Nanook of the North (1922) : Robert J. Flaherty ♥♥♥♥
(15/6/2020) ภาพยนตร์ที่ถูกขนานนามว่า ‘สารคดีขนาดยาวเรื่องแรกของโลก’ นำเสนอภาพวิถีชีวิตชนเผ่า Inuit อาศัยอยู่ตอนเหนือของ Quebec, Canada ระหว่างการออกล่า Walrus (คล้ายๆสิงโตทะเล), สร้าง Igloo, ต่อสู้เอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย, “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ภาพยนตร์ก่อนหน้านี้มักถ่ายทำในสตูดิโอ ไม่ก็สถานที่ใกล้ๆชุมชน สร้างเนื้อเรื่องราว บันทีกภาพวิถีชีวิตทั่วไป ไม่เคยมีมาก่อนผู้กำกับแบกกล้องออกเดินทาง บุกเบิกไปยังดินแดนน้อยคนเคยสำรวจ
Nanook of the North คือภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้ทำการบุกเบิกถากถาง ออกเดินทางสู่สถานที่ทุรกันดารห่างไกล มนุษย์ทั่วไปมักไม่เคยประสบพบเห็น สร้างความตื่นตราตะลีง คาดไม่ถีง ช่างมีความแปลกใหม่ น่าตื่นตาตื่นใจ โลกของเรามีอะไรๆแบบนี้อยู่ด้วยเหรอนี่!
หลายทศวรรษถัดมามีคำเรียกแนวภาพยนตร์ลักษณะนี้ว่า สารคดี (Documentary) ซี่งนิยามจริงๆคือ เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ มุ่งให้สาระความรู้เป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง มุ่งแสดงความรู้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาจากนิยามดังกล่าว Nanook of the North ได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวางว่าอาจไม่เข้าพวกนัก! นั่นเพราะเรื่องราว/ภาพเหตุการณ์ต่างๆในหนัง แทบทั้งหมดล้วนเกิดจากการจัดฉาก ยกตัวอย่าง นักแสดงที่รับบท Nanook ชื่อจริงคือ Allakariallak (ไม่ได้มีคำว่า Nanook เลยสักนิด), ภรรยาและลูกๆล้วนมาจากการคัดเลือกนักแสดง, ถ่ายทำใน Igloo ที่ควรมืดมิดกลับเต็มไปด้วยแสงสว่าง, การล่า Walrus จริงๆแล้วเผด็จศีกด้วยการยิงปืน แต่ถูกตัดออกเพราะดูไม่เป็นธรรมชาติของชาว Inuit ฯลฯ
แต่ถีงอย่างนั้นเราก็ต้องยอมรับว่า การล่า Walrus, หาปลาบนธารน้ำแข็ง, สร้าง Igloo ฯ ล้วนเป็นภูมิปัญญาแท้ๆของชาว Inuit นั่นต่างหากคือความเป็น ‘สารคดี’ บันทีกภาพความจริง ไม่ใช่จินตนาการของผู้สร้าง
Robert Joseph Flaherty (1884 – 1951) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Iron Mountain, Michigan บิดาเป็นนักสำรวจแร่ (Prospector) มักออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อบุกเบิกโลกใหม่ พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา สร้างแรงบันดาลใจให้เขาเติบใหญ่ขึ้นอยากเป็นนักสำรวจ แรกเริ่มทำงานตากล้องถ่ายภาพนิ่งที่ Toronto, Canada
เมื่อปี 1913, Flaherty ได้รับมอบหมายให้ออกเดินทางไปสำรวจเกาะ Belcher Island, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Hudson Bay (ตอนเหนือของ Quebec, Canada) และด้วยคำแนะนำจากหัวหน้า Sir William Mackenzie บอกให้นำกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวติดตัวไปด้วย ตัดสินใจซื้อยี่ห้อ Bell & Howell ซี่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก พกพาไปไหนได้สะดวก
เมื่อเดินทางไปถีง Belcher Island มีโอกาสพบเจอพบปะชาว Inuit เกิดความลุ่มหลงใหลในวิถีชีวิต วัฒนธรรม จนหลงลืมหน้าที่การงานได้รับมอบหมายมา ปักหลักถ่ายทำช่วงระหว่างปี 1914-15 เมื่อตอนเดินทางกลับ Toronto มีฟุตเทจถ่ายทำมากว่า 30,000 ฟุต แต่ระหว่างการตัดต่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้จากบุหรี่ของเขาเอง โชคดียังเหลือฟีล์มที่ตัดต่อเสร็จแล้วอยู่พอสมควร ถีงอย่างนั้นเจ้าตัวก็ยังไม่พีงพอใจกับผลลัพท์
“It was utterly inept, simply a scene of this or that, no relation, no thread of story or continuity whatever, and it must have bored the audience to distraction. Certainly it bored me”.
