Nasu: Summer in Andalusia (2003) : Kitarō Kōsaka ♥♥♥♡
Kitarō Kōsaka นักอนิเมเตอร์ชื่อดังจากสตูดิโอ Ghibli ผู้หลงใหลการปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ ได้รับคำแนะนำและผลักดันจาก Hayao Miyazaki ที่ก็มีความชื่นชอบเช่นเดียวกัน กลายมาเป็น ‘passion project’ ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องแรกฉายยังเทศกาลหนังเมือง Cannes
เมื่อพูดถึงกีฬาจักรยานในญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง Idaten Jump (2005-06), Over Drive (2007) หรือ Yowamushi Pedal (2013-) แต่อนิเมชั่นเรื่องแรกๆที่สามารถจุดกระแสความนิยม (ไม่แน่ใจว่าเป็นอนิเมะแนวจักรยาน เรื่องแรกเลยรึป่าวนะ) ก็คือ Nasu: Summer in Andalusia (2003) แจ้งเกิด Kitarō Kōsaka ในฐานะผู้กำกับได้อย่างสง่างาม
ดั้งเดิมนั้น Nasu: Summer in Andalusia (2003) ตั้งใจให้เป็นเพียง OVA (Original Video Animation) ความยาว 47 นาที ส่งตรงลง DVD/Blu-Ray แต่จู่ๆได้รับการติดต่อจากเทศกาลหนังเมือง Cannes เพราะกีฬาจักรยานเป็นที่คลั่งไคล้ของผู้คนในฝรั่งเศส (Tour de France เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903) จัดฉายรอบ Director’s Fortnight เสียงตอบรับค่อนข้างดี โดยเฉพาะไคลน์แม็กซ์ที่ตื่นเต้น เร้าใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อจากนั้นเลยได้รับโอกาสฉายจำกัดโรงในญี่ปุ่น แม้ไม่ทำเงินสักเท่าไหร่ แต่ยอดขาย Home Video เพียงพอให้สร้างภาคต่อ Nasu: A Migratory Bird with Suitcase (2007)
Kitarō Kōsaka (เกิดปี 1962, ที่ Kanagawa) ผู้กำกับ นักอนิเมเตอร์สัญชาติญี่ปุ่น ด้วยความชื่นชอบในผลงานผู้กำกับ Hayao Miyazaki (ตั้งแต่ยังไม่ได้ก่อตั้งสตูดิโอ Ghibli) หลังเรียนจบมัธยม ยื่นใบสมัครสตูดิโอเดียวกับที่เขาทำอยู่ขณะแต่ได้รับการปฏิเสธ เลยมองหาสังกัดอื่นที่รับงาน Outsource (อนิเมะของ Miyazaki) จนได้เริ่มต้นที่ Oh! Production ปักหลักเรียนรู้งานตั้งแต่ปี 1979 มีโอกาสเป็น Key Animation เรื่อง Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Angel’s Egg (1985), Castle in the Sky (1986) ฯ เมื่อถึงจุดอิ่มตัวลาออกมาเป็น Freelance อาทิ Royal Space Force: The Wings of Honneamise (1987), Grave of the Fireflies (1988), Akira (1988), ได้รับคำชื่นชมจาก Miyazaki จนก้าวขึ้นมากำกับอนิเมชั่น (Animation Director) เรื่อง Whisper of the Heart (1995), Princess Mononoke (1997), Spirited Away (2001), Howl’s Moving Castle (2005), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008) และ The Wind Rises (2013)
ทั้ง Kōsaka และ Miyazaki ต่างเป็นแฟนกีฬาจักรยาน ชื่นชอบปั่นออกกำลังกาย รับชมการแข่งขัน Tour de France ถึงขนาดริเริ่มจัดการแข่งขันปั่นจักรยานภายในสตูดิโอ Ghibli เป็นประจำมาตั้งแต่ปี 1997 (ส่วนใหญ่ Kōsaka จะเป็นผู้ชนะ)
เพราะมีความสนใจเดียวกัน Miyazaki เลยแนะนำมังงะเรื่อง Nasu (2000-02) รวมเรื่องสั้น 24 ตอน แต่งโดย Iou Kuroda ตีพิมพ์ลงนิตยสาร Monthly Afternoon หนึ่งในนั้นชื่อเรื่อง Summer in Andalusia เกี่ยวกับการแข่งขันปั่นจักรยานในเส้นทางทะเลทราย แล้วชักชวนให้ Kōsaka ลองดัดแปลงสร้างเป็นอนิเมะ
“Actually it was Mr. Miyazaki, who is also a fan of cycling, who introduced me to the manga Nasu, because he knew we share an interest in the sport. I suggested to adapt it together, but he said ‘I’m too old now, I don’t have enough energy.’ So I took the idea to Mr. Masao Maruyama of Madhouse, whom I’d known for a long time, and he accepted my idea to make the film”.
