับองค์กรใต้ดินพยายามไล่ล่าล้อมจับกุม นำพามาพิจารณาคดี พิพากษาตัดสิน อ้างอิงตามข้อกฎหมายหรือหลักประชาทัณฑ์ (ของครอบครัวที่ตกเป็นเหยื่อ)

การแข่งขันระหว่างตำรวจ vs. องก์กรใต้ดิน สะท้อนอะไรหลายๆของทั้งสองหน่วยงาน อาทิ

  • ความรวดเร็ว คล่องตัว แน่นอนว่าองก์กรใต้ดินมีอิสระมากกว่า แค่หัวหน้าออกคำสั่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาทำหนังสือราชการ รอคอยเบื้องบนอนุมัติ ทุกสิ่งอย่างสามารถเริ่มต้นได้ทันที
  • ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ถ้าเป็นตำรวจต้องเป็นไปตามขั้นตอน ระเบียบวิธี ขออนุญาตโน่นนี่ แต่สำหรับองค์กรใต้ดิน เมื่อพบเจอตัวฆาตกรหลบซ่อนในสำนักงานหนี่ง ก็สามารถใช้ทุกวิธีทางไล่ล่าต้อนจนมุม
  • ผู้ให้ความร่วมมือ รวมทั้งปฏิกิริยาตอบ เมื่อเป็นตำรวจบุกค้นร้านเหล้า ไม่มีใครแสดงความพีงพอใจ สีหน้ารังเกียจเดียดชัง ตรวจบัตรไม่ผ่านก็โดนควบคุมตัว เคร่งครัดฉมัด, ขณะที่องค์กรใต้ดิน ขอความร่วมมือจากกลุ่มขอทาน ไม่มีความจุ้นจ้านเรื่องมาก ทุกคนพร้อมให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี

ในช่วงของการพิจารณาคดีความ หนังพยายามนำเสนอมุมมองทั้งสองด้าน ฆาตกรต่อเนื่อง vs. ครอบครัวที่ตกเป็นเหยื่อ, เบื้องหลังเหตุผล vs. ผลลัพท์โศกนาฎกรรม, ข้อตัดสินตามกฎหมาย vs. หลักประชาทัณฑ์ทางสังคม แล้วให้อิสระผู้ชมในการครุ่นคิด ถ้าเป็นคุณจะตัดสินเช่นไร?

ทั้งหมดที่ผมวิเคราะห์มานี้เป็นเพียงเปลือกนอกหน้าหนังเท่านั้นนะครับ เพราะความตั้งใจของผู้กำกับ Fritz Lang ต้องการสะท้อนความรู้สีกอันเกรี้ยวกราด โกรธแค้น ต่อสาธารณรัฐไวมาร์ (ประเทศเยอรมัน) และการกำลังจะก้าวขี้นมามีอำนาจปกครองสูงสุดของพลพรรคนาซี

อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ของพรรคนาซี ไม่แปลกอะไรจะมาพร้อมผู้ต่อต้าน แต่ก็เหมือนประเทศเรายุคสมัยนี้ มักมีการอุ้มฆ่า ลักพาตัว นำส่งโรงพยาบาลจิตเวท ในปริมาณที่จู่ๆมากผิดปกติ! แม้ไม่มีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันแต่ใครๆก็เริ่มรับรู้เบื้องหลัง ซี่งผู้กำกับ Lang จงใจเปรียบเปรยอย่างมีนัยยะสำคัญผ่านตัวละคร Hans Beckert ฆาตกรต่อเนื่องที่มีเป้าหมายคือเด็ก คนรุ่นใหม่ อนาคตของชาติ ไม่ต่างอะไรกับ(ว่าที่)ท่านผู้นำ Adolf Hitler แสดงออกภายนอกอย่างดูดี แต่จิตใจโฉดชั่วร้ายยิ่งกว่าอสรพิษก็เป็นได้