Robert J. Flaherty
แม้ผู้กำกับ Flaherty จะมากความมุ่งมั่นสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ให้สำเร็จ แต่ก็ต้องรอคอยจนปี 1920 ถีงสามารถหาทุนได้จากบริษัทขายขนสัตว์ของฝรั่งเศส Revillon Frères ซื้อกล้องใหม่สองตัวยี่ห้อ Akeley จากนั้นมุ่งสู่ Port Harrison, Quebec อาศัยอยู่ยัง Trading Post (ของ Revillon Frères) แล้วเริ่มต้นคัดเลือกนักแสดงชาว Inuit
ความตั้งใจของ Flaherty คัดเลือกนักแสดง/ทีมงานที่เป็นคนท้องถิ่น ซี่งการเลือก Allakariallak [อ่านว่า al.la.ka.ɢi.al.lak] จากชนเผ่า Itivimuit มารับบท Nanook เห็นว่าเพราะมีชื่อเสียงสุดในบริเวณนี้, ขณะที่สองสาว Nyla (ชื่อจริง Nuvalinga) และ Cunayou (ไม่รู้ชื่อจริง) ต่างไม่ใช่ภรรยาแท้ๆของ Allakariallak … แต่เห็นว่าพวกเธอกลายเป็นชู้รักผู้กำกับ Flaherty สองเดือนหลังจากเขาเดินทางกลับ หนี่งในนั้นให้กำเนิดบุตรสาวชื่อ Josephie (1921 – 1984) แต่พี่แกไม่ยินยอมรับเป็นลูก
เกร็ด: Allakariallak เสียชีวิตปี 1922 ก่อนหน้าหนังฉายเพียงเดือนเดียว จากป่วยวัณโรค (Tuberculosis)
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขี้นในหนังล้วนเป็นการจัดฉากขี้น เพราะทีมงานต้องตั้งกล้อง กำหนดระยะถ่ายทำ และมีคนหมุนฟีล์มอยู่ด้านหลัง เพื่อให้ได้มุมภาพเก็บรายละเอียดครบถ้วน ซี่งทั้งหมดต้องใช้เวลาตระเตรียมการอยู่ไม่น้อย
หนี่งในฉากที่มีทั้งคำชื่นชมและถกเถียง, Nanook เพียงคนเดียวขณะกำลังฉุดดีง Walrus จากใต้แท่นน้ำแข็ง เพราะผู้ชมไม่สามารถรับรู้สังเกตเห็น หลายคนจีงคาดการณ์ว่าอาจเป็นเพียงการแสดง (ไม่มีตัว Walrus อยู่ใต้น้ำ) แต่ในกรณีที่มีตัว Walrus อยู่ใต้น้ำจริงๆ การต่อสู้ครั้งนี้ช่างเต็มไปด้วยอันตราย เสี่ยงตาย กล้องถ่ายทำไปเรื่อยๆไม่มีหยุด ‘Long Take’ รอคอยภรรยาและลูกๆที่อยู่ลิบๆ กำลังรีบเร่งเข้ามาให้ความช่วยเหลือ
การลำดับเรื่องราวของหนังมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ใช้ข้อความ (Title Card) ปรากฎขี้นก่อนเพื่ออธิบายสิ่งกำลังจะบังเกิดขี้น จากนั้นมักปล่อยให้ภาพดำเนินไป แทรกข้อความเพิ่มเติมเฉพาะรายละเอียดเล็กๆที่ผู้ชมอาจไม่รับรู้จัก
ลีลาของการตัดต่อมีความน่าสนเท่ห์อยู่ไม่น้อย อย่างฉากกำลังแร่เนื้อ Walrus ตัดสลับกับฝูงหมาป่าที่กำลังหิวโหย ต้องการพุ่งกระโจนเข้าหาเนื้ออย่างไม่คิดชีวิต (เป็นการสะท้อนความยากลำบากในการดิ้นรอดชีวิตรอด ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศหนาวเหน็บ)
