Monsieur Klein (1976) : Joseph Losey ♥♥♥♥
พื้นหลัง Vichy France ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Monsieur Klein (รับบทโดย Alain Delon) ถูกตำรวจเข้าใจผิดครุ่นคิดว่าเป็นอีก Monsieur Klein พยายามพิสูจน์ตนเอง ออกค้นหารากเหง้า ฉันไม่ใช่ชาวยิว แต่จนแล้วจนรอดปลายทางของเขาก็ยังคือ Auschwitz
ในบรรดา 4-5 ภาพยนตร์ของผกก. Losey ที่ได้รับชม ผมครุ่นคิดว่า Monsieur Klein (1976) น่าจะเป็นผลงานใกล้เคียงตัวตน ค้นหารากเหง้า กึ่งอัตชีวประวัติมากที่สุด! แต่ไม่ใช่ว่าเขาคือชาวยิว หรือเคยอาศัยอยู่ฝรั่งเศสช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เราสามารถเปรียบเทียบ Holocaust กับเหตุการณ์ Hollywood Blacklist ในเชิงรูปธรรม-นามธรรม
บรรดานักวิจารณ์มักทำการเปรียบเทียบ Monsieur Klein (1976) กับสไตล์ Kafkaesque ของนักเขียน Franz Kafka (1883-1924) ชาวเยอรมัน-เชื้อสายยิว เนื่องจากใจความค้นหาอัตลักษณ์ (Identity), พบเจออีกตัวตน (Doppelgänger), พฤติกรรมแปลกแยก (Alienation), บรรยากาศหวาดสะพรึง (Existential Dread) ฯ ซึ่งเรื่องราวของหนัง Monsieur Klein ก็ราวกับติดอยู่ในความเพ้อฝันร้าย ไม่อาจดิ้นหลุดพ้น จนสูญเสียความสามารถในการควบคุมตนเอง … ส่วนผสมของนวนิยาย The Metamorphosis (การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถควบคุม), The Castle (ออกค้นหาอัตลักษณ์ตัวตน) และ The Trial (ถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นอีกคน)
The film suggests a Kafka story adapted by Harold Pinter, with all of the taut menace and elliptical, enigmatic dialogue that implies. It’s a film that seeps under your skin, creating a sense of unease and dislocation that is hard to shake off even after the credits have rolled.
นักวิจารณ์ Roger Ebert
Monsieur Klein has the indirection and the haunting suggestiveness of Kafka’s parables. The style is spare and precise, yet the film is full of uncanny meanings and the shadow of unspeakable horror.
นักวิจารณ์ Pauline Kael
แต่สิ่งที่ผมรู้สึกอึ้งทึ่งอย่างมากๆของหนัง คือการกำกับคลื่นฝูงชนของผกก. Losey มันไม่ใช่แบกกล้องถ่ายทำผู้คนบนท้องถนนตามสไตล์ New Wave แต่ทุกรายละเอียด ทิศทางก้าวเดิน ใครทำอะไรตรงไหน ล้วนถูกวางแผนตระเตรียมการมาเป็นอย่างดี ยิ่งฉากไคลน์แม็กซ์ระหว่างชาวยิวถูกกวาดต้อนขึ้นขบวนรถไฟ ใครรับชมหนัง WW2 มามากก็น่าจะจุกแน่นอก ขนลุกขนพอง สั่นสะท้านทรวงใน
Joseph Walton Losey III (1909-84) ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ La Crosse, Wisconsin เป็นเพื่อนร่วมชั้นมัธยม Nicholas Ray, เข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ Dartmount College ก่อนเปลี่ยนมาสาขาการละคอน จากนั้นเขียนบท/กำกับละครเวทีที่ New York City ตามด้วย Broadway เคยเดินทางสู่สหภาพโซเวียตช่วงปี ค.ศ. 1935 มีโอกาสร่ำเรียนภาพยนตร์จาก Sergei Eisenstein รวมถึงได้พบเจอ Bertolt Brecht และ Hanns Eisler, อาสาสมัครทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, และกำกับหนังเรื่องแรก The Boy with Green Hair (1947)
ด้วยความสนิทสนมกับผู้คนฝั่งซ้าย เคยสมัครเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ รวมถึงสนิทสนม Bertolt Brecht และ Hanns Eisler ช่วงต้นทศวรรษ 50s จึงถูกแบน Blacklist จาก House Un-American Activities Committee (HUAC) ไม่มีเงิน ไม่งาน เลยต้องอพยพย้ายสู่กรุง London เมื่อปี ค.ศ. 1953 กำกับหนังอังกฤษเรื่องแรก The Sleeping Tiger (1954), สำหรับผลงานที่ทำให้กลายเป็นตำนานประกอบด้วย The Servant (1963), King and Country (1964), Accident (1967), The Go-Between (1971) และ Monsieur Klein (1976)
ตั้งแต่เสร็จจาก The Go-Between (1971) ผกก. Losey ร่วมงานนักเขียนขาประจำ Harold Pinter ทำการพัฒนาบทดัดแปลงนวนิยาย À la recherche du temps perdu (Remembrance of Things Past) ของนักเขียนชาวฝรั่งเศส Marcel Proust แต่จนแล้วจนรอดไม่สามารถสรรหาสตูดิโอออกทุนสร้าง
ระหว่างมองหาทุนสร้างโปรเจคดังกล่าว ทำให้มีโอกาสรับรู้จักโปรดิวเซอร์ชาวฝรั่งเศส Jacques Perrin ร่วมงานภาพยนตร์ The Assassination of Trotsky (1972) เกิดความชื่นชอบประทับใจ เลยชักชวนให้มาสรรค์สร้างโปรเจคเรื่องใหม่ เกี่ยวกับกลุ่มต่อต้าน Vichy France (รัฐบาลหุ่นเชิดของ Nazi Germany หลังจากฝรั่งเศสถูกยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีอำนาจระหว่างค.ศ. 1940-44)
We were both fascinated by the subject of the Occupation and the Resistance, and we wanted to create a film that explored the complexities of collaboration and resistance during that time. We felt that it was an important subject, and one that hadn’t been fully explored in cinema.
Jacques Perrin
ผกก. Losey มีความตระหนักว่าภาพยนตร์เกี่ยวกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาล Vichy France ต้องมีความเกี่ยวเนื่อง Holocaust เหตุการณ์เข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ยุคสมัยนั้นยังถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไหว ในตอนแรกๆจึงเกิดความโล้เล้ลังเลใจ แต่หลังจากอ่านบทของ Franco Solinas (Salvatore Giuliano (1962), The Battle of Algiers (1966) ฯ) ถึงค้นพบความท้าทาย และบางสิ่งอย่างที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ตนเองอย่างแนบแน่น
I was initially hesitant to make a film about the Holocaust, as I felt that it was a topic that required great sensitivity and care. But as I began to work on the script with Franco Solinas, I became more and more intrigued by the story we were creating. It was a challenging and complex film to make, but I am very proud of the final result.
Joseph Losey
เกร็ด: ดั้งเดิมโปรเจคนี้พัฒนาขึ้นโดยผกก. Costa-Gavras แต่ขอถอนตัวออกไปเพราะความคิดเห็นต่างจากโปรดิวเซอร์ เขาต้องการให้ Robert Klein มีความชัดเจนในฐานะผู้ตกเป็นเหยื่อจาก Vichy France ไม่ใช่เต็มไปด้วยความคลุมเคลือ MacGuffin หรือให้อิสระผู้ชมในการขบครุ่นคิดตีความ
I did not think that the character of Robert Klein was a ‘bastard,’ as the producers called him. I saw him as a victim of his times, a victim of the system. But the producers wanted a different film. They wanted to explore the theme of collaboration, and I was not comfortable with that.
Costa-Gavras
พื้นหลังกรุง Paris ค.ศ. 1942 ช่วงระหว่างที่ฝรั่งเศสถูกยึดครองโดย Nazi Germany ภายใต้การปกครองรัฐบาลหุ่นเชิด Vichy France, เรื่องราวของ Robert Klein (รับบทโดย Alain Delon) นักสะสม/พ่อค้างานศิลปะ พบเห็นกำลังรับซื้อภาพวาดของจิตรกร Adriaen van Ostade จากลูกค้าชาวยิว ด้วยการกดราคาลดลงกว่าครึ่ง แล้ววันหนึ่งมีจดหมายพร้อมหนังสือพิมพ์ Informations Juives เกิดความฉงนสงสัยว่าส่งผิดหรืออย่างไร?
เมื่อทำการติดต่อสอบถามจากสำนักพิมพ์ ไปจนถึงสถานีตำรวจ ค้นพบว่ามีอีกบุคคลชื่อเดียวกัน Robert Klein ซึ่งเป็นชาวยิว จึงพยายามออกไล่ล่าค้นหา จนแล้วจนรอดไม่เคยพบเจอหน้าสักที กระทั่งเกิดความเข้าใจผิด ถูกล้อมจับกุมช่วงระหว่าง Rafle du Vel’ d’Hiv’ (แปลว่า Vel’ d’Hiv Roundup) เพื่อส่งชาวยิวขึ้นขบวนรถไฟ ออกเดินทางมุ่งสู่ Auschwitz
Alain Fabien Maurice Marcel Delon (เกิดปี 1935) นักแสดงสัญชาติฝรั่งเศส เกิดที่ Sceaux, Seine (ปัจจุบันคือ Hauts-de-Seine) บิดา-มารดาหย่าร้างตอนอายุ 4 ขวบ เลยถูกส่งไปอาศัยอยู่กับครอบครัวบุญธรรม ทำให้ตัวเขากลายเป็นเด็กเกเร ชอบใช้ความรุนแรง พออายุ 17 สมัครทหารเรือ ร่วมสู้รบยัง First Indochina War (1946-54) ต่อมาทำงานบริการ เซลล์แมน กลายเป็นเพื่อนของนักแสดง Brigitte Auber ระหว่างร่วมออกเดินทางไปยังเทศกาลหนังเมือง Cannes เข้าตาแมวมองโปรดิวเซอร์ David O. Selznick บอกให้ร่ำเรียนภาษาอังกฤษแล้วจะเซ็นสัญญา ระหว่างนั้นผู้กำกับ Yves Allégret ชักชวนมาร่วมงานภาพยนตร์เรื่องแรก Quand la femme s’en mêle (1957), ไม่นานก็แจ้งเกิดกลายเป็น ‘Sex Symbol’ กับ Women are Weak (1959), แล้วโด่งดังระดับนานาชาติกับ Purple Noon (1960), Rocco and His Brothers (1960), L’Eclisse (1962), Any Number Can Win (1963), The Leopard (1963), Le Samouraï (1967), Le Cercle Rouge (1970), Un flic (1972), Monsieur Klein (1976) ฯ
รับบท Robert Klein นักสะสม/พ่อค้างานศิลปะหน้าเลือด เล็งเห็นโอกาสแสวงหากำไรจากชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หลังจากค้นพบการมีตัวตนของอีก Robert Klein (Doppelgänger) พยายามออกไล่ล่า ค้นหา โดยไม่สามารถหยุดยับยั้งชั่งใจ ต้องการเผชิญหน้าอีกฝั่งฝ่าย จนท้ายที่สุดถึงขนาดเสี่ยงชีวิต ติดตามขึ้นรถไฟไปยัง Auschwitz
เพราะเคยร่วมงาน The Assassination of Trotsky (1972) จึงทำให้ Delon คือตัวเลือกหนึ่งเดียวของผกก. Losey เคยเอ่ยปากชื่นชม “one of the great actors of our time”.
Alain has a lot of contradictions in his nature. He is very complicated, very much a star. He likes to play the game of being a star, yet he has the talent of an actor. I think he is a fine actor. He has a certain kind of intensity which is interesting to work with. He is also very unpredictable, and this is always interesting.
Joseph Losey
บุคลิกภาพของ ‘Delon stereotype’ เป็นคนพูดน้อย สงบเงียบขรึม ชอบทำหน้าบึ้งตึง แต่งกายมาดเนี๊ยบ แสดงออกราวกับสุภาพบุรุษ แต่ภายในมักเต็มไปด้วยความเครียด เก็บกดดัน เอาจริงเอาจัง ไม่ค่อยเปิดเผยความรู้สึกใดๆ มักมีความหมกมุ่นบางสิ่งอย่างแรงกล้า ตรงไปตรงมา พร้อมใช้ความรุนแรง เข่นฆ่า-ล้างแค้น โดยไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว
สำหรับบทบาท Monsieur Klein แม้ภายนอกดูเป็น ‘Delon stereotype’ แต่ความครุ่นคิด การตัดสินใจของตัวละคร เต็มไปด้วยความซับซ้อนและย้อนแย้งในตนเอง รู้ทั้งรู้กำลังเผชิญหน้าอันตราย กลับมิอาจหักห้ามใจ ยังคงลุ่มหลงระเริงในตนเอง จนกระทั่งทุกสิ่งอย่างเกินเลยเถิดไปไกล … ถือเป็นบทบาทขายความสามารถแท้จริงของ Delon
Delon’s Klein is a chameleon-like figure whose unctuous politesse and refined urbanity mask a broiling chaos within.
นักวิจารณ์จาก TimeOut
Delon excels in this complex role, convincing us of Klein’s art-world credentials while also conveying his guilt, arrogance, and fear.
นักวิจารณ์จาก Film Comment
ทางฝั่งของ Delon แม้จะผิดหวังต่อรายรับ รวมถึงไม่สามารถคว้ารางวัล César Award: Best Actor แต่ก็ประทับใจการร่วมงานผกก. Losey เป็นประสบการณ์ทำงานที่ยอดเยี่ยม เต็มไปด้วยความท้าทาย เพราะชายคนนี้ไม่ใช่พระเอก ไม่ใช่ตัวร้าย เพียงบุคคลธรรมดา พยายามหาหนทางธำรงชีพรอดในโลกที่โหดร้าย และการตัดสินใจของเขาก็ไม่ใช่ตัวเลือกถูกต้องเสมอไป
ปล. มีนักวิจารณ์มองว่าเหตุผลหนึ่งที่หนังไม่ค่อยทำเงิน เพราะแฟนๆของ Delon ไม่ค่อยให้ความสนใจบทบาทอื่นนอกจากตำรวจ/นักฆ่า (ที่ถือเป็น ‘stereotype’ ของ Delon) ยิ่งตัวละคร Monsieur Klein ขึ้นรถไฟสู่หายนะ ใครกันจะไปอดรนทนดูไหว
Robert Klein is a very complex character, with a lot of different layers. He’s a man who is driven by ambition, but also haunted by guilt and doubt.
What I like about the character of Robert Klein is that he’s not a stereotype. He’s not a Nazi, he’s not a collaborator, he’s not a hero. He’s just a man who is trying to make his way in a difficult world, and sometimes he makes the wrong choices.
Alain Delon
ถ่ายภาพโดย Gerry Fisher (1926-2014) ตากล้องสัญชาติอังกฤษ เกิดที่กรุง London โตขึ้นได้เป็นพนักงานบริษัท Kodak, หลังอาสาสมัครทหารเรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าทำงานยัง Alliance Riverside Studios เริ่มจากเป็นเด็กตอกสเลท, ผู้ช่วยตากล้องที่ Wessex Films, ก่อนย้ายมา Shepperton Studios ควบคุมกล้อง Bridge on the River Kwai (1957), และได้รับโอกาสจากผู้กำกับ Joseph Losey ถ่ายทำภาพยนตร์ Accident (1967), The Go-Between (1971), Monsieur Klein (1976), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Aces High (1976), Highlander (1986), The Exorcist III (1990) ฯ
งานภาพของหนังมีการปรับโทนสี ‘Muted Color Palettes’ ให้ดูหม่นๆ ความอิ่มตัวต่ำ (low saturation) ใบหน้านักแสดงก็มักแต่งออกมาให้ดูซีดเซียว ขาวเผือก ทำให้ทุกสิ่งอย่างดูเสื่อมโทรม ถดถอย สร้างสัมผัสตึงเครียด หวาดระแวง บรรยากาศสงคราม เต็มไปด้วยภยันตราย ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม อะไรๆล้วนเกิดขึ้นได้
สิ่งที่ต้องเอ่ยปากชมนอกจากรายละเอียดงานสร้าง ‘Mise-en-scène’ ยังคือการกำกับฝูงชนปริมาณมาก ไม่ใช่แค่การเดินไปเดินมา แต่หลายครั้งยังหันสบตาหน้ากล้อง ทำกิจกรรมต่างๆด้วยความเร่งรีบร้อน จนให้ความรู้สึกเหมือนฝูงปลากำลังแหวกว่ายดิ้นรน กระเสือกกระสน ไม่มีทางดิ้นหลุดพ้น หาหนทางออกไปจากวังวนแห่งนี้
หนังปักหลักถ่ายทำในประเทศฝรั่งเศส ยังสถานที่จริงทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ภายในกรุง Paris แต่ก็มีบางฉากเดินทางไปยัง Bas-Rhin และ Eure-et-Loir
- อพาร์ทเม้นท์หรูของ Monsieur Klein น่าจะตั้งอยู่แถวๆย่านคนรวย 110 Rue du Bac, Paris 7
- ส่วนอีกอพาร์ทเม้นท์ของ Doppelgänger น่าจะตั้งอยู่แถวๆย่านคนจน Rue Gasnier-Guy, Paris 20
- โบสถ์ Church of St Eustache
- สถานีรถไฟ Gare du Nord
- ปราสาท Château d’Esclimont ตั้งอยู่ยัง Bleury-Saint-Symphorien, Eure-et-Loir
- Klein เดินทางไปพบเจอบิดายัง Strasbourg, Bas-Rhin
- ฉาก Vel d’hiv ถ่ายทำยัง Vélodrome Jacques-Anquetil ณ Avenue de Gravelle, Paris
ฯลฯ
น่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าพรมผนัง (Tapestry) รูปอีแร้ง (Vulture) ถูกลูกธนูทิ่มแทงกลางหัวใจ เป็นผลงานของศิลปินใด แต่นี่คือภาพเชิงสัญลักษณ์ ตัวตายตัวแทนของ Monsieur Klein (ช่วงกลางเรื่องเคยถูกตัวละครของ Jeanne Moreau เปรียบเทียบดั่งอีแร้ง) ช่วงระหว่างการประมูลมีการอธิบายนัยยะความหมาย indifference, cruelty, arrogance, greed และตัวของ Klein ก็เคยพูดติดตลก ‘I think it’s got the evil eye’. เข้าหาตัวเองชัดๆ
ยุคสมัยก่อนยังไม่มีการตรวจสอบ DNA วิธีที่จะใช้ตรวจเชื้อชาติพันธุ์ คือดูจากโครงสร้างกระดูก รูปร่างหน้าตา ท่าทางการเดิน ฯลฯ แต่ลักษณะทางกายภาพเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ข้อสรุปของแพทย์ ซึ่งหนังพยายามแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมในการตรวจสอบ ซึ่งภาพสุดท้ายก่อนสิ้นสุดอารัมบทนี้ สังเกตว่าใบหน้าของทั้งสองปกคลุมด้วยความมืดมิด ไม่มีทางหลบหนีโชคชะตากรรม
อพาร์ทเม้นท์ของ Monsieur Klein มีความโมเดิร์น หรูหรา เต็มไปด้วยงานศิลปะราคาแพง แต่เขากลับยังเกร็งกำไร ต่อรองราคาภาพวาดครึ่งต่อครึ่ง นี่สะท้อนพฤติกรรมไม่ต่างจากอีแร้ง (Vulture) คอยฉกฉวยโอกาส แสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่สนความเดือดร้อนของผู้อื่น
น่าจะแทบทุกงานศิลปะในหนังล้วนการทำขึ้นใหม่ เลียนแบบสไตล์ลายเซ็นต์ แต่ไม่ใช่ภาพวาดมีอยู่จริงประการใด! อย่างการกล่าวอ้างถึงผลงานของ Adriaen van Ostade (1610-68) จิตรกรชื่อดังแห่งยุคสมัย Dutch Golden Age ผมไม่สามารถหารายละเอียดภาพวาดใดๆ ครุ่นคิดว่าเพียงต้องการอ้างอิงถึงต้นตระกูล Klein ที่อพยพมาจากฮอลแลนด์ และไม่แน่ว่าบุคคลในภาพอาจคือบรรพบุรุษ(ของ Klein)ก็เป็นได้!
นับตั้งแต่รับรู้การมีตัวตนของอีกบุคคล (Doppelgänger) หลายต่อหลายครั้งในหนังจะพบเห็นกระจก ภาพสะท้อน Monsieur Klein จับจ้องมองตัวเอง ด้วยความฉงนสงสัย (Doubtful) เกิดข้อกังขาต่อตัวตน ต้นกำเนิด ฉันคือใคร? มาจากแห่งหนไหน? เป็นชาวยิวหรือไม่?
การที่หนังไม่เคยพบเจอ เผชิญหน้าอีก Robert Klein คือลักษณะของ MacGuffin สำหรับสร้างความคลุมเคลือ ผู้ชมเกิดความฉงนสงสัย บุคคลดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่? มันอาจเพียงความครุ่นคิดจินตนาการของตัวละครก็เป็นได้! หรือเราจะมองในเชิงสัญลักษณ์ของการค้นหาอัตลักษณ์ (Self-Identity) ตัวตนแท้จริงของฉันคือใคร?
ถ้าลำโพงที่บ้านของคุณไม่ดังพอ อาจไม่ได้ยินเสียงไซเรนเคอร์ฟิว ดังขึ้นเบาๆระหว่างที่พวกเขากำลังสงบเงียบงัน จากนั้นแฟนสาวของ Monsieur Klein กล่าวอ้างถึงนวนิยาย Moby Dick (1851) ของนักเขียนชาวอเมริกัน Herman Melville เรื่องราวเกี่ยวกับการไล่ล่า เข่นฆ่าปลาวาฬดุร้าย ซึ่งสามารถเปรียบเทียบถึง Monsieur Klein ในแง่มุมที่เขาถูกเข้าใจผิดจากตำรวจ หรือการออกติดตามหา Doppelgänger แบบไหนก็ได้เช่นกัน!
อพาร์ทเม้นท์ของ Doppelgänger มีลักษณะแตกต่างตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับ Monsieur Klein เป็นห้องพักขนาดเล็ก ราคาถูก ไม่มีเฟอร์นิเจอร์หรูหรา แถมยังเต็มไปด้วยฝุ่นกรัง คราบสกปรกรกรุงรัง ถึงอย่างนั้นกลับค้นพบนวนิยาย Moby Dick (นี่ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบ Doppelgänger = Moby Dick) แสดงถึงความเชื่อมโยง มีบางสิ่งอย่างของทั้งสองที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน
แม้จะไม่ครุ่นคิดอะไรชั่วร้าย แต่การถือใบมีดโกนของ Monsieur Klein สร้างความหวาดวิตกจริตให้กับเจ้าของหอ ถึงขนาดเดินถอยร่น กลัวตัวสั่น … นี่สะท้อนบรรยากาศช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นอย่างชัดเจน ผู้คนเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ไม่มีใครล่วงรับรู้ว่าอีกฝ่ายจะมาดีมาร้าย
Monsieur Klein ได้รับจดหมายลึกลับซึ่งก็คงเป็นของ Doppelgänger เลยตัดสินใจขึ้นรถไฟเดินทางมาปราสาท Château d’Esclimont ตั้งอยู่ยัง Bleury-Saint-Symphorien, Eure-et-Loir พบเจอกับ Florence (รับบทโดย Jeanne Moreau) ซึ่งคือชู้รักลับๆ(ของ Doppelgänger) ชักชวนมาร่วมงานเลี้ยงอะไรสักอย่างของครอบครัว
ใครเคยรับชม The Go-Between (1971) น่าจะรู้สึกมักคุ้นกับเรื่องราวที่มีลักษณะคล้ายๆกันนี้ Monsieur Klein (ตัวแทน Upper-Middle Class) จับพลัดจับพลู รับ-ส่งจดหมาย เข้ามาในวงโคจรชนชั้นสูง (High Class) คนเหล่านี้ดูไม่ยี่หร่าอะไรกับใคร อาศัยอยู่แต่ในโลกของตัวเอง
พฤติกรรมของบรรดาไฮโซเหล่านี้ สามารถเปรียบเทียบถึงชนชั้นผู้นำ หรือก็คือ Vichy France ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ได้ยี่หร่าอะไรกับประชาชน สนเพียงความสุขสบายส่วนตน โดยเฉพาะตัวละคร Florence แอบคบชู้สู่ชาย เป็นหนอนบ่อนไส้ บุคคลทรยศหักหลังประเทศชาติ/วงศ์ตระกูล (สามารถสื่อถึงการเป็นหุ่นเชิดให้ Nazi Germany ก็ได้เช่นกัน)
ช่วงการสนทนายามดึกดื่นระหว่าง Florence กับ Monsieur Klein จะมีการเปรียบเปรยธาตุแท้ตัวตนของอีกฝ่ายกับสรรพสัตว์ชนิดต่างๆ
The eyes are important! The mouth. The curve of the lips. Feeling of superiority over others. Sense of freedom. Egoism. A bird… Of prey! Falcon! Vulture.
คำพรรณาของ Florence ต่อ Monsieur Klein
ต่อจากนั้น Monsieur Klein สอบถามถึงชู้รักของเธอ/Doppelgänger เปรียบเปรยดั่งอสรพิษ กำลังจำศีลเพื่อรอคอยช่วงเวลาออกหากิน นี่ก็สามารถเปรียบเทียบถึงชาวยิวในยุคสมัยนั้นที่ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้ล่า (Nazi Germany) สักวันหนึ่งเมื่อทุกสิ่งอย่างพานผ่านไป จักสามารถเริ่มต้นฤดูกาลใหม่
The snake. A hibernating snake… waiting for a better season.
คำพรรณาของ Florence ต่อ Doppelgänger
ซึ่งระหว่างที่ Florence กล่าวถึงชู้รัก จะมีแวบหนึ่งที่ Monsieur Klein หันไปมองกระจกด้านหลัง (มันจะรู้สึกเหมือนภาพในกระจกหันมาสบตาหน้ากล้อง) ราวกับพบเห็นภาพสะท้อน(อีก)ตัวตนเอง นั่นคือพฤติกรรมที่เขากำลังทำอยู่เช่นกัน รับซื้องานศิลปะราคาถูก กดราคาลงกว่าครึ่ง เพื่อว่าอนาคตหลังสงครามจบ จะได้ขายทอดตลาดราคาสูงลิบลิ่ว
หลังกลับจากปราสาท Château d’Esclimont จะเป็นช่วงเวลาที่ Monsieur Klein เดินทางไปเยี่ยมเยียนบิดา เพื่อขอสูจิบัตร ค้นหาต้นกำเนิดบรรพบุรุษ เลียบๆเคียงๆคูคลองใกล้มหาวิหารสทราซบูร์ (Cathédrale Notre-Dame de Strasbourg) แต่ทั้งๆพบเห็นเหรียญเกียรติยศวงศ์ตระกูล ล้วนไม่เพียงพอเป็นหลักฐานประกันตนจากการถูกเข้าใจผิดๆ
เกร็ด: ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Adolf Hitler เดินทางมาเยี่ยมชม Strasbourg Cathedral วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1940 และแสดงเจตจำนงต้องการปรับเปลี่ยนมหาวิหารแห่งนี้ให้กลายเป็น “national sanctuary of the German people”
ผมแกะตัวอักษรจากโปสเตอร์ได้ว่า Le Juif Süss (1934) หรือ Jew Süss ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษ กำกับโดย Lothar Mendes นำแสดงโดย Conrad Veidt, ดัดแปลงจากนวนิยาย Jud Süß (1925) แต่งโดย Lion Feuchtwanger (1884-1958) นักเขียนชาวเยอรมันเชื้อสาย Jews, นำเสนอเรื่องราวของ Joseph Süß Oppenheimer นักธุรกิจชาวยิว ผู้มีอัจฉริยภาพด้านการเงินและการเมือง ทำงานเป็นที่ปรึกษา Duke of Württemberg จนร่ำรวยมั่งคั่งด้วยบารมี แต่กลับถูกนายจ้างทรยศหักหลังด้วยการข่มขืนบุตรสาว เขาจึงโต้ตอบกลับจนอีกฝ่ายล่มจม แล้วตัดสินใจมอบตัวต่อทางการ และถูกตัดสินโทษประหารชีวิต
นวนิยายเล่มนี้ยังเคยถูกดัดแปลงเป็น Jud Süß (1940) ภาพยนตร์ชวนเชื่อนาซีที่ได้รับการยกย่อง “Most Anti-Semitic film of All-Time” กำกับโดย Veit Harlan นำแสดงโดย Ferdinand Marian, ปรับเปลี่ยนเรื่องราวของ Joseph Süß Oppenheimer ให้กลายเป็นบุคคลมีความโฉดชั่วร้าย ทรยศหักหลังพวกพ้อง
ผมไม่ค่อยแน่ใจการแสดงชุดนี้ว่าดัดแปลงจาก Le Juif Süss เลยหรือเปล่า? แต่พฤติกรรมชายสวมหน้ากากที่ดูเหมือนชาวยิว (อาจจะคือ Joseph Süß Oppenheimer) พยายามขโมยสร้อยคอจากหญิงสาวกำลังไว้ทุกข์ (ล้อเลียนพฤติกรรม Nazi Germany รวมถึง Vichy France) มันช่างอัปลักษณ์ โฉดชั่วร้าย บุคคลอันตราย แถมปล้นเสร็จยังทำท่าระริกระรี้ สาวๆกระโดดเต้นท่วงท่า Can-Can
การติดตามค้นหา Doppelgänger สังเกตว่า Monsieur Klein มักพูดคุยกับสาวๆตรงบันได (ทั้งจากหลังเวทีการแสดง และโรงงานอะไรสักอย่าง) ในตำแหน่งที่เขายืนอยู่ต่ำกว่า นี่น่าจะสื่อถึงการเป็นบุคคลเบื้องล่าง กำลังปีนป่ายค้นหาความจริงที่อยู่เบื้องบน
เจ้าหน้าที่ตำรวจ: The Prefecture reported your case.
Monsieur Klein: But I reported the case to the Prefecture!
ทุกความเข้าใจผิดที่บังเกิดขึ้นกับ Monsieur Klein ล้วนเกิดจากการทำงานผิดพลาดของหน่วยงานรัฐบาล เพิกเฉย เฉื่อยชา ขาดความรอบคอบ ไม่มีการตรวจสอบถูก-ผิด เพียงกระทำตามใบสั่งได้รับมอบหมาย สังเกตว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนอยู่ตรงบันได (คล้ายๆกับสาวๆที่ผมเพิ่งอธิบายไป) แต่ในบริบทนี้แสดงถึงอำนาจบาดใหญ่ ฉันสูงส่งกว่าผู้ใด
ต่อมา Jeanine โอบกอดเข้าด้านหลัง Monsieur Klein มุมกล้องถ่ายเงยขึ้น ท่วงท่าของพวกเขาสอดคล้องรูปภาพวาดติดตรงผนังด้านหลัง แสดงถึงความสิ้นหวังหดหู่ มีบางสิ่งอย่างอยู่เหนือการควบคุม
ส่วนการละเล่นเปียโน ท่วงทำนองสรวลเสเฮฮา ขัดแย้งต่อเหตุการณ์ความวุ่นวาย ตำรวจตรวจยึดสิ่งข้าวของมากมาย นี่คือลักษณะการเสียดสี ประชดประชัน ระบายความตึงเครียด อึดอัดอั้น เมื่อไม่สามารถทำอะไรก็เลยช่างหัวแม้ง (ล้อเลียนการทำงานของตำรวจ ที่ไม่ได้สนใจห่าเหวอะไรเช่นกัน)
ก่อนหน้านี้ Monsieur Klein เคยกล่าวกับ Florence (ตัวละครของ Jeanne Moreau)
So he could hide, I think. Disappear behind another man.
ใครจะไปครุ่นคิดว่าช็อตนี้ Doppelgänger จะหลบซ่อนตัวอยู่ด้านหลัง Monsieur Klein ได้อย่างแนบเนียน มิดชิด พอดิบพอดี และต่อให้พยายามสังเกตขนาดไหน ผู้ชมก็ไม่สามารถพบเห็นใบหน้าบุคคลนั้น (สมกับเป็น MacGuffin)
ผมไม่มีรายละเอียดภาพวาดด้านหลัง ดูแล้วน่าจะเป็นงานศิลปะจากประเทศจีน ด้วยลักษณะสองบุคคลหน้าตาละม้ายคล้ายฝาแฝด สามารถสื่อถึง Doppelgänger ของ Monsieur Klein ที่ทำตัวละครตัดสินใจล้มเลิกแผนการหลบหนีออกนอกประเทศ หวนกลับมาเพราะต้องการเผชิญหน้า ‘แค้นนี้ต้องชำระ’ … ใบหน้าของ Monsieur Klein ก็แบ่งครึ่งแสงสว่าง-ความมืดมิด
จนแล้วจนรอด Monsieur Klein ก็ยังไม่สามารถพบเจอ Doppelgänger ถูกตำรวจควบคุมตัวตัดหน้าเพียงแค่ไม่กี่นาที ทำให้เขาตัดสินใจหวนกลับอพาร์ทเม้นท์ แล้วจับจ้องมองภาพวาดที่สามารถยื้อยักเอาไว้ของ Adriaen van Ostade ด้วยความชื่นเชยชม (appreciation) ราวกับเพิ่งตระหนักรับรู้ พบเห็นถึงคุณค่าความงดงามของศิลปะ นี่น่าจะครั้งแรกในชีวิตเลยกระมัง … ดั่งสำนวนไทย ‘แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ’ หมายถึงการมองข้ามความสำคัญของบางสิ่งอย่าง จนกระทั่งเมื่อเกิดปัญหาถึงตระหนักรับรู้คุณค่า
ผมมีความพิศวงกับนาฬิกาในอพาร์ทเม้นท์ของ Monsieur Klein มันไม่เดิน หรือว่าทุกเหตุการณ์บังเกิดขึ้นตอน 12:00 am/pm ทุกครั้งไป?
- เมื่อตอนที่แฟนสาว Jeanine ตัดสินใจร่ำลาจาก Monsieur Klein น่าจะเวลา 12:00am
- ดึกดื่นเมื่อ Monsieur Klein หวนกลับมาอพาร์ทเม้นท์ (หลังคลาดกับ Doppelgänger) น่าจะเวลา 12:00pm
- และเช้าวันถัดมายินยอมให้ตำรวจเข้ามาจับกุมเวลา 12:00am
แซว: ถ้าเป็นนาฬิกาเรือนอื่นในหนัง มักจะพบเห็นเวลาที่แตกต่างออกไป
Rafle du Vel’ d’Hiv’ (Vel’ d’Hiv’ Roundup) คือการจับกุมชาวยิวครั้งใหญ่โดยตำรวจฝรั่งเศสในกรุง Paris ตามคำสั่งของทางการ Nazi Germany ระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ตามบันทึกของ Préfecture de Police มีจำนวนชาวยิว 13,152 คน และเด็กมากกว่า 4,000 คน ถูกส่งขึ้นรถไฟไปยังค่ายกักกัน Drancy, Pithiviers ต่อด้าย Beaune-la-Rolande และเป้าหมายปลายทาง Auschwitz
เห็นชื่อสถานที่ถ่ายทำสนามกีฬากลางแจ้ง Vélodrome de Vincennes ทีแรกผมก็นึกว่าเลือกใช้สถานที่จริงเมื่อครั้นเกิดเหตุการณ์ Rafle du Vel’ d’Hiv’ (Vel’ d’Hiv’ Roundup) แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ สถานที่จริงคือสนามกีฬาในร่ม (Indoor Stadium) ชื่อว่า Vélodrome d’Hiver (Winter Velodrome) ถูกเผาทำลายเมื่อปี ค.ศ. 1959 … ก็แอบฉงนอยู่เล็กๆว่าการใช้สถานที่จริงถ่ายทำมันจะอ่อนไหวกับชาวยิวเกินไปไหม เพิ่งพานผ่านหายนะมาแค่ 30 กว่าปีเองนะ
แม้หนังจะไม่ทำการเปิดเผย เฉลย MacGuffin แต่ผมมีความมั่นใจประมาณ 90% ว่าชายชาวยิวที่ยืนอยู่เบื้องหลังคือ Doppelgänger ของ Monsieur Klein (เพราะนี่เป็นอีกช็อตที่สอดคล้องคำกล่าว “Disappear behind another man”.) สำหรับคนที่รู้สึกคุ้นๆหน้า เขาคือบุคคลที่ขายภาพวาด Adriaen van Ostade และอาจเป็นไปได้ว่าจงใจทิ้งจดหมาย วางหนังสือพิมพ์ไว้หน้าอพาร์ทเม้นท์ (ของ Monsieur Klein)
แซว: หลายคนอาจรู้สึกว่าดวงตาของ Monsieur Klein ดูเศร้าๆ เคล้าน้ำตา มีความหมองหม่น หมดสิ้นหวัง แต่ให้ลองสังเกตดวงไฟที่สะท้อนในดวงตา จะพบว่ามีอยู่สองดวง (สามารถสื่อถึงการมีสองตัวตนก็ได้เช่นกัน)
ตัดต่อโดย Marie Castro, Henri Lanoë, Michèle Neny
หนังดำเนินเรื่องโดยใช้มุมมองของ Monsieur Klein ตั้งแต่ได้รับจดหมาย/หนังสือพิมพ์ Informations Juives เกิดความฉงนสงสัยว่าส่งผิดหรืออย่างไร? จึงออกติดตามหา จนรับรู้ว่ามีอีกบุคคล (Doppelgänger) ชื่อเดียวกันเป็นชาวยิว ต้องการพบเจอเผชิญหน้า จึงออกไล่ล่าแต่ไม่เคยได้พบตัว จนกระทั่งจับพลัดจับพลู ถูกกวาดต้อนขึ้นรถไฟสู่ Auschwitz
- อารัมบท, การตรวจเชื้อชาติพันธุ์
- Monsieur Klein ได้รับหนังสือพิมพ์ Informations Juives
- ยามเช้า Monsieur Klein รับซื้อภาพวาดจากชาวยิวในราคาต่ำกว่าครึ่ง
- หลังได้รับหนังสือพิมพ์ Informations Juives ออกเดินทางสู่สำนักพิมพ์ แล้วไปต่อยังสถานีตำรวจ (Préfecture de police) ถึงค้นพบว่ามีอีกบุคคล (Doppelgänger) ชื่อเดียวกันเป็นชาวยิว
- Monsieur Klein พยายามออกติดตามหา Doppelgänger
- แวะเวียนไปยังอพาร์ทเม้นท์ของ Doppelgänger แต่ไม่พบเจอใคร
- กลับมาที่อพาร์ทเม้นท์ของตนเอง พบเจอผองเพื่อน และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- เช้าวันถัดๆมาได้รับจดหมายลึกลับ ออกเดินทางสู่ Bleury-Saint-Symphorien, Eure-et-Loir
- พบเจอชู้รักของอีก Doppelgänger พักอาศัยอยู่ในปราสาท Château d’Esclimont
- หลังจากนั้นเดินทางไปเยี่ยมเยือนบิดายัง Strasbourg, Bas-Rhin
- รับชมการแสดงละครเวที สอบถามหา Doppelgänger กับเพื่อนนักแสดง
- ติดตามไปยังโรงงานแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่พบเจอใคร
- เจ้าหน้าที่ตำรวจออกคำสั่งศาล ยึดงานศิลปะ อพาร์ทเม้นท์ของ Monsieur Klein
- เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้ามาในอพาร์ทเม้นท์ ทำการยึดครองผลงานศิลปะทั้งหลาย
- Monsieur Klein ตัดสินใจขายทิ้งทุกสิ่งอย่าง ซื้อพาสปอร์ต ขึ้นรถไฟเตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ แต่บังเอิญว่าหญิงสาวนั่งตรงข้าม กลับคือหนึ่งในแฟนสาวของ Doppelgänger
- Monsieur Klein เลยหวนกลับมาติดตามล่า Doppelgänger ยังอพาร์ทเม้นท์ของอีกฝ่าย แต่ถูกเพื่อนรักชิงเรียกตำรวจดักหน้า
- ด้วยเหตุนี้ Monsieur Klein ยินยอมถูกตำรวจกวาดต้อน Vel’ d’Hiv Roundup หวังว่าจะได้เผชิญหน้า Doppelgänger แต่กลับขึ้นขบวนรถไฟมุ่งสู่ Auschwitz
ผมรู้สึกว่าหลายๆฉากเยิ่นเย้อยืดยาวเกินความจำเป็น อย่างเรื่องราวในปราสาท Château d’Esclimont หรือขณะรับชมการแสดงละครเวที จริงๆมันสามารถทำให้กระชับ หรือตัดทั้งซีเควนซ์ทิ้งไปเลยก็ยังได้เลย เพราะมันไม่ได้มีความสลักสำคัญต่อภาพรวมของหนังสักเท่าไหร่
จริงอยู่ว่าเรื่องราวในปราสาท Château d’Esclimont ต้องการสะท้อนความคอรัปชั่นของรัฐบาล Vichy France ผ่านตัวละคร Florence (รับบทโดย Jeanne Moreau) แอบคบชู้กับ Doppelgänger (สามารถสื่อถึงความสัมพันธ์กับ Nazi Germany) แต่มันไม่ได้สร้างความตระหนัก หรือก่อให้เกิดอคติใดๆ เพียงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เสียดายค่าจ้างนักแสดงระดับ Jeanne Moreau ดูไม่ค่อยคุ้มค่าสักเท่าไหร่
เพลงประกอบโดย Egisto Macchi (1928-92) คีตกวีสัญชาติอิตาเลี่ยน เกิดที่ Grosseto โตขึ้นย้ายมากรุง Rome สนใจด้านการแต่งเพลง เปียโน ไวโอลิน ขณะเดียวกันยังร่ำเรียนวรรณกรรม และกายวิภาคยัง La Sapienza University แล้วมีผลงานออร์เคสตรา, โอเปร่า, คอรัส, เพลงประกอบภาพยนตร์ อาทิ La via del petrolio (1967), The Assassination of Trotsky (1972), Monsieur Klein (1976), Padre Padrone (1977) ฯ
งานเพลงของ Macchi เลื่องชื่อในการประพันธ์ท่วงทำนองสูญเสียและสิ้นหวัง นั่นคือสิ่งสร้างความประทับใจให้ผกก. Losey ก่อนหน้านี้ก็เคยร่วมงานกันมาแล้วหลายครั้ง, สำหรับ Monsieur Klein (1976) ใช้ส่วนผสมของขลุ่ย เปียโน เครื่องดนตรีไฟฟ้า และเสียงขับร้องคอรัส เพื่อสร้างบรรยากาศหลอกหลอน ขนลุกขนพอง เต็มไปด้วยความตึงเครียด วิตกกังวล รู้สึกสับสน ลางสังหรณ์แห่งความตาย
เชื่อว่าหลายคนอาจรู้สึกเหมือนไม่ได้ยินเสียงเพลงประกอบหนัง เพราะมีความเนิบนาบ เชื่องช้า กลมกลืนไปกับพื้นหลัง แถมหลายครั้งมักใช้ความเงียบงัน จนแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Sound Effect’ ถึงอย่างนั้นถ้าผู้ชมสัมผัสได้ถึงบรรยากาศหลอนๆ รู้สึกขนลุกขนพอง นั่นถือว่าเป็นความสำเร็จของบทเพลงแล้วนะครับ … งานเพลงไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีท่วงทำนองน่าจดจำ แค่สามารถเติมเต็มจุดประสงค์ของมันก็ถือว่าสมบูรณ์แบบแล้ว
Monsieur Klien (1976) นำเสนอเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นความโฉดชั่วร้ายของรัฐบาลหุ่นเชิด Vichy France สนเพียงปฏิบัติตามคำสั่ง Nazi Germany กวาดต้อนชนชาวยิวนับพันหมื่นในเหตุการณ์ Rafle du Vélodrome d’Hiver (Vel’ d’Hiv Roundup) วันที่ 16-17 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นขบวนรถไฟ ออกเดินทางสู่ Auschwitz เพื่อทำการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust) … ต้องถือว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดของฝรั่งเศส ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ทั้งๆที่ Monsieur Klein คือคนฝรั่งเศสแท้ๆ ต้นตระกูลอพยพมาจากฮอลแลนด์ แต่กลับถูกเข้าใจผิด ตำรวจครุ่นคิดว่าเป็นชาวยิว นี่แสดงถึงความไม่รอบคอบ การใช้อำนาจโดยไม่ชอบของรัฐบาล Vichy France และยังสะท้อนทัศนคติชนชั้นสูง/ผู้นำประเทศ เต็มไปด้วยความคอรัปชั่น ไม่ได้สนการมี’ตัวตน’ของประชาชนคนธรรมดา
มองในมุมการเมืองเชิงอัตลักษณ์ (Identity Politics) แม้ว่า Monsieur Klein ไม่ได้ต้องการยุ่งเกี่ยวอะไรใดๆกับสงคราม หรือชนชาวยิว “This has nothing to do with me”. แต่โดยไม่รู้ตัวเขากลับถูกเชื่อมโยง จับแพะชนแกะ เกิดความเข้าใจผิด … สื่อถึงมนุษย์-การเมือง เป็นสิ่งแยกแยะออกจากกันไม่ได้
Monsieur Klein พยายามที่จะพิสูจน์ตนเอง ออกค้นหารากเหง้า Doppelgänger ที่ก็ไม่รู้มีตัวตนหรือไม่ (MacGuffin) ต้องการพบเจอ เผชิญหน้า ประกาศให้โลกรับรู้ว่าฉันไม่ใช่อีก Robert Klein แต่จนแล้วจนรอดก็ทำไม่สำเร็จ กลายเป็นบุคคลไร้อัตลักษณ์ … แสดงให้ว่าการให้ความสำคัญกับตนเองมากเกินไป (Self-Identity) โดยไม่ใส่ใจบริบทรอบข้าง หรือความทุกข์ยากลำบากของผู้อื่น สุดท้ายแล้วหายนะมักหวนย้อนกลับหาตัวเอง
มองในมุมการสะสมงานศิลปะ (Art Collector) ของ Monsieur Klein ช่วงแรกๆเหมือนจะสนเพียงซื้อถูก-ขายแพง กอบโกยทำกำไร อนาคตจักได้มีชื่อเสียง ร่ำรวย ประสบความสำเร็จ แต่หลังจากถูกตำรวจเข้าตรวจยึด มรสุมชีวิตรุมเร้ารอบด้าน นั่นทำให้เขาเริ่มตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญแท้จริงของผลงานศิลปะ ต่อจิตใจตนเอง และประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ (Historical Significance)
เราสามารถเปรียบเทียบ Monsieur Klein คือตัวตายตัวแทนผกก. Losey ต่างมองตนเองว่าถูกใส่ร้ายป้ายสี (ในกรณีของ Losey คือการเป็นสมาชิกคอมมิวนิสต์ จึงโดน HCUA ตีตราว่าต้องมีความครุ่นคิดปรปักษ์ต่อประชาธิปไตย) เลยต้องการพิสูจน์ตนเอง พยายามอย่างที่สุดแต่กลับไม่เป็นผลอะไร ถึงแม้ตอนจบจะไม่ได้ขึ้นรถไฟมุ่งสู่ Auschwitz แต่สภาพการโดนแบน Hollywood Blacklist ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่ต่างจากตกตายทั้งเป็น
ตั้งแต่อพยพจาก Hollywood สู่ทวีปยุโรป ผกก. Losey ก็พยายามสรรค์สร้างภาพยนตร์ที่สะท้อนประสบการณ์ ความรู้สึกเลวร้ายจากการถูกทรยศหักหลัง แสดงความไม่เห็นด้วยต่อ HCUA (House Un-American Activities Committee) แต่ไม่เคยครั้งไหนมีความเป็นส่วนตัว ในลักษณะค้นหาอัตลักษณ์ รากเหง้า เด่นชัดเจนไปกว่า Monsieur Klein (1976)
Monsieur Klein is a movie of powerful personal significance to the director… Losey’s own moral preoccupations are inextricably interwoven with his film’s themes of identity, betrayal, and guilt.
นักเขียน David Caute ในหนังสือ Joseph Losey: A Revenge on Life (1994)
ภาพสุดท้ายของหนังอาจดูเป็นความรู้สึกผิด โง่เขลาเบาปัญญา เพิกเฉย ดื้อรั้น จนทำให้ตนเองกำลังมุ่งหน้าสู่หายนะ แต่ไม่ใช่กับผกก. Losey ที่เคยกล่าวไว้ว่าการถูกแบน Hollywood Blacklist คือการปลุกตื่นให้กับตนเอง เลิกลุ่มหลงใหลเงินๆทองๆ สิ่งข้าวของ ปัจจัยภายนอก หรือรับรู้สึกพึงพอใจในสิ่งที่มี … ถ้าเขาไม่อพยพย้ายสู่อังกฤษ ก็อาจไม่ค้นพบสไตล์ลายเซ็นต์ พัฒนาสู่ศิลปิน (auteur) และกลายเป็นหนึ่งในโคตรผู้กำกับแห่ง British New Wave
Without it (ฺBlacklist) I would have three Cadillacs, two swimming pools and millions of dollars, and I’d be dead. It was terrifying, it was disgusting, but you can get trapped by money and complacency. A good shaking up never did anyone any harm.
Joseph Losey
เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ยังเทศกาลหนังเมือง Cannes แม้ได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม แต่กลับไม่สามารถคว้ารางวัลใดๆติดไม้ติดมือกลับมา (Palme d’Or ปีนั้นตกเป็นของ Taxi Driver (1976)) นั่นอาจคือเหตุผลให้เมื่อเข้าฉายในฝรั่งเศส มียอดจำหน่ายตั๋ว 719,539 ใบ เทียบกับทุนสร้าง $3.5 ล้านเหรียญ ยังถือว่าขาดทุนย่อยยับเยิน
ถึงอย่างนั้นช่วงปลายปี ก็สามารถคว้าหลากหลายรางวัลจาก César Awards
- Best Film **คว้ารางวัล
- Best Director **คว้ารางวัล
- Best Actor (Alain Delon)
- Best Cinematography
- Best Editing
- Best Production Design **คว้ารางวัล
- Best Sound
ปัจจุบันหนังได้รับการบูรณะ ‘digital restoration’ คุณภาพ 4K โดย StudioCanal สามารถหาซื้อ Blu-Ray ของ Criterion Collection และ Vintage World Cinema (ของค่าย StudioCanal)
ส่วนตัวมีความชื่นชอบหนังอย่างมากๆ ประทับใจในโปรดักชั่นงานสร้าง ทำให้ได้รับรู้จักผลงานศิลปะเพิ่มขึ้นมากมาย การแสดงของ Delon ก็เต็มไปด้วยมิติสลับซับซ้อน และโดยเฉพาะการกำกับของ Losey แม้ไม่ใช่ผลงานเรื่องสุดท้าย แต่ก็อาจถือได้ว่าเป็น Swan Song ใกล้ตัว ใกล้หัวใจ และกล้าเผชิญหน้ากับอดีตของตนเอง ค้นพบรากเหง้าในที่สุด
แนะนำคอหนัง Mystery Drama บรรยากาศสงครามโลกครั้งที่สอง พื้นหลัง Vichy France, ชื่นชอบนวนิยายของ Franz Kafka, หลงใหลภาพวาดงานศิลปะ, และแฟนๆนักแสดง Alain Delon ไม่ควรพลาดอย่างแรง!
จัดเรต 18+ กับบรรยากาศสงคราม อคติชาวยิว นำสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust)
Leave a Reply