
Mean Streets (1973)
: Martin Scorsese ♥♥♥♥
กิจวัตรประจำวัน ‘Slice-of-Life’ อาชญากรระดับล่าง นำจากประสบการณ์ส่วนตัวของ Martin Scorsese เคยพบเห็น เติบโตขึ้นในย่าน Little Italy ที่สร้างความขัดแย้งต่อสามัญสำนึก รับรู้สึกว่าพฤติกรรมเหล่านั้นไม่ถูกต้อง แต่กลับมิอาจอดกลั้นฝืนทนเพราะผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมรอบข้าง
You don’t make up for your sins in church. You do it in the streets. You do it at home. The rest is bullshit and you know it.
Martin Scorsese
เสียงแรกที่ได้ยินในหนัง แม้ปรากฎภาพตัวละคร Harvey Keitel แต่คือน้ำเสียงของผู้กำกับ Martin Scorsese เกิดในครอบครัวเชื้อสาย Italian-American นับถือ Roman Catholic เคยตั้งใจอยากเป็นบาทหลวงแต่สอบสามเณราลัยไม่ผ่าน เลยผันตัวเข้าสู่วงการภาพยนตร์
แม้ว่าหน้าหนังของ Mean Streets (1973) จะเป็นแนวอาชญากรรม (Crime) นำเสนอกิจวัตรประจำวัน ‘Slice-of-Life’ ของอาชญากรระดับล่าง (Small Time Crooks) แต่เสียงแรกที่ดังขึ้นนี้ทำให้ผมแอบรู้สึกว่านี่คือภาพยนตร์อิงศาสนา (Religious) คำสารภาพบาปของผกก. Scorsese ยินยอมรับความผิดพลาดของตนเอง เพื่อต่อจากนี้จะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ … ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นผลงาน ‘breakthrough’ จุดเริ่มต้นแท้จริง ฉายแววศิลปิน ว่าที่ปรามาจารย์ผู้กำกับ Martin Scorsese
แม้ลึกๆผมรู้สึกว่า Mean Streets (1973) เต็มไปด้วยข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ การดำเนินเรื่องขาดความต่อเนื่องลื่นไหล นั่นเพราะผกก. Scorsese ยังอยู่ในช่วงทำการทดลองผิดลองถูก ค้นหาสไตล์ลายเซ็นต์ หลายๆองค์ประกอบเลยคลุกเคล้าไม่ลงตัวสักเท่าไหร่ แต่ภาพรวมถือว่าทำออกมาได้น่าประทับใจ และสิ่งสำคัญคือเรื่องราวสะท้อนความเป็นตัวตนเอง นั่นทำให้เขาฉายแววศิลปิน (auteur) เตรียมพร้อมก่อนสรรค์สร้างสองผลงานโลกตะลึง Taxi Driver (1976) และ Raging Bull (1980)
Martin Charles Scorsese (เกิดปี 1942) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Queen, New York City ก่อนย้ายมาเติบโตยัง Little Italy, Manhattan ครอบครัวเชื้อสาย Italian อพยพมาจาก Palermo, Sicily นับถือศาสนา Roman Catholic อย่างเคร่งครัด!
วัยเด็กป่วยโรคหอบหืดทำให้ไม่สามารถเล่นกีฬา ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน พ่อ-แม่และพี่ๆจึงมักพาไปดูหนัง เช่าฟีล์มกลับมารับชมที่บ้าน ค่อยๆเกิดความหลงใหลในสื่อภาพยนตร์ โตขึ้นเข้าเรียน Washington Square College (ปัจจุบันชื่อ College of Arts and Science) จบปริญญาสาขาภาษาอังกฤษ แล้วต่อโทที่ School of the Arts (ปัจจุบันชื่อ Tisch School of the Arts) สาขาวิจิตรศิลป์ (Master of Fine Arts)
ระหว่างร่ำเรียน Tisch School of the Arts ก็เริ่มกำกับหนังสั้น What’s a Nice Girl like You Doing in a Place like This? (1963), It’s Not Just You, Murray! (1964), The Big Shave (1967), พอสำเร็จการศึกษาก็สรรค์สร้างภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก Who’s That Knocking at My Door (1967) นำแสดงโดย Harvey Keitelเสียงตอบรับออกมาค่อนข้างดี ทำให้มีโอกาสรับรู้จักโปรดิวเซอร์ Roger Corman มอบหมายให้กำกับหนังเกรดบี Boxcar Bertha (1972)
Marty, you’ve just spend a whole year of your life making a piece of shit. It’s a good picture, but you’re better than the people who make this kind of movie. Don’t get hooked into the exploitation market, just try and do something different.
John Cassavetes กล่าวกับ Martin Scorsese หลังรับชม Boxcar Bertha (1972)
คำกล่าวของผู้กำกับรุ่นพี่ John Cassavetes ได้ปลุกตื่นผกก. Scorsese ให้เกิดความตระหนักว่าตนเองควรสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่อยู่ในความสนใจ ไม่ใช่เสียเวลาไปกับการเป็นมือปืนรับจ้าง จึงนำบทร่าง Season of the Witch เคยพัฒนาร่วมกับเพื่อนวัยเด็ก Mardik Martin ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 มาปัดฝุ่นเสียใหม่กว่า 27 ครั้ง ยื่นของบประมาณจาก AFI ถูกบอกปัด, ติดต่อโปรดิวเซอร์ Joseph Brenner (ผู้จัดจำหน่าย Who’s That Knocking at My Door (1967)) ก็ได้รับคำตอบปฏิเสธเช่นกัน
ต่อมาได้พูดคุยกับโปรดิวเซอร์ Roger Corman ยินยอมตอบตกลงถ้าปรับเปลี่ยนนักแสดงให้เป็นคนผิวสีทั้งหมด ทำออกมาในลักษณะ Blaxploitation (black + exploitation) ที่กำลังได้รับความนิยมสมัยนั้น นั่นสร้างความโล้เล้ลังเลใจให้กับ Scorsese ถ้าหางบประมาณจากแหล่งอื่นไม่ได้จริงๆ ก็พร้อมขายวิญญาณให้ปีศาจ
โชคดีว่าผกก. Scorsese ได้รับการแนะนำจากเพื่อนนักแสดง Verna Bloom จึงมีโอกาสพูดคุยโปรเจคกับ Jonathan Taplin (ขณะนั้นเป็นผู้จัดการวง The Band) และ Francis Ford Coppola ช่วยระดมทุนได้กว่า $300,000 เหรียญ ก่อนที่สตูดิโอ Warner Bros. จะตอบตกลงซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกามูลค่า $480,000 เหรียญ
เกร็ด: ผกก. Scorsese เคยพยายามพูดคุยกับ Paramount Pictures ที่เป็นผู้จัดจำหน่าย The Godfather (1972) แต่กลับถูกผู้บริหารตีกลับ “Don’t waste my time.” พร้อมขึ้นชื่อ Blacklist จากการใช้เส้นสายหยิบยืมเงินจาก Francis Ford Coppola ก่อนในที่สุดลงเอยกับ Warner Bros. ซึ่ง Marty ให้คำชื่นชมว่า “[Warner Bros.] had been distributing the best gangster movie of all time.”
บทร่างแรกของหนัง ผกก. Scorsese เล่าว่ามีการอ้างอิงศาสนาค่อนข้างเยอะ ต้องการนำเสนอความขัดแย้งระหว่างความเชื่อศรัทธา ต่อสภาพความเป็นจริง วิถีโลกใบนี้ที่ทำให้ตัวละครไม่สามารถปฏิบัติตามหลักคำสอนศาสนา (เลยตั้งชื่อ Season of the Witch ที่สื่อถึงพฤติกรรมนอกรีตตัวละคร) การมาถึงของเพื่อนวัยเด็ก Mardik Martin ช่วยตัดทอนรายละเอียดส่วนนี้ไปพอสมควร เห็นว่าพวกเขาขับรถวนรอบ Littly Italy หวนระลึกความทรงจำ จดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆเคยพบเห็น กลายมาเป็นเรื่องราว ‘Slice-of-Life’ ของอาชญากรระดับรากหญ้า
เกร็ด: สำหรับชื่อหนัง Mean Streets ผกก. Scorsese ได้รับคำแนะนำจากนักวิจารณ์ Jay Cocks อ้างอิงถึงบทความ The Simple Art of Murder (1950) ของ Raymond Chandler (1888-1959) นักเขียนแนวนักสืบ/อาชญากรรม สัญชาติอเมริกัน ผลงานเด่นๆ อาทิ นวนิยาย The Big Sleep (1939), Farewell, My Lovely (1940), The Long Good-bye (1953), บทภาพยนตร์ Double Indemnity (1944), The Blue Dahlia (1946), Strangers on a Train (1951) ฯ
But down these mean streets a man must go who is not himself mean, who is neither tarnished nor afraid.
Raymond Chandler
เกร็ด: Mean Streets (1973) ได้สร้างสถิติใช้คำพูดว่า ‘fuck’ จำนวน 52 ครั้ง มากที่สุดในวงการภาพยนตร์ขณะนั้น ก่อนถูกทำลายโดย The Last Detail (1973) เข้าฉายสองเดือนถัดจากนั้นด้วยจำนวน 65 ครั้ง
เรื่องราวของ Charlie Cappa (รับบทโดย Harvey Keitel) ชายหนุ่มเชื้อสาย Italian-American อาศัยอยู่ Little Italy, Manhattan นับถือ Roman Catholic แต่กลับทำงานเป็นลูกน้องเจ้าพ่อมาเฟียขาใหญ่/ลุงแท้ๆ Giovanni Cappa (รับบทโดย Cesare Danova) รู้สึกขัดย้อนแย้งในตนเองที่กระทำสิ่งชั่วร้ายมากมาย จึงพยายามเอ็นดูรักใคร่ ให้ความช่วยเหลือญาติห่างๆ Johnny Boy (รับบทโดย Robert De Niro) เอาตัวรอดจากเจ้าหนี้นอกระบบ Michael Longo (รับบทโดย Richard Romanus)
Johnny เป็นวัยรุ่นหนุ่มที่มีความหยิ่งผยอง ลำพอง ปากดี โอ้อวดเก่ง ไม่สามารถควบคุมตนเอง ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา เลยได้รับการตีตรา ‘Ne’er-do-well’ ทั้งยังชอบหาเหาใส่หัว มีเรื่องกับใครอื่นไปทั่ว เบี้ยวเงินเจ้าหนี้นอกระบบ แถมยังทรยศความเชื่อมั่น Charlie จนท้ายสุดต้องพากันหลบหนีหัวซุกหัวซุน เอาตัวรอดได้หรือเปล่าก็ไม่รู้
Harvey Keitel (เกิดปี 1939) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York City ในครอบครัวเชื้อสาย Jews อพยพจาก Romania และ Poland, พออายุ 16 อาสาสมัครเป็นทหารเรือ ประจำการอยู่ Lebanon หลังปลดประจำการทำงานนักชวเลขในชั้นศาล (Court Stenographer) นานกว่าสิบปี ก่อนตัดสินใจผันตัวสู่วงการบันเทิง เข้าศึกษาการแสดงจาก HB Studio ลูกศิษย์ของ Stella Adler และ Lee Strasberg, ต่อมาได้รับบทบาทเล็กๆในการแสดง Off-Broadway จากนั้นเข้าทดสอบหน้ากล้องภาพยนตร์เรื่องแรกของ Martin Scorsese ได้รับบทนำ Who’s That Knocking at My Door (1967), แจ้งเกิดกับ Mean Streets (1973), Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), Taxi Driver (1976), The Last Temptation of Christ (1988), Thelma & Louise (1991), Bugsy (1991) ** เข้าชิง Oscar: Best Actor, Reservoir Dogs (1992), Bad Lieutenant (1992), Pulp Fiction (1994)
