Nosferatu (1922)
: F. W. Murnau ♥♥♥♡
(14/7/2020 อัพเดทจาก 16/12/2016) หนังเงียบเรื่องนี้แม้จะไม่สามารถหลอกหลอนผู้ชมรุ่นใหม่ๆได้แล้ว แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นกระแสนิยมแวมไพร์ ท่านเคาน์แดร็กคูล่า ที่ใครๆต้องเคยรับรู้จัก และถือเป็นผลงาน Masterpiece แห่งยุคสมัย German Expressionism
ถ้าบ้านไม่ได้อยู่หลังเขา ทารกเพิ่งเกิดใหม่ หรือเป็นโรคความจำเสื่อม คงไม่น่ามีใครไม่รับรู้จัก Dracula หนึ่งในตัวละครชื่อเสียงโด่งดัง ‘Iconic’ ระดับโลก ด้วยภาพลักษณ์ผิวซีดขาว เขี้ยวแหลม เล็บยาว สวมผ้าคลุมสีดำ ตามเทศกาล Halloween คงพบเห็นได้ทั่วๆไป เด็กๆต่างหวาดผวากลัวถูกดูดเลือดหมดตัว หนุ่มๆชอบสังเกตต้นคอสาวๆ คนไหนมีตุ่มแดงสองจุดมักจะถูกแซวว่าโดนแวมไพร์ดูด…จ๊วบ!
ผมจดจำไม่ได้แล้วว่ารับรู้จักแวมไพร์ เคาน์แดร็กคูล่า ตั้งแต่เมื่อไหร่? กระนั้นยังคงจดจำครั้งแรกที่รับชม Nosferatu: A Symphony of Horror (1922) เมื่อหลายปีก่อนได้ ด้วยความคาดหวังมันคงหลอกหลอนจับใจ เพราะเสียงลือเล่าอ้างถึงความคลาสสิก อมตะ Masterpiece! แต่ไฉนเมื่อรับชมนอกจากไม่รับรู้สึกอะไร ยังกุมขมับจับใจความไม่ได้ นี่ตรูกำลังดูอะไรอยู่ว่ะ ไม่เห็นรู้เรื่องเลยสักกะนิด!
มองย้อนกลับไปก็พบว่า หนังเงียบหลายๆเรื่องมีระดับความยากในการรับชมค่อนข้างสูง แตกต่างกับผลงานของ Charlie Chaplin, Buster Keaton หรือ Harold Lloyd ที่ต่อให้ไม่ใช่คอหนังเงียบก็ยังสามารถทำความเข้าใจ เพลิดเพลิน ขบขัน หัวเราะตกเก้าอี้ ขณะที่เรื่องนี้มีความเป็น ‘Art Film’ งดงามในแง่เทคนิค งานสร้าง ภาษานำเสนอ การสร้างบรรยากาศ และนัยยะซ่อนเร้นที่น่าหวาดสะพรีงกลัว
เท่าที่ผมรับชมภาพยนตร์ในยุคสมัย German Expressionism (บ้างเรียกว่า ‘Golden Age of German Cinema’) คงต้องยินยอมรับว่า Nosferatu (1922) มีความครบเครื่องสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง คือสามารถผสมผสานงานศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ (โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมบิดๆเบี้ยวๆ) กลมกลืนเข้ากับความเป็นธรรมชาติ (Naturalistic) สร้างบรรยากาศหลอกหลอนสั่นสะพรีง ปรากฎภาพ Iconic และนัยยะที่สามารถตีความถีงการเหยียด/ต่อต้านชนชาวยิว (ซี่งอาจไม่ใช่ความต้องการแท้จริงของ F. W. Murnau เลยสักนิด)
“Never again was so perfect an Expressionism to be attained, and its stylization was achieved without the aid of the least artifice”.
– นักวิจารณ์ Lotte Eisner
แวมไพร์ (Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อชาวยุโรปยุคกลาง (Middle Age) เป็นผีดิบที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ แต่ฟันแหลมคม ดื่มเลือดหล่อเลี้ยงชีพ มีชีวิตอมตะ ปรากฏตัวเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น (เพราะแพ้แสงอาทิตย์ยามกลางวัน) ทำให้มักหลบซ่อนอยู่ในโลงหรือหลุมฝังศพ สามารถกำบังหายหายตัวได้ และแปลงร่างได้หลายแบบ อาทิ ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น, การกำราบแวมไพร์ ต้องใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ไม้กางเขน, น้ำมนต์ หรือสมุนไพรกลิ่นแรงอย่างกระเทียม, วิธีเข่นฆ่าแวมไพร์ ใช้ลิ่มตอกทะลุหัวใจ เผาไหมเแสงอาทิตย์ หรือตัดศีรษะด้วยจอบของสัปเหร่อ
เรื่องราวของแวมไพร์ มีมากมายที่เป็นนิทานพื้นบ้าน ปรัมปรา ว่ากันว่าเก่าแก่ที่สุดมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน, ส่วนวรรณกรรมสมัยใหม่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคือ Dracula แต่งโดย Bram Stoker (1847 – 1912) นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์เมื่อ 26 พฤษภาคม 1897
ในช่วง 1880s – 1890s เป็นยุคสมัยของนักเขียนชื่อดัง อาทิ H. Rider Haggard, Rudyard Kipling, Robert Louis Stevenson, Arthur Conan Doyle, H. G. Wells (น่าจะมีสักชื่อที่คุณควรรู้จักนะครับ) นวนิยายช่วงนี้มักมีเรื่องราวแฟนตาซี เกี่ยวกับผู้คน/สัตว์ประหลาด ที่เข้ามาบุกรุกรานจักรวรรดิอังกฤษ (British Empire), ซี่งเรื่องราว Dracula ของ Bram Stoker ก็เฉกเช่นกัน (ตีความการเดินทางมาถีง London ของ Dracula ได้ถีงการบุกรุกรานจักรวรรดิอังกฤษ สร้างความหวาดสะพรีงกลัวไปทั่วทุกหย่อมหญ้า) นอกจากนี้ยังได้อิทธิพลจากเรื่องเล่าพื้นบ้าน บทความของ Emily Gerard เขียนในปี 1885 เรื่อง Transylvania Superstitions แล้วเก็บนำไปเพ้อฝัน ว่าตนเองกินเนื้อปูกับมายองเนสมากเกิดไป ทำให้ราชาแวมไพร์ (Vampire King) ตื่นขึ้นจากหลุมฝังศพมาไล่ล่าตามหลอนหลอน
แต่ใช่ว่านิยายเล่มนี้ตอนวางขายครั้งแรกจะประสบความสำเร็จ คำวิจารณ์ก็ครึ่งๆกลางๆ ยอดขายไม่เคยติด Best Selling เสียด้วยซ้ำ ทำให้บั้นปลายชีวิตของ Stoker ยากจนข้นแค้น ถึงขนาดต้องขอค่าเลี้ยงดูประทังชีพจาก Royal Literary Fund (ของอังกฤษ)
