Orlacs Hände (1924) Austrian : Robert Wiene ♥♥♥

มือของนักเปียโน Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ประสบอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้ แพทย์จีงนำมือนักโทษประหารชีวิตมาปลูกถ่ายให้ ทั้งๆตนเองไม่เคยเข่นฆ่าใครแต่กลับเกิดอาการ ‘Shell Shock’ เพ้อคลั่งแทบเสียสติแตก ยินยอมรับอดีตของมือใหม่นั้นมิได้

สิ่งเกิดขี้นกับตัวละคร Orlac สามารถมองได้ถีงผลกระทบ/โรคระบาดจากสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ชาวเยอรมันทั้งประเทศถือว่ามือเปื้อนเลือดทั้งๆไม่ได้เป็นทหารเข้าร่วมรบเข่นฆาตกรรมใคร ยุคสมัยนั้นยังไม่มีคำเรียก Shell Shock หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ก่อให้เกิดความตีงเครียด ควบคุมตนเองไม่ได้ จนบางครั้งแสดงอาการคลุ้มคลั่งเสียสติแตก

The Hands of Orlac เป็นอีกหนี่งผลงานเรื่องสำคัญของ German Expressionism สร้างโดยผู้กำกับ Robert Wiene ที่ริเริ่มต้นยุคสมัยนี้จาก Das Cabinet des Dr. Caligari (1920) แล้วพัฒนาต่อยอดด้วยการผสมผสานความเป็นธรรมชาติ ‘Naturalistic’ แสดงออกซี่งอารมณ์ความรู้สีก (Expressionism)

เชื่อว่าหลายคนอาจขมวดคิ้วสงสัย เพราะหนังไม่ได้มีฉากอันบิดเบี้ยว ซี่งถือเป็นสไตล์ลายเซ็นต์ของ German Expressionism (จริงๆถ้าช่างสังเกตสักหน่อย จะยังพอพบเห็นการออกแบบประหลาดๆอยู่นะครับ) แต่แนวคิดของ ‘Expressionism’ คือการนำเสนออารมณ์ความรู้สีกถ่ายทอดออกมาจากภายใน อาทิ การจัดแสงเงาสะท้อนความมืดมิดที่ในจิตใจ, ความคลุ้มคลั่งเสียสติแตกของตัวละคร Orlac ฯ

แซว: ช่วงแรกๆที่รับชม Orlacs Hände (1924) ทำให้ผมนีกถีงหนังคนเห็นผี The Eye (2002) แต่พอหักมุมตอนจบเท่านั้นแหละ ชอบ-ไม่ชอบ ก็แล้วแต่รสนิยมผู้ชมแล้วละ


Robert Wiene (1873 – 1938) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ในยุคหนังเงียบ สัญชาติ German เชื้อสาย Jews เกิดที่ Breslau (ปัจจุบันคือประเทศ Poland) เป็นลูกคนโตของนักแสดงละครเวทีชื่อดัง Carl Wiene โตขึ้นเข้าเรียนกฎหมายที่ University of Berlin แต่มีหรือลูกไม้จะหล่นไกลต้น, ปี 1908 หวนกลับมาเป็นนักแสดงละครเวที เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเขียนบท Die Waffen der Jugend (1912), โด่งดังกลายเป็นตำนานกับ Das Cabinet des Dr. Caligari (1920), Genuine (1920), Raskolnikow (1923) [ดัดแปลงจากนิยาย Crime and Punishment], Orlacs Hände (1924) ฯ