รับบท Charlie Cappa ชายหนุ่มเชื้อสาย Italian-American นับถือ Roman Catholic อย่างเคร่งครัด แต่กลับกระทำสิ่งเลวร้ายอย่างรีดไถเงินค่าคุ้มครอง ใช้ความรุนแรงกระทำร้ายร่างกาย รวมถึงคบหา/สานสัมพันธ์ทางเพศกับญาติห่างๆ ฯ รับรู้ตัวเองว่าเป็นคนบาป จึงพยายามไถ่โทษด้วยการให้ความช่วยเหลือ Johnny Boy รู้ทั้งรู้อีกฝ่ายพึ่งพาอะไรไม่ได้ ก็ยังพยายามประณีประณอม จริงใจต่อพวกพ้อง กระทำสิ่งเชื่อว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด
เกร็ด: แม้ผกก. Scorsese พัฒนาบทนี้โดยมี Harvey Keitel อยู่ในใจตั้งแต่แรก (เพราะเคยร่วมงานกันตั้งแต่ Who’s That Knocking at My Door (1967)) แต่โปรดิวเซอร์เรียกร้องต้องการนักแสดงพอมีชื่อเสียงอย่าง Jon Voight เลยจำยินยอมต้องลองติดต่อไป โชคดีอีกฝ่ายบอกปัดปฏิเสธเลยได้หวนกลับหา Keitel ในที่สุด
แม้ใบหน้ายังดูละอ่อนวัย แต่ภาพลักษณ์ของ Keitel มีความคมเข้ม อึดถึก อนาคต(ว่าที่)เจ้าพ่อมาเฟีย ทั้งยังดูอ่อนไหว ใครต่อใครให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ขณะเดียวกันตัวละครยังซุกซ่อนความขัดย้อนแย้งภายใน ไม่รู้จะแก้ปัญหาอะไรยังไง โดยเฉพาะกับ Johnny เพราะอีกฝ่ายเป็นเครือญาติห่างๆ ให้ปล่อยทิ้งขว้างก็มิอาจยินยอมรับไหว มันเลยขัดต่อสามัญสำนึก/คุณธรรมประจำใจ เป็นหรือตายเลยต้องวัดดวงกันไป
ลึกๆผมแอบรู้สึกว่าการแสดง Keitel ดูมึนๆ ใสซื่อ ไร้เดียงสาไปสักหน่อย แต่นั่นอาจเพราะเขาคือตัวตายตัวแทนผกก. Scorsese ต้องการนำเสนอภาพอาชญากรระดับรากหญ้าที่ยังอ่อนด้อยประสบการณ์ ไม่ต่างจากบุคคลธรรมดาๆที่ย่อมกระทำสิ่งผิดพลาด จิตใจอ่อนไหว เกิดความขัดแย้งภายใน ยังไม่รับรู้เป้าหมายอนาคตจะดำเนินชีวิตต่อไปเช่นไร
ปล. ทีแรกผมไม่ได้เอะใจหรอก แต่พบว่าตัวเองพิมพ์ชื่อ Charlie ผิดเป็น Charles บ่อยครั้ง แล้วพอค้นหาเพื่อจะแก้ไขดันพบเจอ Martin ‘Charles’ Scorsese นั่นแสดงว่าชื่อตัวละคร Charlie นำจากชื่อกลางของ Marty เองเลยละ!
Robert Anthony De Niro Jr. (เกิดปี 1943) นักแสดงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Manhattan, New York พ่อมีเชื้อสาย Irish-Italian ประกาศตนว่าเป็นเกย์หย่าขาดกับแม่ตอน De Niro อายุได้ 2 ขวบ เติบโตขึ้นในบริเวณ Little Italy เคยแสดงละครเวทีงานโรงเรียน รับบทเป็น Cowardly Lion เรื่อง The Wizard of Oz ทำให้เริ่มมีความสนใจด้านนี้ พออายุ 16 มุ่งสู่ HB Studio, Stella Adler Conservatory และ Actors Studio กลายเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Lee Strasberg, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก The Wedding Party (1963) ของผู้กำกับ Brian De Palma แนะนำให้รู้จักจนกลายเป็นขาประจำกับ Martin Scorsese ร่วมงานครั้งแรก Mean Streets (1973) ผลงานเด่นๆ อาทิ The Godfather: Part II (1974) ** คว้า Oscar: Best Supporting Actor, Taxi Driver (1976), The Deer Hunter (1978), Raging Bull (1980) ** คว้า Oscar: Best Actor, Cape Fear (1991), Silver Linings Playbook (2012) ฯ
รับบท John Civello ฉายา Johnny Boy ชายหนุ่มหน้าใส ใช้ชีวิตอย่างไม่ยี่หร่าอะไรใคร จู่ๆโยนระเบิดใส่ถังขยะอย่างไร้เหตุผล ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา ชอบสรรหาสรรพข้ออ้าง/ชักแม่น้ำทั้งห้า คารมเป็นต่อแต่พึ่งพาอะไรไม่ได้ วันๆเอาแต่หาเหาใส่หัว กร่างไปทั่ว จนสร้างความไม่พึงพอใจต่อเจ้าหนี้นอกระบบ Michael เลยต้องเผชิญหน้าเหตุการณ์เฉียดเป็นเฉียดตาย ไม่รู้หลังจากนี้จะบังเกิดจิตสามัญสำนึกขึ้นมาบ้างไหม
เกร็ด: ผกก. Scorsese รับรู้จัก Robert De Niro มาตั้งแต่ยังเด็ก เคยพบเจอ พูดคุย พักอาศัยอยู่ละแวกใกล้ๆกัน แต่ไม่ได้ถึงขั้นสนิทสนม ไปมาหาสู่ จนกระทั่ง Marty พบเห็นฟุตเทจภาพยนตร์ The Wedding Party (1963) เลยติดต่อชักชวนมาร่วมงาน ยื่นข้อเสนอให้อิสระในการเลือกถึง 4 บทบาท (น่าจะสมาชิกทั้งสี่ของแก๊งอาชญากรรม) ทีแรกเจ้าตัวอยากเล่นเป็น Charlie แต่หลังจาก Harvey Keitel ชิงตัดหน้าไป เลยตัดสินใจเลือกบทบาท Johnny Boy
ผกก. Scorsese พยายามกระตุ้นให้นักแสดงทำการ ‘Improvised’ ดั้นสดบทพูด ซึ่งนั่นถือว่าเข้าทาง De Niro (เพราะมาจากสายการแสดง ‘method acting’) โดยเฉพาะลีลาระหว่างสรรหาสรรพข้ออ้าง/ชักแม่น้ำทั้งห้ากับ Charlie นี่ยังไม่รวมท่าทางลุกรี้ ร้อนรน ไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง เหมือนต้องการพิสูจน์การมีตัวตน ประกาศให้โลกรับรู้ว่าฉันเจ๋ง ฉันเก่ง ฉันเก๋าเจ้ง แท้จริงก็แค่นักเลงกระจอก … นี่ยังเป็นตัวละครสะท้อนวัยรุ่นทศวรรษ 60s-70s ได้ชัดเจนทีเดียว
ตัวละคร Johnny อาจชื่นชอบสร้างปัญหา วันๆทำแต่เรื่องวุ่นๆวายๆ ไม่ต่างจาก ‘holy fool’ ถึงอย่างนั้นต้องถือว่าสามารถสร้างสีสันให้กับหนัง เพราะถ้าหมอนี่ไม่ทำอะไรบ้าๆบอๆจนใครต่อใครเอือมละอา ผู้ชมคงไม่ตระหนักถึงความเป็นพ่อพระที่แสนดีของ Charlie (ต้องการเลียนแบบ Francis of Assisi) กับญาตินิสัยแย่ๆขนาดนี้ ยังพยายามอดกลั้นฝืนทน ยกโทษให้อภัย (เพื่อเป็นการไถ่โทษให้กับตนเอง)
ถ่ายภาพโดย Kent Lon Wakeford (1928-2020) ตากล้องสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Los Angeles หลังเรียนจบมัธยม เป็นเด็กฝึกงานให้กับช่างภาพแฟชั่น Earl Scott, จากนั้นทำงานเป็นตากล้อง Douglas Aircraft Company ต่อด้วยกองทัพสหรัฐหน่วย Signal Corps หลังจากนั้นรับงานฟรีแลนซ์ถ่ายสารคดี โฆษณา ได้รับการชักชวนจาก Martin Scorsese ภาพยนตร์เรื่องแรก Mean Streets (1973) และ Alice Doesn’t Live Here Anymore (1974), ก่อนค่อยๆผันตัวมาเปิดบริษัทถ่ายทำโฆษณา Wakeford/Orloff Productions และสตูดิโอ Kent Wakeford and Associates
ด้วยความที่หนังระดมทุนได้ไม่มาก ผกก. Scorsese จึงเลือกใช้ทีมงานยกชุดจาก Boxcar Bertha (1972) เพราะถือว่าเคยมีประสบการณ์ เข้าใจวิธีการทำงาน การถ่ายภาพของหนังจึงสามารถแพรวพราวด้วยเทคนิค ลูกเล่นภาพยนตร์ เต็มไปด้วยการลองผิดลองถูกด้วยกล้อง Hand Held ดูสั่นๆส่ายๆ ไม่ยึดติดกับเครนหรือรางเลื่อน (รับอิทธิพลจากผลงานของ Jean-Luc Godard) มีความโฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน แต่โดดเด่นสุดคือการละเล่นกับแสงสีสัน (ในบาร์ของ Tony มักอาบฉาบโทนแสงสีแดง) สำหรับสร้างบรรยากาศ และมอบสัมผัสทางอารมณ์ที่ทรงพลัง
ผลงานยุคแรกๆของผกก. Scorsese มักพึ่งพาการ ‘improvised’ ให้อิสระนักแสดงในการดั้นสดบทสนทนาพอสมควร นั่นจึงทำให้การแสดงออกมาดูเป็นธรรมชาติ ผิดแผกแตกต่างจากยุคสมัย Hollywood Classical อย่างบทพูดของ Robert De Nero ระหว่างสรรหาสรรพข้ออ้าง/ชักแม่น้ำทั้งห้าช่างมีความลื่นไหล ฟังแล้วลื่นหู ดูปฏิกิริยาสีหน้า Harvey Keitel ยังเคลิบเคลิ้มคล้อยตาม
แม้พื้นหลังของหนังจะคือ Little Italy, Manhattan แต่ด้วยงบประมาณจำกัด จึงถ่ายทำยัง New York City ได้แค่เพียงสัปดาห์เดียว (6 วัน) ส่วนใหญ่จึงเป็นฉากภายนอก ตามท้องถนน ก่อนหวนกลับมาถ่ายซีนภายในยัง Los Angeles (ใช้เวลาอีก 21 วัน)
You don’t make up for your sins in church. You do it in the streets. You do it at home. The rest is bullshit and you know it.
Martin Scorsese
ราวกับได้ยินเสียงเพรียกจากพระเจ้า (ผกก. Scorsese เปรียบดั่งพระเจ้าผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้) Charlie สะดุ้งตื่นในห้องมืดมิด (จะว่าไปก็ดูราวกับห้องสารภาพบาปในโบสถ์) แสงจากภายนอกสาดส่องผ่านบานเกล็ด (เงาลางๆให้ความรู้สึกเหมือนตัวละครถูกควบคุมขัง อาศัยอยู่ในเรือนจำ ชีวิตไร้ซึ่งอิสรภาพ) ลุกขึ้นมามองกระจก จับจ้องภาพสะท้อนตัวตนเอง นี่ฉันกำลังทำอะไรอยู่?? … ให้ความรู้สึกเหมือนผกก. Scorsese ตั้งคำถามกับตนเองหลังรับฟังคำแนะนำของรุ่นพี่ John Cassavetes
Marty, you’ve just spend a whole year of your life making a piece of shit. It’s a good picture, but you’re better than the people who make this kind of movie. Don’t get hooked into the exploitation market, just try and do something different.
John Cassavetes