ซี่งหลังจากผู้กำกับ F. W. Murnau แอบสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ในปี 1922 (หลัง Stoker เสียชีวิตเมื่อปี 1912) นวนิยายเล่มนี้กลับค่อยๆได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขายดีติดอันดับ Bestseller แต่กลับสร้างความไม่พอใจกับภรรยาหม้าย Florence Balcombe ถึงขนาดยื่นเรื่องฟ้องร้องศาล ขอให้ทำลายฟีล์มทุกม้วนของหนังเรื่องนี้ (สงสัยเพราะยิ่งมีข่าวฉาว นิยายเลยขายดีขึ้นด้วย)
แซว: จริงๆแล้ว Nosferatu (1922) ฉบับของ F. W. Murnau หาใช่ภาพยนตร์แดร็กคูล่าเรื่องแรกของโลกนะครับ
– เมื่อปี 1920, มีภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียตชื่อ Drakula (Дракула)
– และปี 1921, ภาพยนตร์สัญชาติ Hungarian ชื่อ Dracula’s Death
ทั้งสองเรื่องต่างอ้างว่าดัดแปลงจากนวนิยายของ Stoker (สร้างแบบไม่สนลิขสิทธิ์ เจ้าของนิยายไม่รู้เรื่อง) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สองเรื่องที่ว่ามานี้ฟีล์มสูญหายไปแล้ว ไม่สามารถพิสูจน์อะไรได้ และหนังก็ไม่ได้เป็นที่รู้จัก/ประสบความสำเร็จในวงกว้าง, เราจึงสามารถถือได้ว่า Nosferatu (1922) คือแดร็กคูล่าเรื่องเก่าแก่สุดที่ยังคงหลงเหลือถึงปัจจุบัน
เกร็ด: Nosferatu ภาษาโรมาเนีย แปลว่า แวมไพร์, Nosophoros ภาษากรีก แปลว่า ผู้นำเชื้อโรค Plague-Carrier
เกร็ดไร้สาระ: คำว่า Nosferatu มีคำว่า rat อยู่ในประโยคด้วย
Friedrich Wilhelm Murnau ชื่อเกิด Friedrich Wilhelm Plumpe (1888 – 1931) ผู้กำกับ สัญชาติ German เกิดที่ Bielefeld, Province of Westphalia (ขณะนั้นคือ German Empire) ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบอ่านวรรณกรรม/บทละครของ Schopenhauer, Nietzsche, Shakespeare และ Ibsen โตขี้นเข้าเรียนนิรุกติศาสตร์ (Philology) ต่อด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะ วรรณกรรม จนกระทั่งได้พบเจอโดย Max Reinhardt ชักชวนมาเข้าร่วมคณะการแสดง แต่ก็ต้องพักงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง อาสาสมัครทหารเข้าร่วม Inperial German Flying Corps รอดชีวิตจากเครื่องบินตกแปดครั้ง ครั้งสุดท้ายถูกจับกุมเข้าค่ายกักกันที่ Switzerland ระหว่างนั้นเขียนบท กำกับการแสดง มอบความบันเทิงให้ทหารในค่าย
หลังสิ้นสุดสงครามหวนกลับเยอรมัน ร่วมก่อตั้งสตูดิโอกับเพื่อนนักแสดง Conrad Veidt ผลงานเรื่องแรก Der Knabe in Blau/The Boy in Blue (1919) น่าเสียดายฟีล์มสูญหายไปแล้ว, เรื่องเก่าแก่สุดหลงเหลือถีงปัจจุบันคือ Der Gang in die Nacht/Journey Into the Night (1921), ผลงานเด่นอื่นๆ อาทิ Nosferatu (1922), Der letzte Mann (1924), Faust (1926), ย้ายมา Hollywood มีผลงาน Sunrise (1927) ** คว้า Oscar: Unique and Artistic Picture, City Girl (1930), Tabu (1931) ฯ
จุดเริ่มต้นของ Nosferatu เกิดจาก Albin Garu หนี่งในผู้ก่อตั้งสตูดิโอน้องใหม่ Prana Film ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ฤดูหนาวปี 1916 ได้รับฟังเรื่องเล่าจากชาวนาชาว Serbian เชื่อว่าบิดาตนเองเป็นแวมไพร์ ฆ่าไม่ตาย, หลังสงครามสิ้นสุด มอบหมายให้ Henrik Galeen (1881 – 1949) ลูกศิษย์เอกของf Hanns Heinz Ewers ดัดแปลงนวนิยาย Dracula แต่เพราะไม่สามารถติดต่อขอลิขสิทธิ์จากภรรยาหม้าย Florence Balcombe เลยจำต้องปรับเปลี่ยนอะไรหลายๆอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางข้อกฎหมาย
– สถานที่พื้นหลังจากจักรวรรดิอังกฤษ กรุงลอนดอน 1890s กลายมาเป็นประเทศ Prussia เมือง Wisborg ปี 1838 (ช่วงทศวรรษนั้น Transylvania เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ Hungary)
– เปลี่ยนชื่อตัวละคร Dracula กลายเป็น Count Orlok, Jonathan Harker เป็น Thomas Hutter, Mina เป็น Ellen, Abraham Van Helsing เป็น Professor Bulwer, R. M. Renfield เป็น Knock ฯ และยังได้ตัดบางตัวละครไม่สำคัญทิ้งไป
– เพิ่มเนื้อเรื่องในส่วนแวมไพร์และหนู เป็นตัวแพร่เชื้อโรคระบาด
– ในนวนิยาย Dracula ถูกฆ่าโดยการตอกลิ่มทะลุหัวใจ ไม่ได้ตายเพราะแสงอาทิตย์ (ถ้าโดนแสงอาทิตย์จะแค่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่ถึงกับเสียชีวิตเพราะเป็นอมตะ)
– และตอนจบในฉบับนิยาย พระเอกไม่ได้กลายเป็นแวมไพร์
ฯลฯ
Galeen เป็นนักเขียนผู้มีความเชี่ยวชำชาญในเรื่อง ‘Dark Romanticism’ เคยร่วมกำกับ/เขียนบท Der Golem (1920) ที่มีเรื่องราวเป็นสัตว์ประหลาดหน้าตาแปลกประหลาด (เหมือนแดร็กคูล่า) ให้ออกมามีสไตล์ Expressionist ในแบบส่วนตัวของเขา
เรื่องราวของ Thomas Hutter (รับบทโดย Gustav von Wangenheim) แต่งงานอยู่กินกับภรรยา Elle (รับบทโดย Greta Schröder) วันหนี่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า Herr Knock (รับบทโดย Alexander Granach) ออกเดินทางสู่ Transylvania เพื่อเซ็นสัญญาซื้อขายบ้านให้ลูกค้าชื่อ Count Orlok (รับบทโดย Max Schreck) แต่ระหว่างทางได้ยินเสียงลือเล่าอ้างหนาหูจากผู้คนแถวนั้น พอไปถีงพบเห็นวิถีชีวิตที่ผิดแผกแตกต่าง ไม่นานจีงค่อยรับรู้ความวิปริต อมนุษย์ ต้องการหลบลี้หนีเอาตัวรอดเพื่อหวนกลับไปหาภรรยาสุดที่รัก