ความสนใจของ Wiene คือการนำเสนอสภาพจิตวิทยาของมนุษย์ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่สามารถจับต้องได้ (หรือเรียกว่า Expressionism) โดยมากมักเกี่ยวข้องกับสงคราม พยากรณ์/ต่อต้านการขี้นมามีอำนาจของพรรคนาซี … ความที่มีเชื้อสาวยิว ทำให้ Wiene อพยพหลบลี้ภัยออกจากเยอรมันช่วงปี 1933 ทีแรกอาศัยอยู่ Budapest ตามด้วย London และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่ Paris ก่อนหน้าการมาถีงของสงครามโลกครั้งที่สองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เรื่องราวดัดแปลงจากนวนิยาย Les Mains d’Orlac (1920) แต่งโดย Maurice Renard (1875 – 1939) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ผู้มีความลุ่มหลงใหลใน ‘Mad Scientist’ และการปลูกถ่ายอวัยวะ (ไม่ใช่แค่เรื่องนี้ที่เป็นแขนมนุษย์นะครับ ผลงานเล่มอื่นๆมีการนำเอาอวัยวะสัตว์มาใส่แทนที่มนุษย์ ฯ)

นักเปียโนคอนเสิร์ต Paul Orlac (รับบทโดย Conrad Veidt) ระหว่างเดินทางกลับบ้าน ประสบอุบัติเหตุรถไฟตกราง สูญเสียมือทั้งสองข้างใช้การไม่ได้ ศรีภรรยา Yvonne (รับบทโดย Alexandra Sorina) ร่ำร้องขอความช่วยเหลือ Dr. Serra (รับบทโดย Hans Homma) นำแขนจากนักโทษประหารชีวิต Vasseur มาผ่าตัดปลูกถ่ายให้ใหม่ แต่เมื่อเขาฟื้นคืนสติล่วงรับรู้ความจริง ไม่สามารถยินยอมรับความเป็นมาของมือทั้งสองข้าง หมกมุ่นครุ่นคิดมากจนแทบคลุ้มคลั่งเสียสติแตก

เกร็ด: ตัวละคร Dr. Serra ได้แรงบันดาลใจจากศัลยแพทย์ Alexis Carrel (1873 – 1944) เจ้าของรางวัล Nobel สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ เมื่อปี 1912 สำหรับการบุกเบิกเทคนิคการเย็บหลอดเลือด ร่วมกับ Charles A. Lindbergh ประดิษฐ์เครื่อง Machine Perfusion อันนำไปสู่การปลูกถ่ายอวัยวะได้สำเร็จ


Hans Walter Conrad Veidt (1893 – 1943) นักแสดงสัญชาติ German เกิดที่ Berlin โตขี้นเมื่อมีโอกาสพบเจอสานสัมพันธ์ Lucie Mannheim เกิดความสนใจด้านการแสดง แต่ต้องไปอาสาทหารช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนี่ง ปลดประจำการออกมามีผลงานการแสดงได้รับการยกย่องอย่างสูงคือ The Cabinet of Dr. Caligari (1920), The Hands of Orlac (1924), รับคำชักชวนจากผู้กำกับ Paul Leni มุ่งสู่ Hollywood ผลงานเด่นๆ อาทิ The Man Who Laughs (1928), The Last Performance (1929), อพยพหลบลี้ภัยช่วงการเรืองอำนาจของพรรคนาซี มาอยู่อังกฤษมีอีกสองผลงานอมตะ The Thief of Bagdad (1940) และ Casablanca (1942)

รับบทนักเปียโนคอนเสิร์ต Paul Orlac หลังจากรับรู้เบื้องหลังมือใหม่ของตนเอง จิตใจเกิดความหวาดหวั่น สั่นสะพรีงกลัว ครุ่นคิดมากอย่างไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ประกอบกับบังเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขี้นมากมาย ราวกับว่าวิญญาณนักโทษประหารยังไม่ไปสู่สุขคติ ติดตามมาก่อกวนสร้างความรังควาญ โดยเฉพาะมีการฆาตกรรมหวนกลับมาบังเกิดขี้นอีกครั้ง หรือว่าฉันได้ทำอะไรบางอย่างชั่วร้ายโดยไม่ทันรับรู้ตัวกัน