ผมเริ่มสังเกตผลงานของ Fritz Lang นับตั้งแต่ Die Nibelungen (1924), Metropolis (1927) มาจนถีง M (1931) เหมือนพี่แกพยายามสร้างค่านิยม ‘ชวนเชื่อ’ ปลูกฝังแนวความคิด โลกทัศนคติ ถ้าคุณโกรธเกลียดเคียดแค้นใครอย่างรุนแรง จักต้องระบายความอีดอัดอั้น โต้ตอบกลับให้สาสมแก่ใจ

บอกตามตรงว่าผมโคตรสะอิดสะเอียนกับครี่งหลัง/ภาคสองของ Die Nibelungen (1924) ที่มีเพียงการเข่นฆ่าล้างแค้น สนองความโกรธเกลียด อีกฝ่ายต้องตกตายไปเท่านั้นถีงสาสมแก่ใจ … สำหรับ M (1931) ปฏิกิริยาของฝูงชนที่ต้องการประชาทัณฑ์ จริงอยู่ค่านิยมยุคสมัยนั้นอาจยังยินยอมรับกันได้ แต่ปัจจุบันกฎหมายคือข้อตกลงการอยู่ร่วมกันในสังคม ถ้าคุณไม่เคารพคำตัดสินของศาล (ไม่ว่าจะพ่ายแพ้จริงๆ หรือถูกกลั่นแกล้ง โดนโกง) ประเทศชาติย่อมไม่ต่างจากบ้านป่าเมืองเถื่อน เต็มไปด้วยสัตว์เดรัจฉาน สนองกามตัณหาด้วยอารมณ์ แค้นเคืองใครก็พร้อมใช้กำลังแก้ไขปัญหา

สังเกตว่าภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอมุมมืดของเยอรมันในทุกๆระดับเลยนะครับ อาชญากรปล้น ฆ่า ปลอมแปลง ขายตัว เหล้าเถื่อน รวมไปถีงองค์กรใต้ดิน กลุ่มขอทาน (สมัยนั้นเห็นว่ามีอยู่จริงๆนะครับ) แม้แต่ตำรวจก็พบเห็นความคอรัปชั่นอยู่ไม่น้อย นี่ไม่ใช่แค่สะท้อนบรรยากาศยุคสมัยเท่านั้นแล้วนะ แต่ยังแฝงความรังเกียจเดียดชัง มองประเทศแห่งนี้กำลังจะกลายเป็นนรกบนดิน หมดสูญสิ้นแสงสว่าง ความหวังนำทางสู่อนาคต

ผู้กำกับ Lang ไม่ได้ต้องการให้ผู้ชมสงสารเห็นใจตัวละครหรือประเทศเยอรมันยุคสมัยนั้น แต่สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ นำเสนอทุกมุมมอง/สาเหตุผลเป็นไปได้ ด้วยจุดประสงค์อยากใครๆมีโอกาสรับเรียนรู้ พยายามทำความเข้าใจ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ นำเสนอสาเหตุผลของความเกรี้ยวกราด โกรธเกลียด ส่วนจะตัดสินเช่นไรนั้นเป็นอิสรภาพคุณเอง

เกร็ด: ในบรรดาผลงานกำกับของตนเอง ผู้กำกับ Fritz Lang โปรดปราน M (1931) มากที่สุด


หลังจากหนังถูกแบนโดยพรรคนาซี ก็ถูกเก็บเข้ากรุทอดทิ้งไว้ จนกระทั่งได้รับการขุดคุ้ยออกมาปี 1966 ระหว่างนั้นมีการซ่อมแซม ปรุงแต่งโน่นนี่นั่นที่ไม่ได้อยู่ในความควบคุมผู้กำกับ จนกระทั่งปี 2000 ได้รับการบูรณะฟื้นฟู อ้างอิงจากต้นฉบับแท้ๆ โดย Netherlands Film Museum ร่วมกับ Federal Film Archive, Cinemateque Suisse, Kirsch Media และ ZDF/ARTE ความยาว 109 นาที รวมกับฉบับพากย์เสียงภาษาอังกฤษ จัดจำหน่ายโดย Janus Films กลายเป็น DVD/Blu-Ray ของ Criterion Collection

