North by Northwest (1959) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♥♡
(4/7/2024) การผจญภัยขึ้นอุดรล่องพายัพของ Cary Grant จับพลัดจับพลู ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยโดนหมายหัวจาก James Mason แต่จนแล้วจนรอด สามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด! เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ระทึกขวัญ เมามันส์ที่สุดในสไตล์ Hitchcockian
แซว: เผื่อคนไม่ได้สังเกต ลองเพ่งมองโปสเตอร์หนัง ภูเขารัชมอร์ (Mount Rushmore) มันควรมีประติมากรรมใบหน้าอดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาจำนวน 4 ท่าน ไม่ใช่ฤา??
เริ่มต้นจาก The 39 Steps (1935) ติดตามด้วย Saboteur (1942) มาจนถึง North by Northwest (1959) ที่สุดของภาพยนตร์แนว Action-Thriller จับพลัดจับพลู ถูกเข้าใจผิด (Wrong Man) เลยต้องต่อสู้ดิ้นรน หาหนทางหลบหนี ออกเดินทางผจญภัย (Adventure) ขึ้นเหนือล่องใต้ พานผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ค้นพบรักแท้ และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
หลังจากเคร่งเครียดกุมขมับกับ Vertigo (1958) คราคร่ำด้วยนัยยะเชิงสัญญะ ต้องทำการขบครุ่นคิดวิเคราะห์จนสมองแทบระเบิด! North by Northwest (1959) เป็นผลงานที่ผกก. Hitchcock ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงผ่อนคลาย ไม่จำเป็นต้องไปตีความอะไรมากมาย แต่ยังคงแพรวพราว ตระการตาด้วยเทคนิค ลูกเล่น จัดเต็มเอฟเฟคภาพยนตร์ จนได้รับการยกย่องสรรเสริญ จักรวาลแซ่ซ้อง ตอนออกฉายก็ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม กลายเป็นต้นแบบแฟนไชร์ James Bond และบรรดาหนังสายลับทั้งปวง!
Critics who like to see Alfred Hitchcock’s films as so many cryptograms to be puzzled over for hidden symbols are going to have a hard time with North by Northwest. This is the purest piece of entertainment filmmaking we have had from him in some years; it is also, which does not inevitably follow, the most purely entertaining.
Penelope Houston นักวิจารณ์จากนิตยสาร Sight & Sound
นอกจากนี้ผมยังรู้สึกว่า North by Northwest (1959) เป็นหนังที่มีความเซ็กซี่ อีโรติกอย่างมากๆ เต็มไปด้วยถ้อยคำสองแง่สองง่าม ความลับๆล่อๆแหลมๆ สุ่มเสี่ยงจะถูกแบน ใครตาดีได้ ตาร้ายเสีย ยกตัวอย่างสักหน่อย
- สูทของ Cary Grant มีความโคตรเนี๊ยบ (รีดผ้า)เรียบทุกช็อตฉาก ถึงขนาดได้รับยกย่อง “Best Suit in film History” ช่วยเสริมความหล่อเซ็กซี่แม้ในวัยห้าสิบกะรัต
- Eva Marie Saint เล่าว่าต้องพากย์ทับประโยคพูด “I never discuss love on an empty stomach” เพราะตอนถ่ายทำใช้ถ้อยคำที่กองเซนเซอร์ Hays Code ต้องเบือนหน้าหนี “I never make love on an empty stomach”
- Martin Landau (มือขวาของตัวร้าย) จงใจเคลือบแฝงการแสดงให้คละคลุ้งกลิ่นอาย ‘HomoErotic’ เกิดความหึงหวง อิจฉาริษยา ด้วยความ(จง)รักต่อหัวหน้า James Mason เคยพูดประโยค “Call it my woman’s intuition”
- โดยเฉพาะตอนจบของหนัง หลังจาก Cary Grant ฉุดกระชาก Eva Marie Saint ขึ้นมายังเตียงนอนชั้นบน เสียงฉาบดังขึ้น แล้วตัดภาพขบวนรถไฟกำลังเคลื่อนเข้าอุโมงค์
ผมพยายามอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจว่า ทำไม North by Northwest ถึงเป็นทิศทางที่ไม่มีอยู่จริง? ก่อนอื่นเลยต้องกล่าวถึงสี่ทิศหลัก (Cardinal Direction หรือ Cardinal Points) น่าจะไม่มีใครไม่รับรู้จัก
- เหนือ/อุดร (North)
- ตะวันออก/บูรพา (East)
- ทิศใต้/ทักษิณ (South)
- ตะวันตก/ประจิม (West)
แต่ละทิศหลักสามารถแบ่งครึ่ง กลายเป็นทิศรอง (Ordinal Directions หรือ Intercardinal Directions) ซึ่งคำเรียกภาษาไทยจะแตกต่างอังกฤษ กล่าวคือ ภาษาไทยเริ่มต้นด้วยฟากฝั่งตะวันออก-ตะวันตก แต่ภาษาอังกฤษจะนำหน้าด้วย North หรือ South ประกอบด้วย
- ตะวันออกเฉียงเหนือ/อีสาน (North East)
- ตะวันออกเฉียงใต้/อาคเนย์ (South East)
- ตะวันตกเฉียงเหนือ/พายัพ (North West)
- ตะวันตกเฉียงใต้/หรดี (South West)
เรายังสามารถแบ่งครึ่งของทิศรองได้อีกจำนวน 8 ทิศ มีคำเรียกว่าทิศย่อย (Secondary Intercardinal Directions) ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าภาษาไทยมีคำเรียกทางการอย่างไร ตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือ? เท่าที่พบเจอทางโหราศาสตร์มีคำเรียกอย่าง บุริมีสาน (บูรพา+อีสาน) โดยการอ่านจะเริ่มต้นด้วยทิศหลักตามด้วยทิศรอง คำภาษาอังกฤษก็ยึดหลักการเดียวกัน
- ทิศอุตรีสาน (North-North East)
- ทิศบุริมีสาน (East-North East)
- ทิศบูริมาคเนย์ (East-South East)
- ทิศทักษิณาคเนย์ (South-South East)
- ทิศทักษิณเนรดี (South-South West)
- ทิศปัจฉิมเนรดี (West-South West)
- ทิศปัจฉิมพายัพ (West-North West)
- ทิศอุดรพายัพ (North-North West) *** หลายคนอาจเข้าใจผิดว่านี่คือชื่อหนัง แต่ไม่ใช่นะครับ เวลาอ่านคือ North North West ไม่มีคำว่า by นั่นเพราะ…
ถัดจาก 16 ทิศย่อย ยังมีแบ่งครึ่งอีก 16 ทิศย่อยๆ (รวมเป็น 32 ทิศทาง) ผมขอไม่พูดถึงคำอ่านภาษาไทยแล้วกัน ดูจากรูปเอาเอง ส่วนภาษาอังกฤษจะมีการใช้คำย่อ NbE อ่านว่า North by East คือทิศที่อยู่ระหว่าง North กับ North-North East, หรืออย่าง NEbN อ่านว่า North East by North อยู่ระหว่าง North-North East กับ North East ฯ ซึ่งหลักการอ่านจะเริ่มจากทิศหลักหรือทิศรองใกล้ที่สุด + “by” + ทิศหลักใกล้ที่สุด (ที่ไม่ใช่ทิศเดียวกับคำแรก) ด้วยเหตุนี้มันจึงมีแค่ NWbN อ่านว่า Northwest by North อยู่ระหว่าง North West กับ North-North West ไม่มีทิศที่ชื่อว่า NbNW หรือ North by Northwest
แม้ทิศทาง North by Northwest จะไม่มีอยู่จริง! แต่เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เก่งอังกฤษ ย่อมครุ่นคิดว่าคือเส้นทางการผจญภัยของ Roger Thornhill เริ่มต้นจาก New York โดยสารรถไฟไปยัง Chicago แล้วต่อด้วยขึ้นเครื่องบินมุ่งสู่ South Dakota มันก็เหมาะๆว่าทิศเหนือ + ตะวันตกเฉียงเหนือ … แต่ดูจากแผนที่ที่ใกล้เคียงน่าจะเป็น West by North (WbN) ไม่ก็ West-North West (WNW) เสียมากกว่า
เอาเป็นว่าชื่อหนัง North by Northwest มันคือทิศทางไม่มีอยู่จริง! สอดคล้องกับการไม่มีตัวตนของ George Kaplan รวมถึงเหตุการณ์จับพลับจับพลู ถูกเข้าใจผิดว่าคือสายลับที่แอบติดตามสายลับ (หนังไม่ได้ระบุว่า Phillip Vandamm คือใคร มาจากไหน เพียงเหมารวมว่าคือสายลับ) หรือจะตีความว่าเป็น MacGuffin ก็ได้กระมัง!
It’s the American Thirty-Nine Steps–I’d thought about it for a long time. It’s a fantasy. The whole film is epitomized in the title—there is no such thing as north-by-northwest on the compass. The area in which we get near to the free abstract in movie making is the free use of fantasy, which is what I deal in.
Alfred Hitchcock
Sir Alfred Joseph Hitchcock (1899-1980) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ เจ้าของฉายา ‘Master of Suspense’ เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่ Leytonstone, Essex ครอบครัวเปิดกิจการร้านขายของชำ (grocery shop) ช่วงวัยเด็กมีความสนใจภูมิศาสตร์ แผนที่ ขบวนรถไฟ ใฝ่ฝันอยากเป็นวิศวกร เข้าศึกษาภาคค่ำยัง London County Council School of Engineering and Navigation แต่พอบิดาเสียชีวิต เลยต้องแบ่งเวลามาทำงานเสมียนบริษัทโทรเลข Henley Telegraph and Cable Company, หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มมีความสนใจด้านการเขียน กลายเป็นบรรณาธิการรุ่นก่อตั้ง The Henley Telegraph ก่อนย้ายมาแผนกโฆษณา ทำให้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์ ‘Motion Picture’ เกิดความชื่นชอบหลงใหล Der müde Tod (1921) ของผู้กำกับ Fritz Lang
ต่อมายื่นใบสมัครเข้าทำงานสตูดิโอ Famous Players–Lasky เปิดสาขาใหม่ที่ London เริ่มจากเป็นนักออกแบบ Title Card, ร่วมเขียนบท, ออกแบบศิลป์, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้ช่วยตัดต่อ ฯ เรียนรู้งานแทบจะทุกสิ่งอย่าง ไต่เต้าสู่ผู้ช่วยผู้กำกับ Woman to Woman (1923), ได้รับโอกาสกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก The Pleasure Garden (1925), แจ้งเกิดกับ The Lodger: A Story of the London Fog (1927), ผลงานโดดเด่นในยุคแรกๆ อาทิ Blackmail (1929), The Man Who Knew Too Much (1934), The 39 Steps (1935), The Lady Vanishes (1938), จากนั้นเซ็นสัญญา(ทาส)โปรดิวเซอร์ David O. Selznick ออกเดินทางสู่ Hollywood สรรค์สร้างผลงาน Rebecca (1940), Spellbound (1945), Notorious (1946), พอหมดสัญญา(ทาส)ออกมาสรรค์สร้าง Rope (1947), Stranger on a Train (1951), Dial M for Murder (1954), เริ่มต้นร่วมงาน Paramount Pictures ตั้งแต่ Rear Window (1954), To Catch a Thief (1955)
ระหว่างความล้าช้าของโปรเจค Vertigo (1958) เลื่อนการถ่ายทำออกไปเกือบปี! ผกก. Hitchcock จึงเริ่มวางแผนโปรเจคเรื่องถัดไป ได้รับการชักชวนจากสตูดิโอ M-G-M ดัดแปลงนวนิยาย The Wreck of the Mary (1956) โดยนักเขียนชาวอังกฤษ Hammond Innes (1913-98) แต่ทว่าเมื่อร่วมงานนักเขียน Ernest Lehman (1915-2005) ไม่รู้จะพัฒนาบทร่างออกมายังไงไม่ให้เป็น “a boring courtroom drama”
Alfred Hitchcock had agreed to do a film for MGM and they had chosen an adaptation of the novel The Wreck of the Mary Deare by Hammond Innes. Composer Bernard Herrmann had recommended that Hitchcock work with his friend Ernest Lehman. After a couple of weeks, Lehman offered to quit saying he didn’t know what to do with the story. Hitchcock told him they got along great together and they would just write something else.
John Russell Taylor เขียนหนังสือชีวประวัติ Hitch: The Life and Times of Alfred Hitchcock (1978)
I walked in one day and said: “I give up. You’ve got to get yourself a new writer. I don’t know how to do this picture.” Hitchcock said, “Don’t be silly. We get along so well together. We’ll just do something else.”
Ernest Lehman
แม้เพียงช่วงเวลาสั้นๆที่ผกก. Hitchcock ร่วมงานกับนักเขียน Lehman แต่เพราะพูดคุยกันถูกคอ เลยตัดสินใจทอดทิ้งโปรเจค The Wreck of the Mary (1956) แล้วเปลี่ยนมาพัฒนาบทดั้งเดิม (Original Screenplay) ผลัดกันโยนไอเดีย ความคิดที่น่าสนใจ ดูสิว่ามีอะไรสามารถนำมาแปะติดปะต่อ เรียบร้อยเรียงเป็นเรื่องราวภาพยนตร์
เกร็ด: เมื่อสตูดิโอ M-G-M รับรู้ว่าผกก. Hitchcock หมดความสนใจในนวนิยาย The Wreck of the Mary (1956) จึงมอบหมายผู้กำกับคนใหม่ Michael Anderson กลายเป็นภาพยนตร์ The Wreck of the Mary Deare (1959) นำแสดงโดย Gary Cooper, Charlton Heston เสียงตอบรับเหมือนจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่
ก่อนหน้านี้ในช่วงต้นทศวรรษ 50s, ผกก. Hitchcock ชอบให้สัมภาษณ์ติดตลกกับนักข่าว เล่าความคิดว่าอยากให้ Cary Grant หลบซ่อนตัวจากผู้ร้ายในจมูกของ Abraham Lincoln ตั้งชื่อโปรเจคขำๆ The Man in Lincoln’s Nose บ้างว่า The Man on Lincoln’s Nose ไม่ก็ The Man Who Sneezed in Lincoln’s Nose
ส่วนเรื่องราวได้แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าของนักข่าว Otis Guernsey ถึงเหตุการณ์เคยเกิดขึ้นจริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการ Operation Mincemeat สายลับอังกฤษได้สร้างบุคคลสมมติ (Fictitious Officer) แสร้งทำเป็นถือเอกสารลับ เดินทางไปเข้าพักสถานที่ต่างๆ ล่อหลอกสายลับเยอรมันว่าชายคนนี้มีตัวตนอยู่จริง ปรากฎว่าล่อหลอกสำเร็จเสียด้วยนะ!
Guernsey นำเอาแนวคิดของปฏิบัติการดังกล่าว มาสร้างเรื่องราวเซลล์แมนสัญชาติอเมริกัน เดินทางสู่ดินแดนตะวันออกกลาง แล้วถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ แต่ทว่าสายลับคนนั้นกลับไม่มีอยู่จริง! … ผกก. Hitchcock ยินยอมซื้อต่อเรื่องราว 60 หน้ากระดาษ ในราคา $10,000 เหรียญ
Lehman พัฒนาบทหนังอย่างไม่เร่งรีบร้อน ในช่วงที่ผกก. Hitchcock กำลังถ่ายทำ Vertigo (1958) พร้อมออกเดินทางสำรวจสถานที่ New York, Chicago, South Dakota เขียนบทร่างแรกเสร็จช่วงปลายปี ค.ศ. 1957 แล้วส่งให้ผกก. Hitchcock ระหว่างพักผ่อนคริสตมาสที่ Montego Bay, Jamaica ได้รับจดหมายตอบกลับ
My dear Ernie … Let me say how much I enjoyed the sixty-five pages. I really thought they were excellent. And so amusingly written. You have done a fine job … Love, Hitch.