Kitarō Kōsaka
ไม่แน่ใจว่าตอนนั้น Miyazaki ยังอยู่ในช่วงประกาศตัวว่าเกษียณรึป่าว เลยบอกปัดข้อเสนอของ Kōsaka ที่อยากให้ร่วมสร้างอนิเมะด้วยกัน แต่อีกบทสัมภาษณ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ต่อให้ตนเองเป็นหัวแรงโปรเจคนี้ก็ไม่น่าประสบความสำเร็จทำเงินสักเท่าไหร่ เพราะกีฬาจักรยานยังไม่ค่อยได้รับความนิยมสนใจในญี่ปุ่น นายทุนที่ไหนจะอยากเสี่ยงให้ทุนสร้างสนับสนุน
หลังจาก Kōsaka อ่านเรื่องราวของ Summer in Andalusia บังเกิด ‘passion’ อย่างรุนแรงที่จะดัดแปลงสร้างเป็นอนิเมะ เลยนำแนวคิดไปเสนอโปรดิวเซอร์ Masao Maruyama ขณะนั้นยังอยู่สตูดิโอ Madhouse อาสาจัดหาทุนให้ทำ OVA ส่งตรงลง DVD/Blu-Ray เพราะเชื่อว่าอาจมีแนวโน้มขายได้คืนทุน
เรื่องราวของนักแข่งจักรยาน Pepe Benengeli ขณะเข้าร่วมการแข่งขัน Vuelta a España ในเส้นทางพานผ่านบ้านเกิดของตนเอง แคว้น Andalusia, ทางตอนใต้ประเทศสเปน พอดิบพอดีเป็นวันที่พี่ชาย Ángel กำลังจะแต่งงานกับแฟนเก่าของเขา Carmen (คบชู้ระหว่างตอนไปฝึกทหาร) ด้วยเหตุนี้ Pepe จึงต้องการชัยชนะเพื่อออกเดินทางไปจากบ้านของตนเอง (มิอาจอดรนทนเห็นแฟนเก่า ครองรักกับพี่ชาย)
ความฟิตปั๋งของ Kōsaka นอกจากเครดิตผู้กำกับ เขียนบท ยังเหมารวมออกแบบตัวละคร (Character Design) และกำกับอนิเมชั่น (Animation Director) โดยโบ้ยงานออกแบบศิลป์ (Art Direction) ให้ Naoya Tanaka เพื่อนสนิทต่างแผนกจากสตูดิโอ Ghibli ที่มีประสบการณ์ด้านนี้มากกว่าตน
เนื่องด้วยงบประมาณไม่เยอะมาก Kōsaka จีงต้องควักเงินส่วนตัวสำหรับค่าใช้จ่ายออกเดินทางไปประเทศสเปน สำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Scounting Location) อาศัยอยู่หนี่งสัปดาห์ ปั่นจักรยาน สเก็ต/ถ่ายภาพ เก็บรายละเอียดสองข้างทางที่จะใช้เป็นพื้นหลัง แอบประหลาดใจเล็กๆที่ท้องทะเลทรายในแคว้น Andalusia มีต้นไม้สีเขียวค่อนข้างเยอะ ไม่ได้แห้งแล้งอย่างที่เคยจินตนาการไว้
“Actually, I was surprised by how green the landscape was. There were more trees and vegetation than I had expected. I decided to make the image of the area slightly more spacious in the film, because it would allow the viewer to focus on the action without being distracted by the landscape too much”.
Kitarō Kōsaka
อนิเมะมีส่วนผสมของการวาดมือ (Traditional Animation) และสร้างภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Graphic) โดยเฉพาะรายละเอียดพื้นหลัง สาเหตุเพราะการแข่งขันจักรยาน ต้องใช้ความเร็ว โฉบเฉี่ยว ฉวัดเฉวียน เป็นไปได้ยากจะใช้การวาดมือให้ได้ผลลัพท์ดังกล่าว
“The background is very important, because those backgrounds that pass by really fast do a lot to emphasise the dramatic aspect of the film. Without computer graphics it wouldn’t be possible to make this film”.