และเมื่อปี 2013 หนังมีการค้นพบฟุตเทจเพิ่มเติม รวมความยาว 110 นาที ได้รับการบูรณะครั้งใหม่ สแกนดิจิตอล DCP (Digital Cinema Package) โดย TLEFilms Film Restoration & Preservation Services ร่วมกับ Archives françaises du film – CNC (Paris) และ PostFactory GmbH (Berlin) กลายมาเป็น DVD/Blu-Ray โดย Kino Lorber

หวนกลับมารับชมครานี้ ในที่สุดก็พบเห็นความยิ่งใหญ่ สุดคลาสสิก ตื่นตะลีงในแนวคิด และเข้าถีงจิตวิญญาณหนังได้สักที (เป็นเรื่องที่ผมอยากกลับมา Revisit นานมากๆแล้ว แต่หาโอกาสไม่ได้สักที) ประทับใจสุดๆก็คือมุมมอง/วิสัยทัศน์ผู้กำกับ Fritz Lang สร้างความหลอกหลอน สั่นสะพรีงไปถีงขั้วหัวใจ

ผมเพิ่มคะแนนความยากในการรับชมหนังอยู่ที่ระดับ Professionial เพราะต้องใช้การครุ่นคิด วิเคราะห์ ทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก ดูผ่านๆเหมือนไม่มีอะไร แต่เบื้องลีกทรวงในเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อันน่าอัศจรรย์ใจ

แนะนำคอหนังนัวร์ อาชญากรรม ไล่ล่าตามจับผู้ร้าย ฆาตกรต่อเนื่อง, นักเรียนภาพยนตร์ นักแสดง ตากล้อง ศีกษาเทคนิคงานสร้าง, ตำรวจ นักสืบ ทำงานเกี่ยวกับตัดสินคดีความ (รวมไปถีงอาชญากรทั้งหลาย) ลองใช้มุมมองส่วนตัวพิจารณาตัดสินจากข้อมูลหลักฐาน

จัดเรต 18+ แม้ไม่เห็นฉากฆาตกรรม แต่เต็มไปด้วยบรรยากาศอันตีงเครียด ตัวละครแสดงออกด้วยความคลุ้มคลั่ง

คำโปรย | M (1931) มุมมองผู้กำกับ Fritz Lang ต่อสาธารณรัฐไวมาร์ยุคสมัยนั้น ไม่ได้เรียกร้องให้ผู้ชมสงสาร แต่เข้าใจสาเหตุผลความเกรี้ยวกราด
คุณภาพ | ร์พี
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ


M

M (1931)

(14/3/2016) หนังพูดเรื่องแรกของผู้กำกับ Fritz Lang (Metropolis-1927) เรื่องราวเกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่อง (เป็น serial killer เรื่องแรกของโลก) การสืบสวน ตามล่า และการตัดสินโทษ นำแสดงโดย Peter Lorre ใบหน้าของเขาตอนที่ยอมรับว่าเป็นฆาตกร มีความน่ากลัว (horror) และติดตาผู้ชมสมัยนั้นเป็นที่สุด, นี่คือหนังระดับ masterpiece ที่คอหนังไม่ควรพลาด

Fritz Lang เป็นปรามาจารย์ผู้กำกับชาวเยอรมันที่มีผลงานมาตั้งแต่ยุคหนังเงียบ ใครๆคงรู้จัก Metropolis (1927) ภาพยนตร์แนวไซไฟเรื่องแรกของโลก, เมื่อวงการภาพยนตร์มีการเปลี่ยนยุคสมัยจากหนังเงียบมาเป็นหนังพูด Lang เช่นกันก็ต้องปรับตัว สร้างสรรค์ผลงานแรกในยุคสมัยใหม่คือ M ที่ได้สร้างปรากฏการณ์สำคัญมากๆให้เกิดขึ้น