สำหรับชื่อหนัง ในตอนแรก Lehman เสนอชื่อ In A Northwesterly Direction ก่อนที่ Kenneth MacKenna หัวหน้าแผนกเขียนบทสตูดิโอ MGM จะให้คำแนะนำ “Why don’t you call it ‘North by Northwest’?” ทุกคนต่างเห็นพ้องว่านี่คงเป็นแค่ชื่อชั่วคราว (Working Title) แต่ตัวเลือกอื่นๆอย่าง Breathless, The CIA Story, In a North West Direction ฯ กลับฟังดูไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ จนกระทั่งรอบทดลองฉาย ผู้ชมตอบรับอย่างดีกับ North by Northwest สตูดิโอเลยตัดสินใจใช้ชื่อนี้
เกร็ด: มีนักวิจารณ์บางคนกล่าวถึงชื่อหนัง อ้างอิงจากคำสนทนาในบทละคอน Shakespeare: Hamlet Act 2, Scene 2 “I am but mad north-north-west. When the wind is southerly I know a hawk from a handsaw.” แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธจากผกก. Hitchcock ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงใดๆ
เมื่อปี ค.ศ. 1958 ณ New York City, ผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง Roger O. Thornhill (รับบทโดย Cary Grant) ระหว่างเดินทางไปคุยงานยังภัตตาคาร Oak Room ในโรงแรม Plaza Hotel จู่ๆถูกลักพาตัวขึ้นรถ มาถึงยังคฤหาสถ์หรูนอกเมือง พบเจอกับ Phillip Vandamm (รับบทโดย James Mason) สายลับต่างชาติที่เชื่อมั่นว่าเขาคือ George Kaplan สายลับอเมริกันที่คอยสอดแนม กุมความลับอะไรบางอย่าง จึงวางแผนฆ่าปิดปาก
แต่ทว่า Thornhill กลับสามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด พยายามพิสูจน์ตนเองว่าไม่ใช่สายลับ เดินทางไปยังสํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อพบเจอ Lester Townsend (เจ้าของคฤหาสถ์นอกเมืองตัวจริง) กลับตกเป็นแพะรับบาป ฆาตกรเลือดเย็นบนหน้าหนังสือพิมพ์ ตัดสินใจขึ้นรถไฟมุ่งสู่ Chicago ตามรอย George Kaplan ระหว่างทางได้รับความช่วยเหลือจากหญิงสาวสวย Eve Kendall (รับบทโดย Eva Marie Saint) ผู้เต็มไปด้วยลับลมคมในอะไรบางอย่าง
เมื่อมาถึง Chicago ได้รับแจ้งจาก Eve ถึงสถานที่นัดหมายกับ George Kaplan ณ ท้องทุ้งกว้าง กลางชนบทแห่งหนึ่ง แต่กลับพบเจอเพียงเครื่องบินที่พุ่งเข้ามากราดยิง โชคดีสามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิดอีกเช่นกัน! นั่นทำให้เขาตระหนักถึงตัวตนแท้จริงของ Eve คือหญิงคนรักของ Vandamm ใช้เรือนร่างมาล่อซื้อ หลอกให้ตายใจ (Femme Fatale) เผชิญหน้ากันในงานประมูลของเก่า
ต่อมา Thornhill ได้พบเจอหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง The Professor (รับบทโดย Leo G. Carroll) ผู้สร้างสายลับสมมติ George Kaplan พยายามโน้มน้าวให้เขากลายเป็นสายลับตัวจริง ขึ้นเครื่องบินไปยัง South Dakota เพื่อให้ความช่วยเหลือสายลับสองหน้า Eve และเผชิญหน้า Vandamm ครั้งสุดท้ายที่ Mount Rushmore ก่อนเดินทางหลบหนีออกนอกประเทศ
Cary Grant ชื่อจริง Archibald Alec Leach (1904-86) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ-อเมริกัน เกิดที่ Bristol, Horfield ในครอบครัวที่พ่อติดเหล้า แม่เป็นโรคซึมเศร้าแต่ก็พยายามสอนเขาให้ยิ้มไว้ ร้องเพลง เล่นเปียโน โตขึ้นได้ทุนเข้าเรียน Fairfield Grammar School แม้จะเป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนๆ แต่ตัวเองกลับโดดเรียนจนถูกไล่ออก ใช้เวลาอยู่หลังเวทีที่ Hippodrome ต่อมากลายเป็นนักแสดงออกทัวร์ ตอนอายุ 16 ขึ้นเรือ RMS Olympic เดินทางไปที่อเมริกา ดิ้นรนไปเรื่อยๆจนพอมีชื่อเสียงใน Broadway แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก This is the Night (1932), เริ่มได้รับบทบาทเด่นกับ Blonde Venus (1932), She Done Him Wrong (1933), โด่งดังกับ The Awful Truth (1937), Bringing Up Baby (1938), His Girl Friday (1940), The Philadelphia Story (1940), กลายเป็นตำนานกับ Notorious (1946), North by Northwest (1959), Charade (1963) ฯ
เกร็ด: Cary Grant ในชาร์ท AFI’s 100 Years…100 Stars ฟากฝั่ง Male Legends ติดอันดับ #2
รับบท Roger O. Thornhill ผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง จับพลัดจับพลู ถูกลักพาตัว เข้าใจผิดคิดว่าคือสายลับ George Kaplan เลยโดยหมายหัวจาก Phillip Vandamm ต้องการกำจัดให้พ้นภัยทาง แต่จนแล้วจนรอด ด้วยไหวพริบปฏิภาณ สามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด ครั้งหนึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือจาก Eve Kendall ก่อนค้นพบว่าเธอคือแฟนสาวของ Vandamm แม้เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธเกลียด พอข้อเท็จจริงเปิดเผยคือสายลับสองหน้า จึงพยายามหาหนทางช่วยเหลือ พบเจอหลักฐานที่สามารถจับกุมตัว Vandamm ได้สำเร็จ!
เกร็ด: ชื่อกลางตัวละคร O. มีคำอธิบายในหนังว่าไม่ได้สื่อความอะไร “What does the O stand for?” “Nothing” เป็นการเสียดสีอาฆาตแค้นโปรดิวเซอร์ David O. Selznick ซึ่งชื่อกลาง O. ก็ไม่ได้มีนัยยะความหมายอะไร แทรกใส่เข้าไปเพื่อให้ตนเองดูมียศฐาบรรดาศักดิ์ (คล้ายๆแบบพวกชนชั้นสูงยุโรปที่ชอบแทรกใส่ ‘von’ เข้าไปในชื่อกลาง Erich von Stroheim, Josef von Sternberg, Lars von Trier ฯ)
ผกก. Hitchcock อยากได้นักแสดง Cary Grant มาตั้งแต่เมื่อตอนพูดขำๆกับนักข่าวถึงโปรเจค The Man on Lincoln’s Nose แต่ทว่าพลั้งเผลอเล่าพล็อตหนังเรื่องใหม่ให้ James Stewart ระหว่างการถ่ายทำ Vertigo (1958) เลยเกิดความกระตือรือล้น สนอกสนใจอย่างมากๆ (คือหลงเข้าใจผิดว่า Hitchcock ต้องการตนเองในโปรเจคดังกล่าว) ว่ากันว่านั่นอาจคือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้โปรดักชั่น Vertigo (1958) ล่าช้าเป็นเดือนๆ เพื่อให้คิวงานของ Stewart ชนกับโปรเจคถัดไป Anatomy of a Murder (1959) ไม่สามารถตอบรับเล่นภาพยนตร์นี้
มีอีกแหล่งข่าวแสดงทัศนะว่า ผกก. Hitchcock มองความล้มเหลวของ Vertigo (1958) เกิดจาก Stewart ดูแก่เกินแกง “looked too old” แต่เอาจริงๆ Grant อายุมากกว่าถึง 4 ปี! … ทีแรก Grant ก็ตั้งใจจะบอกปัด เพราะอายุตนเองแก่เกินตัวละครที่ควรอยู่ในวัย 40 ต้นๆ แถมเจ้าตัวยังเด็กกว่า Jessie Royce Landis นักแสดงรับบทมารดาแค่เพียง 7 ปี!
แต่ถ้าเราไม่สนเรื่องอายุ Grant เป็นนักแสดงที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว แม้ร่างกายสูงใหญ่ (1.84 เมตร) แต่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้อย่างโฉบเฉี่ยว แถมยังคงความหล่อเท่ห์ในทุกๆอิริยาบถ (ตรงกันข้ามกับ Stewart ที่มักห่อไหล่ ขาดความสง่าผ่าเผย แต่ลีลาคำพูดน้ำไหลไฟดับ ลื่นไหลอย่างเป็นธรรมชาติ) สวมใส่สูทแล้วดูหรูหรา มาดเนี๊ยบ (รีดผ้า)เรียบทุกโอกาส ไม่เพียงแค่ “Best Suit in Film History” ยังสร้างอิทธิพลต่อแฟชั่นบุรุษ “The Most Influential on Men’s Style”
ความโฉบเฉี่ยวของ Grant มาจากจุดขายในช่วงเล่นหนังแนว Screwball Comedy อย่าง The Awful Truth (1937), Bringing Up Baby (1938), Holiday (1938), His Girl Friday (1940), Philadelphia Story (1940) ฯ ชอบตีหน้าเซ่อ ทำตัวเอ๋อเหรอ แต่กลับแสดงท่าทาง ลีลาการพูด เต็มไปด้วยความยียวนกวนประสาท
Once he realized that each movement could be stylized for humor, the eyepopping, the cocked head, the forward lunge, and the slightly ungainly stride became as certain as the pen strokes of a master cartoonist.
นักวิจารณ์ Pauline Kael กล่าวถึงลีลาการเคลื่อนไหวของ Cary Grant
เมื่อตอน Suspicion (1941) และ Notorious (1946) ผมรู้สึกว่าผกก. Hitchcock ยังใช้ประโยชน์จากศักยภาพแท้จริงของ Grant ไม่ค่อยคุ้มค่าสักเท่าไหร่ จนกระทั่ง To Catch a Thief (1955) และ North by Northwest (1959) ต่างเป็นภาพยนตร์แนวผจญภัย ออกติดตามหาใครปลอมเป็นตนเอง? ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ? สามารถนำเอาประสบการณ์จาก Screwball Comedy วิวัฒนาการมาเป็น Action-Thriller ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ต้นทศวรรษ 50s เป็นช่วงที่ชื่อเสียงของ Grant ค่อยๆเสื่อมถดถอยตามอายุเพิ่มสูงขึ้น เลือกรับงานมากขึ้น โดยเฉพาะการมาถึงของ Marlon Brando เคยครุ่นคิดจะรีไทร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ถ้าไม่เพราะผกก. Hitchcock ชักชวนมาแสดงสองผลงานเรื่องสำคัญ To Catch a Thief (1955) และ North by Northwest (1959) ทำให้สามารถรื้อฟื้น (Career Resurgence) หวนกลับมาประสบความสำเร็จ ฆ่าไม่ตาย เลยกลายเป็นอมตะนิรันดร์!
Eva Marie Saint (เกิดปี ค.ศ. 1924) นักแสดงหญิง สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Newark, New Jersey ในครอบครัว Quaker โตขึ้นเข้าศึกษาการแสดงยัง Bowling Green State University แล้วได้เข้าร่วม Delta Gamma Sorority เริ่มจากมีผลงานละคอนเวที ภาพยนตร์โทรทัศน์ มีชื่อเสียงจากการเข้าชิง Emmy Award สองปีติดจาก The Philco Television Playhouse (1948-55) ตอน Middle of the Night (1954), Producers’ Showcase (1954-57) ตอน Our Town (1955), สำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก On the Waterfront (1954) สามารถคว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actress, แต่ผลงานที่ทำให้กลายเป็นอมตะนั้นคือ North by Northwest (1959)
รับบท Eve Kendall สาวสวยเซ็กซี่ ลีลายั่วเย้ายวน แรกพบเจอ Roger O. Thornhill บนขบวนรถไฟ 20th Century Limited ให้การช่วยเหลือ เกี้ยวพาราสี ชักชวนเข้าห้องโดยสาร แถมยังโทรศัพท์ติดต่อ George Kaplan บอกสถานที่นัดหมาย แต่การกระทำทั้งหมดล้วนคือแผนการนายจ้าง/ชายคนรัก Phillip Vandamm ถึงอย่างนั้นตัวตนแท้จริงของเธอกลับคือสายลับอเมริกัน ยินยอมทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดปลอดภัย
เกร็ด: ชื่อตัวละคร Thornhill (มงกุฎหนามที่พระเยซูสวมใส่ตอนตรึงกางเขน), Eve (หญิงสาวคนแรกของโลก), Vandamm (หมายถึง Damnation) มีความสัมพันธ์ยังไงลองไปครุ่นคิดกันเอาเองนะครับ
วันหนึ่ง Eva Marie Saint ได้จดหมายเชิญมารับประทานอาหารเย็นร่วมกับ Alfred Hitchcock มารดาของเธอแนะนำว่าผกก. Hitchcock ชื่นชอบนักแสดงที่สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน (Beige Clothing) แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย พร้อมถุงมือขาว นั่นน่าจะคือเหตุผลให้เธอเอาชนะตัวเลือกสตูดิโอ Cyd Charisse อย่างที่ทุกคนแปลกประหลาดใจ
นั่นเพราะ Marie Sant เป็นนักแสดงสาย Method Acting โด่งดังจากบทบาทดราม่าเข้มข้ม บีบน้ำตา มักได้รับบทแฟนสาว ไม่ก็แม่บ้าน สภาพสกปรกมอมแมม ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าพลิกบทบาทโดยสิ้นเชิง!
You don’t cry in this one. There’s no sink.
I don’t want you going back to sink-to-sink movies. You do movies where you wash the dishes looking drab in an apron. The audience wants to see their leading ladies dressed up
Alfred Hitchcock พูดแซว Eva Marie Saint
ตัวละคร Eve Kendall มีลักษณะของสวยสังหาร Femme Fatale (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า Deadly Woman หรือ Lethal Woman) สามารถใช้เรือนร่าง มารยาเสน่ห์หญิง ล่อหลอกบุรุษให้ตกหลุมรัก หลงติดกับดัก จากนั้นสูบเลือดสูบเนื้อ กอบโกยผลประโยชน์ หมดตัวเมื่อไหร่ก็สะบัดตูดหนี … หรือเรียกว่าแวมไพร์ดูดเลือด (Vamp)
การแสดงของ Marie Saint อาจไม่ได้มีดราม่าเข้มข้น หรือต้องสวมวิญญาณตัวละครตามสไตล์ Method Acting แต่คือภาพลักษณ์ การแต่งกาย สายตาที่ดูเฉียบแหลม น้ำเสียงยั่วเย้ายวน สร้างความรัญจวน ปั่นป่วนทรวงใน ทำให้ตกหลุมรัก โกรธเกลียดเคียดแค้น และรู้สึกสงสารเห็นใจ … ถือเป็นบทบาทได้รับการจดจำสูงสุด จริงๆน่าจะทำให้เธอกลายเป็น ‘typecast’ แต่สามารถเอาตัวรอด (เพราะเป็นนักแสดงสาย Method Acting เลยไม่มีปัญหาเรื่องการเล่นบทบาทอื่นๆ) ยืนยงคงกระพันในวงการภาพยนตร์ยาวนานกว่า 8 ทศวรรษ!
เกร็ด: จนถึงปี ค.ศ. 2024 ต้องถือว่า Eva Marie Saint อายุครบรอบ 100 ปี คือนักแสดงคนท้ายๆจากยุคสมัย Golden Age of Hollywood และเป็นบุคคลเคยคว้ารางวัล Oscar เก่าแก่ที่สุดยังคงมีชีวิตอยู่
ด้วยความที่ขุ่นแม่ Edith Head ติดสัญญาอยู่กับสตูดิโอ Paramount จึงไม่สามารถมาเป็นที่ปรึกษาด้านการแต่งกาย โปรดิวเซอร์จึงพา Eva Marie Saint ไปช็อปปิ้งยังห้างสรรพสินค้า Bergdorf Goodman ณ New York City
- ส่วนใหญ่จะสวมใส่ชุดสีดำ เพื่อสื่อถึงความชั่วร้าย บุคคลอันตราย ‘femme fatale’
- แต่มักสวมคลุมเสื้อขาวภายใน (รวมถึงชุดนอนสีขาวตอนปัจฉิมบท) สื่อถึงความบริสุทธิ์ของจิตใจ
- และสูทสีส้มในฉากไคลน์แม็กซ์ แสดงถึงการตกเป็นเหยื่อ ผู้ต้องสงสัย กำลังเผชิญหน้าเหตุการณ์เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย
James Neville Mason (1909-84) นักแสดงสัญชาติอังกฤษ เกิดที่ Huddersfield, West Riding of Yorkshire โตขึ้นเข้าเรียนเป็นสถาปนิกที่ Peterhouse, Cambridge เวลาว่างๆไปรับงานแสดงเป็นตัวประกอบในโรงละครเวทีใกล้บ้าน จนกระทั่งเข้าตาผู้กำกับ Alexander Korda ชักชวนให้มารับบทเล็กๆใน The Private Life of Don Juan (1933) แต่แค่สามวันก็ตัดฉากเขาทิ้งทั้งหมด กระนั้นก็ทำให้ได้รับโอกาสแสดงในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆติดตามมา เริ่มมีชื่อเสียงจาก The Man in Grey (1943), The Wicked Lady (1945), Hatter’s Castle (1942), The Seventh Veil (1945), Odd Man Out (1947) โด่งดังระดับนานาชาติกับ Julius Caesar (1953), A Star Is Born (1954), North by Northwest (1959), Lolita (1962), The Verdict (1982) ฯ
รับบท Phillip Vandamm สายลับต่างชาติ ทำการล้วงข้อมูลอะไรสักอย่างจากสหรัฐอเมริกา (ทั้งหมดเป็น MacGuffin ไม่มีคำอธิบายใดๆ) มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า Roger O. Thornhill คือสายลับชื่อ George Kaplan ที่คอยสอดแนม แอบติดตามตนเอง จึงพยายามหาหนทางกำจัด ทั้งยังส่งแฟนสาว Eve Kendall ไปล่อลวงให้ติดกับดัก แต่จนแล้วจนรอด หมอนี่ก็หวนกลับมาสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า
แซว: ชื่อของ James Mason เคยถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์ Rope (1948) บอกว่าน่าจะเล่นเป็นตัวร้ายได้ดี คาดไม่ถึงว่าต้องรอคอย 11 ปี ถึงมีวันนี้!
ผมไม่เห็นว่า Mason ทำการแสดงอะไรมากมาย เพียงสวมสูท เดินเข้าฉาก พยายามปั้นหน้านิ่งๆ ใช้น้ำเสียงผู้ดีอังกฤษ ฟังดูชอบบงการ จอมเผด็จการ ส่งสายตาจงเกลียดจงชัง (เฉพาะกับ Thornhill) แต่เป็นตัวร้ายที่แทบไม่เคยพบเห็นทำอะไร มอบหมายหน้าที่แทบจะทุกสิ่งอย่างให้ลูกน้องปฏิบัติตามคำสั่ง
คือแค่รัศมีดาราของ Mason ก็เพียงพอให้ผู้ชมรับรู้สึกว่ากำลังเล่นบทผู้ร้าย บุคคลอันตราย ทั้งๆไม่รู้ว่าเขาเคยทำอะไร แต่การเป็นสายลับต่างชาติ นำข้อมูล(อะไรก็ไม่รู้)ไปขายให้ประเทศอื่น เพียงเท่านี้สามารถปลุกจิตสำนึก สร้างค่านิยมชวนเชื่อ ‘ชาตินิยม’ เข้ากับบรรยากาศการเมือง/สงครามเย็นยุคสมัยนั้น
อีกนักแสดงที่ถือเป็นสีสันของหนัง Martin James Landau (1928-2017) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Brooklyn, New York ในครอบครัวเชื้อสาย Jewish บิดาเป็นชาว Austrian, โตขึ้นเข้าศึกษาวิชาศิลปะ Pratt Institute จบออกมาเป็นบรรณาธิการหนังสือการ์ตูน The Gumps ตัดสินใจลาออกตอนอายุ 22 เพื่อเติมเต็มความฝันนักแสดง สามารถสมัครเข้า Actors Studio รุ่นเดียวกับ Steve McQueen, James Dean, เริ่มมีผลงานละคอนเวที Broadway เรื่อง Middle of the Night (1957) เข้าตาผกก. Alfred Hitchcock ชักชวนมาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกแจ้งเกิด North by Northwest (1959), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Cleopatra (1963), The Greatest Story Ever Told (1965), ซีรีย์ Mission: Impossible (1966-69), Tucker: The Man and His Dream (1988), Crimes and Misdemeanors (1989), Ed Wood (1994)**คว้ารางวัล Oscar: Best Supporting Actor
รับบท Leonard ลูกน้องคนสนิท มือขวาของ Phillip Vandamm ได้รับมอบหมยหน้าที่ ลงมือกำจัด Roger O. Thornhill แต่จนแล้วจนรอด เกิดเหตุบางอย่างให้หมอนี่สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้งครา กระทั่งสังเกตเห็นความผิดปกติของ Eve Kendall ใช้ปืนปลอมแสร้งว่าฆ่า Thornhill พยายามโน้มน้าวเกลี้ยกล่อม Vandamm ก่อนทุกสิ่งอย่างจะสายเกินแก้ไข
ผกก. Hitchcock ตั้งใจจะไปรับชมการแสดงของ Edward G. Robinson ในละคอนเวที Middle of the Night แต่ปรากฎว่าประทับใจฝีไม้ลายมือของ Martin Landau ติดต่อขอให้สตูดิโอ MGM นัดพบเจอ พูดคุย เล่ารายละเอียดภาพยนตร์ และบอกว่า “You’re now Leonard”
Hitchcock first saw me in an Edward G Robinson play in 1957. The character was 180 degrees from Leonard, very macho, a bit of a dope actually. When I asked Hitchcock how he could cast me in this part, as they were so different, he said, ‘Martin, you have a circus going on inside you. If you can play that in the theatre you can play this role.’
Martin Landau
Landau เป็นคนกรามเล็ก หน้ายาว รูปร่างผอมสูง (ตรงกันข้ามกับ James Mason ที่มีกรามใหญ่ ไหลกว้าง หน้าแบน) ชอบก้มหน้า สายตาจริงจัง ราวกับอีแร้งจ้องจิกกิน ไม่ชอบพูดมาก เพียงปฏิบัติตามคำสั่ง เดินไปหยิบขวดเหล้า จับกลอกใส่ปาก
ในขณะที่สามนักแสดงหลัก Grant, Marie Saint และ Mason มักถูกผกก. Hitchcock เข้าประกบ พูดแนะนำโน่นนี่นั่นอยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่ใช่กับ Landau เคยเข้าไปสอบถาม ไม่มีอะไรแนะนำผมบ้างหรือ? ได้รับคำตอบ…
If I didn’t talk to actors and actresses, they were doing fine. When I talked to them, it was because they did something wrong.
Alfred Hitchcock
เห็นว่าผกก. Hitchcock ชื่นชอบประทับใจการแสดงของ Landau เอามากๆ กล้าที่จะเสนอตนเอง เคลือบแฝงนัยยะความสัมพันธ์กับหัวหน้า Phillip Vandamm แสดงอารมณ์อิจฉาริษยา Eve Kendall หรือดั้นสดบทพูด “Call it my woman’s intuition” มีเพียงนักแสดงไม่กี่คนเท่านั้นสามารถทำแบบนี้กับ Hitchcock แล้วไม่ถูกตำหนิต่อว่า
I chose to play Leonard as a gay character. It was quite a big risk in cinema at the time. My logic was simply that he wanted to get rid of Eva Marie Saint with such a vengeance, so it made sense for him to be in love with his boss, Vandamm, played by James Mason. Every one of my friends thought I was crazy, but Hitchcock liked it. A good director makes a playground and allows you to play.
Martin Landau
ด้วยความที่ Landau พัฒนาตัวละครมีความสองแง่สองง่าม รักร่วมเพศ (Homosexual) จึงถูกใครต่อใครพูดสบประมาท คงเป็นดาวดับในอีกไม่ช้า แต่เขากลับสามารถเอาตัวรอดปลอดภัย ประสบความสำเร็จทั้งภาพยนตร์/โทรทัศน์ ได้รับนับหน้าถือตาจากผู้คนมากมาย และกลายเป็นอาจารย์สอนการแสดงที่ Actors Studio จนกระทั่งเสียชีวิต
Everyone told me not to do that because it was my first big movie and people would think I was gay. I’m an actor. I said it wasn’t going to be my last movie, and it certainly wasn’t. I’ve never played a character like that since. I also felt it was something people would know or not know. It was very subtle.
ในบทสัมภาษณ์ของ Landau มีการกล่าวถึงรสนิยมชุดสูทของ Grant เพราะตนเองรับบทเป็นตัวร้าย ผกก. Hitchcock จึงต้องการให้เขาสวมใส่สูทที่ดูหรูหรา ราคาแพงกว่า จึงพาไปตัดเลือกชุดที่ Quintino, Beverly Hills ซึ่งเป็นร้านประจำของ Grant โดยไม่ได้บอกกล่าวอีกฝ่ายล่วงหน้า
วันถ่ายทำระหว่าง Landau กำลังเดินอยู่ท่ามกลางฝูงชนนับร้อยที่มาคอยรับชมการถ่ายทำ มีใครคนหนึ่งทักเรียกบอกว่า Grant ส่งมาสอบถามสูทตัวนี้ตัดที่ไหน? มันควรมีแค่สองร้านในโลก หนึ่งที่ Beverly Hills อีกแห่งคือ Hong Kong? … นี่ไม่เพียงแสดงถึงรสนิยม ความรอบรู้เรื่องสูท Grant ยังมีตาแหลมคมเหมือนเหยี่ยว มองแววเดียวก็ดูออก
This scene was filmed at LaSalle Street Station in Chicago. I wasn’t working on the first day of filming, and Alfred Hitchcock called me in my hotel and said, ‘Martin, put on one of the suits you are going to use in the movie – I’d like to see it being worn in the [scene’s] surroundings.’ He had helped me choose the suits because he wanted my character, Leonard, to be better dressed than Cary Grant’s. He took me to a tailor’s called Quintino’s in Beverly Hills, which also made Cary’s suits, though Cary didn’t know about this.
I arrived in the middle of a take, so stood on the fringe of a crowd of hundreds of Chicagoans watching the shoot. I was tapped on the shoulder. It was an English fellow called Ray Austin – I guess you could call him Cary Grant’s valet. He said, ‘Excuse me, Mr Grant would like to know where you got that suit.’ I said, ‘I beg your pardon?’ He repeated the question, adding, ‘Only two people in the world make a suit like that, one’s in Beverly Hills, the other is in Hong Kong.’ Cary had noticed the suit in the middle of hundreds of people. I suggested that he had better have this conversation with Mr Hitchcock. He said, ‘Oh! Are you in the film?’
Martin Landau
ผมไม่มีความสามารถในการแบ่งแยกแยะเกรดของสูท แบบนี้หรูหรากว่าแบบนี้ แค่พอสังเกตได้เล็กๆว่าสูทสีดำของ Mason และ Landau ดูมีสง่าราศี น่าจะราคาแพงกว่าสูทสีเทาของ Grant และคาดว่าลวดลาย สีสันของสูท น่าจะแฝงนัยยะอะไรบางอย่าง … แต่ขอไม่วิเคราะห์ถึงแล้วกัน เพราะผมไม่ความรู้ประเด็นนี้
ถ่ายภาพโดย Leslie Robert Burks (1909-68) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Chino, California พออายุ 19 เข้าทำงานแผนก Special Effect ในห้องแลป Warner Bros. ก่อนไต่เต้าขึ้นเป็นผู้ช่วยตากล้องเมื่อปี ค.ศ. 1929, ควบคุมกล้อง ค.ศ. 1934, แล้วได้รับเครดิตถ่ายภาพตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944, ร่วมงานขาประจำผกก. Alfred Hitchcock เริ่มตั้งแต่ Strangers on a Train (1951) จนถึง Marnie (1964), คว้ารางวัล Oscar: Best Cinematography, Color ภาพยนตร์ To Catch a Thief (1955)
แม้หนังเรื่องนี้จะอยู่ภายใต้ร่มเงาสตูดิโอ MGM แต่ทว่าผกก. Hitchcock เรียกร้องขอใช้กระบวนการถ่ายภาพ VistaVision (อัตราส่วน 1.50:1) ของ Paramount Pictures เพราะมีความมักคุ้นเคยชินกว่า CinemaScope (อัตราส่วน 2.35:1) ถึงอย่างนั้นเวลาฉายจริงก็ตัดขอบบนล่างให้กลายเป็น Widescreen (1.85:1)
งานภาพของหนังแพรวพราวด้วยวิสัยทัศน์ของผกก. Hitchcock เพราะเป็นคนไม่ค่อยชอบถ่ายทำยังสถานที่จริง จึงส่งกองสองไปบันทึกภาพพื้นหลัง นำฟุตเทจกลับมาฉายผ่านเครื่อง Rear Projection ขาดๆเกินๆอะไรก็ก่อสร้างฉาก หรือโมเดลจำลอง (Miniature) ถ่ายทำภายใน Metro-Goldwyn-Mayer Studios
หนังเริ่มต้นโปรดักชั่นวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1958 ตามแผนการควรสิ้นสุดลงประมาณกลางเดือนธันวาคม แต่เกิดเหตุล่าช้าเพราะบางสถานที่ (สํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ และอนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์) จู่ๆไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ จึงต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เร่งรีบสร้างฉากขึ้นใหม่ กว่าจะปิดกองสำเร็จต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1959 เลทไปประมาณ 9 สัปดาห์ (หยุดพักช่วงระหว่างปีใหม่เดือนเต็มๆ)
ความตั้งใจแรกเริ่มสำหรับ Opening Credit นำเสนอภาพ Roger O. Thornhill ในห้องทำงาน กำลังยุ่งวุ่นวายกับการตัดสินใจเลือกงานออกแบบโฆษณา กล้องเคลื่อนเลื่อนผ่านสารพัดใบโปรย ใบปิด พร้อมขึ้นชื่อเครดิตทีมงาน นักแสดง แต่ถ้าทำแบบนี้จะต้องใช้งบประมาณออกแบบสูงถึง $20,000 เหรียญ
สุดท้ายเลยหันมาพึงพานักออกแบบกราฟฟิก Saul Bass (1920-96) ที่เพิ่งร่วมงาน Vertigo (1958) ทำการแปลงภาพถ่ายกระจกอาคารสูง ให้กลายเป็นลวดลายเส้น ลงสีสัน(เขียว) ทำตัวอักษรให้สามารถขยับเคลื่อนไหว โฉบเข้าออก เฉียงซ้าย เฉียงขวา ขึ้นบน ลงล่าง จากนั้นร้อยเรียงภาพการสัญจรของผู้คน เต็มไปด้วยความสับสน วุ่นๆวายๆ นี่นะหรือวิถีโลกยุคสมัยใหม่
นี่ถือครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ ตัวอักษรในเครดิตเกิดการขยับเคลื่อนไหว (โดยปกติจะแค่ Fade In-Out ตามธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่ยุคหนังเงียบ) มีคำเรียกเทคนิค Kinetic Typography พูดง่ายๆก็คือ Moving Text … เรื่องถัดมาที่ใช้ลูกเล่นแบบนี้ก็คือ Psycho (1960) สร้างโดย Saul Bass อีกเช่นกัน!
โลกยุคสมัยใหม่เต็มไปด้วยตึกระฟ้า คราคร่ำผู้คน ต่างเร่งรีบสัญจร (ในช่วงเวลา Rush Hour) เข้าออกตรงตามเวลางาน ผกก. Hitchcock ไม่สามารถก้าวขึ้นรถโดยสารได้ทัน นี่อาจแฝงนัยยะเขาคือคนรุ่นก่อน ทำอะไรเอื่อยเฉื่อย เชื่องชักช้า ยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีโลกสมัยใหม่
ฉากแรกของหนังพอเปิดประตูลิฟท์ กล้องจับภาพ Roger O. Thornhill ก้าวเดินออกมากับเลขาส่วนตัว ให้คำแนะนำ ออกคำสั่งโน่นนี่นั่น สะท้อนวิถีโลกสมัยใหม่ เต็มไปด้วยความเร่งรีบร้อน สับสนวุ่นวาย อะไรก็ไม่รู้มากมายเต็มไปหมด แถมยังแสดงพฤติกรรมเห็นแก่ตัว เอาแต่ใจ ไม่ค่อยสนใจอะไรคนรอบข้าง … ตลอดทั้งซีเควนซ์นี้เป็นการล้อเลียน ประชัดประชันถึงโปรดิวเซอร์ David O. Selznick เลื่องชื่อเรื่องการมีผู้ช่วย/เลขาหลายคน ต้องคอยเดินติดตาม จดบันทึกโน่นนี่นั่น เรื่องมากเอาแต่ใจประมาณนี้กระมัง
เกร็ด: ที่ตั้งสำนักงานของ Roger O. Thornhill คืออาคาร Commercial Investment Trust Building ตั้งอยู่ 650 Madison Avenue, Manhattan เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1957
Thornhill ขึ้นรถแท็กซี่มาถึงยัง Plaza Hotel ตั้งอยู่ 768 Fifth Avenue, New York แม้ได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำ แต่ห้องอาหาร Oak Room (เปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907) กลับสร้างฉากขึ้นในสตูดิโอ MGM (ได้อย่างเหมือนเป๊ะมากๆ) เพื่อสามารถขยับเคลื่อนย้าย ถ่ายทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
เกร็ด: น่าเสียดายที่บาร์/ภัตตาคาร Oak Room ใน Plaza Hotel ปิดกิจการไปตั้งแต่ ค.ศ. 2011 เพราะค้างค่าเช่า ชอบเปิดเพลงเสียงดัง กลายเป็นสถานที่มั่วสุม เล่นยา … ไม่รู้ปัจจุบันมีสถานะเช่นไร
จุดเริ่มต้นการเข้าใจผิดเกิดขึ้นวินาทีนี้ ระหว่างพนักงานกำลังส่งเสียงเรียกหา Mr. George Kaplan พอดิบดี Thornhill หันไปเรียกบริกรต้องการจะส่งโทรเลขถึงมารดา จากนั้นกล้องเคลื่อนเลื่อนไปยังสองลูกสมุนของ Vandamm ที่ยืนดักรอตรงเคาน์เตอร์ด้านหลัง ครุ่นคิดว่าชายคนนี้นี่แหละคือบุคคลที่พวกเขาติดตามหา
แซว: ระหว่างการสนทนากับเพื่อนร่วมงาน จะมีขณะหนึ่งที่เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน มารดา ↔ เลขาส่วนตัว ก็ต้องถือว่าสอดคล้องเข้ากับใจความของหนัง
Thornhill ถูกลักพาตัวมายังคฤหาสถ์ของ Lester Townsend กักขังในห้องสมุด (น่าจะถ่ายทำในคฤหาสถ์แห่งนั้น) มุมกล้องส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ระดับต่ำกว่าสายตา ยกเว้นเพียงตอนที่ Vandamm ต้องการเข้าเรื่องจริงจัง “Now, shall we get down to bussiness?” จะถ่ายมุมก้มมองลงมา แต่ทว่าหลังจาก Thornhill ยืนกรานปฏิเสธ ไม่ขอร่วมสังฆกรรม เพราะฉันไม่ใช่ George Kaplan มุมกล้องจะหวนกลับมาตั้งอยู่ระดับต่ำกว่าสายตาอีกครั้ง!
และเมื่อตอน Thornhill หวนกลับมายังอพาร์ทเม้นท์แห่งนี้อีกครั้ง (หลังพยายามอธิบายกับตำรวจว่าถูกลักพาตัว) มุมกล้องจะสูงระดับสายตาตัวละคร เพื่อจะสื่อว่าไม่เคยมีบน-ล่าง ลับลมคมใน เหตุการณ์ใดๆบังเกิดขึ้นในสถานที่แห่งนี้
เกร็ด: คฤหาสถ์หลังนี้คือ Old Westbury Gardens ตั้งอยู่ 71 Old Westbury Road, Old Westbury เจ้าของคือนักธุรกิจ John Shaffer Phipps (1874–1958) สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 ภายหลังเจ้าของเสียชีวิต (หลังการถ่ายทำหนังเสร็จได้ไม่นาน) ถูกแปรสภาพกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1976
ทีแรกผมนึกว่า Hays Code มีกฎห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ก็ระลึกได้ว่าเรื่องอื่นก็เห็นดื่มกันปกติ! ลีลาการนำเสนอต่างหากที่โคตรๆน่าสนใจ พบเห็นเพียงเทเหล้าใส่แก้ว แล้วตัดไปฉากตัวละครกำลังมึนเมามาย ไม่ต้องถ่ายให้เห็นขณะถูกบีบบังคับให้ดื่ม ผู้ชมก็สามารถขบครุ่นคิด จินตนาการเตลิดเปิดเปิงไปไกล
แซว: Cary Grant ถือเป็นคนที่มีประสบการณ์ขับรถสูงมากๆ เคยเฉี่ยวไปเฉี่ยวมาริมหน้าผาตอนไคลน์แม็กซ์ Suspicion (1941), หรือตอนต้นเรื่อง Notorious (1946) ก็เคยประกบ Ingrid Bergman ขับรถขณะมึนเมา
แต่คงไม่มีครั้งไหนที่การขับรถโฉบเฉี่ยวไปเฉี่ยวมาขณะมึนเมา จะสร้างความสรวลเสเฮฮา ตลกขบขัน หัวเราะท้องแข็ง ได้เท่ากับปฏิกิริยาสีหน้า ‘Reaction Shot’ ของ Grant พยายามสุดๆจะควบคุมสติ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เห็นภาพซ้อน หรือซูมเข้าไปยังรถคันหน้า … ใช้สารพัดเทคนิคภาพยนตร์เพื่อนำเสนออาการมึนเมา ตาเบลอ เหม่อลอย เห็นภาพซ้อน ฯ
ต้องกล่าวสักหน่อยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Roger O. Thornhill กับมารดา Clara Thornhill นอกจากประเด็น Jessie Royce Landis (1896-1972) อายุมากกว่า Cary Grant (1904-1986) แค่เพียงไม่กี่ปี
ผกก. Hitchcock ยังสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับมารดาผู้ล่วงลับ โดยเฉพาะนิสัยจอมบงการ เจ้ากี้เจ้าการ พยายามควบคุมครอบงำบุตรชาย … ผมมาระลึกดูตั้งแต่ Notorious (1946) ครั้งแรกที่ผกก. Hitchcock นำเสนอตัวละครมารดา (Mother Complex) ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจของบุตรชาย ไม่ใช่เพราะเขาครุ่นคิดถึงแม่หรอกหรือ??
สหประชาชาติ (United Nations) ปฏิเสธคำร้องขอใช้สถานที่ ในตอนแรกโปรดิวเซอร์วางแผนจะทำการแอบถ่าย แต่ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจับได้ จึงหลงเหลือเพียงช็อตลงจากรถที่ถ่ายติดสํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ส่วนฉากภายในมีการส่งตากล้องเข้าไปแอบบันทึกภาพนิ่ง เพื่อนำมาเป็นต้นแบบสำหรับก่อสร้างฉากขึ้นในสตูดิโอ และวาดภาพบนกระจก ‘Matte Painting’ พบเห็นสองช็อตระหว่าง Thornhill ก้าวเข้ามาในสำนักงานใหญ่ และตอนกำลังวิ่งหลบหนีขึ้นแท็กซี่ ถ่ายภายภายนอกอาคารจากเบื้องบนมองลงมา
เหตุผลการเดินทางมาสํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติของ Thornhill ก็เพื่อจะพบเจอกับ Lester Townsend เจ้าของคฤหาสถ์ที่ Glen Cove เพราะครุ่นคิดว่าอีกฝ่ายคือ Phillip Vandamm บุคคลที่เคยพยายามมอบเหล้า ฆ่าให้ตาย แต่กลับกลายเป็นอีกคน
แต่ความซวยซ้ำซวยซ้อนของ Thornhill เกิดจากลูกน้องของ Vandamm ลงมือเขวี้ยงมีด ฆ่าปิดปาก Lester Townsend ระหว่างที่เขากำลังพูดคุยสนทนากันอยู่ พอดิบพอดีมีตากล้องบันทึกภาพ ผู้คนมากมายพอได้ยินเสียงก็พร้อมใจกันหันมา ลุกขึ้น ยื่นหน้า ห้อมล้อมวงเข้ามา สอดรู้สอนเห็น เสือกเรื่องชาวบ้าน กลายเป็นประจักษ์พยานโดยพลัน!
เกร็ด: ห้องโถงแห่งนี้สร้างขึ้นในสตูดิโอ MGM โดยใช้ต้นแบบจากภาพแอบถ่าย จึงมีความใกล้เคียงสถานที่จริงอย่างมากๆ
นี่ถือเป็นอีกซีเควนซ์สูตรสำเร็จ พบเห็นได้บ่อยในสไตล์ Hitchcockian เริ่มต้นจากบรรดาสมาชิก United States Intelligence Agency (หรือก็คือ CIA นะแหละ) อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ฉงนสงสัยว่าใครคือ Roger O. Thornhill จากนั้นเริ่มต้นอธิบาย เปิดเผยตัวตนแท้จริงของ George Kaplan ช่วงนี้กล้องจะหันเข้ามาถ่ายภายในห้อง
จนกระทั่งผู้นำองค์กร The Professor ลุกขึ้นก้าวเดินมายังหน้าต่าง พบเห็นภาพ Rear Projection ถ่ายติดอาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกา (U.S. Capitol Building, Washington, D.C.) พูดแสดงความคิดเห็นว่าเราไม่สามารถให้ความช่วยเหลืออะไรกับนาย Thornhill เพราะมีความเสี่ยงจะทำให้ภารกิจถูกเปิดเผย องค์กรล่มสลาย ประเทศชาติพังทลาย … นั่นคือเหตุผลที่จงใจถ่ายติด U.S. Capitol Building เพื่อใช้สถาบันสูงสุดของประเทศเป็นข้ออ้างในการเพิกเฉย ไม่ทำอะไร
ภาพสุดท้ายของซีเควนซ์นี้ถ่ายมุมก้มมองลงมา แสดงถึงความไม่ยี่หร่าขององค์กร ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตา พระเจ้าอำนวยอวยพร “Goodbye, Mr. Thornhill, wherever you are”
ตอนที่ผมเห็นสถานีรถไฟ Grand Central Terminal (New York) และ LaSalle Street Station (Chicago) ชวนให้นึกถึง The 39 Steps (1935) ขึ้นมาโดยพลัน! หนังเรื่องนั้นทำการสร้างฉาก(สถานีรถไฟ)ขึ้นในสตูดิโอ ผู้คนประปราย ไม่มีใครเร่งรีบร้อนอะไร แถมยังเหลือเวลาให้จุมพิตก่อนเข้าสู่ชานชาลา
กาลเวลาได้ทำทุกสิ่งอย่างเปลี่ยนแปลงไป สถานีรถไฟทั้งสองแห่งนี้คราคร่ำด้วยฝูงชน ต่างคนต่างเต็มไปด้วยความเร่งรีบ แทบจะไม่หลงเหลือที่ว่าง เวลาสำหรับทำอะไร แต่ก็แสดงให้เห็นถึงลีลาพริ้วไหวของ Cary Grant สามารถแทรกตัวผ่านฝูงชนได้อย่างลื่นไหล ดูเป็นธรรมชาติ
20th Century Limited คือขบวนรถไฟด่วน (Express Passenger Train) มุ่งเน้นให้บริการนักธุรกิจ ผู้โดยสารมีเงิน (Upper-Class) เคยได้รับการกล่าวขวัญหนึ่งใน “Greatest American Passenger Trains of All Time” ออกแบบโดยวิศวกร Henry Dreyfuss (1904-72) ให้หัวรถจักรมีรูปทรงอันโดดเด่น แปลกตา ภายในมีความหรูหรา เดินทางระหว่างสถานี Grand Central Terminal, New York City ไปกลับ LaSalle Street Station, Chicago ใช้เวลา 16 ชั่วโมง เปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1902 และรอบสุดท้าย 2 ธันวาคม ค.ศ. 1967
นอกจากพรมสีแดง (Magic Carpet) ต้อนรับผู้โดยสาร อีกจุดเด่นของขบวนรถไฟ 20th Century Limited คือทิวทัศน์ผ่านแม่น้ำ Hudson River และทะเลสาป Lake Erie น่าเสียดายพบเห็นผ่านเครื่องฉาย Rear Projection ระหว่าง Thornhill รับประทานอาหารเย็นร่วมกับ Eve
ผู้ชมส่วนใหญ่น่าจะเข้าใจนัยยะของการจุดบุหรี่ แต่ผมให้ข้อสังเกตนิดนึงระหว่าง Thornhill ยื่นไม้ขีดไฟเข้าหา Eve เธอจับขยับมือของเขาให้ตรงกับมวนบุหรี่ สามารถสื่อถึงการเป็นคนกำหนดทิศทาง ควบคุมสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
แว่นตาคือสิ่งที่ Thornhill สวมใส่เพื่อปลอมตัว ปกปิดใบหน้า -แต่ใครๆคงดูออก ไม่ได้มีประโยชน์อะไรสักเท่าไหร่- ซึ่งการที่ขาแว่นหัก สามารถสื่อถึงความล้มเหลวในการปลอมตัว นั่นเพราะ Eve รับรู้อยู่แล้วว่าเขาเป็นใคร ให้การช่วยเหลือ หลบซ่อนตัว เพราะมีวัตถุประสงค์บางอย่างเคลือบแอบแฝง
พบเห็นการถ่ายภาพย้อนแสงขณะนี้ อาจทำให้หลายคนจิ้นไปไกล คนสองกำลังโอบกอด ยั่วราคะ จุมพิตกันอย่างดูดดื่ม ย่อมต้องครุ่นคิดว่ากำลังจะร่วมรัก (Sex Scene) ในอีกไม่ช้า แต่ทว่ากลับเป็นการล่อหลอกผู้ชมให้เกิดความเข้าใจผิดๆ
อีกสิ่งที่อยากให้สังเกตก็คือ ทั้งสองชอบที่จะลูบไล้ศีรษะกันและกัน สัญลักษณ์ของการควบคุม ครอบงำ บีบบังคับ พยายามผลักดันอีกฝ่ายให้หลังชนกำแพง เริ่มต้นจากฝ่ายชาย ก่อนถูกฝ่ายหญิงบิดม้วนตัว (สื่อถึงความต้องการกำหนดทิศทาง ควบคุมสิ่งต่างๆด้วยตนเอง) แต่สุดท้ายแล้วเธอก็ยินยอมศิโรราบกับเขา ก่อนถูกขัดจังหวะด้วยการมาถึงของพนักงานรถไฟ
นอกจากสร้างอารมณ์ขัน ด้วยการเปรียบเทียบเรื่องขนาดมีดโกน (มีดโกนอันเล็กของผู้หญิง ส่วนใหญ่เอาไว้โกนขนหน้าแข้ง หรือของลับของสงวน) Thornhill ยังตบมุกด้วยการโกนตรงตำแหน่งหนวดจิ๋มของ Adolf Hitler … ผมมองว่ามันเซ็กซี่ และแฝงความอีโรติกมากๆเลยนะ
ทั้งๆที่นักแสดงเดินทางไปยัง LaSalle Street Station, Chicago แต่ซีนนี้ Eve แจ้งสถานที่นัดหมายของ George Kaplan กลับใช้เครื่องฉาย Rear Projection ซะงั้น? ผมสังเกตเห็นปฏิกิริยาสีหน้าของฝ่ายหญิง ดูซึมเศร้า เจ็บปวดรวดร้าว มีการจัดแสงฟุ้งๆให้รู้สึกเหมือนน้ำตาคลอเบ้า นั่นเพราะเธอรับรู้ว่ากำลังส่งเขาไปตาย นี่(อาจ)เป็นครั้งสุดท้ายได้พบเจอ รักชั่วคืน ก่อนร่ำลาจากชั่วนิรันดร์
แรกเริ่มนั้นผกก. Hitchcock มีความคิดห่ามๆ ต้องการปล่อยพระเอกไว้กลางท้องทุ่งกว้าง ห่างไกลผู้คน กล้องแพนนิ่ง 360 องศา ไม่พบเจออะไรสักสิ่งอย่าง แล้วจู่ๆเกิดพายุทอร์นาโดพัดโหมกระหนำ
I’ve always wanted to do a scene in the middle of nowhere — where there’s absolutely nothing. You’re out in the open, and there’s nothing all around you. The camera can turn around 360 degrees, and there’s nothing there but this one man standing all alone — because the villains, who are out to kill him, have lured him out to this lonely spot. Suddenly, a tornado comes along and…
Alfred Hitchcock
ทันใดนั้นเองนักเขียน Ernest Lehman ขัดจังหวะขึ้นมา
But Hitch, they’re trying to kill him. How are they going to work up a cyclone?
Ernest Lehman
จากพายุไซโคลนที่ไม่รู้จะทำให้เกิดขึ้นยังไง ปรับเปลี่ยนมาเป็นเครื่องบินพ่นยา (Crop Duster) พัฒนาสู่ซีเควนซ์ที่ได้รับการยกย่องกล่าวขวัญ ‘Crop Duster Scene’ และยังกลายเป็น Iconic ติดตัวหนังเรื่องนี้จนถึงปัจจุบัน
ถ้าตามคำอธิบายของหนัง สถานที่แห่งนี้ควรอยู่ระหว่าง Indiana กับ Iowa บนทางหลวง Highway 41 แต่พอออกสำรวจหาสถานที่ถ่ายทำย่านนั้น กลับไม่พบเจอสถานที่เหมาะสม ตรงตามคำอธิบาย ก่อนสุดท้ายเมื่อหวนกลับมา Hollywood ค่อยพบเจอเส้นทางหลวง California Highway 155 (หรือ Garces Highway) ใกล้ๆกับเมือง Wasco (หรือ Dewey, Delano), อำเภอ San Joaquin Valley, จังหวัด Kern County, รัฐ California
สำหรับช็อตที่กลายเป็น Iconic ของหนัง! ระหว่างเครื่องบินพ่นยาโฉบลงมาหา Thornhill จึงออกวิ่งหน้าตั้ง แล้วกระโดดหลบตรงเนินดิน มันอาจดูเสี่ยงอันตราย แต่แท้จริงแล้วใช้เครื่องบินบังคับขนาดเล็ก มุมกล้องหลอกตาผู้ชมเท่านั้นเอง!
ส่วนช็อตยุ่งยากสุดคือตอนกระโดดหลบเนินดิน แล้วเครื่องบินโฉบเฉี่ยวศีรษะ มีการใช้เครื่องฉาย Rear Projection ถ่ายทำด้วยเครื่องบินขนาดเท่าของจริงโฉบผ่านหน้ากล้อง
วินาทีเครื่องบินพุ่งชนรถบรรทุกน้ำมัน (คนขับน่าจะประมาทเลินเล่อ ลดระดับเครื่องบินต่ำเกินไปจนเชิดหัวไม่ทัน เลยพุ่งชนรถบรรทุกน้ำมันเข้าอย่างจัง) มีการใช้โมเดลจำลอง (Miniatures) ก่อนตัดไปภาพเครื่องบิน+รถบรรทุกน้ำมันที่กำลังปะทุระเบิดขึ้นจริงๆ (เพราะถ่ายทำกลางท้องทุ่ง เลยกล้าได้กล้าเสี่ยง) ส่วนการออกวิ่งหนีของ Grant ก็น่าจะถ่ายทำกับเครื่องฉาย Rear Projection อีกเช่นเคย
เกร็ด: ผกก. Hitchcock ใจจริงอยากได้ฟุตเทจ ‘Point-of-View’ มุมมองคนขับเครื่องบินพ่นยา Licht (รับบทโดย Robert Ellenstein) แต่ทว่างบประมาณไม่เพียงพอ เลยทำได้ว่าจ้างคนขับเครื่องบินท้องถิ่น Bob Coe ค่าแรงวันละ $150 เหรียญ และอีก $100 ต่อชั่วโมงขึ้นบิน
เอาจริงๆมันไม่ใช่แค่สองสามช็อตกล่าวมาที่ทำให้ซีเควนซ์นี้กลายเป็น Iconic แต่ยังคือลีลาการนำเสนอ ทิศทางมุมกล้อง ลำดับเป็นขั้นเป็นตอน พัฒนาเป็นสูตรสำเร็จ รวมถึงการใช้เสียง/เพลงประกอบ ล้วนผ่านการครุ่นคิดวางแผนโดยละเอียดตั้งแต่กระบวนการเขียนบท Storyboard ตระเตรียมทุกสิ่งอย่างไว้พร้อมสรรพ
ความสมบูรณ์แบบของซีเควนซ์นี้ จึงมักถูกนำมาใช้เป็นบทเรียนสอนทฤษฎีภาพยนตร์ หรือถ้าใครสนใจลองหาคลิปวิเคราะห์เพิ่มเติมใน Youtube แค่เฉพาะ ‘Crop Duster Scene’ ก็พบเห็นอยู่ไม่น้อย 3-4 คลิป
ผมเพ่งเล็งอยู่นานว่า Thornhill ลักขโมยรถบรรทุกตู้เย็น (ทำไมต้องตู้เย็น?) มาจอดยังรูปปั้นอะไร? ลองพยายามค้นหาก็พบเจอสองรูปปั้นสัมฤทธิ์ The Bowman และ The Spearman (แต่สังเกตว่ามีแต่ท่วงท่า ไม่ได้ถืออาวุธ) รวมเรียกว่า Equestrian Indians สั้นๆย่อๆ Indians หลอมโดย Ivan Meštrović (1883-1962) นักแกะสลักชาว Croatian ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า Congress Plaza ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 สำหรับใช้เป็นสัญลักษณ์ของ America’s Indian Heritage แต่ทว่ากาลเวลา การมาถึงของกระแส #MeToo ทำให้ถูกโจมตีถึงการด้อยค่าชนพื้นเมืองอินเดียนแดง
หลังจากทิ้งรถที่ลักขโมย Thornhill เดินทางมายัง Ambassador East Hotel ตั้งอยู่ 1301 North State Parkway ในย่าน Gold Coast (เปิดบริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926) โรงแรมเข้าพักของ George Kaplan แต่อีกฝ่ายกลับ Check-Out ออกไปเรียบร้อยแล้ว ถึงอย่างนั้นเขาบังเอิญพบเจอ Eve Kendall ดันเข้าพักโรงแรมเดียวกัน ซะงั้น!
สิ่งแรกที่ Eve ทำหลังจากพบเจอ Thornhill คือการโถมตัวเข้าไปโอบกอดอย่างแนบแน่น นี่มันผิดวิสัยของสายลับ อาจแปลว่าเธอรู้สึกดีใจที่เขาสามารถเอาตัวรอดชีวิต จึงพยายามโน้มน้าว เกลี้ยกล่อม โปรดจงหลบหนีไปให้ไกล อย่าเอาตนเองมาเสี่ยง อธิษฐานขอพรเจ้าแม่กวนอิม … จะว่าไปห้องพักนี้มีการตกแต่งภายในสไตล์ญี่ปุ่น พบเห็นดอกซากุระบนหัวเตียงนอน
แซว: ก่อนหน้านี้ Thornhill เคยหลบซ่อนตัวในห้องน้ำบนขบวนรถไฟ มาคราวนี้ระหว่างแสร้งว่ากำลังอาบน้ำ ก็แอบออกมาค้นหาสถานที่ที่ Eve อ้างว่ามีธุระด่วน
ตามที่อยู่(สมมติ) 1212 N. Michigan คือสถานที่ทำการประมูลงานศิลปะ/สิ่งของเก่า (Art Collection) แต่ทว่าความสนใจของ Thornhill มีเพียงศาสตร์แห่งการเอาตัวรอด (Art of Survival) ตรงเข้าหา Vandamm ที่กำลังใช้มือลูบไล้ สัมผัสแผ่นหลัง (สัญลักษณ์ของการควบคุมครอบงำ แสดงตนว่าเป็นเจ้าของ) พูดถ้อยคำเสียดสี แดกดัน ประชดประชัน ทั้งสองต่างยืนค้ำศีรษะหญิงสาว ราวกับไม่เห็นหัว (เหมือนเป็นการเผชิญหน้าเพื่อแก่งแย่งเธอมาครอบครอง) แปรสภาพจากชายผู้ถูกเข้าใจผิด มาเป็นคนรักขี้อิจฉาริษยา … ถึงแม้ Cary Grant ไม่ได้จบจาก Actors Studio แต่ก็แอบพาดพิง Eva Marie Saint และ Martin Landau
อีกสิ่งน่าสนใจของฉากนี้ก็คือ MacGuffin หุ่นแกะสลักไม้ที่ซุกซ่อนไมโครฟีล์ม มันอะไรก็ไม่รู้ละ แต่ทว่า Vandamm ยินยอมเสียเงินก้อนโตเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง … ความพอดิบพอดี (Juxtaposed) ของซีเควนซ์นี้ ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบ Eve Kendall = หุ่นแกะสลักไม้ (MacGuffin) ต่างเป็นของรักของหวงของ Vandamm ต้องการจะครอบครอง เป็นเจ้าของ และพยายามนำออกนอกประเทศให้จงได้
การเอาตัวรอดของ Thornhill ต้องถือว่ามีไหวพริบปฏิภาณ เฉลียวฉลาด กล้าพูดกล้าเสี่ยง พยายามสร้างความแปลกแยก ทำตนเองกลายเป็นจุดสนใจ พูดความรู้สึกตรงไปตรงมา กลับสร้างความลุกลี้ร้อนรน กระชากหน้ากากผู้คน สังคมไม่ให้การยินยอมรับ ปฏิเสธต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าว เลยต้องเรียกตำรวจมาจับกุมตัว
นี่เป็นฉากที่ชาวเน็ตกระเหี้ยนกระหือรือ พยายามจ้องจับผิด เพราะระหว่างรถกำลังเลี้ยวโค้ง Cary Grant ทำการโยกตัว แต่ตำรวจที่นั่งข้างๆเหมือนจะหลงลืม พอเอะใจถึงค่อยโยกตามเมื่อสาย ทำลายกฎฟิสิกส์ หลักการโมเมนตัม … ผมว่าผกก. Hitchcock น่าจะสังเกตุเห็นข้อผิดพลาดดังกล่าว แต่ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องสนใจ ตลกๆขำๆ สร้างสีสัน ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
แทนที่ตำรวจจะพาไปโรงพัก กลับเดินทางมายัง Chicago Midway Airport พบเจอกับ The Professor พยายามโน้มน้าว Thornhill ให้ยินยอมปลอมตัวเป็นสายลับ พาขึ้นเครื่องบิน Northwest Airline ออกเดินทางมุ่งสู่ South Dakota
มันจะมีช่วงเวลาหนึ่งระหว่างกำลังเดินขึ้นเครื่อง เสียงเครื่องบินดังกลบเกลือบการสนทนา นี่เป็นอีกลีลาของผกก. Hitchcock ใช้สำหรับตัดตอนเรื่องราว ไม่มีความจำเป็นต้องอธิบายทุกสิ่งเรื่อง! กระโดดไปตอนตอบคำถาม ทีแรก Thornhill ต้องการปฏิเสธ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวข้องแว้งอะไรใดๆอีก แต่พอได้ยินว่า Eve คือสายลับสองหน้า อาจกำลังตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย กล้องเคลื่อนเข้าใบหน้า และมีแสงสว่างสาดส่อง ราวกับเกิดการตรัสรู้ เข้าใจเหตุผลทุกสิ่งอย่าง
ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1958 กองถ่ายได้รับอนุญาตให้เข้าใช้อนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์ (Mount Rushmore National Memorial) ตั้งอยู่ยัง Pennington County, South Dakota เพียงแค่ว่าต้องไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรง หรือเกิดการทำลายโครงสร้างประติมากรรม
เกร็ด: Mount Rushmore คือประติมากรรมแกะสลักหินแกรนิตบนหน้าผา ใบหน้าสี่ประธานาธิบดีคนสำคัญแห่งสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย George Washington, Thomas Jefferson, Theodore Roosevelt และ Abraham Lincoln ความสูง 60 ฟุต (18 เมตร) ออกแบบ/แกะสลักโดย Gutzon Borglum (1867-1941) และบุตรชาย Lincoln Borglum (1912-86) ใช้เวลาระหว่างปี ค.ศ. 1927-41
แต่ไม่กี่วันต่อมากระทรวงมหาดไทยสหรัฐ ออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เพียงเพราะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่ง เขียนบทความกล่าวอ้างว่าผกก. Hitchcock วางแผนจะทำลายรูปแกะสลักประธานาธิบดี จึงจำต้องเข้าพูดคุยต่อรองอยู่นาน สุดท้ายได้รับอนุญาตเพียงถ่ายภาพนิ่งสำหรับใช้เป็นต้นแบบ และเวลาถ่ายทำในสตูดิโอ นักแสดงทำได้แค่เพียงปีนป่าย ไถลไปไถมาเท่านั้น
Due to the objection of the government, we weren’t allowed to have any of the figures on the faces, even in the interior studio shots … We were told very definitely that we could only have the figures slide down between the heads of the presidents. They said that after all, this is the shrine to democracy.
Alfred Hitchcock
แซว: แทบจะแบบเดียวกับฉากสํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ แต่อย่างน้อยอุทยานอนุญาตให้ถ่ายภาพนิ่ง (คือมันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เลยไม่มีสิทธิ์ไปหักห้ามปรามอะไรอยู่แล้ว) นำมาเป็นต้นแบบสำหรับก่อสร้างฉากภายในสตูดิโอ
ผมมองความตาย(ปลอมๆ)ของ Thornhill (ย้อนรอยการถูกฆาตกรรมของ Lester Townsend) คือจุดจบสายลับ George Kaplan จำเป็นต้องเข่นฆ่าให้ตาย เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ Eve ต่อ Vandamm ไม่ให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่ามีใจให้อีกฝ่าย
ตั้งใจว่าจะคือการพบกันครั้งสุดท้าย (อีกแล้วเหรอเนี่ย?) ระหว่าง Thornhill กับ Eve ปรับเปลี่ยนสถานที่จากสถานีรถไฟ มาเป็นป่าสน (มั้งนะ) สร้างขึ้นในสตูดิโอ MGM (ทิวทัศน์ Mount Rushmore ด้านหลังน่าจะเป็นภาพวาดบนฉาก) เพื่อสื่อถึงอุปสรรคขวากหนาม กีดกั้นขวางทางความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา
บ้านพักของ Phillip Vandamm (ย้อนรอยกับคฤหาสถ์ของ Lester Townsend) มีการออกแบบที่ดูโมเดิร์น หรูหรา ตั้งอยู่บนยอดเขา Mount Rushmore ด้วยลักษณะยื่นระเบียงออกนอกหน้าผา ทำให้แลดูคล้ายๆหมวกแก็ป (สวมใส่โดยประธานาธิบดีทั้งสี่)
ผกก. Hitchcock มอบหมายให้ (Set Designer) Robert F. Boyle ออกแบบสร้างบ้านหลังนี้ภายในสตูดิโอ MGM โดยนำแรงบันดาลใจจากคฤหาสถ์/บ้านพักตากอากาศ Fallingwater หรือ Kaufmann Residence ตั้งอยู่ Fayette County, Pennsylvania พานผ่านแม่น้ำ Bear Run, เจ้าของคือ Edgar J. Kaufmann (1885-1955) ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้า Kaufmann’s Department Store, ออกแบบโดยสถาปนิก Frank Lloyd Wright Sr. (1867-1959) สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1935 ด้วยงบประมาณ $155,000 เหรียญ (= $3.4 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบค่าเงิน ค.ศ. 2023)
เกร็ด: Fallingwater เป็นคฤหาสถ์ที่มีความโมเดิร์น สวยงาม แปลกใหม่ ถึงขนาดนิตยสารวิทยาศาสตร์ Smithsonian ยกย่องให้เป็น “Life List of 28 Places to See Before You Die” กลายเป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National Historic Landmark) ค.ศ. 1976 และได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) ค.ศ. 2019
Leonard ด้วยความอิจฉาริษยา Eve แย่งความสนใจไปจาก Vandamm ครั้งนี้เมื่อสบโอกาส ค้นพบปืนที่ใช้ในการฆาตกรรม Thornhill/George Kaplan แท้จริงแล้วคือปืนปลอม จ่อยิง เสียงดัง แต่ไม่มีอะไรบังเกิดขึ้น ทันใดนั้นเอง Vandamm ออกหมัด ชกหน้า Leonard (แบบเดียวกับตอนที่ Thornhill ถูกนายตำรวจน็อคหลับ) … ถ้าคุณสามารถขบครุ่นคิดนัยยะเชิงสัญลักษณ์ ทั้งถ้อยคำพูด ภาษากาย การยิงปืน และชกต่อยกลับ น่าจะสัมผัสถึงความ ‘HomoErotic’ ของซีนนี้อยู่ไม่น้อย (แถมมี Thornhill แอบถ้ำมองอยู่ภายนอก)
บังเอิญพบเห็นภาพสะท้อนในจอโทรทัศน์ แม่บ้านจึงเดินไปหยิบปืน รอคอยจังหวะที่ Thornhill ก้าวลงจากบันได ยกปืนจ่อ บอกให้นั่งรอก่อน (ย้อนรอยกับตอนต้นเรื่องที่ Vandamm บอกให้ Thornhill นั่งลงก่อน) แต่แล้วมันเกิดเหตุการณ์อะไรต่อจากนี้? ยื้อแย่งปืน? ชกต่อยตี? ผกก. Hitchcock บอกให้ผู้ชมไปขบครุ่นคิด จินตนาการเอาเอง
ภาพสะท้อนจอโทรทัศน์ มักแฝงนัยยะถึงชีวิตจริงไม่ต่างจากนิยาย-ละคอน-ภาพยนตร์ (รวมถึงซีรีย์โทรทัศน์) เต็มไปด้วยความ Cliché ซ้ำซากจำเจ สถานการณ์กำลังบังเกิดขึ้นนี้ด้วยกระมัง … จะว่าไปยุคสมัยนี้โทรทัศน์กำลังได้รับความนิยมแพร่หลาย แม้แต่ผกก. Hitchcock ก็ยังมีรายการของตนเอง Alfred Hitchcock Presents (1955-65)
The main problem in the Mount Rushmore sequence was to make it believable that two people could climb down the face of Mount Rushmore — it couldn’t be done, but we had to make it look believable. So, we went up to Mount Rushmore, climbed up the back and found that on the top of each one of the heads there was a huge iron ring, with a cable and bosun’s chair… We then lowered down each face and photographed in every direction possible every 10 feet and those became the backgrounds.
Robert F. Boyle
ความสมจริงของการออกแบบฉาก ถึงขนาดสร้างความเข้าใจผิดให้นักวิจารณ์ Alice Hughes ของนิตยสาร Variety เขียนบรรยายในบทความวิจารณ์
This is no studio mock-up; the actual national monument serves as the scene in those last terrifying moments of sliding down the neck and chest of George Washington and the craggy features of Abraham Lincoln.
นักวิจารณ์ Alice Hughes จากนิตยสาร Variety
ผมนั่งรับชมซีเควนซ์ Mount Rushmore เวียนๆวนๆอยู่หลายรอบ ก่อนค้นพบว่าแม้งไม่ได้มีห่าเหวอะไร ก็แค่ตัวละครปีนป่ายโขดหิน โดยใช้ใบหน้าประธานาธิบดีเป็นพื้นหลัง แต่ลีลาตัดต่อสลับไปสลับมา และบทเพลงประกอบอันรุกเร้า ช่วยสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก เสียวสันหลัง รอดไม่รอด สุดท้ายแล้วกลับมีแต่ฟากฝั่งผู้ร้ายเกิด(อุบัติ)เหตุให้พลัดตกหล่นหน้าผา ก็เท่านั้น!
การเลือกใช้พื้นหลัง Mount Rushmore และประติมากรรมแกะสลักใบหน้าประธานาธิบดี ก็เพื่อจะสื่อถึงประวัติศาสตร์ ความยิ่งใหญ่ หน้าตาของสหรัฐอเมริกา ไม่มีทางที่พวกสายลับต่างชาติจะสามารถเกาะกิน แสวงหาผลประโยชน์ นำเอาความลับ(ไมโครฟีล์ม)ออกไปขาย … บางคนพร่ำเพ้อประมาณว่า พวกผู้ร้ายถูกวิญญาณของอดีตปธน. ผลักตกหน้าผา
แซว: Vertigo (1958) ตัวละครของ James Stewart คือผู้ป่วยโรคกลัวความสูง แม้ตอนจบจะสามารถเอาชนะความกลัว แต่ถ้าต้องมาปีนป่าย Mount Rushmore ผมว่าน่าจะอาการเก่ากำเริบแน่ๆ
ก่อนหน้า 2001: A Space Odyssey (1968) จะมีการเขวี้ยงโครงกระดูก ‘Time Skip’ กระโดดข้ามแสนล้านโกฏิปี! ผกก. Hitchcock ก็เคยให้ Eve Kendall ปีนป่ายจาก Mount Rushmore ขึ้นสู่สรวงสวรรค์/เตียงนอนชั้นบนห้องโดยสารรถไฟ (แต่น่าจะแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดจากนั้น) ตามมุกเดิมๆของผกก. Hitchcock ทำไมต้องเสียเวลาเล่าเรื่องไม่เป็นเรื่อง เมื่อเรื่องราวได้ข้อสรุป พระเอกช่วยชีวิตนางเอก ก็ถึงเวลาที่หนังควรจะจบลง นอกนั้นคืออิสระผู้ชมครุ่นคิดจินตนาการ
Yes. The phallic symbol… And the final shot, immediately following that scene in the sleeping-car, is probably one of the most impudent shots I ever made.
Alfred Hitchcock
ตัดต่อโดย George Tomasini (1909-64) สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Springfield, Massachusetts ทำงานในสังกัด Paramount Picture เริ่มมีชื่อเสียงจาก Stalag 17 (1953), โด่งดังจากการร่วมงานขาประจำผู้กำกับ Alfred Hitchcock ตั้งแต่ Rear Window (1954) จนถึง Marnie (1964)
หนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองตัวละคร Roger O. Thornhill เริ่มต้นจากวันธรรมดาๆหนึ่ง จับพลัดจับพลู ถูกลักพาตัว เข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ พยายามหาโอกาสพิสูจน์ตนเอง กลับตกเป็นแพะรับบาป ฆาตกรเลือดเย็น เลยต้องออกเดินทางค้นหาความจริง แอบโดยสารรถไฟจาก New York มุ่งสู่ Chicago และขึ้นเครื่องบินมาถึงยัง South Dakota
- New York City, New York
- Opening Credit อนิเมชั่นของ Saul Bass
- Thornhill ขึ้นแท็กซี่เดินทางไปประชุมยัง Oak Room ณ Plaza Hotel
- จู่ๆถูกลักพาตัวมายังคฤหาสถ์นอกเมืองของ Lester Townsend ณ Glen Cove
- พบเจอกับ Phillip Vandamm เข้าใจผิดว่าเขาคือ George Kaplan
- Thornhill ถูกมอมเหล้า ต้องการให้ขับรถตกหน้าผา แต่สามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด
- ถูกตำรวจจับมายังโรงพัก ให้การไม่รู้เรื่องเพราะยังคงมึนเมา
- Thornhill พาตำรวจมายังคฤหาสถ์นอกเมืองของ Lester Townsend กลับไม่พบเจออะไร
- เดินทางกลับไปยัง Plaza Hotel ทุกคนล้วนเข้าใจผิดว่าตนเองคือ George Kaplan เลยเข้าไปสำรวจในห้องพัก
- เดินทางไปยังสํานักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อพบเจอ Lester Townsend แต่กลับเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึง
- 20th Century Limited ขบวนรถไฟจาก New York มุ่งสู่ Chicago
- ณ สถานีรถไฟกลาง Grand Central Terminal, New York ที่คราคร่ำด้วยผู้คน Thornhill แอบขึ้นขบวนรถไฟ 20th Century Limited ด้วยความช่วยเหลือจาก Eve Kendall
- ระหว่างหลบหนีเจ้าพนักงานรถไฟ มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกับ Eve ได้รับชักชวนเข้าห้องพัก
- เรื่องวุ่นๆ ชุลมุนรักในห้องโดยสารของ Eve
- Chicago, Illinois
- พอมาถึงสถานีรถไฟ Chicago หญิงสาวโทรศัพท์ติดต่อ George Kaplan บอกสถานที่นัดหมายกับ Thornhill
- Thornhill เดินทางไปยังท้องทุ้งกว้าง กลางชนบทแห่งหนึ่ง แต่กลับพบเจอเพียงเครื่องบินที่พุ่งเข้ามากราดยิง โชคดีสามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิด
- พอหวนกลับมา เผชิญหน้ากับ Eve แอบติดตามไปยังสถานที่ทำการประมูลพบเจอ Vandamm ก่อนใช้ไหวพริบเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิดอีกเช่นกัน
- พบเจอกับ The Professor ผู้สร้างสายลับสมมติ George Kaplan พยายามโน้มน้าวให้ Thornhill ปลอมตัวเป็นสายลับตัวจริง ขึ้นเครื่องบินไปยัง South Dakota
- South Dakota
- Thornhill พูดคุยแผนการกับ The Professor ระหว่างชื่นชมภูเขารัชมอร์ (Mount Rushmore)
- ระหว่าง Thornhill เผชิญหน้ากับ Vandamm ถูกฆาตกรรมโดย Eve
- Thornhill ที่แสร้งว่าเสียชีวิต ฟื้นคืนชีพมาพบเจอกับ Eve ครั้งสุดท้าย
- The Professor พยายามกักขัง Thornhill แต่เขาสามารถหาหนทางหลบหนี
- Thornhill แอบเข้าไปในคฤหาสถ์หรูของ Vandamm เพื่อจะช่วยเหลือ Eve ก่อนได้รับล่วงรู้ข้อมูลลับบางอย่าง
- พากันหลบหนีด้วยการปีนป่ายลงจากภูเขารัชมอร์ (Mount Rushmore)
ลีลาตัดต่ออาจไม่ได้ดูโดดเด่น แต่เน้นความกลมกลืน ลื่นไหล แลดูติดต่อเนื่องอย่างเป็นธรรมชาติ ค่อยๆเก็บรายละเอียด ไล่เรียงลำดับทีละขั้นละตอน โดยเฉพาะ “Crop Duster Scene” เป็นไฮไลท์ที่นักเรียนภาพยนตร์ต้องสังเกต จับจ้อง ทำความเข้าใจแนวคิดของลัทธิรูปแบบแผน (Formalism) เริ่มต้นยังไง? สร้างความระทึกยังไง? ฉากแอ๊คชั่นควรเป็นเช่นไร? ไคลน์แม็กซ์ และจุดจบ ครบถ้วนสมบูรณ์แบบในซีเควนซ์เดียว!
เกร็ด: สตูดิโอ MGM มีความกังวลกับความยาว 136 นาที พยายามต่อรอขอผกก. Hitchcock ให้ตัดบางฉากออกไม่เกินสองชั่วโมง (เพื่อจะได้รอบฉายเพิ่มมากขึ้น) แต่เมื่อสิทธิ์ขาดไม่ได้อยู่ในมือของสตูดิโอ เรื่องอะไรจะยินยอมทำตาม
เพลงประกอบโดย Bernard Herrmann ชื่อเกิด Maximillian Herman (1911-75) นักแต่งเพลงสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ New York City ในครอบครัว Russian Jewish บิดาผลักดันบุตรชายให้ร่ำเรียนไวโอลินตั้งแต่เด็ก ตอนอายุ 13 แต่งเพลงชนะรางวัล จึงมุ่งมั่นเอาจริงจังด้านนี้ โตขึ้นเข้าศึกษา New York University ต่อด้วย Juilliard School จบออกมาก่อตั้งวง New Chamber Orchestra of New York, ก่อนเข้าร่วม Columbia Broadcasting System (CBS) กลายเป็นวาทยากร CBS Symphony Orchestra ระหว่างนั้นมีโอกาสร่วมงาน Orson Welles ทำเพลงประกอบรายการวิทยุ, Radio Drama, ภาพยนตร์เรื่องแรก Citizen Kane (1941), The Devil and Daniel Webster (1941)**คว้ารางวัล Oscar: Best Music, Scoring of a Dramatic Picture, The Magnificent Ambersons (1942), Jane Eyre (1943), Anna and the King of Siam (1946), The Day the Earth Stood Still (1951), Cape Fear (1962), Taxi Driver (1976) ฯ
สตูดิโอ MGM เรียกร้องอยากได้เพลงประกอบสไตล์ George Gershwin ที่มีส่วนผสมของ Jazz & Classical แต่ทว่า Herrmann หามีความสนใจไม่! เลือกใช้ท่วงทำนอง American Rhythms กำหนดจังหวะ (Time Signature) 3/4 และ 6/8 หลายคนน่าจะมักคุ้นกับบทเพลง Waltz (กำหนดจังหวะ 3/4) เพื่อสร้างสัมผัสราวกับการเต้นระบำ
Its overture is a rapid kaleidoscopic virtuoso orchestral fandango designed to kick off the exciting route that follows – the crazy dance about to take place between Cary Grant and the world.
Bernard Herrmann
Fandango คือการเต้นรำคู่ที่เน้นความสนุกสนาน สง่างาม หยอกเย้า เกี้ยวพาราสี (แต่ไม่ได้เอ่อล้นด้วยอารมณ์ ‘Passion’ เหมือนกับ Flamenco) ต้นกำเนิดจากโปรตุเกสและสเปน เหมาะเข้ากับสไตล์หนัง Comedy-Thriller เมื่อนำมาคลุกเคล้าเข้ากับลายเซ็นต์ของ Herrmann ที่มักบรรเลงท่อนเดิมซ้ำๆ เน้นย้ำ ไต่ไล่ระดับ เวียนวนไปวนมา ช่วยสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก จนนั่งไม่ติดเก้าอี้ แทบหยุดหายใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้จากบทเพลง มักมีการบรรเลงสลับเครื่องดนตรีไปมา เดี๋ยวเครื่องเป่าเดี๋ยวเครื่องสาย เดี๋ยวเครื่องลมทองเหลืองเดี๋ยวเครื่องลมไม้ เดี๋ยวทุ้มเดี๋ยวแหลม เดี๋ยวเล่นโน๊ตเสียงสูง-ต่ำ สร้างความรู้สึกสับสน มึนงง หลงทิศทาง ไปซ้ายที-ขวาที เอาแน่เอาแน่อะไรไม่ได้ วุ่นๆวายๆ แต่เมามันส์ชิบหาย
นอกจากบทเพลงที่ทำให้อะดรีนาลีนพลุกพล่าน ภาพยนตร์แนว Action จำเป็นต้องมีท่วงทำนองเคลิบเคลิ้ม โรแมนติกเรื่องราวความรักชาย-หญิง ช่วยสร้างสมดุล เติมเต็มหนังให้มีชีวิตชีวา
- Interlude ดังขึ้นในห้องโดยสารบนขบวนรถไฟ ระหว่าง Thornhill กับ Eve กำลังกอดจูบกันอย่างดื่มด่ำ พนักงานเคาะประตูขัดจังหวะเพื่อทำการปูเตียงนอน จำต้องหลบซ่อนในห้องน้ำสักพักหนึ่งก่อนออกมา …
- The Forest บทเพลงเดียวกัน แต่เปลี่ยนเครื่องนตรีบรรเลง ทำให้อารมณ์เพลงผันแปรเปลี่ยนไป นำเสนอช่วงเวลาที่ Thornhill กับ Eve อาจกำลังจะต้องพลัดพรากจาก นี่คือการร่ำลาครั้งสุดท้าย เต็มไปด้วยอารมณ์โหยหา คร่ำครวญ ไม่ต้องการให้ช่วงเวลานี้ต้องจบสิ้นไป
โดยปกติแล้วบทเพลงในหนัง Action มักคลอประกอบพื้นหลังระหว่างฉากต่อสู้ ไล่ล่า เพื่อสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทึก ค่อยๆไต่ไล่ระดับ สะสมอารมณ์ ความเร้าใจไปจนถึงจุดสูงสุด!
แต่ทว่าบทเพลง The Crash เริ่มดังขึ้นวินาทีที่เครื่องบิน Crop Duster พุ่งชนรถบรรทุกน้ำมัน (ระหว่างเครื่องบินกำลังโฉบเฉี่ยว ไล่กราดยิง Thornhill กลับได้ยินเพียงเสียงประกอบเท่านั้น) ผมมองว่านี่คือลักษณะของ ‘สร้อยบทกวี’ ทำหน้าที่ขยับขยายโสตประสาท พรรณาหายนะบังเกิดขึ้น ผู้ชมเกิดอาการตกตะลึง อึ่งทึ่ง คาดไม่ถึง ก่อนนำเข้าสู่ซีเควนซ์ถัดไป … แค่เสียงประกอบ (Sound Effect) และลีลาตัดต่อ ก็สร้างบรรยากาศลุ้นระทึกได้มากเพียงพอแล้ว
I want to make the Hitchcock picture to end all Hitchcock pictures. Something that has wit sophistication glamour action and lots of changes of locale.
Ernest Lehman กล่าวถึงบทหนัง North by Northwest (1959)
ถ้าเราไม่ครุ่นคิดอะไรมาก บทสรุปง่ายๆของ North by Northwest (1959) คือภาพยนตร์แนว Action-Thriller ผจญภัยไปกับการต่อสู้ดิ้นรน หาหนเอาตัวรอดของ Roger O. Thornhill จับพลัดจับพลู ถูกใส่ร้ายป้ายสี เข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ แต่เมื่อโชคชะตาเล่นตลก เขาก็พร้อมพิสูจน์ตนเอง เพื่อคนรัก และประเทศชาติ
ใครเคยรับชมผลงานของผกก. Hitchcock ตั้งแต่เมื่อครั้นทำงานอยู่เกาะอังกฤษ น่าจะมักคุ้นเคย The 39 Steps (1935), Secret Agent (1936), Sabotage (1936), The Lady Vanishes (1938) ฯ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสายลับ จับพลัดจับพลู เกิดความเข้าใจผิดๆ ไฮไลท์คือคำกล่าวสุนทรพจน์ของพระเอกใน The 39 Steps (1935) นี่ถือเป็นเป้าหมาย อุดมการณ์ จิตวิญญาณผกก. Hitchcock ถึงเหตุผลการสรรค์สร้างภาพยนตร์แนวนี้
Indeed I have and I’ve known what it is to feel lonely and helpless and have the whole world against me and those are things that no man or woman ought to feel. And I ask your candidate… and all those who love their fellowmen to set themselves resolutely to make this world a happier place to live in. A world where no nation plots against nation, where no neighbor plots against neighbor, where there is no persecution or hunting down, where everybody gets a square deal and a sporting chance, and where people try to help and not to hinder. A world from which suspicion and cruelty and fear have been forever banished. That is the sort of world I want! Is that the sort of world you want?
คำกล่าวสุนทรพจน์ของ Richard Hannay จากภาพยนตร์ The 39 Steps (1935)
แม้ปีที่หนังออกฉาย McCarthyism ได้สิ้นสุดลงไปแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1957 (ยุคสมัยแห่งการขุดคุ้ย เปิดโปง ใส่ร้ายป้ายสีบุคคลฝักใฝ่พรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อทำการแบน Hollywood Blacklist) แต่เรายังสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์บังเกิดขึ้นกับ Roger O. Thornhill ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสายลับ เลยโดนไล่ล่า พยายามฆ่า จำต้องหลบหนีหัวซุกหัวซุน หาหนทางพิสูจน์ตนเองว่าเป็นคนบริสุทธิ์
เรื่องราวของหนังยังสะท้อนบรรยากาศสงครามเย็น (Cold War) แม้ตัวละคร Phillip Vandamm จะไม่มีการระบุสัญชาติ ทำลายสายลับให้กับประเทศใด แต่ผู้ชมสมัยนั้นย่อมสามารถตีความ เหมารวม จินตนาการถึงยุโรป/สหภาพโซเวียต เกิดอาการหนาวเหน็บ หวาดสะพรึงกลัว ตระหนักถึงหายนะที่อาจบังเกิดขึ้น โดยไม่รู้ตัวกลายเป็นภาพยนตร์ชวนเชื่อ ปลุกใจรักชาติ เกิดความฮึกเหิม พร้อมเสียสละตนเองเพื่อคนรัก และประเทศชาติ
ผมอยากแนะนำให้รับชม The 39 Steps (1935) เคียงคู่กับ North by Northwest (1959) แล้วคุณอาจค้นพบอีกนัยยะน่าสนใจ นั่นคือวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย รวมถึงวิสัยทัศน์ของผกก. Hitchcock ยกตัวอย่างฉากสถานีรถไฟ The 39 Steps (1935) สร้างฉากขึ้นในสตูดิโอ ผู้คนบางตา ดำเนินไปอย่างเอื่อยเฉื่อย ผิดกับสถานี New York City ของ North by Northwest (1959) ฝูงชนราวกับฝูงมด แออัด เบียดเสียด เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ธุระด่วน … กล่าวคือ North by Northwest (1959) บันทึกภาพโลกยุคสมัยใหม่ (Modern World) เพียงสิบกว่าปีหลังสงครามโลกครั้งสอง ทุกสิ่งอย่างได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด วงการภาพยนตร์ก็เฉกเช่นเดียวกัน
เกร็ด: The Man Who Knew Too Much (1956) ที่ทำการสร้างใหม่จาก The Man Who Knew Too Much (1934) ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ผกก. Hitchcock ทำการรีไซเคิลแนวคิด/เรื่องราวที่เคยสรรค์สร้างเอาไว้ แสดงให้เห็นวิวัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง โลกยุคสมัยใหม่ และวิสัยทัศน์(ตนเอง)กว้างไกลขึ้นกว่าเดิม
ชื่อหนัง North by Northwest อาจฟังดูอาจไร้ทิศทาง ไม่มีความหมายใดๆ แต่เป้าหมายของภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าชัดเจน ตัวละครต้องการพิสูจน์ตนเอง ผกก. Hitchcock ก็คงเฉกเช่นกัน!
ดั้งเดิมนั้นหนังวางแผนทุนสร้าง $2.3 ล้านเหรียญ แต่ความล่าช้าในการถ่ายทำถึง 9 สัปดาห์! งบประมาณจึงค่อยๆงอกเงย บานปลายไปจนถึง $3.3 ล้านเหรียญ
แซว: Cary Grant ได้รับค่าจ้างปกติ $450,000 เหรียญ แต่ความล่าช้าของโปรเจคทำให้ต้องจ่ายเพิ่มวันละ $5,000 เหรียญ (คิดแค่สัปดาห์ละ 6 วัน) คำนวณแล้ว $315,000 เหรียญ เกือบจะถึงค่าจ้างปกติด้วยซ้ำไป!
โชคยังดีที่หนังได้เสียงตอบรับดีล้นหลาม ติดอันดับหนึ่ง Boxoffice ยาวนานถึง 7 สัปดาห์ สามารถทำเงินในสหรัฐอเมริกา $5.74 ล้านเหรียญ รวมทั่วโลก $9.8 ล้านเหรียญ ยังได้กำไรกลับคืนมาประมาณ $837,000 เหรียญ และช่วงปลายปีได้เข้าชิง Oscar สามสาขา ไม่ได้สักรางวัลติดไม้ติดมือกลับมา
- Best Original Screenplay
- Best Film Editing
- Best Art Direction – Set Decoration, Color
แต่กาลเวลาทำให้หนังได้รับการยกย่องสรรเสริญ ไม่ใช่แค่เรื่องความบันเทิง ยังติดอันดับชาร์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมตลอดกาลจากหลากหลายสำนัก
- AFI’s 100 Years…100 Movies (1998) ติดอันดับ #40
- AFI’s 100 Years…100 Thrills (2001) ติดอันดับ #4
- AFI’s 100 Years…100 Movies (10th Anniversary Edition) (2007) ติดอันดับ #55
- Sight & Sound: Critic’s Poll (2012) ติดอันดับ #53 (ร่วม)
- Sight & Sound: Critic’s Poll (2022) ติดอันดับ #45 (ร่วม)
- Time Out: Top 100 Films (1998) ติดอันดับ #12
- The Village Voice: Top 250 Best Films of the Century (1999) ติดอันดับ #19
- Entertainment Weekly: 100 Greatest Movie of All Time (1999) ติดอันดับ #44
- The Writers Guild of America: 101 Greatest Screenplays ever written (2006) ติดอันดับ #21
- Empire: 500 Greatest Films of All Time (2008) ติดอันดับ #98
- Cahiers du cinéma: Top 100 of all time (2008) ติดอันดับ #28
- The Guardian: Best Action and War Film of All Time (2010) ติดอันดับ #2
- BBC: The 100 Greatest American Films (2015) ติดอันดับ #13
- Time Out: The 100 Best Thriller Films of All Time (2022) ติดอันดับ #1
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเมื่อตอนออกฉายมีการ ‘blow-up’ เป็นฟีล์ม 70mm หรือไม่? แต่ล่าสุดพบเห็นฉบับบูรณะ 70mm Remaster 6.5K (จากฟีล์ม 13K) เข้าฉายเทศกาล Tribeca Festival ช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024
Motion Picture Imaging scanned the original 8-perf 35mm VistaVision camera negative in 13K with all restoration work completed in 6.5K, Sheri Eisenberg, Colorist. The 70mm film print was created at Fotokem by filming out a new 65mm negative. Warner Bros. Post Production Creative Services created a 5.1 audio mix from the original mono stems with Doug Mountain, Sound Mixer. Inventure Studios created the DTS encoded deliverable of the restored audio to playback flawlessly with the 70mm film print. This newly restored version has been approved by the Film Foundation.