Opening Credit บทเพลง Be My Baby พร้อมการฉายภาพจากฟีล์ม 16mm ให้ความรู้สึกเหมือนอดีต ความทรงจำ หวนรำลึกถึงวันวาน ชีวิตพานผ่านมาของ Charlie แม้ภาพร้อยเรียงดูสะเปะสะปะ ไม่ได้มีเรื่องราวอะไรสักเท่าไหร่ แต่ทั้งหมดเป็นการสร้างสัมผัส ‘กึ่งอัตชีวประวัติ’ ของผกก. Scorsese บางส่วนนำจากเหตุการณ์จริง เคยประสบพบเห็นรระหว่างเติบโตย่าน Little Italy

หลังจาก Opening Credit จะเป็นการแนะนำสี่สหายแก๊งค์อาชญากร ซึ่งแต่ละคนก็จะมีเรื่องราวของตนเอง
- Tony เจ้าของบาร์แห่งหนึ่ง สถานที่แห่งนี้มักอาบฉาบด้วยแสงสีแดง สัญลักษณ์แทนเลือด ความรุนแรง โลกอาชญากรรม
- Michael ขณะนั้นกำลังต่อรองสินค้าลักลอบนำเข้า แต่ตัวเขากลับถูกหลอกจากผู้ค้า (ล้อกับการที่ Johnny สัญญาว่าจะใช้หนี้ แต่ก็ไม่เคยจ่ายเงินคืน)
- Johnny จู่ๆเอาลูกระเบิดยังใส่ถังขยะ กระทำสิ่งไม่มีใครคาดเดา วัยรุ่นเอาแต่ใจ
- Charlie พบเห็นในโบสถ์ Old St Patrick’s Cathedral แสดงถึงความเคร่งครัดศาสนา และได้เรียนรู้การท้าพิสูจน์ศรัทธา ด้วยการเอามืออังไฟ ร้อนหรือไม่ขึ้นอยู่กับใจเราตนเอง




ช็อตถ่ายจากด้านหลังติดตามตัวละคร ทักทายผู้คนในผับบาร์ นี่น่าจะถือเป็น ‘Signature’s Shot’ ของผกก. Scorsese พบเห็นบ่อยครั้งในหนังแนวอาชญากรรม เมื่อตอน Goodfellas (1990) ก็เริ่มต้นด้วยช็อตลักษณะนี้จากนอกร้าน The Copacabana Nightclub เดินเข้าประตูหลังไปจนถึงเบื้องหน้าเวที ความยาว 3 นาทีที่น่าตื่นตาตื่นใจ (สำหรับ Mean Streets (1973) ลากยาวแค่ประมาณ 30 วินาที)

นี่ถือเป็นฉากแจ้งเกิด Robert De Niro เลยก็ว่าได้ ทำการดั้นสด ‘improvised’ ชักแม่น้ำทั้งห้าได้อย่างน่าประทับใจ แต่ส่วนตัวแอบผิดหวังนิดๆที่ผกก. Scorsese เลือกตัดไปตัดมาเพื่อให้พบเห็นปฏิกิริยาสีหน้า Harvey Keitel คือถ้าปล่อยยาวแบบ ‘Long Take’ ผมว่ามันจะโคตรเจ๋งกว่านี้ (จริงๆตอนถ่ายคงเป็น ‘Long Take’ แต่เลือกใช้การตัดต่อเพราะปฏิกิริยาสีหน้าของ Keitel มันอดใจได้ยากจริงๆ)

ด้วยความที่เป็นอาชญากรระดับล่าง (เรียกว่ามาเฟียกระจอกก็ได้มั้ง) หลอกเด็กวัยรุ่นสองคนได้เงินมา $20 เหรียญ เอาไปดูหนังเรื่อง The Searchers (1956) พอดิบดีฉากการต่อสู้ พุ่งชน ทำร้ายร่างกาย ทำลายจิตใจ
เท่าที่ผมจับใจความได้จากป้ายโฆษณาหนัง ประกอบด้วย
- George C. Scott แสดงนำภาพยนตร์ Rage (1972)
- Kirk Douglas แสดงนำภาพยนตร์ The Arrangement (1969)
- Tony Curtis สมทบภาพยนตร์ Suppose They Gave a War and Nobody Came (1970)
- Jean-Paul Belmondo ภาพยนตร์ Borsalino (1970)
- ภาพยนตร์ And Hope to Die (1972)
- ภาพยนตร์ Rider on the Rain (1970)
- ภาพยนตร์ X เรื่อง The Eighteen Carat Virgin (1971)
- ภาพยนตร์ X เรื่อง Rosebud (1972)


ช็อตเล็กๆ(หลังการดูหนัง)ที่เหมือนไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์ La Dolce Vita (1960) ของผกก. Federico Fellini มีซีนเฮลิคอปเตอร์ขนรูปปั้นพระเยซูคริสต์ล่องลอยบนท้องฟากฟ้า, ช็อตนี้แม้แค่ตั้งอยู่เบื้องบนหลังคา แต่ดูเหมือนเทวทูต/พระเป็นเจ้าจับจ้องมองลงมายังตรอกซอกซอย Little Italy แห่งนี้ … เป็นช็อตที่ทำให้หนังมีกลิ่นอายศาสนาเพิ่มขึ้นมาพอสมควร
เกร็ด: หนังถ่ายทำคาบเกี่ยวเทศกาล Feast of San Gennaro หรือ San Gennaro Festival จุดขึ้นวันที่ 19 กันยายนของทุกๆปี เพื่อเฉลิมฉลอง Saint Januarius (272-305 AD) นักบุญองค์อุปถัมภ์ (Patron Saint) ของเมือง Naples, Italy และ Little Italy, Manhattan

ทั้งๆไม่มีใครรับรู้ว่า ‘Mook’ หมายความว่าอะไร แต่ฟังดูรู้สึกเหมือนกำลังโดนดูถูกเหยียดหยาม เรื่องพรรค์นี้เลยยินยอมความกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายจึงเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อย ต่อสู้ เห็นว่าใช้เวลาถ่ายทำนานถึง 3 วัน! เพราะช็อตที่กล้องเคลื่อนติดตามนักแสดงไปรอบๆร้าน ทีมงานต้องคอยขยับแหล่งกำเนิดแสงตามไปด้วย มันเลยมีความวุ่นๆวายๆ ซักซ้อมกันอยู่หลายครั้ง
บางคนอาจมองว่าผลลัพท์ออกมามั่วๆซั่วๆ ดูสมัครเล่น แต่ผมกลับชื่นชอบประทับใจซีเควนซ์นี้มากๆ หัวเราะขำกลิ้งจนท้องแข็ง (เหตุผลหลักๆเพราะบทเพลง Please Mr. Postman) และโดยเฉพาะตอนที่ Charlie ขึ้นไปบนโต๊ะสนุกเกอร์ (สื่อถึงการพยายามทำตัวสูงส่ง เหนือกว่าใคร) แล้วพยายามถีบเตะต่อยไปมา ท่าทางกลับเหมือนกำลังโยกเต้นเริงระบำ
เกร็ด: คำว่า Mook น่าจะมีจุดเริ่มต้นจาก Muc ภาษา Irish แปลว่า Pig, ก่อนกลายมาเป็นศัพท์แสลงของชุมชนมาเฟีย Italian หมายถึงโง่เง่า เต่าตุ่น และมักสื่อถึงบุคคลที่มีสถานะต่ำต้อยทางสังคม


นี่เป็นอีกฉากที่สร้างความตลกขบขันให้ผมอย่างมากๆ กลุ่มอาชญากรกระจอกเหล่านี้แม้งกร่างกับใครไปทั่ว แต่กลับหวาดกลัวหัวหดเมื่อพบเห็นแมว/เสือตัวเขื่องๆ ถึงขนาดปีนหนีขึ้นไปยืนบนโซฟา … สัตว์เลี้ยงตัวนี้ของ Tony ไม่ต่างจากการเล่นกับไฟกับของ Charlie ไม่ได้จะสื่อถึงการเผชิญหน้าความกลัว ท้าความตาย แต่เพื่อให้ตนเองตระหนักถึงการมีชีวิต (สังเกตว่า Charlie ไม่ได้ปีนป่ายหลบหนี แต่แสดงสีหน้าเหมือนเข้าใจ Tony)