ขณะนั้นในหน้าหนังสือพิมพ์เยอรมัน มีข่าวดังเกี่ยวกับฆาตกรเด็กเกิดขึ้นมากมาย แต่ประชาชนยังหาได้เกิดความตื่นตระหนักได้, ความตั้งใจของ Lang สร้างหนังเรื่องนี้เพื่อเตือนใจให้กับผู้ชม/ผู้ปกครอง ให้เกิดความระแวดระวัง ป้องกันลูกๆของพวกเขาให้ไม่ให้คลาดสายตา, มีนักวิเคราะห์มองว่าฆาตกรที่อาจเป็นแรงบันดาลใจของหนังคือ Peter Kürten ที่ได้ฉายาว่า Vampire of Düsseldorf ฆาตกรในช่วงปี 1920 แต่ Lang ออกมาปฏิเสธและพูดกว้างๆว่า ที่เยอรมันตอนนั้น มีฆาตกรต่อเนื่องเกิดขึ้นหลายคนแล้ว อาทิ Haarmann, Grossmann, Kürten, Denke เป็นต้น ไม่มีใครเป็นต้นแรงบันดาลใจของผมหรอก

ชื่อหนังที่ใช้ตอนแรกคือ Mörder unter uns (Murderer Among Us) แต่เยอรมันตอนนั้น Nazi กำลังมีอำนาจมากขึ้น ชื่อนี้จึงถูกสตูดิโอเข้าใจผิด คิดว่าอาจหมายถึงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวพันกับ Nazi นี่ทำให้ Lang ต้องเข้าไปอธิบายให้สตูดิโอเข้าใจ แล้วตัดสินใจเปลี่ยนชื่อหนัง เพื่อเลี่ยงประเด็นปัญหาเป็น Dein Mörder sieht Dich an (Your Killer Looks At You) และสุดท้ายตัดเหลือแค่ M: Eine Stadt sucht einen Mörder (A City searches for a Murderer) เป็นชื่อสำหรับฉายต่างประเทศ, เห็นว่าตอนที่ Lang ประกาศชื่อหนังครั้งแรก ได้จดหมายขู่ฆ่าไม่รู้จาก Nazi หรือ serial killer นะครับ

ในขั้นตอนเขียนบท Lang เข้าไปอยู่ในสถาบันทางจิตของเยอรมันเป็นสัปดาห์ๆ เพื่อศึกษาเรื่องราวของฆาตกรเด็ก และได้พบกับ Peter Kürten ด้วย ในระหว่างการถ่ายทำ ผู้กำกับยังใช้นักแสดงที่ผู้ต้องหาจริงๆเข้าฉากเป็นตัวประกอบด้วย (และคนพวกนี้ก็ถูกจับหลังการถ่ายทำ…เพื่อ!)

ดูเผินๆนี่เป็นหนังที่มีความหวังดี แต่เพราะ Lang ถือว่าเป็นศิลปินที่มีมักจะแฝงแนวคิดหรือตัวตนไว้ในหนัง ทำให้มีนักวิเคราะห์คิดกันไปว่า หนังเรื่องนี้อาจจะมีใจความแฝงในลักษณะเชิงเกลียดชัง Nazi, ถ้าเราเปรียบนาซีคือตัว Serial Killer คำพูดตอนที่ฆาตกรอธิบายการกระทำของเขา  “I can’t help myself! I haven’t any control over this evil thing that’s inside of me! The fire, the voices, the torment!” นี่เป็นการนำเสนอความชั่วร้ายที่เขารู้สึกสัมผัสได้จากองค์กรนี้ ซึ่งกับหนังเรื่องต่อไป Das Testament des Dr. Mabuse (The Testament of Dr. Mabuse) ถือว่าชัดเจนมากๆว่าเขาต่อต้าน Nazi ซึ่งเมื่อถูกค้นพบความตั้งใจนี้ Lang ต้องลี้ภัยออกจากเยอรมันไปฝรั่งเศสในปี 1933 (เห็นว่า Lang นั้นมีเชื้อสายยิวด้วย แต่ปกปิดไว้อ้างว่าเป็น Catholic เขาเลิกกับภรรยาในปีนั้นด้วยเพื่อไม่ให้ภรรยาจับได้ว่าเขาเป็นยิว)