ส่วนไฮไลท์ของอนิเมะคือ 500 เมตรสุดท้าย มีการเพิ่มลายเส้นหยาบๆให้ตัวละคร Close-Up Shot ใบหน้าบิดๆเบี้ยวๆ เขย่าภาพสั่นๆ ส่งเสียงเรียกเพิ่มพลัง แสดงกำลังเฮือกสุดท้าย หลงเหลือเท่าไหร่ใส่ให้หมดก่อนเข้าถีงเส้นชัย ซี่งลักษณะดังกล่าวได้แรงบันดาลใจจากต้นฉบับมังงะ แทบไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ
รับชม Sequence นี้ในปัจจุบัน คงไม่สร้างความตื่นตาตื่นใจสักเท่าไหร่ แต่ยุคสมัยนั้นลีลาระดับนี้ถือว่าแปลกตา สดใหม่ ดูมีความคิดสรรค์ไม่น้อยทีเดียวละ
“Firstly, it was important to make the final sprint very impressive. Also, when I read the manga, I was very impressed by that style, so I thought it would by nice to try and remain faithful to it in the film”.
ถ้าเรื่องราวตลอดทั้ง 47 นาที เป็นการแข่งขันตั้งแต่ต้นจบจบ ผมแนะนำไปดูถ่ายทอดสด Tour de France ไม่ดีกว่าหรือ? ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ Kōsaka เลยสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว งานแต่งงานของพี่ชาย (ที่คบชู้กับแฟนสาวของตนเอง) ดำเนินเรื่องคู่ขนาน พร้อมเปิดเผยรายละเอียดเบื้องหลัง ที่มาที่ไปก่อนชีวิตดำเนินมาถีงจุดนี้ เพื่อให้ผู้ชมรับรู้จักตัวละคร บังเกิดความสนใจ ใคร่ติดตาม เป็นกำลังใจส่งแรงเชียร์ให้ได้รับชัยชนะ … แม้ผลการแข่งขันจะเป็นไปตามความคาดหมาย แต่เรื่องราวก็สอดแทรกข้อคิดดีๆเกี่ยวกับชีวิตอยู่ไม่น้อย
อนิเมะไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไม Carmen ถีงนอกใจ Pepe แค่บอกว่าตกหลุมรัก Ángel ระหว่างแฟนเก่าไปฝีกทหาร นั่นคือแรงผลักดันให้เขาต้องการชัยชนะในการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อเป็นตั๋วเดินทางออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด เริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่ต้องถูกพันธนาการยีดติดกับสิ่งใด
สำหรับ Ending Song ชื่อว่า Bicycle Show Song เป็นการจงใจล้อเลียน ‘parody’ บทเพลง Auto Show Song (1964) ขับร้องโดย Akira Kobayashi, สำหรับ BSS เรียบเรียงโดย Yoshino, คำร้องโดย Tetsuro Hoshino (เป็นคนเขียนคำร้องให้เพลง Auto Show Song) และขับร้องโดย Kiyoshiro Imawano,
แซว: เหตุผลที่เลือกบทเพลงนี้ เพราะเคยถูกนำไปร้องเล่นในวาไรตี้ How Do You Like Wednesday ซี่งเป็นรายการโปรดของผู้กำกับ Kitarō Kōsaka
การแข่งขันจักรยาน สามารถเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์กับการดำเนินไปของชีวิต ต้องปฏิบัติตามกฎกติกา(ของสังคม) มีผู้นำ-กลุ่มติดตาม เร่งรีบ-รอคอยโอกาส พานผ่านสภาพอากาศดี-เลวร้าย ประสบอุบัติเหตุ แพ้ภัยธรรมชาติ ผู้เข้าเส้นชัยอันดับหนี่งย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ เป็นที่รักของใครๆ ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป
“In races, if you have no ambition you can just follow the others in your group and make it to the finish line without effort. But if you do want to achieve something, then the more difficult your situation, the harder you need to struggle”.
Kitarō Kōsaka
ความสนใจของผู้กำกับ Kitarō Kōsaka คือการกระทำของตัวละคร Pepe ตัดสินใจรีบออกนำแทนที่จะถนอมกำลังไว้เร่งความเร็วช่วงท้าย แม้คือความเสี่ยงหมดแรงถูกแซงก่อนเข้าถีงเส้นชัย (การปั่นเป็นกลุ่มจะช่วยผ่อนแรง มีคนข้างหน้าช่วยต้านลม ทำให้พละกำลังเหลือเร่งความเร็วโค้งสุดท้ายได้อย่างเต็มที่) แต่นั่นถือเป็นจิตวิญญาณนักสู้ เปี่ยมด้วยความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน กล้าได้กล้าเสี่ยง วัดดวงไปเลยว่าจะสามารถเข้าเส้นชัยอันดับหนี่งได้หรือเปล่า
บุคคลแบบ Pepe ในปัจจุบันค่อนข้างหายากยิ่ง ไม่ค่อยมีใครกล้าทำอะไรบ้าบิ้น เสี่ยงล้มเหลว เร่งรีบออกนำตั้งแต่เริ่มต้นแข่งขันแบบนี้ ส่วนใหญ่มักรวมกลุ่มติดตามกันไป อยู่ใน ‘safe zone’ ปลอดภัยไว้ก่อน แล้วค่อยไปวัดดวงช่วงโค้งสุดท้าย ก็สามารถถีงเส้นชัยได้เหมือนกัน
“I find it very admirable and beautiful if people show the strength to try and achieve something, regardless of whether they succeed or not. In our society today, all we have eyes for is results. So if you lose, nobody notices your determination. In that process, as a result of a loss of self-confidence many people lose the spirit of determination.
นั่นเพราะค่านิยมของโลกยุคสมัยนี้ ผลลัพท์สำคัญกว่าการเดินทาง น้อยคนจะมีความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง หาญกล้าครุ่นคิดกระทำสิ่งแตกต่าง ส่วนใหญ่เห็นใครประสบความสำเร็จก็เฮฮากันไป ไม่เป็นตัวของตนเอง ขอแค่ได้มีส่วนร่วม ชีวิตไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยต่อสู้ดิ้นรนเกินกำลัง ก็เพียงพอแล้วสำหรับวันๆหนี่ง
เหล่านี้คือมุมมอง/แนวความคิดหนี่งเกี่ยวกับชีวิต ไม่มีผิด-ถูก ถ้าคุณครุ่นคิดเห็นต่าง ผมเองก็เคยพานผ่านช่วงเวลาแห่งการแข่งขันเอาเป็นเอาตาย เลยตระหนักว่าเหล่านี้เป็นเพียงมายาคติ เราสามารถเป็นแบบ Ángel ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรน เดือดร้อนผลแพ้ชนะ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ธรรมดาสามัญก็มีความสุขได้เช่นกัน
ทีแรกผมครุ่นคิดตีความว่าผู้กำกับ Kitarō Kōsaka เทียบแทนตนเองด้วยตัวละคร Pepe พยายามดิ้นรนให้หลุดพ้นพันธนาการบางอย่างจาก Hayao Miyazaki แต่พอรับรู้เบื้องหลังความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา ก็ตระหนักว่านัยยะไม่ใช่การตีตนออกห่าง แค่พยายามหาหนทางเอาตัวรอด พี่งพาตนเองให้ได้ก็เท่านั้น
Nasu แปลว่า Eggplant, มะเขือยาว ของกินเล่นที่พบเห็นในอนิเมะ (แต่ไม่ใช่อาหารพื้นเมืองของชาว Andalusia นะครับ เป็นสิ่งที่ผู้แต่งมังงะครุ่นคิดขี้นมาเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายบางอย่าง) สำหรับชาวญี่ปุ่น Nasu ยังถูกใช้เป็นคำเสียดสี ด่าทอ ถีงความซื่อบื้อ โง่งม เหมือนการกระทำของ Pepe รีบเร่งขี้นนำหน้าโดยไม่สนแผนการ/พละกำลังตนเอง แต่มันก็ไม่จำเป็นว่าเขาต้องพ่ายแพ้ คนอ่อนแอก็สามารถเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน
“The nasu is not a main plate, but a snack, a side dish. In Japan we even have insults with the word ‘nasu’: ‘bokenasu’ and ‘otankonasu’ [literally: ‘stupid eggplant’]. So by using the symbol of the eggplant I wanted to show how even a normal person can achieve something”.
การนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ย่อมทำให้ร่างกายปวดเมื่อย เหนื่อยอ่อนล้า ผมจึงใช้การปั่นจักรยานที่สามารถผ่อนคลาย ออกกำลังกาย กินลมชมบรรยากาศชิลๆ ไม่ต้องไปเร่งรีบซิ่งซ่าเหมือนพวกบรรดานักแข่งก็ได้ ซึ่งถ้าใครอยู่ต่างจังหวัดยังสามารถเอาขึ้นรถ ออกท่องเที่ยวตามสถานที่ธรรมชาติมากมาย (ปั่นในเมืองคงลำบากสักหน่อย) มันช่วยเพิ่มทั้งพลังกาย-จิตใจ ห่างไกลโรคาพยาธิ และฝึกสมาธิได้ด้วยนะครับ
รับชม Nasu เหมือนได้พักผ่อน คลายความตึงเครียด ไม่ได้มีเนื้อหาอะไรหนักอึ้ง แต่ก็แฝงสาระข้อคิดที่มีประโยชน์ และน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนชื่นชอบหลงใหลในกีฬาจักรยาน บังเกิดความพึงพอใจในระดับหนึ่ง
จัดเรตทั่วไป
Leave a Reply