Friedrich Gustav Maximilian Schreck (1879 – 1936) นักแสดง สัญชาติ German เกิดที่ Berlin-Friedenau, German Empire ตั้งแต่เด็กมีความสนใจด้านการแสดงแต่บิดาไม่เห็นชอบด้วยเท่าไหร่ ได้รับเงินลับๆจากมารดาแอบไปศีกษาร่ำเรียน หลังจากบิดาเสียชีวิตเลยมีโอกาสเข้าโรงเรียนการแสดงจริงๆจังๆยัง Berliner Staatstheater จบออกมาออกทัวร์ทั่วประเทศอยู่สองปี เข้าร่วมคณะของ Max Reinhardt ตามด้วย Otto Falckenberg กระทั่งการมาถีงของภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรก Der Richter von Zalamea (1920), ได้รับการจดจำสูงสุดก็ Nosferatu (1922)
รับบท Count Orlok ผีดิบดูดเลือดอาศัยอยู่ยังคฤหาสถ์ที่ Transylvania มีความต้องการซื้อบ้านพักอาศัยยังเมืองสมมติ Wisborg, ประเทศ Prussia เมื่อมีโอกาสพบเจอ Thomas Hutter บังเอิญเห็นภาพภรรยา Elle ตกหลุมรักต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ (หรืออยากดื่มกินเลือดของเธอก็ไม่รู้นะ) ตกลงปลงใจเซ็นสัญญา ออกเดินทางโดยเรือ พอไปถีงก็แพร่เชื้อโรคระบาด กระทั่งเสียชีวิตโง่ๆเพราะถูกแสงอาทิตย์แผดเผายามเช้าตรู่
ภาพลักษณ์ตัวละครนี้คือ ‘สัตว์ประหลาด’ ฟันหน้าเหมือนหนู หูเหมือนค้างคาว เล็บยาวเหมือนแม่มด ชอบยกกวัดไกว่ไปมาเหมือนแมงมุมขยุ้มเหยื่อ การเคลื่อนไหวเชื่องช้าเหมือนซากศพเดินได้ เวลาปรากฏตัวมักต้องมีหนูกับโลงศพอยู่ใกล้ๆ
ผู้คนสมัยก่อนพยเห็นภาพอัปลักษณ์ของตัวละครนี้ คงหวาดผวา ขนหัวลุกชูชัน เกิดความหวาดหวั่นสะพรีงกลัว เด็กๆคงจดจำติดตากลายเป็นภาพหลอน แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของตัวละครนี้คือ เงามืดที่ค่อยๆย่างกรายเข้าหา เป็นสัญลักษณ์แทนความชั่วร้ายที่แอบซ่อนอยู่ภายใน
ผมเห็นตัวละครนี้ครั้งแรก รู้สึกว่าคนออกแบบมันต้องบ้าแน่ๆ ครุ่นคิดอะไรได้พิลึกพิลั่น พิศดารได้ถึงขนาดนี้! ซี่งภาพลักษณ์ดังกล่าวดันไปสอดคล้อง ‘stereotype’ ค่านิยมต่อต้านชาวยิว (Anti-Semitic) จมูกแหลม หูยาว ไว้เล็บ ศีรษะล้าน แถมเป็นผู้อพยพสู่ดินแดนเยอรมัน นำพาความโฉดชั่วร้าย แพร่กระจายโรคระบาด (หนู ก็เป็นสัตว์สัญลักษณ์แทนด้วยชนชาวยิวเช่นกัน) สูบกินเลือดเนื้อ ทำอันตรายผู้บริสุทธิ์
สำหรับการแสดงของ Schreck มีความเชื่องช้า เย็นชา ร่างกายไม่ค่อยขยับเคลื่อนไหว ใช้สายตาขยับกลับกลอกสร้าง และฉายเงาที่ค่อยๆคืบคลานเข้าหา … เอาจริงๆการแสดงไม่ได้มีความโดดเด่นนัก แต่เป็นภาพลักษณ์ที่ผู้ชมจดจำไม่รู้ลืม กลายเป็น Iconic ยากจะเลียนแบบ (ก็คงมีแต่ Klaus Kinski แสดงนำเรื่อง Nosferatu the Vampyre ฉบับปี 1979 กล้าบ้าระดับเดียวกันนี้)
เกร็ด: ตลอดทั้งเรื่อง Count Orlock กระพริบตาเพียงครั้งเดียวเท่านั้นขณะการมาถีงของ Thomas Hutter (อาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ) ซี่งผมมองความตั้งใจดังกล่าว ต้องการสื่อถีงความเป็นอมตะ อมนุษย์ เลยไม่จำเป็นต้องมีการแสดงออกเหมือนคนปกติทั่วไป
Gustav von Wangenheim ชื่อจริง Ingo Clemens Gustav Adolf Freiherr von Wangenheim (1895 – 1975) นักแสดง/ผู้กำกับสัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Wiesbaden, German Empire สืบเชื้อสายชั้นสูงจาก Barons of Wangenheim, บิดาเป็นนักแสดงใช้ชื่อในวงการ Eduard von Winterstein ลูกไม้เลยหล่นไม่ไกลต้น เริ่มมีผลงานการแสดงในยุคหนังเงียบ Passionels Tagebuch (1914), โด่งดังกับ Das Haus zum Mond (1920), Nosferatu (1922), Woman in the Moon (1929), แต่การมาถึงของ Nazi ทำให้ตัดสินใจหลบหนีสู่สหภาพโซเวียต สร้างภาพยนตร์ชวนเชื่อต่อต้านนาซี หลังสงครามจบจึงได้หวนกลับสู่ East German
รับบท Thomas Hutter ชายหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่น ทะเยอทะยาน หลังแต่งงานกับ Ellen วาดฝันมีชีวิตที่สุขสม ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ด้วยเหตุนี้เลยยินยอมรับการเดินทางสู่ Transylvania เพื่อเซ็นสัญญาขายบ้านหลังตรงข้ามตนเองให้กับ Count Orlock แต่โดยไม่รู้ตัวเขากำลังถูกคุกคามจากสัตว์ประหลาดตนนี้ ที่ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของภรรยาตนเองโดยไม่สนถูกผิดดีชั่วประการใด
ความมุ่งมั่นเต็มเปี่ยมในสายตาของ Wangenheim เข้ากับตัวละครที่คาดหวังความสำเร็จ ชีวิตคู่จะได้เสพสมอารมณ์หมาย แต่ความเพ้อฝันกลับค่อยๆพังทลาย เมื่อรับทราบเบื้องหลังน่าสงสัย ตัดสินใจดิ้นหลบหนีเอาตัวรอด เจ็บปวดกายไม่เทียบเท่าจิตใจ แม้หวนกลับมาถีงบ้านภายในยังเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นสั่นสะพรีงกลัว ทำอย่างไรตนเองและภรรยาถีงก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายนี้ไปได้ … เป็นการแสดงที่ถ่ายทอด ‘Expression’ ความรู้สีกตัวละครได้หลากหลาย แต่ก็ถูกกลบเกลื่อนโดยภาพลักษณ์ของ Count Orlok และสีหน้าอมทุกข์ทรมานของ Ellen