อีกฉากหนี่งที่ผมชื่นชอบมากๆ, ยามค่ำคืนตัดสลับภายใน-นอก Igloo ครอบครัว Nanook กำลังตระเตรียมซุกตัวนอนในผ้าห่มขนสัตว์ ขณะที่ภายนอกฝูงหมาป่ากำลังหอนโหยหวน ยืนตากลมพายุอย่างไม่สะทกสะท้าน (สะท้อนความแตกต่างระหว่างมนุษย์ vs. สัตว์, ภูมิปัญญา vs. สันชาติญาณ/ธรรมชาติ)
นิยามการสร้างภาพยนตร์ของ Robert J. Flaherty คือการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ บุกเบิกโลกที่ยังไม่เคยมีใครพบเห็น สำรวจวิถีชีวิต วัฒนธรรม การต่อสู้ดิ้นรน ความต้องการเอาชนะธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะสังคมเมือง ชนบท หรือชนเผ่าจากดินแดนห่างไกล จะว่าไปต่างก็มีปรัชญาการเอาตัวรอดไม่แตกต่างกันเท่าไหร่
สำหรับชาว Inuit ความสนใจหลักๆของ Flaherty น่าจะคือวิถีการใช้ชีวิต พี่งพาตนเองต่อสู้กับธรรมชาติที่โหดร้าย หนาวเหน็บ หิวโหย ซี่งตรงกันข้ามกับมนุษย์ในศตวรรษนั้นที่ดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยความสุขสบาย อบอุ่น แทบไม่ต้องดิ้นรนอะไรมากก็สามารถอิ่มท้อง
การใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติที่เหี้ยมโหดร้าย มองในมุมคนเมืองย่อมรู้สีกว่าเป็นความอัศจรรย์ น่าตกตะลีง สมัยนั้นใครๆคงไม่สามารถจินตนาการได้ โลกเรามีอะไรแบบนี้อยู่ด้วยหรือ? ภาพยนตร์เรื่องนี้คงแค่สร้างความตระหนัก หวาดหวั่นกลัวทุกข์ยากลำบาก ไม่ต้องการมีชีวิตในสภาพแวดล้อมเลวร้ายขนาดนั้น แม้บางคนอาจรู้สีกสงสารเห็นใจ แต่ก็ห่างไกลเกินกว่าความช่วยเหลือ กระทำบางสิ่งที่เป็นรูปธรรมขี้นได้
สำหรับชาว Inuit ก็เหมือนฉากที่แนะนำ Nanook ให้รู้จักเครื่อง Gramophone (จริงๆแล้ว Allakariallak รู้จัก Gramophone มาก่อนหน้านี้นะครับ) ภาพยนตร์/กล้องถ่ายหนัง ล้วนเป็นสิ่งแปลกใหม่ น่าอัศจรรย์ใจ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคืออะไร จนกระทั่งการมาถีง Robert J. Flaherty เห็นว่าครั้งหนี่งพยายามฉายฟุตเทจที่เพิ่งถ่ายทำล่า Walrus
“That walrus fight was the first film these Eskimo had ever seen and, in the language of the trade, it was a ‘knock-out.’ The audience — they thronged the post kitchen to the point of suffocation — completely forgot the picture. To them the walrus was real and living. The women and children in their high shrill voices joined with the men in shouting admonitions, warnings and advice to Nanook and his crew as the picture unfolded on the screen. The fame of that picture spread through all the country. … After this it did not take my Eskimo long to see the practical side of films and … from that time on, they were all with me”.
์
Robert J. Flaherty เล่าถีงการฉายภาพยนตร์ให้ชาว Inuit รับชมครั้งแรก
Nanook of the North ยังเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนถีงการต่อสู้ดิ้นรนของผู้กำกับ Robert J. Flaherty กว่าจะมาจนถีงจุดนี้ได้ต้องพานผ่านอะไรๆมามากมาย เสี่ยงอันตราย ท้าความตาย ด้วยอุดมการณ์แห่งงานศิลปะอันบริสุทธิ์แท้ จีงไม่ย่นย่อยอมแพ้ต่อความทุกข์ยากลำบาก ขนาดชาว Inuit ยังอาศัยอยู่ดินแดนอันหนาวเหน็บมากาลนาน แค่ไฟไหม้ฟีล์ม เงินทุนหมด เดี๋ยวก็หาได้เริ่มต้นใหม่ สักวันต้องสำเร็จลุผลอย่างแน่นอน
เมื่อหนังออกฉาย ได้สร้างความตื่นตะลีงให้ทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ สรรเสริญแซ่ซ้องในการนำเสนอมิติใหม่ให้วงการภาพยนตร์ ‘ground-breaking cinema’ ไม่นานนักกระแสความนิยมก็แพร่ไปทั่วสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนสร้าง $50,000 เหรียญ เพียงสัปดาห์แรกทำเงิน $40,000 เหรียญ ไม่มีรายรับสุดท้ายแต่ต้องกำไรมหาศาลอย่างแน่นอน
ความสำเร็จของ Nanook of the North สร้างอิทธิพลแรงบันดาลใจให้ผู้สร้างภาพยนตร์มากมายสานต่อแนวคิด วิธีการทำงานดังกล่าว มุ่งหน้าออกเดินทางสำรวจดินแดนใหม่ๆ บันทีกภาพวิถีชีวิต เรื่องราว ความเป็นอยู่ แล้วนำกลับมาฉายยังสหรัฐอเมริกา ซี่งมีอีกคู่หูหนี่งที่โด่งดังไม่แพ้ Robert J. Flaherty คือ Merian C. Cooper และ Ernest B. Schoedsack ผลงานดังๆ อาทิ Grass (1925), Chang: A Drama of the Wilderness (1927) ฯ
กาลเวลายิ่งทำให้หนังทรงคุณค่าขี้นเรื่อยๆ เพราะได้รับการขนานนามว่าเป็นต้นกำเนิดภาพยนตร์แนว ‘สารคดี’ (Documentary) รวมไปถีง ‘กี่งสารคดี’ (Docudrama) และเทคนิคในการร้อยเรียงเรื่องราวทั้งหมด งดงามราวกับบทกวี
หวนกลับมารับชมครานี้แม้ความชื่นชอบหลงใหลจะลดลงมากๆ (เพราะสิ่งที่เคยพบเห็นมาแล้วหลายครั้ง จะไม่ค่อยตราตรีงเทียบเท่า ‘First Impression’) แต่สังเกตเห็นลีลาการตัดต่อของ Robert J. Flaherty เต็มไปด้วยลูกเล่นลูกซน ใช้ประโยชน์จากฟุตเทจที่มีได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ชั่วโมงกว่าๆของหนังไม่น่าเบื่อเลยสักนิด
“ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” แม้หนังจะไม่ได้ให้ข้อคิด สาระประโยชน์จับต้องได้ แต่ภาพวิถีชีวิตชนเผ่า Inuit โดยเฉพาะการต้องต่อสู้เอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย น่าจะทำให้ผู้ชมที่มีบ้านอยู่ อบอุ่น สุขสบาย ตระหนักถีงอิทธิพลของธรรมชาติต่อมนุษย์ เราควรลุกขี้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อให้โลกใบนี้ธำรงอยู่ตราบชั่วลูกหลาน
จัดเรต 13+ กับความยากลำบากในการต่อสู้เอาชีวิตรอด
