Manhatta (1921) : Charles Sheeler, Paul Strand ♥♥♥♥
ร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ ‘city symphony’ สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่บนเกาะ Manhattan แห่งมหานคร New York ดินแดนที่ถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม ความเจริญอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และหนังสั้นเรื่องนี้ยังได้รับการตีตรา “First American Avant-Garde Film”
Symphony (n) วงดนตรีใหญ่, ดนตรีประสานเสียงวงใหญ่, แต่คำว่า City Symphony ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเครื่องดนตรี เป็นแนวภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง ทำการบันทึกภาพภูมิทัศน์ ร้อยเรียงวิถีชีวิตผู้คน อาศัยอยู่ในเมืองแห่งหนึ่ง ช่วงเวลาหนึ่ง นำมาแปะติดปะต่อ ผสมผสานจนมีลักษณะคล้ายออร์เคสตราขนาดใหญ่ เคยได้รับความนิยมอย่างมากๆช่วงทศวรรษ 20s-30s
ผมเข้าใจผิดมานานว่า Manhatta (1921) น่าจะคือ ‘City Symphony’ เรื่องแรกของโลก! แต่นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์กลับเริ่มต้นนับกันที่ Scenes of Lyon, France (1895-96) ของสองพี่น้อง Lumière brothers ทำการบันทึกภาพเมือง Lyon สถานที่ที่พวกเขาครุ่นคิดประดิษฐ์กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ … ผมหาได้แต่คลิปที่มีการ Colorization เอาไว้ดูเพลินๆแล้วกันนะครับ
แม้ว่า Manhatta (1921) อาจไม่ใช่หนังแนว ‘city symphony’ เรื่องแรกของโลก แต่ถือเป็นครั้งแรกๆของสื่อภาพยนตร์ที่ทำการทดลองโดยใช้ ‘เมือง’ คือจุดศูนย์กลางดำเนินเรื่อง ร้องเรียงชุดภาพภูมิทัศน์ แปะติดปะต่อสถานที่(สำคัญ)ต่างๆ พร้อมข้อความบรรยาย (Title Card/Intertitle) เพื่อสร้างสัมผัส ‘กวีภาพยนตร์’
ในแง่ของคุณภาพ Manhatta (1921) อาจไม่ได้มีสิ่งสร้างความตราตะลึง อึ้งทึ่ง เมื่อเทียบกับหลายๆ ‘city symphony’ ติดตามมา แต่ความที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆ มันคือการเปิดประตูแห่งความเป็นได้ ‘Avant-Garde’ ทหารแนวหน้าออกรบก่อนใคร (ในทางศิลปะมักเรียกบุคคล กลุ่มลัทธิ หรือผลงานที่มีความล้ำยุคสมัย ก่อนกาลเวลานิยม)
Charles Rettew Sheeler Jr. (1883-1965) ศิลปิน จิตรกร ช่างภาพแห่งยุคสมัย American Modernism เกิดที่ Philadelphia, Pennsylvania เข้าศึกษาศิลปะยัง Pennsylvania Museum School of Industrial Art ติดตามด้วย Pennsylvania Academy of Fine Arts (PAFA), จากนั้นเริ่มต้นด้วยการเป็นจิตรกร จนมีผลงานจัดแสดงนิทรรศการยัง Macbeth Gallery เมื่อปี ค.ศ. 1908, จากนั้นออกเดินทางท่องยุโรป ค้นพบความหลงใหลในผลงานของ Giotto, Piero della Francesca รวมถึงรับอิทธิพล Cubist จาก Pablo Picasso, Georges Braque กลับมาฝึกฝนถ่ายรูปด้วยตนเอง จนสามารถรับงานโฆษณาถ่ายภาพ (Commercial Photography) มักโฟกัสเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่บนเกาะ Manhattan
I was interested in the shapes and forms of the city, the way the light and shadow played on them. I wanted to create a film that would capture the essence of New York City, its energy and its vitality.
