
My Life as a Zucchini (2016)
: Claude Barras ♥♥♥♡
เด็กชายวัย 9 ขวบ บังเอิญผลักมารดาตกบันไดเสียชีวิต เขากำลังต้องเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Stop-Motion Animation ช่างมีความมหัศจรรย์ ต้องมนต์ขลัง
เรื่องราวของ My Life as a Zucchini (2016) ถ้าสร้างเป็นภาพยนตร์คนแสดง หรืออนิเมชั่นสามมิติ ผมเชื่อว่าจะได้ผลลัพท์แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง, Live-Action มันดูสมจริง เหี้ยมโหดร้ายเกินไปสำหรับเด็กๆ และการจะหานักแสดงรุ่นเล็กมารับบท ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิด!, ขณะที่ 3D Animation มันคงขาดอารมณ์ร่วม สัมผัสจับต้องไม่ได้สักเท่าไหร่
การเลือก Stop-Motion Animation มานำเสนอเรื่องโศกนาฎกรรมของเด็กวัย 9 ขวบ ถือว่ามีความน่าสนใจทีเดียว เพราะเทคนิคดังกล่าวมีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่าง Live-Action และ Animation มันจึงให้ความรู้สึกครึ่งจริง-ครึ่งไม่จริง (รับรู้ว่าหุ่นปั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่กลับขยับเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกจับต้องได้) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมอย่างน่าฉงน
The scene where he kills the mother. If it was live action, you’d think — we’re putting a real kid through that? It allows you to go further I think, politically. There’s a little distance with the fact that it’s a puppet. It’s not a cold distance but you’re more surprised by your own emotions and how you relate to an object that is obviously a puppet.
Céline Sciamma
นอกจากงานสร้าง Stop-Motion สิ่งน่าสนใจมากๆสำหรับ My Life as a Zucchini (2016) คือการดัดแปลงบทของ Céline Sciamma ซึ่งเต็มไปด้วยลูกเล่นลีลา ลดบทพูด ตัดเสียงบรรยาย ส่วนใหญ่ใช้ภาษากาย สื่อสารด้วยการขยับเคลื่อนไหว (และภาษาภาพยนตร์) แต่น่าเสียดายที่หนังค่อนข้างสั้น อารมณ์(ของผู้ใหญ่)เลยยังเติมไม่เต็มสักเท่าไหร่ (แต่ก็เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายคือเด็กๆ ยาวกว่านี้คงจะตึงเครียดเกินไป)
Claude Barras (เกิดปี 1973) ผู้กำกับ/นักอนิเมเตอร์ ศิลปินสรรค์สร้าง Stop-Motion Animation เกิดที่ Sierre, Switzerland โตขึ้นเดินทางสู่ Lyon ร่ำเรียนการออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ École Emile Cohl จบออกมาเริ่มจากรับงานฟรีแลนซ์ สรรค์สร้างหนังสั้นทั้งสองมิติและสามมิติ Mélanie (1998), Casting Queen (1999), กระทั่งค้นพบความสนใจใน Stop-Motion จากเพื่อนสนิท Cédric Louis ร่วมงานกันตั้งแต่ The Genie in a Ravioli Can (2006)
เห็นว่าเป็น Louis ได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเยาวชน Autobiographie d’une Courgette (2002) เมื่อประมาณปี 2006 เลยชักชวน Barras ให้ร่วมดัดแปลงสร้างเป็น Stop-Motion Animation แต่เพราะพวกเขายังขาดประสบการณ์ทำงาน (และความเชื่อมั่นใจว่าจะทำออกมาสำเร็จ) จึงทดลองสรรค์สร้าง Stop-Motion ขนาดสั้น Sainte Barbe (2007) และ Au Pays Des Tetes (2008)