นำแสดงโดย Peter Lorre บ้างก็ว่านี่เป็นหนังเรื่องแรก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่ 3 แต่นี่เป็นหนังพูดเรื่องแรกของเขาแน่ๆ, เดิมนั้น Lorre เป็นนักแสดงตลก แต่ได้รับบทที่ต้องใช้ความซีเรียส จริงจังในการแสดง ทีแรกก็เกิดความลังเล แต่ผู้กำกับมองเห็นมุมมืดในตัวเขาจึงเลือกมา, การแสดงของ Lorre ถือว่าเปิดประตูสู่หนังพูดยุคใหม่อย่างเต็มตัว เพราะในช่วงแรกๆของหนังพูด แทบทุกเรื่องจะมีประโยคคำพูดยาวๆ น้ำไหลไฟดับพูดไม่หยุด ซึ่งผู้กำกับเกลียดมากๆ เขาจึงได้ทำการทดลองคือ ไม่ให้ตัวละครพูดมาก แต่เมื่อใดที่พูดก็จะมีคำพูดเจ๋งๆออกมา

รับบทเป็นฆาตกรต่อเนื่อง แต่เราจะไม่ได้เห็นการกระทำของเขา (ใช้ภาษาภาพยนตร์อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะถ้านำเสนอตรงๆ คิดว่าคงไม่ได้ฉายแน่) ช่วงท้ายของหนังเป็นที่ตัวละครนี้ถูกพิพากษาโดยศาลเตี้ย ตอนสารภาพออกมาว่าเป็นฆาตกร สีหน้า คำพูด และแววตา มันหลอนมากๆ คำพูดที่เขาใช้อธิบายเหตุผลของการกระทำ I can’t help myself! … เราสามารถรู้สึกได้ทันที ว่าหมอมันจิตไม่ปกติแน่ๆ สีหน้าของเขาว่ากันว่าเป็นภาพติดตาที่ทำให้คนสมัยนั้นเข้าใจว่า ฆาตกรมันต้องหน้าตาแบบนี้แหละ! หนังเรื่องต่อๆมาของ Peter Lorre เขาก็มักจะได้รับบทคล้ายๆกันนี้ The Man Who Knew Too Much (1934) ของ Alfred Hitchcock หรือใน Casablanca (1942) ที่พอเราเห็นตัวละครนี้ก็แทบจะรู้เลยว่า หมอนี่ไม่ใช่คนดีแน่

ถ่ายภาพโดย Fritz Arno Wagner เราจะได้เห็นมุมกล้องแปลกๆ rat’s-eye view ผมชอบชื่อนี้นะครับ สมัยนี้เปลี่ยนมาเรียกว่า ant’s eye view (เพราะมันดูดีกว่า) มีฉากหนึ่งที่ถ่ายจากใต้โต๊ะ วางกล้องกับพื้นถ่ายมุมเงย เหตุผลของฉากนี้คือ คนที่อยู่ในกล้องคือกลุ่มของอาชญากร (criminal) มุมกล้อง rat’s-eye view ชื่อมันก็บอกชัดเจนว่าคนกลุ่มนี้คือชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม … อีกฉากที่ผมชอบมากๆคือ การถ่ายภาพจากกระจก สะท้อนภาพบางอย่าง ที่บอกถึงสิ่งที่อยู่ในใจของตัวละคร นี่เป็นภาพที่สวยมากๆ Lang เอาเทคนิคนี้ที่เคยใช้จากตอนทำหนังเงียบ นี่แหละครับผู้กำกับที่อยู่ในช่วงยุคเปลี่ยนผ่าน เขาจะผสมผสานเทคนิคของทั้งสองยุคได้อย่างยอดเยี่ยม