ผมอาจจะคิดมากไปเองแต่ท่าทางกางแขนระหว่างร่วมรัก รวมถึงขณะที่ Charlie ยกมือขึ้นสองข้างวางบนหัวเตียง มันช่างดูเหมือนการตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) ทั้งๆเป็นฉากแห่งความสุขกระสันต์ ขณะเดียวกันมันกลับสร้างความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (เหมือนพระเยซูขณะถูกตรึงกางเขน) เพราะถือเป็นความสัมพันธ์ต้องห้าม ระหว่างเครือญาติพี่น้อง
ในช็อตที่ Charlie ยกมือสองข้างวางบนหัวเตียง ยังสังเกตว่าแสงจากภายนอกสาดลอดบานเกล็ด เห็นเป็นเหมือนซี่กรงขัง นัยยะคล้ายกับอารัมบทตอนต้นเรื่อง ในบริบทขณะนี้สื่อถึงความสัมพันธ์(ระหว่าง Charlie กับ Teresa) ที่เหมือนจะไร้หนทางออก อยากจะบอกว่ารักเธอ แต่เขากลับโล้เล้ลังเลใจ ขัดย้อนแย้งภายใน ไม่สามารถแสดงออกเช่นนั้นได้


นอกจากรูปภาพพี่น้อง John & Robert F. Kennedy อีกภาพหนึ่งคือ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23, Pope John XXIII (1881-1963, ดำรงตำแหน่ง 1958-63) แต่ในปีที่หนังออกฉายมีการเลือกโป๊ปพระองค์ใหม่ Pope Paul VI (1897-1978, ดำรงตำแหน่ง 1963-78)


แม้เปลี่ยนบรรยากาศไปถ่ายทำยังชายหาดบนเกาะ Staten Island แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง Charlie กับ Teresa กำลังดำเนินมาถึงจุดแตกหัก สังเกตจากแสงสีทอง ‘Golden Hour’ ช่วงเวลาพระอาทิตย์ใกล้ลาลับขอบฟ้า และเสาไม้อันนี้กั้นแบ่งแยกทั้งคู่ออกจากกัน (จริงๆชายหาดก็มักเป็นสถานที่แห่งการบอกเลิกรา จุดเปลี่ยนระหว่างผืนน้ำ-แผ่นดิน ชีวิต-ความตาย)
เกร็ด: การกล่าวถึงนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Francis of Assisi) ไม่ใช่แค่สะท้อนอุดมการณ์ตัวละคร เหตุผลที่ Charlie ต้องการให้ความช่วยเหลือ Johnny Boy แต่ยังอ้างอิงถึงภาพยนตร์ The Flowers of St. Francis (1950) กำกับโดย Roberto Rossellini

ผกก. Scorsese รังเกียจคนผิวสี (racism) หรือไม่? ซีนที่ Charlie ชักชวนนักเต้นผิวสีไปออกเดท แต่กลับตัดสินใจไม่ลงจากแท็กซี่ นี่อาจมีความสองแง่สองง่ามอยู่บ้าง ผมครุ่นคิดว่าเหตุการณ์เล็กๆนี้สะท้อนค่านิยมสังคมยุคสมัยนั้น ที่ยังไม่ค่อยเปิดใจยินยอมรับ กลัวการถูกวิพากย์วิจารณ์ ซุบซิบนินทา แต่สังเกตจากแววตา ปฏิกิริยาแสดงออกตัวละคร นั่นไม่ใช่พฤติกรรม ‘racism’ อย่างแน่นอน

หลายๆฉากที่ Charlie พบปะกับลุง Giovanni หรือบรรดาเจ้าพ่อมาเฟียระดับสูง สังเกตว่าเขาต้องสวมสูทผูกไทด์ ได้ยินเสียงพูดคุยภาษาอิตาเลียน รวมถึงบทเพลงอุปรากร เสียงร้อง Tenor ของ Giuseppe Di Stefano (นักร้องคนโปรดของ Marty) เหล่านี้สำหรับแบ่งแยกชนชั้นของมาเฟียได้อย่างชัดเจน

ค่ำคืนงานเลี้ยงต้อนรับ สหายนายหนึ่งเพิ่งกลับจากสงครามเวียดนาม Charlie ดื่มหนักจนมึนเมามาย ใช้กล้องผูกติดเข้ากับตัว Harvey Keitel เวลาเดินโยกไปโยกมา ได้ผลลัพท์ภาพถ่ายก็โซซัดโซเซ สร้างเอ็ฟเฟ็กดูเหมือนคนกำลังมึนเมา … นี่กลายเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากๆในกาลถัดมา สำหรับนำเสนอสภาพของคนมึนเมาทั้งดื่มเหล้า เสพยา

ระหว่างกำลังมึนๆเมาๆ Charlie ถูกปลุกตื่นโดย Michael เพราะว่า Johnny เบี้ยวนัดไม่ยอมจ่ายหนี้ นี่ถือเป็นฟางเส้นสุดท้าย ไม่อยากประณีประณอมอีกต่อไป … โดยปกติแล้วบาร์ของ Tony มักอาบฉาบด้วยแสงสีแดง แต่เฉพาะครานี้หลอดไฟขาวลอยอยู่เหนือศีรษะ Charlie สว่างจร้าขนาดนี้ทำให้สร่างเมาแทบจะโดยทันที!

ทั้งๆคืองานเลี้ยงต้อนรับ เฉลิมฉลองเดินทางกลับบ้านของสหายนายหนึ่ง แต่หลังจากทุกคนมึนเมามาย และบทเพลง Pledging My Love (1954) ของ Johnny Ace ดังขึ้น ก็ทำให้เขาลุกขึ้นมาล้มโต๊ะ ฉุดกระชากหญิงสาวคนหนึ่ง แสดงอาการคลุ้มบ้าคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป? ดื่มหนักไปหรือเปล่า?
Forever my darling our love will be true
Always and forever I’ll love just you
Just promise me darling your love in return
May this fire in my soul dear forever burnMy heart’s at your command dear
To keep love and to hold
Making you happy is my desire dear
Keeping you is my goalI’ll forever love you
For the rest of my days
I’ll never part from you
and your loving waysMy heart’s at your command dear
To keep love and to hold
Making you happy is my desire dear
Loving you is my goalI’ll forever love you
For the rest of my days
I’ll never part from you
and your loving ways.
เกร็ด: นี่คือเพลงสุดท้ายที่ Johnny Ace ขับร้องไว้ก่อนประสบอุบัติเหตุปืนลั่น วางจำหน่ายหลังเสียชีวิต (Posthumously) สามารถทำอันดับสูงสุดที่ 17 ชาร์ท Billboard Hot 100
มันไม่ใช่ว่าเขาดื่มเหล้าเมามายจนขาดสตินะครับ แต่ผกก. Scorsese ต้องการสะท้อนอิทธิพลจากสงครามเวียดนาม สนามรบอินโดจีนหาได้ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร สร้างความเชิดหน้าชูตาให้ใคร ตรงกันข้ามมันคือหายนะของสหรัฐอเมริกา ทหารหาญทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งร่างกาย และสูญเสียจิตวิญญาณของตนเอง (Shell Shock) ท่วงทำนองบทเพลงนี้กระตุ้นอาการเจ็บปวด ความสูญเสีย(จากสงคราม)ได้อย่างทรงพลัง … นี่เป็นการแสดงทัศนะต่อต้านสงคราม (Anti-Vietnam War) จะมีความชัดเจนอย่างมากๆกับ Taxi Driver (1976)

Teresa เดินทางมาที่บาร์เพื่อบอกกับ Charlie ว่า Johnny คลุ้มคลั่งไปแล้ว (ล้อกับอาการคลุ้มคลั่งของทหารเพิ่งกลับจากเวียดนาม) ขึ้นไปตะโกนโหวกโหวก ลั่นไกปืนบนชั้นดาดฟ้า พอสามารถพูดคุยโน้มน้าว จึงพากันลงมาเตร็ดเตร่ ร่อนเร่ถึงสุสานวิหาร Old St Patrick’s Cathedral
แม้ว่า Johnny ไม่ได้ไปสงครามเวียดนาม แต่สภาพแวดล้อมใน Littly Italy (และสหรัฐอเมริกา) ช่วงทศวรรษ 60s-70s คือสิ่งสร้างอิทธิพล ส่งผลกระทบภายใน แสดงพฤติกรรมดื้อรั้น เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ โหยหาอิสรภาพ ไม่ต้องการถูกควบคุมครอบงำโดยใคร
การแสดงอาการคลุ้มคลั่งบนชั้นดาดฟ้า นั่นน่าคือขีด(สูง)สุดความอดกลั้นของ Johnny ไม่สามารถควบคุมตนเองได้อีกต่อไป ถึงอย่างนั้น Charlie ก็ยังพยายามพูดคุยโน้มน้าว นำพามายังสุสาน ถ้ายังคงเลือกใช้ชีวิตอย่างนี้ (จ้องมองไปยังงานเลี้ยงปาร์ตี้) คงได้แผ่ผังพาบ นอนราบแบบเดียวกันคนตาย (แต่นี่ไม่ได้จะปักธงความตายของ Johnny นะครับ)


หลังจากเบี้ยวนัดได้ชั่วโมงกว่าๆ Johnny ก็ขึ้นไปวิ่งเล่นบนชั้นดาดฟ้า ยกมือขึ้นสองข้าง ประกาศอิสรภาพ อะไรของมันว่ะ?? แต่โดยไม่รู้ตัวซีเควนซ์นี้กลายเป็นแรงบันดาลใจ The Godfather Part II (1974) จะมีฉากที่ Robert De Niro วิ่งเล่นบนชั้นดาดฟ้าระหว่างเทศกาล Feast of San Gennaro คล้ายๆกัน –“

การเผาธนบัติของ Johnny แสดงถึงความไม่ยี่หร่าต่อสิ่งใดๆ ไม่ใช่แค่ระบอบทุนนิยม แต่ยังขนบกฎกรอบ วิถีทางสังคม โหยหาอิสรภาพ พยายามดิ้นให้หลุดพ้น ไม่ต้องการถูกควบคุมครอบงำ อยากใช้ชีวิตโดยไม่สนห่าเหวอะไรใคร

Charlie กับ Johnny รับชมภาพยนตร์เรื่อง The Tomb of Ligeia (1964) แนว British Horror กำกับโดย Roger Corman ผู้ได้รับฉายา “The Spiritual Godfather of the New Hollywood” และ “The King of Cult” ทั้งยังเป็นโปรดิวเซอร์ Boxcar Bertha (1972) และเสนอแนะนำผกก. Scorsese ให้สรรค์สร้าง Mean Streets ออกมาในแนวทาง Blaxploitation
ผมไม่เคยรับชม The Tomb of Ligeia (1964) แต่สังเกตจากซีนที่นำเสนอเหมือนว่าหญิงสาว(บริสุทธิ์)กำลังจะถูกฆาตกรรม นี่อาจจะสื่อถึงบุคคลบริสุทธิ์ (น่าจะหมายถึง Charlie) กำลังตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ต้องร่วมรับผิดชอบ(การกระทำของ Johnny)ในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่อกรรมทำเข็น
ปล. หลังดูหนังจบจะพบเห็นโปสเตอร์หนัง The Tomb of Ligeia (1964), X: The Man with the X-Ray Eyes (1963) และอีกฟากฝั่งหนึ่ง Point Blank (1967), Husbands (1970)


หน้าคุ้นๆ ผกก. Scorsese รับเชิญในบทมือปืน นั่งอยู่เบาะหลังรถของ Michael ยิงใส่ Charlie, Johnny และ Teresa ต่างได้รับบาดเจ็บสาหัส
การรับเชิญของ Marty ไม่ใช่แค่ Cameo เดินโฉบผ่านๆแบบ Alfred Hitchcock แต่ต้องมีนัยยะอะไรบางซ่อนเร้น อย่างฉากนี้รับบทมือปืน ล้างแค้นคนทรยศหักหลัง หรือคือกรรมสนองกรรม ล้อกับคำพูดตอนต้นเรื่องที่เคยกล่าวไว้ ราวกับพระเจ้าลงทัณฑ์ ช่วงเวลาตัดสินโทษคนบาป (Judgement Day)
You don’t make up for your sins in church. You do it in the streets. You do it at home. The rest is bullshit and you know it.
Martin Scorsese

Charlie, Johnny และ Teresa ร่วมกันออกเดินทางจาก Little Italy เพื่อหลบหนีเจ้าหนี้ Michael แต่หลังจากข้ามสะพาน Brooklyn Bridge ก็ถูกไล่ล่า กราดยิง จนทำให้ทั้งสามบาดเจ็บ รถพุ่งชนท่อปะปาแตก (น่าจะสื่อถึงจุกแตกหัก และการปลดปล่อย) และต่างฝ่ายต่างแยกย้ายกันคนละทิศละทาง
- Charlie ก้าวออกมานอกรถ แล้วทิ้งตัวนั่งลงคุกเข่า ราวกับต้องการขอขมาลาโทษ ก่อนถูกส่งขึ้นรถพยาบาล
- มือของ Teresa ยื่นออกมานอกกระจกหน้ารถ (น่าจะสื่อถึงความยึดติด ไม่สามารถดิ้นหลุดพ้นด้วยตนเอง) ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากกู้ภัยพาตัวออกมา
- Johnny Boy หลังออกจากรถ เดินลัดเลาะเลียบผนัง ก่อนมีรถตำรวจสวนมา น่าจะสื่อถึงกำลังจะถูกจับกุมตัว
ผกก. Scorsese ให้สัมภาษณ์ว่าแม้ทั้งสามจะได้รับบาดเจ็บสาหัส แต่ก็ไม่ใครเสียชีวิต จงใจปลายเปิดโชคชะตากรรมของพวกเขาทิ้งไว้ แล้วแต่ผู้ชมจะขบครุ่นคิด



นอกจากร้อยเรียงสภาพของทั้งสามที่แตกต่างกันไป หนังยังมีแทรกฟุตเทจจากภาพยนตร์ The Big Heat (1953) นี่ไม่ใช่แค่การเปรียบเทียบภาพเหตุการณ์บังเกิดขึ้น (นำเสนอซีนที่นางเอกประสบอุบัติเหตุถูกรถชน) ยังต้องการสื่อว่าเรื่องราวทั้งหมดคือสิ่งปรุงแต่ง โลกมายา (เพราะกำลังรับชมผ่านจอโทรทัศน์)
และอีกสิ่งหนึ่งที่ผมถือเป็นไฮไลท์ คือแทรกภาพการแสดงคอนเสิร์ต วงคอรัสประสานเสียงเพลง ‘O Marenariello ถึงอาจฟังภาษาอิตาเลี่ยนไม่รู้เรื่อง แต่พลังของเสียงร้องและมุมกล้องถ่ายจากเบื้องบนก้มลงมา ราวกับจิตวิญญาณล่องลอยไป ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงความตาย (เพราะเมื่อตอนพบเห็นมุมกล้องนี้จาก Taxi Driver (1976) พระเอกยังสามารถเอาตัวรอดมาได้) อาจหมายถึงจิตวิญญาณได้รับอิสรภาพ


ช็อตสุดท้ายของหนังอาจดูเหมือนไม่ได้มีนัยยะอะไรลุ่มลึกล้ำ แค่ใครคนหนึ่งเลื่อนบานเกล็ดลงมาปิดหน้าต่าง แต่นั่นสื่อตรงๆถึงการ ‘ปิดฉาก’ ตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ … ผมเรียกเล่นๆว่า ‘Scorsese’s Touch’ ทำสิ่งตรงกันข้ามกับตอนอารัมบทที่เคยถ่ายจากภายในห้องพัก Charlie ถูกปลุกตื่นยามเช้า, ปัจฉิมบทนี้ค่ำคืนมืดมิด ถ่ายจากภายนอกอพาร์ทเม้นท์ ผู้คนใกล้ถึงเวลาหลับนอน
ความแตกต่างตรงกันข้ามระหว่างภาพแรก-สุดท้ายของหนัง สามารถตีความถึงโลกทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนแปลงไปของ…
- Charlie จากเคยรู้สึกเหมือนถูกกักขังอยู่ในกรง เต็มไปด้วยความขัดแย้งภายใน ท้ายที่สุดจำใจต้องออกเดินทางสู่โลกกว้าง ราวกับชีวิตได้รับอิสรภาพ
- เฉกเช่นเดียวกับผกก. Scorsese หลังได้รับคำตัดเตือนจากรุ่นพี่ John Cassavetes สรรค์สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ทุกสิ่งอย่างก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ตัดต่อโดย Martin Scorsese แต่ในเครดิตขึ้นชื่อ Sidney Levin นั่นเพราะ Marty ไม่ได้เป็นสมาชิก Motion Picture Editors Guild (MPEG) จึงไม่สามารถปรากฎชื่อบนเครดิต Levin ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการตัดต่อจึงตอบตกลงให้ใช้ชื่อแทน
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Charlie Cappa ร้อยเรียงวิถีชีวิต ‘Slice-of-Life’ กิจวัตรประจำวันของอาชญากรระดับล่าง ก่ออาชญากรรม กระทำสิ่งผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันยังคอยให้ความช่วยเหลือ/หาข้อแก้ต่างญาติห่างๆ Johnny Boy เอาตัวรอดจากเจ้าหนี้นอกระบบ
- อารัมบท & Opening Credit
- เช้าไม่อยากตื่นของ Charlie
- Opening Credit ร้อยเรียงภาพวิถีชีวิตของ Charlie จากฟีล์ม 16mm
- แนะนำสมาชิกแก๊งของ Charlie ประกอบด้วย Tony (เจ้าของบาร์), Michael (เจ้าหนี้นอกระบบ/นำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย), Johnny Boy (หนุ่มน้อยไม่เอาถ่าน)
- Charlie กับ Johnny
- Charlie หลังออกจากโบสถ์ ตรงมายังบาร์ของ Tony พบเจอ Michael เล่าปัญหาของ Johnny
- Johnny เดินทางมาถึงบาร์พร้อมสองสาว พูดคุยหลังร้านกับ Charlie
- Charlie พบเจอกับลุง Giovanni
- กิจวัตรของอาชญากรระดับล่าง
- Tony และ Michael ล่อหลอกเด็กวัยรุ่น ได้เงินมาพา Charlie และ Johnny ไปรับชมภาพยนตร์
- ทั้งสี่เดินทางไปหา Joey (เจ้าของร้านสนุ๊กเกอร์) เรียกร้องค่าไถ่ แต่มีปัญหาชกต่อยกันเล็กน้อยก่อนแยกย้าย
- ยามค่ำคืนมึนเมาในบาร์ เกิดเหตุคู่อาฆาตต่อสู้เข่นฆาตกรรม
- หลบหนีหัวซุกหัวซุน ก่อนที่ Charlie และ Johnny กลับมาหลับนอนอพาร์ทเม้นท์
- ความขัดแย้งในใจของ Charlie
- Charlie แอบสานสัมพันธ์กับญาติห่างๆ Teresa รับรู้ว่าเป็นสิ่งผิดแต่ก็มิอาจหักห้ามใจ ถึงอย่างนั้นเขากลับพยายามรักษาระยะห่าง ปฏิเสธตกหลุมรักกับเธอ
- ลุง Giovanni เรียก Charlie มาพูดคุยปัญหาของ Johnny, เช่นเดียวกับ Michael เริ่มรู้สึกไม่พึงพอใจ
- ค่ำคืนงานเลี้ยงตอนรับ สหายคนหนึ่งกลับจากสงครามเวียดนาม ดื่มกันอย่างมึนเมามาย แต่ขณะกำลังจะไม่ได้สติ Teresa บอกกับ Charlie ว่า Johnny กำลังคลุ้มคลั่งอยู่บนชั้นดาดฟ้า
- Charlie ขึ้นไปเกลี้ยกล่อม Johnny พร้อมนัดหมายอีกฝ่ายให้เคลียร์ปัญหาคาใจกับ Michael
- อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
- เมื่อถึงเวลานัดหมาย Johnny จงใจมาสายกว่าชั่วโมง สร้างความไม่พึงพอใจต่อ Charlie แถมยังทำให้ Teresa เป็นลมชัก
- Charlie ลากพา Johnny มาถึงบาร์ เผชิญหน้ากับ Michael แต่เขากลับชักปืนมาข่มขู่ กระทำร้ายร่างกาย
- Charlie จึงจำต้องพา Johnny (ร่วมกับ Teresa) หลบหนีออกจาก Little Italy แต่ยังถูก Michael และมือปืน ติดตามไล่ล่าล้างแค้น
เหตุผลที่หลายคนรู้สึกว่าหนังดูยาก นั่นเพราะผกก. Scorsese ไม่ได้สร้างเป้าหมายให้กับเรื่องราว เพียงร้อยเรียงวิถีชีวิต กิจวัตรประจำวัน ตัวละครกระทำสิ่งโน่นนี่นั่น ดำเนินไปอย่างเรื่อยเปื่อยเหมือนจะไร้แก่นสาร จนสร้างความเหน็ดเหนื่อยรำคาญใจให้กับผู้ชม … นั่นคือหนึ่งในอารมณ์ที่ Marty ต้องการให้ผู้ชมสัมผัสความรู้สึกของตนเองในขณะนั้นๆ
สิ่งที่ผมชื่นชอบมากๆคือการร้องเรียงภาพประกอบเพลง (ในสไตล์ Kenneth Anger) ใช้เนื้อคำร้องนำทางเรื่องราว อธิบายเหตุการณ์บังเกิดขึ้น สำหรับคนดูหนังไม่ค่อยเข้าใจ เวลารับชมแนะนำให้อ่านเนื้อเพลงตามไปด้วยอาจจะช่วยได้
ครึ่งหนึ่งของทุนสร้างหมดไปกับค่าลิขสิทธิ์เพลงประกอบ ผกก. Scorsese เลือกบทเพลงฮิต ติดหู พอมีชื่อเสียง และที่สำคัญเนื้อคำร้องสอดคล้องเรื่องราวขณะนั้นๆ ทำออกมาในลักษณะ ‘Music Video’ ยุคสมัยนั้นยังถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ ปฏิวัติวงการ และอาจเป็นภาพยนตร์แนวอาชญากรรม/มาเฟีย เรื่องแรกๆที่ใช้วิธีการลักษณะนี้
เริ่มต้นด้วย Opening Credit บทเพลง Be My Baby (1963) แนว Pop, R&B แต่งโดย Jeff Barry & Ellie Greenwich & Phil Spector, ขับร้องโดยวงสามสาว The Ronettes, เคยติดอันดับ 2 ชาร์ท Billboard Hot 100 และได้รับการยกย่องอันดับ 422 จากนิตยสาร The Rolling Stone: The 500 Greatest Albums of All Time
Without the glory of “Be My Baby” (arguably the single greatest use of a pop song in Hollywood history), Mean Streets wouldn’t be Mean Streets. What he leaves out, of course, is that the glory of Mean Streets only added to the luster of Phil Spector.
นักวิจารณ์ Owen Gleiberman เขียนให้กับ Entertainment Weekly
ผมรู้สึกว่าเนื้อคำร้องบทเพลงนี้ มีความชัดเจนมากๆว่าหนึ่งในผู้แต่ง Phil Spector ตกหลุมรักนักร้องนำ Ronnie Spector (ขณะนั้นอายุเพียง 17 ปี) นี่คือวิธีที่เขาใช้เกี้ยวพาราสี แสดงออกความรัก ชักชวนร่วมเพศสัมพันธ์ ซึ่งเสียงร้อง Whoa-oh-oh-oh ฟังเหมือนหนุ่มสาวกำลัง…
แต่ผมยังขบครุ่นคิดไม่ออกว่าบทเพลงนี้มีความสัมพันธ์อะไรกับ Mean Streets (1973) เพราะเนื้อหาของหนังไม่ใช่เรื่องราวรักๆใคร่ๆ หรือถ้ามองความสัมพันธ์ระหว่าง Charlie กับ Teresa มันก็หาใช่ประเด็นสลักสำคัญสักเท่าไหร่ (แต่มันก็สอดคล้องกันอยู่ เพราะ Charlie แม้ตกหลุมรักญาติห่างๆ Teresa กลับพยายามยื้อๆยักๆ ปฏิเสธพูดคำว่ารัก เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งต่อสามัญสำนึกประจำใจ)
The night we met I knew I needed you so
And if I had the chance I’d never let you go
So won’t you say you love me?
I’ll make you so proud of me
We’ll make ’em turn their heads every place we goSo won’t you, please (be my, be my baby)
Be my little baby? (My one and only baby)
Say you’ll be my darlin’ (be my, be my baby)
Be my baby now (my one and only baby)
Whoa-oh-oh-ohI’ll make you happy, baby, just wait and see
For every kiss you give me, I’ll give you three
Oh, since the day I saw you
I have been waiting for you
You know I will adore you ’til eternitySo won’t you, please (be my, be my baby)
Be my little baby? (My one and only baby)
Say you’ll be my darlin’ (be my, be my baby)
Be my baby now (my one and only baby)
Whoa-oh-oh-ohSo come on and, please (be my, be my baby)
Be my little baby? (My one and only baby)
Say you’ll be my darlin’ (be my, be my baby)
Be my baby now (my one and only baby)
Whoa-oh-oh-ohBe my little baby? (My one and only baby)
Oh-oh-oh (be my, be my baby)
Oh (my one and only baby)
Whoa-oh-oh-oh (be my, be my baby)
Oh-oh-oh (My one and only baby)
Oh (be my, be my baby)
ครั้งแรกที่ Charlie เดินเข้ามาในบาร์ของ Tony จะได้ยินบทเพลง Tell Me (You’re Coming Back) (1964) แต่งโดย Mick Jagger & Keith Richards, ขับร้องโดยวงร็อคสัญชาติอังกฤษ The Rolling Stones แล้วข้ามน้ำข้ามทะเลมาติดอันดับ 24 ชาร์ท Billboard Hot 100
แม้เนื้อคำร้องเพลงนี้จะให้ความรู้สึกเหมือนความสัมพันธ์ที่ใกล้พังทลาย พยายามอ้อนวอนร้องขอให้เธอหวนกลับคืนมา แต่นัยยะของหนังไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับประเด็นรักๆใคร่ๆ ผมครุ่นคิดว่าต้องการสื่อถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Michael พยายามต่อรองกับ Charlie เรียกร้องขอให้ Johnny Boy หวนกลับมาจ่ายเงินชดใช้หนี้ตามกำหนด
I want you back again
I want your love again
I know you find it hard to reason with me
But this time it’s different, darling you’ll see[Chorus]
You gotta tell me you’re coming back to me
You gotta tell me you’re coming back to me
You gotta tell me you’re coming back to me
You gotta tell me you’re coming back to meYou said we’re through before
You walked out on me before
I tried to tell you, but you didn’t want to know
This time you’re different and determined to go[Chorus]
[Chorus]I wait as the days go by
I long for the nights to go by
I hear the knock on my door that never comes
I hear the telephone that hasn’t rung[Chorus]
[Chorus]
สำหรับบทเพลงที่ถือเป็นตัวตายตัวแทนของ Johnny Boy ดังขึ้นระหว่างเดินเข้ามาในบาร์กับสองสาว Jumpin’ Jack Flash (1968) แต่งโดย Jagger/Richards (Mick Jagger & Keith Richards), ขับร้องโดย The Rolling Stones สามารถไต่ถึงอันดับ 3 ชาร์ท Billboard Hot 100 และได้รับการยกย่องติดอันดับ 144 จากนิตยสาร The Rolling Stone: The 500 Greatest Albums of All Time
แค่คำร้องประโยคแรก “I was born in a crossfire hurricane” ก็บ่งบอกตัวตนของ Johnny Boy ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบทเพลงนี้เห็นว่ายังสะท้อนภาพวัยรุ่นยุคสมัย Swinging London เต็มไปด้วยความลุ่มร้อนทรวงใน โหยหากระทำสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ ต้องการปลดปล่อยตนเอง ใช้ชีวิตอย่างไม่ยี่หร่าอะไรใคร
One, two!
I was born in a crossfire hurricane
And I howled at the morning drivin’ rainBut it’s all right now, in fact it’s a gas
But it’s all right, I’m jumpin’ jack flash
It’s a gas, gas, gasI was raised by a toothless, bearded hag
I was schooled with a strap right across my backBut it’s all right now, in fact it’s a gas
But it’s all right, I’m jumpin’ jack flash
It’s a gas, gas, gas (oh)I was drowned, I was washed up and left for dead
I fell down to my feet and I saw they bled
Yeah, yeah
I frowned at the crumbs of a crust of bread
Yeah, yeah, yeah
I was crowned with a spike right through my head
My, my, yeahBut it’s all right now, in fact it’s a gas
But it’s all right, I’m jumpin’ jack flash
It’s a gas, gas, gasJumpin’ jack flash, it’s a gas
Jumpin’ jack flash, it’s a gas
Jumpin’ jack flash, it’s a gas
Jumpin’ jack flash, it’s a gas
Jumpin’ jack flash, it’s a gas
Jumpin’ jack flash, it’s a gas
บทเพลงที่ผมมองว่ากลายเป็น ‘Iconic’ ติดอยู่กับหนังคือ Please Mr. Postman (1961) แต่งโดย Georgia Dobbins & William Garrett & Brian Holland & Robert Bateman) ขับร้องโดยวงสี่สาว The Marvelettes ถือเป็นบทเพลงแรกแจ้งเกิด สามารถไต่ถึงอันดับหนึ่ง Billboard Hot 100 ยอดขายระดับเกินกว่าล้านก็อปปี้ และติดอันดับ 331 จากนิตยสาร The Rolling Stone: The 500 Greatest Albums of All Time
ดังขึ้นระหว่างการชกต่อย ตะลุมบอนระหว่างสี่สหายมาเฟีย vs. เจ้าของร้านสนุ๊กเกอร์ ขัดใจกันเพราะคำว่า ‘Mook’ ทั้งๆไม่มีใครรับรู้ความหมาย แต่เรื่องพรรค์นี้เหยียดหยามกันไม่ได้ เนื้อคำร้องบทเพลงนี้อาจฟังดูไม่ได้เกี่ยวข้องอะไร (คือการอ้อนวอนร้องขอ Mr. Postman ช่วยค้นหาจดหมายของแฟนหนุ่มอีกสักครั้งได้ไหม) แต่ท่อน “Wait a minute, please Mister Postman” เหมือนต้องการบอกให้พวกเขาหยุดยับยั้ง ชะลอการต่อสู้ พูดกันดีๆไม่ได้หรือไง แต่ออกหมัดไปแล้วใครจะหยุดได้กัน … ถ้าคุณสามารถเข้าใจความสอดคล้องระหว่างบทเพลงกับซีเควนซ์นี้ ก็อาจได้หัวเราะท้องแข็งจนแทบตกเก้าอี้
Wait Mister Postman
Oh yeah
(Is there a letter in your bag for me) Please, Please Mister Postman
(Why’s it been a very long time) Oh yeah
(Since I heard from this boyfriend of mine)There must be some word today
From my boyfriend so far away
Please Mister Postman, look and see
Is there a letter, a letter for meI’ve been standin’ here waitin’ Mister Postman
So patiently, for just a card, or just a letter
Sayin’ he’s returnin’ home to mePlease Mister Postman (Mister Postman, look and see) Oh yeah
(Is there a letter in your bag for me?) Please Please Mister Postman
(Why’s it been a very long time) Oh yeah
(Since I heard from this boyfriend of mine)So many days you passed me by
You saw the tears standin’ in my eye
You wouldn’t stop to make me feel better
By leavin’ me a card or a letterPlease Mister Postman look and see (Postman postman)
Is there a letter oh yeah in your bag for me? (Postman postman)
You know its been so long (Postman postman)
Yes since I heard from this boyfriend of mine (Postman postman)You better wait a minute, wait a minute
Oh you better wait a minute
Please please Mister Postman (Wait a minute Mister Postman)
Please check and see just one more time for me
You better wait, wait a minute
Wait a minute, wait a minute, wait a minute
Please Mister Postman
Deliver de letter the sooner de better
Wait a minute, wait a minute
Wait a minute, please Mister Postman
Wait a minute, wait a minute oh oh
ค่ำคืนดึกดื่น ดื่มเหล้ามึนเมามาย ในบาร์ของ Tony แทบทุกคนมีท่าทางเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ได้ยินบทเพลง Mala Femmena (ภาษาอิตาเลี่ยนแปลว่า Evil Girl) ขับร้องโดย Jimmy Roselli ศิลปินสัญชาติ Italian-American … ถึงจะฟังคำร้องไม่รู้เรื่อง แต่น้ำเสียงของ Roselli สร้างบรรยากาศมืดหม่นหมองให้กับซีเควนซ์นี้ได้น่าประทับใจ
ในหนังไม่ได้มีการพูดบอกว่ามันเกิดห่าเหวอะไรขึ้น แต่ใช้บทเพลงนี้(สำหรับคนฟังภาษาอิตาลีรู้เรื่อง)อธิบายเหตุการณ์ทั้งหมด โดยเนื้อคำร้องน่าจะสื่อถึงหญิงสาว(มือปืน)ที่เพิ่งเข้ามาหลังร้านปิด เหมือนเธอมีความหึงหวง อิจฉาริษยา ไม่พึงพอใจชายคนรัก จู่ๆเข้าไปในห้องน้ำแล้วกราดยิงปืนใส่เขา เอาจนอีกฝ่ายตกตาย
คำร้องภาษาอิตาเลี่ยน | คำแปลจาก Google Translation |
---|---|
Si avisse fatto a n’ato Chello ch’hê fatto a me, St’ommo t’avesse acciso… E vuó’ sapé pecché? Pecché ‘ncopp’a ‘sta terra, Femmene comm’a te, Nun ce hann”a stá pe’ n’ommo Onesto comm’a me… Femmena, Tu si’ na Malafemmena… A st’uocchie hê fatto chiagnere, Lacreme ‘e ‘nfamitá… Femmena, Tu si’ peggio ‘e na vipera, Mm’hê ‘ntussecato ll’ánema, Nun pòzzo cchiù campá… Femmena, Si’ doce comm”o zzuccaro… Peró ‘sta faccia d’angelo, Te serve pe’ ‘nganná! Femmena, Tu si’ ‘a cchiù bella femmena… Te voglio bene e t’odio: Nun te pòzzo scurdá… Te voglio ancora bene, Ma tu nun saje pecché… Pecché ll’unico ammore Si’ stato tu pe’ me!… E tu, pe’ nu capriccio, Tutto hê distrutto oje né’… Ma Dio nun t”o pperdona Chello ch’hê fatto a me… Femmena, Tu si’ na Malafemmena… A st’uocchie hê fatto chiagnere, Lacreme ‘e ‘nfamitá… Femmena, Tu si’ peggio ‘e na vipera, Mm’hê ‘ntussecato ll’ánema, Nun pòzzo cchiù campá… Femmena, Si’ doce comm”o zzuccaro… Peró ‘sta faccia d’angelo, Te serve pe’ ‘nganná! Femmena, Tu si’ ‘a cchiù bella femmena… Te voglio bene e t’odio: Nun te pòzzo scurdá… | If you had done to another What you did to me, This man would have killed you… And do you want to know why? Because on this earth, Women like you, Should not exist for an honest man Like me… Woman, You are a Malafemmena… You have made these eyes cry, Tears of infamy… Woman, You are worse than a viper, You have poisoned my soul, I can’t live anymore… Woman, You are sweet as sugar… But that angelic face, You use it to deceive! Woman, You are the most beautiful woman… I love you and I hate you: I can’t forget you… I still love you, But you don’t know why… Because the only love You have been for me… And you, for a whim, You have destroyed everything today… But God will not forgive you What you did to me… Woman, You are a Malafemmena… You have made these eyes cry, Tears of infamy… Woman, You are worse than a viper, You have poisoned my soul, I can’t live anymore… Woman, You are sweet as sugar… But that angelic face, You use it to deceive! Woman, You are the most beautiful woman… I love you and I hate you: I can’t forget you… |
ระหว่างที่ Charlie กำลังมึนเมา กล้องถ่ายเบื้องหน้า ส่ายไปส่ายมา พร้อมได้ยินบทเพลง Rubber Biscuit (1956) แนว Doo-Wop แต่งโดย Charles Johnson, ขับร้องโดยวง The Chips
Bow bow bow, um do that again, bow bow bow
Have you ever heard of a wish sandwich?
A wish sandwich is the kind of a sandwich
Where you have two slices of bread and you
Hee hee hee, wish you had some meat
Bow bow bow, um
The other day I had a ricochet biscuit
A ricochet biscuit is the kind of a biscuit
That’s supposed to bounce back off the wall
Into your mouth, if it don’t bounce back, you go hungry
Bow bow bow, um um um
The other day I had a cool water sandwich
And a Sunday-go-to-meetin’ bun
Bow bow bow, hee hee hee hee
What da ya want for nothing?
A rubber biscuit? Bow bow bow
แซว: ได้ยินคำร้องไร้สาระ ฟังไม่ได้สดับ (Gibberish) ชวนให้ผมระลึกนึกถึง Pink Flamingo (1972) จะมีฉาก !@#$% พร้อมบทเพลง Surfin’ Bird (1963) ของวง The Trashmen ซึ่งผกก. John Waters ก็เคยนำ Rubber Biscuit (1956) ไปใช้ประกอบภาพยนตร์ Cry-Baby (1990)
ฉากขับรถไล่ล่า Michael ต้องการล้างแค้น Johnny ได้ยินบทเพลง Steppin’ Out (1959) แนว Blue แต่ง/บรรเลงโดย Memphis Slim ไม่มีเนื้อคำร้อง แต่จังหวะมันส์ๆ ลีดกีตาร์เร้าใจ สร้างความตื่นเต้น เฉียดเป็นเฉียดตาย ชื่อบทเพลงก็สอดคล้องเหตุการณ์ขณะนั้น ตัวละครกำลังก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัย หลบหนี/ออกเดินทางสู่โลกใบใหม่
สำหรับบทเพลงทิ้งท้ายของหนังชื่อว่า ‘O Marenariello (1893) ภาษา Neapolitan (ส่วนผสมระหว่าง Italo-Ramance) คำร้องโดย Gennaro Ottaviano, ทำนองโดย Salvatore Gambardella, แต่เนื่องจากไม่มีเครดิตเลยไม่รู้ใครเป็นผู้ขับร้อง
บทเพลงนี้เคยได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Marty Symes ตั้งชื่อว่า I Have But One Heart (1947), ต้นฉบับขับร้องโดย Vic Damone สามารถติดอันดับ 7 ชาร์ท Billboard Hot 100, ซึ่งภาพยนตร์ The Godfather (1972) ระหว่างงานแต่งงานของ Johnny Fontane (รับบทโดย Al Martino) ก็มีการขับร้องบทเพลงนี้ด้วยนะครับ … จะว่าไปการที่ผกก. Scorsese เลือกบทเพลงนี้ (แต่ใช้ภาษาต้นฉบับ Neapolitan) น่าจะเป็นการคารวะ The Godfather (1972) ด้วยกระมัง
แซว: คำร้องท่อนแรก “Oh, come quickly. Don’t make me wait any longer” ดังขึ้นขณะที่ตัวละครทั้งสามถูกยิง ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหมือนต้องการจะสื่อว่า รถพยาบาลโปรดมาเร็วๆ ฉันอดรนทนไม่ไหว จะตายแหล่มิตายแหล่อยู่ทนโท่
คำร้องภาษา Naepolitan | คำแปลจาก Google Translation |
---|---|
Oje né, fa’ priesto viene! nun mme fá spantecá… ca pure ‘a rezza vène ch’a mare stó’ a mená… Méh, stienne sti bbraccelle, ajutame a tirá… ca stu marenariello te vò sempe abbracciá. Vicin’ô mare, facimmo ‘ammore, a core a core, pe’ nce spassá… Só marenaro e tiro ‘a rezza: ma, p’allerezza, stóngo a murí… Vide ca sbatte ll’onna comm’a stu core ccá; de lacreme te ‘nfonne ca ‘o faje annammurá… Viene, ‘nterr’a ‘sta rena nce avimm’a recrijá; che scenne la serena… io po’ stóngo a cantá. Vicin’ô mare, Oje né, io tiro ‘a rezza e tu statte a guardá… li pisce, p’a prijezza, comme stanno a zumpá!… E vide, pure ‘e stelle tu faje annammurá… ca stu marenariello, tu faje suspirá… Vicin’ô mare, | Oh, come quickly, come! Don’t make me wait any longer… Because the net is also coming, That I’m about to bring in from the sea… Oh, stretch out these arms, Help me to pull… Because this seafaring boy Wants to embrace you always. Near the sea, Let’s make love, Heart to heart, To have fun… I’m a sailor And I pull the net: But, for the joy, I’m dying… See how the wave beats like this heart of mine; With tears it is already satiated because you make it fall in love… Come, on this sand we have to recreate ourselves; Let the siren descend and sing under the sun. Near the sea, Oh, now I pull the net. And you stay without doing anything. The fish in the sea weave a joyful dance. And see, even the stars You make them fall in love… Because this seafaring boy, You make him sigh… Near the sea, |
Mean Streets (1973) ร้องเรียงวิถีชีวิต ‘Slice-of-Life’ กิจวัตรประจำวันของอาชญากรระดับล่าง พูดจาข่มขู่ วางอำนาจบาดใหญ่ ใช้ความรุนแรง รีดไถเงินค่าคุ้มครอง เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็เข่นฆ่าล้างแค้น ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งขัดย้อนแย้งต่อสามัญสำนึก กฎหมายบ้านเมือง และหลักปฏิบัติทางศาสนา แต่เพราะ Charlie เติบโตขึ้นมาในครอบครัวเชื้อสาย Italian-American มีลุง(เจ้าพ่อมาเฟีย)เป็นต้นแบบอย่าง รวมถึงอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม Little Italy, Manhattan ทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตนเอง ดิ้นหลบหนีสังคมต่ำทรามเหล่านั้น
เกร็ด: Mean Streets ไม่ใช่ชื่อตรอกซอกซอยที่มีอยู่จริง แต่เป็นการอุปมาอุปไมยถึงเส้นทางชีวิต วิถีอาชญากร โลกใต้ดินที่มีความเหี้ยมโหดร้าย อันตราย อาชญากรกระทำสิ่งผิดกฎหมาย … ซึ่งก็ได้แรงบันดาลใจจากย่าน Little Italy, Manhattan
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของ Charlie เพราะเติบโตขึ้นในครอบครัวเคร่งศาสนา Roman Catholic แต่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม Little Italy ทำให้เขาต้องกระทำสิ่งเลวร้ายมากมาย รับรู้ตัวเองดีว่าเป็นคนบาป สารภาพความผิดในโบสถ์ย่อมไม่มีประโยชน์อันใด การชดใช้ต้องมาจากการแสดงออก จึงพยายามไถ่โทษด้วยการให้ความช่วยเหลือ Johnny Boy รู้ทั้งรู้อีกฝ่ายไม่มีอะไรดีสักสิ่งอย่าง กลับยังพยายามประณีประณอม จริงใจต่อพวกพ้อง กระทำสิ่งเชื่อว่าคือหนทางออกถูกต้องเหมาะสมที่สุด
ผกก. Scorsese ถือกำเนิดในครอบครัว Italian-American เติบโตขึ้นในย่าน Littly Italy มีความใฝ่ฝันอยากเป็นบาทหลวง แต่ปีแรกกลับสอบไม่ผ่านสามเณราลัย (Seminary) ไม่ใช่เพราะเขาขาดศรัทธาในพระเจ้า แต่อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตนเองอยู่ในสมณะสงฆ์ (หรือมีปัญหาอื่นก็ไม่รู้นะ เพราะ Marty ไม่เคยอธิบายเรื่องนี้ออกมาตรงๆ)
ผมมองว่า Mean Streets (1973) คือคำสารภาพบาปของผกก. Scorsese ส่วนหนึ่งต้องการอธิบายเหตุผลว่าทำไมตนเองถึงสอบไม่ผ่านสามเณราลัย เพราะอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นภายใน รับรู้ว่าทำสิ่งไม่ถูกต้อง แต่กลับไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในศีลธรรม
แซว: สำหรับ Marty การสารภาพบาปของเขาไม่ใช่ที่โบสถ์ หรือบนท้องถนน (ตามคำพูดที่เอ่ยกล่าวถึงตอนต้นเรื่อง) แต่คือการสรรค์สร้างภาพยนตร์ ระบายสิ่งอึดอัดอั้นภายใน อธิบายสิ่งต่างๆบังเกิดขึ้นออกมา
เพราะไม่สามารถเป็นบาทหลวง ผกก. Scorsese เลยเปลี่ยนความสนใจสู่วงการภาพยนตร์ เฉกเช่นเดียวกับตัวละคร Charlie รับรู้ตนเองว่าเป็นคนบาป จึงพยายามไถ่โทษด้วยการให้ความช่วยเหลือ Johnny Boy … หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับการเปรียบเทียบ “Johnny Boy = วงการภาพยนตร์” แต่ผมกลับมองว่ามีความเหมาะสมอย่างมากๆ ทั้งอุปนิสัยเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ พึ่งพาอะไรไม่ได้ (นั่นคือธาตุแท้ของวงการภาพยนตร์) และโดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง Charlie กับ Johnny ต่อให้อีกฝ่ายทำตัวบัดซบแค่ไหน ฉันก็ไม่มีวันทอดทิ้งจากไป (นั่นคือความรักแท้ของ Marty ต่อวงการภาพยนตร์)
เรื่องราวของหนังไม่ใช่แค่สะท้อนวิถีชีวิตอาชญากรเท่านั้นนะครับ แต่ผมยังรู้สึกว่าผกก. Scorsese ต้องการเปรียบเทียบ(เครือข่ายอาชญากร)กับวงการภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ตัวเขาขณะนั้นไม่ต่างจากอาชญากรระดับล่าง ยังไม่ได้มีชื่อเสียง/อิทธิพล ต้องก้มหัวศิโรราบต่อเจ้าพ่อมาเฟีย Giovanni เทียบแทนด้วยโปรดิวเซอร์ นายทุน (มีอำนาจเหนือผู้กำกับ) สำหรับพรรคพวกร่วมแก๊งค์ ก็คือทีมงานสรรค์สร้างภาพยนตร์ ปล้น-ฆ่า เรียกค่าไถ่ ได้เงินมาก็นำไปเสพสำราญ (ไถเงินมา $20 ดอลลาร์ นำไปจ่ายค่าตั๋วภาพยนตร์)
พฤติกรรมหัวขบถของ Johnny นอกจากเป็นตัวตายตัวแทนวัยรุ่น 60s-70s ยังสามารถสื่อถึงยุคสมัยภาพยนตร์ที่กำลังปรับเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผกก. Scorsese คือหนึ่งใน ‘movie brats’ (ประกอบด้วย Francis Ford Coppola, George Lucas, Steven Spielberg, Brian De Palma และ Martin Scorsese) บุกเบิกยุคสมัย American New Wave หรือย่อๆ New Hollywood
หลังจาก Johnny ชักปืนขึ้นมาข่มขู่เจ้าหนี้ Michael ทำให้ Charlie เกิดความตระหนักถึงบางสิ่งอย่าง (ผมนึกถึงคำเตือนของรุ่นพี่ John Cassavetes บอกว่าอย่าเสียเวลาหนึ่งปีสรรค์สร้างผลงานไร้สาระ) จำต้องลากพาน้องรักอพยพหลบหนีจาก Littly Italy นั่นเปรียบกับการเดินทางของผกก. Scorsese แม้ว่า Mean Streets (1973) ไม่ใช่การกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก แต่เป็นผลงานที่แสดงความเป็นตัวตนเอง ก้าวย่างแรกของศิลปิน ‘auteur’ บุกเบิกเส้นทางออกจากตรอกซอกซอยเล็กๆ สู่ท้องถนนแห่งความสำเร็จ
ด้วยทุนสร้าง $480,000 เหรียญ เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนัง New York Film Festival แม้เสียงตอบรับจะออกมาดีเยี่ยม แต่ในการออกฉายรอบแรกกลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ (รายงานรายรับ $3 ล้านเหรียญ เกิดจากยอดรวมหลังการฉายซ้ำ) โปรดิวเซอร์ Taplin กล่าวตำหนิสตูดิโอ Warner Bros. ว่าไม่ค่อยทำการตลาดให้หนัง มัวไปทุ่มเทให้กับภาพยนตร์ทุนสูงอย่าง The Exorcist (1973)
The definitive New York movie, and one of the few to successfully integrate rock music into the structure of film… One of the best American films of the decade.
คำโปรยจากนิตยสาร TIMEOUT
Scorsese’s impulse to express all he feels about life in every scene (a cannier, more prudent director wouldn’t have started his film with that great De Niro monologue), and thus to wrench his audience upwards into a new state of consciousness with one prolonged and devastating gesture, infinitely hurting and infinitely tender. Mean Streets comes close enough to this feverish ideal to warrant our love and much of our respect.
นักวิจารณ์ David Denby จากนิตยสาร Sight and Sound
In countless ways, right down to the detail of modern TV crime shows, Mean Streets is one of the source points of modern movies.
นักวิจารณ์ Roger Ebert ให้คะแนน 4/4 พร้อมจัดเป็น Great Movie
กาลเวลาทำให้หนังได้รับการยกย่อง โหวตติดอันดับ “Greatest American Films” จากหลากหลายสำนัก (ส่วนใหญ่ก็จากนิตยสารฟากฝั่งอเมริกันเท่านั้นนะครับ)
- Empire: 50 Greatest American Independent Films (2011) ติดอันดับ 1
- Entertainment Weekly: 10 All-Time Greatest (2013) ติดอันดับ 7
- BBC: The 100 greatest American films (2015) ติดอันดับ 97
- Variety: The 100 Greatest Movies of All Time (2022) ติดอันดับ 47
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K ผ่านการตรวจอนุมัติโดตผกก. Scorsese และนักตัดต่อ Thelma Schoonmaker กำลังวางจำหน่าย Blu-Ray 4K UHD โดย Criterion ปลายปี ค.ศ. 2023 (ฉบับ Blu-Ray ของค่าย Warner Bros. และ Icon Productions คุณภาพแค่ Hi-Def ยังไม่ได้บูรณะนะครับ)
ถึงผมจะพบเห็นตำหนิของ Mean Streets (1973) มากมายเต็มไปหมด แต่ก็อดไม่ได้จะชื่นชมในวิสัยทัศน์ ลูกเล่นอันแพรวพราว ฉายแววความเป็นศิลปินของ Martin Scorsese และโดยเฉพาะว่าที่นักแสดงคู่บารมี(คนแรก) Robert De Niro ราวกับอารัมบท Taxi Driver (1976) ได้อย่างน่าสนใจ
ในบรรดาภาพยนตร์แนวอาชญากรรม (Crime) ของผกก. Scorsese มีเพียง Mean Streets (1973) นำเสนอเรื่องราวอาชญากรระดับรากหญ้า นั่นเพราะนี่คือช่วงเวลาแรกเริ่มต้นในอาชีพการงาน ไม่ต่างจากตัวละคร Harvey Keitel ยังมีความโล้เล้ลังเลใจ ขัดย้อนแย้งภายใน สิ่งที่ฉันทำอยู่ใช่สิ่งถูกต้องหรือไม่ … กาลเวลาพิสูจน์แล้วว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บุกเบิกเส้นทาง จากตรอกซอกซอยเล็กๆ สู่ท้องถนนแห่งความสำเร็จของ Martin Scorsese
จัดเรต 18+ ความรุนแรง อาชญากรรม คำพูดหยาบคาย
Leave a Reply