และเมื่อค้นพบความเชื่อมั่นในตนเอง เลยสรรค์สร้างตอน Pilot ขนาดสั้นความยาวสามนาที Zucchini (2010) สำหรับมองหาโปรดิวเซอร์/ผู้จัดจำหน่าย ขอทุนสำหรับสรรค์สร้างโปรเจคดังกล่าว … หนังสั้นเรื่องกล่าวก็คือบทสัมภาษณ์ (นักพากย์) Zucchini ที่อยู่ช่วง Mid-Credit ของหนังนะครับ
Autobiographie d’une Courgette แปลว่า Autobiography of a Zucchini แต่งโดย Gilles Paris (เกิดปี 1959) นักเขียน/นักข่าว สัญชาติฝรั่งเศส ผมไม่แน่ใจนักว่านวนิยายเรื่องนี้คืออัตชีวประวัติของผู้เขียนหรือไม่ แต่ใช้การเล่าเรื่องผ่านมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ซึ่งก็คือ Courgette หรือ Zucchini (ชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ)
เกร็ด: นวนิยายเล่มนี้ เคยได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายโทรทัศน์ C’est mieux la vie quand on est grand กำกับโดย Luc Béraud ออกอากาศเมื่อปี 2008 แต่เสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่
ความประทับใจใน Tomboy (2011) [ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กๆ พยายามปกปิด/ซุกซ่อนเร้นบางสิ่งอย่างจากเพื่อนคนอื่นๆ] ทำให้ Barras ร้องขอให้โปรดิวเซอร์ติดต่อหา Céline Sciamma เพื่อดัดแปลงบทจากนวนิยาย Autobiographie d’une Courgette … ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งทีเดียว
Sciamma ให้สัมภาษณ์ว่ามีโอกาสพบเห็นภาพร่างตัวละคร ซึ่งช่วยในการพัฒนาบทอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เธอจึงพยายามใส่ mise-en-scène คำอธิบายรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง (องค์ประกอบฉาก, การจัดแสง, เครื่องแต่งกาย และการแสดง) เพื่อให้ทีมงานนำไปปรับใช้ในงานสร้างได้โดยทันที
When they asked me to write the script they did already have sketches of the characters. So it really felt like writing for a character. I knew all the faces, not the voices, but the looks. It helped with the writing, like knowing an actor and writing for them. I already felt intimacy.
I put a lot of mise-en-scène in the script – I’m quite accurate about it, the rhythm of the scene and a take.
Céline Sciamma
บทหนังที่ได้มาถูกปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อยโดย Claude Barras, Morgan Navarro และ Germano Zullo (ในเครดิคขึ้นเพียง Contributing Writer) แต่รายละเอียดเนื้อหาหลักๆยังคงเดิม ซึ่งเมื่อ Sciamma มีโอกาสรับชมหนังครั้ง ก็รู้สึกรบกวนจิตใจเล็กๆที่แทบไม่มีเนื้อหาแตกต่างจากบทที่เขียน (อย่างภาพยนตร์ Live-Action อย่างน้อยมันจะมีการ ‘Improvised’ ปรับเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ถ่ายทำ แต่สำหรับ Animation ส่วนใหญ่ก็สร้างตามบทเปะๆ นักอนิเมเตอร์แทบไม่สามารถปรับเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทั้งนั้น)
It was quite disturbing how much of the film was exactly what I wrote. The thing that struck me was how sensitive the animation was, the movements. I think it’s pretty rare and true. The way they hold hands, that was insane. I didn’t think it would be that, I don’t know