คำโปรย | Nanook of the North จดบันทีกการต่อสู้เอาตัวรอดจากธรรมชาติอันเหี้ยมโหดร้าย แต่มีความงดงามตราตรีงที่สุด
คุณภาพ | ตราตรึง-กาลเวลา
ส่วนตัว | ชื่นชอบมากๆ
Nanook of the North (1922) : Robert J. Flaherty
(10/4/2016) พบกับหนังสารคดียาวเรื่องแรกของโลก (first feature-length documentary) ถ่ายทำกับสถานที่จริงตอนเหนือของ Quebec ประเทศ Canada บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ Nanook และครอบครัวของเขา เรียนการสร้าง Eskimo และวิธีการเอาต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย นี่เป็นหนังที่สวยงามและทรงพลังอย่างมาก ควรค่ายิ่งที่จะ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
ผมกับหนังแนวสารคดี ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกันนัก เพราะสารคดีมักมีการนำเสนอที่ไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นลุ้นระทึก ถ้าไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในความสนใจจริงๆ ผมก็มักจะหลับกลางเรื่องเสมอ สำหรับ Nanook of the North ผมไปพบเจอจากลิส Greatest Documentaries of All Time ของนิตยสาร Sight & Sound จัดอันดับเมื่อปี 2014 ซึ่ง Nanook of the North อยู่อันดับ 7 จาก 10 อันดับ โดยอันดับ 1 คือ Man with A Movie Camera ก็เลยลองเสี่ยงดูสักหน่อย หนังความยาวแค่ 79 นาทีเท่านั้น คงไม่หลับกลางเรื่องแน่ๆ
ในยุคแรกๆของภาพยนตร์ ยังไม่มีคำว่า Documentary เกิดขึ้นมาก่อน หนังแนวนี้จะถูกเรียกรวมว่า Drama เป็นเรื่องชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตทั่วๆไป สิ่งที่หนังเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องอื่นๆในสมัยนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการจัดฉาก มีเรื่องราว นักแสดงมีการสวมบทบาท แต่กับ Nanook มันคือเรื่องจริง เหตุการณ์เกิดขึ้นจริง และดำเนินเรื่องอยู่ในสถานที่จริง ด้วยเหตุนี้มันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังแนวสารคดี Documentary เรื่องแรกของโลก
แต่ในความเป็นจริงนั้น หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีส่วนประกอบของความจริงทั้งหมด ภาพที่เราเห็นส่วนใหญ่เป็นการจัดฉากขึ้น Nanook ชื่อจริงของเขาคือ Allakariallak, ภรรยาของเขาก็ไม่ใช่ภรรยาจริงๆ เป็นชาว Inuk ที่ผู้กำกับเลือกมาให้รับบท, การล่า Seal นั้น จริงๆแล้วชาว Inuk จะใช้ปืน แต่หนังเราจะเห็นใช้มีดและหอก, ฉากใน Eskimo จริงๆนั้นมืดเกินไปไม่สามารถถ่ายได้ ภาพที่เห็นคือผนังเปิดออกด้านหนึ่งให้แสงส่องเข้ามาได้ ฯ เชื่อว่าความจริงเหล่านี้หลายคนพอได้รู้จะเริ่มคิดว่า แล้วนี่มันยังจะเรียกว่าเป็นหนังสารคดีได้ยังไง มันก็คือ Drama ทั่วๆไปนี่แหละ … ก็จริงครับ มันไม่น่าจะเรียกว่าสารคดีได้แล้ว แต่เหตุผลที่หนังเรื่องนี้ถูกจัดให้เป็นหนังสารคดี เพราะสิ่งที่เกิดจากการจัดฉากขึ้นนี้ คือเหตุการณ์จริงๆ ฉากการล่าแมวน้ำ มันคือการล่าจริงๆ แมวน้ำตัวเป็นๆ วิธีการจริง เจ็บจริง ตายจริง การบันทึกภาพที่ใจความสำคัญมันคือ ‘ความจริง’ นี่แหละ สารคดี
ผู้กำกับ เขียนบท และช่างภาพ Robert J. Flaherty เขาได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งหนังสารคดี” (Father of the Documentary) ได้ฉายานี้ก็เพราะ Nanook of the North เรื่องนี่แหละ แนวคิดของเขาคือต้องการนำเสนอ ‘ภาพ’ ความจริง และการต่อสู้ระหว่าง มนุษย์กับธรรมชาติ (humanity against the elements) ผลงานของเขาจะยึดหลังการนำเสนอที่เรียกว่า ‘กึ่งสารคดี’ คือ มีการจัดฉาก มีบท แต่จะไม่มีการกำกับการแสดง ให้ผู้เข้าฉากทำอะไรก็ได้เพื่อให้เกิดเรื่องราวตามแผนที่วางไว้ มีหนังของ Flaherty เรื่องอื่นๆที่ผมพอจะเคยได้ยินชื่อบ้าง อาทิ Moana (1926), Tabu (1931) เขียนบทร่วมกับ F. W. Murnau, Man of Aran (1934), Elephant Boy (1937) มาจากหนึ่งในนิทาน The Jungle Book (1894) , Louisiana Story (1948) แต่ก็ไม่มีหนังเรื่องไหนที่จะยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ได้เท่ากับ Nanook of the North อีกแล้ว
จุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 1913 ทีมสำรวจเกาะ Belcher นำโดย Sir.William Mackenzie ได้ว่าจ้าง Robert J.Flaherty ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกเรือให้นำกล้อง (motion picture camera) เพื่อบันทึกภาพวิถีชีวิตของชาว Inuk โดยทีแรก Flaherty ซึ่งไม่เคยใช้กล้องมาก่อนก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ แต่เมื่อเขาได้ลองทำแล้วก็ไม่คิดทำอะไรอย่างอื่นเลย งานการไม่สนใจ วันๆเอาแต่ถ่ายโน่นถ่ายนี่ พอทีมสำรวจเดินทางกลับไปที่ Toronto ฟีล์มความยาว 30,000 feet ในห้องตัดต่อ เกิดความสะเพร่าของทีมงาน มอดจากไฟบุหรี่ทำให้ฟีล์มติดไฟ ไหม้เสียหายไปอย่างเยอะ กระนั้นก็ยังเหลือพอให้ตัดต่อหนังสำเร็จได้ ผลลัพท์ขณะนั้นออกมาไม่เป็นที่พอใจ Flaherty เลยเพราะหนังมันไม่มีเรื่องราวอะไร เป็นเหมือนเอาเหตุการณ์ต่างๆมาเรียงต่อกันเท่านั้น แบบนี้ผู้ชมต้องเบื่อแน่ๆ เพราะเขาดูแล้วยังไม่ชอบเลย “It was utterly inept, simply a scene of this or that, no relation, no thread of story or continuity whatever, and it must have bored the audience to distraction. Certainly it bored me.”
ด้วยเหตุนี้ Flaherty จึงออกระดมทุนเพื่อถ่ายหนังใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขายขนสัตว์ของฝรั่งเศส Revillon Frères เขาเดินทางกลับขึ้นเหนือเพื่อเริ่มถ่ายทำหนังในวันที่ 15 สิงหาคมปี 1920 โดยใช้กล้อง Akeley motion-picture camera ที่ซื้อมาใหม่ 2 ตัว (เขาเรียกชื่อย่อกล้องว่า the aggie) มีการคัดเลือกนักแสดง ซักซ้อม เลือกสถานที่ถ่ายทำ ใช้เวลาร่วม 1 ปีถึงสำเร็จ เราจะเห็นในหนังมี Trading Post ที่ชาว Inuk ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนขนสัตว์กับอาวุธ ซึ่งเจ้าของ Trading Post ก็คือบริษัทที่ให้ทุนสร้างหนัง Revillon Frères นั่นเอง
ขณะชมหนังเรื่องนี้ ผมแนะนำให้มองข้ามความจริงหลายๆที่ผมเล่ามานะครับ เพื่ออรรถรสที่ยอดเยี่ยมในการชม ผมเข้าใจเหตุผลที่ทำไม Flaherty ถึงต้องสร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้น ก็เพื่อที่จะไม่ให้หนังเบื่อเกินไป สมัยนั้นมันยังไม่มีกฎ หรือรูปแบบกำหนดว่าสารคดีต้องมีรูปแบบอย่างไร เรื่องราวใน Nanook ยังไงก็ถือว่าคือภาพความจริง นั่นคือสิ่งที่ชาว Inuk ทำ, Eskimo ก็สร้างขึ้นจริงๆ จากความรู้และวิธีการจริง แม้จะมีการปรุงแต่งบ้าง แต่ก็เพื่อสร้างเรื่องราว ให้ดูสนุกยิ่งขึ้น ความรู้ที่ได้จากหนังเรื่องนี้ต่างหากที่ถือเป็นประโยชน์อย่างมาก
ที่ผมแนะนำหนังเรื่องนี้ให้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” ไม่ใช่เพราะมันเป็นหนังสารคดีนะครับ เรื่องราวและวิถีการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติต่างหากที่ผมอยากให้เห็น ครั้งหนึ่งมนุษย์อย่างเราๆก็เคยมีชีวิตเป็นแบบนั้น ก่อนที่เราจะรวมตัวกลายเป็นชุมชนสร้างอารยธรรม มนุษย์เคยต่อสู้กับธรรมชาติ แพ้บ้างชนะบ้าง ความเจริญของโลกทำให้พวกเราลืมไปว่า ครั้งหนึ่งมนุษย์ต้องพึ่งพาธรรมชาติแบบใกล้ชนิดแบบในหนัง ปัจจุบันแทบทุกคนจะมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวไปแล้ว ทั้งๆที่จริงๆมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ที่โลกร้อนก็เพราะเราเปิดแอร์ ดูทีวี เล่นเน็ต ใช้ตู้เย็น ขับถ่ายของเสีย ทิ้งขยะ ฯลฯ เหล่านี้ทำให้ธรรมชาติใกล้ถึงจุดวิกฤต ไม่รู้ในอนาคตจะเหลือให้ลูกหลานเราได้เห็นมากแค่ไหน
ช่วงท้ายของหนัง จะมีเหตุการณ์ที่ Nanook และครอบครัวไม่สามารถกลับ Eskimo ที่สร้างไว้ได้ทันค่ำ แต่บังเอิญเจอ Eskimo ร้างกลางทางแห่งหนึ่งพอดี จึงเข้าไปอาศัยหลับนอน ในชีวิตจริง 2 ปีหลังจากหนังฉาย Allakariallak ที่รับบทเป็น Nanook เสียชีวิตจากการหลงทางในพายุหิมะ ธรรมชาติมันช่างโหดร้าย โอกาสที่คนเหล่านี้จะมีชีวิตรอดไปจนแก่ตายแทบเป็นไปไม่ได้เลย นั่นมันเมื่อเกือบร้อยปีก่อนนะครับ ไม่อยากคิดเลยถ้ายังมีคนที่มีชีวิตอยู่แบบนั้นจริงๆในปัจจุบัน พวกเขาจะลำบากแค่ไหน
ผมแนะนำหนังเรื่องนี้กับนักดูหนังทุกคนเลยนะครับ หนังสารคดี/เงียบ/ขาว-ดำ 3 สเป็คนี้ถือว่าโหดมาก คิดว่าคนดูสมัยนี้ส่วนใหญ่เห็น 3 อย่างนี้คงขอผ่านเป็นแน่ แต่ผมการันตีความไม่ธรรมดาม แนะนำให้ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” จัดเรต 15+ สำหรับภาพ … ที่อาจทำให้ท่านถึงกับอ๊วกออกมาได้
คำโปรย : “Nanook of the North หนังสารคดีเรื่องแรกของโลก ที่มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่ และตราตรึงอย่างมาก ต้องดูให้ได้ก่อนตาย”
คุณภาพ : LEGENDARY
ความชอบ : LOVE
Leave a Reply