Charles Sheeler
Sheeler ติดต่อหาช่างภาพ Paul Strand จากความประทับใจผลงานภาพถ่าย Wall Street (1915) ชักชวนมาร่วมงานถ่ายทำภาพยนตร์ Manhatta (1921) ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีชื่อว่า Mannahatta (1860) ของ Walt Whitman (1819-92) รำพรรณาความเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ของ Manhattan, New York City รวบรวมอยู่ในคอลเลคชั่นชื่อว่า Leaves of Grass (1885)
LINK: https://poets.org/poem/mannahatta
Paul Strand (1890-1976) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน แห่งยุคสมัย Modernism เกิดที่ Brooklyn, New York เมื่อตอนอายุ 12 ได้รับกล้องถ่ายภาพเป็นของขวัญจากบิดา ทำให้เกิดความชื่นชอบหลงใหล โตขึ้นเข้าศึกษาต่อยัง Ethical Culture Fieldston School ได้เป็นลูกศิษย์ รับอิทธิพลจาก Edward Steichen ต้องการใช้ภาพถ่ายคือเครื่องมือสำหรับปฏิรูปสังคม
Manhatta was an experiment in the use of film as a graphic medium. We wanted to see what could be done with the camera to create images that were both visually striking and emotionally evocative.
Paul Strand
ด้วยงบประมาณ $1,600 เหรียญ (ราคากล้องถ่ายภาพที่ Sheeler หาซื้อมา) ประกอบด้วยภาพ 65 ช็อต ในระยะเวลาเกือบๆ 10 นาที เริ่มต้นจากเรือเฟอรี่ (Staten Island Ferry) กำลังเข้าจอดเทียบท่า New York Harbor จากนั้นร้อยเรียงภาพภูมิทัศน์ สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่ สถานที่สำคัญๆมากมาย ซึ่งมักคั่นด้วยข้อความบรรยาย (Title Card/Intertitles) ด้วยถ้อยคำลักษณะเหมือนบทกวี รับอิทธิพลจากผลงานของ Walt Whitman (มีทั้งแต่งขึ้นใหม่ และนำจาก Mannahatta (1860))
City of the world (for all races are here)
City of tall facades of marble and iron
Proud and passionate city
ผมสังเกตว่าตำแหน่งของกล้อง มักตั้งอยู่เบื้องบนตึกสูง (จะมองว่าเป็น Bird’s-Eye View ก็ได้กระมัง) ถ่ายมุมก้ม-เงย Panning, Tilting เก็บบันทึกภาพมุมกว้าง (Wide Angle) สิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่ เรือ-รถไฟอยู่ห่างออกไป เหล่านี้จะถือว่าเป็นสไตล์ลายเซ็นต์สองผู้กำกับ Sheeler & Strand ก็ว่าได้! เพราะสิ่งที่พวกเขาสนใจคือภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม รูปทรงภายนอกของเมือง Manhattan (ในลักษณะเหมือนภาพวาด Abstract) ขณะเดียวกันทุกช็อตฉากจะต้องมีบางสิ่งอย่างขยับเคลื่อนไหว อาจเป็นการขยับเลื่อนกล้อง ผู้คนเดินไปมา ยานพาหนะ ไม่ก็ป่องควัน ไอน้ำโพยพุ่งสู่ท้องฟ้า
การดำเนินเรื่องของ Manhatta (1921) ไม่มีเนื้อหา โครงสร้าง หรือทิศทางใดๆ (non-narrative) แต่ลักษณะเหมือนจิ๊กซอว์ กระเบื้องโมเสก นำภาพต่างๆมาแปะติดปะต่อให้สอดคล้องข้อความบรรยาย โดยใช้จุดศูนย์กลางคือเกาะ Manhattan, New York พบเห็นความยิ่งใหญ่ทางอารยธรรมมนุษย์ เมืองที่ถือว่ามีความเจริญสูงสุด (ขณะนั้น)
และสิ่งที่ต้องถือว่าสร้างความประหลาดใจอย่างที่สุดของหนัง คือตอนจบประมาณสามสิบวินาทีสุดท้าย จู่ๆฉายภาพก้อนเมฆบดบังพระอาทิตย์ แสงสว่างสาดสะท้อนพื้นผิวน้ำ นั่นเป็นการสร้างมนต์เสน่ห์อันน่าหลงใหล ทิวทัศน์(ถ่ายจาก)บนตึกสูงช่างมีความตราตรึงใจ
Manhatta (1921) ทำการบันทึกภาพภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้าง ตึกระฟ้าสูงใหญ่ หรือคำเรียกติดปาก ‘ป่าคอนกรีต’ สัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ทางอารยธรรมมนุษย์ เมืองที่ถือว่ามีความเจริญสูงสุดในโลก (ขณะนั้น) นั่นทำให้ผู้ชมเกิดความลุ่มหลง โรแมนติก ครุ่นคิดอยากเดินทางมายังมหานครแห่งนี้
สิ่งที่สองผู้กำกับพยายามบันทึกภาพ ร้อยเรียง แปะติดปะต่อ อ้างว่านั่นคือเนื้อแก่นแท้ (essence) ของมหานคร New York สิ่งก่อสร้างทั้งหลายล้วนเกิดจากแรงงานมนุษย์ ความต้องการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติ บุกเบิกอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ พิสูจน์ศักยภาพ ขีดความสามารถ เติมเต็มอุดมการณ์เพ้อใฝ่ฝัน (American Dream)
จริงอยู่ว่า Manhatta (1921) อาจคือเนื้อแก่นแท้ของมหานคร New York แต่ผมกลับพบเห็นเพียงการสร้างภาพ เปลือกภายนอก เต็มไปด้วยสิ่งลวงหลอกตา โดยเฉพาะตึกสูงใหญ่ตั้งโด่เด่ สัญลักษณ์ของลึงค์ (อวัยวะเพศชาย) สื่อถึงอัตตา ความเห็นแก่ตัว ลุ่มหลงในตนเอง … ขณะที่ภาพมนุษย์กลับพบเห็นตัวเล็กๆ กระจิดริด ไม่ต่างจากมดงาน ขยันขันแข็งก็จริง แต่หาได้มีความคิดอ่านของตัวเองแม้แต่น้อย
คนที่จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่ในมหานคร (ไม่เจาะจงว่าต้อง New York City, กรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน) มักต้องมีความทะเยอทะยาน เพ้อใฝ่ฝัน เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ต้องการทำบางสิ่งอย่าง เพื่อประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง มีชีวิตสุขสบาย หรือตอบสนองอุดมการณ์บางอย่าง … ลักษณะดังกล่าวช่างสอดคล้องกับภูมิทัศน์มหานคร เข้ากันดีอย่างเป็นปี่เป็นขลุ่ย
แต่ในความเป็นจริงใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ เติมเต็มความเพ้อใฝ่ฝัน เพราะเมื่อมีคนอาศัยอยู่บนตึกสูง ย่อมต้องมีบุคคลหลับนอนตามท้องถนนเบื้องล่าง ต่อสู้ดิ้นรน ใช้ชีวิตอย่างกระเสือกระสน ทนทุกข์ยากลำบาก … ดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ เจิดจรัสจร้า ย่อมต้องซุกซ่อนความฟ่อนเฟะ เน่าเละเทะ เต็มไปด้วยเงามืดหลบอยู่เบื้องหลังตึกระฟ้า
บทกวีรำพรรณาความงดงาม ยิ่งใหญ่อลังการของ Manhattan, New York มองในอีกแง่มุมหนึ่งก็มีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เติมเต็มความฝันอเมริกัน (American Dream) สรวงสวรรค์สร้างขึ้นโดยมนุษย์ ดินแดนแห่งโลกอนาคต
หนังออกฉายรอบปฐมทัศน์วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 ณ โรงภาพยนตร์ Rialto Theatre ในเมือง New York City เสียงตอบรับชื่นชมในภาพถ่ายสวยๆ งดงามราวกับบทกวี แต่เพราะไม่มีเนื้อเรื่องราวจับต้องได้ ผู้ชม/นักวิจารณ์สมัยนั้นจึงไม่ค่อยเข้าใจอะไรสักเท่าไหร่ ผลลัพท์เลยไม่สามารถคืนทุนค่ากล้อง $1,200 เหรียญ
Manhatta, the new picture by Paul Strand and Charles Sheeler, is a fascinating experiment in visual storytelling. Director Strand and cinematographer Sheeler use a variety of techniques, including montage, superimposition, and close-up, to create a visually stunning portrait of New York City. However, the film may be too slow and abstract for some viewers.
นักวิจารณ์ Kenneth MacGowan จาก Chicago Tribune
Manhatta is a stunningly beautiful film, a visual feast for the eyes. The cinematography is breathtaking, and the city of New York is captured in all its glory. However, the film lacks the emotional power of a traditional narrative film. It is more of a poem than a story, and it will appeal to those who appreciate art for its own sake. But those who are looking for a traditional Hollywood movie will be disappointed.
นักวิจารณ์ Harry Carr จาก Los Angeles Times
Manhatta, which was presented at the Rivoli yesterday, is a lyrical and impressionistic portrait of New York City. It is a beautiful and poetic interpretation of the city, and it is a work of art which will appeal to all lovers of the beautiful.
The film is without a story, but it is full of poetic imagery. It is a visual poem to the city of New York. It is a film that will linger in the memory long after it has been seen.
นักวิจารณ์ Mordaunt Hall จาก New York Times
กาลเวลาได้สร้างมูลค่าให้ Manhatta (1921) อย่างมากๆ ไม่เพียงอิทธิพลต่อแนวหนัง ‘city symphony’ ยังเป็นแรงบันดาลใจภาพยนตร์
- News from Home (1976) ของ Chantal Akerman มีตอนจบที่อาจได้แรงบันดาลใจจากอารัมบทของ Manhatta (1921)
- Manhattan (1979) ของ Woody Allen ช่วงอารัมบทร้อยเรียงภูมิทัศน์ New York City ด้วยสัมผัสที่ละม้ายคล้ายกันมากๆ
Manhatta (1921) was a big influence on me. I loved the way it captured the beauty of New York City in the early 20th century. I wanted to make a film that captured the beauty of New York City in the late 20th century.
ผู้กำกับ Woody Allen
Manhatta is a film that I have loved since I first saw it in the early 1960s. It is a film about New York City, but it is also a film about the beauty of the modern world. Sheeler and Strand use a variety of techniques to create a stunning visual poem of the city, from the skyscrapers to the bridges to the people who live and work there.
Jonas Mekas เจ้าของฉายา “the Godfather of American Avant-Garde Cinema”
เนื่องจากฟีล์มเนกาทีฟของหนังได้หายสาปสูญไปนานแสนนาน หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงฉบับพิมพ์ 35mm เมื่อปี ค.ศ. 1949 ซึ่งผ่านการฉายนับครั้งไม่ถ้วน เต็มไปด้วยริ้วรอยขีดข่วน การบูรณะจึงถือว่ามีความยุ่งยากลำบาก แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นำโดยนักบูรณะ (Archivist) Bruce Posner ร่วมกับบริษัท Lowry Digital ด้วยงบประมาณสูงถึง $150,000 เหรียญ ใช้ระยะเวลานาน 4 ปี สามารถซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับมาสมบูรณ์ใหม่เอี่ยม คุณภาพ 2K แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009
ใครมีความสามารถน่าจะหารับชมฉบับ 2K จาก Youtube ได้ไม่ยาก ส่วนคนต้องการซื้อแผ่นเก็บแนะนำ Blu-Ray ฉบับของ Kino Lorber ได้ทำการรวบรวม 21 หนังเงียบ Silent Avant-Garde ที่ได้รับการบูรณะแล้วทั้งหมด
ผมมีความชื่นชอบ ‘city symphony’ เป็นการส่วนตัวอยู่แล้วนะครับ ทุกครั้งรับชมเรื่องใหม่ๆ เหมือนได้เปิดมุมมอง พบเห็นภาพสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในไทม์แคปซูล มันช่างน่าตื่นตาตื่นใจ เบิกบานหฤทัย
สำหรับคนที่สนใจภาพยนตร์แนว ‘City Symphony’ แนะนำให้ลองหารับชม Rien que les heures (1926), Berlin: Die Sinfonie der Großstadt (1927), Man with a Movie Camera (1929), In Spring (1929), Regen (1929), A propos de Nice (1930), หรือถ้าต้องการแบบ Modern สักหน่อยก็อย่าง Calcutta (1969), Roma (1972), News from Home (1976), Tokyo-Ga (1985), Salaam Bombay! (1988), Of Time and the City (2008) ฯลฯ
จัดเรตทั่วไป รับชมได้ทุกเพศวัย
Leave a Reply