เรื่องราวมีพื้นหลัง Switzerland ช่วงทศวรรษ 2010s, เด็กชายวัย 9 ขวบชื่อ Icare (แต่ชอบให้เรียกว่า Courgette หรือ Zucchini) วันหนึ่งผลักมารดาในสภาพเมามายตกบันไดเสียชีวิต เลยถูกส่งตัวไปสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แรกๆยังเต็มไปด้วยความทุกข์โศก เศร้าเสียใจ แต่หลังจากค่อยๆปรับตัว สนิทสนมผองเพื่อนใหม่ๆ และการมาถึงของ Camille กลายเป็นรักแรกพบที่ต่างให้ความช่วยเหลือ กำลังใจต่อกัน จนกระทั่งทั้งสองได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ Raymond รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
สำหรับนักพากย์เด็กๆ ทั้งหมดล้วนเป็นมือสมัครเล่น (non-professional) ที่ผ่านการออดิชั่น (แบบเดียวกับ Mid-Credit ของหนัง) โดยเลือกคนที่มีบุคลิกภาพ(และน้ำเสียง)สอดคล้องเข้ากับตัวละคร เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ต้องปรุงปั้นแต่งอะไรมาก
ซึ่งวิธีการบันทึกเสียงจะไม่ใช่การอ่านตามบทพูด(ที่นิยมทำตามสตูดิโอทั่วไป) ทีมงานลงทุนสร้างฉากภายในสตูดิโอ จัดแต่งเฟอร์นิเจอร์ สิ่งข้าวของต่างๆ ให้มีลักษณะใกล้เคียงรายละเอียด(ที่จะทำ Stop-Motion) แล้วมอบอิสระเด็กๆในการละเล่น ทำการแสดง บันทึกภาพและเสียงไปพร้อมๆกัน (ซึ่งการแสดงของเด็กๆเหล่านั้น จะถูกนำไปใช้อ้างอิงในโปรดักชั่นอีกด้วย) … ใช้เวลาในส่วนนี้ทั้งหมด 6 สัปดาห์ (เท่ากับโปรดักชั่นหนังเรื่องนึงเลยนะ)
ในส่วนการออกแบบตัวละคร มองผิวเผินก็ดูเหมือนหุ่นปั้นดินน้ำมันทั่วๆไป และใส่กลไกสำหรับขยับเคลื่อนไหวอยู่ภายใน แต่การออกแบบถือว่ามีความเฉพาะตัวอยู่ไม่น้อยเลยละ
- ลักษณะศีรษะมีขนาดเกือบๆ 1 ใน 3 (ของร่างกาย) ขณะที่รูปทรงมีทั้งกลม เรียว แหลม ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยใจคอของตัวละครนั้นๆ
- ดวงตาโต (Big Eye) แต่ผมรู้สึกว่าขนาดเท่ากันหมดนะ (แค่ใหญ่กว่าตาปกติของมนุษย์ก็เท่านั้น)
- ความท้าทายอยู่ที่เปลือกตา จะพบเห็นการกระพริบบ่อยครั้งมากๆ ซึ่งสะท้อนสภาวะทางอารมณ์ตัวละครออกมา
- ทรงผม ก็บ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ได้ด้วยเช่นกัน
- มีเด็กคนหนึ่งที่มักปัดผมลงปิดตาข้างหนึ่ง นั่นสะท้อนถึงการขาดความมั่นใจในตนเอง (เหมือนเพราะตาข้างนั้นมีรอยแผลเป็น ไม่อยากให้ใครพบเห็น) แต่หลังจาก Camille พยายามปัดขึ้นให้ตลอดเวลา เขาจึงค่อยๆบังเกิดความหาญกล้าขึ้นมาเล็กๆ
- ผมชอบทรงผมของ Simon มากสุดนะ สีส้มแดงแรงฤทธิ์ เริดเชิดขึ้นข้างบน และไม่ปิดบังรอยแผลเป็น พร้อมเผชิญหน้าทุกสิ่งอย่าง

ขณะที่ไฮไลท์ของการออกแบบตัวละครคือแขนยาว (Long Arms) ทำจากลวดอลูมิเนียม ไม่มีข้อศอก เพื่อให้สามารถขยับเคลื่อนไหวในท่วงท่ายากๆ อาทิ กอดอก กอดเข่า วางอย่างห่อเหี่ยว ฯ ใช้สื่อแทนสภาพอารมณ์/สภาวะจิตใจของตัวละคร (คล้ายๆดวงตาคือหน้าต่างหัวใจ แต่อนิเมชั่นเรื่องนี้ใช้แขนยาวเพื่อแทนภาษากายแสดงออกมา)
The length of the arms was determined for the characters to be able to put their hands in front of their eyes so as not to force the animation too much. In order to reduce the Orangutan effect, we made arms with an aluminum wire armature, no elbow, so that they could be bent throughout the film to prevent having the hands too close to the ground in neutral position.