เห็นว่าสตูดิโอ Warner Bros. พยายามจะเข็นแผ่น Blu-Ray คุณภาพ 4K Ultra HD ออกฉายภายในปี ค.ศ. 2024 (ครบรอบ 65 ปี) แต่ถ้าใครไม่อยากอดใจรอแนะนำฉบับปี ค.ศ. 2009 (ครบรอบ 50 ปี) ผ่านการบูรณะแล้วเช่นกัน คุณภาพ 2K เอาไว้รับชมแก้ขัดไปก่อน
ในบรรดาผลงานของผกก. Hitchcock เรื่องที่ผมชอบรับชมซ้ำๆ น่าจะบ่อยครั้งที่สุดก็คือ North by Northwest (1959) เพราะความบันเทิง ดูเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด (คือมันเลยจุดที่จะตื่นเต้น ลุ้นระทึกไปนานแล้ว) หลงใหลในอารมณ์ขัน จับพลัดจับพลู ภาพสวย เพลงเพราะ แค่ฉาก Cary Grant ถูกมอมเหล้า มึนเมา ขับรถส่ายไปส่ายมา ก็ชวนอมยิ้ม หัวร่อร่า
การรับชมครั้งนี้ได้ค้นพบความเซ็กซี่ อีโรติก สไตล์ลิสของหนัง ยิ่งทำให้ลุ่มหลงใหล คลุ้มคลั่งไคล้ขึ้นกว่าเก่า ถือเป็นความบันเทิงสูงสุดในสไตล์ Hitchcockian
จัดเรต pg กับความเข้าใจ พยายามฆ่า อาชญากรชั่วช้า
คำโปรย | North by Northwest การผจญภัยขึ้นอุดรล่องพายัพของ Cary Grant เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ระทึกขวัญ เมามันส์ที่สุดในสไตล์ Hitchcockian
คุณภาพ | ลุ้นระทึก
ส่วนตัว | ลุ่มหลงใหล
North by Northwest (1959) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♥♡
(10/9/2016) ว่ากันว่าหนังเรื่องนี้คือจุดกำเนิดของ James Bond สายลับมาดเท่ห์ ใส่สูทผูกไทค์สาวติด แม้ฉาก Action จะไม่ได้ตื่นตาเหมือนหนังสมัยใหม่ แต่ความเขย่าขวัญสุดระทึกจะทำให้คุณตื่นใจในเทคนิคการนำเสนอ, ผลงานการกำกับของ Alfred Hitchcock เจ้าของฉายา ‘The Master of Suspense’ นำแสดงโดย Cary Grant ประกบคู่กับ Eva Marie Saint
ตอนผมดู North by Northwest ครั้งแรกๆ ก็รู้สึกได้ ว่ามีหลายๆส่วนที่คล้ายกับหนังแฟนไชร์ James Bond มาค้นหาข้อมูลดูก็พบว่า ‘ใครๆก็พูดกัน’ เพราะคนส่วนใหญ่สมัยนี้มักจะได้ดูหนัง James Bond ก่อน North bu Northwest เสมอ, ในมุมมองของคนดูหนัง ใช่ครับ North by Northwest (1959) สร้างขึ้นก่อน Dr.No (1962) หนังเรื่องแรกของแฟนไชร์ James Bond แต่ผู้ให้กำเนิดเรื่องราวของตัวละครนี้ Ian Fleming เขียนนิยายเรื่องแรก Casino Royale ตีพิมพ์ปี 1953 ก่อนหน้า North by Northwest จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเสียอีก, เป็นไปได้ยังไงกับคนที่บอกว่า North by Northwest คือจุดกำเนิดของ James Bond!
แต่ผมเข้าใจสิ่งที่ ‘ใครๆก็พูดกัน’ นะครับ เพราะ North by Northwest เป็นหนังที่ได้วางรากฐาน โครงสร้าง องค์ประกอบของภาพยนตร์ประเภท Action จึงไม่แปลกที่เราจะมองเห็นพื้นฐาน ความเหมือน ในหนัง Action เรื่องถัดๆมา ไม่ใช่แค่ James Bond นะครับ แต่เหมารวมถึงหนัง Action ทุกเรื่องในโลกเลยก็ว่าได้, และเหตุผลที่ Ian Fleming ต้องการดัดแปลงนิยายชุด James Bond ให้กลายเป็นคนแสดง ก็เพราะได้รับชม North by Northwest แล้วเกิดความประทับใจ เขาต้องการให้ James Bond ออกมามีลักษณะเดียวกับหนังเรื่องนี้ ผลลัพท์ออกมาเลยเป็นอย่างที่ ‘ใครๆก็พูดกัน’ (เห็นว่านิยายตั้งแต่เล่ม 7 Goldfinger ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1959 อะไรๆหลายอย่าง ก็ได้อิทธิพลเพิ่มเติมมาจาก North by Northwest เช่นกัน)
เกร็ด: นิยามของ Action Genre คือ การที่ตัวละครหลัก ได้พบกับความท้าทายที่ต้องใช้ความรุนแรง การต่อสู้ การปะทะไล่ล่า ในสถานการณ์ที่คับขัน เป็นอันตราย ที่มักเกิดจากฝั่งตัวร้ายทำอะไรบางอย่างให้เกิดขึ้น บทสรุปคือชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (นิยามนี้ถ้าเป็นสมัยก่อน ชัยชนะต้องเป็นฝ่ายตัวเอกเท่านั้น!)
จุดเริ่มต้นของหนังเรื่องนี้ เกิดจาก Hitchcock ได้ตกลงว่าจะกำกับหนังให้ MGM เลือกนิยาย The Wreck of the Mary Deare เขียนโดย Hammond Innes ขึ้นมาดัดแปลง มอบหมายหน้าที่ดัดแปลงเป็นบทหนังให้ Ernest Lehman (นักเขียนที่ตลอดชีวิตได้เข้าชิง Oscar 6 ครั้ง แต่ไม่ได้สักรางวัล), ผ่านไปหลายสัปดาห์ Lehman กลับมาบอก Hitchcock ว่าไม่รู้จะดัดแปลงเรื่องราวนี้ออกมายังไง Hitchcock บอกไม่เป็นไร ทำอย่างอื่นก็ได้ แล้วโยนความคิด สิ่งที่ตนอยากทำหลายๆให้ Lehman ฟัง เป็นไอเดียที่รวมๆกันแล้วอาจสร้างเป็นหนังเรื่องหนึ่งได้ อาทิ ฉากไล่ล่าปีนป่ายบน Mount Rushmore, ฆาตกรรมที่สหประชาชาติ ฯ
สำหรับไอเดียคร่าวๆของหนัง Hitchcock จำได้ว่าเคยมีนักข่าวอเมริกันคนหนึ่ง (Otis L. Guernsey Jr.) เคยเล่าให้เขาฟัง เกี่ยวกับกลุ่มของสายลับที่สร้างเจ้าหน้าที่ปลอมขึ้นมาเพื่อเป็นเหยื่อลวงผู้ก่อการร้าย บางทีพระเอกของหนังอาจเกิดความเข้าใจผิด จากผู้ร้ายที่คิดว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่คนนั้น ทำให้เขาต้องออกหนี เดินทางค้นหาความจริง, ไอเดียนี้ของ Guernsey ได้มาจากเรื่องจริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิบัติการ Mincemeat ของสายลับอังกฤษ เพื่อใช้ลวงกองทัพของ German ให้เลี่ยงไม่โจมตีเมือง Sicily ด้วยการสร้างหลักฐานปลอม หลอกว่าจะกองทัพอังกฤษกำลังขึ้นบกที่ Sardinia เห็นว่าเรื่องราวของภารกิจนี้ได้ถูกสร้างเป็นหนังแล้วด้วยเรื่อง The Man Who Never Was (1956) กำกับโดย Ronald Neame
ในบรรดาหลายไอเดียที่ Hitchcock โยนให้ Lehman บางครั้งก็เว่อมาก อาทิ ตัวร้ายพยายามฆ่าพระเอกด้วยทอร์นาโด! Lehman ย้อนถาม Hitchcock ว่า ‘แล้วพวกตัวร้ายจะสร้างทอร์นาโดขึ้นมายังไง?’ กับฉากนี้ จากพายุไซโคลนได้กลายมาเป็น เครื่องบินทิ้งฝุ่น (Crop-Duster Plane) [เครื่องบินพ่นยา] แบบที่เราเห็นในหนัง
ตอนที่ Lehman และ Hitchcock เริ่มพัฒนาบท North by Northwest ทั้งสองไม่ได้แจ้งกับทาง MGM ว่าได้ตัดสินใจเปลี่ยนเรื่องราวที่จะสร้างหนังแล้ว โชคดีที่พอเจ้าของสตูดิโอรู้เข้า จึงยอมให้ทั้งสองทำสิ่งที่สนใจ แล้วหาทีมสร้างใหม่ให้กับ The Wreck of the Mary Deare ไปได้ผู้กำกับ Michael Anderson นำแสดงโดย Gary Cooper และ Charlton Heston ฉายปีพฤศจิกายน 1959 หลัง North by Northwest ฉาย 3 เดือนกว่าๆ
ขณะพัฒนาบทหนังเรื่องนี้ Hitchcock กำลังสร้าง Vertigo (1958) อยู่ และเขาได้เล่าตัวละคร Roger O. Thornhill ให้ James Stewart ฟัง จนเขารู้สึกสนใจมาก ต้องการรับบทนี้ แต่ขณะนั้น Hitchcock มีนักแสดงคนอื่นอยู่ในใจแล้ว (คือ Cary Grant) แต่เพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ เขารอให้ Stewart ได้ตบปากรับคำเล่นหนังเรื่องอื่นไปก่อน (เรื่อง Bell, Book and Candle และ Anatomy of a Murder) จนไม่มีเวลาว่างปลีกตัวมาเล่นหนังเรื่องนี้ได้ ถึงค่อยเริ่มกระบวนการสร้างหนัง นี่ทำให้ Stewart ต้องบอกปัดไปโดยปริยาย
เกร็ด: สตูดิโอ MGM หลังจากได้อ่านบท ต้องการให้ Gregory Peck รับบท Thornhill แต่ Hitchcock จะเอา Grant สนคำขอที่ไหนกันละ
เกร็ด2: Roger O. Thornhill ชื่อกลาง O. มาจาก ‘nothing’ จริงๆนะครับ เห็นว่าอ้างอิงมาจากชื่อโปรดิวเซอร์ David O. Selznick ที่ O ไม่ได้เป็นชื่อย่อของอะไรทั้งนั้น
สำหรับ Cary Grant เขาตบปากรับเล่นบทนี้ ทั้งๆที่ก็ไม่ได้เข้าใจว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ซึ่งตอนที่หนังถ่ายไปได้ประมาณครึ่งทาง Grant ขึ้นเสียงต่อว่า Hitchcock ‘บทหนังเรื่องนี้มันห่วยมาก ฉันถ่ายหนังมาเกินครึ่งเรื่อง ยังไม่เข้าใจว่าเรื่องราวเป็นยังไง’ ความสับสนนี้แหละที่ Hitchcock ต้องการให้ Grant รู้สึกแสดงออกมา เพราะตัวละครนี้ก็ไม่รู้ตัวเองเหมือนกันว่ากำลังเจออะไรอยู่
ถึงปากจะพูดว่าสับสน แต่ในใจเขาคงไม่ติดใจอะไร เพราะในสัญญาของหนังเรื่องนี้ Grant จะได้เงิน $450,000 เหรียญ กับเวลาการถ่ายทำ 7 สัปดาห์ ซึ่งถ้าหนังถ่ายเกินระยะเวลา เขาจะได้เงินเพิ่มวันละ $5,000 เหรียญ แน่นอนหนังระดับนี้ต้องใช้เวลาเกิน รวมเวลาถ่ายทำทั้งหมด 78 วัน (11 สัปดาห์) ทำให้ Grant ได้เงินเพิ่มอีก $390,000 เหรียญ (รวมกับค่าตัว เทียบกับค่าเงินปัจจุบัน 2016 จะประมาณ 7 ล้านดอลลาร์)
ตัวละครของ Grant ใส่สูทเทา ปกติผู้ชายถ้าไม่ใช่ผู้ดี (แบบประเทศอังกฤษ) การใส่สูทเต็มยศแบบนี้ออกจากบ้านทุกครั้ง แสดงว่าครอบครัวต้องมีฐานะและเข้มงวดมากๆ ซึ่งพอผมเห็นแม่ของ Thornhill ก็ไม่ผิดแน่ ดูเป็นคุณหญิงเสียขนาดนั้น, สีเทาเป็นสีที่ไม่ขาวไม่ดำ อยู่ระหว่างกลาง เป็นสัญลักษณ์แทนความไร้เดียงสา ไม่รู้ ไม่ถูกหรือไม่ผิด, ตัวละครอื่นๆในหนัง เราก็จะเห็นใส่สูทกันหมดนะครับ นางเอกก็มีชุดคลุม (Hitchcock เป็นผู้ดีชาวอังกฤษ เขาใส่สูทมาทำงานด้วย ดังนั้นหนังของเขาแทบทุกเรื่อง ตัวละครมักโดยปริยายกึ่งบังคับ ก็มักจะใส่สูท!) ช่วงท้าย เราจะเห็นพระเอกถอดสูทนอกออก ข้างในเป็นเชิ้ตสีขาว สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความถูกต้อง, หนังของ Hitchcock ทุกเรื่อง เสื้อผ้าที่ตัวละครสวมใส่จะมีความหมายสัญลักษณ์หมดนะครับ ถ้าไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ก็แสดงตัวตนที่แท้จริงของตัวละครนั้น
Eve Kendall รับบทโดย Eva Marie Saint เจ้าของรางวัล Oscar สาขา Best Supporting Actress จาก On the Waterfront (1954), ตัวละครหญิงที่ใช้เสน่ห์ยั่วยวนหลอกหล่อให้พระเอกติดกับ เอาร่างกายเข้าแลก มีคนเปรียบ Eve Marie Saint ว่าคือ Bond Girl คนแรก (ก็แน่ละ สาเหตุที่ James Bond ต้องมี Bond Girl ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวละครนี้), การแสดงของเธอถือว่าใช้ได้เลยนะครับ ผมชอบสุดในฉากงานประมูล ที่พอพระเอกเห็นแล้วว่าแท้จริงเธอเป็นใคร ด้วยน้ำเสียงเชิงเสียดสีริษยา ทำให้เธอทั้งสั่นกลัว หวั่นวิตก และเศร้าเสียใจ หลากหลายอารมณ์ในฉากเดียว น้ำตาหยดนั้นกลั่นออกมาด้วยอารมณ์สุดๆ
ตอนที่ตัวละคร Eve ปรากฎตัวครั้งแรก เธอใส่ชุดคลุมสีดำ (ข้างในสีขาว) แสดงถึงว่าความตั้งใจหวังผลร้าย แต่ข้างในลึกๆเป็นคนดี, ช่วง Mouth Rushmore เธอใส่ชุดสี… ส้ม น้ำตาล ทอง นี่เป็นปริศนามาก เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีความหมายอะไร ทีแรกคิดว่าสีแดง (ถ้าสีนี้การันตี Death Flag) แต่พอเช็คดูไม่ใช่ แฝงความหมายอะไรลองไปคิดดูเองนะครับ, ตอนจบฉากสุดท้าย ทั้ง Eve และ Thornhill ใส่สีขาวทั้งคู่ บริสุทธิ์หมดห่วงแล้ว
James Mason รับบทตัวร้าย Phillip Vandamm ลักษณะของตัวละครนี้ เป็นผู้นำองค์กรอะไรสักอย่าง กลายเป็นที่ต้องการตัวของทางการด้วยเหตุผลอะไรสักอย่าง และวางแผนเตรียมทำอะไรชั่วร้ายสักอย่าง (คำว่า ‘อะไรสักอย่าง’ สามารถมองเป็น MacGuffins ได้ทั้งหมด) ว่าไปตัวละครน่าฉงนสงสัยยิ่งเสียกว่า George Kaplan เสียอีกนะครับ, การแสดงของ Mason ก็มีความลึกลับ น่าฉงนสงสัย แต่ถ้าเป็นเรื่องผู้หญิง นี่ชัดเลยว่าข้างในเป็นคนอ่อนไหว, ผู้ช่วยของเขา Martin Landau (Ed Wood-1994 คนที่รับบท Bela Lugosi) แม้จะไม่มีอะไรเด่นมาก แต่เป็นคนจงรักภักดีมาก ใบหน้าพี่แกหลอนๆโหดๆมาตั้งแต่หนุ่มๆเลย
มีสิ่งหนึ่งที่ผมไม่เข้าใจเสียเลย คือทำไมตัวร้ายถึงมีความเชื่อแน่วแน่มากว่า Roger Thornhill คือ George Kaplan ตั้งแต่ต้นจนจบไม่เปลี่ยนแปลง
ถ่ายภาพโดย Robert Burks ขาประจำของ Hitchcock, หนังเรื่องนี้มีฉากในตำนานเยอะมาก ผมขอยกมาแค่ 3 ฉากพอนะครับ
เหตุเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ (United Nations Headquarters) ตั้งอยู่ที่ Roosevelt Island เมือง New York, แน่นอนว่าไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าไปถ่ายด้านใน (มีหนังเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน ที่ได้เข้าไปถ่ายข้างในคือ The Interpreter-2005) Hitchcock จึงถ่ายแค่ด้านนอก ส่วนฉากด้านในก็ไปสร้างฉากจำลองถ่ายทำในสตูดิโอ, มีช็อตหนึ่งของฉากนี้ที่ภาพสวยมากๆ เป็น Bird-Eye View ก้มลงมาแนวดิ่ง เห็นว่าใช้ฉากจำลองแล้ววาดภาพ (Glass Painting) แต่ความลึกของฉากนี้แบบว่าสัมผัสได้เลย นี่กลายเป็นมุมโคตรฮิตของหนังที่ถ่ายในเมืองใหญ่ ตึกสูงๆสมัยนี้เลย
ฉากทุ่งข้าวโพด (Cropduster) ที่ถือเป็นโคตรไฮไลท์ของหนัง (ใครๆก็พูดถึง) ฉากนี้ Grant ไม่ได้วิ่งหลบเครื่องบินจริงๆนะครับ ใช้เทคนิค Rear Projection ฉายภาพเครื่องบินร่อนขึ้นบนฉากด้านหลังในสตูดิโอ แล้ว Grant กระโดดหลบในเนินดินที่สร้างขึ้นมา (ไม่ได้เดินทางไปสถานที่จริงด้วยซ้ำ), ส่วนฉากที่เครื่องบินชนกับรถบรรทุก ไม่ได้ชนกันจริงๆนะครับ ใช้โมเดลจำลอง แล้วสร้างฉากขึ้นมาตอนระเบิด
สำหรับอนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์ (Mount Rushmore) อยู่บนเทือกเขา Black Hills ในเขต Keystone รัฐ South Dakota เป็นประติมากรรมแกะสลักหินแกรนิต ใบหน้าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 4 คน ประกอบด้วย George Washington, Thomas Jefferson, Theodore Roosevelt และ Abraham Lincoln, หนังได้รับอนุญาติให้ไปถ่ายที่ Mouth Rushmore แต่ห้ามเข้าไปยุ่งย่าม ปีนป่ายบนรูปแกะสลัก, กับฉากไล่ล่าที่ต้องปีนป่ายนี้ Hitchcock ใช้การบันทึกภาพจริงจากหลายๆมุมมอง แล้วไปฉาย Rear Projection กับฉากจำลองสร้างขึ้นในสตูดิโอที่ Los Angeles เพื่อให้เห็นนักแสดงปีนป่ายขึ้นไปใบหน้าของประธานาธิบดีจริงๆ, การกระทำเช่นนี้ทำให้ Interior Department ส่งเรื่องร้องขอให้ MGM ถอดเครดิตตอนท้ายของหนังออกไป เพราะเข้าใจว่า Hitchcock ทำอะไรที่ขัดต่อข้อตกลงตอนแรก
กับฉาก Mount Rushmore ใครๆคงรู้สึกได้ว่ามุมกล้องประหลาดมาก นั่นคือภาพทุกทิศทางที่สามารถถ่ายจากสถานที่จริงได้ ความน่าทึ่งของฉากนี้ คือเราจะเห็น Close-Up ใบหน้าของประธานาธิบดีอย่างใหญ่มากๆ พร้อมๆกับ Long-Shot ของตัวละครที่กำลังปีนป่ายหลบหนีอย่างไม่คิดชีวิต (ตัวเล็กกระจิดริด) นี่ถือเป็น Satire (ล้อเลียน) ประเภทหนึ่งนะครับ การเหยียบย่ำปีนป่ายใบหน้าของบุคคลสำคัญ มองได้คือการย่ำยี หลบหลู่ ไม่เชื่อถือต่อหน่วยงาน รัฐ หรือองค์กรนั้นๆ (ในที่นี้คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา)
ตัดต่อโดย George Tomasini ขาประจำของ Hitchcock, ต้องบอกว่า การตัดต่อของหนังเรื่องนี้เด่นมากๆ (จนได้เข้าชิง Oscar) ด้วยความที่ Hitchcock ขึ้นชื่นเรื่องการตัดต่อแบบ Montage จึงได้ประยุกต์เทคนิคนี้ นำมาสร้างบรรยากาศให้เกิดความรู้สึกลุ้นระทึกที่ค่อยๆทวีความตื่นเต้นขึ้นเรื่อยๆ
ในแต่ละ Sequence ของหนัง การตัดต่อจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. Establishing Shot เมื่อเริ่มซีนใหม่ทุกครั้ง Hitchcock จะเริ่มต้นจากใช้ภาพมุมกว้าง ให้เห็นภาพรวม (Overview) ของฉากโดยรอบ อาทิ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ เริ่มต้นฉากจะเห็นตึกทั้งหลัง, Mouth Rushmore เราจะเห็นรูปปั้นของ ปธน. ทั้งสีแบบเต็มๆตั้งแต่ครั้งแรกเลย ฯ, การเริ่มต้นด้วย Establishing Shot เหมือนการเกริ่นนำ แนะนำให้ผู้ชมได้รู้จักสถานที่ และเตรียมการคาดหวังว่ากำลังจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
2. Reverse Shot Pattern นี่ไม่ใช่การฉายภาพย้อนกลับนะครับ แต่เป็นการตัดต่อที่ใช้มุมมองภาพสลับไปมาระหว่าใบหน้าของตัวละคร กับภาพที่ตัวละครเห็น นี่เหมือนการตัดต่อย้อนกลับไปกลับมา ฉากไฮไลท์ของหนังเลยคือ ซีนทุ่งข้าวโพด หนังจะตัดสลับระหว่างใบหน้าของพระเอกที่กำลังมองหาไปรอบๆ กับภาพที่เขาเห็น ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่ตัดสลับกัน วนให้เราเห็นว่าสีหน้าความรู้สึก ปฏิกิริยาของเขาต่อสิ่งที่เห็นต่อหน้า นี่สร้างความระทึกให้กับหนังได้ด้วย เพราะเมื่อเร่งความเร็ว ขณะที่เครื่องบินกำลังโฉบเข้ามา ตัดไปเห็นสีหน้า นี่ไม่ปกติแน่ แล้วเริ่มออกวิ่ง ตัดไปตอนกระโดดหลบกระสุน ซีนไคลน์แม็กซ์ของฉากนี้ ขณะที่เครื่องบินร่อนลงมา แล้วพระเอกออกวิ่ง เห็นทั้งสองพร้อมกันในภาพเดียว ผมว่าฉากนี้มีความทรงพลัง ยิ่งกว่าตอนเครื่องบินชนรถบรรทุกน้ำมันอีกนะครับ
3. ช่วงจบฉาก เปลี่ยนซีน ถ้าสังเกตให้ดี เวลาจบ Sequence หนึ่งๆ การเปลี่ยนซีนจะใช้การ Fade-In Fade-Out ซึ่งให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ ไหลลื่น ต่อเนื่อง บอกให้ผู้ชมรู้ว่า นี่จบเรื่องราวหนึ่งแล้วนะ
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากในการเล่าเรื่อง คือแต่ละฉากที่ดำเนินไป ผู้ชมจะค่อยๆเรียนรู้ความจริง ความลับต่างๆจะถูกเปิดเผยทีละน้อย จากรายละเอียดหลักฐานชิ้นเล็กๆ ประติดประต่อกันในแต่ละฉาก นี่เป็นเทคนิคที่ทำให้ผู้ชมเกิดความกระตือรือร้น ใคร่อยากรู้ ค้นหาคำตอบว่าจะอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป, มีฉากหนึ่ง สักประมาณกลางเรื่อง กลางห้องประชุม ใครก็ไม่รู้หน้าตาไม่คุ้น 5-6 คน กำลังอ่านข่าว George Kaplan นี่เป็นหนึ่งในฉากที่เฉลยความจริงครึ่งหนึ่งให้ผู้ชมได้รับรู้ (ผู้ชมรู้ แต่ Thornhill ยังไม่รู้) ซึ่งเราจักได้นำเอาความเข้าใจนี้ เป็นหลักยึดมั่นไว้ แทนความเข้าใจของตัวละคร นี่เกิดเป็นอารมณ์ใหม่ของหนัง ซึ่งพอ Thornhill ได้พบความจริง เราอาจไม่ได้ตื่นเต้นไปกับเขา แต่จะตื่นตากับพฤติกรรมการแสดงออกมา, นี่ต้องชื่นชมทั้งการเขียนบท การกำกับ และการตัดต่อ ที่สามารถชักนำความคิด ความรู้สึกของผู้ชมไปในทิศทางที่ต้องการได้ แบบยอดเยี่ยมมากๆด้วย
ไฮไลท์ของการตัดต่อ ต้องบอกว่าเจ๋งโคตรๆเลยละ กับตอนจบที่ตัดข้ามมันทุกสิ่งอย่าง พอตัวร้ายหนึ่งถูกฆ่า อีกหนึ่งยอมแพ้โดนจับ แทนที่จะให้หนังจะทำให้เราเห็นว่าเรื่องราวดำเนินต่อไปเป็นยังไง Hitchcock ใช้การกระโดดข้ามทั้งหมดทุกสิ้น นำเสนอ Happy Ending แบบไม่ต้องรู้หรอกว่าระหว่างนั้นเกิดอะไรขึ้น ใครๆคงคาดเดากันเองได้ พระเอกช่วยนางเอกสำเร็จ ทั้งสองแต่งงานกัน ขึ้นรถไฟกำลังจะกลับบ้าน จะนำเสนอฉากพวกนี้ไปทำไม ตัดมาขณะอยู่บนรถไฟเลยสิ้นเรื่อง, นี่ถือเป็นเครดิตของ Hitchcock เลยนะครับ เพราะ Lehman บอกว่าในบทหนังเขาเขียนแค่ ‘the train heads off into the distance’ ไม่ได้มีรายละเอียดมากกว่านี้, Hitchcock เคยให้สัมภาษณ์ บอกว่านี่เป็นฉากตอนจบที่เขาชื่นชอบที่สุดด้วย (finest and naughtiest achievements)
เกร็ด: ขณะตัดต่อหนังเรื่องนี้ ได้ความยาว 136 นาที MGM ได้ขอให้ Hitchcock ตัดหนังออก 15 นาที จะได้ความยาว 2 ชั่วโมงเพื่อฉายได้รอบเพิ่มขึ้น ซึ่ง Hitchcock ได้ให้ Agent ของเขาเช็คสัญญาดูว่าสตูดิโอมีสิทธิ์สั่งได้หรือไม่ พอพบว่าไม่ก็ปฏิเสธที่จะตัดตามคำขอ
เพลงประกอบโดย Bernard Herrmann คอมโพเซอร์ที่ถือว่าเป็นขาประจำที่สุดของ Hitchcock กับหนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นระดับตำนาน, เพบประกอบมีทั้งความตื่นเต้น พิศวง สงสัย ฉาก Action ก็ลุ้นระทึก หวาดเสียว เน้นใช้เครื่องเป่าและเครื่องตีประกอบจังหวะ ส่วนพวกเครื่องสาย ไวโอลินจะไม่โดดเด่นสักเท่าไหร่, นี่มีนัยยะการเลือกเครื่องดนตรีด้วยนะครับ เพราะเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักแสดงถึงความทรงพลังของดนตรี (เพราะเครื่องเป่าใช้แรงลมที่ต้องใช้แรงปอด นักดนตรีต้องมีพลังอย่างมาก ผิดกับเครื่องสายที่ใช้เทคนิคและฝีมือมากกว่าพลัง) การใช้ประกอบหนัง Action ลักษณะนี้ ให้ความรู้สึกถึงการกระทำ ความรุนแรง และความสมจริงหนักแน่น, มีเซอร์ไพรส์ช่วงท้ายนิดหนึ่ง ที่อยู่ดีๆเสียงพิณดังขึ้น ตามด้วยไวโอลินหวานๆ อ๋อนี่คือตอนจบแบบ Happy Ending สินะ เปลี่ยนอารมณ์ไปเลย
กับคนที่ดูหนังของ Hitchcock มาหลายเรื่อง มักจะรู้สึก องค์ประกอบอะไรหลายๆของหนังเรื่องนี้ มันช่างดูคุ้นเคยเหลือเกิน พระเอกที่ตกอยู่ในสถานการณ์เข้าใจผิด (wrong man) แบบเดียวกับหนังเรื่อง The 39 Steps (1935), หรือฉาก Mouth Rushmore ได้อิทธิพลมาจาก Saboteur (1942) ที่เปลี่ยนสถานที่พื้นหลังเป็น Statue of Liberty, กระนั้นความเหมือนเหล่านี้ก็หาสำคัญไม่ เพราะเทคนิค วิธีการ องค์ประกอบ และรูปแบบการนำเสนอ ทำให้หนังของ Hitchcock ทุกเรื่องมีความเฉพาะตัว ดูยังไงก็เห็นไม่เหมือนหนังเรื่องอื่นแน่นอน
ผมคิดว่าความตั้งใจในหนังเรื่องนี้ของ Hitchcock คือการเปรียบเปรยถึงสงครามเย็น (Cold Wars เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1953) กับช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสับสน มึนงง เหมือนทิศของหนังที่ไม่รู้จะไปทางไหนดี การหลอกลวง ความเข้าใจผิด แท้จริงอาจไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยก็ได้, ฆาตกรรมที่สหประชาชาติ แสดงถึงความเป็นสากล, ไคลน์แม็กซ์ชองหนังกับการเหยียบย่ำใบหน้าประธานาธิบดี คือการแสดงความไม่เห็นด้วย การประกาศสงคราม เป็นเหมือนการย่ำยีประวัติศาสตร์ของชาติอเมริกา
เกร็ด: microfilm ในช่วงท้ายก็ถือเป็น MacGuffins นะครับ ถึงเราจะเห็นตัวฟีล์ม แต่ก็ไม่รู้ว่ามันฟีล์มอะไร ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร? แต่รู้ว่าถ้าปล่อยให้ตกไปอยู่ในมือของรัสเซีย อเมริกาอาจได้ลำบากแน่
ชื่อหนังขณะ Working Title คือ In A Northwesterly Direction ตอนช่วงพัฒนาบท Lehman เล่าว่า Hitchcock เป็นคนที่ตั้งชื่อหนังได้พิศดารมาก อาทิ The Man in Lincoln’s Nose จินตนาการไม่ออกเลยว่าจะเป็นยังไงถ้าหนังชื่อนี้, สำหรับชื่อหนัง North By Northwest มีคอหนังหลายคนไปสืบค้นและพบว่า อาจจะมาจากบทละคร Hamlet ของ Shakespeare ที่พูดว่า ‘I am but mad north-northwest: when the wind is southerly, I know a hawk from a handsaw.’ แต่ Hitchcock และ Lehman ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ Shakespeare แม้แต่น้อย ชื่อหนังนี้มีความหมายตรงไปตรงมา เพราะตัวเอกของหนัง เริ่มต้นการเดินทางจาก New York จากนั้นไป Chicago ต่อด้วย South Dakota และในบทร่าง(ที่ถูกถัดไป) จบลงที่ Alaska เมื่อวาดแผนการเดินทางลงบนแผนที่ ก็จะได้เส้นทางที่เริ่มจากขึ้นเหนือ แล้วล่องไปตะวันตกเฉียงเหนือ, ในอีกความหมายหนึ่งของ North by Northwest แสดงถึงสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ จะไปเหนือหรือตะวันตกเฉียงเหนือดี แบบเดียวกับเรื่องราวของหนัง
ก่อนที่ Dr.No จะถูกสร้าง ในปี 1960 Hitchcock เคยให้ความสนใจจะสร้าง Thunderball หนึ่งในนิยายชุด James Bond ของ Ian Fleming แต่สุดท้ายคงหาข้อตกลงไม่ได้ และตอน Fleming สร้าง Dr. No เห็นว่า Cary Grant ได้รับข้อเสนอให้รับบท James Bond ด้วย แต่เขาบอกปัดไป เพราะตนเองอายุมากแล้ว (ขณะนั้น Grant อายุ 58 แล้ว) บทเลยตกมาเป็นของ Sean Connery
ด้วยทุนสร้าง $4.3 ล้านเหรียญ หนังทำเงิน $9.8 ล้านเหรียญ ถือว่าได้กำไรไม่มาก เข้าชิง Oscar 3 สาขา ไม่ได้สักรางวัล (ปีนั้น Ben-Hur แทบเหมาหมด) ประกอบด้วย
– Best Writing, Story and Screenplay
– Best Art Direction-Set Decoration, Color
– Best Film Editing
กระนั้น ในโพลจัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
ติดอันดับ 40 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 1998
ติดอันดับ 55 จากการจัดอันดับ AFI: Greatest American Films Of All Time 2007
ติดอันดับ 28 จากการจัดอันดับ Cahiers du cinéma: Top 100 of all time
และติดอันดับ 53 จากการจัดอันดับ Sight & Sound: Critic’s Poll 2012
เกร็ด: Hitchcock ออกมา Cameo ตั้งแต่ฉากแรกๆของหนังเลยนะครับ เดินขึ้นรสบัสไม่ทัน
ตอนผมดู North by Northwest ครั้งแรก นี่กลายเป็นหนังโปรดเลยละ แต่พอมาดูครั้งสองสาม กลับรู้สึกไม่ได้ชื่นชอบเท่าครั้งแรกๆ นี่อาจเพราะความลี้ลับซับซ้อนของหนัง เมื่อได้ถูกเปิดเผยออกครั้งหนึ่งแล้ว มันจึงดูไม่ค่อยน่าสนใจอีกเท่าไหร่ (แบบเดียวกับ Charade เลย ดูครั้งแรกสนุกมาก ครั้งถัดๆไปไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่) สำหรับการได้ดูครั้งล่าสุดนี้ ไม่ได้ทำให้ผมชื่นชอบมากขึ้นหรือลดลงไปกว่าเดิม แต่มองเห็นเข้าใจอะไรๆมากขึ้น โดยเฉพาะเทคนิค วิธีการเล่าเรื่อง ที่แสดงถึงความสุดยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ เป็นอมตะและคลาสสิก ของทั้งหนังและผู้กำกับ Alfred Hitchcock
ถ้าคุณเป็นคอหนัง Action ชอบหนังแนวสายสืบ (Spy) ระทึกขวัญ Thriller นี่เป็นหนังที่ไม่ควรพลาดเลย, นักประวัติศาสตร์และนักปรัชญา มีอะไรสอดไส้ทั้งสัญลักษณ์ ความหมาย สงครามเย็นให้ได้คิดเยอะทีเดียว, แฟนหนัง Alfred Hitchcock, Cary Grant, Eva Marie Saint, James Mason และเพลงประกอบเพราะๆโดย Bernard Herrmann ต้องหามาดูให้ได้
แนะนำอย่างยิ่งกับนักเรียน คนทำงานสายภาพยนตร์ นี่ถือเป็นหนังเรื่องบังคับที่ควรศึกษา ทำความเข้าใจ ทุกช็อต ทุกภาพ ทุกการตัดต่อ จะเป็นประโยชน์ในสายงานมากๆ
ดู North by Northwest แล้ว หา Dr.No มาดูต่อเลยนะครับ หรือหนังแฟนไชร์ James Bond เรื่องอื่นๆ จะได้อารมณ์ต่อเนื่องมากๆ
จัดเรต PG กับฉาก Action ระทึกขวัญ
[…] North by Northwest (1959) : Alfred Hitchcock ♥♥♥♥♡ […]
อ่านสนุกมากๆครับ ขอบคุณครับ