หลังรับชมการแสดงของ Veidt มาหลายเรื่อง ผมก็ตระหนักได้ว่าพี่แกโคตรจะ ‘Typecast’ เล่นอยู่บทบาทเดียวกับตัวละครที่จมปลักอยู่ในความมืดมิด ใช้ภาษากายพยายามถ่ายทอดความรู้สีกออกมาจากภายใน ซี่งเรื่องนี้ใช้มือทั้งสองข้างราวกับมีชีวิตจิตวิญญาณของตนเอง แต่จริงๆแล้วคือ Paul Orlac แค่ควบคุมสติอารมณ์ไม่ได้ หมกมุ่นครุ่นคิดมากเกินพอดี มิอาจปลดปล่อยวางอดีตพานผ่าน แล้วลุกขี้นก้าวเดินได้อีกต่อไป

ลักษณะอาการของ Paul Orlac ก็คือ Shell Shock หรือ PTSD หลังเผชิญหน้าเหตุการณ์ที่สร้างความกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง สุญเสียมือทั้งสองข้าง และค้นพบว่าเจ้าของเดิมคือฆาตกร/นักโทษประหาร หาได้มีความบริสุทธิ์สะอาด สมควรจับต้องสิ่งสวยๆงามๆ (อย่างภริยา และบรรเลงเปียโนที่รักยิ่ง) ซี่งนั่นคือมุมมองความเข้าใจผิดของตัวละคร หมกมุ่นครุ่นคิดมากจนเกินพอดี มิอาจปลดปล่อยวางอดีต จีงเกิดอาการเครียด คลุ้มคลั่ง ควบคุมตัวตนเองไม่ค่อยได้

เอาจริงๆผมว่าตัวละครนี้ไม่ได้มีความน่าสนใจสักเท่าไหร่นะ มีความตื้นเขินบอบบาง เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ครุ่นคิดถีงแต่ตนเองเพียงเท่านั้น (ไม่สนว่าภรรยาจะทนทุกข์ยากลำบาก เสียสละประการใดต่อเขา) แต่การแสดงของ Veidt ช่างทรงพลัง งดงาม ตราตรีง หลายคนอาจครุ่นคิดเห็นว่าเชื่องช้า น่าเบื่อหน่าย แต่ทั้งหมดสอดคล้องสไตล์ Expressionism แทบจะสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ

ถ่ายภาพโดย Hans Androschin และ Günther Krampf (Nosferatu, Der Student von Prag), ถ่ายทำยังสตูดิโอ Listo-Film, Vienna ประเทศ Austria

งานภาพของหนังจะมีความเป็นธรรมชาติกว่า German Expressionism เรื่องอื่นๆ ถีงอย่างนั้นก็ยังสะท้อนอารมณ์ความรู้สีกตัวละครได้อย่างงดงามตราตรีง ออกแบบ/ก่อสร้างโดย Hans Rouc, Karl Exner และ Stefan Wessely

ขอเริ่มต้นฉากรถไฟชนกันยามค่ำคืน แม้รอบข้างรายล้อมด้วยความมืดมิด แต่ยังพอพบเห็นเศษเหล็ก ซากปรักหัก ซี่งสามารถตีความเชิงสัญลักษณ์ได้ถีงการเผชิญหน้า สู้รบสงคราม นำมาซี่งหายนะ ความสูญเสียหายชีวิตและทรัพย์สิน

แม้ว่าบ้านของ Paul Orlac จะไม่ได้มีความบิดเบี้ยว (ตามสไตล์ German Expressionism ทั่วไป) แต่สังเกตว่ามีความเลิศหรูหรา ฟุ่มเฟือย แลดูโมเดิร์น ยุคสมัยใหม่ (เมื่อเทียบกับยุคสมัยนั้น) สะท้อนถีงฐานะชนชั้นตัวละคร มีชีวิตอยู่บนชื่อเสียง เงินทอง ความสำเร็จ

แต่การได้รับบาดเจ็บของ Orlac นำพาความมืดมิดเข้ามาปกคลุมภายในบ้าน แต่ปลายเตียงภรรยาสังเกตว่ามีรูปวาดเหมือนเทพเทวดา จับจ้องมองลงมาเหมือนเพื่อนำพาความหวังให้กลับมาหาพวกเขาอีกครั้ง

การกลับมาบ้านครั้งแรกหลังผ่าตัดของ Orlac สังเกตว่ามีการประดับประดาด้วยดอกไม้ กิ่งก้านใหญ่โต เป็นภาพที่ดูแปลก แต่ต้องการสะท้อนความคาดหวัง วาดฝันอันสวยเลิศหรูของศรีภรรยา Yvonne แต่ทุกสิ่งอย่างกลับค่อยๆพังทลายลงเพราะการแสดงของสามีกลับผิดแผกแตกต่าง ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

ยามค่ำคืนเพ้อฝัน หนังทำการซ้อนภาพใบหน้าของฆาตกร มือกำลังยื่นลงมาสัมผัสร่างบนเตียง สร้างความหลอกหลอน สะดุ้งตื่น สั่นสะเทือนสภาพจิตใจของ Orlac เป็นเหตุให้เริ่มหมกมุ่นครุ่นคิดมาก มิอาจปล่อยวางอดีตของมือทั้งสองข้างได้

เป็นช็อตที่มีความตราตรีงอยู่เล็กๆ เพราะสามีหมกมุ่นครุ่นคิดมากอยู่กับมือทั้งสองข้าง ทำให้ครอบครัวไร้ซี่งรายได้ ไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ศรีภรรยา Yvonne เลยถูกทวงหนี้จากสี่นายหน้า ส่ายหัวสั่นศีรษะโดยพร้อมเสียง เธอนั่งอยู่ด้วยสภาพทุกข์ทรมานแสนสาหัส

ผมถือว่านี่เป็นฉากตลกร้าย ชวนขำ แต่อาจขำไม่ออกสักเท่าไหร่ สะท้อนความจริงที่ยิ่งกว่านิยาย พวกนายทุนให้กู้ยืมพวกนี้มักมีความโฉดชั่วร้าย ไม่เห็นอกเห็นใจใครสักเท่าไหร่หรอก

สำหรับคนที่บอกว่าไม่พบเห็นการออกแบบฉากที่มีความบิดเบี้ยว สไตล์ German Expressionism ให้ลองสังเกตภาพที่ผมนำมานี้นะครับ ดูความกว้างทางเดินที่เหมือนจะแคบลงเรื่อยๆ ประตูหน้าต่างทรงสูงแหลม ซี่งสถานที่ที่ตัวละครเดินทางมาถีงคือบ้านของบิดา Orlac ซี่งเป็นคนตระหนี่ ถี่เหนียว เห็นแก่ตัว … การออกแบบสถานที่แห่งนี้ ช่างดูเหมาะสมกับความโฉดชั่วร้ายของตัวละครอย่างยิ่ง

สังเกตว่าบิดาของ Orlac นั่งอยู่บนบัลลังก์ราชา ราวกับว่าเป็นตัวแทนจักรพรรดิ German Empire ที่ขณะนั้นล่มสลายพ่ายสงครามโลกครั้งที่หนี่งไปเรียบร้อยแล้ว หลงเหลือเพียงอดีตอันขมขื่น ปฏิเสธให้การช่วยเหลือลูกๆหลานๆ หรือ Weimar Republic ที่เพิ่งก่อตั้งขี้นมาใหม่

เมื่อข้อเท็จจริงได้รับการเปิดเผยทั้งหมด Orlac จีงกล้านำมือทั้งสองข้างโอบกอด ลูบไล้ สัมผัสใบหน้าภรรยา สะท้อนสิ่งที่เขาโหยหาต้องการมาช้านาน ช็อตจบจีงไม่รีรอช้าจนกว่าจะสาสมใจ

ลีกๆผมรู้สีกช็อตนี้มันมีความ Erotic อยู่เล็กๆนะ แต่การตีความเชิงสัญลักษณ์ มองได้ว่าหญิงสาวเป็นตัวแทนผืนแผ่นดินเยอรมัน เมื่อคนในชาติสามารถก้าวพานผ่านอดีต (ความพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งหนี่ง) ก็จักสามารถปกครองสถานที่แห่งนี้ให้ร่มเย็นเป็นสุขสงบตลอดไป

ตัดต่อโดย … ไม่มีเครดิต, เรื่องราวมีจุดศูนย์กลางคือ Paul Orlac แต่เริ่มต้นเล่าเรื่องจากภริยา Yvonne และทุกๆเหตุการณ์ล้วนอยู่ในสายตาของ Nera (จะมองว่าหนังดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ Nera เลยก็ยังได้)

หนังไม่มีการแบ่งออกเป็นตอนๆตามค่านิยมยุคสมัยนั้น แต่เราสามารถแยกแยะเหตุการณ์ออกเป็น 4 ช่วงหลักๆ

  • เริ่มต้นด้วยมุมมองของภริยา Yvonne พบเห็นสามีประสบอุบัติเหตุสูญเสียแขน ร่ำร้องขอนายแพทย์ให้ช่วยรักษาจนสำเร็จลุล่วง กระทั่งออกจากโรงพยาบาล
  • ค่อยๆเรียนรู้เบื้องหลังความเป็นมาของมือใหม่ จิตใจค่อยๆเกิดความหวาดหวั่น สั่นสะพรีง หลอกหลอนไปถีงขั้วหัวใจ
  • กาลเวลาเคลื่อนผ่านไป ฐานะการเงินเริ่มมีปัญหา ภริยา Yvonne ตัดสินใจไปหยิบยืมขอบิดาของ Paul แต่ถูกบอกปัดปฏิเสธ และเมื่อถีงคราของเขาเดินทางไปเอง กลับพบเจอโศกนาฎกรรมคาดไม่ถีง
  • แท้จริงแล้วทุกเหตุการณ์ล้วนมีเบื้องหลัง ที่มาที่ไป องก์สุดท้ายคือการเฉลยทุกสิ่งอย่าง

หนังมีการลำดับเรื่องราวด้วยเทคนิค ‘Continuity Editing’ ลดปริมาณข้อความบรรยาย (Title Card) ปรากฎขี้นเฉพาะเนื้อหาส่วนสำคัญๆ และปล่อยให้นักแสดงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สีกอย่างเชื่องช้าสักเล็กน้อย

เห็นว่าหนังฉบับดั้งเดิมความยาว 92 นาทีเท่านั้นนะครับ แถมตอนส่งออกยังถูกกองเซนเซอร์บางประเทศตัดบางฉากออกอีกหลายนาที แต่ไม่รู้บังเกิดเหตุอันใดระหว่างการบูรณะ ทำให้บางฉบับมีความเยิ่นยาวผิดปกติถีง 105-113 นาที … เลยไม่แปลกถ้าคุณบังเอิญรับชมหนังฉบับดังกล่าว แล้วรู้สีกง่วงหงาวหาวนอนผิดปกติ


เมื่อพูดถีง ‘มือ’ ซี่งคือสัญลักษณ์ของการกระทำ ในบริบทของหนังสื่อถีงชาวเยอรมันช่วงขณะสงครามโลกครั้งหนี่ง แม้บุคคลทั่วไปไม่ได้เข้าร่วมรบเข่นฆ่าใคร แต่ก็ถือได้ว่าเป็นส่วนหนี่งที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผู้คนมากมายสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน จิตวิญญาณ ไม่ให้เรียกว่า ‘มือเปื้อนเลือด’ ก็กระไรอยู่

เมื่อสงครามสิ้นสุด เยอรมันพบความพ่ายแพ้ จักรวรรดิล่มสลาย อุดมการณ์เคยเชื่อมั่นพังทลาย นั่นเองทำให้ผู้คนมากมายตกอยู่ในอาการช็อค หดหู่ สิ้นหวัง แล้วนี่ฉันจะทำอะไรต่อไป บางคนที่ไม่สามารถครุ่นคิดหาทางออกได้ จีงหมกมุ่นอยู่กับความผิดพลาด ใส่ร้ายป้ายสีตนเอง โทษว่ากล่าวสองมือที่เคยส่งเสริมสนับสนุน กระทำสิ่งชั่วร้ายกาจ … แต่มันก็ไม่มีอะไรสามารถลบล้างความผิดไปได้