Claude Barras



งานศิลป์ของหนัง หลายคนอาจรู้สีกถีงความละม้ายคล้าย ‘Tim Burton style’ ทั้งห้องใต้หลังคา (ที่ชวนให้นีกถีง Sweeney Todd (2007) กับสายล่อฟ้าใน Frankenweenie (2012)) และสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า (ส่วนผสมของ Beetlejuice (1988)) แต่ผมครุ่นคิดว่ามีความเป็น Brutalism (Brutalist Art) เน้นความเรียบง่าย (Minimalist) มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์มากกว่าความสวยงาม ซี่งสะท้อนค่านิยมทางสังคมที่ผู้คนมักมาก เห็นแก่ตัว สนเพียงผลประโยชน์กำไร ไม่ใคร่สนใจ/ครุ่นคิดถีงสภาพจิตใจของผู้อื่น (โดยเฉพาะครอบครัวของเด็กๆที่ถูกทอดทิ้งขว้างเหล่านี้)
ส่วนทิวทัศน์ธรรมชาติ ให้สัมผัสของ Primitivism (Primitive Art) แต่มีความเวิ้งว่างเปล่า ต้นไม้ขี้นห่างๆ ไกลสุดลูกหูลูกตา นี่ไม่ใช่เพราะทุนสร้างไม่เพียงพอนะครับ แต่จงใจให้สื่อถีงความแห้งแล้งของจิตใจมนุษย์ ทอดทิ้งเด็กๆในสถานที่ห่างไกล ไม่มีใครใคร่เหลียวแล




หนังเต็มไปด้วยอารมณ์ขันที่ทั้งฮากลิ้ง และเศร้าสลดในคราเดียวกัน (นี่ต้องชม Céline Sciamma ครุ่นคิดได้ยังไง) แต่ผมขอเลือกเด่นๆที่หลายคนอาจครุ่นคิดไม่ทันมาแนะนำกัน
ว่าวของ Zucchini ด้านหน้าวาดรูปพ่อที่เหมือนเป็น Superheo ไม่เคยอยู่บ้านเพราะมัวกอบกู้โลก ส่วนด้านหลังวาดรูปไก่ (Chick) เป็นศัพท์แสลงที่เด็กๆอาจยังไม่เข้าใจ หมายถีงหญิงสาว (สื่อถีงการที่พ่อไม่เคยกลับมาบ้าน เพราะมัวติดสาวๆสวยๆ แต่งงานมีเมียใหม่ไปแล้วกระมัง), ส่วนตอนท้ายเจ้าไก่จะถูกแทนที่ด้วยภาพถ่ายเพื่อนๆ สะท้อนถีงบุคคลที่ช่วยให้เขาก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาร้ายๆ พวกเขาจักคงอยู่ในความทรงจำชั่วนิรันดร์



ภาพวาดของ Zucchini แม้งโคตรจะ…18+ จินตนาการของเด็กๆมันช่างบริสุทธิ์เสียเหลือเกิน ซี่งการตั้งชื่อทารก Spider (บุตรของผู้ดูแล) ก็เพื่อสื่อถีงการเป็นบุคคลผู้สามารถเชื่องโยงใย สานสายสัมพันธ์ให้ทุกคนมีความสนิทสนมใกล้ชิดเชื้อ


กระบองเพชร คือสัญลักษณ์ของความโดดเดี่ยว อ้างว้าง โดยปกติมักเจริญเติบโตท่ามกลางทะเลทราย สถานที่อันแห้งแล้ง ธุรกันดาร ไม่ค่อยได้รับความชุ่มฉ่ำ (ไม่มีแหล่งน้ำงอกงามขี้นได้) ซี่งสะท้อนสภาพจิตใจของ Raymond อาศัยอยู่ตัวคนเดียว เปล่าเปลี่ยวหัวใจ ต้องการรับเลี้ยงเด็กๆเพื่อเติมเต็มความเวิ้งว้างเปล่าภายใน

ด้วยทุนสร้างที่จำกัด ทำให้หนังสามารถว่าจ้างนักอนิเมเตอร์ได้เพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ซึ่งก็มอบหมายการทำงานหนึ่งคนหนึ่งฉาก (นี่ยังไม่รวมทีมงานอื่นๆ ช่างภาพ คนจัดแสง ออกแบบฉาก ฯ) โดยเฉลี่ยแล้ววันหนึ่งถ่ายได้ประมาณ 3 วินาที (ผมไม่แน่ใจหนังใช้เฟรมเรตเท่าไหร่ แต่คาดว่าน่าจะ 20 fps/ภาพต่อวินาที) รวมๆแล้วในส่วนโปรดักชั่นใช้เวลา 9 เดือนกว่าจะเสร็จสิ้น

ตัดต่อโดย Valentin Rotelli, ดำเนินเรื่องผ่านมุมมองสายตาของเด็กชาย Icare ขณะใช้ชีวิตในชื่อ Zucchini (หรือ Courgette) ตั้งแต่สูญเสียมารดา ถูกส่งไปยังสถานกำพร้า จนกระทั่งได้รับการอุปถัมถ์โดย Raymond ในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 ปี (เริ่มต้นฤดูฝน ใบไม้ร่วง หิมะตก และใบไม้แรกผลิ)