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/d/de/LangM.jpg

เห็นว่าฉากที่ฆาตกรพยายามหลบหนีจากศาลเตี้ย แล้วเขาถูกถีบตกบันไดหลายครั้ง นั่นนักแสดงโดนถีบจริงๆ ตกจริงๆ ผมได้ยินว่า Lang เป็นผู้กำกับที่มีสไตล์คล้ายกับ Carl Theodor Dreyer คือมีความ sadism เพื่อในการให้นักแสดงเข้าใจความรู้สึกตัวละคร ด้วยการกระทำกับนักแสดงอย่างนั้นจริงๆ อย่างฉากที่หนึ่งในตัวละครพยายามเผาเชือกที่มัดข้อมืออยู่ ว่ากันว่า นั่นคือข้อมือของนักแสดงจริงๆ เชือกจริง และไฟจริงๆ หนังเรื่อง The Big Heat (1953) ผมได้ยินว่า Lang ให้นักแสดง Lee Marvin สาดกาแฟร้อนๆใส่หน้า Gloria Grahame จริงๆ

ตัดต่อโดย Paul Falkenberg มีหลายช่วงที่เราจะไม่ได้ยินเสียงตัวละครพูดในหนัง อย่างที่บอกไป Lang ได้ทำการทดลองโดยไม่ให้ตัวละครพูดออกมาตลอดเวลา มีหลายครั้งที่ใช้ภาพเป็นการเล่าเรื่อง จุดบุหรี่ ดูดควัน ภาพรถตำรวจวิ่งไปมา (บางครั้งได้ยินแต่เสียงประกอบ แต่ไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น) ฉากศาลเตี้ยช่วงท้ายๆ ผมรู้สึกเหมือนกำลังดู The Passion of Joan of Arc เวอร์ชั่นที่มีเสียงพูด ความรู้สึกมันคล้ายกันเลย ในฉากที่ลูกขุนขยับปากกล่าวหา Joan of Arc เราไม่ได้ยินว่าคนพวกนี้พูดอะไร ถ้าเขาพูดได้คงเหมือนกับที่ตัวละครในฉากศาลเตี้ยพูดออกมา เห็นว่า Lang ได้แรงบันดาลใจฉากนี้มาจากหนังเรื่องนี้เช่นกัน

เพลงประกอบโดย Edvard Grieg นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Leitmotif ประกอบหนัง หนังเสียงยุคแรกๆ ถ้านักแสดงไม่พูดจนปากเปื่อยปากแฉะ ก็ใช้ Orchestra บรรเลงประกอบทั้งเรื่องไปเลย แต่ M ใช้ดนตรีท่อนหนึ่งที่เรียกว่า Leitmotif ประกอบหนังเป็นช่วงๆ ใส่เฉพาะจังหวะสำคัญๆ ไม่ใส่ทั้งหมด เสียงผิวปากในหนังถือว่าเด่นมาก เห็นว่า Peter Lorre ผิวปากไม่เป็น เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงผิวปากของ co-writer และภรรยาของ Lang ช่วยกันผิว โดยใช้เพลงประกอบคือ In the Hall of the Mountain King แต่งโดยคีตกวีชาวนอร์เวย์ Edvard Grieg (ยุค romantic era) มาจาก Peer Gynt Suite No. 1. เพลงนี้เดิมก็ดังอยู่แล้ว และดังขึ้นไปอีกหลังจากหนังเรื่องนี้ฉาย ไปฟังออเครสต้าเพราะๆดูนะครับ บรรเลงโดย Berliner Philharmoniker

หนังเรื่องนี้ ถ้ามาสร้างในปัจจุบันคงไม่มี impact เท่าไหร่ เห็นว่ามีเวอร์ชั่น remake เป็นภาษาอังกฤษ กำกับโดย Joseph Losey นำแสดง David Wayne ใช้ชื่อเดิม M ฉายปี 1951 มีผลตอบรับไม่ดีเท่าไหร่ มีคนไปสัมภาษณ์ Lang ว่าทำไมเขาถึงไม่ remake หนังเรื่องนี้ด้วยตัวเอง Lang บอกเขารู้สึกพอใจ M ในฉบับนั้นแล้ว “People ask me why I do not remake M in English. I have no reason to do that. I said all I had to say about that subject in the picture. Now I have other things to say.” (เห็นว่า Lang ให้ M ที่เขาสร้างเอง เป็นหนังโปรดของตนด้วย) กระนั้นเขาก็ดีใจที่ได้เห็นหนังตัวเองถูก remake “I had the best reviews of my life”

นี่เป็นหนังที่ไม่มีพระเอก ผมมองฆาตกรว่าเป็นตัวร้ายนะครับ แล้วพระเอกคือใครกัน? หนังใช้กลุ่มตำรวจ และกลุ่มอาญากรใต้ดิน เป็นผู้ตามที่ออกตามล่าฆาตกร นักแสดงที่เด่นเป็นอันดับ 2 ของหนังคือ Otto Wernicke เล่นเป็น Inspector Karl Lohmann ผมไม่คิดว่าเขามีความสำคัญต่อหนังถึงขนาดต้องพูดถึงเลย มองแบบนี้แล้วก็ไม่มีใครเป็นพระเอก นางเอกไม่มีแน่นอน หนังใช้การเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ เราจะเห็นวิธีการของทั้งตำรวจและอาญากรในการตามหาฆาตกรคนนี้ ซึ่งเขาเป็นคนธรรมดาๆทั่วๆไป การตามหาเขาเหมือนงมเข็มในมหาสมุทรมาก ถ้าเป็นสมัยนี้ ผมเชื่อว่าหนังต้องสร้างพระเอกขึ้นมาคนหนึ่ง ที่สามารถไขปริศนาตามหาฆาตกรได้แน่ๆ เพราะพระเอกนี่แหละจะเป็นศูนย์กลางของหนัง ไม่ว่าเขาจะเป็นตำรวจหรือเป็นผู้ร้าย แต่สำหรับ M ผมมองว่ามันไม่มีจุดศูนย์กลางของหนัง ฆาตกรก็ไม่เชิงเป็นจุดศูนย์กลางของหนัง Lang ใช้การเล่าเรื่องของคนกลุ่มต่างๆไปข้างหน้าพร้อมๆกัน เดี๋ยวตัดไปตำรวจ เดี๋ยวตัดไปกลุ่มอาชญากร เดี๋ยวตัดไปที่ฆาตกร ไม่มีเรื่องไหนเด่นกว่า มันทำให้เราลุ้นว่าใครจะจับฆาตกรได้ก่อน (ระหว่างตำรวจกับอาชญากร) ผมว่ามันเป็นความบังเอิญมากๆที่หาฆาตกรเจอ เอาจริงๆมันก็ไม่ชัวร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ด้วยถ้าเขาไม่รับสารภาพออกมา