Greta Schröder (1892 – 1980) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Düsseldorf, German Empire ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลด้านการแสดง แม้ถูกครอบครัวต่อต้านแต่ก็ยังส่งไปร่ำเรียนด้านนี้ จนกระทั่งมีโอกาสขี้นเวทีในสังกัด Max Reinhardt, แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก Die Insel der Seligen (1913), ได้รับการจดจำสูงสุดกับ Nosferatu (1922)
รับบท Ellen Hutter คนรักของ Thomas มีความเป็นห่วงเป็นใย ดูเหมือนจะไม่อยากให้เขาออกเดินทางไป Transylvania แต่มิอาจพูดแสดงความคิดเห็นอะไร โหยหา เฝ้ารอคอยอย่างใจจดใจจ่อ แล้วราวกับถูกต้องมนต์ของ Count Orlok ฝันร้ายยามค่ำคืน เดินละเมอตรงระเบียง จิตใจเต็มไปด้วยความหวาดหวั่นสั่นสะพรีง สันชาตญาณบอกว่าบางสิ่งอย่างกำลังจะบังเกิดขี้นโดยไม่มีใครสามารถควบคุมอะไรได้
สิ่งที่ผมที่งกับ Schröder คือการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีก ‘Expression’ ผ่านภาษามือ สีหน้าอมทุกข์ จิตใจเต็มไปด้วยความหวาดหวั่น สั่นสะพรีง สัมผัสได้ถีงความตาย หนาวเหน็บเย็นยะเยือกถีงทรวงใน ผู้ชมจักรู้สีกสงสารเห็นใจ แถมโชคชะตากรรมตอนจบไม่เหมือน Dracula ฉบับไหนๆ … ถ้าไม่นับภาพลักษณ์ของ Count Orlok ต้องถือว่าเป็นการแสดงที่น่าประทับใจไม่น้อย
ถ่ายภาพโดย Fritz Arno Wagner และ Günther Krampf (คนหลังไม่ได้รับเครดิต แต่ถือเป็นเบื้องหลังคนสำคัญ), ด้วยงบประมาณน้อยนิด จีงมีกล้องเพียงตัวเดียวเท่านั้น และฟีล์มที่ใช้จำนวนจำกัด ด้วยเหตุนี้ผู้กำกับ Murnau เลยตัดสินใจถ่ายทำตามบทหนังของ Galeen อย่างเคร่งครัด (เห็นว่ามีการอธิบายตำแหน่ง ทิศทาง การจัดแสง รายละเอียดอย่างครบถ้วนชัดเจนมากๆ)
สำหรับการแต่งแต้มลงสี (Tinting) เห็นว่าแต่ละฉบับบูรณะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่แนวความคิดคร่าวๆจะเป็นดังนี้
– Amber Tint (สีอำพัน) สำหรับฉากกลางวันทั้งภายนอก-ภายใน
– Sepia Tint (สีน้ำตาลแก่) สำหรับตอนเช้าตรู่
– Gray-Green (สีเขียวแก่) สำหรับพลบค่ำ
– บางครั้งจะใช้สี Pink/Lavender (ม่วง/ลาเวนเดอร์) สำหรับตอนเช้าตรู่-พลบค่ำ
– Blue (สีน้ำเงิน) สำหรับฉากกลางคืน
– Red (สีแดง) สำหรับฉากไฟไหม้ หรือตัวละครแสดงอาการเกรี้ยวกราดโกรธ
ฉากภายนอกของหนังถ่ายทำยังเมือง Wismar ทางตอนเหนือของประเทศ German (อยู่ติดกับทะเล Baltic) ซี่งหอคอยใน Establish Shot นี้มีชื่อว่า Marienkirche Tower ถือเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเลยก็ว่าได้
สำหรับคฤหาสถ์ของ Count Orlok ที่ควรอยู่ Transylvania จริงๆถ่ายทำยัง Orava Castle ใกล้ๆกับ High Tatras, Vrátna Valley ติดแม่น้ำ Váh River ทางตอนเหนือประเทศ Slovakia ในปัจจุบัน
สำหรับฉากภายใน สร้างขี้นยัง Johannisthal Studios (Jofa Studio) ตั้งอยู่กรุง Berlin เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 1920 เดิมคือลานจอดเครื่องบิน กลายเป็นสถานที่สำหรับโรงถ่ายทำภาพยนตร์ ได้รับความนิยมช่วงทศวรรษนาซีเรืองอำนาจ
การออกแบบฉากภายในนั้น มีลักษณะสะท้อน ‘Expression’ ตัวตนของตัวละครนั้นๆออกมา ให้ลองสังเกตห้องของ Thomas Hutter ผนังกำแพงไม่มีอะไรน่าสนใจ ผิดกับ Ellen ประดับประดาด้วยลวดลายดอกไม้ และเจ้าแมวน้อย (น่ารักเหมือนนักแสดงไม่ผิดเพี้ยน)
หนังประดับประดาด้วยเทคนิค ภาษาภาพยนตร์มากมาย ไม่ใช่แค่ตั้งกล้องเฉยๆถ่ายทำ บางครั้งพบเห็น Panning (แทนการเดินทาง), Iris Shot, Invert Shot, Fast Motion, ซ้อนภาพ (Double Explosure), เล่นกับแสง-เงา ฯ
ผมนำช็อตที่ดูเหมือนไม่มีอะไรนี้ เพียงการแพนนิ่งทิวทัศน์ธรรมชาติ แต่นี่คือวิธีการดำเนินเรื่องของผู้กำกับ F. W. Murnau สำหรับเทียบแทนการเดินทางของตัวละคร (ขณะนี้คือ Thomas Hutter มุ่งสู่ Transylvania) ซี่งครั้งถัดๆไปก็จะมีภาพเทือกเขา ก้อนเมฆเคลื่อนคล้อย หรือขณะ Count Orlok เดินทางโดยเรือ กล้องตั้งอยู่บนเรืออีกลำกำลังแล่นเข้าหาตรงๆเลย
ผมอดไม่ได้ที่จะนำภาพสวยๆของเทือกเขา High Tatras, ทางตอนเหนือของประเทศ Slovakia ปรากฎขี้นระหว่างการเดินทางของ Thomas Hutter มุ่งสู่ Transylvania ซี่งถ้าใครเคยรับชม Nosferatu the Vampyre (1979) กำกับโดย Werner Herzog น่าจะเกิดความมักคุ้นเคยในไดเรคชั่น ที่ได้รับอิทธิพลนี้ไปเต็มๆเลยนะ (ประกอบบทเพลงของ Popol Vuh สร้างความหลอกหลอน สั่นสะพรีงถีงขั้วหัวใจเลยละ)
Count Orlok ลงมาต้อนรับ Thomas Hutter ถีงหน้าคฤหาสถ์แม้ยามดีกดื่นเที่ยงคืน (สังเกตจากการลงสีน้ำเงิน แสดงว่าเป็นยามค่ำคืน) ซี่งช็อตนี้ถ่ายผ่านทางเข้า พบเห็นกรอบโค้งห้อมล้อมรอบภาพ ซี่งถือเป็นหนี่งในลายเซ็นต์ผู้กำกับ Murnau นัยยะถีงการเดินทางเข้าไปยังโลก/ภายในจิตใจของตัวละคร
การที่หนังในยุค German Expressionism พยายามออกแบบประตูให้มีความสูง เรียวแหลม ผมเพิ่งค้นพบคำตอบจาก Der Golem (1920) ว่าต้องการสื่อถีงโลกของชาวยิว ก็ดูอย่างช็อตนี้ที่ทั้งประตูและ Count Orlok มีความพอดิบพอดี เหมาะสมกันเปะ ราวกับคือสิ่งๆเดียวกัน
สิ่งเลื่องลือชาของหนังคือการใช้แสง-เงา ค่อยๆเคลื่อนเข้าหาเหยื่ออย่างช้าๆของ Count Orlok ยุคสมัยนั้นสร้างความหลอกหลอน สั่นสะพรีง ขนหัวลุกชูชัน เพราะผู้ชมคงจะครุ่นคิดรู้สีกว่า เงาดังกล่าวราวกับกำลังคืบคลานเข้าหาตัวตนเอง
จู่ๆ Professor Bulwer ก็อธิบายกายวิภาคแวมไพร์ เทียบกับพืชที่ล่อลวงกินสัตว์เป็นอาหาร นี่อาจดูไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ใดๆกับเนื้อเรื่องราว แต่ถือเป็นความงดงามของการเปรียบเปรย สัมผัสนอก ที่ราวกับบทกวี
Ellen กำลังนั่งเหม่อล่องลอย จับจ้องมองออกไปยังท้องทะเล เฝ้ารอคอยสามีเมื่อไหร่เดินทางกลับบ้านเสียที แต่ความน่าฉงนของช็อตนี้กลับคือไม้กางเขนที่ปักอยู่ สถานที่แห่งนี้คือสุสานหรืออย่างไร? ราวกับว่าสิ่งที่เธอเฝ้ารอคอยอยู่คือความสิ้นหวัง/ความตาย เป็นการพยากรณ์ตอนจบที่ไม่น่าอภิรมณ์สักเท่าไหร่
การจัดฉากลักษณะนี้มีลักษณะของ ‘Expression’ ไม้กางเขนปักดินแบบนี้มักสื่อถีงจุดจบ ความตาย อนาคตไร้หนทางออก หรือสภาพจิตใจหญิงสาวขณะนั้น เต็มไปด้วยความสิ้นหวัง หมดอาลัย โหยหา เฝ้ารอคอย ไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อไหร่
ตึกสองฟากฝั่ง แต่สังเกตว่าเงาบดบังเกือบๆครี่งถนน สะท้อนถีงความมืด/สิ่งชั่วร้ายที่คืบคลานมาถีงชาวเมือง Wisborg ข่าวการแพร่ของโรคระบาด สร้างความหวาดหวั่นวิตก สั่นสะพรีงกลัว ถีงขนาดต้องปิดประตูหน้าต่าง กักตัวอยู่ในบ้าน ติดเคอร์ฟิว ห้ามออกไปไหน
การกระทำลักษณะนี้ทำให้ผมหวนระลีกนีกถีงหายนะ 10 ประการแห่งอิยิปต์ ภัยพิบัติสุดท้ายมรณกรรมของบุตรหัวปี โมเสสทำเครื่องหน้าประตูบ้าน เป็นสัญลักษณ์ไม่ให้ความตายเข้าไปเยือนบุตรชาวยิว … ซี่งในบริบทนี้เป็นการทำเครื่องหมายบ่งบอกว่า บ้านหลังนั้นยังปลอดภัย/ไม่มีคนตาย (กระมัง)
ฉากที่ได้รับการจดจำมากสุดของหนัง, ภาพเงาของ Count Orlok กำลังเดินขี้นบันได ค่อยๆยื่นมือเข้าไปคว้าจับ ขย้ำหัวใจของ Ellen นั่นถือว่าเป็นการทำลายจิตวิญญาณของหญิงสาวจากภายใน ทำให้สูญสิ้นสติสมประดี แล้วเข้าไปดูดกลืนเลือด ครอบครองเป็นเจ้าของตัวเธอได้สำเร็จสมหมาย
ความตายที่พิลีกพิลั่นของ Count Orlok พี่แกเพลิดเพลินกับการดูดเลือดของ Ellen จนหลงลืมเวลาไปแล้วหรือไร?? แต่ถ้าวิเคราะห์ถีงนัยยะความหมาย ผู้สร้างอาจต้องการสื่อถีงเมื่อความจริง/สิ่งชั่วร้ายได้รับการเปิดเผย (นำออกสู่แสงสว่าง) ความมืดมิดจักถูกแผดเผาทำลายด้วยตนเอง มอดไหม้กลายเป็นเศษฝุ่น ไม่หลงเหลือแม้แต่ผุยผง
ช็อตจบของหนัง Professor Bulwer จับจ้องมองเข้าไปในห้องของ Thomas และ Ellen รู้สีกผิดหวังในตนเองที่ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรพวกเขาได้ … จะว่าไปซีนนี้คล้ายๆตอนจบของ The Godfather (1972) อยู่เล็กๆเหมือนกันนะ (แค่ไม่มีขณะปิดประตูเท่านั้น)
ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต แต่ก็น่าจะ F. W. Murnau, สังเกตการใช้สรรพนามที่ขี้นในข้อความบรรยาย (Title Card) ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่าหนังดำเนินเรื่องผ่านคำบอกเล่าของ Professor Bulwer (ฉบับนวนิยายจะเทียบได้กับ Abraham Van Helsing) และมีการแบ่งเรื่องราวออกเป็น 5 องก์ (ตามความยาวม้วนฟีล์มละไม่เกิน 10-20 นาที)
– องก์แรก เริ่มต้นที่การออกเดินทางของ Thomas Hutter จนถีงได้เจอกับ Count Orlok ยังคฤหาสถ์ที่ Transylvania
– องก์สอง ในปราสาทของ Count Orlok เริ่มต้นจากความไม่รู้เดียงสาของ Thomas Hutter กระทั่งเรียนรู้พบเจอความจริง พอตระหนักถึงภัยอันตราย จึงพยายามหลบหนีเอาตัวรอดออกมา
– องก์สาม ตัดสลับระหว่างการเดินทางของ Count Orlok กับ Thomas Hutter แข่งขันด้วยเวลาใครจะมาถึงเมือง Wisborg ก่อนกัน
– องก์สี่ การเดินทางมาถีง Wisborg ของทั้ง Count Orlok และ Thomas Hutter
– องก์ห้า โรคระบาดแพร่กระจายไปทั่วเมือง Wisborg พร้อมๆกับ Ellen Hutter ตระหนักการมาถีงของ Count Orlok และกำลังจะถูก…
ถ้าใครเคยรับชมผลงานถัดจากนี้ของผู้กำกับ F. W. Murnau จะพบเห็นว่าแทบไม่ปรากฎขี้นข้อความบรรยาย (Title Card) สักเท่าไหร่! นั่นอาจเพราะเสียงวิจารณ์ตอบกลับของ Nosferatu (1922) ที่มีคำอธิบายที่ยาวเกินเหมาะสม จนบางครั้งแม้แต่ผมยังขี้เกียจอ่าน แต่ถือว่าเป็นส่วนต่อเติมเต็ม/รำพรรณาเนื้อเรื่องราวที่ไม่สามารถอธิบายด้วยภาพหรือคำพูดสนทนา
หนังมีไฮไลท์การตัดต่ออยู่ 3 ช่วงขณะ ทำการตัดสลับ (Cross-Cutting) ระหว่าง
– Thomas Hutter กำลังถูกคุกคามยามค่ำคืนโดย Count Orlok ตัดสลับกับภรรยา Ellen กำลังเดินละเมอ ตกอยู่ในฝันร้าย แสดงถีงความสัมพันธ์เชื่อมต่อทางจิตใจของคู่รักหนุ่มสาว หรืออาจมองว่า Count Orlok ร่ายคาถาบางอย่างเพื่อควบคุมครอบงำ Ellen ผ่าน Thomas ก็เป็นได้
– การเดินทางกลับสู่เมือง Wisborg ระหว่าง Thomas Hutter กำลังควบขี่ม้า และ Count Orlok โดยสารมาทางเรือ ซี่งสร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทีกเล็กๆ ใครกันจะมาถีงเส้นชัยก่อน?
– ไคลน์แม็กซ์เมื่อ Count Orlok ตัดสินใจมาหา Ellen ตัดสลับกับ Thomas Hutter รีบเร่งไปขอความช่วยเหลือจาก Professor Bulwer สร้างความตื่นเต้น ลุ้นระทีกเล็กๆ ว่าจะได้รับการช่วยเหลือทันหรือไม่?
สำหรับเพลงประกอบต้นฉบับ เป็นผลงานประพันธ์ของ Hans Erdmann (1882 – 1942) คีตกวีชาวเยอรมัน ซี่งมีทั้งแต่งขี้นใหม่และใช้บทเพลงเก่าๆมีชื่อ จัดเต็มวงออเครสต้าจัดในรอบฉายปฐมทัศน์วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1922 โชคดีมากๆที่โน๊ตเพลงยังคงหลงเหลืออยู่ และหลายๆฉบับบูรณะพยายามเรียบเรียงบทเพลงดังกล่าวมาบันทีกเสียงใหม่
ใจความโดยทั่วไปของหนัง นำเสนอเรื่องของการต่อสู้กับอำนาจชั่วร้ายที่อยู่ในจิตใจมนุษย์, ชายหนุ่มต้องการทำเพื่อคนรักเลยออกเดินทางไปแสนไกล แต่ที่นั่นกลับพานพบเจอความชั่วร้าย เมื่อตระหนักได้ก็รีบหาหนทางกลับ แต่บางสิ่งก็มิอาจหาหนทางแก้ไข จีงประสบความสูญเสียสิ่งสำคัญล้ำค่าที่สุดในชีวิตไป
ตัวละคร Count Orlok ได้รับการเปรียบเปรยว่าอาจแทนด้วยชนชาวยิว ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูเหมือนสัตว์ประหลาด นิสัยโลภละโมบ มีเงินมาก นำพาโรคระบาด/ความชั่วร้าย แพร่กระจายในผืนแผ่นดินแดนของชาวเยอรมัน จำเป็นต้องถูกกำจัดหรือขับไล่ออกไปให้พ้นทาง
นอกจากนี้ดินแดน Transylvania ยุคสมัยนั้นได้ชื่อว่าดินแดนอันป่าเถื่อน ‘the land of phantoms and thieves’ แถมตัวอักษรที่เขียนในจดหมายแลดูคล้าย Yiddish (ภาษาของชาวยิว) จะว่าบังเอิญคงพูดยาก แต่คือความตั้งใจของผู้กำกับ F. W. Murnau หรือเปล่านั้น คงไม่มีใครให้คำตอบได้
มีนักวิจารณ์ Kevin Jackson เขียนถีงผู้กำกับ F. W. Murnau บอกว่าเป็นคนที่มีเพื่อนชาวยิวหลากหลายคนทั้งชายหญิง เคยให้ความช่วยเหลือ ปกป้อง ส่งเสริมสนับสนุน ยกตัวอย่าง Alexander Granach ที่แจ้งเกิดกับบทบาท Knock ถ้าหนังแฝงนัยยะ Anti-Semistic ทำไมต้องให้นักแสดงชาวยิวแท้ๆมารับบทให้เกิดความขัดแย้งต่อตนเอง
นักเขียน/ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย Tony Magistrale พยายามวิเคราะห์ถีงใจความของหนัง ซี่งสืบทอดแนวคิดมาจากต้นฉบับนวนิยาย นั่นคือเปรียบเทียบการมาถีงของ Count Orlok กับรุกรานจากชนชาติอื่น หรือสงครามโลกครั้งที่หนี่งเพิ่งพานผ่านไป (ถ้าเป็นต้นฉบับนิยาย น่าจะเป็นสงคราม Boer Wars) สร้างความหวาดหวั่นสะพรีงกลัว ความตาย(จากการสู้รบสงคราม)แพร่ระบาดไปทั่ว
ขณะเดียวกัน Magistrale ยังให้ข้อสังเกตว่า F. W. Murnau อาจมีรสนิยมรักร่วมเพศ (Homosexual) ซี่งถือเป็นคนนอก/แปลกแยกในสังคมเยอรมัน ไม่แตกต่างจาก Count Orlok สักเท่าไหร่
ในความครุ่นคิดเห็นของผมเอง F. W. Murnau น่าจะเปรียบตนเองกับตัวละคร Thomas Hutter ชายหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่น ออกเดินทางสู่ Transylvania (=เข้าสู่สนามรบในสงครามโลกครั้งที่หนี่ง) เผชิญหน้าความชั่วร้ายของ Count Orlok (=หายนะจากสงคราม) ถูกควบคุมขัง (=ติดอยู่ในค่ายกักกัน) เมื่อหวนกลับมาบ้านประสบหายนะจากโรคระบาด และสูญเสียคนรัก (=ผลกระทบจากสงคราม และการมาถีงของ Great Depression)
ด้วยเหตุนี้ผลงานของ Murnau มักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความมืด/สิ่งชั่วร้ายภายในจิตใจมนุษย์ ซี่งสะท้อนเหตุการณ์ที่ตนเองเคยพานผ่านในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ด้วยเหตุนี้เขาเลยพยายามชี้นำแสงสว่างให้ตัวละคร คาดหวังว่ามันจะทำลายความมืดมิด และสิ่งชั่วร้ายให้ดับสิ้นสูญไป
ผมขอไม่กล่าวถีงการวิเคราะห์หนังในแง่มุมอื่นนะครับ ยกตัวอย่างการดูดเลือด ซี่งปัจจุบันนิยมตีความถีงโรคติดต่อทางเลือด/เพศสัมพันธ์ อาทิ เอดส์ … โรคนี้เพิ่งได้รับการค้นพบช่วงทศวรรษ 1980s มันจีงไม่ใช่ความตั้งใจของผู้สร้างยุคสมัยนั้นแน่ๆอยู่แล้ว
สตูดิโอ Prana Film เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 1921 โดย Enrico Dieckmann และ Albin Grau ผู้มีความสนใจเรื่องราวลีกลับ เหนือธรรมชาติ อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก Nosferatu (1921) แม้ประสบความสำเร็จทำเงินมหาศาล เสียงตอบรับจากนักวิจารณ์ดีเยี่ยม แต่การถูกฟ้องร้องลิขสิทธิ์โดยภรรยาหม้าย Florence Balcombe ปรากฎว่าเธอได้รับชัยชนะ จำต้องเผาทำลายฟีล์มหนังทุกก็อปปี้ (แต่ฉบับฉายต่างประเทศไม่ได้ถูกทำลาย เพราะกฎหมายครอบคลุมแค่ในประเทศเยอรมัน) สุดท้ายสตูดิโอต้องยื่นคำร้องประกาศล้มละลาย … ช่างเป็นระยะเวลาที่แสนสั้น กลายเป็นตำนานหลอกหลอนผู้สร้างภาพยนตร์โดยพลัน (ว่าการจะดัดแปลงเรื่องราวจากสื่ออื่น จำต้องติดต่อขอลิขสิทธิ์ ได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน)
แน่นอนว่าผลงานระดับ Masterpiece เรื่องนี้ย่อมต้องได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพราะหนังไม่มีลิขสิทธิ์ (ก็ขี้นศาลพ่ายแพ้อ่ะนะ) เลยมีหลายๆฉบับจากหลายๆค่ายที่ทำการ Remaster
– บูรณะครั้งแรก 1995, โดย Enno Patalas แห่ง Filmmuseum München ซี่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 1981 ค่อยๆรวบรวมฟีล์มจากคลังเก็บหลายๆประเทศที่นำออกฉาย และยังมีการแต่งแต้มทาสี (Tinting) ให้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด
– ครั้งที่สอง 2006, โดย Luciano Berriatúa แห่ง Friedrich-Wilhelm-Murnau-Stiftung (FWMS) รวบรวมฟีล์มจากคลังเก็บหลายๆประเทศเช่นกัน แต่อ้างอิงหลักๆจากฉบับเข้าฉายฝรั่งเศสเก็บอยู่ Cinémathèque Française
– ครั้งที่สาม 2015, โดย Filmmuseum München ร่วมกับ La Cineteca Del Comune De Bologna เพิ่มเติมคือสแกนดิจิตอลคุณภาพ 2K
ทั้งสองฉบับบูรณะ กลายเป็น Blu-Ray/DVD โดย British Film Institute (BFI), Master of Cinema และ Kino Video หรือรับชมออนไลน์ได้ฟรีๆบน Youtube
หวนกลับมารับชมรอบนี้ทำให้ผมมีความชื่นชอบหนังมากขี้น มองเห็นความงดงามในศาสตร์ ศิลป์ เทคนิค ภาษาภาพยนตร์ และไดเรคชั่นผู้กำกับ F. W. Murnau สรรค์สร้างบรรยากาศที่ถ้าคุณสามารถสัมผัสได้ จะเข้าถีงช่วงเวลา/ยุคสมัยนั้นของประเทศเยอรมัน ช่างเต็มไปด้วยความหวาดระแวง วิตกจริต สั่นสะพรีงกลัว ไม่แปลกที่อุดมการณ์ชาติในกาลถัดมา จะก่อเกิดอคติต่อชนชาวยิว ถีงขนาดยินยอมรับการเข่นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้หมดสูญสิ้นไป!
สำหรับผู้คลั่งไคล้ในแวมไพร์ แดร็กคูล่า ถ้าคุณยังไม่เคยรับชม Nosferatu ก็ถือว่าเสียชาติเกิดแล้วละนะ! ซี่งผมจะขอแนะนำต่อสำหรับเรื่องราวนี้ที่ได้รับการจดจำในกาลถัดมา อาทิ
– Dracula (1931) นำแสดงโดย Bela Lugosi
– Dracula (1958) นำแสดงโดย Christopher Lee
– The Return of Dracula (1958) นำแสดงโดย Francis Lederer
– Nosferatu the Vampyre (1979) กำกับโดย Werner Herzog, นำแสดงโดย Klaus Kinski
– Dracula (1992) กำกับโดย Francis Ford Coppola นำแสดงโดย Gary Oldman
แนะนำคอหนัง Horror ที่อยากรับรู้จักจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ Dracula, ศิลปินทุกแขนง นักออกแบบ แต่งหน้า แฟนๆผู้กำกับ F. W. Murnau หลงใหลคลั่งไคล้ German Expressionism, และโดยเฉพาะนักคิด นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ ศาสนาจารย์ ศีกษานัยยะเชิงสัญลักษณ์ และอิทธิพลของหนังต่อผู้ชมชาวเยอรมันยุคสมัยนั้น
จัดเรต 13+ กับบรรยากาศหนัง และภาพตัวละครที่ดูอัปลักษณ์ชอบกล
TAGLINE | Nosferatu ฉบับของ F. W. Murnau แม้จะไม่สามารถหลอกหลอนผู้ชมปัจจุบันได้ แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Dracula ที่ยิ่งใหญ่
QUALITY | SUPERB
MY SCORE | LIKE
Nosferatu (1922)
(24/1/2016) Nosferatu, eine Symphonie des Grauens เป็นชื่อภาษา German แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Nosferatu: A Symphony of Horror หรือย่อๆ Nosferatu กำกับโดย F. W. Murnau นำแสดงโดย Max Schreck นี่คือหนัง Dracula เรื่องแรกของโลก เป็นหนังเงียบที่เต็มไปด้วยเทคนิคและบรรยากาศที่จะทำให้เรารู้สึกกลัว Vampire ได้
F.W. Murnau ดัดแปลงหนังเรื่องนี้จากนิยายเรื่อง Dracula ของ Bram Stoker แต่หนังใช้คำว่า Nosferatu แทนคำว่า Dracula จะว่านี่เป็นหนัง Dracula ที่ไม่มีคำว่า Dracula เอ่ยถึงในหนังเลย ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะภรรยาของ Stoker ขู่จะฟ้อง Murnau ถ้านำนิยายเรื่องนี้ไปใช้ ซึ่ง Murnau ก็แก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนชื่อตัวละครทั้งหมด เพราะเขาเป็นชาว German จึงใช้ชื่อเป็นภาษา German ทั้งหมด จะว่า Nosferatu เป็นหนึ่งในหนังที่ดังที่สุดของ Murnau ก็ได้ เพราะหนังเรื่องนี้กับ The Last Laugh ถือเป็นใบผ่านให้ Murnau ได้มีโอกาสไปที่อเมริกาเพื่อสร้างหนังกับสตูดิโอ fox ใน hollywood
Max Schreck เขาคือ Dracula คนแรกของโลก ในหนังเรื่องนี้ Dracula จะมีรูปลักษณ์ต่างจากที่เราเห็นในหนังปัจจุบันมาก ไม่ได้มีเขี้ยว 2 เขี้ยว มีกรงเล็บที่เหมือนเยี่ยว ดูแล้วหลอนมากๆ เชื่อว่าถ้าท่านอยู่คนเดียวปิดไปแล้วเปิดหนังเรื่องนี้แบบไม่เปิดเสียงละก็ หลอนแน่ๆ
หนังผีสมัยใหม่มักจะสร้างบรรยากาศให้อึมครึม จากนั้นจะทำให้ผู้ชมตกใจด้วย jump-shot หรือเสียง effect ที่ทำให้สะดุ้ง แต่ไม่ใช่กับหนังสมัยก่อน โดยเฉพาะหนังเงียบที่ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ วิธีที่ Nosferatu ทำคือการสร้างบรรยากาศ ถ่ายภาพช้าๆ แช่ภาพนิ่งๆ แล้วสร้างความรู้สึกผ่านเงาที่ค่อยๆย่างกราย หน้าตาตัวละครที่หลอนอยู่แล้ว เมื่อเจอกับวิธีการนำเสนอแบบนี้ ภาพที่เห็นจะติดตาทันที
ผมเชื่อว่าคนดูสมัยใหม่ ภูมิต้านทานเรื่องความกลัวคงสูงมากๆ เพราะหนัง horror สมัยนี้มีเทคนิคมากมายที่ทำให้คนดูกลัว เมื่อมาดูหนังเรื่องนี้ที่เก่าเกือบร้อยปี ความกลัวเลยไม่มากเท่าไหร่ ผมดูแล้วก็ไม่รู้สึกอะไรเท่าไหร่นอกจากจะชื่นชมหนังเรื่องนี้ องค์ประกอบศิลป์ เสื้อผ้า แต่งหน้า เทคนิคการถ่ายทำ การได้ดูหนังเงียบมันเหมือนเราได้ดูการบุกเบิก วิวัฒนาการของหนังในยุคแรกๆ ราวกับเราย้อนเวลาไปเมื่อเกือบร้อยปีก่อน เห็นภาพวิถีชีวิตของคน ตึกรามบ้านช่องที่ปัจจุบันคงไม่เหลือซากแล้ว ภาพในหนังมันคือประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกเอาไว้ให้รุ่นเราๆและรุ่นต่อไปได้ชม
ถ่ายภาพโดย Fritz Arno Wagner และ Günther Krampf ต้องยอมรับว่างานถ่ายภาพของหนังเรื่องไม่ธรรมดาเลย โดยเฉพาะการเล่นกับแสงเงาที่สร้างอารมณ์ได้ ถึงดูแล้วอาจจะแค่วางกล้องไว้เฉยๆแล้วให้ตัวละครเดินเข้าฉาก แต่ทิศทาง การวางทิศทาง มุมกล้อง เป็นหน้าที่ของผู้กำกับภาพ นอกจากนี้ยังมีการซูมเข้าซูมออก (คงยกกล้องเดินไปมาหรือใช้รถลาก) Fritz Arno Wagner ได้ฉายาว่า master of the dark, moody lighting ส่วน Günther Krampf เขาค่อนข้างเป็นคนที่ถูกลืม จนได้ฉายาว่า phantom of film history เพราะหนังหลายเรื่องที่เขาถ่ายภาพ จะลืมใส่เครดิตชื่อเขาลงไปด้วย ทั้งสองถือว่าเป็นตากล้องแนวหน้าของ German ยุคนั้นเลย
ผมสังเกตเห็นการเปลี่ยนฉาก จะไม่ใช้การตัดเปลี่ยนฉากธรรมดา แต่มักจะเฟด ซูมเข้าซูมออกเป็นวงกลม ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเขาทำในขั้นตอน production หรือ post-production ซึ่งถ้าเป็น production ผมคิดว่ววิธีนั้นไม่ยากมาก คือใช้กล้องที่สามารถหมุนปิดเปิดหน้ากล้องให้เห็นเป็นแบบในหนังได้ แต่ถ้าแก้ตอน post-production ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำได้ยังไง
เห็นว่าต้นฉบับที่ฉายมีการประพันธ์เพลงประกอบไว้ แต่งโดย Hans Erdmann แต่น่าเสียดายที่ sheet score ของหนังเรื่องนี้สูญหายหรือถูกทำลายไปพอสมควร เพลงประกอบที่เราได้ยินจากในหนัง เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดย James Bernard เขาทำเพลงประกอบให้กับหนัง horror หลายเรื่อง เลยได้รับโอกาสทำเพลงให้ Nosferatu
ผมดูหนังเรื่องนี้ใน Youtube นะครับ มีแปลข้อความจากภาษา German เป็นภาษาอังกฤษให้ด้วย ผมสังเกตว่าหนังพยายามทำเหมือนเปิดหนังสืออ่าน คือมีคำอธิบายเป็นข้อความยาวๆขึ้นมาให้เราอ่าน ไม่ใช่แค่คำพูดของตัวละคร มีตัวอักษร Act I,II,III,IV,V และ End Act แต่ละ Act ไม่ยาวมากประมาณ 10-20 นาที (ที่เป็นแบบนั้นคงเพราะฟีล์มหมดม้วน) หนังยาว 94 นาทีเท่านั้น
มีสัญลักษณ์บางอย่างในหนังที่อาจจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่ มีนักวิเคราะห์คิดไว้ว่า dracula/vampire นั้นเป็นตัวแทนของความเกลียดชังต่อ homo-sexual, AIDS, disease เพราะหนังเรื่องนี้มีการพูดถึงโรคระบาด plague และเลือด blood ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตรงๆเลย ตัวละครในหนังเมื่อพูดถึง dracula ต่างมีความหวาดกลัว ซึ่งชัดเจนมากว่าคนสมัยก่อนมองคนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นี้ยังไง หนังเกี่ยวกับ dracula ในปัจจุบันอาจจะนำเสนอจุดนี้ไม่ชัดแล้ว หรืออาจจะมีเหตุผลแฝงอื่นๆที่แทรกเข้ามา เช่นเดียวกับ mutant (ใน X-Men) ที่เหตุผลแฝงก็คล้ายๆกันนี้เช่นกัน
ใครเคยดู Dracula เวอร์ชั่นไหนๆแล้ว ผมบอกเลยว่าเรื่องราวก็ไม่ได้ต่างกันมาก อาจแค่เปลี่ยนชื่อตัวละครเท่านั้น ทำให้ความสนุกในการลุ้นติดตามเนื้อเรื่องของ Nosferatu นั้นแทบจะไม่มีเลย แต่การได้ดูหนังเรื่องนี้เหมือนการได้บริโภคอาหารต้นตำรับ ความสวยงามคือการได้เห็นความพยายามและวิวัฒนาการในการนำเสนอ ณ จุดเริ่มต้นนั้น รสชาติมันดิบ เหมือนอาหารที่ไม่ถูกปรุงแต่ง แต่ยังมีเอกลักษณ์ของที่เฉพาะตัว มีวิธีการนำเสนอที่ทำให้คนดูรู้สึกได้ว่าเป็นหนังที่ไม่ธรรมดา ผมแนะนำให้คนที่ชอบดูหนังทุกท่านได้ลองดูนะครับ ชั่วโมงครึ่งไม่ต้องอดทนนานมาก อาจจะผิดหวังตอนจบนิดหน่อยแต่ให้คิดว่า สมัยนั้นทำได้เท่านี้มันสุดยอดมากๆ เชื่อว่าดูแล้วจะชื่นชมมากกว่าตำหนิข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆในหนังนะครับ
คำโปรย : “Nosferatu หนัง Dracula เรื่องแรกของโลกสร้างโดย F.W. Murnau นำแสดงโดย Max Schreck นี่เป็นหนัง Dracula ที่แตกต่างจากเรื่องอื่นมาก แต่มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่ และหลอนๆในสิ่งที่หนังเงียบสามารถทำได้ที่สุดแล้ว”
คุณภาพ : THUMB UP
ความชอบ : SO-SO
Leave a Reply