ลักษณะการดำเนินเรื่องของหนัง แบ่งเรื่องราวออกเป็นตอนๆ (Episode) แต่ก็สามารถจัดรวมทั้งหมด 3 องก์/ช่วงอารมณ์ (ไม่นับรวมอารัมบท+ปัจฉิมบท)
- อารัมบท: โศกนาฎกรรมของ Zucchini
- ช่วงเวลาซีมเศร้าโศกเสียใจ
- Zucchini ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ Raymond
- ถูกส่งตัวเดินทางถีงสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า
- พบปะเพื่อนใหม่ (ช่วงแรกๆ Zucchini ยังจมอยู่ในความเศร้าโศก)
- ค่อยๆปรับตัว คลายจากความเศร้าซีม
- หลังชกต่อยเอาชนะ Simon ก็ค่อยๆเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสถานที่แห่งนี้
- การมาถีงของ Camille ทำให้ Zucchini ตกหลุมรักแรก(พบ)
- ท่องเที่ยวเมืองหิมะ โยกเต้น เล่นสกี
- การเผชิญหน้า ต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย
- อดีตของเด็กๆเริ่มหวนกลับมาหา
- แผนการตลบหลังน้าของ Camille ด้วยการให้เธอซ่อนตัวในกระเป๋าขณะ Raymond พา Zucchini ไปท่องเที่ยวสวนสนุก
- Camille ถูกน้าลักพาตัว แต่แผนการชั่วร้ายก็ถูกเปิดโปง
- งานเลี้ยงปาร์ตี้ประจำปี
- ปัจฉิมบท: เริ่มต้นครอบครัวใหม่ของ Zucchini (และ Camille)
เพลงประกอบโดย Sophie Hunger ชื่อจริง Émilie Jeanne-Sophie Welti (เกิดปี 1983) นักร้อง นักดนตรี และแต่งเพลงสัญชาติ Swiss เกิดที่ Bern, Switzerland แล้วไปเติบโตที่ London ก่อนมาปักหลักอยู่กรุง Berlin ขณะออกอัลบัมแรก Monday’s Ghost เมื่อปี 2008
งานเพลงของหนัง ผมรู้สีกว่ามีลักษณะ ‘Expermential’ ด้วยการใช้เสียงเครื่องดนตรีที่แตกต่างออกไป (เปียโน, กีตาร์, เบส, กลอง, เชลโล ฯ) บรรเลงท่วงทำนองสอดคล้องสภาวะทางอารมณ์/สภาพจิตใจตัวละครขณะนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จีงไม่เน้นความไพเราะหรือกลมกลืนกับพื้นหลัง แค่ว่าพอเข้ากันได้และสื่อความหมายออกมา
บทเพลงที่เด็กๆโยกเต้น แดนซ์กระจายยังรีสอร์ทตากอากาศคือ Eisbär (1981) ภาษาเยอรมันแปลว่า Polar Bear โดยวงร็อค Grauzone เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ นี่เป็นบทเพลงแนว Neue Deutsche Welle หรือ Post-Punk (ของ West German) โดยเนื้อคำร้องกล่าวถีงชายคนหนี่งอยากเป็นหมีขั้วโลก เพราะจะได้ไม่ต้องกรีดร้อง ร่ำร้องไห้ หรือหลั่งน้ำตา และชีวิตก็จะไม่เศร้าโศกเสียใจไปกว่านี้
สำหรับ Closing Song คือบทเพลง Le Vent nous portera (แปลว่า The Wind will Carry Us) แต่งโดย Bertrand Cantat, ขับร้องโดย Sophie Hunger รวมอยู่ในอัลบัม 1983 วางจำหน่ายปี 2010
สำหรับเนื้อคำร้องกล่าวถีงการออกเดินทาง (ของตัวละคร Zucchini) อย่าไปคาดหวัง ตั้งเป้าหมาย ปล่อยให้สายลมแห่งโชคชะตาพัดพาไป แล้วสักวันหนี่งก็(อาจ)จะถีงเส้นชัยด้วยตัวเอง (กล่าวคือ Zucchini แม้เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ร้ายๆ แต่เมื่อกาลเวลาเคลื่อนพานไป เขาก็ได้พบเจอสิ่งดีๆย้อนกลับมาหาตนเอง)