เราจะไม่เห็นฉากการฆาตกรรมในหนัง แต่จะใช้การพูดอธิบายออกมา บางครั้งก็ใช้ภาพนำเสนอแบบเลี่ยงๆ เช่น ฉากที่ลูกโป่งลอยไปติดเสาไฟ มันดูไม่มีอะไรเลยนะ แต่ถ้าบอกว่านั่นคือฉากที่บอกถึงการฆาตกรรม มันน่าทึ่งมากๆว่าผู้กำกับคิดได้ยังไง ผมว่าการที่ตัวละครพูดอธิบายการกระทำและเหตุผลออกมา เป็นเทคนิคที่อาจจะน่ากลัวกว่าการเห็นฉากฆาตกรรมจริงๆเสียอีก ในฉากศาลเตี้ย แม่ที่พูดความรู้สึกของตนขณะลูกตัวเองหายไป (เพราะอาจถูกฆ่า) ไม่รู้จริงแท้หรือได้รับการปรุงแต่งมามากแค่ไหน จริงๆมันอาจจะไม่ได้โหดร้ายเลยก็ได้ แต่เพื่อให้คนอื่นเข้าใจ รู้สึกถึงความทุกข์ที่ตนเองได้รับ คำพูดจึงถูกใส่ไฟให้มันลุกลามไปสู่จิตใจคนอื่น มันเลยดูสมจริงเกินกว่าปกติไปมาก (นี่แหละที่เรียกว่า พูดใส่ไฟ) การหลีกเลี่ยงฉากความรุนแรงในหนัง ก็เพื่อไม่ให้หนังมีความรุนแรงมากเกินไป

ผมค่อนข้างชอบหนังเรื่องนี้ แต่ไม่ถึงกับหลงรักมัน ผมรู้สึกวิธีการแก้ปัญหาของหนังเรื่องนี้มันดูเกินจริงไปหน่อย อย่างศาลเตี้ย มันทำให้ผมรู้สึกว่าผู้คนใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา มากกว่าที่จะเข้าใจคนอื่น ผมไม่พูดว่ากฎหมายคือสิ่งที่ดีที่สุด กฎแห่งกรรมเนี่ยแหละตรงที่สุดแล้ว คนผิดอาจจะไม่ได้ชดใช้ผิดในชาตินี้ แต่สิ่งที่เขาทำมันส่งผลต่อชาติต่อๆไปแน่ คนที่ตัดสินว่าเขาไม่ดีต่างหากที่ผลกรรมอาจจะมากกว่าตัวคนทำผิดเองอีก ผมเปรียบคนที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหาเหมือนเชื้อโรค ที่แพร่กระจายโรคติดต่อไปสู่คนอื่นด้วยคำพูด ด้วยการทำให้เขาเข้าใจอารมณ์โกรธ เกลียดของเรา เมื่อเราเห็นด้วยกับคนพวกนี้ ก็เท่ากับเรากลายเป็นคนติดโรคไปกับเขาด้วยแล้ว ผมคิดว่าในชีวิตจริง ถ้าฆาตกรถูกจับได้ โอกาสรอดต่ำมาก ส่วนใหญ่ก็จะโดนประชาทัณฑ์ อยู่ในคุกก็โอกาสรอดยาก เหตุการณ์แบบในหนังจึงแทบเป็นไปไม่ได้

ผมแนะนำหนังเรื่องนี้ให้กับคนชอบดูหนังแนวสืบสวน สอบสวน ฆาตกรรม หนัง serial killer เรื่องแรกของโลกไม่ควรพลาดเลย คนชอบหนังเก่าๆ ดีๆ นี่เป็นหนังที่มีแนวคิดน่าสนใจมากๆเรื่องหนึ่ง เต็มไปด้วยเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม จัดเรต 15+ กับความรุนแรงทางคำพูดที่รุนแรงกว่าภาพที่เห็น

คำโปรย : “M ผลงาน masterpiece หนังเสียงเรื่องแรกของผู้กำกับ Fritz Lang ว่ากันว่านี่คือหนัง Serial-Killer เรื่องแรกของโลก นำแสดงโดย Peter Lorre ใบหน้าฆาตกรของเขากลายภาพติดตาของคนทั้งโลก คอหนังคลาสสิคไม่ควรพลาด”
คุณภาพ : RARE-GENDARY
ความชอบ : LIKE

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: