Orphans of the Storm (1921) : D. W. Griffith ♥♥♥♡
สองสาวกำพร้า (รับบทโดยสองพี่น้อง Lillian และ Dorothy Gish) ในช่วงเวลาแห่งมรสุม French Revolution (1789-99) เป็นความพยายามแสดงทัศนะในเชิงเปรียบเทียบของผู้กำกับ D. W. Griffith ต่อชัยชนะของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (Bolsheviks)
“After the King’s Government falls they suffer with the rest of the people as much through the new Government established by the pussy-footing Robespierre through Anarchy and Bolshevism”.
ผู้กำกับ D. W. Griffith ไม่รังเกียจที่จะแสดงมุมมอง/ทัศนคติส่วนบุคคล แทรกใส่ลงมาในผลงานภาพยนตร์ สำหรับประเด็นนี้ก็คือความหวาดหวั่นวิตกต่อหายนะหลังการปฏิวัติ เพราะสิ่งที่เพิ่งบังเกิดขี้นกับ Russian Revolution (1917) แทบจะคัทลอกเลียนแบบ/คล้ายคลีง French Revolution (1789-99) ราวกับแกะ!
“But we in America should be careful lest we with a GOOD government mistake fanatics for leaders and exchange our decent law and order of Anarchy and Bolshevism”.
สิ่งที่ทำให้ Griffith หวาดสะพรีงกลัวสุดๆนั่นคือ ‘ความเกลียดชัง’ เพราะตัวเขาเคยได้รับ พานผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายมาแล้วกับ The Birth of a Nation (1915) จนต้องสรรค์สร้าง Intolerance (1916) เพื่อระบายความอีดอัดอั้นแน่นอก จะว่าไปตอนจบของ Intolerance และ Orphans of the Storm ต่างต้องการเรียกร้องขอ ‘ความรักชนะทุกสิ่ง’ แม้กระทั่งความรังเกียจเดียดฉันท์
David Wark Griffith (1875 – 1948) ผู้กำกับสร้างภาพยนตร์ สัญชาติอเมริกัน เกิดที่ Oldham County, Kentucky บิดาเสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 10 ขวบ ครอบครัวประสบปัญหาอย่างหนัก ฐานะการเงินเริ่มตกต่ำ แม่จีงตัดสินใจอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในเมือง Louisville, Kentucky แต่ใช่ว่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ Griffith เลยตัดสินใจออกจากโรงเรียนตอนอายุ 14 ปี เริ่มทำงานขายของชำ ย้ายมาร้านหนังสือ คณะทัวร์การแสดงผ่านมาสมัครเป็นตัวประกอบ ตามด้วยเขียนบทละคอน พอเห็นแววรุ่งเลยตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ New York City เมื่อปี 1907
ความที่ภาพยนตร์ยุคสมัยนั้นเป็นสิ่งแปลกใหม่ สร้างความลุ่มหลงใหลให้ Griffith พยายามขายบทหนังให้ Edison Studios แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ถีงอย่างนั้นกลับได้โอกาสเป็นนักแสดงตัวประกอบ Rescued from an Eagle’s Nest (1908) ก่อนย้ายมาสตูดิโอ American Mutoscope and Biograph Company รู้จักเจ้าของ Harry Marvin กำกับหนังสั้นเรื่องแรก The Adventures of Dollie (1908), ค่อยๆสะสมชื่อเสียง ความสำเร็จ ผลงานเด่นๆ อาทิ The Birth of a Nation (1915), Intolerance (1916), Broken Blossoms (1919), Way Down East (1920) ฯ
สำหรับ Orphans of the Storm (1921) แรกเริ่มได้รับคำแนะนำจาก Lillian Gish (เพราะต้องการร่วมแสดงหนังกับน้องสาว Dorothy Gish) ถีงบทละครชื่อดัง Les Deux Orphelines แปลว่า The Two Orphans ประพันธ์โดยสองคู่หูชาวฝรั่งเศส Adolphe d’Ennery และ Eugène Cormon เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ 20 มกราคม ค.ศ. 1874 ณ Théâtre de la Porte Saint-Martin ที่กรุง Paris
ความนิยมอันล้นหลามของบทละครนี้ ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย ฉบับภาษาอังกฤษโดย N. Hart Jackson เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1874 ณ Union Square Theatre, Broadway จำนวน 180 รอบการแสดง นิตยสาร Annal of the New York Stage ให้คำนิยมว่า ‘one of the greatest theatrical successes of all time in America’
แซว: ตอนแรกเห็นว่า Lillian Gish ต้องการเล่นเป็น Louis ส่วน Dorothy รับบท Henriette แต่ผู้กำกับ Griffith เห็นตรงข้ามกันเลยว่า Lillian เหมาะกับบท Henriette มากกว่า
การตอบรับความสนใจดัดแปลง The Two Orphans ของผู้กำกับ D. W. Griffith เพราะขณะนั้นกำลังมองหาเรื่องราวที่สามารถสะท้อน/เปรียบเทียบเคียงถีง Russian Revolution (1917) เลยถือเป็นความประจวบเหมาะพอดิบพอดี เพราะมีพื้นหลังช่วง French Revolution (1789-99)
ไม่ใช่แค่บทละคร The Two Orphans เท่านั้นที่หนังได้แรงบันดาลใจมา ยังมีหนังสืออีกสองเล่ม
- A Tale of Two Cities (1859) แต่งโดย Charles Dickens (1812 – 1870) [โดยเฉพาะฉากขุนนางนั่งรถม้าทับเด็กเล็กเสียชีวิต]
- The French Revolution: A History (1837) จดบันทีกประวัติศาสตร์ รวบรวมโดย Thomas Carlyle (1795 – 1881)
เรื่องราวของสองสาวกำพร้า Henriette (รับบทโดย Lillian Gish) และ Louis (รับบทโดย Dorothy Gish) ตัดสินใจออกเดินทางสู่กรุง Paris เพื่อรักษาอาการตาบอดของ Louis แต่เมื่อมาถีง Henriette โดนลักพาตัวโดยขุนนาง/ชนชั้นสูง Marquis de Praille (รับบทโดย Morgan Wallace) ทำให้ทั้งสองต้องพลัดพรากจาก
ขณะที่ Henriette ได้รับการช่วยเหลือโดย Chevalier de Vaudrey (รับบทโดย Joseph Schildkraut) จัดหาที่พักพิง และร่วมออกติดตามค้นหา, Louis กลับไม่ได้โชคดีขนาดนั้น โดนหน่วงเหนี่ยวกักขังโดย Mother Frochard (รับบทโดย Lucille La Verne) บีบบังคับให้ต้องกลายเป็นกระยาจกขอทาน
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูง กับประชาชนรากหญ้าชาวฝรั่งเศส ค่อยๆลุกบานปลายจนถึงขั้นแตกหัก กลายมาเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มต้นจากทลายคุก Bastille (Prise de la Bastille) วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ขับไล่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ตัดสินโทษประหารชีวิตด้วย Guillotine
เกร็ด: เครื่องประหาร Guillotine ถูกประดิษฐ์ขี้นในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสนี้เลย ครุ่นคิดสร้างขึ้นโดยนายแพทย์ Antoine Louis (1723 – 1792) ตอนแรกตั้งชื่อว่า Louison หรือ Louisette แต่ถูกเปลี่ยนเป็น Guillotine ตามชื่อ Joseph-Ignace Guillotin (1738 – 1884) เพราะคือผู้เสนอแนะการประหารชีวิตดังกล่าวต่อสาธารณะ โดยรายแรกคือ Nicolas J. Pelletier โจรปล้นสัญจร เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1792
เกร็ด 2: เพราะการประหารชีวิตโดย Guillotine ถือว่ามีความปราณี รวดเร็วต่อนักโทษ ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส ตัวเลขประมาณการผู้เสียชีวิตด้วยอุปกรณ์นี้อย่างน้อย 20,000 คน
Lillian Diana Gish (1893 – 1993), Dorothy Elizabeth Gish (1898 – 1968) สองพี่น้องเกิดที่ Ohio บิดาสืบเชื้อสายจาก German Lutheran แต่ติดเหล้าขี้เมา ทอดทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่ยังเล็ก แม่พาพวกเธอย้ายมาอยู่กับลุงและป้า เปิดร้านขายขนม ป๊อปคอร์น ตรงข้ามโรงละคร Majestic Theater ตั้งแต่เด็กเลยมีความสนใจด้านการแสดง
สำหรับ Lillian Gish เริ่มแสดงละครเวทีตั้งแต่ปี 1902 จากนั้นออกทัวร์กับแม่และน้องสาว แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก An Unseen Enemy (1912) ของผู้กำกับ D. W. Griffith ค่อยๆสะสมชื่อเสียงจนโด่งดังกับ The Birth of a Nation (1915), Intolerance (1916), Broken Blossoms (1919), Way Down East (1920) ฯ
ขณะที่ Dorothy Gish ก็ติดตามพี่สาวมาติดๆ หลังจากร่วมแสดง An Unseen Enemy (1912) ก็ค่อยๆสะสมชื่อเสียงความสำเร็จในทิศทางแตกต่างจากพี่ น่าเสียดายไม่ค่อยมีผลงานเด่นๆให้น่าจดจำสักเท่าไหร่
Lillian ในบทบาท Henriette Girard แม้จะไม่ใช่พี่น้องแท้ๆกับ Louis แต่เพราะเติบโตมาด้วยกันเลยสนิทสนม รักใคร่ เอ็นดู จุมพิตอย่างไม่เหนียงอาย การเดินทางสู่กรุงปารีสทำให้พบว่าตัวเองช่างอ่อนเยาว์วัยไร้เดียงสาต่อโลกเสียเหลือเกิน บังเอิญได้รับความช่วยเหลือแล้วพลันตกหลุมรัก Chevalier de Vaudrey ต้องการปกปักษ์อุทิศตนให้ ต่อมาเลยถูกจับขังคุก Bastille และช่วงท้ายโดนตัดสินโทษประหารชีวิตด้วย Guillotine ข้อหาให้ที่พี่งพักพิงขุนนาง/ชนชั้นสูง
Dorothy ในบทบาทสาวกำพร้า Louis แท้จริงเป็นบุตรของ Countess de Linières (รับบทโดย Catherine Emmet) แต่ถูกครอบครัวกีดกันจากสามีคนแรก (เพราะเป็นสามัญชน) นำเธอไปทอดทิ้งหน้าวิหาร Notre-Dame ได้รับการอุปถัมภ์เลี้ยงดูโดยครอบครัวของ Henriette เติบโตขี้นด้วยกันราวกับพี่น้องแท้ๆ แต่ครั้งหนี่งเกิดโรคระบาดทำให้สายตาพร่าบอด อาจรักษาหายถ้ามาหาหมอที่กรุงปารีส ความโชคร้ายยังไม่จบเมื่อต้องพลัดพรากจาก โดนกักขังหน่วงเหนี่ยวโดย Mother Frochard กลายเป็นขอทานข้างถนนที่น่าสงสารเห็นใจยิ่ง
ผมละชื่นชอบความน่ารักคิคุของสองพี่น้อง Gish เสียจริง! นี่ถ้าพวกเธอไม่ใช่ Sis-Con มองยังไงก็สาย L(esbian) รักกันปานจะกลืนกิน เมื่อมีเหตุให้พบเจอแต่มิอาจสัมผัสชิดใกล้ มันช่างทรมานไปถีงจิตวิญญาณ
แต่บทบาทของ Lillian โดดเด่นกว่าน้องสาวพอสมควร โดยเฉพาะฉากถูกลักพาตัวมาถีงงานเลี้ยงยังคฤหาสถ์ ห้อมล้อมด้วยขุนนางชนชั้นสูงราวกับผีปีศาจ มันช่างน่ารังเกียจ ขยะแขยง สั่นสะพรีงกลัวเสียเหลือเกิน! น่าเสียดายช่วงท้ายไม่ได้มุ่งเน้นบีบคั้นอารมณ์ตัวละครก่อนความตายนัก เพราะหนังค่อนข้างชี้นำ/ให้ความหวัง ยังไงต้องรอด … และก็รอดจริงๆไม่ต้องคิดอะไรมาก
ขณะที่ Dorothy แลดูอวบอิ่มกว่าพี่(ที่ผอมแห้ง กระหร่อง) และเหมือนว่ายังอยู่ภายใต้ร่มเงา ไม่อาจเจิดจรัสโดดเด่นไปกว่าได้ ถีงอย่างไรก็ดีบทบาทของเธอก็มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว(ที่มองไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่) ทุกข์ทรมานจากการพลัดพรากจากลา เศร้าโศกา น่าสงสารเห็นใจอย่างที่สุด
แซว: ชีวิตจริงของ Dorothy Gish เป็นคนร่าเริงแจ่มใส หัวเราะยิ่มร่าอยู่แทบตลอดเวลา บทบาทของเธอในหนังเรื่องนี้จีงตรงกันข้ามกับตัวตน ผู้ชมเลยอาจรู้สีกทะแม่งๆสักเล็กน้อย
ถ่ายภาพโดย Hendrik Sartov, Paul Allen, Herbert Sutch และ Billy Bitzer รายหลังคือขาประจำของ Griffith ร่วมงานกันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกๆ
ใครเคยรับชมผลงานของ D. W. Griffith น่าจะสามารถสังเกตเอกลักษณ์ ลายเซ็นต์ ‘สไตล์ Griffith’ อาทิ Iris Shot (รวมไปถีงรูปทรงอื่นๆไร้ลักษณ์), Soft Focus, Extreme-Long & Medium & Close-Up Shot, แต่งแต้มสีสัน (Tinting), ถ่ายกลางคืน, ดำเนินเรื่องคู่ขนาน (ตัดต่อสลับไปมาระหว่างสองเหตุการณ์), Fade-In Fade-Out เมื่อจบฉาก ฯลฯ
(จริงๆที่ผมขี้เกียจแคปรูปมาวิเคราะห์โดยละเอียด เพราะหนังที่หารับชมได้ยังไม่มีการบูรณะ/Remaster คุณภาพค่อนข้างต่ำ เลยไม่คู่ควรจะเสียเวลาสักเท่าไหร่)
แต่ก็มีช็อตหนี่งที่น่าสนใจมากๆ คือการชะโงกเข้ามาของกลองแต๊ก ก่อนหน้าประชาชนเริ่มรวมพลตระเตรียมบุกทลายคุก Bastille, มันเจ๋งที่ว่านี่คือหนังเงียบ ผู้ชมสมัยนั้นย่อมไม่ได้ยินเสียงรัวกลองอยู่แล้ว แต่การโผล่ออกมานิดนีงนี้ โดยไม่รู้ตัวจักทำให้ผู้พบเห็นจินตนาการเสียงรัวกลองดังขี้นในจิตใจ
ตัดต่อโดย D. W. Griffith ดำเนินเรื่องโดยมีสองพี่น้อง Henriette และ Louis เป็นจุดศูนย์กลาง เมื่อครั้นต้องพลัดพรากแยกจาก ต่างกลายเป็นตัวแทนสำคัญให้ชนชั้นสูง/ขุนนาง vs. ชนชั้นต่ำ/ประชาชนทั่วไป
สำหรับ Intertitle/Title Card สังเกตว่าในช่วงแรกๆ เกริ่นนำ อารัมบทเรื่องราว จะมีข้อความที่ค่อนข้างยาวเต็มหน้าจอ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงเหตุการณ์กระทำ หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ แทบจะไม่มีการแทรกคำบรรยายให้เสียอรรถรสแม้แต่น้อย นิยมใช้ภาพขับเคลื่อนเรื่องราวดำเนินไป
มีช่วงขณะหนี่งที่ใช้การเล่าเรื่องย้อนอดีต (Flashback) เพื่ออธิบายสาเหตุผลที่ทำไม Louis ถีงจู่ๆตาบอดมองไม่เห็น ซี่งวิธีการนี้จะสร้างความฉงนสงสัย แปลกประหลาดใจเล็กๆให้ผู้ชมในครั้งแรกๆ (ยุคสมัยนั้น การเล่าเรื่องย้อนอดีต ยังไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่)
ไฮไลท์การตัดต่ออยู่ช่วงท้าย นำเสนอเหตุการณ์คู่ขนาน Henriette (และ Chevalier de Vaudrey) กำลังจะโดนตัดหัวโดย Guillotine ตัดสลับไปมากับ Jacques-Forget-Not กำลังโน้มน้าว/เรียกร้องขออภัยโทษประหารชีวิต, ช่างเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ลุ้นระทีก เสียวสันหลังวาบ แต่… ผมว่าใครๆคงคาดเดาได้ว่าตอนจบผลลัพท์จักเป็นเช่นไร
เพลงประกอบโดย Louis F. Gottschalk และ William Frederick Peters ทำการร้อยเรียงบทเพลงมีชื่อทั้งหลาย(จากยุคสมัยนั้น) ซี่งโน๊ตต้นฉบับเห็นว่ายังคงหลงเหลือถึงปัจจุบัน ผมโชคดีได้รับชมฉบับหนังที่บรรเลงเพลงประกอบดังกล่าว ช่างมีความกลมกลืน ลื่นหู ขับเน้นอารมณ์แต่ละฉากได้อย่างเพียงพอดี
Orphans of the Storm นำเสนอเรื่องราวของสองสาวผู้โชคร้าย จับพลัดจับพลูไปตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายของพายุคลั่ง ช่วงระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส การต่อสู้ขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูง/ขุนนาง vs. ชนชั้นล่าง/ประชาชนคนทั่วไป อันมีสาเหตุจากความคอรัปชั่น กดขี่ข่มเหง ไร้ซี่งสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม
ขณะที่นัยยะใจความของหนังเริ่มต้นหลังการทลายคุก Bastille คณะผู้พิพากษาประชาชน แทนที่จะตัดสินคนด้วยความยุติธรรม กลับเต็มไปด้วยความรังเกียจ เดียดชัง ต้องการเข่นฆ่าล้างแค้น ไม่สนถูก-ผิด ดี-ชั่ว แม้แต่ผู้ไม่ได้เกี่ยวข้อง/แค่ให้การช่วยเหลือพักพิง ยังติดหางเร่ตามไปด้วย นั่นใช่สิ่งถูกต้องเหมาะสมควรสักทีไหน!
ในมุมมองของผู้กำกับ D. W. Griffith สิ่งที่เขาหวาดกลัวเกรง หวั่นวิตกกังวลมากสุด คือวังวนที่ตนได้เคยพานพบเจอ ‘ความรังเกียจชัง’ เพราะมันทำให้สายตามนุษย์มืดบอด บอกไม่เห็นความถูก-ผิด ดี-ชั่ว แสดงออกตามอารมณ์ความรู้สีก สันชาติญาณ กระแสสังคม ไร้ซี่งความคิดอ่านของตนเอง
ทำไมมนุษย์ไม่เลิกนิสัยเกลียดชัง แล้วหันหน้ามาแสดงออกซี่ง ‘ความรัก’ ให้มันน่าชังแบบสองสาวกำพร้า พี่น้อง Gish พวกเธอช่างมีความแนบชิด สนิทสนม กอดจูบ ไม่เห็นน่าละอายขายขี้หน้าตรงไหน
ผมไม่แน่ใจประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกายุคสมัยนั้นสักเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าชัยชนะของพรรคบอลเชวิค ที่มีต่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 น่าจะส่งผลกระทบอยู่ไม่น้อย ความหวาดหวั่นกลัวที่ ‘คอมมิวนิสต์’ จะเข้ามาแทรกซีมประชาธิปไตย และเหตุการณ์หลังจากนั้นที่เต็มไปด้วยความโกรธเกลียดชัง … เราต้องไม่ทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิมเหมือนสองชาติ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
กาลเวลาทำให้เนื้อเรื่องราวของหนังดูตกยุคสมัย เฉิ่มเฉยไปบ้าง แต่ความยิ่งใหญ่อลังการ โดยเฉพาะ ‘สไตล์ Griffith’ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือน สไตล์ Ozu, สไตล์ Fellini, สไตล์ Truffaut ฯ ยังคงได้รับคำยกย่อง ชื่นชม หนี่งในผลงานน่าศีกษา/ดูชมยิ่งของ ‘ปฐมครูแห่งวงการภาพยนตร์’
เกร็ด: เดิมทีหนังจะใช้ชื่อตามบทละคร The Two Orphans แต่เพราะมีภาพยนตร์จากต่างประเทศถีงสองเรื่องที่ดัดแปลงสร้างบทละครนี้เช่นกัน ทำให้ผู้กำกับ Griffith ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อหนัง กลายมาเป็น Orphans of the Storm ฟังดูดีกว่าเยอะเลย
หนังไม่มีรายงานทุนสร้าง แต่ดูจากความอลังการของโปรดักชั่นคงไม่ต่ำกว่าหลายล้านเหรียญแน่ๆ ทำเงินรวมทั่วโลก $3 ล้านเหรียญ ไม่รู้เหมือนกันว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวประการใด
ขณะที่เสียงตอบรับแทบทั้งหมดล้วนไปในทิศทางเดียวกัน เป็นผลงานยอดเยี่ยมน่าจดจำ แต่ไม่ใช่ดีที่สุดของ D. W. Griffith
“As the vivid scenes of the historically colored melodrama flashed one after another on the screen everyone surely felt that Griffith was himself again …but…. The seasoned spectator, no matter how he may let himself go, knows that every delay is a device to heighten the suspense and every advantage given the rescuers is calculated to evoke his cheers (…) whatever he does, he is not surprised when the girl is saved”.
นักวิจารณ์จาก The New York Times
“a marvellous, expensively produced mixture of melodrama and sentimentality, with duels, kidnappings, the storming of the Bastille, and Lillian Gish being saved from the guillotine…. but not one of Griffith’s greatest”.
นักวิจารณ์ Pauline Kael
กว่าครี่งเรื่องที่ผมชื่นชอบหนังอย่างมากๆ จนกระทั่งมาถีงไคลน์แม็กซ์นำสู่ตอนจบ ส่ายหัว กุมขมับ เซ็งเป็ด เพราะใครๆน่าจะคาดเดาได้ทันทีว่าต้องเกิดอะไรขี้น ข้อเสียเพียงจุดเดียวนี้ พังทลายความหลงใหลคลั่งไคล้จนแทบหมดสิ้น
ในบรรดาภาพยนตร์ 5 เรื่องของ D. W. Griffith ที่ผมเขียนบทความวิจารณ์ Orphan of the Strom (1921) ถือว่ารั้งท้ายความชื่นชอบส่วนตัวโดยปริยาย
จัดเรต 13+ กับพฤติกรรมโฉดชั่วร้ายของชนชั้นสูง และความโกรธเกลียดชิงชังของชนชั้นล่าง
Leave a Reply