เด็กตัวเล็กๆที่ร่างกายยังอ่อนแอ แต่ไม่น่าเชื่อพวกเขามีความเข้มแข็งแกร่งทางจิตใจมากกว่าผู้ใหญ่(บางคน)เสียอีก! นั่นเพราะประสบการณ์ชีวิตของพวกเขายังน้อยนิด บางครั้งก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งสูญเสียไปนั้นสลักสำคัญต่อตนเองประการใด เมื่อได้พบเจอสิ่งใหม่ๆน่าสนใจกว่า ก็พร้อมปล่อยปละละทอดทิ้งของเก่า … แปลกที่คนเรามักเรียกพฤติกรรมเหล่านั้นว่า ไร้เดียงสา
ความเข้มแข็งแกร่งทางจิตใจของเด็กๆ เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรศึกษาไว้บ้างนะครับ อย่าไปมองว่าพวกเขาไม่ได้ต้องแบกภาระ ความรับผิดชอบ หรืออ้างคำ ‘ไร้เดียงสา’ เพราะไม่ว่าใคร วัยไหน อายุเท่าไหร่ เมื่อต้องประสบโศกนาฎกรรม ย่อมต้องตกอยู่ในความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ (เด็กๆก็เช่นกัน) แต่พวกเขาเหล่านั้นเรียนรู้ที่ปลดปล่อยวาง ละทอดทิ้งความเจ็บปวด เพราะมันไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์อันใดต่อตนเอง ดำเนินชีวิตต่อไปวันข้างหน้า อีกไม่นานประเดี๋ยวก็หลงลืม
เรื่องราวของ My Life as a Zucchini แม้เริ่มต้นด้วยโศกนาฎกรรม แต่เอาจริงๆผมรู้สึกว่านั่นความโชคดีแรกของ Zucchini เพราะมารดาของเขาเอาแต่ดื่มสุรามึนเมามาย ถ้าไม่ตกบันไดตาย เด็กชายอาจเติบโตขึ้นกลายเป็นเด็กมีปัญหา ต่อต้านสังคม ก่ออาชญากรรม ฯลฯ
แม้มารดาติดเหล้าอย่างหนัก แต่เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ Zucchini สามารถพึ่งพักพิง เขาจึงบังเกิดความโหยหาอาลัย จมปลักอยู่ในความทุกข์เศร้าโศก จนกระทั่งถูกส่งมาอาศัยยังสถานกำพร้า พบเจอผองเพื่อนที่เคยพานผ่านอะไรๆคล้ายกันมา นั่นทำให้เด็กชายค่อยๆสามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลง เปิดมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ค่อยๆเบิกบานด้วยรอยยิ้ม อิ่มเอมสุขฤทัยเมื่อได้ตกหลุมรักแรก Camille
สรุปแล้วทิศทางชีวิตของ Zucchini หรือ Courgette เริ่มต้นจากจุดตกต่ำสุด (แต่อาศัยอยู่ห้องใต้หลังคา) ค่อยๆไต่ระดับไปเรื่อยๆจนมาถึงจุดสูงสูง/ค้นพบเจอความสุขของชีวิต (จากการได้ผู้อุปถัมภ์ กลายเป็นบุตรบุญธรรมพร้อมความรักอย่างแท้จริง)
การได้เรียนรู้จักความรัก ทำให้ชีวิตของ Zucchini มีความสดใสดูดีขึ้นทันตา ทั้งจากเพื่อนสนิท Simon, หญิงสาวรักแรก Camille และบิดาบุญธรรม Raymond ทุกบุคคลเริ่มจากคนไม่รู้จัก ค่อยๆพัฒนาสานความสัมพันธ์ จนสนิทสนมชิดเชื้อ ไว้เนื้อเชื่อใจ และในที่สุดก็สามารถกลายเป็นที่พึ่งพักพิง(ทางใจ)ให้กันและกัน
I wanted to adapt Gilles Paris’ book because I wanted to make a film about children that addresses ill-treatment of children and remedies for abuse in today’s world; an entertaining film that makes you laugh and cry, but especially a firmly committed film that happens in the here and now and tells you about the strength of resilience amongst a group of friends, advocating empathy, comradery, sharing and tolerance.