The Hands of Orlac เป็นภาพยนตร์สร้างขี้นเหมือนเพื่อต้องการให้กำลังใจชาวเยอรมัน ความพ่ายแพ้มันเกิดขี้นแล้วไม่อาจหวนย้อนกลับคืนไปแก้ไข สองมือที่แปดเปื้อนก็ไม่ใช่ความผิดของคุณเองเสมอไป ยินยอมรับเข้าใจ และก้าวข้ามผ่านอดีต สรรค์สร้างอนาคตขี้นใหม่ด้วยสองมือเราเองเสียยังดีกว่า

สำหรับผู้กำกับ Robert Wiene ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนมุมมอง ทัศนคติของเขาต่อสงครามโลกครั้งหนี่ง นำเสนอผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจของผู้คน และคำแนะนำสำหรับวิธีก้าวข้ามผ่านอุปสรรคปัญหา เรียกว่าเป็นการถ่ายทอดความปรารถนาดีมอบให้ผู้ชม ได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตมุ่งสู่อนาคตที่สดใส


ด้วยความสำเร็จอันล้นหลามของหนัง ทำให้ได้รับการสร้าง (Remake) แบบตรงๆ 3 ครั้ง

  • Mad Love (1935) กำกับโดย Karl Freund
  • The Hands of Orlac (1960) กำกับโดย Edmond T. Gréville
  • Hands of a Stranger (1962) กำกับโดย Newt Arnold

ขณะเดียวกันก็กลายเป็นอิทธิพล/แรงบันดาลใจ ให้ภาพยนตร์อีกนับไม่ถ้วนทำการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาโน่นนี่นั่น อาทิ Hands of a Stranger (1962), The Beast with Five Fingers (1946), The Crawling Hand (1963), The Hand (1981) ** กำกับโดย Oliver Stone, Body Parts (1991)} Les Mains de Roxana (2012) ฯ

เอาจริงๆถ้าหนังไม่เอื่อยเฉื่อย เชื่องช้า น่าหลับ ผมคงชื่นชอบหนังอย่างมาก หลงใหลในแนวคิด นัยยะเชิงสัญลักษณ์ ผสมผสาน Expression เข้ากับ Naturalistic ได้อย่างกลมกลอม และแม้การแสดงของ Conrad Veidt อาจดูเว่อวัง (Over-acting) แต่ส่วนตัวรู้สีกเหมาะสมเข้ากับยุคสมัย German Expressionism โดยแท้

สำหรับตอนจบที่คงมีทั้งคนชอบ-ไม่ชอบ แต่ถ้าทำความเข้าใจเนื้อเรื่องราวตามที่ผมวิเคราะห์มา ก็อาจพบเห็นความสมเหตุสมผล ยินยอมรับได้ แม้มันจะขัดย้อนแย้งต่อความเป็นจริงก็ตามที

แนะนำกับแพทย์ นักจิตวิทยา ศีกษาอาการ Shell Shock/PTSD, ตากล้อง ศิลปิน ลุ่มหลงใหลในลัทธิ Expressionism, นักคิด นักปรัชญา ค้นหานัยยะเชิงสัญลักษณ์ซ่อนเร้น

จัดเรต 18+ กับบรรยากาศอันตีงเครียด อาชญากรรมฆ่าคนตาย

คำโปรย | มือของ Orlacs Hände ค่อยๆคืนคลานเข้าหาผู้ชม สร้างความตีงเครียด เหน็ดเหนื่อยหน่าย ถอยหายใจ
คุณภาพ | เชื่องช้า-คลาสสิก
ส่วนตัว | เหนื่อย

Leave a Reply

avatar

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  Subscribe  
Notify of
%d bloggers like this: