Moscow Does Not Believe in Tears

Moscow Does Not Believe in Tears (1980) hollywood : Vladimir Menshov ♥♥♥♡

Moscow Does Not Believe in Tears คือสุภาษิตรัสเซีย (Russian Proverb) สอนให้เลิกบ่น หยุดร่ำร้องไห้ หรือเอาแต่เรียกร้องความสนใจ มีปัญหาอะไรควรรู้จักแก้ไขด้วยตนเอง! คว้ารางวัล Oscar: Best Foreign Language Film

เกร็ด: ว่ากันว่าปธน. Ronald Reagan รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง ก่อนพบปะเลขาธิการ/ว่าที่ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียต Mikhail Gorbachev เมื่อปี ค.ศ. 1987 เพราะต้องการรับรู้จักจิตวิญญาณชาวรัสเซีย “get to know the Russian soul better”

ในตอนแรกผมแอบหวาดหวั่นว่า Moscow Does Not Believe in Tears (1980) จะเป็นภาพยนตร์เมโลดราม่าที่พยายามชวนเชื่อ ปลูกฝังแนวคิด อุดมคติ Socialism แต่ระหว่างรับชมกลับไม่รับรู้สึกเช่นนั้นสักเท่าไหร่ เพียงทัศนคติเก่าๆที่ตกยุค ล้าหลัง โดยไม่รู้ตัวกลับทำให้สามารถเข้าใจ ‘Russian Soul’ ของชาวรัสเซียยุคสมัยนั้น (ภายใต้สหภาพโซเวียต) ถือเป็น ‘Time Capsule’ บันทึกประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ

Moscow Does Not Believe in Tears (1980) เป็นภาพยนตร์ที่ผมรู้สึกเพลิดเพลินในการรับชมอย่างมากๆ 144 นาที พานผ่านไปอย่างรวดเร็ว เหตุผลสำคัญคือทีมนักแสดง ‘Ensemble Cast’ เล่นกันได้อย่างสมบทบาท ชวนให้ติดตามความเปลี่ยนแปลงในช่วงครึ่งหลัง และแม้เรื่องราวเมโลดราม่าค่อนข้างน้ำเน่า แต่ก็มีเหตุการณ์สนุกๆ ชวนอมยิ้ม คาดไม่ถึงอยู่หลายครั้ง น่าจะถูกใจรสนิยมคนไทย

ขณะที่คะแนนจากเว็บมะเขือเน่าแค่ 40% (นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ในเว็บนี้เป็นชาวอเมริกัน) แต่คะแนนใน IMDB.com กลับสูงถึง 8.1/10 ถ้าคุณสามารถเปิดใจให้กว้างสักนิด ไม่ต้องไปหงุดหงิดกับแนวคิดล้าหลัง ก็อาจรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อย่างเพลิดเพลิน บันเทิงอารมณ์ เหมือนผู้ชมกว่า 84.4 ล้านคนในสหภาพโซเวียตเมื่อตอนเข้าฉายปีนั้น!


Vladimir Valentinovich Menshov, Влади́мир Валенти́нович Меньшо́в (1939-2021) นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Baku, Azerbaijan SSR เมื่อตอนวัยรุ่นทำงานช่างกล ซ่อมเครื่องจักรในโรงงานเหมืองที่ Vorkuta ก่อนเปลี่ยนมาฝึกฝนการแสดงยัง Astrakhan Drama Theater แล้วสมัครเข้าเรียน Moscow Art Theatre School (พบเจอแต่งงานกับเพื่อนนักแสดงร่วมรุ่น Vera Alentova) จบออกมาเป็นนักแสดงละคอนเวที Stavropol Regional Drama Theater ต่อมาเกิดความสนใจในสื่อภาพยนตร์ ร่ำเรียนการกำกับ All-Union State Institute of Cinematography (VGIK), โด่งดังจากผลงาน Moscow Does Not Believe in Tears (1979), Love and Pigeons (1984) ฯ

สำหรับ Москва слезам не верит (แปลตรงตัว Moscow Does Not Believe in Tears) สร้างขึ้นจากบทหนัง Дважды солгавшая (แปลว่า Lies Twice) โดยนักเขียน Valentin Chernykh (1935-2012) ใช้เวลาพัฒนาขึ้น 19 วัน เพื่อส่งเข้าแข่งขันรายการประกวดอะไรสักอย่าง แล้วสามารถคว้ารางวัลอันดับสาม

ความสำเร็จเล็กๆดังกล่าว ทำให้ Chernykh พยายามยื่นบทหนังกับสตูดิโอ ผู้กำกับมากมาย แต่กลับไม่ได้รับความสนใจสักเท่าไหร่ เฉกเช่นเดียวกับผกก. Menshov มองพล็อต Melodrama น้ำเน่าเกินไป!

I didn’t immediately react to the script either. The only thing that immediately attracted me was the wonderful move when Katerina sets the alarm clock and falls asleep in tears, and wakes up a few years later and wakes up her adult daughter. I even thought at first that I just skipped a few pages.

And when I realized that this was such a decision – a leap of 20 years, I immediately wanted to figure out how I could start making a film. A scene appeared with Smoktunovsky, who “starts a little late” in his acting career. She, it seems to me, is key to the whole film. I came up with a story with the hockey player Gurin, who fell in love with the heroine Muravyova, with bizarre twists of his fate.

Vladimir Menshov

แต่ผกก. Menshov มีความติดอกติดใจช่วงการเปลี่ยนองก์ ครึ่งแรก-หลัง นางเอกเข้าห้องนอน ตั้งนาฬิกาปลุก แล้วตื่นขึ้นยี่สิบปีให้หลัง นั่นสามารถนำมาเป็นจุดเริ่มต้นในการสรรค์สร้างภาพยนตร์ จึงยินยอมตอบตกลง แล้วทำการปรับแก้ไขบทร่วมกับ Chernykh จำนวนกว่า 44 ฉบับ! จนทั้งสองฝ่ายบังเกิดความพึงพอใจ


ครึ่งแรกของหนัง ค.ศ. 1958, วัยรุ่นสาวสามคนประกอบด้วย Katya, Lyuda, Tosya เดินทางจากชนบท มาอาศัยอยู่ในหอพักคนงานที่ Moscow

  • Katerina Aleksandrovna Tikhomirova ชื่อเล่น Katya (รับบทโดย Vera Alentova) หญิงสาวมีความใสซื่อบริสุทธิ์ มุ่งมั่นอยากสอบเข้ามหาวิทยาลัย แม้ปีนี้ยังสอบไม่ผ่านแต่ก็ไม่ลดละความพยายาม หาเงินด้วยการทำงานลูกจ้างโรงงาน เพราะขี้เกียจรอคอยช่าง เลยทดลองผิดลองถูกจนสามารถซ่อมแซมเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง
  • Lyudmila Sviridova ชื่อเล่น Lyuda (รับบทโดย Irina Muravyova) พนักงานร้านขนมปัง จริตจัดจ้านจนดูแรดร่าน เต็มไปด้วยถ้อยคำโป้ปดหลอกลวง พยายามมองหาบุรุษผู้มีความรู้ การศึกษาสูง เพื่ออนาคตจะได้กินหรูอยู่สบาย กลายเป็นแม่บ้านไม่ต้องทำงานหนักอะไร
  • Antonina Buyanova ชื่อเล่น Tosya (รับบทโดย Raisa Ryazanova) เป็นคนเหนียงอาย กลัวๆกล้าๆ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รับงานทาสี ก่อสร้าง ถูกเกี้ยวพาโดย Nikolai ไม่ทันไรก็จะได้แต่งงานกัน

เหตุการณ์วุ่นๆเกิดจาก Katya ได้รับฝากบ้านจากญาติห่างๆ Lyuda จึงใช้โอกาสในการล่อลวงบุรุษหนุ่ม-แก่ ผู้มีความรู้ความสามารถจากหลากหลายแขนงอาชีพ นัดหมายมาร่วมงานเลี้ยง เกี้ยวพาราสี คาดหวังจะได้พบเจอ ตกหลุมรัก แต่งงานกับใครสักคน

ขณะที่ Lyuda สามารถตีสนิทกับนักฮอกกี้น้ำแข็ง Sergei Gurin (ชื่อเล่น Seryozha), Katya ตกหลุมรักตากล้อง Rodion Rachkov (ชื่อเล่น Rudolf) ทำงานสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น แต่เมื่อความจริงได้รับการเปิดเผย คู่ของ Lyuda-Sergei ไม่มีปัญหาอันใด แถมฝ่ายชายยังสู่ขอแต่งงาน ตรงกันข้ามกับ Rudolf ต้องการเลิกรา Katya ที่พลั้งพลาดตั้งครรภ์ ทอดทิ้งให้ฝ่ายหญิงเลี้ยงดูแลบุตรสาวตามลำพัง

ครึ่งหลังของหนัง ค.ศ. 1978, จากสามสาววัยรุ่น กลายเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน ชีวิตของพวกเธอได้ปรับเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากๆ

  • Katya ยังคงเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว แต่มีอพาร์ทเมนท์ รถส่วนตัว ไต่เต้าจนเป็นหัวหน้าวิศวกร
  • Lyuda หย่าร้างกับสามีขี้เมา Sergei ทำงานเป็นพนักงานซักรีด ยังคงมองหาบุรุษที่ทำให้ตนเองกลายเป็นหนูตกถังข้าวสาร
  • Tosya ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับ Nikolai มีบุตรร่วมกันสองคน

จนกระทั่งวันหนึ่ง Katya ได้พบเจอชายแปลกหน้า Georgy Ivanovich ชื่อเล่น Gosha (รับบทโดย Aleksey Batalov) เข้ามาเกี้ยวพาราสี เกิดความรู้สึกดีๆ เลยตัดสินใจชักชวนให้มาอาศัยอยู่ร่วมอพาร์ทเม้นท์เดียวกัน แต่แล้วอดีตรักครั้งแรก Rudolf ยังคงทำงานเป็นตากล้องสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น พยายามติดตามมางอนง้อ ร้องขอโอกาสพบเจอบุตรสาว และพอรถไฟชนกัน …


Vera Valentinovna Alentova, Ве́ра Валенти́новна Але́нтова (เกิดปี 1942) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Kotlas, Arkhangelsk Oblast ทั้งบิดา-มารดาต่างเป็นนักแสดง Valentin Mikhailovich Bykov และ Irina Nikolaevna Alentova, โตขึ้นมุ่งสู่ Moscow เข้าศึกษายัง Moscow Art Theater School (แล้วได้แต่งงานกับผู้กำกับ Vladimir Menshov) จากนั้นมีผลงานละครเวที Moscow Pushkin Drama Theatre, ซีรีย์โทรทัศน์, และภาพยนตร์ประปราย อาทิ Moscow Does Not Believe in Tears (1979), Tomorrow Was the War (1987) ฯ

รับบท Katerina Aleksandrovna Tikhomirova ชื่อเล่น Katya หญิงสาวใสซื่อบริสุทธิ์ มีความขยันขันแข็ง ตั้งใจทั้งเรื่องเรียนและการทำงาน แต่ความผิดพลั้งพลาดเพียงครั้งเดียว กลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ก็ไม่ลดละความมุ่งมั่น ยี่สิบปีให้หลังกลายเป็นหัวหน้าวิศวกร มีรถ มีอพาร์ทเม้นท์ มีพร้อมแทบทุกสิ่งอย่าง หลงเหลือเพียงอย่างเดียวคือใครบางคนเคียงข้างกาย สวรรค์บันดาลให้พบเจอกับชายในอุดมคติ Gosha ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายจะยินยอมรับ ปรับตัว ในระบบสังคมนิยมที่ชายยังเป็นใหญ่อยู่

มีนักแสดงหลายคนที่ผกก. Menshov พยายามติดต่อเข้าหา Anastasiya Vertinskaya, Zhanna Bolotova, Irina Kupchenko, Natalya Sayko, Valentina Telichkina, Margarita Terekhova ฯ แต่ทั้งหมดล้วนบอกปัดปฏิเสธเพราะไม่ชื่นชอบบทหนัง เอาจริงๆภรรยา Vera Alentova ก็ไม่ได้อยากรับบทบาทนี้ ถ้าไม่เพราะสามีอ้อนวอน เลยยินยอมตอบตกลง

แม้ภาพลักษณ์ของ Alentova จะดูอ่อนแอ เปราะบาง แต่เธอพยายามทำตัวเองให้เข้มแข็งแกร่ง ชอบแก้ไขสารพัดปัญหาด้วยตนเอง ไม่เรียกร้อง ไม่โวยวาย บางครั้งอาจแอบไปร่ำร้องไห้ แต่ไม่นานก็พร้อมลุกขึ้นต่อสู้ เผชิญหน้าปัญหา ปฏิเสธยินยอมรับความพ่ายแพ้

ผมว่าเหตุผลที่นักแสดงส่วนใหญ่บอกปัดบทบาทนี้ เพราะเป็นตัวละครในอุดมคติ แม่คนดีเกินไป! คล้ายๆแบบซินเดอเรลล่า เก่งในเรื่องความอดกลั้น แม้ถูกกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง กลับไม่เคยโวยวาย เรียกร้องความสนใจ คล้ายสำนวน ‘Moscow Does Not Believe in Tears’ ลับหลังเมื่อไหร่ถึงแอบไปร่ำร้องไห้ ใครพบเห็นย่อมรู้สึกสงสารเห็นใจ อธิษฐานให้ได้พบเจอคนดีๆ มีความสุข Happy Ending

แซว: มองบางมุมผมรู้สึกว่า Vera Alentova มีความละม้ายคล้าย Jeanne Moreau แต่เธอคนนั้นไม่เคยรับบทตัวละครอ่อนแอ เปราะบางขนาดนี้หรอกนะ


Aleksey Vladimirovich Batalov, Алексе́й Влади́мирович Бата́лов (1928-2017) นักแสดงสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Vladimir, ในครอบครัวนักแสดง ลุงของเขา Nikolai Batalov เคยมีผลงานโคตรหนังเงียบ Mother (1926), โตขึ้นเข้าเรียนการแสดง Moscow Art Theatre ยังไม่ทันเรียนจบก็ได้รับโอกาสสมทบภาพยนตร์ ผลงานเด่นๆ อาทิ A Big Family (1954), The Cranes Are Flying (1957), Nine Days of One Year (1962), The Lady with the Dog (1960), Moscow Does Not Believe in Tears (1979) ฯ

รับบท Georgy Ivanovich ชื่อเล่น Gosha ชายแปลกหน้าบังเอิญพบเจอระหว่างโดยสารขบวนรถไฟ (ก็ไม่รู้ทำอาชีพอะไร อาศัยอยู่แห่งหนไหน) เป็นคนหัวโบราณนิดๆ เชื่อว่าผู้ชายควรเป็นใหญ่ในบ้าน มีสถานะการเงิน/การงานสูงกว่าภรรยา อีกทั้งไม่ชอบการขึ้นเสียงใส่อารมณ์ แต่ตนเองกลับไม่สามารถอดรนทนเรื่องเล็กๆน้อยๆ พยายามรักษาระยะห่าง ปิดกั้นตนเอง จนแล้วจนรอดหลังรับรู้ความจริงเกี่ยวกับ Katya จึงยินยอมหวนกลับคืนมารับความพ่ายแพ้

ในตอนแรกผกก. Menshov เล็งนักแสดง Vitaly Solomin, Vyacheslav Tikhonov, Oleg Yefremov, Leonid Dyachkov ฯ แต่หลังจากพบเห็น Aleksey Batalov จากภาพยนตร์ My Beloved (1958) ตระหนักว่าต้องผู้ชายแบบนี้เท่านั้น!

ภาพลักษณ์ของ Batalov อาจดูอบอุ่น รักครอบครัว ขณะเดียวกันกลับเหมือนนักเดินทาง ชื่นชอบการผจญภัย เอาจริงๆไม่น่าสามารถลงหลักปักฐานกับนางเอก สังเกตว่าตัวละครพยายามรักษาระยะห่าง สร้างกำแพงขึ้นมาขวางขั้น แทบไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดพื้นหลัง เป็นใครมาจากไหน ทำอาชีพอะไร เงินเดือนเท่าไหร่ ทุกสิ่งอย่างดูลึกลับ ซับซ้อน น่าพิศวง แต่ชวนให้ลุ่มหลงใหล ใครพบเจอย่อมมิอาจหักห้ามใจ

ตัวละครนี้ถือว่าสอดแทรกแนวคิด จิตวิญญาณ Socialist สังคมนิยมมักไม่ชอบให้ประชาชนต่อต้านขัดขืน เฉกเช่นเดียวกับครอบครัว ผู้ชายควรเป็นใหญ่ในบ้าน การมาถึงของยุคสมัยสิทธิสตรี (Feminist) ก็พยายามชี้นำว่าผู้หญิงไม่ควรได้รับอำนาจ อิสรภาพมากเกินไป อย่างน้อยที่สุดต้องให้ความเคารพต่อสามี … นี่คือหนึ่งในทัศนคติที่มีความเฉิ่มเชย ล้าหลัง ผู้ชมสมัยนี้น่าจะแยกแยะกันได้เองแล้วนะครับ!