Claude Barras
เกร็ด: หลายคนอาจสับสนกับชื่อหนัง My Life as a Zucchini หรือ Courgette จริงๆแล้วทั้งสองคำต่างแปลว่า บวบ (พืชล้มลุกที่นำมาทำอาหาร คนไทยชอบรับประทานกับน้ำพริกอร่อยนักแล) ขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาของประเทศนั้นๆ ขณะที่ชื่อหนังภาษาฝรั่งเศส Ma vie de Courgette
ช่วงชีวิตที่ฉันเป็น Zucchini หรือ Courgette น่าจะสื่อถึงช่วงเวลาที่เด็กชายไร้ผู้ปกครอง บุคคลให้พึ่งพักพิง (ตั้งแต่สูญเสียมารดา จนตอนจบพบเจอครอบครัวบุญธรรมใหม่) เขาจึงมีความอ่อนแอ บอบบางทางจิตใจ (เหมือนบวบ?)
หนังเข้าฉายเทศกาลหนังเมือง Cannes ในรอบ Directors’ Fortnight ได้รับคำชื่นชมดีล้นหลาม จนสามารถเข้าชิง Oscar และ Golden Globe สาขา Best Animated Feature (พ่ายให้ Zootopia (2016))
แต่ด้วยทุนสร้าง $8 ล้านเหรียญ กลับทำเงินได้เพียง $5.8 ล้านเหรียญ ถือว่าน่าผิดหวังโดยสิ้นเชิง! ถีงอย่างนั้นผมไม่คิดว่าปัญหาเกิดจาก Stop-Motion Animation เหตุผลหลักๆคือเนื้อเรื่องราวไม่ได้มีความน่าดึงดูดผู้ชมสักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับ Kubo and the Two Strings (2016) ที่ออกฉายปีเดียวกัน กลับสามารถทำเงินได้ $77.5 ล้านเหรียญ (แต่เรื่องนี้ก็เจ๋งเหมือนกันนะครับ เพราะใช้ทุนสร้างสูงถีง $60 ล้านเหรียญ)
แม้ว่าบทดัดแปลงของ Céline Sciamma จะทำออกมาได้น่าสนใจ แต่ไดเรคชั่นของผู้กำกับ Claude Barras กลับไม่ค่อยมีความน่าหลงใหล แปลกใหม่สักเท่าไหร่ ภาพรวมจีงได้แค่ความบันเทิงสำหรับเด็กๆ และ Stop-Motion Animation ที่น่าตื่นตา ต้องมนต์ขลัง แค่นั้น!
แม้ว่าหนังจะนำเสนอเรื่องราวของเด็กเล็ก แต่ควรมีผู้ปกครองนั่งรับชมอยู่เคียงข้างนะครับ เพราะเนื้อหาช่วงแรกๆค่อนข้างตีงเครียด หนักหนาสาหัสพอสมควร ถีงอย่างนั้นพอสักกลางเรื่องก็ค่อยๆผ่อนคลายลง และตอนจบ(ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก)ก็น่าจะสามารถยิ้มออกมาเล็กๆ
จัดเรต 13+ กับบรรยากาศตึงๆ ความซึมเศร้าจากโศกนาฎกรรม
Leave a Reply