แซว: แวบแรกที่ผมพบเห็น Aleksey Batalov แอบนึกว่าคือ Yves Montand ช่างมีใบหน้าละม้ายคล้ายกันยิ่งนัก


ถ่ายภาพโดย Igor Mikhailovich Slabnevich (1921-2007) ตากล้องสัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Saratov แล้วมาเติบโตยัง Moscow, โตขึ้นหลังเรียนจบอาสาสมัครเข้าร่วมกองทัพแดง (Red Army) ฝึกฝนการบิน ก่อนย้ายมาหน่วยรถถัง เข้าร่วม Battle of Stalingrad (1942-43), หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสมัครงาน Mosfilm Studios ทำงานแผนกถ่ายภาพ ไต่เต้าจนได้รับเครดิตผลงาน Chelovek rodilsya (1956), Krylya (1966), Visions of Eight (1973) ตอน The Beginning, Moscow Does Not Believe in Tears (1979) ฯ

ด้วยความที่เป็นหนังเมโลดราม่า (Melodrama) การถ่ายภาพจึงไม่ได้เน้นลวดลีลา ภาษาภาพยนตร์ เพียงบันทึกภาพวิถีชีวิตชาว Moscow เต็มไปด้วยรายละเอียด สีสัน การขยับเคลื่อนเลื่อนกล้องมีกลิ่นอายสไตล์ภาพยนตร์ Rainer Werner Fassbinder และวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี ค.ศ. 1958 และ ค.ศ. 1978 ครึ่งแรก-ครึ่งหลังแตกต่างกันอย่างชัดเจน

จะว่าไปทั้งนักแสดงหญิงทั้งสาม พวกเธอต่างมีอายุย่าง 40+ ปี แน่นอนว่าวัยวุฒิเหมาะกับเรื่องราวช่วงครึ่งหลัง แต่สำหรับครึ่งแรก (จริงๆก็น่าจะคัดเลือกนักแสดงสองชุด) ยุคสมัยนั้นยังไม่มีเทคโนโลยี ‘de-age’ จึงทำได้เพียงแต่งหน้าหนาๆ สวมเสื้อผ้าวัยรุ่น เลือกมุมกล้องที่ดูละอ่อนวัย ผมรู้สึกเฉยๆนะเพราไม่ได้มักคุ้นหน้าตานักแสดงกลุ่มนี้สักเท่าไหร่ แต่ก็แอบรู้สึกแก่แดดเกินวัยอยู่เล็กๆ (นี่ไม่ใช่คำด่านะครับ หมายถึงคนมีอายุทำตัวเหมือนวัยรุ่นหนุ่มสาว)


ตัดต่อโดย Yelena Mikhaylova สัญชาติรัสเซีย ผลงานเด่นๆ อาทิ The Red Snowball Tree (1974), They Fought for Their Country (1975), Moscow Does Not Believe in Tears (1979), The Cold Summer of 1953 (1988) ฯ

หนังมีการแบ่งออกเป็นครึ่งแรก-ครึ่งหลัง โดยในครึ่งแรกจะไม่ได้จำเพาะเจาะจงมุมมองตัวละคร แต่จะนำเสนอผ่านสามสาว Katya, Lyuda และ Tosya ขณะที่ครึ่งหลัง (ยี่สิบปีให้หลัง) หลังจากนำเสนอวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงของพวกเธอทั้งสาม จากนั้นจะโฟกัสเรื่องราวของ Katya ในภารกิจค้นหาคู่ครอง

  • ครึ่งแรก
    • แนะนำสามสาวร่วมห้องพักเดียวกัน Katya, Lyuda และ Tosya
    • Nikolai ชักชวน Tosya (และผองเพื่อน) ไปเยี่ยมเยียนครอบครัวที่ชนบท
    • Katya ได้รับฝากบ้านจากญาติห่างๆ Lyuda จึงใช้โอกาสนี้ในการล่อลวงบุรุษหนุ่ม-แก่ เข้ามาร่วมเลี้ยงงานปาร์ตี้
    • Lyuda สามารถเกี้ยวพาราสี Seryozha, ขณะที่ Katya ตกหลุมรัก Rudolph
    • แต่แล้ว Katya พลั้งพลาดตั้งครรภ์ กลับถูก Rudolph ปัดความรับผิดชอบ ทอดทิ้งจากไป
    • Katya คลอดบุตรสาว, Lyuda หมั้นหมาย Seryozha และ Tosya แต่งงานกับ Nikolai
  • ครึ่งหลัง ยี่สิบปีให้หลัง
    • ร้อยเรียงความเปลี่ยนแปลงของสาวสาม Katya, Lyuda และ Tosya
      • Katya กลายเป็นหัวหน้าวิศวกร เลี้ยงดูแลบุตรสาว Aleksandra จนเติบใหญ่
      • Lyuda เลิกราสามีขี้เมา Seryozha ทำงานพนักงานซักรีด
      • Tosya ก็ยังคงครองรักกับ Nikolai มีบุตรชาย-สาว
    • Katya รับฟังคำพร่ำบ่นขององค์กรจัดหาคู่
    • Katya กับชายชู้ Vladimir พาเธอไปที่ห้องขณะภรรยาและลูกไม่อยู่ แต่กลับ…
    • กิจกรรมรวมญาติที่บ้านชนบทของ Nikolai
    • ระหว่างโดยสารรถไฟ Katya พบเจอกับ Gosha
    • Gosha บุกเข้ามาที่อพาร์ทเม้นท์ของ Katya แล้วชักชวน Aleksandra ไปปิกนิก
    • กิจกรรมปิกนิกของ Gosha และผองเพื่อน
    • Rudolph ยังคงเป็นตากล้องสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น บังเอิญมาถ่ายทำรายการที่โรงงาน จดจำ ต้องการหวนระลึกความหลังกับ Katya แต่เธอบอกปัดปฏิเสธ
    • แฟนหนุ่มของ Aleksandra ถูกกลั่นแกล้ง รุมกระทำร้าย Gosha จึงเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
    • เรื่องวุ่นๆระหว่างมื้อเย็น รถไฟชนกันระหว่าง Gosha และ Rudolph
    • Gosha หายตัวไปจากบ้าน Nikolai จึงอาสาพากลับมาในสภาพมึนเมา
    • แล้วเรื่องราวก็จบลงอย่าง Happy Ending

เพลงประกอบโดย Sergey Yakovlevich Nikitin, Серге́й Яковлевич Никитин (เกิดปี 1944) นักแต่งเพลง สัญชาติรัสเซีย เกิดที่ Moscow โตขึ้นสำเร็จการศึกษาสาขาฟิสิกส์ Moscow State University ต่อด้วยปริญญาโทชีวฟิสิกส์ (Biophysic) ทำงานเป็นนักวิจัยสถาบัน Zelinsky Institute of Organic Chemistry (ระหว่าง 1971-80) ก่อนเปลี่ยนมา Institute of Biophysics (1980-87), งานอดิเรกคือการแต่งเพลง เล่นดนตรี รวมกลุ่มกับเพื่อนในคณะก่อตั้งวง ออกอัลบัม แสดงคอนเสิร์ต กลายเป็นผู้อำนวยการเพลง (Musical Director) ณ Oleg Tabakov Studio Theater ระหว่างปี ค.ศ. 1987-95 ก่อนผันตัวมาเป็นนักร้อง-แต่งเพลงเต็มเวลาหลังจากนั้น

ในส่วนของเพลงประกอบ ผกก. Menshov พยายามเลือกใช้บทเพลงมีชื่อเสียง จากศิลปินทั้งภายใน-นอกประเทศ อาทิ Yves Montand (Les Routiers), Robertino (Jamaica), Boney M (Daddy Cool), Bésame Mucho ฯ ในลักษณะ ‘diegetic music’ จากการขับร้อง เล่นกีตาร์ หรือเปิดจากแผ่นเสียง นานๆครั้งถึงได้ยิน Soundtrack ของ Nikitin แทรกแซมประกอบพื้นหลัง ในลักษณะสร้อยบทกวี นำเข้าสู่เรื่องราว และขับเน้นความรู้สึกภายในตัวละคร(ขณะนั้นๆ)

สำหรับบทเพลง Opening Credit ชื่อว่า Aleksandra, Александра แต่งโดย Sergey Nikitin, Dmitry Suharev และ Yuri Vizbor, ขับร้องโดยศิลปินดูโอ้/สามีภรรยา Sergey Nikitin และ Tatyana Nikitina, ผมพยายามเลือกคลิปที่มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ ฟังแล้วจะได้เข้าใจความหมายในตัว (คำแปลในคลิปกับที่นำมาจะแตกต่างกันค่อนข้างมาก เพราะผมเลือกใช้ DeepL แทน Google Translation มันน่าจะแปลได้ดีกว่า)

เกร็ด: หลายคนได้ยิน Alexandra/Alexandria อาจนึกถึงเมืองหลวงของ Egypt (โบราณ) แต่นักกวีชาวรัสเซียตั้งแต่ยุคสมัย Romanticism(1800-1850) นิยมชมชอบเรียก Moscow ว่า Alexandra หมายถึงเมืองที่มีความยิ่งใหญ่ ร่ำรวยวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ยั่งยืนยาว ตัวอย่างจากนวนิยาย Dead Souls (1842) ของ Nikolai Gogol เรียกกรุง Moscow ว่า Queen Alexandra

คำร้องรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Не сразу все устроилось, Москва не сразу строилась,
Москва слезам не верила, а верила любви.
Снегами запорошена, листвою заворожена,
Найдет тепло прохожему, а деревцу – земли.

Александра, Александра, этот город наш с тобою,
Стали мы его судьбою – ты вглядись в его лицо.
Чтобы ни было вначале, утолит он все печали.
Вот и стало обручальным нам Садовое кольцо!
Вот и стало обручальным нам Садовое кольцо!

Москву рябины красили, дубы стояли князями,
Но не они, а ясени без спросу наросли.
Москва не зря надеется, что вся в листву оденется,
Москва найдет для деревца хоть краешек земли.

Александра, Александра, что там вьется перед нами?
Это ясень семенами кружит вальс над мостовой.
Ясень с видом деревенским приобщился к вальсам венским.
Он пробьется, Александра, он надышится Москвой.

Москва тревог не прятала, Москва видала всякое,
Но беды все и горести склонялись перед ней.
Любовь Москвы не быстрая, но верная и чистая,
Поскольку материнская любовь других сильней.

Александра, Александра, этот город наш с тобою,
Стали мы его судьбою – ты вглядись в его лицо.
Чтобы ни было вначале, утолит он все печали.
Вот и стало обручальным нам Садовое кольцо!
It didn’t happen all at once, Moscow wasn’t built at once,
Moscow didn’t believe in tears, but in love.
It is covered with snow, mesmerized by leaves,
She’ll find warmth for a passerby and earth for a tree.

Alexandra, Alexandra, this city is ours and yours,
We’ve become its destiny. Look at its face.
No matter how it began, it’s a city that will quench all sorrows.
Now we’re engaged to be married on the Garden Ring!
The Garden Ring has become our betrothal!

Moscow was painted by rowan trees, and oaks were princes,
But not they, but ash-trees grew without asking.
Moscow hopes for a good reason that it will be dressed in foliage,
Moscow will find at least a piece of land for a tree.

Alexandra, Alexandra, what’s curling up in front of us?
It’s an ash tree with its seeds waltzing over the sidewalk.
The ash tree with its rustic look has joined the Viennese waltzes.
He’ll get through, Alexandra, he’ll breathe in Moscow.

Moscow didn’t hide its worries, Moscow has seen all sorts of things,
But all troubles and sorrows bowed before her.
Moscow’s love is not quick, but true and pure,
Because a mother’s love is the strongest of all.

Alexandra, Alexandra, this city is ours and yours,
We’ve become its destiny – look at its face.
No matter what comes first, it will quench all sorrows.
The Garden Ring has become our wedding ring!

บทเพลงของ Nikitin ถ้าไม่บรรเลงกีตาร์ก็เปียโน ท่วงทำนองง่ายๆ เพลิดเพลิน ฟังสบาย คลอประกอบพื้นหลังเบาๆ ผมเห็นอัลบัมก็แอบแปลกใจเพราะมีถึง 21 บทเพลง แทรกแซมไปตามส่วนเล็กส่วนน้อยของหนัง อาทิ Theme at the Table, Topic Maternity Hospital, There is a problem with paper in the country, Travel by Car, Elevator Theme ฯ (แปลชื่อจากภาษารัสเซีย)

ผมมีความติดอกติดใจกับชื่อบทเพลง С бумагой в стране напряжёнка แปลว่า There is a problem with paper in the country พอกดฟังไปได้ยินเสียงขย้ำกระดาษ และบรรเลงเปียโนเบาๆคลอประกอบพื้นหลัง … เอิ่ม! แค่นี้มันก็ทำเพลงประกอบได้แล้วสินะ

บทเพลงได้ยินผองเพื่อน Gosha ขับร้อง-ดีดกีตาร์ระหว่างปิกนิกชื่อว่า Диалог у новогодней ёлки, A dialogue by a New-Year tree แต่งโดย Sergey Nikitin, Yuri Levitansky ขับร้องโดย Sergey Nikitin และ Tatyana Nikitina (Nikitin มารับเชิญเล่นกีตาร์ในฉากนี้ด้วยนะครับ)

คำร้องรัสเซียคำแปลอังกฤษ
— Что происходит на свете? — А просто зима
— Просто зима, полагаете вы? — Полагаю.
Я ведь и сам, как умею, следы пролагаю
в ваши уснувшие ранней порою дома.

— Что же за всем этим будет? — А будет январь,
— Будет январь, вы считаете? — Да, я считаю.
Я ведь давно эту белую книгу читаю,
этот, с картинками вьюги, старинный букварь.

— Чем же все это окончится? — Будет апрель.
— Будет апрель, вы уверены? — Да, я уверен.
Я уже слышал, и слух этот мною проверен,
будто бы в роще сегодня звенела свирель.

— Что же из этого следует? — Следует жить,
шить сарафаны и легкие платья из ситца.
— Вы полагаете, все это будет носиться?
— Я полагаю, что все это следует шить.

Следует шить, ибо, сколько вьюге не кружить,
недолговечны ее кабала и опала.
Так разрешите же в честь новогоднего бала
руку на танец, сударыня, вам предложить!

Месяц серебряный, шар со свечою внутри
и карнавальные маски — по кругу, по кругу.
Вальс начинается. Дайте ж, сударыня,
и — раз-два-три, раз-два-три,
раз-два-три, раз-два-три!..
What in the world is going on? – It’s just winter
Just winter, don’t you think? – I suppose so.
I myself, as I know how to do, I’m making tracks
into your early-sleeping homes.

What will be behind all this? – It will be January,
It’ll be January, you reckon? – Yes, I do.
I’ve been reading this white book for a long time,
this old primer with pictures of blizzards.

How will it end? – It’ll be April.
It’ll be April, are you sure? – Yes, I’m sure.
I’ve heard a rumor, and I’ve verified it,
that there was a whistle in the grove today.

What does it follow? – That we should live,
and make sundresses and light dresses of chintz.
Do you suppose it will all be worn?
I suppose it should all be sewn.

It must be sewn, for no matter how much the blizzard whirls,
its bondage and its disgrace do not last.
So, in honor of the New Year’s ball.
in honor of the New Year’s Eve ball.

A silver moon, a balloon with a candle inside.
and carnival masks, round and round.
The waltz begins. Give it to me, madam,
and one-two-three, one-two-three,
one-two-three, one-two-three, one-two-three!…

สำหรับบทเพลง Ending Song ชื่อว่า Самих себя судим แปลว่า We judge ourselves, แต่งโดย Sergey Nikitin, Dmitry Suharev, ขับร้อง/บรรเลงกีตาร์โดย Sergey Nikitin

คำร้องรัสเซียคำแปลอังกฤษ
Самим себе судьи, самих себя судим
На первом пороге зимы.
И хочется думать, что новые люди
Окажутся лучше, чем мы.

А новые люди стоят у подъездов
И новые песни поют,
И дворики наши искать бесполезно,
Где новые башни встают.

Этот город, он был мне истоком,
Но теперь он мне трижды родней.
Я люблю понимать ненароком
Разговоры светящихся окон,
Переборы вечерних огней.

Жизнь моя, далеко ль до предела?
Грянет срок – за черту заступлю…
Погоди, не окончилось дело,
Погляди на меня, как глядела…
Я люблю, как ты смотришь, люблю…

Может быть, у последнего края
Любим ещё горячей?
Отогрейся, моя дорогая, –
Будем вместе смотреть не мигая,
На мерцанье вечерних огней.
We judge ourselves, we judge ourselves
On the first threshold of winter.
And we’d like to think that the new people
Will be better than us.

And the new people are standing at the doorsteps
And sing new songs,
And it’s useless to look for our backyards,
Where the new towers stand.

This city, it’s where I came from,
But now it’s three times more dear to me.
I like to understand inadvertently
The conversations of the glowing windows,
and the lights of the evening.

My life, how far is the limit?
When the time comes, I’ll cross the line…
Wait, it’s not over,
Look at me as you’ve looked at me.
I love the way you look at me, I love the way you look at me.

Maybe at the last edge
Love still hot?
Warm yourself, my darling
Let’s look together without blinking,
At the twinkling lights of evening.

Moscow Does Not Believe in Tears (1980) นำเสนอเรื่องราวชีวิตว้าวุ่น (Melodrama) ที่สอดแทรกแนวคิด อุดมคติ Socialism ผ่านมุมมองสาวโรงงาน จากชนบทสู่สังคมเมือง ถ้ามีความมุ่งมั่น อดกลั้น ตั้งใจร่ำเรียน-ทำงานหนัก สักวันย่อมต้องประสบความสำเร็จ ทั้งอาชีพการงานและเรื่องของความรัก

  • Katya เป็นตัวแทนผู้หญิงรุ่นใหม่ มีความมุ่งมั่น อดกลั้น ตั้งใจร่ำเรียน-ทำงาน ย่อมสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ใด
  • Lyuda โหยหาความร่ำรวย สุขสบาย แต่นิสัยขี้เกียจสันหลังยาว แถมเต็มไปด้วยคำโป้ปดหลอกลวง ไร้ความซื่อสัตย์จริงใจ หวังเกาะกินชายผู้มีฐานะ สุดท้ายเลยสูญเสียทุกสิ่งอย่าง พออายุมากขึ้นก็ยังต้องต่อสู้ดิ้นรน จมปลักอยู่ในความเพ้อฝัน
  • Tosya คือตัวแทนหญิงสาวบ้านๆ ตามขนบวิถีแบบดั้งเดิม แต่งงานครองรักกับ Nikolai มีบุตรร่วมกันสองคน ชีวิตดำเนินไปอย่างปกติสุข

ขณะที่ในยุโรปกำลังวุ่นๆวายๆกับการเรียกร้องสิทธิสตรี (Feminist) เพศหญิงสมควรเสมอภาคเท่าเทียมกับเพศชาย! แต่มุมมองคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม กลับครุ่นคิดเห็นแตกต่างออกไป พวกเขาไม่ต้องการให้ใครมาเรียกร้อง เดินขบวน ทำลายความสงบสุขของประเทศชาติ … Moscow Does Not Believe in Tears (1980) ไม่เชิงว่าเป็นภาพยนตร์ Anti-Feminist แต่ผมมองว่าคือ Feminist ในอุดมคติของสหภาพโซเวียตเสียมากกว่า

จริงๆแล้วแนวคิดของคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม คือทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันอยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัตินั้นบุรุษยังคงได้รับอภิสิทธิ์เหนือกว่าสตรี การจะเปลี่ยนแปลงโดยทันทีแบบยุโรปเป็นสิ่งที่สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ภาพยนตร์เรื่องนี้พยายามหาความสมดุล ด้วยการชี้นำความรักระหว่าง Katya กับ Gosha

Katya คือผู้หญิงทำงาน ตำแหน่งหัวหน้าวิศวกร สามารถพึ่งพาตนเอง อาศัยอยู่กับบุตรสาว แต่พอถึงจุดอิ่มตัวจึงพยายามมองหาใครสักคน แต่มันไม่ใช่ใครก็ได้ เพราะเธอไม่ค่อยอยากก้มหัวให้ใคร ยังคงจดจำบทเรียนสมัยวัยรุ่น เลยต้องการมีอำนาจในครอบครัว สามารถครุ่นคิดตัดสินใจอะไรๆด้วยตนเอง

ช่วงแรกๆที่คบหา อยู่ร่วมกันได้กับ Gosha เพราะเขาครุ่นคิดว่าตนเองยังมีความเหนือกว่าในหลายๆด้าน พยายามไม่รับรู้สถานะ(การงาน-การเงิน)ของอีกฝ่าย เพราะจะสร้างความอึดอัด สูญเสียสภาวะผู้นำครอบครัว แต่ก็คงตระหนักรับรู้ตัว จึงพยายามสร้างข้อต่อรอง อย่าขึ้นเสียง อย่าออกคำสั่ง โปรดจงเหลือบางสิ่งอย่างให้กับฉัน ผู้ชายอย่างน้อยควรต้องมีอำนาจตัดสินใจในบ้าน ไม่ใช่ก้มหัวศิโรราบ นั่นไม่แตกต่างจากพวกแมงดา

มันไม่ใช่ว่าสามี-ภรรยา ใครมีการศึกษา เงินเดือน ตำแหน่งงานสูงกว่า คนนั้นถึงสามารถเป็นหัวหน้าครอบครัว ในบริบทของหนังพยายามชี้นำว่าบุรุษควรต้องเป็นช้างเท้าหน้า ผู้มีอำนาจ สิทธิ์ขาดในการตัดสินใจ เพื่อครอบครัวจักสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข … สังเกตหนังนำเสนอแนวคิด(จุลภาค)ที่สอดคล้องระบอบคอมมิวนิสต์/สังคมนิยม(มหภาค)

ผมมาครุ่นคิดดูระบบปิตาธิปไตย (Patriarchy) เอาจริงๆก็ไม่ผิดอะไรนะ มันคือมุมมองคิดเห็น ทัศนคติส่วนบุคคล ผู้หญิงบางคนต้องการสามีที่สามารถพึ่งพาอาศัย มากด้วยอำนาจบารมี เกาะกินแล้วชีวิตสุขสบาย … คือเราจะไปตีตราตัวละครแบบ Lyuda ว่าไม่ใช่คนดี มันก็ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่

เฉกเช่นเดียวกับประชาธิปไตย vs. สังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ มันคือสองขั้วตรงข้ามที่ต่างก็มีดี มีชั่ว ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ! บางประเทศเหมาะกับระบอบประชาธิปไตย บางประเทศเหมาะกับสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ เราไม่ควรด่วนตัดสินว่าพวกเขาเหล่านั้นถูก-ผิด ดี-ชั่ว ด้วยการยึดความคิดเห็นส่วนตัว ‘เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น’

สิ่งที่เราไม่ควรยินยอมรับก็คือความรุนแรง พฤติกรรมหลอกลวง คบชู้นอกใจ ดื่มสุราเมามาย ได้แล้วทิ้ง ปัดความรับผิดชอบ ฯ เหล่านี้ไม่ว่าสังคมขั้วไหนๆ ล้วนไม่ให้การยินยอมรับ ไม่จำเป็นที่เราจักต้องอดกลั้นฝืนทน น้ำตาไม่ช่วยอะไร ต้องกล้าคิดกล้าตัดสินใจ หักกล้วยหักดิบด้วยตัวเราเอง

แซว: Moscow Does Not Believe in Tears อาจคือจิตวิญญาณชาวรัสเซียที่ชอบทำอะไรๆด้วยตนเอง แต่บางครั้งเราอาจยังจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น แบบเดียวกับความรักของ Katya ต้องให้ผองเพื่อนช่วยติดตามหา Gosha ปรับความเข้าใจ … ไม่มีใครสามารถทำอะไรๆได้ด้วยตนเองทุกสิ่งอย่าง


หนังใช้ทุนสร้างเพียง 550,000 รูเบิล ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ หมดไปกับแค่ค่าจ้างนักแสดงและทีมงาน (ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ รวมถึงฟีล์มหนัง รัฐบาลสหภาพโซเวียตแยกจ่ายให้ไม่รวมอยู๋ในทุนสร้าง) เมื่อตอนฉายรอบปฐมทัศน์ เห็นว่าเสียงตอบรับไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ‘cheap melodrama’ แต่ชาวรัสเซียต่างตีตั๋วเข้าไปรับชมหนังกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทำยอดจำหน่ายตั๋วสูงถึง 84.4 ล้านใบ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดถึง แต่กลับยังไม่ใช่ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จสูงสุดปีนั้น เป็นรองเพียง Pirates of the 20th Century (1980) มีจำหน่ายตั๋ว 87.6 ล้านใบ (นับเฉพาะปีแรก) … ทั้งสองเรื่องติด TOP10 ภาพยนตร์มียอดจำหน่ายตั๋วสูงสุดตลอดกาลในรัสเซีย (ถ้านับเฉพาะภาพยนตร์สร้างขึ้นภายในประเทศ ทั้งสองเรื่องต่างติด TOP5)

เมื่อตอนเข้าชิง Oscar: Best Foreign Language Film ไม่ถือว่าเป็นตัวเต็งเพราะมีภาพยนตร์อย่าง Kagemusha (1980), The Last Metro (1980) ฯ แต่กลับสามารถคว้ารางวัลอย่างเหนือความคาดหมาย! น่าเสียดายที่ผกก. Menshov ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ เลยไม่มีโอกาสเข้าร่วมงานประกาศรางวัล ตอนได้ยินข่าวหนังชนะ Oscar ก็ครุ่นคิดว่าเป็นเรื่องตลกขบขัน (เพราะเช้าวันนั้นตรงกับ 1 เมษายน April Fool’s Day) จนกระทั่งได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนร่วมงานที่ Goskino ถึงค่อยตระหนักรับรู้ว่าเป็นความจริง

แซว: แต่กว่าที่ผกก. Vladimir Menshov จะมีโอกาสสัมผัสรางวัล Oscar ก็เมื่อปี ค.ศ. 1989 (ถูกยึดไว้ที่ Goskino) จัดงานพร้อมประกาศเกียรติคุณศิลปินแห่งชาติ/เหรียญเกียรติยศ People’s Artist of Russia (1989)

เพราะหนังมีความเป็นรัสเซียสูงมากๆ ชาวโลกจึงค่อยๆหลงลืมเลือนตามกาลเวลา อีกทั้งตัวหนังเองก็เต็มไปด้วยทัศนคติเก่าๆ ค่านิยม Socialism ผู้ชมฝั่งโลกตะวันตกจึงไม่ค่อยให้ความสนใจ หลงเหลือเพียง ‘Time Capsule’ บันทึกประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตยุคสมัยนั้น

ปัจจุบันหนังยังไม่ได้รับการบูรณะ แต่หารับชมทางออนไลน์ไม่ยากนะครับ ในช่องของ Mosfilm บน Youtube ก็มีให้ดูฟรีเต็มเรื่อง หรือใครต้องคุณภาพดีหน่อยก็แนะนำจ่ายรายเดือนเว็บ sovietmoviesonline.com รวบรวมหนังรัสเซียเก่าๆระดับคลาสสิกไว้ในที่เดียว

ส่วนตัวค่อนข้างชื่นชอบหนัง แม้หลายๆแนวคิดจะตกยุคล้าหลัง ไม่เหมาะสมกับโลกปัจจุบัน (โดยเฉพาะประเทศฟากฝั่งประชาธิปไตย) แต่ถ้าเราสามารถแยกแยะ เข้าใจบริบทสังคม รวมถึงมุมมองของผู้สร้าง ก็จะไม่บังเกิดอคติต่อเนื้อหาสาระ เพลิดเพลินไปกับเรื่องราวนำเสนอ ที่ยังคงคลาสสิก โรแมนติก น้ำเน่าเคล้าน้ำตา เก็บฝังช่วงเวลาแห่งความทรงจำไว้ใน ‘Time Capsule’

จัดเรต pg กับเรื่องรักๆใครๆ ระริกระรี้อยากแต่งงาน

คำโปรย | Moscow Does Not Believe in Tears เรื่องราวเมโลดราม่าน้ำเน่า ที่จะทำผู้ชมเคล้าน้ำตา แม้ค่านิยมเก่าๆ ก็ยังคงความคลาสสิก เก็บฝังไว้ในไทม์แคปซูล
คุณภาพ | คลาสสิก
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: